วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 01:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เราลองเรียงลำดับจับความสำคัญๆเอาตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จนครองเรือน แล้วก็ออกบวชถือเพศบรรพชิต จนตรัสรู้ (รู้อะไร) แล้วแสดงปฐมเทศนา จนได้สาวกองค์แรก (ตั้งสถาบันสาวกสงฆ์) แล้วส่งสาวกออกเผยแผ่พุทธธรรมไปในแคว้นต่างๆ ... จนถึงปรินิพพาน อาจมองเห็นพุทธประสงค์ของเพศบรรพชิต :b1: วาดสภาพแวดล้อมชีวิต สังคมของคนยุคสมัยนั้นด้วย



คงเหนือความคาดหมายของผมแล้วลล่ะ พี่กาย อาจจะมีหลายๆท่านได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น ของผมสั้นๆคือนักบวชเป็นทางเดินที่เหมาะแก่การปฎิบัติธรรมครับ


หากจะแบ่งธรรมออกก็เป็นสองอย่าง คือ โลกียธรรม กับ โลกุตรธรรม แต่ทั้งสองนั้น เราก็ต้องรู้หัวนอนปลายเท้า(พูดให้เห็นภาพ) ว่าหมายถึงอะไรขนาดไหน จึงจะปฏิบัติได้ถูกต้องตรงทาง

จำคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ไหม ? นั่นแหละจุดหมาย แต่ถึงอย่างนั้นปัจจุบันก็ใช่ว่าจะเป็นไปตามนั้นเพราะมีองค์ประกอบอื่นๆอีกมากนัก :b1:
ต่อจากนี้ไปเป็นการเริ่มขั้นตอนการอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ มีข้อที่ควรทำความเข้าอีก คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ มีลำดับขั้นตอนดังต่ไปนี้

การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร ๘ จึงจะสามารถบวชได้ สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง ๓ หน แล้วยืนขึ้นว่า

อุกาสะ วันทามิ ภันเต // สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต // มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง // สาธุ / สาธุ / อนุโมทามิฯ

อุกาสะ การุญญัง กัตะวา / นิสสะยัง เทถะ เม ภันเตฯ

คำแปล

ขอโอกาสขอรับ กระผมขอกราบไหว้ ท่านขอรับ ขอท่าน จงยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวง ขอท่านพึงอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ และขอท่านพึงให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย สาธุ สาธุ กระผมขออนุโมทนา ฯ

ท่านขอรับ ขอโอกาส ขอท่านจงมีความกรุณาให้นิสสัยผมด้วยขอรับ ฯ



อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ //

ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ //

ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ //

คำแปล

ท่านขอรับ กระผมขอนิสสัย แม้ครั้งที่สองฯลฯ แม้ครั้งที่สาม ท่านขอรับ กระผมขอนิสสัยฯ

(ว่าต่อ) อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ //

อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ //

อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ //

คำแปล

ท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผมท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผม ท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผมฯ



พระอุปัชฌาย์ว่า "ปฎิรูปัง" คำแปล สมควรแล้วหรือ

สามเณรว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ คำแปล ขอโอกส ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ว่า "โอปายิกัง" คำแปล ชอบด้วยอุบายแน่หรือ

สามเณรว่า สัมปะฏิจฉามิ คำแปล ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ว่า "ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ" คำแปล เธอจงปฏิบัติตัวให้ถึงพร้อมด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด

สามเณรว่า สัมปะฏิจฉามิ คำแปล ขอรับกระผม

แล้วสามเณรว่าต่อไปอีก ดังนี้

อัชชะตัคเคทานิ/ เถโร มัยหัง ภาโร// อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร

อัชชะตัคเคทานิ/ เถโร มัยหัง ภาโร// อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร

อัชชะตัคเคทานิ/ เถโร มัยหัง ภาโร// อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร

คำแปล

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเถระเป็นภาระของกระผม แม้กระผมเองก็เป็นภาระสำหรับพระเถระ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเถระเป็นภาระของกระผม แม้กระผมเองก็เป็นภาระสำหรับพระเถระตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเถระเป็นภาระของกระผม แม้กระผมเองก็เป็นภาระสำหรับพระเถระ

จบแล้วกราบ ๑ หน ยืนประณมมือว่า

วันทามิ ภันเต // สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต // มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง // สาธุ / สาธุ / อนุโมทามิฯ

คำแปล

ท่านขอรับ กระผมขอกราบไหว้ ท่านขอรับ ขอท่าน จงยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวงให้กระผมด้วย ขอท่านพึงอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ และขอท่านพึงให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย สาธุ สาธุ กระผมขออนุโมทนาฯ

นั่งคุกเข่า กราบ ๓ หน ขยับเข้ามาใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์ นั่งประณมมือฟัง ท่านกล่าวสอน ตั้งชื่อเป็นภาษาบาลีให้ และบอกชื่อพระอุปัชฌาย์ ต่อไปนี้เป็นคำกล่าวสอนโดยย่อให้สามเณรตั้งใจฟัง ในที่นี้จะขอนำคำกล่าวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร กล่าวสอนในเวลาบวชนาคมาแสดงไว้เป็นตัวอย่าง ดังนี้

"บัดนี้ได้ขอนิสัยแล้ว ขอนิสัยคือขออยู่ในสำนักและยินดีปฏิบัติตามหน้าที่ระหว่างกันและกัน พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ในการแนะนำ อบรม ตักเตือน สั่งสอน ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย สัทธิวิหาริกก็คือศิษย์นั่นเอง มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามคำแนะนำ อบรม ตักเตือน สั่งสอน ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย

เมื่อได้ยืนยันความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำ อบรม ตักเตือน สั่งสอน ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย ต่อไปพระสงฆ์ได้จะยกขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต้องสวดประกาศเป็นภาษาบาลี จึงขอให้ชื่อในภาษาบาลีว่า "ญาณะวะชิโร"ถ้าพระอาจารย์ทั้งสองสวดถามว่า กินนาโมสิ แปลว่า ท่านชื่ออะไร ให้เรียนตอบกับท่านว่า "อะหัง ภันเต ญาณะวะชิโร (ชื่อภาษาบาลีของเราเอง) นามะ"

ถ้าพระอาจารย์ ทั้งสองสวดถามต่อไปว่า "โก นามะ เต อุปัชฌาโย" แปลว่า พระอุปัชฌาย์ ของท่านชื่ออะไร ให้เรียนตอบกับท่านว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสะมา อุปะเสโณ นามะ ต่อไปนี้ขอให้ฟังบอกบาตรและจีวรบริขารสำหรับพระ"

จากนั้นพระอุปัชฌาย์แนะนำบริขารเครื่องใช้ให้ทราบเป็นเบื้องต้น โดยสวดเป็นภาษาบาลีว่า

ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ / อุปัชฌัง คาหาเปตะวา / ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพัง //

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่บาตร พร้อมกับตอกว่า อะยัน เต ปัตโตฯ คำแปล นี่บาตรเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า อามะ ภันเตฯ คำแปล ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่บาตร พร้อมกับถามว่า อะยัง สังฆาฎิฯ

คำแปล นี่ผ้าสังฆาฏิเธอนะ

สาเณรตอบรับว่า อามะ ภันเตฯ คำแปล ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่ผ้าจีวร พร้อมกับถามว่า อะยัง อุตตะราสังโคฯ คำแปล นี่ผ้าจีวรเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า อามะ ภันเต คำแปล ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่สบง พร้อมกับถามว่า อะยัง อันตะระวาสะโก คำแปล นี่ผ้าสบงเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า อามะ ภันเต คำแปล ขอรับกระผม



จากนั้น พระกรรมวาจารย์และอนุสาวนาจารย์คล้องบาตรให้ สามเณรประณมมือเดินเข่าถอยหลังออกไปพอพ้นแนวพระสงฆ์แล้วยืนขึ้นหันหน้ากลับเดินตามพระไปยืนในที่ห่างจากสงฆ์ออกไปประมาณ ๑๒ ศอก ประณมมือหันหน้ามาทางพระสงฆ์ บางแห่งจะมีอาสนะสำหรับพระคู่สวดปูไว้ด้านหน้า ให้เดินวนขวาอาสนะนั้น ไม่ให้เหยียบเพราะเป็นอาสนะของพระกรรมวาจารย์และอนุสาวนาจารย์

การไม่ยืน ไม่เหยียบ ไม่นั่ง ไม่นอน หรือวางสิ่งของบนอาสนะของครูบาอาจารย์ เป็นการแสดงความเคารพอีกแบบหนึ่งของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา



ต่อจากนั้น พระคู่สวดนั่งคุกเข่า หันหน้าไปทางพระประธาน กราบ ๓ หน ว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) แล้วเริ่มสวดกรรมวาจา ดังนี้



สุณาตุ/ เม ภันเต สังโฆ// ญาณะวะชิโร/ อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปสัมปทาเปกโข// ยะทิ/ สังฆัสสะ ปัตตกัลลัง// อะหัง/ ญาณะวะชิรัง อะนุสาเสยยัง ฯ

คำแปล

ขอรับ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ท่านญาณะวะชิระ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านอุปะเสณะ ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว กระผมจะพึงกล่าวสอนท่านญาณะวะชิระ



พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ลุกเดินมายืนอยู่บนอาสนะที่วางอยู่เบื้องหน้าสามเณร พร้อมสวดซักซ้อมการถามตอบอันตรายิกธรรมต่อไป

การซักซ้อมอันตริยกธรรม



อันตริยกธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อม สอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เช่น ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีหนี้สินติดตัว มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

การซักซ้อมอันตรายิกธรรมเป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวดกับผู้ที่ขอบวชเป็นพระภิกษุว่า หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์



คำสวดซักซ้อมอันตรายิกธรรม

สุณาสิ ญาณะวะชิระ อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล ยัง ชาตัง ตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉันเต// สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง//อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง// มา โข วิตถาสิ// มาโข มังกุ อะโหสิ// เอวันตัง ปุจฉิสสันติ// สันติ๊/ เต/ เอวรูปา/ อาพาธา

คำแปล

ดูก่อนญาณะวชิระ ขอท่านจงฟัง เวลานี้เป็นเวลาที่ท่านต้องกล่าวแต่ความเป็นจริง กล่าวแต่สิ่งที่มีอยู่จริง ท่ามกลางสงฆ์ สิ่งใดเป็นจริงก็พึงกล่าวว่ามี สิ่งใดไม่เป็นจริงก็จงกล่าวว่าไม่มี.....ท่านมีโรคดังต่อไปนี้หรือไม่



สวดถามว่า

สวดตอบว่า

คำถาม

คำตอบ

กุฏฐัง

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคเรื้อนหรือไม่?

ไม่ขอรับ

คัณโฑ

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคฝีหนองหรือไม่?

ไม่ขอรับ

กิลาโส

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคกลากหรือไม่?

ไม่ขอรับ

โสโส

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคผอมแห้ง,วัณโรคฯลฯ?

ไม่ขอรับ

อะปะมาโร

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่?

ไม่ขอรับ

มะนุสสะโสสิ๊

อามะ ภันเต

เป็นมนุษย์หรือไม่?

ครับผม

ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต เป็นบุรุษหรือไม่? ครับผม
ภุชิสโสสิ๊

อามะ ภันเต

ไม่ได้เป็นทาสใครใช่ไหม?

ครับผม

อะนะโณสิ๊

อามะ ภันเต

ไม่ได้เป็นหนี้ใช่ไหม?

ครับผม

นะสิ๊ ราชะภะโฏ

อามะ ภันเต

ไม่ได้หนีราชการมาใช่ไหม?

ครับผม

อนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ

อามะ ภันเต

มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ?

ครับผม

ปริปุณณะวีสติวัสโสสิ๊

อามะ ภันเต

อายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ?

ครับผม

ปริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง

อามะ ภันเต

มีบาตรจีวรครบหรือไม่?

ครับผม

กินนาโมสิ

อะหัง ภันเต ญาณะวะชิโร

นามะ

ท่านชื่ออะไร?

ท่านขอรับผมชื่อ ญาณะวะชิระ

โก นามะ เต อุปัชฌาโย

อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสะมา อุปะเสโณ นามะ

พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่ออะไร?

.ท่านขอรับพระอุปัชฌาย์ของผมชื่อ อุปะเสโณ



จากนั้น สามเณรประณมมือยืนอยู่ก่อน ส่วนพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์จะกลับเข้ามาในที่ประชุมสงฆ์และสวดกรรมวาจาต่อไป ดังนี้



คำขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะ(1)เข้ามา

สุณาตุ/ เม ภันเต สังโฆ// ญาณะวะชิโร/ อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข// อะนุสิฏโฐ โส มะยา// ยะทิ/ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง// ญาณะวะชิโร / อาคัจเฉยยะ// อาคัจฉาหีติ วัตตัพโพ (อาคัจฉาหิ) ฯ

คำแปล

ท่านขอรับ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ญาณะวะชิระเป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านอุปะเสณะ ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว ญาณะวะชิระพึงเข้ามา พึงกล่าวว่า ขอท่านจงเข้ามา ฯ



จากนั้นพระอุปัชฌาย์เรียกให้สามเณรเข้ามาสู่ท่ามกลางสงฆ์ สามเณรประณมมือเดินวนรอบอาสนะสีเขียวเข้ามา ถึงแนวพระสงฆ์แล้วนั่งคุกเข่าลงกราบ ๓ หน แล้วเปล่งวาจาขออุปสมบท ดังนี้







คำขออุปสมบท

สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ // อนุกัมปัง อุปาทายะ//

ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ // อนุกัมปัง อุปาทายะ//

ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ // อนุกัมปัง อุปาทายะ//

คำแปล

ท่านขอรับ กระผมขออุปสมบทกับสงฆ์ ขอสงฆ์จงอนุเคราะห์เกื้อกูลกระผม ฯลฯ แม้ครั้งที่สาม ท่านขอรับ กระผมขออุปสมบทกับสงฆ์ ขอสงฆ์จงอนุเคราะห์เกื้อกูลกระผมฯ



กราบ ๑ หน แล้วประณมมือเดินเข่าเข้าไปท่ามกลางสงฆ์วางเข่าตรงที่พระสงฆ์บอก (สังเกตดูมือพระท่านขีดให้เป็นสัญลักษณ์ตรงที่จะวางเข่า) จากนั้น พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์สวดสมมติตนเพื่อเป็นตัวแทนสงฆ์ถามอันตรายิกธรรมดังต่อไปนี้

คำสมมติเพื่อถามอันตรายิกธรรม

สุณาตุ/ เม ภันเต สังโฆ// อะยัง ญาณะวะชิโร/ อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข// ยะทิ/ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง//อะหัง/ ญาณะวะชิรัง/ อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยังฯ



คำแปล

ท่านขอรับ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ญาณะวะชิระนี้ เป็นอุปะสัมปะทาเปกขะของท่านอุปะเสณะ ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว กระผมจะพึงถามญาณะวะชิระ ฯ

เสร็จแล้วนั่งฟังพระคู่สวดถามอันตรายิกธรรมเหมือนเดิม



คำสวดถามอันตรายิกธรรม

สุณาสิ ญาณะวะชิระ อะยัน เต สัจจะกาโล ภูตะกาโล ยัง ชาตัง ตัง ปุจฉามิ สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง//อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง// สันติ๊/ เต/ เอวรูปา/ อาพาธา

คำแปล

ดูก่อนญาณะวะชิระ ขอท่านจงฟัง เวลานี้เป็นเวลาที่ท่านต้องกล่าวแต่ความเป็นจริง กล่าวแต่สิ่งที่มีอยู่ สิ่งใดเป็นความจริงก็พึงกล่าวว่า มี สิ่งใดไม่เป็นความจริงก็จงกล่าวว่า ไม่มี.....ท่านมีโรค(ข้อห้าม) ดังต่อไปนี้หรือไม่



สวดถามว่า

สวดตอบว่า

คำถาม

คำตอบ

กุฏฐัง

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคเรื้อนหรือไม่?

ไม่ขอรับ

คัณโฑ

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคฝีหนองหรือไม่?

ไม่ขอรับ

กิลาโส

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคกลากหรือไม่?

ไม่ขอรับ

โสโส

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคผอมแห้ง, วัณโรคฯลฯ หรือไม่?

ไม่ขอรับ

อะปะมาโร

นัตถิ ภันเต

เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่?

ไม่ขอรับ

มะนุสสะโสสิ๊

อามะ ภันเต

เป็นมนุษย์หรือไม่?

ครับผม

ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต เป็นบุรุษหรือไม่? ครับผม
ภุชิสโสสิ๊

อามะ ภันเต

ไม่ได้เป็นทาสใครใช่ไหม?

ครับผม

อะนะโณสิ๊

อามะ ภันเต

ไม่ได้เป็นหนี้ใช่ไหม?

ครับผม

นะสิ๊ ราชะภะโฏ

อามะ ภัณเต

ไม่ได้หนีราชการมาใช่ไหม?

ครับผม

อนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ

อามะ ภันเต

มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ?

ครับผม

ปริปุณณะวีสติวัสโสสิ๊

อามะ ภันเต

อายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ?

ครับผม

ปริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง

อามะ ภันเต

มีบาตรจีวรครบไม่?

ครับผม

กินนาโมสิ

อะหัง ภันเต ญาณะวะชิโร นามะ

ท่านชื่ออะไร?

ท่านขอรับเจริญผมชื่อ ญาณะวะชิโร

โก นามะ เต อุปัชฌาโย

อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสะมา อุปะเสโณ นามะ

พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่ออะไร?

ท่านขอรับพระอุปัชฌาย์ของผมชื่อ อุปะเสโณ



จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด



คำสวดญัตติจตุตถกัมมวาจา

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง ญาณะวะชิโร อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปทาเปกโข ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง ญาณะวะชิโร สังฆัง อุปสัมปทัง ยาจติ อายัสมะตา อุปเสเณนะ อุปัชฌาเยน ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปะสัมปาเทยยะ อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยน เอสา ญัตติ

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง ญาณะวะชิโร อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปทาเปกโข ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง ญาณะวะชิโร สังฆัง อุปะสัมปทัง ยาจติ อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยน ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปสัมปาเทติ อายัสมะตา อุปเสเณนะ อุปัชฌาเยน

ทุติยัมปิ เอตมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง ญาณะวะชิโร อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปทาเปกโข ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง ญาณะวะชิโร สังฆัง อุปะสัมปทัง ยาจติ อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยน ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปสัมปาเทติ อายัสมะตา อุปเสเณนะ อุปัชฌาเยน

ตะติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง ญาณะวะชิโร อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปทาเปกโข ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง ญาณะวะชิโร สังฆัง อุปะสัมปทัง ยาจติ อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยน ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปสัมปาเทติ อายัสมะตา อุปเสเณนะ อุปัชฌาเยน

อุปะสัมปันโน สังเฆนะ ญาณะวะชิโร อายัสมะโต อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหี เอวะเมตัง ธาระยามิ



คำแปล

ท่านขอรับ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ญาณะวะชิระนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่านอุปะเสณะ เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบท มีบาตรและจีวรครบบริบูรณ์ ญาณะวะชิระจึงขออุปสมบทกะสงฆ์ โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์ ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพียงกันดีแล้ว ขอสงฆ์พึงให้ญาณะวะชิระอุปสมบท โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์ นี่เป็นญัตติ

ท่านขอรับ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ญาณะวะชิระนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่านอุปะเสณะ เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบท มีบาตรและจีวรครบบริบูรณ์ ญาณะวะชิระจึงขออุปะสมบทกะสงฆ์ โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์ ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพียงกันดีแล้ว ขอสงฆ์พึงให้ญาณะวะชิระอุปสมบท โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์ ฯลฯ แม้ครั้งที่สองฯลฯ แม้ครั้งที่สาม ฯลฯ

ญาณะวะชิระได้อุปะสมบทจากสงฆ์แล้ว โดยมีท่านอุปะเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์ สงฆ์ยอมรับ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นผู้นิ่งข้าพเจ้า ย่อมทรงญัตติไว้ตามนั้นฯ



เสร็จแล้วกราบ ๓ หน ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุษสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์ หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง



ที่มาจากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ

ผมไม่สนองค์ประกอบอะไรมากมายนักหรอก ผมเพียงขอให้มีเวลาสำหรับตัวผมมีเวลาได้ปฎิบัติและมีหมู่คณะมีกฎเกณฑ์ควบคุมมีข้อวัตรเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองหละหลวม ก็เพียงพอและเพศบรรพชิตนั้นแหล่ะเหมาะสมกับผมที่สุด(ร่วมทั้งความสัปปายะอีกทั้งหมดที่ผมต้องแสวงหาด้วย)

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 126

อุปาลิวรรคที่ ๔


๑. ปฐมอุปาลิสูตร

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ

ทรงบัญญัติสิกขาบทและแสดงปาติโมกข์


[๓๑] ... ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระตถาคตทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอแล จึงทรงบัญญัติ

สิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจ

ประโยชน์ ๑๐ ประการแล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก

ทั้งหลาย.


๑๐ ประการเป็นไฉน คือ


เพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่อการอยู่สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปรายภพ ๑

เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑

เพื่ออนุเคราะห์วินัย ๑


ดูก่อนอุบาลี ตถาคต

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดง

ปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.


จบปฐมอุปาลิสูตรที่ ๑

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... hp?id=7074


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 127

อุปาลิวรรคที่ ๔


:b44: :b42: :b44:


อรรถกถาปฐมอุปาลิสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๔ อุปาลิสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย ได้แก่ ความที่สงฆ์รับว่าดี คือความที่สงฆ์

รับรองด้วยคำที่น่ารักว่า สุฏฺฐุ ภนฺเต ดีละ ข้าพเจ้าข้า เหมือนในอนาคต

สถานว่า สุฏฺฐุ เทว ดีละเทวะ. ก็สงฆ์ใดรับรองพระดำรัสของพระตถาคต

อันนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สงฆ์นั้นตลอดกาล

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ก็เพื่อสงฆ์รับรอง

ด้วยคำที่น่ารักว่า สุฏฺฐุ ภนฺเต ดีละพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงโทษในการไม่รับรอง และอานิสงส์ในการรับรองแล้ว

เมื่อทรงกระทำให้แจ่มแจ้งข้อความนี้ว่า มิได้ทรงถืออำนาจโดยพลการ

จึงตรัสว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย. บทว่า สงฺฆผาสุตาย ได้แก่ เพื่อความผาสุก

เพื่อความมีชีวิตร่วมกันแห่งสงฆ์ อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่

เป็นสุข.


:b44: :b42: :b44:


บทว่า ทุมฺมงฺกูนํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่าผู้เก้อ

ยาก. คนเหล่าใด แม้ถูกเขาทำให้ถึงความเก้อเขิน ก็ไม่ทุกข์ร้อน หรือ

กระทำการล่วงละเมิดสิกขาบท หรือทำแล้วก็ไม่ละอาย เพื่อประโยชน์แก่

การข่มบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทมีอยู่ ก็จัก

เบียดเบียนสงฆ์ว่า พวกท่านเห็นอะไร ได้ยินอะไร พวกผมทำอะไร

พวกท่านจึงยกอาบัติอันไหน ในวัตถุอันไหนขึ้นมาข่มพวกผม ก็เมื่อ

สิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักแสดงสิกขาบทแก่ภิกษุเหล่านั้นข่มโดยสหธรรม

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย เพื่อข่มบุคคล

ผู้เก้อยาก. บทว่า เปสลานํ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ผาสุกของ

เหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. จริงอยู่ ภิกษุผู้ศีลเป็นที่รัก ไม่รู้ข้อที่ควรทำ

และไม่ควรทำ ข้อที่มีโทษและไม่มีโทษและขอบเขต พยายามทำไตรสิกขา

ให้บริบูรณ์ย่อมลำบาก แก่ภิกษุเหล่านั้นรู้ข้อที่มีโทษและไม่มีโทษและ

ขอบเขต พยายามทำไตรสิกขาให้บริบูรณ์ย่อมไม่ลำบาก ด้วยเหตุนั้น

การบัญญัติสิกขาบทจึงเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขแห่งภิกษุเหล่านั้น หรือการ

ข่มบุคคลผู้เก้อยากนั่นแหละเป็นการอยู่เป็นสุขแห่งภิกษุเหล่านั้น อาศัย

บุคคลผู้เก้อยาก อุโบสถและปวารณาก็ตั้งอยู่ไม่ได้ สังฆกรรมก็เป็นไป

ไม่ได้ ไม่มีความสามัคคีกัน ภิกษุทั้งหลายที่มีอารมณ์มาก ก็ประกอบ

อุเทศเป็นต้นไม่ได้ ต่อเมื่อบุคคลผู้ทุศีลถูกข่มเสียแล้ว อุปัทวะนี้แม้ทั้งหมด

ก็ไม่มี แต่นั้นภิกษุผู้น่ารักย่อมละผาสุก. ในคำว่า เปสลานํ ภิกฺขูนํ

ผาสุวิหาราย นี้ พึงทรามความสองส่วน ด้วยประการฉะนี้.


:b44: :b42: :b44:


บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย ความว่า ทุกข์พิเศษ

มีการประหารด้วยฝ่ามือ ประหารด้วยท่อนไม้ ประหารด้วยศัสตรา ตัดมือ

ตัดเท้า เสื่อมเกียรติ เสื่อมยศ และความร้อนใจ เป็นผู้ตั้งอยู่ในความ

ไม่สังวร พึงถึงในอัตภาพนั้นเท่านั้น ชื่อว่าอาสวะที่เป็นในปัจจุบัน

เพื่อป้องกันปิดกั้น คือสกัดทางมาแห่งอาสวะที่เป็นไปในปัจจุบันนั้น.

บทว่า สมฺปรายิกานํ ความว่า ทุกข์พิเศษอันมีบาปกรรมที่ทำแล้วเป็น

มูล อันผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร พึงถึงในอบาย มีนรกเป็นต้น ในภพ

ภายหน้า ชื่อว่าอาสวะที่เป็นในภายหน้า เพื่อประโยชน์แก่การระงับ

อาสวะที่เป็นไปในภายภาคหน้าเหล่านั้น.


:b44: :b42: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 129


บทว่า อปฺปสนฺนานํ ความว่า เมื่อมีการบัญญัติสิกขาบท มนุษย์

แม้เหล่าใดที่เป็นบัณฑิตที่ยังไม่เลื่อมใส รู้การบัญญัติสิกขาบท หรือเห็น

ภิกษุปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ มนุษย์เหล่านี้ย่อมถึงความเลื่อมใส

ว่า สมณะเหล่านี้งดเว้นจากฐานที่ตั้งแห่งความรักความโกรธความหลง

แห่งมหาชนในโลกอยู่ ชื่อว่ากระทำกิจที่ทำได้ยากหนอ เห็นคัมภีร์ใน

พระวินัยปิฎกก็เลื่อมใส เหมือนกตเวทิพราหมณ์ผู้มิจฉาทิฏฐิ ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย เพื่อความเลื่อมใส

แห่งบุคคลผู้ยังไม่เลื่อมใส.


:b44: :b42: :b44:


บทว่า ปสนฺนานํ ความว่า กุลบุตรแม้เหล่าใดเลื่อมใสในพระ-

ศาสนาแล้ว กุลบุตรแม้เหล่านั้นรู้การบัญญัติสิกขาบท หรือเห็นภิกษุ

ปฏิบัติตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ย่อมเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า โด พระผู้

เป็นเจ้าที่ฉันหนเดียว รักษาพรหมจริยสังวรจนตลอดชีวิต ชื่อว่ากระทำ

กิจที่ทำได้ยากหนอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสนฺนานํ

ภิยฺโยภาวาย เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว.


:b44: :b42: :b44:


บทว่า สทฺธมฺมฏฺฐิติยา ความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริ-

ยัตติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม อธิคมสัทธรรม. บรรดาสัทธรรม ๓

อย่างนั้น พุทธวจนะแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปริยัตติสัทธรรม สัทธรรมนี้คือ

ธุองค์คุณ ๑๓ จาริตศีล วาริตศีล สมาธิ วิปัสสนา ชื่อว่า ปฏิปัตติ-

สัทธรรม. โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม. สัทธรรมนั้นแม้

ทั้งหมด เพราะเหตุที่เมื่อมีบัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบท

วิภังค์แห่งสิกบทนั้น และพระพุทธวจนะอื่น เพื่อส่องความสิกขาบท

และวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ บำเพ็ญข้อปฏิบัติ

ย่อมบรรลุโลกุตรธรรมพี่พึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติ ฉะนั้น พระสัทธรรมจึง

ดำรงอยู่ยั่งยืนเพราะการบัญญัติสิกขาบท ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สทฺธมฺมฏฺฐิติยา เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.


:b44: :b42: :b44:


บทว่า วินยานุคฺคหาย ความว่า เมื่อมีการบัญญัติสิกขาบท ก็เป็น

อันอนุเคราะห์อุปถัมภ์ค้ำชูวินัย แม้ทั้ง ๔ อย่าง คือ สังวรวินัย ปหานวินัย

สมถวินัย บัญญัติวินัย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วินยา-

นุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย.

จบอรรถกถาปฐมอุปาลิสูตรที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำแปลตรงนี้มีมั้ยครับ

สัพพะทุกขะ นิสสรณะนิพพานะ สัจฉิกรณัตถายะ อิมัง กาสาวัง คะเหตวา ปัพพาเชถ มัง ภันเต อนุกัมปัง อุปาทายะ
ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตกาย : มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว

เรื่องมีอยู่ว่า เช้าวันหนึ่ง สัจจกะ นิครนถบุตร ผู้มีชื่อเสียงเด่นดังมาก เดินมาที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้พบและสนทนากับพระพุทธเจ้า

เขาเริ่มต้นโดยยกเอาเรื่องกายภาวนา (การพัฒนากาย) และจิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) ขึ้นมาพูด และกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ตามความคิดเห็นของเขา เหล่าสาวกของพระองค์เอาแต่ขะมักเขม้นประกอบจิตตภาวนา แต่ไม่ประกอบกายภาวนา (เอาแต่พัฒนาจิต) ไม่พัฒนากาย

การที่สัจจกนิครนถ์แสดงทัศนะขึ้นมาอย่างนี้ อรรถกถาบอกภูมิหลังว่า เพราะเขาเห็นพระภิกษุพากันหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ไม่มีการทรมานร่างกาย เมื่อเขาแสดงความเห็นออกมาอย่างนี้

พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่า แล้วตามที่เขาเรียนรู้มา กายภาวนา (การพัฒนากาย) คืออย่างไร

สัจจกนิครนถ์ก็ยกตัวอย่างการบำเพ็ญตบะถือพรตต่างๆ ในการทรมานร่างกาย (อัตตกิลมถานุโยค) ว่านั้นแหละคือกายภาวนา

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า แล้วจิตตภาวนาล่ะ เขาเรียนรู้มาเป็นอย่างไร

ตรงนี้ สัจจกนิครนถ์ไม่สามารถอธิบายได้

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้แต่กายภาวนาที่เขาบอกมาก่อนนั้น ก็ไม่ใช่กายภาวนา หรือ การพัฒนากาย ในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย)

นี่แม้กายภาวนายังไม่รู้ แล้วเขาจะรู้จักจิตตภาวนาได้จากที่ไหน

จากนั้น จึงตรัสบอกให้สัจจกนิครนถ์ฟังคำที่จะทรงอธิบายว่า อย่างไรไม่เป็นภาวิตกาย ไม่เป็นภาวิตจิต และอย่างไรจึงจะเป็นภาวิตกาย อย่างไรจึงจะเป็นภาวิตจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกความตอนที่เป็นสาระสำคัญมาดู

“แนะอัคคิเวสสนะ (ชื่อโคตร/นามสกุลของสัจจกนิครนถ์) อย่างไร จึงจะเป็นภาวิตกาย และเป็นภาวิตจิต

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้เรียนสดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น ถึงจะได้สัมผัสกับสุขเวทนา เขาก็ไม่ติดใคร่ใฝ่กระสันในสุข ไม่ถึงความเป็นผู้ติดใคร่ใฝ่กระสันในสุขเวทนา ครั้นสุขเวทนาดับไป เพราะสุขเวทนาดับไป มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาสัมผัสกับทุกขเวทนาเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ฟูมฟาย ไม่รำพัน ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอก ไม่ถึงความฟั่นเฟือนเลือนหลง

“อย่างนี้แหละ อัคคิเวสสนะ เพราะที่ได้พัฒนากายแล้ว สุขเวทนานั้น ถึงแม้เกิดขึ้น ก็หาได้ครอบงำจิตตั้งอยู่ไม่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนาจิตแล้ว ทุกขเวทนา ถึงแม้เกิดขึ้น ก็หาได้ครอบงำจิตตั้งอยู่ไม่

“นี่แนะอัคคิเวสสนะ สำหรับอริยสาวกผู้หนึ่งผู้ใด สุขเวทนาถึงแม้เกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนากายแล้ว ทุกขเวทนาถึงแม้ตั้งอยู่ ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนาจิตแล้ว ครบทั้งสองข้างอย่างนี้แล อัคคิเวสสนะ บุคคลจึงเป็นภาวิตกาย และเป็นภาวิตจิต”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายภาวนา (การพัฒนากาย) ความหมายหลักบอกว่าเป็นการพัฒนาปัญจทวาริกกาย คือ กายด้านผัสสทวาร 5 หรือ อินทรีย์ 5 (ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย)

การพัฒนากายก็แทบจะเป็นคำเดียวกับการพัฒนาอินทรีย์ หรือว่า กายภาวนาก็น่าจะได้แก่อินทรีย์ภาวนานั่นเอง
การพัฒนาอินทรีย์ก็เริ่มด้วยหลักอินทรีย์สังวร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเน้นอย่างมากในการศึกษาของผู้เข้ามาบรรพชาในพระธรรมวินัย เรียกว่าเป็นการฝึกขั้นต้น ต่อเนื่องไปกับการฝึกด้านศีล (ในยุคอรรถกถานิยมเรียกเป็นศีลหมวดหนึ่งว่า อินทรีย์สังวรศีล) จึงขอให้ดูหลักขั้นเบื้องต้นนี้ ดังตัวอย่างพุทธพจน์ว่า

“ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือติดนิมิต (ภาพรวม) ไม่ถือติดอนุพยัญชนะ (ส่วนย่อย) เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันทราม คือ อภิชฌา (ความติดใคร่ชอบใจ) และโทมนัส (ความขัดเคืองเสียใจ) ครอบงำ เธอรักษาจักขุนทรีย์ เธอถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว...(เช่นเดียวกัน)
ภิกษุนั้น ผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันล้วนไร้ระคน (ไม่เจือกิเลส) ในภายใน อย่างนี้แล มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์สังวรนี้ยังเป็นขั้นของผู้ฝึก หรือเริ่มศึกษา ยังไม่ใช่ขั้นของพระอรหันต์ ซึ่งเป็น “ภาวิตินทรีย์” (ผู้มีอินทรีย์อันได้พัฒนาแล้ว ที่จะจัดเป็นภาวิตกาย) ที่นำมาให้ดูเพื่อได้รู้เห็นตามลำดับ

ยังมีอินทรีย์สังวรที่ลึกลงไป หรือที่ตรัสอีกแนวหนึ่ง ก็ขอยกมาให้ดูเพื่อเปรียบเทียงกันด้วย (อินทรีย์สังวรนี้ เมื่อทำให้มากแล้ว จะทำสุจริต 3 ให้บริบูรณ์ สุจริต 3 นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ และโพชฌงค์ 7 นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำวิชชาและวิมุตติ ที่เป็นผลานิสงส์สุดท้าย ให้บริบูรณ์)

เรื่องนี้ตรัสแก่กุณฑลีย์ปริพาชก ผู้ได้มาเฝ้าที่อัญชนวัน ในเขตเมืองสาเกต มีความตอนนี้ว่า

“ดูกรกุณฑลีย์ อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จะยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์

ดูกรกุณฑลีย์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทีน่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ไม่ติดใคร่ ไม่เหิมใจ ไม่ก่อราคะให้เกิดขึ้น และกายของเธอก็คงตัว จิตก็คงตัว มั่นคงดี ในภายใน ปลอดพ้นไปด้วยดี อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้างใจ ไม่บีบใจ ไม่ขุ่นเคืองแค้นใจ

ภิกษุฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว (เช่นเดียวกัน)
ดูกรกุณฑลีย์ อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อินทรีย์สังวรนี้ยังเป็นขั้นของผู้ฝึก หรือเริ่มศึกษา ยังไม่ใช่ขั้นของพระอรหันต์ ซึ่งเป็น “ภาวิตินทรีย์” (ผู้มีอินทรีย์อันได้พัฒนาแล้ว ที่จะจัดเป็นภาวิตกาย) ที่นำมาให้ดูเพื่อได้รู้เห็นตามลำดับ

ยังมีอินทรีย์สังวรที่ลึกลงไป หรือที่ตรัสอีกแนวหนึ่ง ก็ขอยกมาให้ดูเพื่อเปรียบเทียงกันด้วย (อินทรีย์สังวรนี้ เมื่อทำให้มากแล้ว จะทำสุจริต 3 ให้บริบูรณ์ สุจริต 3 นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ และโพชฌงค์ 7 นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำวิชชาและวิมุตติ ที่เป็นผลานิสงส์สุดท้าย ให้บริบูรณ์)

เรื่องนี้ตรัสแก่กุณฑลีย์ปริพาชก ผู้ได้มาเฝ้าที่อัญชนวัน ในเขตเมืองสาเกต มีความตอนนี้ว่า

“ดูกรกุณฑลีย์ อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จะยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์

ดูกรกุณฑลีย์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทีน่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ไม่ติดใคร่ ไม่เหิมใจ ไม่ก่อราคะให้เกิดขึ้น และกายของเธอก็คงตัว จิตก็คงตัว มั่นคงดี ในภายใน ปลอดพ้นไปด้วยดี อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้างใจ ไม่บีบใจ ไม่ขุ่นเคืองแค้นใจ

ภิกษุฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว (เช่นเดียวกัน)
ดูกรกุณฑลีย์ อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์”
ทุกพระสูตรจะเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งหมดเรื่องเกี่ยวกับการสำรวมอินทรีย์ทั้งนั้น เพราะการปฎิบัติธรรมนั้น ต้องระวังทั้งภายในภายนอก และสถานะใดจะดีเท่าสถานะภาพของการอยู่ในเพศบรรพชิตเล่า เพราะบรรพชิตที่ตั้งใจนั้นย่อมบรรลุจุดหมายได้ง่ายกว่าฆราวาสที่มีกิจธุระมากมาย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วไม่กลับไปใช้ชีวิตเหมือเดิม เพราะพระองค์ทรงรู้ว่าการจะสั่งสอนคนนั้น จำเป็นจะต้องทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้เป็นตัวอย่าง เพราะวิถีชีวิตนักบวชเอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมได้ดีที่สุด เพราะชีวิตของฆราวาสนั้นไม่เอิ้ออำนวยแก่การบรรลุธรรม


ตอบมาหลายครั้ง

แต่เมื่อใคร่ครวญพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจึงเห็นว่า

การที่พระพุทธองค์ทรงครองเพศพรรพชิตและให้เหล่าสาวกมาบวชเพื่อปฏิบัติธรรม

เพราะว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอนความตายเกิดได้ทุกขณะ การบวชเพื่อปฏิบัติธรรม

เพื่อมุ่งตรงแห่งพุทธประสงค์คือการบรรลุธรรมหรือการดับทุกข์

นี่คือกิจสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตที่ได้เกิดมา เป็นเรื่องที่รอไม่ได้

จึงทรงให้สาวกบวชปฏิบัติเพื่อการบรรลุถึงนั้น อย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ากิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มี

เพี่ยงแต่เหล่าสาวกในปัจจุบันมิได้เห็นภัยในวัฏฏะสงสารว่าน่ากลัวจึงพากันปฏิบัติอย่างหย่อนยาน

หรือบวชด้วยการอื่นจึงพากันละเลยการปฏิบัติเสีย :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
bigtoo เขียน:
ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วไม่กลับไปใช้ชีวิตเหมือเดิม เพราะพระองค์ทรงรู้ว่าการจะสั่งสอนคนนั้น จำเป็นจะต้องทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้เป็นตัวอย่าง เพราะวิถีชีวิตนักบวชเอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมได้ดีที่สุด เพราะชีวิตของฆราวาสนั้นไม่เอิ้ออำนวยแก่การบรรลุธรรม


ตอบมาหลายครั้ง

แต่เมื่อใคร่ครวญพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจึงเห็นว่า

การที่พระพุทธองค์ทรงครองเพศพรรพชิตและให้เหล่าสาวกมาบวชเพื่อปฏิบัติธรรม

เพราะว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอนความตายเกิดได้ทุกขณะ การบวชเพื่อปฏิบัติธรรม

เพื่อมุ่งตรงแห่งพุทธประสงค์คือการบรรลุธรรมหรือการดับทุกข์

นี่คือกิจสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตที่ได้เกิดมา เป็นเรื่องที่รอไม่ได้

จึงทรงให้สาวกบวชปฏิบัติเพื่อการบรรลุถึงนั้น อย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ากิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มี

เพี่ยงแต่เหล่าสาวกในปัจจุบันมิได้เห็นภัยในวัฏฏะสงสารว่าน่ากลัวจึงพากันปฏิบัติอย่างหย่อนยาน

หรือบวชด้วยการอื่นจึงพากันละเลยการปฏิบัติเสีย :b8:
สุดยอดเลยกด like ให้เลย :b35: :b35: :b35:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ มาดูการฝึกยิ่งขึ้นไปอีก ตอนนี้แหละเรียกว่าอินทรียภาวนา เป็นหลักที่ตรัสไว้ในอินทรียภาวนาสูตร ในพระสูตรนี้ ต่อจากตรัสการปฏิบัติแล้ว ยังตรัสให้เห็นความแตกต่างที่พึงเทียบกัน ระหว่าง เสขปาฏิบท คือ พระอริยะผู้ยังฝึก กับ ภาวิตินทรีย์ คือพระอรหันต์ผู้ฝึกเสร็จแล้ว ที่เป็นภาวิตกาย ขอยกมาให้ดูพอรู้รูปเค้า

เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าไผ่ ในกชังคลนิคม อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการพัฒนาอินทรีย์อย่างไร

เขาพูดตอบว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนอินทรียภาวนาโดยไม่ให้เอาตาดูรูป ไม่ให้เอาหูฟังเสียง

พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าถือตามหลักที่พราหมณ์นี้สอน คนตาบอด คนหูหนวก ก็เป็นภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) ละสิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากนั้น พระองค์ตรัสว่า การพัฒนาอินทรีย์อย่างที่ปาราสิริยพราหมณ์สอนนั้น เป็นคนละอย่าง ต่างจากอินทรีย์ภาวนาอย่างยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย) พระอานนท์จึงทูลขอให้ทรงแสดงหลักอินทรีย์ภาวนาอย่างยอดเยี่ยม ในอริยวินัยนั้น และได้ตรัสดังรวมใจความมาดังนี้ (ความอุปมายาวๆได้ละเสีย)



อินทรีย์ภาวนา: "ดูกรอานนท์ ก็อินทรีย์ภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร ?
ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้ ก็แต่ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจนั้นแล เป็นภาวะปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สภาวะนี้จึงสงบสภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคืออุเบกขา (ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล) สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตาแล้วลืมตา
ดูกรอานนท์ นี่เรียกว่า อินทรียภาวนาในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ทำนองเดียวกับข้อก่อน)

…ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลัง เอาหยาดน้ำสองหรือสามหยด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้นยังช้า (ไม่ทันที) หยาดน้ำนั้นจะถึงความเหือดหาย หมดสิ้นไปฉับพลันทันใด โดยแน่แท้
ดูกรอานนท์ นี่เรียกว่า อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน
“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร