วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดอุบลราชธานี ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดอุบลราชธานี
http://ubonratchathani.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
............................................................................



วัดหนองป่าพง
เลขที่ 46 หมู่ 10 บ้านพงสว่าง
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
โทรศัพท์ 045-322-729, 045-268-084,
045-267-563, โทรสาร 045-268-084


พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) อดีตเจ้าอาวาส


วัดหนองป่าพง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ 1 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม โดยเป็นวัดป่าปฏิบัติสายพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

รูปภาพ
หลวงพ่อชา สุภัทโท

รูปภาพ
หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม

รูปภาพ
รอยมือ-รอยเท้าหลวงพ่อชา สุภัทโท


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อชา สุภทฺโท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=39086

รวมคำสอน “หลวงพ่อชา สุภัทโท” วัดหนองป่าพง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38519

รำลึกถึงอุปลมณี แก้วมณีแห่งเมืองอุบล (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=36250

งานบุญปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชาหลวงพ่อชา ๒๕๕๖
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44304

งานบุญปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชา ๒๐ ปี หลวงพ่อชา ละสังขาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40701

เว็บไซต์วัดหนองป่าพง
http://www.ajahn-chah.org/
http://www.watnongpahpong.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ

รูปภาพ
บรรยากาศงานรำลึกวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อชา สุภัทโท
ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ของทุกปี (ภาพจาก : fb ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระสุนทรธรรมภาณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)
............................................................................



วัดป่าสว่างวีรวงศ์
(สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สาขาอุบลราชธานี)
บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม
อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190
โทรศัพท์ 081-600-0848


เป็นวัดสาขาของสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาหินกอง)
สี่แยกหินกอง บนเขาเทพพนมยงค์ ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230

พระสุนทรธรรมภาณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) ประธานสงฆ์

พระมหาคำสอน ติกขปัญโญ เจ้าอาวาส


วัดป่าสว่างวีรวงศ์ (สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สาขาอุบลราชธานี) เป็นสถานที่จัดฝึกอบรมและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะจัดอบรมปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ข้าราชการตำรวจ ทหาร และข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น โครงการพัฒนาจิตเพื่อสันติสุข ฯลฯ ทั้งนี้ โดยมีพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต และพระลูกศิษย์เป็นผู้ให้การอบรมแก่ผู้เข้าปฏิบัติธรรม

แนวปฏิบัติ : เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนาเจริญสติกำหนดในกายตน-จิตตน มองทุกอย่างให้เห็นว่าศีลอยู่ตรงไหน ศีลคืออะไร สมาธิจิตคืออะไร จิตสงบอย่างไร เป็นปัจจัตตัง เป็นจุดที่ต้องหาเหตุ

เจ้าหน้าที่ : แม่ชีแวว โทรศัพท์ 081-600-0848

ปัจจุบันสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีทั้งหมด 3 แห่งดังนี้

1. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาหินกอง)
หมู่ที่ 1 สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230
โทรศัพท์ 036-379-428, 036-305-239

2. วัดป่าสว่างวีรวงศ์ (สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สาขาอุบลราชธานี)
บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190
โทรศัพท์ 081-600-0848

3. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
หมู่ที่ 8 บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 089-777-1625


เว็บไซต์สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
http://www.sangdhamsongchevit.com/
http://www.sangdham3.com/

รูปภาพ

รูปภาพ
ศาลาปฏิบัติธรรม วัดป่าสว่างวีรวงศ์
(สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สาขาอุบลราชธานี)



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดป่าสว่างวีรวงศ์
(สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สาขาอุบลราชธานี)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6569

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24981

รายการวิทยุธรรมะ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5862

เสียงธรรมบรรยายพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/somchart.php

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ป้ายชื่อวัดป่านานาชาติ
............................................................................



วัดป่านานาชาติ
(สาขาของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
หมู่ 7 บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย
อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34310


พระอาจารย์เกวลี ภิกขุ (พระอธิการเฮ็นนิ่ง เกวลี)
เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ รูปปัจจุบัน

พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ (ฌอน ชิเวอร์ตัน)
และพระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม อดีตเจ้าอาวาส


วัดป่านานาชาติ เป็นวัดสาขาที่ 119 ของวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี สายหลวงพ่อชา สุภัทโท เดิมชื่อว่า วัดอเมริกาวาส และมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่านานาชาติ ในภายหลัง โดยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า WAT PAH NANACHAT, BUNG WAI FOREST MONASTERY ซึ่งเป็นวัดที่มีพระภิกษุชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น เป็นต้น มาจำพรรษาอยู่มิได้ขาด โดยวัดตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปตามเส้นทางอุบลราชธานี-ศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 บรรยากาศก็เหมือนวัดป่าทั่วไป สำหรับเบอร์โทรศัพท์บ้านทางวัดเลิกใช้แล้ว

จุดกำเนิดของวัดป่านานาชาตินั้น ต้องย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นปีแรกที่วัดหนองป่าพงได้มีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะชาวอเมริกัน ซึ่งอยู่ในสมณเพศในพระพุทธศาสนา โดยพระภิกษุรูปนั้นมีนามว่า “โรเบิร์ต” ฉายา “สุเมโธ” ซึ่งวัตถุประสงค์ของการมาครั้งนี้คือ เพื่อมาถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2518 ท่านสุเมโธ และพระภิกษุรูปอื่นๆ ได้ดินทางไปพักอยู่ในเขตป่าช้าบ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านบุ่งหวายจึงปลูกกระท่อมให้อยู่อาศัยเพื่อการปฏิบัติธรรม และเมื่อจวนจะเข้าพรรษา หลวงพ่อชาได้อนุญาตให้พระชาวต่างประเทศไปจำพรรษารวมกันที่กระท่อมนั้น และได้มอบหมายให้ท่านสุเมโธ เป็นประธาน เพื่ออบรมพระภิกษุสามเณรเหล่านั้น เพราะนานๆ ครั้งหลวงพ่อชาจะไปให้โอวาทสักครั้ง วัตถุประสงค์ที่ให้พระชาวต่างประเทศไปอยู่รวมกัน โดยให้ศิษย์ผู้ใหญ่ชาวต่างชาติที่ได้หลักใจแล้วเป็นผู้ดูแล นัยว่าให้ชาวต่างชาติดูแลกันเองจะสะดวกกว่าด้วยประการทั้งปวง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมตัวไว้ เมื่อถึงคราวพระเหล่านี้กลับไปประเทศของตน จะได้สะดวกในการปกครอง ถ้ามีสิ่งใดบกพร่องจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น การที่พระภิกษุสามเณรไปอยู่รวมกัน ก็ได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากชาวบ้านบุ่งหวาย ห้วยขยุง ชาวตลาดวารินชำราบ และชาวตลาดฝั่งอุบลฯ จนทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างเท่าที่จำเป็นมาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน วัดป่านานาชาติ ได้มีพระภิกษุสามเณรชาวต่างชาติมาจำพรรษาจำนวนมากเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากรรมัฎฐาน พระภิกษุในวัดเกือบทุกรูปจะสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

รูปภาพ

รูปภาพ

วัดป่านานาชาติ (Wat Pah Nanachart)

เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สัปปายะ และปลอดภัย สำหรับผู้ที่ต้องการหาที่หลีกเร้นสำหรับการภาวนาเป็นบางครั้งบางคราว วัดป่านานาชาติเป็นอีกหนึ่งสาขาของวัดหนองป่าพง เกิดขึ้นเนื่องจากความศรัทธาของชาวต่างชาติที่มีต่อหลวงหลวงพ่อชา สุภัทโธ พระอริยสงฆ์องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นวัดป่านานาชาติ ดังนั้น ภิกษุและเจ้าอาวาส (ไม่มีแม่ชีประจำ) ผ้าขาว รวมถึงผู้มาพักปฎิบัติธรรม ส่วนใหญ่จึงเป็นชาวต่างชาติซึ่งเดินทางมาจากทั่วโลก ทั้งชาวยุโรปและเอเชีย เช่น อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศษ อินเดีย ลาว ไทย เป็นต้น ที่วัดแห่งนี้จึงใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสาร แม้แต่การสวดมนต์แปลก็ใช้ภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าอาวาสและภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสานได้ ดังนั้น จึงไม่ต้องวิตกกังวลสำหรับผู้ที่ไม่สันทัดภาษาต่างประเทศ หากต้องการเข้าไปขอพักภาวนากับทางวัด

การขอเข้าปฏิบัติธรรม

1. เขียนจดหมายขออนุญาต guest monk (พระผู้ดูแลแขก) ล่วงหน้า แจ้งชื่อ ที่อยู่ เป็นใคร มาจากไหน ปฏิบัติแนวไหน จะพักกี่วัน (เป็นภาษาอังกฤษ) ส่งไปตามที่อยู่วัด แล้วรอจดหมายตอบรับก่อน

2. หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ ในการจะขออนุญาตล่วงหน้า ก็สามารถเดินทางไปที่วัดก่อน แล้วค่อยขออนุญาต guest monk ก็ได้ เพราะปกติท่านมักจะให้อนุญาตอยู่แล้ว

3. ผู้ชายอยู่ได้ไม่เกิน 3 วัน ถ้าจะอยู่เกิน 3 วัน ต้องโกนผม (คือเป็นอนาคาริก สวมชุดขาว ถือศีล 8 โกนผม) เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพักเพราะต้องการประหยัดค่าที่พัก สำหรับผู้หญิงอยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ได้แล้วแต่ว่าเจ้าอาวาสจะอนุญาต

สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.watpahnanachat.org/stay.php

แนวทางการปฏิบัติ

คือ วิปัสสนากรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน เน้นให้มีสติสัมปชัญญะสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบภาวนาพุทโธตามแนวปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และอานาปานสติแบบไม่มีคำภาวนา กำหนดสภาวะความรู้สึกตัวล้วนๆ อย่างเดียวแบบหลวงพ่อชา สุภัทโท สำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมชั่วคราว ถือศีล 8 เน้นให้ปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่มีคอร์ส (สำหรับผู้เคยผ่านคอร์สอานาปานสติ 16 ขั้นสายสวนโมกข์ สามารถนำมาใช้ร่วมได้) และไม่มีผู้นำปฏิบัติ ให้ปฏิบัติส่วนตัวกันเอง จึงเหมาะสำหรับผู้มีพื้นฐานการปฏิบัติอยู่แล้ว ทางวัดไม่ถึงกับให้ปิดวาจา แต่ก็ไม่ควรจับกลุ่มคุยกันหรือชวนใครพูดด้วย อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติธรรมของผู้อื่น

การแต่งกาย

ผู้ชาย (อุบาสก) : สวมเสื้อ กางเกง สีขาวทั้งชุด

ผู้หญิง (อุบาสิกา) : เสื้อขาว ผ้าถุงสีดำ
(ทางวัดมีให้ยืม แต่ควรเตรียมไปเองจะดีกว่า)

ภาษา

ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร และสวดมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม พระภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสานได้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาในการสื่อสาร

ที่พัก

มีทั้งกุฎิเดี่ยวและกุฎิรวมอยู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีน้ำ ไฟ ห้องน้ำ พัดลม มีที่ซักผ้า ตากผ้า สำหรับผู้หญิง ที่พักแบ่งออกเป็น 2 โซน โซนที่ 1 กุฎิจะอยู่ใกล้กัน มีเสาไฟเปิดตอนกลางคืน โซนที่ 2 กุฎิจะอยู่ห่างกันแทบมองไม่เห็นกัน ตอนกลางคืนจะมืดมากเพราะไม่มีเสาไฟเปิด ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะนอนรวมกันที่ชั้น 2 ของโรงครัว หรือกุฎิเดี่ยวหากมีกุฎิว่าง สำหรับผู้ที่พักระยะสั้นก็พักศาลารวม แต่ผู้ที่พักอยู่ระยะเวลานานก็จะได้อยู่กุฏิแยกเป็นส่วนตัว

การรับประทานอาหาร

รับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ จะมีภาชนะที่เป็นเหมือนกะละมังเล็กๆ ให้ตักอาหาร อาหารมีทั้งอาหารท้องถิ่น และทางฝั่งยุโรปพวกขนมปัง แซนวิส ปะปนกันไปหลากหลายมาก และทานน้ำปานะรวมกันอีกทีตอน 4 โมงเย็น

สิ่งของจำเป็น

นำไฟฉายไปด้วย (ถ้าไม่มีจริงๆ ก็ยืมทางวัดได้), ยาทากันยุง (เนื่องจากเป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุง แมลง และมดคันไฟมาก คนที่แพ้ยุง แมลง มด ก็ควรหายาเตรียมยาไปเองด้วย), ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ยารักษาโรคประจำตัว ติดตัวไปด้วย เนื่องจากหน้าวัดไม่มีร้านขายของชำใกล้ๆ วัด ดังนั้น ควรจัดเตรียมของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางไปวัด

ตารางกิจวัตรประจำวัน

* 03.00 น. ตีระฆัง สวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิร่วมกันที่ศาลา
* 05.00 น. ภิกษุเตรียมตัวออกบิณฑบาต
ส่วนอุบาสก อุบาสิกา ทำความสะอาดโบสถ์และกวาดใบหญ้าบริเวณรอบๆ
* 07.00 น. หากประสงค์ก็สามารถไปช่วยจัดอาหารที่โรงครัวได้
(ที่วัดไม่มีแม่ชีประจำ ไม่มีการทำครัว ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเอาอาหารมาร่วมทำบุญ
หรือเอาวัตถุดิบมาปรุงอาหารในเช้าวันนั้นเลย)
* 08.00 น. รับประทานอาหาร
* 15.00 น. ตีระฆัง กวาดลานวัด
* 16.00 น. ดื่มน้ำปานะ
* 18.15 น. ตีระฆัง นั่งสมาธิ สวดมนต์ทำวัตรเย็นและฟังธรรม ร่วมกันที่ศาลา
* 21.00 น. เข้าที่พักเพื่อนอนพักผ่อน

เวลาที่เหลือทำกิจวัตรส่วนตัว และปฎิบัติธรรมด้วยตัวเอง

การเดินทาง

1. ทางรถทัวร์ นั่งรถอะไรก็ได้ที่ไปอุบลฯ ให้ไปลงที่สถานีขนส่ง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี (จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถที่หมอชิตใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 8-11 ชั่วโมง แล้วแต่ประเภทรถ สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 http://www.transport.co.th/) จากนั้นต่อรถตุ๊กๆ รถสาย 3 (สีชมพู) จากสถานีขนส่ง ไปต่อสองแถวที่ อ.วารินชำราบ (10 บาทตลอดสาย) จากนั้นต่อรถ 2 แถว (20 บาท) บอกคนขับว่าจะลงที่วัดป่านานาชาติให้แวะจอดให้ด้วย แล้วเดินเข้าไปวัดประมาณ 300 เมตร

2. ทางเครื่องบิน สามารถขึ้นเครื่องที่ดอนเมือง (เช่น นกแอร์) หรือสุวรรณภูมิ (เช่น การบินไทย) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าเครื่องเที่ยวเดียวรวมภาษีแล้ว กรุงเทพฯ-อุบลฯ อยู่ที่ประมาณ 2,500 บาท (บวกลบตามประเภทของสายการบิน โปรโมชั่น และช่วงวันและเวลาที่จะเดินทาง) หารถต่อมายังวัด ราคาแล้วแต่ต่อรอง

3. ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง (กรุงเทพฯ) ไปที่สถานีอุบลราชธานี (อยู่อำเภอวารินชำราบ) มีทุกวัน ทั้งรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-12 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 หรือ http://www.railway.co.th/ สถานีอุบลอยู่ไม่ไกลจากวัดเท่าไหร่ หารถมอเตอร์ไซค์หรือตุ๊กๆ ต่อมายังวัด ราคาแล้วแต่ต่อรอง

4. รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ

- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี

- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอโชคชัย อำเภอนางรอง อำเภอสังขะ อำเภอเดชอุดม ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไปถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว เดินทางจากตัวจังหวัด ก็ตรงมาทางหลวงหมายเลข 226 (สายอุบลฯ-ศรีสะเกษ) จะมีป้ายบอกทางขวามือ

หมายเหตุ : ทางวัดมีเวลาปิดประตูวัดประมาณ 6 โมงเย็น ดังนั้น ควรเดินทางมาถึงก่อนเวลาดังกล่าว

รูปภาพ
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ (ฌอน ชิเวอร์ตัน)

รูปภาพ
พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม

รูปภาพ
พระอาจารย์เกวลี ภิกขุ (พระอธิการเฮ็นนิ่ง เกวลี)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=19591

รวมคำสอน “พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44534

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22230

รวมคำสอน “พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38509

รวมคำสอน “พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=45914

วัดป่านานาชาติ ฝรั่งกับวัดไทย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=19982

เว็บไซต์วัดป่านานาชาติ
http://www.watpahnanachat.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ
แผนที่วัดป่านานาชาติ


ปัจจุบันชาวต่างชาติได้หันมาสนใจในพุทธศาสนากันมากขึ้นจนกระทั่งวัดกว่า 300 สาขาสายหนองป่าพงทั่วโลกไม่เพียงพอต่อความต้องการบวชเรียนของผู้คนที่แสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยวิธีนี้กัน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เตรียมบวชในต่างประเทศมากกว่าจำนวนวัดที่จะรองรับได้

พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี ชาวเยอรมัน เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ในช่วงงานอาจาริยบูชาหลวงพ่อชา สุภัทโท 12-16 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาท่ามกลางพระกว่าพันรูปซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์หลวงพ่อชาที่เดินทางมาจากทั่วโลก และประชาชนเรือนหมื่นที่มาปักกลดกางเต็นท์ปฏิบัติบูชากันเต็มวัดในทุกพื้นที่ ว่าการที่ท่านพบแก่นธรรมคำสอนจากพระพุทธเจ้าที่แท้จริงทางภาคอีสานของประเทศไทยทำให้ท่านเปลี่ยนไปอย่างไร และพุทธศาสนาได้ช่วยเหลือผู้คนให้พบกับความสงบเย็นได้มากเพียงใด...

"อาตมาขอโอกาสพูดในฐานะที่เป็นผู้ใหม่ในศาสนา และในฐานะที่อยู่ร่วมกับลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท แม้ไม่ได้เจอหลวงพ่อชา เพราะอาตมาบวชไม่ทันที่จะเจอท่าน แต่ครูบาอาจารย์ชาวต่างประเทศหลายรูปที่ได้บวชหลังจากที่พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ได้บุกเบิกทางแล้ว ก็ยังมีโอกาสอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติโดยตรง ยังมีโอกาสอุปัฏฐากท่านประมาณ 10 ปี อาตมามาทีหลัง ช่วงที่พระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว ยังถือว่า มีความโชคดีที่ได้เจอคำสั่งสอนของท่าน และได้เจอครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของท่าน ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมา คือพระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม)เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน

อาตมารู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้บวชเรียนที่นี่เพราะว่า เรื่องข้อวัตรปฏิบัติ เรื่องรูปแบบ คำสั่งสอนของหลวงพ่อชารู้สึกว่ายังมีทางที่จะเข้าถึงได้ เพราะมีหลายคนมาช่วยกันรักษาไว้ อาตมากำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ในต่างประเทศอีกหลายแห่งจะหารูปแบบที่เจอในประเทศไทยนี้ไม่ได้

ประเทศของอาตมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม เป็นประเทศที่เขาว่าเจริญ และเน้นทางด้านการศึกษาทางโลก แต่ละคนที่เป็นญาติพี่น้องทางโน้นมีความรู้สึกต่อชีวิตของตัวเองเหมือนคนอื่นๆ ทั่วโลกคือ เราพัฒนาความสงบเย็นเหมือนกัน แต่จะทำอย่างไรถ้าเราไม่มีวิธี ไม่มีส่วนรวมที่จะร่วมมือ ร่วมกำลังได้ก็อาจจะยาก ทางศาสนาเดิมของอาตมา คือศาสนาคริสต์ ก็สอนความดีให้คนบำเพ็ญเมตตาจิตพอสมควร ส่วนหนึ่งก็เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้ทุกที่ เสมือนคำสอนของพระพุทธองค์เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวเอเชีย ชาวไทย แต่ถ้าชาติไหน สังคมไหน ไม่รักษาต้นฉบับ ทางที่จะเข้าถึงสิ่งที่ทางศาสนาสอน ก็อาจจะหายาก

ช่วงนี้ที่อาตมาอยู่ในผ้าเหลืองมาสิบกว่าปีในประเทศไทย รู้สึกว่าเจอรูปแบบที่ดีที่เป็นต้นฉบับให้พวกเราทั้งหลายได้ ในขณะที่เรารักษาข้อวัตรปฏิบัติ รักษาพระธรรมและพระวินัย โดยความเคารพต่อการนับถือ และลงมือในการเสียสละในการรักษาไว้ โดยใจเอื้อเฟื้อ ใจบุญ ด้วยใจเสียสละ

ในสังคมเดิมของอาตมา หลายคนก็อยากจะทำเหมือนกัน แต่หลายคนก็เจอปัญหาชีวิต เช่นความทุกข์ก็ต้องปรากฏขึ้น ที่จะเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนต้องอาศัยการช่วยกัน และหาวิธี ถ้าเป็นลักษณะที่แต่ละคนต้องหาทางเองก็ลำบาก เราทั้งหลายก็ถือว่าโชคดี อาตมาก็รวมอยู่ในคนโชคดี ที่ยังได้เจอทางที่สมบูรณ์แบบที่มีการรักษาไว้ ก็เช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า วิธีการปฏิบัติในสายวัดป่าอาจจะเป็นเรื่องของสมัยก่อน แต่ว่า หากมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เราสามารถตอบคำถามกับคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เข้าใจได้ ถ้าปฏิบัติอยู่ เราก็อธิบายได้ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้มีวิธีเช่นนี้อยู่ ถ้าไม่ปฏิบัติก็น่าเสียดายว่า หลักเดิมที่มีการตรวจสอบ มีการทดลองมาพอสมควร ค่อยๆ จะหายไป

ถ้าเรามีหลักอันเดียวกัน และจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ก็ทำให้เราเกิดกำลังด้วย ในสังคมเมืองนอกไม่ได้เน้นเรื่องสามัคคีเท่าไหร่ แล้วรูปแบบที่เคยมีเมื่อก่อน บางส่วนก็หายไปแล้ว เป็นสังคมที่แต่ละคนต้องหาทางเอง แต่ละคนต้องคิดเอง ต้องมีความสร้างสรรค์เป็นพิเศษเฉพาะตัว และกว่าจะได้เจอหลักที่เป็นสากลอาจจะใช้เวลานาน อาจหลงทางเป็นบางช่วง อาจทำสิ่งที่ผิดแล้วแก้ไขได้ยาก ก็ขาดหลักความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

ในขณะเดียวกัน แต่ละคนที่ประสบความสำเร็จโดยลำพังก็มีความภาคภูมิใจเหลือเกิน ที่ทำให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น เด็กเมืองนอกถ้าเขาได้ตอบปัญหาที่ครูตั้งให้ถูกต้อง โดยไม่ได้ดูหนังสือ ไม่ได้ท่อง แต่คิดเอาเอง เขาจะมีความภาคภูมิใจ เขามีความฉลาด สามารถที่จะหาทางเองก็ดี สำหรับคนที่ฉลาดพอ คนที่มีปัญญาพอ ก็หาทางเองได้ บางคนก็อาจจะหลง ไปสู่ทางที่เขาต้องการเองไม่ได้

ถ้าเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม มีหลักจริงๆ ก็มีเครื่องแบบ มีเครื่องมือให้คนได้อยู่กัน เป็นผาสุก สงบเย็น แต่สังคมที่เน้นเรื่องความหลากหลาย เน้นเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง อาจจะไม่สามารถหาจุดที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันง่ายๆ อาจเกิดความตึงเครียดขึ้นในจิตใจของคน

อาจจะเป็นเพราะคนส่วนหนึ่งได้ทิ้งรูปแบบเก่าที่เคยมี เช่นทางศาสนาที่เป็นจังหวะของชีวิตคน ที่เคยซึมซับอยู่ในชีวิตประจำวันของคนแต่ก่อน สังคมคริสต์ก็มี เช่น วันอาทิตย์ทางคริสต์ศาสนาให้หยุดทำงาน ไม่ใช่ว่าเพื่อจะได้ขี้เกียจ ไม่ทำอะไร แต่เพื่อจะได้ประกอบศาสนกิจ คือมีการหยุดเพื่อจะได้ไม่ต้องไปมีกิจกรรมทางโลก แต่ให้หันหน้าสู่จิตใจของตนเอง โดยคนที่ได้สัมผัสเห็นประโยชน์ว่า ได้ผ่อนคลายและมีโอกาสที่จะวางสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลได้ลง

แต่ปัจจุบัน โบสถ์ในคริสต์ศาสนาที่เคยมีอยู่ทุกหมู่บ้านที่เราเห็นปัจจุบันเป็นวัตถุโบราณ ค่อนข้างจะร้างและบาทหลวงก็เหลือน้อย เป็นอาชีพที่เขาว่าล้าสมัย รูปแบบนี้คนก็ไม่เอา อันนี้อาจจะมีสาเหตุหลายอย่าง เรื่องคำสั่งสอนก็มีส่วน อันนี้พูดในฐานะที่ตัวเองเป็นผู้เปลี่ยนศาสนาจากคริสต์มาเป็นพุทธ แต่ว่าโดยทั่วไป ถ้าเราดูหลักที่ศาสนาสอน เรื่องความดี การเอื้อเฟื้อต่อกัน คริสต์ศาสนาก็ไม่ผิดกันกับพุทธศาสนา เพราะมาปรากฏชัดในสังคมที่มีหลักจริงๆ เขาก็จะปฏิบัติตามนี้ แล้วก็มีวิธี จังหวะ การแบ่งเวลาให้

อันนี้เป็นสิ่งที่อยากให้สำนึกถึงว่า ถ้าศาสนามีรูปแบบในการจัดการชีวิตที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราจริงๆ มันเป็นประโยชน์แก่เรา แล้วเราจะหาจุดยืนของเราได้อย่างดี ถ้าทิ้งหลักนี้ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในเมืองนอกแล้ว เป็นลักษณะว่าของใครของมัน ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ในอนาคตอาจจะไม่เหลือมากเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเราเห็นภาพอันงดงามของคนที่ตั้งใจปฏิบัติร่วมกัน รักษาระเบียบ เห็นประโยชน์ต่อผลกระทบต่อจิตใจของเราเองด้วย เราควรจะรักษาไว้และส่งเสริมต่อ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องการด้วยในสังคมของเรา ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้

อาตมามาจากสังคมที่ศาสนาหายไป แต่ยังเจอทางพุทธศาสนาที่เป็นต้นฉบับสมบูรณ์ ทำให้เราเห็นทางสำหรับตัวเองในประเทศไทยนี้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้สอนอย่างชัดเจน และเข้าถึงจิตชาวพุทธในประเทศไทยโดยไม่รู้สึกตัว ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้เหมือนกัน เพราะเป็นการสอนที่มีการปฏิบัติที่ลึกมาก อย่างเช่น เราไปบิณฑบาตกันทุกเช้า อาจจะเปลี่ยนไปได้ถ้าไม่ระวัง

พระบางทีไม่ได้บิณฑบาตด้วยการเดิน แต่นั่งรถ บางทีนั่งรถอยู่แล้วให้โยมมาใส่บาตรที่รถ อันนี้จะทำให้ต้นฉบับหายไปได้ วิถีชีวิตก็จะเปลี่ยนไปพอสมควร เพราะการบิณฑบาต เรามีส่วนเกี่ยวข้องกันในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนทุกเช้า มีอิทธิพลต่อเราพอสมควร ถ้าเป็นพระไม่ต้องบิณฑบาต มาเรียนหนังสืออย่างเดียว นั่งสมาธิอย่างเดียว ต้นฉบับจะหายไป

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อาตมาโชคดีได้ไปร่วมการประชุมกับองค์ดาไลลามะ ประมุขสายทิเบตที่อินเดีย ทางโน้นเอง ท่านไม่อยากเรียกว่าสายทิเบตเท่าไหร่ ท่านบอกว่า พุทธะไม่ได้ขึ้นอยู่กับชาติ การเรียกว่า พุทธศาสนาไทย พุทธศาสนาทิเบตเป็นเรื่องชาตินิยม แต่จริงๆ แล้ว ควรเรียกว่า พุทธภาษาสันสกฤตจากมหาวิทยาลัยนาลันทา และของเราก็เป็นพุทธภาษาบาลี อาตมามีความซึ้งใจมากที่มีการเกี่ยวข้องกับชาวพุทธคนละอย่าง ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น

เมื่อก่อนอาตมา เปรียบเทียบพุทธกับคริสต์ศาสนาในสังคมตะวันตก ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่พอมาเทียบระหว่างพุทธด้วยกันในเอเชีย ทำให้เปลี่ยนมุมมอง เกิดความรู้ใหม่ เห็นว่า เราโชคดีได้เจอสายพระป่า และได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อชา ในภาพรวมที่เป็นต้นฉบับจากพุทธกาลที่สืบทอดมาโดยพระป่าของเราควรอนุรักษ์จริงๆ เพราะจะเป็นเครื่องมือให้อีกหลายรุ่นได้ใช้สะดวก

คุณธรรมขององค์ดาไลลามะ เน้นเรื่องเมตตา กรุณา ซึ่งเป็นพรหมวิหารสายโพธิสัตว์ คุณธรรมนี้เป็นใหญ่เช่นเดียวกับคริสต์ศาสนา ในตะวันตกพุทธสายนี้จึงเป็นที่รู้จักและมีผู้ปฏิบัติตามมากมาย

องค์ดาไลลามะได้พูดถึงหลักของศาสนาพุทธควรเน้นอะไรในปัจจุบัน ในสังคมอุตสาหกรรม สังคมที่เจอปัญหานานัปการซึ่งห่างเหินจากจิตวิญญาณพอสมควร ตามที่ท่านได้สัมผัสอยู่เมืองนอก อยู่นอกประเทศของท่าน ซึ่งสังคมเมืองนอกห่างจากจิตใจของตัวเอง เน้นรูปธรรม วัตถุสิ่งของ แต่ตัดเรื่องจิตใจออกไป ทางพุทธศาสนา เน้นเรื่องคุณธรรมด้านจิตใจ ทำอย่างไรจึงจะโปรดโลก ช่วยโลก ท่านก็มองด้วยสายตามหายาน มองชนทั้งหลายเป็นใหญ่ พูดในอุดมการณ์ของพุทธศาสนา

จริงๆ ก็เข้ากับหลักของเราได้ดี ท่านเน้นเรื่องหลักแท้ของพุทธศาสนาทุกสาย ท่านพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรคมีองค์ 8 ต้องปฏิบัติเรื่องนี้โลกจะได้เจริญทางจิตใจ ท่านพูดเรื่องศีลปาติโมกข์ ของเถรวาทกับสายนาลันทาไม่ต่างกันเท่าไหร่ เช่น การไม่ฉันในเวลาวิกาล หลักอันเดียวกัน ท่านบอกว่าไม่มีอุปสรรคในเรื่องพระวินัย ศีลของคฤหัสถ์ก็ไม่มีอุปสรรค ให้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ เป็นประเด็นของคนทางโลกที่ต้องการผ่อนคลาย และต้องปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญา

หลักของพุทธศาสนาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ท่านบอกว่า อิทธิพลของการนั่งสมาธิมีผลกับสมอง อารมณ์ดีชั่วมีผลกับร่างกายและจิตใจ การละความคิดอกุศล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ องค์ดาไลลามะ เน้นเรื่องพุทธศาสนาให้ทันสมัยตามความรู้ทางโลก และควรมีการเทียบกับระบบสากลที่นักปรัชญาในหลายๆ สาขา เช่นนักวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น

อาตมาเองได้สัมผัสกับประเทศของอาตมาในเยอรมัน ล้วนให้เกียรติพุทธศาสนา เพราะมีเหตุผล ไม่ชักชวนในทางที่งมงาย สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

คนไทยเล่า มีแก่นธรรมอยู่กับตัวหากไม่ปฏิบัติก็น่าเสียดาย !

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์วิปัสสนากัมมัฎฐาน
วัดป่าวิมุตติธรรมาราม (หนองบัว)
หมู่ 10 บ้านแสนตอ ต.กุดชุมภู
อ.พิบูลย์มังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110


หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ประธานสงฆ์

สถานที่แห่งนี้เป็นบ้านเกิดโยมบิดาของหลวงพ่อวิชัย เขมิโย ซึ่งหลวงพ่อท่านก็ได้อยู่อาศัยที่หมู่บ้านแสนตอแห่งนี้ตั้งแต่เกิดเช่นกัน ญาติโยมชาวบ้านจึงได้อาราธนาหลวงพ่อมาเป็นประธานนำพาสร้างวัดป่าขึ้นมาในสถานที่นี้ โดยจะเริ่มสร้างศาลาปฏิบัติธรรมขึ้นมาก่อน 1 หลัง มีความกว้าง 24 เมตร ยาว 45 เมตร ใช้เสาปูน 54 ต้น (ขณะนี้เริ่มสร้างหลังคาของศาลาแล้ว) และสร้างกุฏิพระจำนวน 5 หลังก่อนเพื่อดูแลการก่อสร้าง สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร และญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมได้ใช้ด้วย จึงขอเรียนเชิญท่านผู้ใจบุญร่วมสร้างบุญกับหลวงพ่อด้วยการสร้างวัดใหม่ในบ้านเกิดของท่าน

ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย ครั้งนี้เป็นบันทึกประวัติชีวิตของท่านพระอาจารย์วิชัยโดยตรง ชีวิตการธุดงคกรรมฐานของท่าน ที่ละเอียดมีแง่มุมอันมีเนื้อหาสาระหลากหลาย เป็นประสบการณ์ในชีวิตของพระป่า ที่มีอุดมคติอุดมการณ์ความมุ่งหมายเป็นสัจจุแน่วแน่ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนาให้สาวกและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติ นั่นคือ มรรค ผล นิพพาน! ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัยนี้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์มั่นคงในพระศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต เปี่ยมไปด้วยพลอินทรีย์บารมีอันมุ่งมั่น ควรเป็นที่นับถือ ไหว้นพ เคารพสักการบูชา เรียญเชิญท่านที่สนใจไปปฏิบัติธรรมได้

รูปภาพ
หลวงพ่อวิชัย เขมิโย


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อวิชัย เขมิโย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13077

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สำนักปฏิบัติธรรมวัดพิชโสภาราม
เลขที่ 43 หมู่ 2 ต.แก้งเหนือ
อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี 34170
โทรศัพท์ 045-218-019 ต่อ 11, 045-218-021
โทรสาร 045-218-080


พระราชปริยัตยากร (บุญเรือง สารโท) อดีตเจ้าอาวาส

วัดพิชโสภาราม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ ๓ ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

- สถานที่ปฏิบัติธรรม คือ
๑. ศาลาการเปรียญ
๒. ศาลาอเนกประสงค์
๓. ลานปฏิบัติธรรม
๔. ห้องกรรมฐาน
สถานที่พักค้างคืนสำหรับปฏิบัติธรรม คือ
กุฏิกรรมฐาน จำนวน ๕๕ หลัง ห้องรวมใหญ่ จำนวน ๓ ห้อง

- สามารถรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ ครั้งละจำนวน ๓๐๐ คน

รูปภาพ

- ช่วงเวลาที่วัด/สำนักจัดปฏิบัติธรรมประจำปี คือ
๑. เดือนกรกฎาคม
๒. เดือนสิงหาคม
๓. เดือนกันยายน

- พระวิปัสสนาจารย์ จำนวน ๕ รูป
วิทยากรพิเศษ จำนวน ๗ รูป/คน


- หลักสูตรในการปฏิบัติธรรม คือ มหาสติปัฏฐาน ๔

- ห้องสุขา/ห้องน้ำ จำนวน ๕๐ ห้อง

- การดูแลเรื่องสุขอนามัย และความปลอดภัย มีเวชภัณฑ์ประจำ
และเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติธรรม

- อาหาร วันละ ๒ มื้อ เช้า-เพล ตอนเย็น มีน้ำปานะ

- ทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นร่วมกัน

- การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ๑๐๐ กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอเขมราฐ ๒๒ กิโลเมตร
เดินทางด้วยรถประจำทาง หรือรถยนต์ส่วนตัว ถนนลาดยางตลอดจนถึงวัด

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) เจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม จังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายมหานิกาย เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามที่ พระราชปริยัตยากร

พระราชปริยัตยากร (บุญเรือง สารโท) เจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม และรองเจ้าคณะอำเภอเขมราฐ ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๑๙ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี สิริอายุรวมได้ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑


รูปภาพ

รูปภาพ
พระราชปริยัตยากร (บุญเรือง สารโท) ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๑๙ นาฬิกา
ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จ.อุบลราชธานี สิริอายุรวมได้ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดพิชโสภาราม
http://www.watpit.org/
http://www.watpitchvipassana.com/
http://www.watpitradio.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมวัดพิชโสภาราม
ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี


การเดินทางตามเส้นทางแผนที่ มีดังนี้

๑. มาจากเส้นทางอำนาจ-เขมราฐ ก็จะผ่านอำเภอปทุมราชวงศา
และผ่านเข้ามาถึงบ้านหนองผือ จะมีพบเส้นทางแยก ๓ แยก คือ

ทางแยกที่ ๑ จะไปทางชานุมาน
ทางแยกที่ ๒ จะไปทางอำเภอกุดข้าวปุ้น
และทางแยกที่ ๓ ก็จะเข้ามาทางวัดพิชโสภาราม

สำหรับผู้ที่จะมาวัดพิชโสภาราม ให้เลี้ยวขวาเข้าด้านข้างโรงเรียนฯ
จะอยู่ทางด้านขวามือเมื่อเลี้ยวเข้ามาวัดพิช (ถ้าโรงเรียนอยู่ซ้ายมือก็ไปอำเภอกุดข้าวปุ้น)

๒. มาจากอุบลราชธานี-ตระการพืชผล ก็จะผ่านอำเภอตระการฯ ผ่านโรงเรียนม่วงเฒ่า
จนมาถึงสถานีตำรวจม่วงเฒ่า และให้เลี้ยวซ้ายเข้ามาวัดพิชโสภารามได้เลย

หากมีข้อสงสัยในเรื่องเส้นทาง กรุณาติดต่อที่เบอร์โทรวัดพิชโสภาราม
โทร. ๐๔๕-๒๑๗-๐๑๙ ต่อ ๑๑, ๐๔๕-๒๑๘-๐๒๑
โทรสาร ๐๔๕-๒๑๘-๐๘๐

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์ปฏิบัติธรรมกาญจนภิเษก
ถนนอุบล-ตระการ กิโลเมตรที่ 5
ต.ไร่น้อย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 081-976-9091, 081-966-3859


พระครูสังฆรักษ์เสรี ฐิตธมฺโม
พระวิปัสสนาจารย์, หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติธรรมกาญจนาภิเษก
เจ้าอาวาสวัดศีลาราม
ต.ถ้ำแข้ อ.ตระกาลพืชผล จ.อุบลราชธานี
ผู้รับผิดชอบบริหารงานสนองพระศาสนาและพระมหาเถระ ตามวัตถุประสงค์

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติธรรมกาญจนภิเษก
http://www.skpubon.com/

e-mail : sk_50ubon@hotmail.com, webmaster@skpubon.com

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดป่าไทรงาม
[วัดสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี]
หมู่ 35 ถ.เดชอุดม-ทุ่งศรีอุดม บ้านไทรงาม
ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี 34160
โทรศัพท์ 045-361-238


พระอธิการอเนก ยสทินฺโน เจ้าอาวาส

วัดป่าไทรงาม ยึดถือคำสอนและปฏิบัติธรรมตามแนวทางของวัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยสอนมุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนเกิดปัญญา แก้ปัญหาด้วยตนเอง อาศัยความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง ท่านทั้งเทศน์ให้ฟังและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง พระภิกษุสามเณรมีความเพียรในการปฏิบัติธรรมและทำกิจวัตรประจำวัน โดยอาศัยสติเป็นตัวกำหนดในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดสมาธิและก่อให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ทั้งนี้ เนื่องจากทางวัดไม่มีเครื่องรางของขลัง ไม่แจกพระเครื่อง หลีกเลี่ยงที่จะรดน้ำมนต์ ไม่มีมหรสพการละเล่นภายในวัดไม่ว่ากรณีใดๆ การทำบุญไม่นิยมการเรี่ยไร ถ้าอยากทำขอให้ทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา

วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตร ทางเข้าวัดอยู่เยื้องกับทางเข้าสถานีขนส่งอำเภอเดชอุดม เป็นวัดป่าสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง และเป็นวัดที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม

รูปภาพ

• พระอธิการเอนก ยสทินฺโน พระผู้พลิกฟื้นผืนดินสู่ผืนป่า •

พระอธิการอเนก ยสทินฺโน ผู้พลิกฟื้นผืนดินสาธารณะที่เสื่อมโทรมและใช้ทิ้งขยะของชุมชน ให้เป็นพุทธสถานที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ เชื่อมโยงธรรมะ ธรรมชาติ และผู้คนเป็นหนึ่งเดียว ด้วยกุศโลบายอันชาญฉลาด ผ่านการศึกษา สังเกต และทดลอง ปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอและยาวนาน จนเป็นองค์ความรู้ที่เป็นแบบอย่าง ขยายผลสู่วัด โรงเรียน และชุมชนภายนอก

“คนเรานั้นมีความผู้พันกับต้นไม้และป่าไม้ตั้งแต่เกิดจนตาย เราได้รับประโยชน์จากต้นไม้มากมาย เช่น แรกเกิดแม่ก็นอนที่แคร่ไม้ไผ่ ใช้ถ่านอยู่ไฟ เราเจริญเติบโตมาก็เพราะกินอาหาร อาหารนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากพืชผักทั้งนั้น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มทั้งหลายที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นก็มาจากใยของพืช บ้านที่อาศัยจะหลังเล็กหลังใหญ่ก็มาจากต้นไม้เช่นกัน อาหารทุกรสทุกประเภทก็ได้มาจากพืชและต้นไม้เป็นส่วนมาก ยามเราจะหลับนอนหัวของเราก็หนุนหมอนร่างกายก็ต้องใช้ผ้าห่ม ชีวิตของเราทุกคนนั้นทั้งยามหลับและยามตื่นก็อาศัยพืชต้นไม้ตลอดเวลา แม้ยามเราเจ็บป่วยเราก็อาศัยยารักษาโรค ซึ่งก็ได้มาจากกลุ่มสมุนไพรเป็นส่วนมาก ฉะนั้น อาตมาจึงเห็นว่าป่าไม้พืชผักทุกชนิดเป็นพ่อแม่ภาคที่สองของมนุษย์ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ได้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกลมหายใจ แม้ที่สุดของชีวิตในยามเราตายไปก็ต้องอาศัยฟืนถ่ายเผาซากศพของเรา ตลอดชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่เราละโลกไป เราทุกๆ คนก็ได้อาศัยต้นไม้และพืชผักต่างๆ หล่อเลี้ยงชีวิตมาด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเราทุกคนทราบว่าต้นไม้พืชผักมีประโยชน์ต่อทุกชีวิตอย่างใหญ่หลวง เราจะต้องช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากยิ่งขึ้น และจะต้องปลูกอย่างเอาใจใส่เป็นอย่างดี ต้นไม้ที่ปลูกจึงจะเจริญงอกงามได้” คำปรารภของพระอธิการเอนก ยสทินฺโน ที่ต้องการให้ทุกคนเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รูปภาพ

พลิกฟื้นผืนดิน สู่ ผืนป่า

30 ปีที่ผ่านมา พระอาจารย์เอนก ยฺสทินฺโน ได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง ให้มาจำพรรษาอยู่ที่บ้านไทรงาม ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จึงเริ่มต้นศึกษาสภาพแวดล้อมของวัดที่เป็นที่สาธารณะเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พบว่าเป็นที่เสื่อมโทรม ไม่มีต้นไม้ หรือพืชพันธุ์ที่จะเป็นที่พึ่งพิงและใช้ประโยชน์ได้ของทั้งคนและสัตว์ เป็นแต่เพียงที่ทิ้งขยะของชุมชนในละแวกนั้น มีแมลงวันและขยะจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งในแต่ละวัน จึงเริ่มการปรับปรุงโดยการชวนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงทำการคัดแยกขยะ บางอย่างทำลายทิ้ง บ้างส่งไปขาย นำเงินที่ได้เพียงเล็กน้อยมาซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น จอบ เสียม มีด พร้า แต่สิ่งที่ไม่ได้ซื้อ คือแรงงาน กำลังศรัทธาของชาวบ้านที่มาทำบุญและได้รับฟังคำสอนจากพระอาจารย์ เกิดศรัทธาเข้าร่วมแรงร่วมใจ หลังจากจัดระบบขยะแล้ว การปลูกต้นไม้ เป็นสิ่งที่ดำเนินการต่อมาโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะเป็นอาหารสำหรับต้นไม้

การปลูกต้นไม้ของพระอาจารย์เอนก เริ่มต้นจากปลูกทุกอย่างที่อยากปลูก เพียงเพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งไม้ใช้สอยและพืชผักสวนครัว แต่เมื่อสั่งสมประสบการณ์ได้ระยะหนึ่งเริ่มที่จะเข้าใจถึงหลักของธรรมชาติ สภาพทางกายภาพ ความหลากหลายและความยั่งยืน ทำให้พระอาจารย์ได้เริ่มต้นศึกษาและทดลองอย่างจริงจัง จนเห็นผลและพิสูจน์ได้ คือ

ต้นไม้ที่ปลูกต้องเป็นพันธุ์ไม้พื้นถิ่น จึงสามารถอยู่รอด เจริญเติบโตและแข็งแรงในสภาพพื้นที่บริเวณนี้ได้

ต้นไม้ที่ปลูกต้องมีทั้งไม้ยืนต้น เพื่อให้เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และสำหรับมีไม้ไว้ใช้สอย เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้โมง ฯลฯ และมีทั้งไม้ผล พืชผักสวนครัว หลากหลายชนิด เพื่อใช้บริโภค มีการแบ่งพื้นที่การปลูกอย่างเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ เช่น ต้นไม้ใหญ่อยู่บริเวณป่าเพื่อความสมบูรณ์ของป่า ไม้ผล ผักสวนครัว อยู่ติดทางเดินและโรงครัว เพื่อสะดวกในการเก็บหา ปลูกหญ้าแฝกอยู่ริมคลองน้ำเพื่อกันดินทรุด

มีการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ให้อยู่รอดและเจริญเติบโต ไม่สูญเสีย โดยการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกต้นไม้ให้อยู่รอดและเจริญเติบโตโดยเลือกปลูกต้นไม้ในเวลาเย็นถึงเวลากลางคืนเพื่อให้ต้นไม้ได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้ตอนเช้าต้นไม้จะฟื้นสภาพระบัดใบ สดชื่นแข็งแรง มีการติดตามดูแลต้นไม้ที่ปลูกทุกต้น วัดขนาดการเจริญเติบโต จำนวนรอด และการปลูกเสริม รวมทั้ง การจัดทำศูนย์เพาะขยายพันธุ์กล้าไม้ขึ้นเองในวัด

สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินที่ปลูกต้นไม้ ด้วยการขุดคลองล้อมรอบวัด โดยให้คันคลองมีความสูงพอที่จะเก็บกักน้ำให้มีระดับความสูง สูงกว่าระดับพื้นดินที่ปลูกต้นไม้ ทำให้น้ำจากคลองซึมสู่พื้นที่ปลูกต้นไม้ หล่อเลี้ยงต้นไม้ให้ได้รับน้ำอย่างพอเพียงไม่ขาดแคลนแม้ในหน้าแล้ง ปลูกหญ้าแฝกตามคันคลองป้องกันการพังทลายของดิน ทำท่อระบายน้ำเพื่อจัดระดับน้ำให้เหมาะสมอย่างเป็นธรรมชาติ

รูปภาพ

คืนคำว่า ป่าไทรงาม

จากการศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติ ทำให้พระอาจารย์อเนกได้ค้นพบว่า พันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่บริเวณนี้อีกชนิดหนึ่ง คือ ต้นไทร เพราะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งในขณะน้ำท่วม หรือหน้าแล้ง ต้นไทรยังสามารถอยู่รอดและแข็งแรง จึงทำให้ต้นไทรเป็นพันธุ์ไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในบริเวณวัดป่าไทรงาม และพระอาจารย์อเนกก็ได้ใช้ประโยชน์จากต้นไทรนี้ เป็นส่วนประกอบของการปรับปรุงสถานที่วัดป่าไทรงามเป็นพุทธสถานสำหรับปฏิบัติธรรม

เชื่อมโยงธรรมะกับธรรมชาติ

ด้วยการปฏิบัติจริง ปฏิบัติชอบ เกิดเป็นกำลังศรัทธา มีการขยายพื้นที่วัดจากเดิมจำนวน 25 ไร่ เป็น 50 ไร่ และเป็น 130 ไร่ในปัจจุบัน โดยใช้ปัจจัยจากการทำบุญของพุทธศาสนิกชน ลูกศิษย์ที่เคารพนับถือ และการบริจาคกำลังทรัพย์ กำลังแรงงาน และวัสดุอุปกรณ์จากชาวบ้าน ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก เยาวชน ในพื้นที่ และความร่วมมือ สนับสนุนจากโรงเรียน หน่วยงานทางราชการ เป็นความร่วมมือที่มาจากทุกภาคส่วน

ความร่วมมือจากทุกส่วนล้วนเกิดจากศรัทธา ศรัทธาเกิดจากคำสอนที่ออกมาจากท่าทีที่เรียบง่าย ท่วงทำนอง ภาษาฟังแล้วเข้าใจ เกิดแง่คิดและนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เป็นวิถีทางธรรมชาติ สอดคล้องเหมาะสมกับธรรมชาติ เป็นกัลยาณมิตรกับสภาพแวดล้อม ใช้ธรรมชาติเป็นสื่อ

สื่อจากการจัดสถานที่ธรรมชาติให้เป็น พุทธสถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรมะ โดยการตกแต่งบริเวณวัดจากวัสดุที่เป็นธรรมชาติ มาจากธรรมชาติ แต่ไม่รบกวนธรรมชาติ เช่น ใช้รากไม้ ต้นไม้ ตอไม้ ที่ตายแล้วไม่มีประโยชน์มาตกแต่ง ให้กลับมามีประโยชน์ในทางธรรมะ คือ ให้คนเข้าใจชีวิต เกิดแก่ เจ็บ ตาย สังขารมนุษย์และธรรมชาติ การตระหนักรู้ และการให้คุณค่าแก่ทุกสิ่งเป็นการเคารพธรรมชาติ เคารพตนเอง และเคารพผู้อื่น ใช้หินแกะสลักเป็นรูปร่าง ที่นั่ง อาสนะ มีร่มไทรให้ความร่มรื่น ทุกสิ่งเกิดจากกุศโลบายของพระอาจารย์

“การสอนคนต้องเริ่มจากให้คนอยาก เมื่อคนเข้ามาในวัดเริ่มแรกได้พบเห็นธรรมชาติ การจัดแต่งที่สวยงาม น่าประทับใจ น่าเรียนรู้ คนจะเริ่มซึมซับและอยากที่จะรู้มากขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการดึงคนเข้าก่อน แล้วค่อยสอนในขั้นต่อไป”

รูปภาพ

สู่เมตตาธรรมในใจคน

ความศรัทธาก่อให้เกิดพลังในการปฏิบัติการ ภายในวัดกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ธรรมะ ที่โรงเรียนนำเด็กนักเรียนมาเข้าข่ายปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ภายนอกวัดมีการขยายผลจัดโครงการปลูกต้นไม้และการอนุรักษ์ธรรมชาติสู่วัดสาขา จำนวน 26 วัด วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 225 และเทศบาลตำบลเมืองเดช ร่วมดำเนินการ และความศรัทธาทำให้เกิดเมตตาธรรม หล่อหลอมความรัก ความมีน้ำใจ เผื่อแผ่สู่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมในรูปแบบกองทุนสวัสดิการสังคม เช่น กองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์โค กระบือ กองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์ชุมชน กองทุนข้าว กองทุนสงเคราะห์พระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ กองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์โรงเรียน และชุมชน

การใช้หลักธรรมนำพาให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีทั้งพุทธศาสนิกชน ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เด็ก เยาวชน หน่วยงานทั้งราชการและเอกชน มีหลักคิด ยึดมั่น และวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน พึ่งพา ดูแลรักษา คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน น้ำ ป่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ล้วนเกิดจากความมุ่งมั่นทางด้านจิตใจและการปฏิบัติการที่เรียบง่าย ประณีต สม่ำเสมอ และเข้มแข็ง เป็นแบบอย่างของพระอาจารย์เอนก ยสทินฺโน ที่มุ่งหวังให้คนได้พัฒนาอย่างยั่งยืนจากจิตใจผ่านธรรมะและธรรมชาติที่ดีงาม

รูปภาพ

พระอธิการเอนก ยสทินฺโน

การศึกษา :
- ปริยัติศึกษา นักธรรมเอก

การทำงาน :
- ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดแสงเกษม ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
- คณะกรรมการดูแลช่วยเหลือพระสงฆ์สามเณรในสายวัดหนองป่าพง
และที่ปรึกษาของคณะสงฆ์วัดสาขา ทั้งในประเทศไทย และสาขาต่างประเทศ
- กรรมการบริหารกองทุนมรดกธรรม วัดหนองป่าพง
- เจ้าอาวาสวัดป่าไทรงาม ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

เกียรติประวัติ :
- พ.ศ.2545 รางวัลชนะเลิศระดับชาติ โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

- พ.ศ.2546 ได้รับโล่และเข็มทองพระราชทาน รางวัลชนะเลิศระดับชาติ
โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติที่วัดป่าหนองขี้เห็นใหญ่ (บ้านโนนทอง) ต.ทุ่งเทิง อ.เดชอุดม

ระยะเวลาการทำงาน :
- 34 ปี (พ.ศ.2515–2549)

ผลงาน :
- พัฒนาที่ทิ้งขยะสาธารณะที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้เป็นวัดป่าที่อุดมสมบูรณ์
- ขยายพื้นที่วัดจาก 25 ไร่ เป็น 130 ไร่ โดยกำลังศรัทธาของลูกศิษย์
- ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยการปลูกต้นไม้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
โดยการคัดเลือกชนิดและสายพันธุ์ และมีวิธีการในการติดตามรักษาให้ต้นไม้
อยู่รอดเจริญเติบโต ปรับสภาพพื้นที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินที่ปลูกต้นไม้
- ขยายแนวคิดและกิจกรรมการปลูกต้นไม้สู่ 20 วัด และ 1 โรงเรียน
- พัฒนาบริเวณวัดให้เป็นพุทธสถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรมะ
- จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือชาวบ้านผู้ด้อยโอกาส
กองทุนช่วยเหลือพระภิกษุสงฆ์อาพาธและมรณภาพ และกองทุนช่วยเหลือเด็กนักเรียนเยาวชน

รูปภาพ
พระอธิการอเนก ยสทินฺโน
............................................................................

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดภูหล่น
เลขที่ 9 บ้านภูหล่น ต.สงยาง
อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี 34250


ปฐมวิปัสสนาจารย์ : หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์ ซึ่งวัดแห่งนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก สามารถกางกลดอยู่ได้ มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา

วัดภูหล่นแห่งนี้เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว แล้วต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง)
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-241-660


พระวินัยโกศล เจ้าอาวาส

วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์ปฏิบัติธรรมพลาญข่อย
(ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพลาญข่อย)
เลขที่ 77 หมู่ 2 บ้านแหลมทอง
ต.โนนก่อ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 34350
โทรศัพท์ 081-175-9602, 045-411-747-8


พ่อครูบัญชา ตั้งวงษ์ไชย ผู้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมฯ

รูปภาพ
พ่อครูบัญชา ตั้งวงษ์ไชย


การปฏิบัติสมาธิแนวอายตนะวิปัสสนากัมมัฏฐาน

อายตนะวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ การใช้อายตนะเป็นฐานที่ตั้งแห่งการเจริญวิปัสสนา เมื่อทำจิตใจให้เกิดความสะอาด สว่าง สงบ เป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ของใจแล้ว จะเห็นว่าจิตเป็นสุขมาก ยิ่งลึกเข้าไปเท่าไหร่ยิ่งเกิดความสุข แต่ปัญญาไม่ได้เกิด เพราะไปติดสุขข้างในใจ การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่หวังผลที่จะให้สุขส่วนเดียว หามิได้ ทุกข์จะไม่พ้น เพราะสุขกับทุกข์อาศัยต่อเนื่องกันอยู่ เราควรหาอุบายให้จิตหลุดพ้นจากความสุข ความทุกข์ และอารมณ์ทั้งปวงโดยวิธีวิปัสสนา ให้รู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบอายตนะ ให้สักแต่ว่ารับรู้ อย่าไปสนใจหรือปรุงแต่งสิ่งทั้งหลาย ให้กลายเป็นตัวสุข ทุกข์

เมื่อเราทำดังนี้นานๆ ก็จะเป็นการเจริญวิปัสสนา มีโอกาสที่จะทำให้จิตหลุดพ้น ดวงตาเห็นธรรมได้เช่นเดียวกัน

รูปภาพ

ขอเชิญชวนผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติแนวอื่น
ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้า
ผู้ที่ต้องการค้นหาตัวตนที่แท้จริง
ผู้ที่ต้องการพัฒนาจิต
ผู้ที่มีโรคกรรมโรคเวร
ผู้ที่มีประสบการณ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ
ผู้ที่เคยปฏิบัติสมาธิแล้วพบเจอกับสิ่งแปลกประหลาด
ผู้ที่เห็นในสิ่งที่ตามนุษย์มองไม่เห็น
ผู้ที่มีพลังจิตพิเศษ

ลองเข้ามาสัมผัสกับสิ่งที่คุณคิดว่าไม่เคยพบเห็น ไม่เคยคิดว่าจะมีมาก่อนได้ที่
http://www.plarnkhoi.com/

ชมภาพการปฏิบัติธรรมได้ที่
http://www.plarnkhoi.com/videodhamma.php?tammaName=ayatanavideo

การเดินทาง
http://www.plarnkhoi.com/contactUs.php

รูปภาพ


ผู้ให้ข้อมูล :: คุณ boom_m2004

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร