วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล
................................................................



วัดป่าเชิงเลน
(สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 ริมคลองชักพระ
แขวงคลองบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 02-865-5645-6, โทรสาร 02-865-5646


พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล เจ้าอาวาส

วัดป่าเชิงเลน ธรรมสถาน-สัปปายสถาน “วัดป่า” กลางกรุง
เป็นวัดปฏิบัติในสายองค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

เว็บไซต์วัดป่าเชิงเลน
http://www.watpachoenglane.com/
http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เย็นกาย สงบใจ ใน “วัดป่าเชิงเลน”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19668

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ

วัดป่าเชิงเลน ตั้งอยู่สุดซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 สามารถเข้าวัดได้จากซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 (ซอยวัดเพลงวิปัสสนา) ปากซอยจะมีห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ตลอดทางจะมีป้ายชี้ทางเข้าวัดตลอดทาง หากมาโดยรถประจำทาง รถประจำทางที่ผ่านปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 หลายสาย เช่น 56, 57, 68, 108 และ ปอ. 10 แล้วนั่งมอร์เตอร์ไซร์จากปากซอยไปถึงที่สิ้นสุดทางรถซึ่งจะเป็นสวนริมน้ำร่มรื่น ประมาณ 30 บาท หรือนั่งรถสองแถวสาย “ล่าง” 3 บาท ซึ่งทั้งสองทางจะต้องเดินเท้าผ่านสวนไปอีกประมาณ 800 เมตร ก็จะถึงเขตวัดป่าเชิงเลน

รูปภาพ
แผนที่วัดป่าเชิงเลน
................................................................

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หอระฆัง ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
................................................................



วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร
เลขที่ 250 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์ 084-1488-700,
087-9191-095, 02-411-2039


พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาส


วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หนทางดับทุกข์ ฟรี ทุกวันอาทิตย์ โดย ดร.พระมหาธีรพันธ์ วชิรญาโณ (ป.ธ.๔ พธ.บ., Ph.D.) รก.ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รูปภาพ

ความสำคัญของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ผู้เริ่มปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นครั้งแรกนั้นจะพบกับความสับสนว่า อะไรคือวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ ทำไมต้องใช้คำว่าภาวนาที่ลงท้ายด้วยคำว่า “หนอ” ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องพบกับความไม่หยุดนิ่งของจิตและความยากลำบากในการปฏิบัติอีกว่า จะทำอย่างไรจึงจะขจัดความลำบากเหล่านี้ได้ ความลำบากเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วง ๒-๓ วันแรกเท่านั้น ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเรายังไม่คุ้นเคยกับการที่จะต้องทำอะไรด้วยความเชื่องช้า

อย่างไรก็ตามความเชื่องช้าดังกล่าวนั้นได้เป็นวิธีการที่จะทำให้จิตสงบ เพราะฉะนั้น อุบายที่จะทำให้จิตสงบจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การสวดมนต์แล้วตั้งจิตอธิษฐาน หรือไม่ก็เป็นการสูดลมหายใจเข้าสู่ปอดให้แรงและลึกสัก ๒-๓ ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนกว่าจิตของเราจะมีสภาพอ่อนโยนพร้อมกับสติตามรู้ขณะท้องพอง ขณะท้องยุบ ในขณะที่จิตจดจ่ออยู่กับอาการพองยุบอยู่นั้นจะทำให้ลืมความไม่สบายต่างๆ จิตจะอยู่กับอาการพองยุบ โดยธรรมชาติและไม่ต้องฝืนหรือบังคับพร้อมๆ กับภาวนา “ พองหนอ ” ขณะท้องพอง “ ยุบหนอ ” ขณะท้องยุบไม่ต้องสร้างจินตนาการใดๆ จิตที่เป็นสมาธิในขณะนั้นจะนำไปสู่การกำจัดกิเลสที่อยู่ภายในใจ นั้นหมายความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงกำลังจะได้ก่อตัวขึ้นแล้ว

เมื่อใดที่กิเลส เป็นต้นว่า ความโกรธ ความเกลียด ความหลง ความกลัว ได้โอกาสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ เมื่อเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิตเราจะมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเครียด เมื่อใดที่เราปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมดังความปรารถนาเราก็จะมีความทุกข์ ความเครียดจะเกิดขึ้นติดตามมา สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจนบางครั้งทำให้เรามีความสับสนหาทางออกไม่ได้ นอกจากนี้เรายังไม่ชอบที่จะเก็บความทุกข์และความเครียดไว้ในใจ แต่มักจะสะท้อนเอาความทุกข์และความเครียดเหล่านั้นไปยังบุคคลที่อยู่รอบข้าง การกระทำเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการกระทำที่ถูกต้องเลย

การเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็เพื่อที่จะเรียนวิธีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะทำให้เรามีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข และกลมกลืนไปกับสภาวะภายในตัวของเราเอง เพื่อที่จะเรียนรู้ถึงการสร้างความสงบสุขและความเป็นอยู่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับบุคคลอื่น ตลอดจนการที่เราจะดำเนินชีวิตให้มีความสุขในแต่ละวันได้อย่างไร นี้เป็นการพัฒนาตัวเราเองให้ขึ้นไปสู่ความสงบสุขซึ่งเกิดจากการที่จิตของเรามีความใสสะอาดเป็นจิตที่มีแต่ความรักอันบริสุทธิ์ที่ขยายผลไปยังความมีเมตตา ความมีกรุณา ความพลอยยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ในการเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นศิลปะนั้น เราต้องค้นหาสาเหตุแห่งความทุกข์ซึ่งฝังรากลึกอยู่ภายในตัวเราซึ่งเราจะต้องค้นหาสาเหตุอันนั้นให้ได้ วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน จะช่วยให้เราค้นหาความจริงในตัวเราได้ ตลอดจนจะช่วยให้เราได้ตรวจสอบโครงสร้างของร่างกายและจิตใจที่มีแต่ความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นสาเหตุของความเครียดและความทุกข์

การได้รู้ได้เข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก

การที่เราได้รู้จักตัวเองจากการมองที่เรามองเพียงผิวเผินในภายนอกไปจนถึงความเป็นจริงที่มีอยู่ภายใน กระทั่งความเป็นจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของร่างกาย ซึ่งเรียกว่า “รูป” ความเป็นจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของจิตใจ ซึ่งเรียกว่า “นาม” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้รวมเรียกว่า “ปรมัตถธรรม” (สภาวะแห่งความเป็นจริงสูงสุดที่เกิดขึ้นมีขึ้นเองตามธรรมชาติของมันโดยปราศจากการกำหนดใดๆ จากตัวเรา)

ฉะนั้น การค้นหาความจริงหรือสัจธรรมที่อยู่ภายในตัวเรานั้นจะต้องเริ่มด้วยการสังเกตดูความเคลื่อนไหวของร่างกาย ดูเวทนา ดูความคิด และดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ทุกคนต้องประสบโดยไม่มีข้อยกเว้น การเฝ้าคอยสังเกตดูธรรมทั้ง ๔ อย่างดังกล่าวมาแล้วนี้ จะเป็นเครื่องเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่เรามีอยู่อย่างผิวเผินไปสู่สิ่งที่เราไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย นอกเสียจากว่าเราจะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้นจึงจะรู้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย ขณะที่เราใช้สติจดจ่อกับอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั้น เราจะได้พบกับธรรมชาติของจิตที่ไม่เคยหยุดนิ่ง โดยส่วนใหญ่จิตของเราจะท่องเที่ยวไปกับเรื่องที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่ค่อยที่จะหยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ตามความเป็นจริงนั้นจิตจะต้องอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่ปล่อยจิตไปตามกับเรื่องที่เป็นอดีตและอนาคตเพราะเรื่องที่เป็นอดีตได้ผ่านไปแล้ว ส่วนเรื่องที่เป็นอนาคตก็ยังมาไม่ถึง

เนื่องจากจิตของผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ไม่เคยฝึกให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน จิตจึงวิ่งไปโน่นไปนี่ และโดยเหตุที่จิตของผู้ปฏิบัติใหม่ยังมีความคุ้นเคยอยู่กับอารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต จิตจึงหลีกอารมณ์ปัจจุบันไปสู่อดีตและอนาคตอยู่ตลอดเวลา จิตจึงไม่สงบ ในชีวิตประจำวัน คนเราส่วนมากมักจะมีความสับสน มีความโลภ ความโกรธ ความหลงด้วยกันทุกคนจะแตกต่างกันแต่เพียงว่ามีมากหรือน้อยเท่านั้น ในกรณีที่จิตคิดอยู่กับเรื่องพอใจ เราจะมีความรู้สึกพอใจนั้นหมายถึงความโลภได้ก่อตัวขึ้นในจิต ยึดติดเป็นอุปาทานไปแล้ว ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่พอใจ จิตจะปรุงแต่งไปในทางที่ไม่ชอบ นั้นหมายถึงความโกรธได้ก่อตัวขึ้นภายในจิตใจเราเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าจิตของเราจะเกี่ยวข้องกับความชอบและความไม่ชอบอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้คือตัวกิเลสที่ทำให้เรามีความทุกข์ เป้าหมายของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ สงบ และรอดพ้นจากความทุกข์ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะช่วยให้เราสามารถขจัดกิเลสที่อยู่ภายในจิตใจของเราได้

แม้เพียงครั้งแรกของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการพยายามกำหนดความเคลื่อนไหวของร่างกาย กำหนดเวทนา กำหนดความคิด และกำหนดสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา การใช้ความพยายามกำหนดอารมณ์กรรมฐานทั้ง ๔ อย่างต่อเนื่องนั้น จะสามารถชำระจิตของเราให้บริสุทธิ์และสงบได้ ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้นเราไม่ควรที่จะกังวลว่า จิตของเราสงบนิ่งเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่เคยสงบนิ่งเป็นเวลานานๆ อย่างไรก็ตาม ความสงบของจิตแม้จะมีเพียงระยะเวลาสั้นๆ นั้นก็มีความหมายและก็มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงเวลาที่จิตได้หยุดอยู่กับความเป็นจริงของปัจจุบันอารมณ์ จิตจะหยุดการปรุงแต่งและเป็นอิสระจากกิเลส กล่าวคือ โลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นจิตจะเป็นอิสระปราศจากเครื่องร้อยรัดใดๆ โดยสิ้นเชิง

ขณะนั้นเอง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความสับสนฟุ้งซ่าน ความสงสัย ความวิตกกังวลต่อความยากลำบากที่จะปฏิบัติต่อไปจะค่อยๆ ลดน้อยลง ข้อสำคัญที่สุดก็คือ เราต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างมากในการกำหนดอารมณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เองได้เป็นสัญญาณบอกให้เราทราบว่า การปฏิบัติของเราดำเนินไปในทางที่ถูกต้องแล้ว ความรู้สึกลำบาก ความไม่สะดวก ความสับสน ความกังวลต่างๆ จะค่อยๆ หมดไป ความสงบสุขแห่งใจจะปรากฏขึ้น ความสงบสุขเช่นนี้ ไม่มีใครสามารถจะให้แก่เราได้นอกจากตัวเราเอง

รูปภาพ

ด้านการศึกษาภายในวัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ๓ แผนก คือ แผนกบาลี นักธรรม และพระอภิธรรม ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมพฺรหฺมรํสี ปัจจุบันแผนกบาลี เปิดสอนในชั้นบาลีไวยากรณ์ประโยค แผนกนักธรรม เปิดสอนตั้งแต่ชั้นนวกภูมิ และแผนกพระอภิธรรม เปิดสอนตั้งแต่ชั้นจูฬตรี อภิธรรมมหาบัณฑิต

รูปภาพ

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร


จุดเริ่มต้นของการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยจนเป็นหลักสูตรที่ยอมรับ และมีผู้ให้ความสนใจศึกษาทั่วประเทศ ปัจจุบันมีอภิธรรมบัณฑิตสำเร็จการศึกษา จำนวน ๔๑ รุ่น ไปเผยแผ่พระสัทธรรมที่ลึกซึ้ง อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ที่เข้าใจความเป็นไปในจิตใจของมนุษย์อย่างยิ่ง

หลักสูตรในการเรียนแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ
๑. ชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น จบแล้วได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต
๒. ชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น จบแล้วได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมมหาบัณฑิต

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้เปิดการเรียนการสอนทุกวัน เว้นวันพระและวันนักขัตฤกษ์ เวลา ๑๓.๐๐ น.-๑๖.๐๐ น. ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันอภิธรรมมหาวิทยาลัยได้เปิดโครงการศึกษา พระอภิธรรม ๙ ปริเฉท หลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาศึกษา เพียง ๓ เดือน เฉพาะเสาร์อาทิตย์ เมื่อจบการศึกษาแล้วได้รับ วุฒิบัตรรับรอง ซึ่งเป็นก้าวแรกของผู้สนใจพระอภิธรรมเบื้องต้น และเปิดโครงการก้าวสู่พระไตรปิฎก ที่ใช้เวลาเรียนเฉพาะ วันเสาร์ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น.

เรียนเชิญ (เรียนฟรี) ผู้ที่สนใจใฝ่รู้ที่จะศึกษาพระอภิธรรม เพื่อความเข้าใจเรื่องความคิด จิตใจ ชีวิตตนเอง เพื่อพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าอย่างถูกต้อง ติดต่อ : สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตาราม คณะ ๗ ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๑๑-๔๕๔๖, ๐-๖๐๓๘-๒๙๓๓

เรียนพระอภิธรรมฟรี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13068

รูปภาพ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

รูปภาพ
พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6925
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13976

ชมหอไตร ไหว้หลวงพ่อโต กราบพระยิ้ม ที่ “วัดระฆัง”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19678

เว็บไซต์วัดระฆังโฆสิตาราม
http://www.watrakang.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
549/94 ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ 37)
ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์ 02-412-2752


มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน

ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน มีการทำบุญตักบาตร ฟังธรรม นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม และปฏิบัติจิตภาวนา นำพาโดยครูบาอาจารย์พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น ตั้งแต่เวลา 07.00 น. - 11.30 น.

ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน มีการตักบาตรและฟังธรรมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ และปฏิบัติธรรมกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนา (รายการอาจเปลี่ยนแปลงควรสอบถามกับทางมูลนิธิก่อน)

ทั้งนี้ ทางมูลนิธิมีการจำหน่ายเทปพระธรรมเทศนาโดยพระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น ได้แก่ หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่จวน, หลวงปู่วัน, หลวงปู่บุญจันทร์ และหลวงตามหาบัว ฯลฯ

มูลนิธิหลวงปู่มั่น เป็นสถานที่ที่พระภิกษุผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาชุมนุมกันเพื่อโปรดญาติโยมที่มีจิตใฝ่บุญกุศล จัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุมาหลายองค์หลายรูป มาทั้งรับบาตรและเทศนา

สาธุชนผู้มีจิตกุศลสามารถทำบุญใส่บาตรได้ตั้งแต่เวลา 07.00 น. หลังจากนั้น (หลังพระฉันและสาธุชนรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว) ก็มีเทศนาโดยพระสุปฏิปันโน

การเดินทาง : มูลนิธิหลวงปู่มั่นนั้นไปไม่ยาก มูลนิธิตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 (ซอยวัดเพลงวิปัสสนา) ถ้าขับรถไปเองก็เข้าไปจรัญสนิทวงศ์ 37 สุดถนนจะเป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้าย (นิดเดียว) ก็จะต้องเลี้ยวขวา (บังคับเลี้ยว) ผ่านวัดเพลงวิปัสสนา ตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกทางไปมูลนิธิ ถ้าไม่มีรถ นั่งรถมอเตอร์ไซด์หน้าปากซอยก็ได้ บอกไปมูลนิธิหลวงปู่มั่น

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1991

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6786

ภาพเก่าๆ ของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ที่หาดูได้ยากมากๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=42605

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


ประมวลภาพ “มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต”
เลขที่ 549/94 ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ 37)
แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ
อาคารมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

รูปภาพ
รูปหล่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร)
................................................................



ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส
ณ ศาลาสนิทวงศ์-ชยางกูร
ถ.พระราม 6 อุรุพงษ์ซอย 15 แขวงรองเมือง
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330


พระเทพวรคุณ (หลวงพ่อประสาท) เจ้าอาวาส

พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและพระวิปัสสนาจารย์


กุฏิปัทมราช โทรศัพท์ 02-216-8176, 02-215-1890,
081-831-5352 โทรสาร 02-214-3775


พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อดีตเจ้าอาวาส

ขอเชิญอบรมสมาธิภาวนา ทำบุญใส่บาตร และฟังธรรมพระกัมมัฏฐาน ณ ศาลาสนิทวงศ์-ชยางกูร ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร จัดเป็นประจำทุกเดือน ตลอดทั้งปี

การเดินทาง

สามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วนั่งรถเมล์ตรงป้ายหน้าสนามกีฬาที่ผ่าน ยศเส หัวลำโพง เช่น สาย 15, 47 เป็นต้น มาลงที่ป้ายรถเมล์อาคารศรีจุลทรัพย์ (สำนักงาน กกต.) ตรงข้ามวัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) เป็นป้ายที่ 4 นับจากสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วเดินข้ามสะพานลอย เลี้ยวซ้ายเดินผ่านหน้าวัดชำนิหัตถการ เข้าซอยวัดบรมนิวาส ที่อยู่บริเวณเชิงสะพานยศเส ทางซอยนี้เป็นซอยเดินรถทางเดียว ออกได้อย่างเดียว รถเข้าไม่ได้ ส่วนขากลับก็เดินออกจากซอยนี้เช่นกัน แต่มารอรถเมล์ตรงฝั่งวัดสามง่าม เดินเข้าออก

หากเดินทางมาจากตลาดโบ้เบ้-มหานาค ก็นั่งรถเมล์สาย 53 มาลงตลาดโบ้เบ้สะพาน 3 แล้วเดิน
เข้าวัดทางซอยสะพาน 3 สุดซอย เดินข้ามทางรถไฟ ก็คือวัดบรมนิวาส นั่นเอง

หากเดินทางโดยเรือคลองแสนแสบ ก็ขึ้นที่ท่าเรือตลาดโบ้เบ้ แล้วเดินเข้าทางซอยสะพาน 3 เช่นกัน

หากเดินทางโดย TAXI หรือรถตุ๊กๆ มา หลายๆ คันมักไม่คุ้นชื่อวัดบรมนิวาส แล้วอาจจะพาไปวัดบวรนิเวศได้ ก็ขอให้บอกไปพระราม 6 ซ.15 ตรงอุรุพงศ์ตัดใหม่ ใกล้ๆ วัดพระยายัง กับ ส.โบตั๊น

รูปภาพ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26908

แผนที่วัดบรมนิวาส
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3447

เว็บไซต์วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
http://www.watboromniwas.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระศรีอริยเมตไตรยหรือหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
................................................................



ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดอินทรวิหาร
เลขที่ 114 ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
ถ.วิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ 02-628-5550-2, 02-282-0461,
02-282-3094, โทรสาร 02-282-8429


พระเทพวิสุทธาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร น.ธ.เอก ป.ธ.3)
เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร และเจ้าคณะเขตพระนคร


ทางศูนย์ฯ มีการจัดหลักสูตรอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกอบรมจิตใจและปฏิบัติสมาธิ
เพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวปฏิบัติของคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย
ณ อาคารปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดอินทรวิหาร
สมัครล่วงหน้า ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้หรือติดต่อขอจัดเฉพาะกลุ่ม

รูปภาพ

การเตรียมตัวและกติการะเบียบปฏิบัติสำหรับผู้เข้าอบรม

1. เตรียมมอบ/วาง ภาระต่างๆ ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่พูดคุยกัน

2. ตั้งใจเข้าปฏิบัติให้ครบตามกำหนดเวลาของแต่ละหลักสูตร ถ้าไม่ครบไม่ควรสมัคร

3. มีสุขภาพสมบูรณ์ สุขภาพจิตปกติ ไม่มีอาการทางจิตประสาท
หากมีโรคประจำตัว ให้เตรียมยา และแจ้งให้ทราบด้วย

4. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวทั้งชุด ไม่มีลวดลาย ไม่บาง ไม่ควรใส่เสื้อไม่มีแขน
ถ้าใส่กางเกง ควรเป็นกางเกงขายาวถึงตาตุ่ม ไม่ซักเสื้อผ้าทุกชนิด

5. เตรียมผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม เครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น

6. รักษาศีล 5 ที่เรียกว่าอาชีวัฏฐะมะกะศีล เป็นศีลสำหรับผู้ครองเรือน รับประทานอาหาร 3 มื้อ

7. เป็น “ผู้อยู่ง่ายกินง่าย” เกรงใจ และให้เกียรติผู้อื่น

8. ปฏิบัติตามคำแนะนำของวิทยากร

รูปภาพ
ภายในพระอุโบสถ วัดอินทรวิหาร
................................................................



การสมัคร

1. ติดต่อขอรับใบสมัครที่ศูนย์วิปัสสนาฯ หรือ ทาง http://www.watindaraviharn.org

2. สมัครด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว (หน้าตรง) จำนวน 1 รูป,
พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายชัดเจน รับรองสำเนาถูกต้อง)
สอดซองติดแสตมป์ จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง แล้วส่งมาที่..

ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน 144 อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ”
วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง บางขุนพรหม พระนคร กรุงเทพฯ 10200

(ไม่รับสมัครทางแฟกซ์หรือจองทางโทรศัพท์ ไม่รับผู้ที่มาแทนกัน โดยไม่ได้สมัครก่อน)

3. เมื่อทางศูนย์ฯ ได้รับใบสมัคร พร้อมเอกสารครบถ้วนแล้ว ทางศูนย์ฯ จะมีใบตอบรับส่งกลับไปให้ท่าน
และให้ท่านยืนยัน การเข้าอบรมโดย แฟกซ์หรือไปรษณียบัตร (กรณียกเลิกกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย)

4. ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเข้าไปที่ http://www.watindaraviharn.org
หรือ โทร. 026-628-5550 -4, 089-926-9299

เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น. สามารถสู่วัดได้สองทางคือ
ทางถนนสามเสน (ทางคนเดิน) และทางถนนวิสุทธิกษัตริย์ (ทางรถเข้า)
รถเมล์ที่ผ่าน : สาย 3, 6, 19, 30, 32, 33, 43, 49, 64, 65, 53, ปอ.6

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระราชรัตนาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายมหานิกาย ในราชทินนามที่ พระเทพวิสุทธาภรณ์

รูปภาพ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

รูปภาพ
พระเทพวิสุทธาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดอินทรวิหาร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1928

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19735

ไหว้หลวงพ่อโตรับวันมาฆะ ที่ “วัดอินทรวิหาร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19891

ประมวลภาพวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19915

ประวัติและปฏิปทาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6925
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13976

เว็บไซต์วัดอินทรวิหาร
http://www.watindharaviharn.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอุโบสถ วัดสังเวชวิศยาราม
................................................................



วัดสังเวชวิศยาราม
ย่านบางลำภู แขวงวัดสามพระยา
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ 02-282-8880, 02-282-4746
โทรสาร 02-281-9735


พระธรรมสิทธิเวที (ถมยา อภิจาโร) เจ้าอาวาส

วัดสังเวชวิศยาราม มีการสอนพระอภิธรรม-บรรยายธรรมะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา รวมทั้งมีหนังสือ-เทปธรรมะต่างๆ ให้ยืมด้วยที่ มูลนิธิปริญญาธรรม ตึกอเนกประสงค์ ชั้น 2

วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมนั้นก็มีชื่อว่า วัดบางลำพู ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อวัดให้ใหม่เป็น วัดสังเวชวิศยาราม และกลายเป็นศูนย์รวมของชาวชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม มาจวบจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2551 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 81 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพคุณาภรณ์ (ถมยา อภิจาโร) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมสิทธิเวที

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม)
หมู่ 11 สี่แยกวังหิน ซ.เสนานิคม
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 02-570-8193


พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) อดีตเจ้าอาวาส

วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิภาวนา มีความสัปปายะ สงบเงียบ สงบเย็น ร่มรื่นมาก โดยมี หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ศิษย์โดยตรงองค์สุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นอดีตพระวิปัสสนาจารย์และอดีตเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียง ใช้เวลาศึกษากรรมฐานและออกธุดงค์เป็นเวลาร่วมถึง 26 ปี

เมื่อเข้าไปภายในวัดจะรู้สึกได้ทันทีถึงความสงบเงียบ ร่มเย็นด้วยลานต้นไม้ด้านหน้าวัดที่ให้ร่มเงา มองไปเบื้องหน้าจะพบพระอุโบสถอันสวยงาม ด้านข้างเป็นที่ประดิษฐานของพระแม่ธรณีและหลวงพ่อดำ นอกจากนี้ยังมีของดีคือขอนไม้พญางิ้วดำ ซึ่งเป็นไม้มงคลศักดิ์สิทธิ์มีอายุหลายพันปี ผู้คนให้ความเลื่อมใสศรัทธามากอีกด้วย

รูปภาพ
พระอุโบสถของวัดสิริกมลาวาส ดูร่มรื่นและสงบเงียบ

รูปภาพ
หลวงพ่อดำ ภายในวัดสิริกมลาวาส


ท่านใดที่ต้องการไปปฏิบัติธรรมที่วัดก็ได้ทุกวัน หรือจะไปขออยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเดือนก็ได้

ตารางเวลาปฏิบัติ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.30 - 20.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 20.00 น.

กิจกรรมหลักมีดังนี้
- สวดมนต์ภาวนา
- เรียนทฤษฎีจิตภาวนา
- เดินจงกรม
- นั่งสมาธิภาวนา
- ถามตอบปัญหาธรรมะโดยหลวงปู่หลอด

รูปภาพ
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4626

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ

รูปภาพ
งานฉลอง 92 ปีหลวงปู่หลอด ปโมทิโต

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอุโบสถ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
................................................................



วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
เลขที่ 999 ซ.พระราม 9 กาญจนาภิเษก 19
ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ 02-318-5925-7, โทรสาร 02-319-1123


พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาส

พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) หรือปิยโสภณ

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
กรรมการกองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาท วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
กรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์
และอาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม 9 ต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม 9 และมีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม 9 เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม 9 ร่วมกับทางโรงเรียนหรือส่วนราชการต่างๆ โดยยึดหลักความพอดีและพอเพียงเป็นพื้นฐาน

วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นวัดธรรมยุติกนิกาย ที่เน้นการปฏิบัติและเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งการเผยแผ่คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา การวิปัสสนาธุระ จิตตภาวนา การประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพุทธและประเพณีไทย กิจกรรมปลูกรากแก้วศาสนทายาทของแผ่นดิน และกิจกรรมปลูกมโนธรรมสำนึกแทนคุณ เป็นต้น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและอบรมจริยธรรมของวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 ประการ คือ เพื่อเป็นแบบอย่างการก่อสร้างวัดขนาดเล็กเพื่อเป็นที่สั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา, เพื่อเป็นที่อบรมศีลธรรมจริยธรรม, เพื่อการพัฒนา และเพื่อเป็นตัวอย่างของการปลูกฝังความใกล้ชิดระหว่างวัด โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานราชการ ให้มีลักษณะเกื้อหนุนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ

1. จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน โดยให้ภิกษุสามเณรผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่นักเรียน โรงเรียนวัดพระราม 9 กาญจนภิกเษก ในชั่วโมงเรียนวิชาพระพุทธศาสนาและจัดบรรยายพิเศษนอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อันเป็นฐานของการขัดเกลาจิตใจสำหรับเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติในอนาคต

2. จัดฝึกอบรมศีลธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน เป็นการฝึกธรรมจิตด้วยสมาธิวิธีและพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสมาธิในการเรียน มีสำนึกในทางศีลธรรม มีมารยาทที่ ดีงาม รู้จักทั้งประโยชน์แก่ส่วนรวมตามควรแก่สถานภาพ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มี “ห้องสมุดธรรมะ” และ “ห้องโสตทัศนศึกษา” สำหรับฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

สำหรับโครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาทนั้น เป็นการสร้างบุคลากรทางสงฆ์ให้เพิ่มพูนขึ้นอย่างมีประสิทธภาพ เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยืนยาวตลอดไป ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ต่อมาพุทธมามกะกลุ่มหนึ่ง ได้ตระหนักถึงภัยอันจะเกิดขึ้นจากการขาดแคลนศาสนทายาท จึงเข้ามาร่วมผลักดันโครงการกองทุนปลูกรากแก้วฯ จนเป็นรูปธรรมขึ้นมา ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 4 ปี ที่ได้เริ่มรณรงค์เชิญชวนพี่น้องชาวไทยผู้มีศรัทธา ได้ร่วมใจกันอุปถัมภ์ทุนการศึกษาต่อเนื่องให้แก่เยาวชนได้เข้ามาบวชเรียน

อนึ่ง ภัยของสิ่งเสพติดทั้งหลายกำลังคุกคามเยาวชน กองทุนปลูกรากแก้วฯ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้บิดามารดาของเยาวชนรุ่นใหม่ เห็นความสำคัญของการให้เยาวชนเข้ามาบวชเรียนทางพุทธศาสนา เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันอบายมุขทั้งปวง ซึ่งปรากฏผลสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีผู้เข้ามาขอบวชในโครงการฯ และขอรับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก


รูปภาพ
“พระพุทธกาญจนธรรมสถิต” พระประธานในพระอุโบสถ
................................................................



ประวัติเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ประทานอนุญาตให้มาดำรงตำแหน่งนี้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ครองสมณเพศมาได้ 46 พรรษา (เมื่อปี พ.ศ. 2551) ศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบเปรียญธรรม 5 ประโยค ท่านเป็นชาวจังหวัดนครปฐมโดยกำเนิด ได้บรรพชาตั้งแต่เป็นสามเณร

ปี พ.ศ. 2497 ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่วัดบวรนิเวศวิหาร จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางปกครองเป็นเลขานุการเจ้าคณะภาคธรรมยุต 4-5-6-7 และต่อมาได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

ปี พ.ศ. 2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพญาณวิศิษฏ์

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมบัณฑิต

เว็บไซต์วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
http://www.rama9temple.com/
http://www.watpraram9.net/
http://www.piyasophon.org/

รูปภาพ
พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาส

รูปภาพ
พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส


หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชญาณกวี

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1980

วัดประจำรัชกาลที่ ๙ : วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ฯลฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19317

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13499

เรียนรู้วิถีพอเพียงที่พระราม 9
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13500

รวมคำสอน “พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44115

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ชมรมพระพุทธศาสนา บริษัท เอไอเอ จำกัด
ชั้น 8 อาคาร เอไอทาวเวอร์ ถ.สุรวงค์ มุมถนนเดโช
แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์ 081-931-2266


ชมรมพระพุทธศาสนา บริษัท เอไอเอ จำกัด จัดให้มีการบรรยายธรรม สนทนาธรรม และฝึกสมาธิ เดือนละ ๑ ครั้ง ทุกวันพุธสัปดาห์ของทุกเดือน ในเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. ณ ห้องพระบริษัท เอไอเอ จำกัด ชั้น ๘ อาคาร เอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงค์ มุมถนนเดโช เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (ขึ้นลิฟท์หมายเลข ๑๐ หน้าวงเวียน ถึงห้องอาหารชั้น ๗ แล้วขึ้นบันไดต่อไปชั้น ๘)

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่ห้องพระบริษัท เอไอเอ จำกัด
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1994

ความเป็นมาชมรมพระพุทธศาสนา บริษัท เอไอเอ จำกัด
http://www.aia.or.th/aboutus.htm

เว็บไซต์บริษัท เอไอเอ จำกัด
http://www.aia.or.th/
Email : info@aia.or.th

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน “บ้านพาณิชย์กุล”
เลขที่ 44/128 ซ.กำนันแม้น 36 ถ.กำนันแม้น
แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 081-915-5326, 081-736-6483


คุณไพโรจน์-คุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล ผู้ก่อตั้ง

สถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน “บ้านพาณิชย์กุล” ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2548 โดยคุณไพบูลย์ และคุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แบบสติปัฏฐาน 4 ได้รับการออกแบบตั้งแต่ต้นให้เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการปฏิบัติของโยคี ซึ่งเปิดรับสมัครทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยปฏิบัติ เพื่อสืบสานการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นทางสายเอกของพระพุทธศาสนาในการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

รูปภาพ

หลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน ณ บ้านพาณิชย์กุล

หลักสูตร 7 วัน (อ.พระคำสิริ)

ผู้สอน :
อ.พระคำสิริ ภูมิปญฺโญ และคณะวิทยากร, อ.พระครูศรีปทุมรักษ์

ลักษณะการปฏิบัติ :
หลักสูตร 7 วันของคุณแม่สิริ กรินชัย โดยคณะวิทยากรจะเป็นผู้นำปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติ และมีเวลาว่างมากพอ โยคีจะได้เรียนรู้วิธีการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การกำหนดอิริยาบถย่อยต่างๆ และได้สอบอารมณ์โดยคณะวิทยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม :
ระหว่างปฏิบัติ โยคีถือศีล 5 รับประทานอาหาร 3 มื้อ ลงทะเบียนและเข้าปฏิบัติช่วง 11.00-12.00 น. ของวันแรก กลับบ้านประมาณ 12.00 น. ของวันสุดท้าย

คำแนะนำ :
หลักสูตรนี้ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติที่มีเวลามากพอ เพราะไม่ต้องควบคุมตนเองมาก จะมีคณะวิทยากรคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และการปฏิบัติไปพร้อมๆ กันจะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติ อีกทั้งระยะเวลา 7 วันจะได้ผลดีมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้น

รูปภาพ

หลักสูตร 7 วัน (อ.พระมหาทองมั่น)

พระวิปัสสนาจารย์ :
อ.พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต, อ.พระณรงค์ กนฺตสีโล

ลักษณะการปฏิบัติ :
พระวิปัสสนาจารย์จะสอนวิธีการปฏิบัติในตอนแรกเท่านั้น หลังจากนั้นโยคีต่างคนต่างปฏิบัติเอง บริหารเวลาเอง ควบคุมตนเอง โยคีจะได้สอบอารมณ์โดยพระวิปัสสนาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และท่านจะได้ช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติเป็นรายบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม :
ระหว่างปฏิบัติ โยคีถือศีล 8 โดยรับประทานอาหาร 2 มื้อเท่านั้น (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือต้องรับประทานยา) ลงทะเบียนและเข้าปฏิบัติช่วง 8.00-9.00 น. ของวันแรก กลับบ้านประมาณ 12.00 น. ของวันสุดท้าย

คำแนะนำ :
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติมากกว่า แต่ถ้าไม่เคยปฏิบัติ แล้วต้องการสมัครจะต้องมั่นใจว่าจะตั้งใจปฏิบัติ และสามารถควบคุมตนเองให้รักษาวินัยในการปฏิบัติได้

รูปภาพ

หลักสูตร 3 วัน (อ.มยุรี)

วิทยากร :
อ.มยุรี ลิขิตสุนทรกุล และคณะวิทยากร

ลักษณะการปฏิบัติ :
ดัดแแปลงมาจากหลักสูตร 7 วันของคุณแม่สิริ กรินชัย โดยคณะวิทยากรจะเป็นผู้นำปฏิบัติ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติ และมีเวลาว่างไม่มากพอ โยคีจะได้เรียนรู้วิธีการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ และการกำหนดอิริยาบถย่อยต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติต่อๆ ไป

ข้อมูลเพิ่มเติม :
ระหว่างปฏิบัติ โยคีถือศีล 5 รับประทานอาหาร 3 มื้อ ลงทะเบียนและเข้าปฏิบัติช่วง 15.00-16.00 น. ของวันแรก กลับบ้านประมาณ 15.00 น. ของวันสุดท้าย

คำแนะนำ :
หลักสูตรนี้มีพิธี “พระในบ้าน” ซึ่งจะทำให้โยคีซาบซึ้งถึงพระคุณของแม่ (และพ่อ) จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับโยคีที่เป็นแม่-ลูก มาเข้าปฏิบัติด้วยกัน (แต่ลูกต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป)

รูปภาพ

ความเป็นมาสถานปฏิบัติธรรมบ้านพาณิชย์กุล

เริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณไพบูลย์ และคุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล ซึ่งมีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา คุณไพบูลย์สนใจศึกษาธรรมะและค้นคว้าศึกษาหลักธรรมคำสอน ส่วนคุณจรรย์ภรณ์ไหว้พระ สวดมนต์ และนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน เมื่อมีโอกาสทั้งคู่และกลุ่มเพื่อนๆ มักจะไปร่วมสร้างวัดตามต่างจังหวัดเสมอๆ อยู่มาวันหนึ่งเมื่อคุณวิสุทธิ์ เตชะชัยพรพจน์ เพื่อนสนิทในกลุ่มร่วมทำบุญ ได้ชวนคุณไพบูลย์ให้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 7 วัน ณ บ้านพรพรหม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านคุณชยพล เตชะชัยพรพจน์

ในขณะเดียวกันคุณจรรย์ภรณ์ก็ได้เข้าปฏิบัติฯ 7 วัน ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ (เพชรเกษม 54 กรุงเทพฯ) ทั้งคู่รู้สึกถึงผลจากการปฏิบัติว่า ทำให้ชีวิตมีความสุขสบายใจมากขึ้น ความทุกข์ใจเบาบางลง ประกอบกับในตอนนั้นโรงงานที่ตั้งอยู่ข้างบ้านก็เก่ามากแล้ว จึงย้ายโรงงานไปที่แห่งใหม่ เมื่อที่เดิมว่างอยู่จึงปรึกษากันว่า “น่าจะสร้างเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน” เพื่อชักชวนให้คนที่รู้จักได้มาปฏิบัติฯ

การก่อสร้าง : ในการดำเนินการก่อสร้างนั้นจะต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย (ว่ากันว่าเมื่อจะสร้างบุญใหญ่มักจะมีมารมาผจญ) แต่ทั้งคู่ก็ช่วยกันแก้ปัญหาและผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ โดยมีพระอาจารย์คำสิริ ภูมิปญฺโญ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และคุณวิสุทธิ์ เตชะชัยพรพจน์ ซึ่งปฏิบัติธรรมมานาน คอยช่วยให้คำปรึกษาชี้แนะ รวมถึงช่วยออกแบบสถานที่ให้เหมาะสมและเกื้อกูลแก่การปฏิบัติฯ พระอาจารย์คำสิริได้เมตตาตั้งชื่อเพื่อเป็นสิริมงคลแก่สถานที่นี้ว่า “บ้านพาณิชย์กุล” โดยคุณไพบูลย์และคุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล ได้ยกสถานที่นี้ให้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน

รูปภาพ

ร่วมกันสร้างบุญ : เมื่อคุณวิสุทธิ์ เตชะชัยพรพจน์, คุณสิริชัย-คุณวริณภร พุ่มเข็ม, คุณวิภาพร วัชระศิริไพโรจน์ และเพื่อนๆ ในกลุ่มทำบุญ ทราบข่าวการก่อตั้งบ้านพาณิชย์กุล ก็อนุโมนาสาธุ และมีความประสงค์จะร่วมบุญด้วย โดยช่วยกันจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ยังขาด เช่น โต๊ะอาหาร เก้าอี้ ตู้เย็น เครื่องกรองน้ำ ชุดเครื่องขยายเสียง ชั้นวางโทรทัศน์เพื่อบรรยายธรรม ฯลฯ ทำให้บ้านพาณิชย์กุลเสร็จสมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน

อุ่นเครื่อง : เมื่อสถานที่พร้อม คุณจิตสุภา ลิมปาภินันท์ เพื่อนคุณจรรย์ภรณ์ ได้แนะนำให้คุณจรรย์ภรณ์รู้จักกับพระมหาโสภณ มณีปฺญญาพร เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดราชโอรส และได้นิมนต์ท่านมาสอนวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น เดือนละ 1 วัน ท่านได้สอนให้รู้จักวิธีการเดินจงกรม นั่งสมาธิ วิธีการกำหนดอิริยาบถย่อย แต่ก็ยังไม่ได้เปิดคอร์สให้โยคีได้ปฏิบัติต่อเนื่องหลายๆ วัน เรียกว่าเป็นการสอนให้รู้วิธีปฏิบัติเท่านั้น

เปิดหลักสูตรครั้งแรก : ได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์คำสิริ ภูมิปฺญโญ และพระอาจารย์มหาแสน สุทฺธิเมธี (ปัจจุบันคือ พระครูศรีปทุมรักษ์) เจ้าอาวาสวัดหนองบัว จ.เชียงใหม่ มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ได้มาเปิดหลักสูตรให้เป็นครั้งแรก โดยมี อ.ใหญ่ และ อ.น้อย มาเป็นวิทยากร ทั้งนี้ โดยมีคุณสิริชัย-คุณวริณภร พุ่มเข็ม และคณะ ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตร 7 วัน ซึ่งได้รับความสนใจจากเพื่อนๆ มาเข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดต่อเนื่องเรื่อยมา

รูปภาพ

หลักสูตรเพิ่มเติม : เนื่องจากสภาวะสังคมในปัจจุบัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ต้องทำงานประจำ และหาเวลาว่างติดต่อกัน 7 วันได้น้อยมาก คุณจรรย์ภรณ์ จึงได้ปรึกษากับ อ.มยุรี ลิขิตสุนทรกุล ซึ่งเป็นวิทยากรของคุณแม่สิริ กรินชัย โดยคุณจรรย์ภรณ์ได้รู้จักกับ อ.มยุรี ตอนไปปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธฯ 2 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี อ.มยุรี ก็ได้แนะนำว่าสามารถสอนหลักสูตร 3 วันได้ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ โดยได้ดัดแปลงมาจากหลักสูตร 7 วัน ของยุวพุทธิกสมาคมฯ บ้านพาณิชย์กุลจึงได้ทดลองจัดโดยมีวิทยากร 3 ท่าน คือ อ.มยุรี ลิขิตสุนทรกุล, อ.ละเอียด พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อ.โชติกา ซึ่งได้รับความสนใจจากเพื่อนๆ มาเข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทางบ้านพาณิชย์กุลจึงได้เพิ่มหลักสูตร 3 วัน ของ อ.มยุรี เข้าไปด้วย สำหรับผู้ไม่เคยปฏิบัติ และได้จัดต่อเนื่องเรื่อยมา

ต่อมาคุณจรรย์ภรณ์มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการพระวิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต (วัดภัททันตะอาสภาราม ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี) ในระหว่างที่ท่านมาสอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 2 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อท่านได้ทราบว่าบ้านพาณิชย์กุลมีจัดวิปัสสนากรรมฐานก็ได้อนุโมทนา คุณจรรย์ภรณ์จึงขอความเมตตาจากท่าน นิมนต์ท่านให้ช่วยมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่บ้านพาณิชย์กุล ซึ่งท่านก็ได้เมตตารับนิมนต์ ต่อมาหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน 3 วันจึงได้ถูกจัดขึ้นโดยเน้นผู้ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว โดยมีพระอาจารย์มหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต และพระอาจารย์ณรงค์ กนฺตสีโล (วัดมะขามเรียง ต.ไผ่ขวาง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี) ได้เมตตามาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และมี ดร.ศักดิ์สมิทธิ์ มธุการสทิสก์ มาเป็นวิทยากร และได้จัดต่อเนื่องเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2549 จึงเริ่มจัดหลักสูตร 5 วัน ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีต่อผู้ไม่เคยปฏิบัติฯ และปรับเปลี่ยนเป็นหลักสูตร 7 วันตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 จนถึงปัจจุบัน

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สถานปฏิบัติธรรมบ้านพาณิชย์กุล
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3343

เว็บไซต์สถานปฏิบัติธรรมบ้านพาณิชย์กุล
http://www.banphanichkul.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดอัมพวัน (ศูนย์ปฏิบัติธรรม ชั้น 2)
เลขที่ 1186 ถ.นครไชยศรี ซ.วัดอัมพวัน
แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 02-241-0721, 02-669-1842, 084-933-4009


ขอเชิญเข้าอบรมหลักสูตร
“ออกกำลังจิต เพิ่มวัคซีนใจ ให้เกิดปัญญาและสันติสุข”
(MODERN VIPASSANA)

โดยมีวิปัสสนาจารย์คือ อาจารย์นุชพร วิปัสสนานนท์


ในยุคสังคมที่เร่งรีบนิยมวัตถุ เมื่อเกิดปัญหาขาดที่พึ่งทางใจ ขาดความยับยั้ง การแก้ปัญหากลับสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นและตนเอง สังคมที่หวังความร่ำรวยจากเยาวชน (วัยรุ่น) ชักจูงมอมเมา ล่อลวง สร้างความหนักใจให้กับบุคคลหลายฝ่าย ล้วนลงความเห็นมีเพียงพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

เป็นหลักสูตรที่สร้างพลังและภูมิต้านทางใจ ให้มีสติ เกิดปัญญา แก้ไขปัญหาได้ รักษาโรคใจ เช่น หวาดกลัว เครียด โรคสารพัดติด ก่อเกิดความสุขสงบเย็น นำเสนอหลักพระธรรมที่ล้ำสมัย ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ได้ผลจริง เปิดโอกาสให้รับรู้ และปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น

สำหรับเยาวชน ผู้เริ่มสนใจ ผู้มีภาระกิจมาก ผู้สนใจเป็นวิทยากรวิปัสสนาฯ

กำหนดการอบรม

เวลา 5 นาที . . . . กล่าวบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล
เวลา 15 นาที . . . ธรรมบรรยาย
เวลา 30 นาที . . . กำหนดสติเคลื่อนมือ/เท้า นั่งสมาธิ
เวลา 10 นาที . . . แก้ไขอารมณ์กรรมฐาน

วันแรก : ธรรมบรรยาย

ครั้งแรก . . . ออกกำลังจิต จิตเปรียบเหมือน COMPUTER กิเลสเปรียบเหมือน VIRUS
ครั้งที่ 2 . . . . วิธีทำลายกิเลส มีกิเลสเหมือนมีระเบิดติดตามตัว
ครั้งที่ 3 . . . . การสร้างความสุขแบบไม่มีสารพิษ มีทั้งแบบให้ทำ และไม่ต้องทำ

หมายเหตุ - ใช้เป็นพื้นฐาน ในการเข้าปฏิบัติธรรมฯ วันที่สอง

วันที่สอง : ธรรมบรรยาย

ครั้งแรก . . . ธรรมะที่บอกว่า จิตเหมือน COMPUTER ความล้ำสมัยของพุทธศาสนา
ครั้งที่ 2 . . . . ระวัง! แก๊งกิเลส นามสกุล-อกุศล มีมาก ไม่ใช่มีแค่ โลภะ โทสะ โมหะ
ครั้งที่ 3 . . . . ลงทุนปฏิบัติธรรมน้อย ให้ผลตอบแทนสูง ไม่จำกัดสถานที่และเวลา

หมายเหตุ - ผู้เข้าปฏิบัติฯ ในวันที่สองนี้ ต้องเข้าปฏิบัติธรรมฯ วันแรกก่อน

ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ชั้น 2 วัดอัมพวัน เขตดุสิต กรุงเทพฯ
(รับจำนวนจำกัด, ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ)

หากมีคณะบุคคล ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป สนใจการปฏิบัติธรรม
ยินดีจัดส่งธรรมะให้ถึงสถานที่ที่ท่านสะดวก


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=killsad

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ
แผนที่วัดอัมพวัน
................................................................



ประวัติวิทยากร
ชื่อ : นุชพร วิปัสสนานนท์ เกิด : ปี 2499
ที่อยู่ : 1148/44 ถ.นครไชยศรี ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 02-241-0721 PCT 02-8731472 กด 5
การศึกษา : ปริญญาตรี ม.ธรรมศาสตร์ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี (การเงิน) ปี 2519-2523

การศึกษาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา : เมื่อเรียนชั้นประถมศึกษา บิดาสอนทำสมาธิภาวนา “พุทโธ” ตั้งแต่ปี 2537 เข้าอบรมพัฒนาจิต (วิปัสสนากรรมฐาน) 8 วัน 7 คืน ของ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย 12 ครั้ง และเข้าปฏิบัติแบบเข้มหลายครั้ง, ปี 2538 สนใจศึกษาพระอภิธรรมจากหนังสือมูลนิธิอาจารย์แนบ มหานีรานนท์, ตั้งแต่ปี 2542-2547 เป็นผู้ช่วยและวิทยากรให้การอบรมพัฒนาจิตฯ แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป 8 วัน 7 คืน และ 5 วัน 4 คืน จำนวน 49 ครั้ง และในปี 2548 จัดทำหลักสูตร “ออกกำลังจิต เพิ่มวัคซีนใจ ให้เกิดปัญญาและสันติสุข” สำหรับเยาวชน ผู้เริ่มสนใจ ผู้มีภาระกิจมาก ผู้สนใจเป็นวิทยากรวิปัสสนาฯ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ซี.พี. ยกวัด
บริษัท ซี.พี.ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดย พุทธปัญญาชมรม
ห้องประชุมชั้น 11 อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์ (สีลม)
ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ 02-677-1901, 02-631-0231 ต่อ 1725, 1753


ทุกวันศุกร์ เวลา 12.05-13.30 น.

บริษัท ซี.พี.ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดย พุทธปัญญาชมรม ได้จัด โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ ให้กับผู้สนใจได้ฟังธรรม ซักถามปัญหา และปฏิบัติธรรม ทุกวันศุกร์ ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคาร ซี.พี.เทาเวอร์ (สีลม) กรุงเทพฯ เวลา 12.05-13.30 น. ฟรี.....


นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ได้จัดตั้ง ชมรมพุทธปัญญา ขึ้นเพื่อปฏิบัติกิจที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมนำสมัย “ยกวัดมาไว้ที่เซเว่น” ณ อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม ทุกวันศุกร์ เวลา 12.05-13.30 น. ประกอบด้วยกิจกรรม ชาวพุทธครบวงจร เริ่มต้นด้วยการทำวัตรสวดมนต์ ฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์และวิทยากรผู้เคร่งธรรมวินัย ปิดท้ายด้วยการเจริญสติทำสมาธิ พร้อมแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 08.00-08.30 น. พนักงานเซเว่น อีเลฟเว่น ยังมีกิจกรรมทำวัตรเช้าด้วย

โครงการยกวัดมาไว้ที่เซเว่น เป็นกิจกรรม เพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยจัดทำติดต่อกันมานานเป็นปีที่ 11 เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมน้อม นำคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นหลักปฏิบัติในการครองตนในทางที่ชอบที่ควร และเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้งมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการดำรงชีวิต ตลอดช่วยลดความสับสนวุ่นวายในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นความปีติอย่างยิ่งที่เราได้ร่วมอนุโมทนาบุญและช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การปฏิบัติธรรมทุกวันศุกร์ได้รับความสนใจจากชาวพุทธมาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละสัปดาห์จะมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 150 คน รวมไปถึงการจัดงานบุญใหญ่หมุนเวียนกันไป อาทิ เทศน์มหาชาติ พิธีพุทธาภิเษกหรือพิธีปลุกเสกพระเครื่อง พิธีสืบชะตาสไตล์ล้านนา เป็นต้น การจัดงานแบบนี้ทุกครั้งจะมีชาวพุทธเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 400 คน

“ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนไทยที่พร้อมใจในการร่วมบุญ ร่วมสร้างให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่สืบไปให้กับลูกหลาน ทางคณะกรรมการจึงได้ร่วมกันทำรายการธรรมะรูปแบบใหม่ สไตล์ ซี.พี. “พุทธปัญญาภิรมย์” ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ทางยูบีซี ช่อง 7 ซึ่งจะเป็นรายการธรรมะเรียกว่าร่วมสมัยก็ว่าได้ ดูแล้วจะมีเนื้อหาธรรมะที่เข้าใจง่าย ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม” นายก่อศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น ยังเป็นเอกชนรายแรกและรายเดียวที่ได้รับการอนุญาตจากแม่กลองธรรมสนามหลวงเป็นสนามสอบธรรมศึกษาตรี โท เอก สังกัดวัดบวรนิเวศวิหาร สำหรับผู้สนใจธรรมทั่วไปและให้การสนับสนุนหนังสือเรียนได้ และพนักงานในกลุ่มธุรกิจการตลาดเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่สอบผ่านธรรมศึกษาตรี จะได้รางวัลเป็นเงิน 1,000 บาท ธรรมศึกษาโทเป็นเงิน 2,000 บาท และธรรมศึกษาเอกเป็นเงิน 3,000 บาท ตรงนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจให้พนักงานให้มีความสนใจในเรื่องหลักธรรมกันมากขึ้น


บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับการอนุมัติเป็นสนามสอบธรรมศึกษาจากแม่กองธรรมสนามหลวง ท่านใดสนใจสมัครเรียนและสอบธรรมศึกษา ติดต่อได้ที่ พุทธปัญญาชมรม โทรศัพท์ 02-677-1901 วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ
http://www.cpallnews.com/Home/News-Cate ... B8%B2.aspx

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง
เลขที่ 14 ซ.พัฒนาการ 20 แยก 6
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


โครงการปฏิบัติธรรมหลักสูตรพิเศษ
โดยพระอาจารย์สว่าง ติกฺขวีโร และคณะ


รับผู้ปฏิบัติประมาณ 30 ท่าน สมาทานศีล 8 เวลา 7 วัน 6 คืน


คณะเจ้าภาพบ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเสมือนโอสถอันทรงสรรพคุณวิเศษที่สามารถลดอวิชชาและกิเลส อันเป็นเหตุแท้จริงของความทุกข์ได้ ผู้ทดลองปฏิบัติเมื่อได้พบด้วยตัวเองว่าได้ทั้งปัญญาและความสุข เปรียบดังเทียนส่องแสงสว่างทางเดินให้ตนเอง จึงได้เผื่อแผ่แสงสว่างแห่งการปฏิบัติให้กว้างออกไปถึงบุคคลอื่นด้วย

รูปภาพ

ด้วยเหตุนี้ คุณกฤตภาส บุนนาค คณะเจ้าภาพและผู้ประสานงาน จึงได้ร่วมกันจัด “โครงการปฏิบัติธรรมหลักสูตรพิเศษ” โดยนิมนต์ พระอาจารย์สว่าง ติกฺขวีโร (วัดมหาธาตุฯ คณะ 3 กรุงเทพฯ) และคณะ มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์และพระอาจารย์ดำเนินการสอนวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐาน 4 (พอง-ยุบ) เพื่อเป็นการฝึกฝนประสบการณ์กรรมฐานให้แก่ตนเอง เป็นเวลา 7 วัน 6 คืน ที่บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง ทั้งนี้ก็เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย

การสอนของท่านอาจารย์ เหมาะแก่ผู้ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในการนั่งปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน การปฏิบัติจะใช้ห้องปฏิบัติธรรมรวม แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิ และกำหนดอิริยาบถย่อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และรักษาเวลาในการเดินการนั่งแต่ละบัลลังก์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีวิทยากรควบคุม

คุณกฤตภาส บุนนาค
บริษัท แอดวานซ์ รีเสิร์ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
เลขที่ 14/1 ซ.พัฒนาการ 20 แยก 6
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

สอบถามรายละเอียดติดต่อ
คุณมนัสนันท์
โทรศัพท์ 02-318-6219 ต่อ 105 หรือ 08-5158-6336
โทรสาร/แฟ็กซ์ 02-318-6220


รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6071

เว็บไซต์บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง
http://bansl.multiply.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม
เลขที่ 1/4-7 ถนนบรมราชชนนี ที่ 119
กม. 16 ก่อนถึงพุทธมณฑลสถาน 4 กม. ซ้ายมือ
แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170


โทรศัพท์ 02-888-7940, 02-441-1535,
02-441-1588, 02-441-1981


เชิญร่วมฟังธรรมจากพระภิกษุผู้ทรงภูมิธรรมและภูมิปัญญา
ในรายการ พบพระพบธรรม ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น.
ณ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา


ท่านที่ร่วมฟังธรรมเทศนาจักได้รับหนังสือธรรมะเป็นธรรมทาน
จากสถาบันบันลือธรรม ทุกสัปดาห์ทุกท่าน

สอบถามองค์แสดงธรรมได้ที่ โทร. 02-441-1917

รูปภาพ

• ปณิธานของธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม •

สำนักพิมพ์ธรรมสภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2530 มีปณิธานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามเจตนารมณ์ของ ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี (นายบรรลือ สุขธรรม ป.ธ. 8) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ก่อสร้างธรรมสภา อันเป็นธรรมสภาแห่งแรกของประเทศไทย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 7 ทรงปิดทองลูกนิมิตเอก ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492

สืบเนื่องตามกาลเวลา ในยุคก่อนปีพุทธศักราช 2530 หนังสือธรรมะที่ได้จัดพิมพ์จำหน่ายในท้องตลาด โดยทั่วไปส่วนมากมีเนื้อหาสาระและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก แต่ไม่มีผู้คนสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะรูปเล่มส่วนใหญ่ไม่มีความสวยงาม ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะดึงดูดประชาชนให้สนใจหนังสือธรรมะ ทำให้ในอดีตหนังสือธรรมะไม่ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ได้ตั้งปณิธานว่า ภายใน 10 ปีจะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการเผยแพร่หนังสือธรรมะ ให้มีรูปแบบสวยงาม น่าจับต้อง เป็นที่สนใจของประชาชน และจะทำให้หนังสือธรรมะขึ้นชั้นโชว์ตามร้านหนังสือชั้นนำ ติดอันดับ Best Seller เหมือนหนังสือชนิดอื่นทั่วๆ ไปที่วางจำหน่ายอยู่ จึงได้พัฒนารูปแบบปกและรูปเล่มให้มีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี และตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540 เป็นต้นไป จะทำให้ประชาชนเปลี่ยนวัฒนธรรมการอ่านมาสนใจหนังสือธรรมะเพิ่มมากขึ้น ธรรมสภามีความภูมิใจที่ได้นำเสนอและพัฒนาการอ่านหนังสือธรรมะของประชาชน ดังที่ท่านจะเห็นได้ในปัจจุบัน

ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540 ที่ผ่านมา ธรรมสภาได้ตั้งปณิธานให้หนังสือธรรมะเป็นหนังสือที่มีคุณภาพดีและราคาถูก จะพัฒนาหนังสือและสื่อธรรมะให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หนังสือธรรมะ ทั้งสวย ทั้งดี มีคุณภาพ และราคาไม่แพง

ในปีพุทธศักราช 2550 เป็นต้นไป เป้าหมายของสำนักพิมพ์ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม คือการเผยแผ่ธรรมะที่ส่งเสริมให้ประชาชน ลด ละ เลิก อบายมุข และสิ่งเสพติดทั้งหลาย เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามและการนำมาซึ่งความสุขของมนุษยชาติ

ธรรมสภาได้ตั้งปณิธานไว้ว่า ในปีพุทธศักราช 2560 ประชาชนชาวไทยจักมีอิสระ ปราศจากความงมงาย ปราศจากสิ่งเหลวไหล และจะส่งเสริมให้อบายมุขหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่ขอให้ลดลงๆ เรื่อยๆ รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนมีศีล มีธรรม มีวัฒนธรรมของชาวพุทธ และมีความปีติในการปฏิบัติธรรม เพื่อความสุขของชีวิตและเพื่อความสุขของสังคมโดยทั่วกัน

ด้วยความสุจริตหวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบกับความสงบสุข

..........

• สถาบันบันลือธรรม •

สถาบันบันลือธรรม เป็นองค์กรเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอด และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่มั่นคง อันเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของ หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อดีตองค์ประธานสถาบันบันลือธรรม และ ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี ป.ธ. 8 ประโยค (นายบรรลือ สุขธรรม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้กำเนิดธรรมสภา

• กิจกรรมของสถาบันบันลือธรรม •

1. โครงการพบพระ พบธรรม มีพระเถระผู้ทรงภูมิธรรมและภูมิปัญญา แสดงธรรม ณ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น. สอบถามองค์บรรยายธรรมที่ โทรศัพท์ 02-441-1917

2. โครงการศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก, โครงการสำหรับเด็กและเยาวชน จัดที่ธรรมสถานสวนมุทิตาธรรมาราม ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม

3. โครงการอยู่กันด้วยความรัก จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศล ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และช่วยเหลือชุมชนในถิ่นทุรกันดาร

4. ธรรมสถาน “สวนมุทิตาธรรมาราม” ถ.พุทธมณฑลสาย ก ติดกับพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม อบรมการเรียนรู้ชีวิตตามธรรมใน 1 วัน ทุกวันพุธต้นเดือน เวลา 08.00-16.00 น. ติดต่อขอร่วมกิจกรรมที่ โทรศัพท์ 086-003-5478

5. กองทุนคลังธรรมทาน บริจาคหนังสือเป็นสาธารณกุศล เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน โดยแจ้งความจำนงเป็นจดหมายขอรับบริจาคได้ที่ธรรมสภา

6. หอสมุดธรรมสมาธิ ห้องสมุดธรรมะและนั่งสมาธิภาวนา พร้อมกับฟังธรรมะในสวนใต้ร่มเงาไม้ตามธรรมชาติ สถานที่รื่นรมย์ติดกับพุทธมณฑล เปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. สอบถามรายละเอียดข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์ 02-482-1196

การพิมพ์หนังสือธรรมเป็นอนุสรณ์นอกจากเป็นการจัดทำสิ่งซึ่งมีประโยชน์ที่คงอยู่ยืนนานแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญธรรมทาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยมอีกด้วย ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ชื่อว่าได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ธรรม อันจะอำนวยประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน

ท่านที่ประสงค์จัดพิมพ์หนังสือธรรมะที่ดีมีคุณภาพ เพื่อมอบเป็นที่ระลึกในทุกโอกาสของงานประเพณี อันเป็นการใช้จ่ายเงินอย่างมีคุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โปรดติดต่อที่...

ธรรมสภา ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา
1/4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 02-441-1588, 02-434-4267
โทรสาร 02-441-1464 http://www.thammasapa.com

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม และสวนมุทิตาธรรมาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=40882

ธรรมสภา จัดเรือนทานในเทศกาลกินเจ ฟรี! ๑๕-๒๓ ต.ค.๕๕
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43598

เว็บไซต์ธรรมสภา
http://www.thammasapa.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร