วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




058.jpg
058.jpg [ 155.05 KiB | เปิดดู 9621 ครั้ง ]
:b8: เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2555 มีโอกาสได้นำเทียนพรรษาผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระสงฆ์ที่วัดระหาน และได้กราบสรีระสังขารหลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ ด้วย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




048.jpg
048.jpg [ 152.41 KiB | เปิดดู 9620 ครั้ง ]
ชีวประวัติโดยสังเขป
หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
*************


พระครูเขมคุณโสภณ (จันทร์แรม เขมสิริ) มีนามเดิมว่า จันทร์ นามสกุล ร้อยตะคุ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ เวลาเย็น ณ บ้าน ปะหลาน ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

โยมบิดาชื่อ อ่อนสี โยมมารดาชื่อแก้ว ท่านมีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๘ คน ประกอบด้วย

๑.นายคำมี (ถึงแก่กรรม)
๒.นางมาลี
๓.นายมะลิ (ถึงแก่กรรม)
๔.นางมะดี
๕.พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ)
๖.นางหนู
๗.นายสุข
๘.นายแดง
เดิมทีนั้น ครอบครัวของหลวงปู่ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีถิ่นฐานทำกินอยู่ที่บ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า ซึ่งตามภาษาอีสาน เรียกขานกันว่า “นายฮ้อย” อันเป็นที่มาของนามสกุลว่า ฮ้อยตะคุ (เรียกตามภาษาท้องถิ่นอีสาน) หรือร้อยตะคุ นั่นเอง ต่อมาโยมบิดาของท่านได้อพยพโยกย้ายครอบครัวไปทำมาหากินอยู่ที่บ้านปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งหลวงปู่ได้ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านแห่งนี้
ต่อมาบิดาของท่าน ก็ได้โยกย้ายครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง ไปทำมาหากิน ณ บ้านระหาร ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัดเกาะแก้วธุดงคสถานในปัจจุบันนี้ หลังจากที่ได้ไปสำรวจมาแล้วเห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะสมแก่การตั้งถิ่งฐานบ้านใหม่ เพราะเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงได้ตัดสินใจมาลงหลักปักฐาน ณ สถานที่แห่งนี้ การอพยพโยกย้ายก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการเดินทางในสมัยนั้นต้องใช้เกวียนเป็นพาหนะ ต้องบุกบั่นฟันฝ่าป่าลึก เผชิญกับอันตรายจากไข้ป่าและสัตว์ร้ายทั้งหลาย
ในวัยเด็ก หลวงปู่ท่านเล่าว่า “บิดามารดา เป็นชาวนาชาวไร่ ทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งชาวนาไทยเรานั้นถึงจะลำบากยากไร้แค่ไหนก็เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนจนเกินไป อันความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้น ใคร ๆ ก็ไม่อยากได้รับ แต่ชาวนาจะหลบหลีกได้หรือ ก็ต้องอดทนจนกลายเป็นความเคยชินนั่นแหละ ก็อย่างญาติโยมชาวกรุงเทพฯ ที่ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตี ๔ อาบน้ำแต่งตัว ทานกาแฟพอรองท้อง ก็ต้องขับรถออกไปทำงาน ถ้าออกสายรถก็ติด บางรายถึงกับต้องเอาเสบียงอาหารติดรถไปด้วย เมื่อไปถึงที่ทำงานก็ทานอาหารเสร็จแล้วแรงฟันอีกที เสร็จพิธีก็ทำงานกับหมู่คณะได้ ชาวนาก็เช่นเดียวกัน ทำงานเหนื่อยก็ต้องอาศัยร่มไม้ใบเงา หายเหนื่อยก็ทำงานต่อไป”



บรรพชา และอุปสมบท
ขณะที่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำนาทำไร่นั้น จิตใจที่เคยคิดจะบวชก็ยังเรียกร้องอยู่ตลอดเวลา ตอนเช้าๆ คนบ้านนอกบ้านนาจะใส่บาตรพระสงฆ์ทุกวัน มองเห็นผ้าเหลืองที่พระท่านห่มคลุมเดินบิณฑบาตรทีไร จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน นึกถึงภาพในอดีตอันประทับใจสมัยที่เคยเป็นเด็กวัด มโนภาพยังปรากฎชัด เกิดความปรารถนาอยากจะบวชมากยิ่งขึ้น
พออายุได้ ๑๗ ปี บิดามารดาและญาติพี่น้องทุกคนต่างก็สนับสนุน อยากให้ลูกชายของท่านได้รับความรู้ในวิชาการสมัยใหม่บ้าง ซึ่งเห็นเพื่อนบ้านเขาบวชเรียนแล้วสอบนักธรรมได้ พอสึกออกมาก็ได้เป็นครู เป็นเสมียน รับเบี้ยหวัดเงินเดือนกันมาก เนื่องจากในสมัยนั้น การศึกษาส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในวัดเป็นสำคัญไม่แพร่หลายเหมือนในปัจจุบันนี้ หากใครมีอุปนิสัยฝักใฝ่ในเรื่องการศึกษาเล่าเรียน ก็จะต้องบวชเรียนกัน เมื่อญาติผู้ใหญ่อนุญาตให้บวช ท่านจึงได้บวชตามความประสงค์
การบรรพชาเป็นสามเณร เริ่มขึ้นเมือปี พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดสระทองนพคุณ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีพระครูจันทรศรีธรคุณ เจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ท่านได้กรุณาเล่าเหตุการณ์ตอนหนึ่งขณะเป็นสามเณรว่า “บวชตอนอายุได้ ๑๗ ปีเต็ม บวชเณรได้ ๓ พรรษา บวชแล้วก็ได้ศึกษาหาความรู้ทางด้านตัวอักษร เลขและพระปริยัติธรรม ตอนเด็กๆ นี่ขยันเรียน เรียนเก่งนะ นักธรรมนี่สอบได้ที่ ๑ ของจังหวัดเลยทีเดียว ตอนบวชเณรขอพูดตรงๆ ว่า บวชเพื่อจะศึกษาหาความรู้ใส่ตนเอง บวชปีแรกสอบได้นักธรรมชั้นตรี ปีต่อๆ มาสอบได้นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกตามลำดับ การสอยสนามหลวงแต่ละครั้ง นับว่าได้คะแนนดีเยี่ยม คงเป็นเพราะมีความสนใจในเรื่องพระศาสนา จึงสามารถสอบได้ที่ ๑ ของจังหวัดตลอดมา”


ลาสิกขา

หลังจากที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกแล้วขณะนั้นอายุได้ ๒๐ ปี เต็มจิตใจก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะความที่เริ่มจะเป็นหนุ่ม หลวงปู่เล่าว่า “เป็นหนุ่มแล้วอีกทั้งจะเข้าเกณฑ์ทหารด้วย ใจมันรักการเป็นทหารมาก แหม...ชอบใจจริงๆ นะ การเป็นทหารนี่ อยากรับใช้ชาติ สมเป็นชายชาตรี
เดินทางกลับบ้านก็ทำหน้าที่ของตนเอง คือ ช่วยงานทางบ้านทำนาทำสวนไปก่อน แบ่งเบาภาระจากพ่อแม่พี่น้องที่จากบ้านไปนาน และนานๆ ครั้งจะได้รวมญาติกันที งานนี้เสร็จก็ทำอีกอย่าง เช่น รับจ้างคนอื่นๆ เขา แล้วก็ปลูกพืชผักสวนครัว นำไปขายได้เงินเลี้ยงครอบครัวบ้างพอสมควร
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




042.jpg
042.jpg [ 173.12 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
ได้มรณานุสติกรรมฐาน

วันหนึ่ง หลวงปู่ได้ไปถากไร่บริเวณใกล้ป่าช้า เพื่อเตรียมสถานที่สำหรับเพาะปลูก ถางไรอยู่จนเวลาใกล้เพล แม่ก็ยังไม่เอาข้าวมาส่ง เหนื่อยอ่อนล้ามาก ท่านเล่าว่า “เหนื่อยมาก แทบจะขาดใจตาย” แล้วฉับพลัน สายตาก็เหมือนเห็นหัวกระโหลก และโครงกระดูกของคนตาย ที่ญาตินำเอาศพมาฝังบ้างเผาบ้างในป่าช้า กระจัดกระจายไปทั่ว พอมีไฟป่าเกิดไหม้ป่าขึ้น จึงทำให้มองเห็นโครงกระดูกเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณนั้น เมื่อเห็นภาพเหล่านั้น ในใจมันฉุกคิดขึ้นมาว่า “ต่อไปข้างหน้าตัวเราเองก็ต้องเป็นเหมือนโครงกระดูกที่นอนเรียงรายกันอยู่อย่างนี้ เราเองก็ต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ไม่อาจพ้นไปได้ สรรพสัตว์ทุกตัวตนที่เกิดมาในโลกนี้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้ คนเราทุกคนไม่มีใครพ้นจากความตายไปได้เลย แม้แต่คนเดียว ในใจขณะนั้นได้พิจารณาเห็นหลักสัจธรรม คือ อนิจจํ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกฺขํ เป็นทุกข์ อนตฺตา ไม่มีตัวตนมองเห็นไตรลักษณ์ ตามสภาพความเป็นจริง จิตใจก็ยอมรับความเป็นจริงนั้นเอง โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตาก็ปรากฏแต่รูปโครงกระดูก โครงกระดูกลอยมาติดตามเป็นนิมิต ได้แต่พิจารณาถึงธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จนกระทั่งแม่เอาอาหารมาส่ง และยิ่งเห็นจริงอย่างลึกซึ้งถึงใจว่า คนเราต้องตายแล้วตายเล่า เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ ภพแล้วภพเล่า ชาติแล้วชาติเล่า ชีวิตนี้ช่างหาที่สิ้นสุดไม่ได้เลย”

ตัดสินใจออกบวช

ก่อนที่หลวงปู่จะอุปสมบทนั้น ได้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสลดสังเวชใจ เบื่อหน่ายในการครองชีวิตฆราวาสหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งถึงกาลเวลาแห่งความแก่รอบของบารมีธรรม ท่านจึงตัดสินใจเป็นแน่วแน่ว่าจะบวช

แต่ก่อนที่จะบวชจริงๆ ท่านได้ครุ่นคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตดีหนอ เพราะตอนนี้เป็นเหมือนเดินมาสู่ทางสองแพร่ง ลังเลสงสัยว่าจะเลือกทางไหนดี จะออกบวชหรือจะอยู่ครองฆราวาสวิสัย ได้นั่งวาดมโนภาพในเรื่องฆราวาสวิสัยว่า “ถ้าหากเราแต่งงานมีภรรยา มีลูก ๓ คน มีบ้านมีที่นา มีสวน มีทุกสิ่งทุกอย่างตามที่ชาวโลกเขามีกัน แล้วสมมติว่า เราตายก่อนภรรยา ภรรยาเราเขาก็ต้องแต่งงานใหม่ เพราะยังสาวอยู่ บังเอิญไปได้นักเลง นักการพนัน ขี้เหล้าเมายา คนไม่ดีมาเป็นสามีใหม่ เขาก็ต้องมาล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่เราหามาไว้จนหมดเกลี้ยง มิหนำซ้ำยังทิ้งลูกเราภรรยาเรา ให้อดอยากลำบากยากแค้น แล้วเราจะทำอย่างไร

เมื่อพิจารณาถึงเหตุนี้ ก็ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่า “อย่างกระนั้นเลยกับชีวิตฆราวาส การแต่งงาน การสร้างโลก สร้างภพ สร้างชาติ ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะเลือกเอาทางบวชดีกว่า” เมื่อตัดสินใจจะบวชก็คิดทบทวนอีกว่า “ถ้าบวช ก็จะเสียเวลาทำมาหากิน สมมติว่าเราบวช ๕ ปี ถ้าปลุกมะม่วงในระยะเวลาเท่านี้ ก็จะได้กินหมากกินผล หากสึกออกมาก็จะสร้างฐานะสร้างตัวไม่ทันคนอื่นเขา ถ้าบวชเราต้องไม่สึก ถ้าบวชแล้วสึก เราจะไม่บวช” ท่านได้ตั้งปณิธานไว้ในใจเช่นนี้

ฝ่ายบิดาของหลวงปู่ก็ถามลูกชายว่า “เซียง จะเอาอย่างไรกับชีวิต จะแต่งงานไหม? ก็ไม่ได้รับคำตอบจากลูกชายสักที จึงได้ยื่นคำขาดว่า “ถ้าไม่แต่งงาน ก็ต้องบวชและถ้าบวชก็ต้องอยู่ให้ได้เป็นพระครู อย่าสึกนะ” เมื่อบิดาเปิดทางให้ดังนี้ จึงได้ตัดสินใจเป็นครั้งสุดท้าย “เราจะบวช” ได้ตั้งสัจจะไว้ในใจแต่ไม่พูดให้ใครรู้ว่า “เอาล่ะ บ้านแห่งนี้ ฉันจะไม่กลับมาเหยียบในเพศเป็นฆราวาสอีก” เพราะพิจารณาเห็นว่า ชีวิตของฆราวาสแก่นสารสาระไม่ได้เลย มันขัดข้องวุ่นวานไปหมด เฉกเช่นคนอื่นๆ ได้อีกต่อไป แม้ว่าจะพยายามทำตามอย่างหนุ่มๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน ถึงจะมีสาวๆ มาหลงรัก ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างที่คนอื่นๆ เขาต้องการได้เลย กลับมามองเห็นว่า คนเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้สูงศักดิ์ หรือยาจกผู้เข็ญใจ ก็ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ไม่ว่าจะคิดอะไรก็มาลงที่ความตายทุกที

รูปภาพ
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

รูปภาพ
พระเทพสุทธาจารย์ (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน)


อุปสมบท

เมื่อตัดสินใจว่าจะบวช บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นนาคที่วัดกระดึงทอง ซึ่งขณะนั้นมีพระอาจารย์แก้วเป็นผู้ปกครองได้รับเข้าเป็นนาคแล้วถามว่า “จะบวชนานไหม” หลวงปู่ตอบว่า “บวช ๓ ครับ” เพราะไม่กล้าบอกออกไปว่าจะบวชไม่สึก เพราะโดยอุปนิสัยของท่านแล้ว ถ้าทำอะไรยังไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้จะไม่พูดไปก่อน แต่คำว่า “สาม” ของท่านนั้น คงจะหมายถึงปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย ซึ่งท่านได้อุทิศถวายให้แก่พระพุทธศาสนาแล้ว

ในสมัยนั้น การจะบวชเป็นพระธรรมยุติ เป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควร จะต้องเดินทางไปเป็นแรมคืนทีเดียว เพราะในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ที่เป็นวัดธรรมยุติมีพัทธสีมาสามารถให้การอุปสมบทได้ ก็มีเพียงวัดเดียวเท่านั้น คือ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบูรพาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ โดยมี พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพสุทธาจารย์ (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูคุณสารสัมบัน แห่งวัดวชิราลงกรณวราราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า เขมสิริ ขณะที่ท่านอายุได้ ๒๓ ปีเต็ม

ผู้เขียนได้เคยเรียนถามหลวงหลวงปู่ว่า “หลวงปู่เคยได้ใกล้ชิดและได้อยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่ดูลย์บ้างไหมครับ?” หลวงปู่ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า “ช่วงที่บวชใหม่ๆ นั้น ยังไม่รู้จักกับหลวงปู่ดูลย์มากนัก เพราะไม่ได้อยู่จังหวัดสุรินทร์ แต่ก็ได้รับโอวาทธรรมในเรื่องการประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางสำหรับพระใหม่มาบ้าง

ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะไม่ได้อยู่อุปัฏฐาก บำรุงพระอุปัชฌาย์ในฐานะที่เป็นสัทธิวิหาริก แต่ท่านก็ยึดถือปฏิปทาของพระอุปัชฌาย์เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นพระที่พูดน้อย แต่เคร่งครัดในการปฏิบัติ ยึดมั่นในพระธรรมวินัยเป็นหลักตามแบบฉบับของหลวงปู่พระอุปัชฌาย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หลวงปู่ได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติ ดังปรากฏเป็นคติสั่งสอนศิษยานุศิษย์เรื่อยมาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

:b44: อ่านโดยละเอียดได้ที่นี่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13100
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




043.jpg
043.jpg [ 180.62 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
049.jpg
049.jpg [ 159.63 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
050.jpg
050.jpg [ 144.17 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
051.jpg
051.jpg [ 80.34 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




053.jpg
053.jpg [ 159.93 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
054.jpg
054.jpg [ 168.33 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
055.jpg
055.jpg [ 145.4 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
056.jpg
056.jpg [ 94.42 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
057.jpg
057.jpg [ 148.5 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




059.jpg
059.jpg [ 182.24 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
060.jpg
060.jpg [ 147.89 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
061.jpg
061.jpg [ 310.42 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
062.jpg
062.jpg [ 295.18 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
063.jpg
063.jpg [ 287.55 KiB | เปิดดู 9619 ครั้ง ]
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ถ่ายมาได้สวย...มากเลยครับ
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




065.jpg
065.jpg [ 102.24 KiB | เปิดดู 9617 ครั้ง ]
066.jpg
066.jpg [ 105.47 KiB | เปิดดู 9617 ครั้ง ]
067.jpg
067.jpg [ 169.82 KiB | เปิดดู 9617 ครั้ง ]
068.jpg
068.jpg [ 188.06 KiB | เปิดดู 9617 ครั้ง ]
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2012, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1721

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8: :b8: :b8:
ถ่ายมาได้สวย...มากเลยครับ
:b16:



เอาบุญและภาพมาฝากนะคะ :b13: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร