วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 04:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2012, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มันจึงขึ้นอยู่กับคน...ไม่ใช่อยู่ที่คำภาวนา....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:


นี่แหละครับพี่กายอยู่ๆไปนั่งบริกรรมกัน ผมเห็นมาเยอะครับนั่งบริกรรมกันได้สมาธิใบ่หวยใบ่เบอร์กันมาก บ้างก็ออกทะเลเป็นบ้าเป็นหลังกัน บางคนสะสมปัญญามาก็ต่อยอดได้เอาตัวรอดไป บางคนจมปลักอยู่กับตัวเองนึกว่าเป็นผู้วิเศษเสกของขลังสร้างตระกรุด มันจะหลุดพ้นได้จริงเหรอครับ กิจในอริยสัจสำคัญที่สุด ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญขึ้น นี่แหละหัวใจเลย จะทำอะไรก็ให้เรียนรู้อริยสัจก่อนจิตใจจะได้เนี่ยวนำอยู่กับการต้องการออกจากทุกข์ เพราะในขณะเดินทางนั้นมันมีสิ่งหลอกล่อมากมาย


น้องbig ลองว่า อริยสัจ 4 ตามที่ว่านั่น ชัดๆสักความเห็นดิครับ เอาแบบว่า คนอ่านๆแล้วนำไปใช้ได้ทันที เอาเลยครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
นี่แหละครับพี่กายอยู่ๆไปนั่งบริกรรมกัน ผมเห็นมาเยอะครับนั่งบริกรรมกันได้สมาธิใบ่หวยใบ่เบอร์กันมาก บ้างก็ออกทะเลเป็นบ้าเป็นหลังกัน บางคนสะสมปัญญามาก็ต่อยอดได้เอาตัวรอดไป บางคนจมปลักอยู่กับตัวเองนึกว่าเป็นผู้วิเศษเสกของขลังสร้างตระกรุด มันจะหลุดพ้นได้จริงเหรอครับ กิจในอริยสัจสำคัญที่สุด ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญขึ้น นี่แหละหัวใจเลย จะทำอะไรก็ให้เรียนรู้อริยสัจก่อนจิตใจจะได้เนี่ยวนำอยู่กับการต้องการออกจากทุกข์ เพราะในขณะเดินทางนั้นมันมีสิ่งหลอกล่อมากมาย



น่าจะปลายๆศาสนาแล้ว จึงออกแนวก่อนพุทธศาสนาจะสิ้นจากพุทธภูมิ :b1:


ขอนำพุทธพจน์ให้สังเกต ดูสิตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันและความคิคของเราไหม พิจารณาดู


“กถํ ภควา ภาวิตตฺโต ฯ ภควา ภาวิตกาโย ภาวิตสีโล ภาวิตจิตฺโต ภาวิตปญฺโญ

ภาวิตสติปฏฺฐาโน ภาวิตสมฺมปฺปธาโน ภาวิตอิทฺธิปาโท ภาวิตินฺทฺริโย ภาวิตพโล ภาวิตโพชฺฌงฺโค ภาวิตมคฺโค ปหีนกิเลโส ปฏิวิทฺธากุปฺโป สจฺฉิกตนิโรโธ ฯ


พึงดูคำแปลที่รักษาศัพท์ ดังนี้

“พระผู้มีพระภาค ทรงเป็น ภาวิตัตต์ (พัฒนาพระองค์แล้ว) อย่างไร ? คือ พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นภาวิตกาย (ทรงเจริญกายแล้ว/มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว) ภาวิตศีล (ทรงเจริญศีลแล้ว/มีศีลที่ได้พัฒนาแล้ว) ภาวิตจิตต์ (ทรงเจริญจิตแล้ว/มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว) ภาวิตปัญญา (ทรงเจริญปัญญาแล้ว/มีปัญญาที่ได้พัฒนาแล้ว)

มีสติปัฏฐาน มีสัมมัปปธาน มีอิทธิบาท มีอินทรีย์ มีพละ มีโพชฌงค์ มีมรรค ที่ได้เจริญ/พัฒนาแล้ว ทรงละกิเลสแล้ว ทรงแทงตลอดอกุปปธรรมแล้ว มีนิโรธอันทรงทำให้แจ้งแล้ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ก.ย. 2012, 08:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


"ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย (ภัยในอนาคต) ๕ ประการนี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงตระหนักทันการไว้ ครั้นตระหนักทันการแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยเหล่านั้น อนาคตภัย ๕ ประการเป็นไฉน ?

“กล่าวคือ ในกาลอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา)
ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักเป็น (อุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถแนะนำผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา)
แม้เหล่าผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา)

“เหล่าผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักเป็น (อุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถแนะนำผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าคนที่ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน
“ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัยข้อที่ ๑ นี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนั้น อันเธอทั้งหลายพึงตระหนักรู้ไว้ ครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยนั้นเสีย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



“อีกประการหนึ่ง ในกาลอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา)
ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักให้นิสสัย (รับเป็นอาจารย์) แก่เหล่าภิกษุอื่น แลจักไม่สามารถแนะนำเหล่าภิกษุที่ถือนิสสัย (เป็นศิษย์) นั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา)
แม้เหล่าภิกษุที่ถือนิสสัย (เป็นศิษย์) นั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา

“เหล่าที่ได้ถือนิสสัยนั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักให้นิสสัย (รับเป็นอาจารย์) แก่ภิกษุเหล่านั้น แลจักไม่สามารถแนะนำภิกษุเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าคนที่ได้นิสสัยนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน
“ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัยข้อที่ ๒ นี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนั้น อันเธอทั้งหลายพึงตระหนักรู้ไว้ ครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยนั้นเสีย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่พึงมองแคบๆแค่ภิกษุ มองกว้างๆคลุมคฤหัสถ์อย่างเราๆท่านๆ ณ ปัจจุบันนี้ด้วย

แล้วก็พึงสังเกตคุณสมบัติของผู้สอน ที่เป็นความหมาย ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต และภาวิตปัญญา กับ หลักหรือข้อปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ อธิศีล (ศีล) อธิจิต (สมาธิ) และอธิปัญญา (ปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิต- 4 คู่กับภาวนา 4

ภาวนา 4 คือ

1. กายภาวนา การเจริญกาย หรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ (รวมทั้งเทคโนโลยี) โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลายทางอินทรีย์ 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ด้วยดี โดยปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ


2. ศีลภาวนา การเจริญศีล หรือพัฒนาศีล คือ พัฒนาความประพฤติ พัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมโดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลกัน


3. จิตตภาวนา การเจริญจิต หรือพัฒนาจิต คือ ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น


4. ปัญญาภาวนา การเจริญจิต หรือพัฒนาปัญญา คือ ฝึกอบรมพัฒนาปัญญา ให้เจริญงอกงามจนเกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง โดยรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ มีชีวิตเป็นอยู่ แก้ไขปัญหาและทำการทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้ถึงเหตุปัจจัย


เมื่อรู้ความหมายของหลักธรรม คือ ภาวนา ที่เป็นเนื้อตัวของการปฏิบัติทั้ง 4 แล้ว ก็เข้าใจภาวิตที่เป็นคุณสมบัติของท่านผู้จบการปฏิบัติ ผู้มีธรรมทั้ง 4 ข้อนั้นแล้วดังนี้

1. ภาวิตกาย ผู้ได้เจริญกาย หรือมีกายที่พัฒนาแล้ว คือ ได้ฝึกอบรมพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ โดยรู้จักอยู่ดีมีสุขอย่างเกื้อกูลกันกับสิ่งเกื้อกูลกันกับสิ่งสรรค์แลธรรมชาติ โดยเฉพาะให้การรับรู้ทางอินทรีย์ 5 เช่น ดู ฟัง เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา และให้การใช้สอยเสพบริโภคต่างๆ เป็นไปอย่างพอดีที่จะได้คุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์จริง ไม่หลงใหลเตลิดเพริดไปตามอิทธิพลของความชอบใจหรือไม่ชอบใจ ไม่ลุ่มหลงมัวเมา มิให้เกิดโทษ แต่ให้เป็นคุณ มิให้ถูกบาปอกุศลครอบงำ แต่หนุนให้กุศลธรรมงอกงาม

2. ภาวิตศีล ผู้ได้เจริญศีล หรือมีศีลที่พัฒนาแล้ว คือ ได้พัฒนาความประพฤติ มีพฤติกรรมดีงาม ในความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี ไม่ใช้กายวาจาและอาชีพในทางที่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ใครๆ แต่ใช้เป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของตน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม

3. ภาวิตจิต ผู้ได้เจริญจิต หรือมีจิตใจพัฒนาแล้ว คือ ได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาจิตใจ ให้สดใส เบิกบาน ร่าเริง ผ่องใส โปร่งโล่ง เป็นสุข เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีน้ำใจเมตตา กรุณา ศรัทธา กตัญญูกตเวทิตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน สงบ มั่นคง มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น

4. ภาวิตปัญญา ผู้ได้เจริญปัญญา หรือมีปัญญาที่พัฒนาแล้ว คือ ได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาและดับทุกข์ได้ปลดเปลื้องตนให้บริสุทธิ์ปลอดพ้นจากกิเลส มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญา โดยมีจิตใจเป็นอิสระสุขเกษมไร้ทุกข์

(พุทธธรรมฉบับปรับขยายหน้า 343 ไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:


นี่แหละครับพี่กายอยู่ๆไปนั่งบริกรรมกัน ผมเห็นมาเยอะครับนั่งบริกรรมกันได้สมาธิใบ่หวยใบ่เบอร์กันมาก บ้างก็ออกทะเลเป็นบ้าเป็นหลังกัน บางคนสะสมปัญญามาก็ต่อยอดได้เอาตัวรอดไป บางคนจมปลักอยู่กับตัวเองนึกว่าเป็นผู้วิเศษเสกของขลังสร้างตระกรุด มันจะหลุดพ้นได้จริงเหรอครับ กิจในอริยสัจสำคัญที่สุด ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญขึ้น นี่แหละหัวใจเลย จะทำอะไรก็ให้เรียนรู้อริยสัจก่อนจิตใจจะได้เนี่ยวนำอยู่กับการต้องการออกจากทุกข์ เพราะในขณะเดินทางนั้นมันมีสิ่งหลอกล่อมากมาย


น้องbig ลองว่า อริยสัจ 4 ตามที่ว่านั่น ชัดๆสักความเห็นดิครับ เอาแบบว่า คนอ่านๆแล้วนำไปใช้ได้ทันที เอาเลยครับ :b1:
ก่อนที่จะคุยกันต่อเราก็ต้องยอมรับกันให้ได้ก่อนว่าโดยธรรมชาตินั้นมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วในตัวมันเองแม้แต่คำสอน แม้แต่คำสอนเดิมๆนั้นก็ต้องถูกความเสื่อมจัดการไปในตัวตามยุกต์ตามสมัยตามกาลเวลา เมื่อเสื่อมก็จะมีการเกืดขึ้นมาใหม่อย่างนี้ไม่มีวันสิ้นสุด ที่ๆเราคุยกันอยู่สอนกันอยู่นี้ใช่ว่าจะถูกกัน100%

ผมถึงแสวงหาอาจารย์ที่ทรงความรู้เิดินทางมาก่อนหน้าเราหลายๆอาจารย์ อาจารย์ท่านนั้นบ้าง อาจารย์ท่านนี้บ้าง เพราะแต่ละท่านก็ยอ่มมีความเก่งที่แตกต่างกันอยู่แล้วในความเป็นจริง ทุกคนคงไม่มีใครเพรียบพร้อมกันทั้งหมดในองค์ความรู้ ผมคงทำได้เท่านี้จริงๆและนั้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เราสมควรจะทำและผลมันจะออกมาอย่างไรนั้นก็สุดแล้วแต่ธรรมะจัดสรร เรา้เองต้องตระหนักถึงตรงนี้ให้มากๆ การที่เราศึกษาอะไรด้านเดียวนั้นยิ่งไปกันใหญ่เลยจะเอาความรู้ของเราว่าถูก100%นั้นยิ่งเป็นไปไม่ได้

ถ้าเราคิดอย่างนั้นความเสื่อมย่อมเกิดกับตัวเรามากเท่านั้น แม้แตตำราคำีภีร์ที่มีอยู่ ถูกถ่ายทอดกันมาตั้งเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ กว่าจะมาถึงเราและไหนจะตีความมายอีกยิ่งไปกันใหญ่ สั่งเกตุได้จากการตีพุทธพจน์บางคนเอาสบายเข้าว่า บางคนเอาความเพียรอย่างหนักเข้าว่า บางคนบอกว่านี่คือทางสายกาง บางคนบอกว่านั้นคือทางสายกลาง ตำราเล่มเดียวกันแท้ๆยังไปคนละทางนี่แหล่ะคือความจริงความจริงทีทมันซ่อนตัวอยู่กับเรานั้นเอง ถ้าเราไม่ฉุกคิดว่าเรานั้นโน้มเอียงเท่ากับเรานั้นเอียงอยู่อย่างไม่รู้ตัว

นี่แหละเป็นสาหตุที่ผมจำเป็นต้องมีหลายๆอาจารย์แล้วก็ปฎิบัติโดยอยู่กับธรรมชาติให้มากที่สุด ไม่อยู่กับสิ่งสมมุติแม้กระทั้งคำบริกรรม ส่วนใครจะใช้ก็เป็นเรื่องของใคร จะผิดจะถูกไม่ใช่เรื่องของผม ผมเพียงแชร์การปฎิบัติเท่านั้นและก็บอกถึงผลการปฎิบัติเท่านั้นว่าได้ผลจริงอย่างไรโดยการพิสูจน์จากการลด ละ เลิก ไม่เอาความรู้ทางความคิดมาเป็นเรื่องพิสูจน์ คิดใครก็คิดได้ เข้าใจใครก็เข้าใจได้ แต่เข้าถึงเข้าถูกนี่แหละมันดูกันตรงไหน

ส่วนเรื่องอริยสัจ นั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เรื่องนี้แท้ๆที่เป็นหัวใจ สัจจะญาณนั้นเราไม่ได้เป็นคนคนพบเราฟังๆก็รู้ตาม ส่วนกิจจะญาณนี่แหล่ะที่พระองค์ทรงนำมาสั่งสอนเราให้เป็นหน้าที่ของเราโดยตรงมีแค่นี้ ส่วนกัตตญาณนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นของกิจจญาณเราไปทำอะไรไม่ได้จะเกิดขึ้นเองเมื่อทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว

ที่นี้มาดูว่ากิจญาณมีอะไรที่เราต้องทำ 1ทุกข์ ความทุกข์เป็นผล ได้แ่ก่การเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายฯ(หมายเอาขันต์ ธาตุ อาตายนะ )ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้อันนี้สำคัญมากที่สุดตรงนี้เป็นสัมมาทิฎฐิิถ้าเราไม่รู้เลยว่าทุกข์นี้คืออะไรเราจะไม่มีทางที่จะหาทางออกจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง เราต้องโยนิโสตรงนี้ให้มากๆจนเกิดความกลัว รังเกลียดในทุกข์ และทุกข์ในที่นี้นั้นก็ได้อธิบายไปแล้ว กลัววัฎฎะอย่างมาก เมื่อกลัวแล้วมันถึงหาทางออกจากทุกข์ ถ้าใครไม่มีอาการอย่างนี้นัน้เชื่อได้เลยว่ายัง ยังอีกไกล พอกำหนดรู้แล้วว่านี้คือทุกข์ก็ต้องหาทางออกจากทุกข์

2สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ สมุทัยควรละตรงนี้สำคัญมากที่สุดอีกนั้นแหล่ะเพราะเป็นต้นเหตุกำจัดที่ต้นเหตุได้ก็จบเรื่อง อะไรควรละกิเลสทั้งหลายนั้น(ตัณหา3นั้นไง )คงไม่ต้องอธิบายมากเพราะได้อธิบายมามากแล้ว ตรงนี้ก็เป็นสัมมาสังกัปโปด้วยเพราะรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรละเราจึงดำริออกจากกาม สมุทัยเป็นการกล่าวเหตุทั้งหมดจนเกิดผลมาคือความทุกข์ สองขอนี้เป็นการกล่าวเรื่องเหตุและผล แต่ยกผลขึ้นก่อน(ทุกข์)เพราะจะได้รู้ถึงความน่ากลัวของผลที่ได้รับคือทุกข์แล้วจึงไปแสวงหาทางออกจาก
ทุกข์ สรุปสองข้อนี้แสดงให้เห็นเหตุของการเกิดทุกข์(สมุทัยสัจ)และผลที่ได้รับคือความทุกข์(ทุกข์สัจ)นั้นเอง


3นิโรธคือความดับทุกขฺ์(พระนิพพาน)ควรทำให้แจ้งสิ่งนี้เป็นผล และสิ่งนี้จะแจ้งได้ต้องมีวิธีปฎิบัตินั้นคือ


4มรรค มรรคเป็นทางเดินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ ควรทำให้เจริญขึ้น ทำอะไรให้เจริญขึ้น มีอยู่8ข้อที่ต้องทำให้เจริญขึ้น เมื่อมรรคเจริญพร้อมสมังคีกันก็ให้ผลเป็นนิโรธหรือนิพพาน
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่แค่นี้ สองข้อหลังเป็นเรื่องการปฎิบัติให้พ้นทุกข์(มรรคสัจ) และผลของการปฎิบัติคือการพ้นทุกข์(นิโรธสัจ)

จะสังเกตุได้ว่าสองข้อแรกเป็นเรื่องเหตุของความทุกข์(สมทัยสัจ)และผลที่ได้รับคือทุกข์(ทุกขสัจ) สองข้อหลังเป็นเรื่องเหตุของการดับทุกข์( มรรคสัจ)และผลคือการพ้นทุกข์(นิโรธสัจ) สรุปมีเหตุทำให้เกิดทุกข์ได้ ก็ต้องมีเหตุทำให้ดับทุกข์ได้เช่นกัน ส่วนแยกเป็นข้อๆจะอธิบายตอนหลัง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 23 ก.ย. 2012, 16:11, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นี้มาดูกิจในข้อมรรคทำให้เจริญขึ้น ตรงนี้แหล่ะครับเส้นทางที่เราจะต้องออกเดินทางกันจริงๆสักที มรรคข้อแรกความเห็นชอบ(สัมมาทิฎฐิ)(ปัญญา) เห็นชอบอะไร ก็การที่เราศึกษาทุกข์นั้นเอง ว่าเกิดแก่เจ็บตายพลัดพลากจากของรักเป็นทุกข์ ขันต์5เป็นทุกข์ บุญบาปมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว วัฏฏะน่ากลัว ฯลฯ นี้เรียกว่าสัมมาทิฎฐิ แต่ตรงนี้ยังไม่ใข่ขั้นพระอริยเจ้านะครับเพียงแต่เริ่มที่จะเห็นภัยในทุกข์นั้นเอง

ข้อ2ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)(ปัญญา)เมื่อมีความเห็นชอบแล้ว มันก็ต้องคิดที่จะออกจากทุกข์ มันก็เข้าไป เสาะหาต้นเหตุแห่งทุกข์ พอรู้ว่าอะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์แล้วก็คิดที่จะออกจากกาม การที่จะคิดออกจากกามก็ต้องรู้ว่าอะไรที่เราควรละบ้าง ก็จัดการให้มาเป็นข้อวัตรข้อปฎิบัติ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2 ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)รักษาศิล 5บ้าง 8บ้าง หรือจะให้มากกว่านั้นก็ทำได้ดีทั้งนั้นเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสทั้งนั้น คิดแม้กระทั้งจะหาทางอย่างไรเพื่อเดินทาง สู่การบวชเลยก็ยิ่งดี เตรียมการให้พร้อมตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ปล่อยตามเหตุปัจจัย เตรียมการให้พร้อม นี่เรียกว่าการดิริออกจากกาม

ข้อ3-4-5 มีอธิบายอยู่มากแล้ว(หมวดศิล)

มาดูข้อ6พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4 เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไป ตรงนี้ก็สำคัญมากทีเดียว เราจึงต้องทำให้เป็นนิสัยประจำให้ได้เช่นการใส่บาตร ทำทาน เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อใก้กุศลเกิดขึ้นมากๆ ตรงนี้อย่าให้ขาด เป็นตัววัดตัวเราได้ดีทีเดียว

มาดูข้อ7ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4การตั้งสติพิจารณาธรรม
ตรงนี้แหละปัญหาใหญ่เลย

เพื่อนนักปฏิบัติมีธรรมชาติที่รักกุศล อยากให้กุศลเกิดขึ้น เช่น เมื่อจิตไม่มีสติก็พยายามจะทำให้มีสติ เมื่อจิตไม่สงบหรือไม่ตั้งมั่นก็พยายามทำให้สงบหรือตั้งมั่น และเมื่อจิตไม่มีปัญญารู้รูปนามตรงตามความเป็นจริง ก็พยายามช่วยจิตคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นต้น เมื่อพูดมาถึงตรงนี้เพื่อนบางท่านอาจจะเกิดความสับสนว่า แล้ว เราไม่ต้องพยายามทำสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาให้เกิดขึ้นหรือ ขอตอบว่าสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาต่างก็มีลักษณะเป็นอนัตตา ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นได้ตามใจชอบ แต่ถ้าเราทำเหตุใกล้ของ สติ คือพิจารณรรูปนามตามความเป็นจริงที่มันเกิดดับอยู่นั้นจะทำให้สติเกิดขึ้นได้เอง และรูปนามที่มันเิกิดดับจริงๆนั้นมันมีหลายระดับอย่างที่เคยกล่าวมาแล้วตั้งแต่ เวทนาเบาๆ เวทนาอย่างรุนแรงแล้วแต่ใครจะทนได้ และสติที่เกิดขึ้นก็มีกำลังแตกต่างกัน ทำให้ปัญญาที่เกิดร่วมกับสตินั้นก็แตกต่างกัน

มาดูข้อ8ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4
ในทางปฏิบัตินั้นศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น จะต้องไม่เข้าใจว่า องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ โดยเรียงตามลำดับหมายเลขดังรายการที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น องค์ต่างๆ เหล่านั้นจะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย


เหตุใกล้ของสมาธิคือความสุข หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามบังคับจิตให้สงบ ถ้าปรารถนาความสงบด้วยการทำสมถกรรมฐาน ก็ต้องหาอารมณ์ที่เมื่อสติไประลึกรู้เข้าแล้วเกิดความสุขมาเป็นเหยื่อล่อจิต เช่นบางท่านกำหนดลมหายใจแล้วเกิดความสุข จิตชอบกำหนดลมหายใจ ก็ให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจไปอย่างสบายๆ ไม่นานจิตก็จะเกิดความสงบสุขขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามบังคับ เพราะยิ่งพยายามบังคับกดข่มจิต จิตก็ยิ่งไม่มีความสุข เมื่อไม่มีความสุขสมาธิก็เกิด ขึ้นไม่ได้ ส่วนท่านที่ต้องการสัมมาสมาธิอันเป็นความตั้งมั่นของจิตในการระลึกรู้อารมณ์รูปนามก็ไม่ยากอะไรนัก เพียงมีสัมมาสติหรือสติที่ระลึกรู้รูปนาม จิตจะเกิดเป็นกุศลและมีความสุขที่ได้รู้อารมณ์รูปนามโดยอัตโนมัติ เมื่อจิตมีความสุขเพราะรู้อารมณ์รูปนาม สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนามก็จะเกิดขึ้นมาเองชั่วขณะ

เหตุใกล้ให้เกิดปัญญาคือสัมมาสมาธิ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามศึกษาหาความรู้จากตำรับตำราหรือครูบาอาจารย์ และไม่ใช่การคิด พิจารณารูปนามกายใจแต่อย่างใด ถ้าปรารถนาปัญญาที่เป็นวิปัสสนาปัญญาก็มีทางเดียว คือจะต้องมีสติระลึกรู้รูปนามกายใจ แล้วจิตจะเกิดความ ตั้งมั่นในการรู้รูปนามกายใจ เมื่อรู้แล้วรู้อีกถึงจุดหนึ่งก็จะเกิดความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามกายใจ ซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปนามกายใจนี้เองคือ วิปัสสนาปัญญา อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาตำรับตำราและฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อให้ทราบวิธีการเจริญสติเจริญปัญญาที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะลงมือเจริญสติปัญญาได้อย่างถูกต้อง :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปลงตัวหรือยังครับน่า หากยังมีอีกก็ว่าสะให้หมด :b1:



อ้างคำพูด:
อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาตำรับตำราและฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อให้ทราบวิธีการเจริญสติเจริญปัญญาที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะลงมือเจริญสติปัญญาได้อย่างถูกต้อง



แล้วเราจะหาครูบาอาจารย์ที่ไหน ซึ่งพอจะบอกวิธีเจริญสติเจริญที่ถูกต้องแก่เราได้ และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครูบาอาจารย์สอนเรานั้นถูกหรือผิด :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าสอนให้มีการบรกรรมหรือเปล่า ถ้าไม่มีเแล้วการบริกรรมจะพาเราถึงจุดหมายได้จริงหรือเปล่า หรือจะไปหยุดอยู่ที่สมาธิเพียงอย่างเดียว แล้วก็นึกว่าบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ถามเป็นความรู้เพราะบางสถานทีบอกว่าไม่ต้องบริกรรมใดๆทั้งนั้นให้อยู่กับความจริง ถ้าอยู่กับความจริงก็จะได้พบความจริง ถ้าอยู่กัสมมุติก็จะได้ความจริงแบบสมมุติคือสมาธิขั้นฌานโลกีย์ ข้อผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ


ในสมัยครั้งพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ไม่มีการสอนให้บริกรรมขอรับ อ่านแล้วอย่าคิดค้านว่า ข้าพเจ้ารู้ได้อย่างไรนะขอรับ ถ้าท่านที่เคยติดตามอ่านกระทู้หรือคำตอบของข้าพเจ้าคงจะทราบกันอยู่บ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของข้าพเจ้า

การบริกรรม ขณะปฏิบัติสมาธิ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติสมาธิที่ถูกต้อง และเป็นคนละอย่างกับ หลัก อนุสติ


ข้าพเจ้าเอง ก็เพิ่งจะรู้เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง นั่นก็เพราะข้าพเจ้าได้ฝึกปฏิบัติสมาธิตามที่ครูอาจารย์ได้สอนให้ และทดลองปฏิบัติตามที่ได้ยินได้ฟัง ได้เห็น ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ไม่เป็นผล ไม่สามารถทำให้เกิดสมาธิ อย่างแท้จริงได้
สมาธิที่แท้จริง คือ ไม่คิดสิ่งใด (ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง ความมีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว) สงบ ได้ยิน แต่ไม่คิด ว่าเป็นเสียงใด คือได้ยินเสียง แต่ไม่คิดว่าเป็นเสียงนั่นเสียงนี้ เพียงแค่รู้แจ้งในอารมณ์ว่าเป็นเสียงใด นั่นก็คือ ฟุ้งซ่าน ระดับละเอียด ฯลฯ

ส่วนวิธีการฝึกให้เกิด สมาธิที่แท้จริงนั้น ก็หาเอาในเวบฯนี้เแหละขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเขาเจริญสติปัญญา แล้วปรากฏการณ์ยังงี้ เอาไงดี :b10: ถูกหรือผิดประการใด


อ้างคำพูด:
ผมมีความสนใจในการนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานมาก เคยไปฝึกนั่งอยู่ที่สำนักปฏิบัติธรรมที่จังหวัดชลบุรีเมื่อนานมาแล้ว รู้สึกชอบมาก อยากไปอีก แต่เนื่องจากหน้าที่การงานและระยะทาง ทำให้ผมไม่มีโอกาศได้ไปอีก ดังนั้นผมจึงหาเวลานั่งสมาธิในห้องตอนหลังเลิกงานหรือเสาร์อาทิตย์แล้วแต่โอกาศจะอำนวยโดยนั่งอยู่ในห้องเช่าในตอนค่อนข้างดึกของวันนั้นๆ

การนั่งแต่ละครั้งผมจะใช้เวลาประมาณ หนึ่งถึงสองชั่วโมงและทุกครั้งที่ผมนั่ง ผมจะมาถึงจุดๆหนึ่งซึ่งมีลักษณะจิตใจสงบ และดำดิ่งลงไปเป็นเวลานาน และในทันใดนั้นเองผมจะมีความรู้สึกเหมือนตัวผมกำลังจะหลุดออกจากร่างของตน และเมื่อถึงตรงนั้นผมก็จะรีบลืมตาคลายออกจากสมาธิทุกครั้งไป และผมไม่สามารถจะนั่งให้นานไปกว่านั้นได้เลย (ทั้งๆที่ใจก็อยากจะนั่งให้นานกว่านั้น)

ผมจึงอยากจะเรียนถามว่า อาการดังกล่าวนี้เนื่องมาจาสาเหตุอะไรครับ ผมพยายามจะหาคำตอบมานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจนเท่าไร อีกอย่าง แถบบริเวณที่ผมทำงานอยู่ก็หาสำนักปฏิบัติกรรมฐานไม่มีเลย จึงไม่รู้จะสอบถามผู้ใด

(มีบางครั้งที่ผมนั่งสมาธิอยู่ดีๆก็รู้สึกเหมือนมีใบหน้าผู้หญิงโผล่ขึ้นมาในนิมิตโดยเขาพยายามจะเอาศรีษะแทรกเข้ามาในศรีษะของผม จนต้องสะดุ้งลืมตาคลายจากสมาธิ รบกวนช่วยแนะนำหน่อยครับว่าเป็นเพราะอะไร)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำ วิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์มาให้ดู

“ดูกรอานนท์ ธรรมเอก คือ อานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”

"ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ฯลฯ

-เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก


-ใช้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้

1. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

2. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น

ฯลฯ

ดูแล้วว่ามีคำบริกรรมไหม :b1:

เราจะทำยังไงจึงจะมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ทำยังไงจึงจะรู้ว่าลมหายใจเข้าหายใจออก (เข้าๆออกๆ ออกๆเข้าๆ) มันสั้นหรือมันยาว หรือมันสั้นๆยาวๆ ฯลฯ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปลงตัวหรือยังครับน่า หากยังมีอีกก็ว่าสะให้หมด :b1:



อ้างคำพูด:
อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาตำรับตำราและฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อให้ทราบวิธีการเจริญสติเจริญปัญญาที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะลงมือเจริญสติปัญญาได้อย่างถูกต้อง



แล้วเราจะหาครูบาอาจารย์ที่ไหน ซึ่งพอจะบอกวิธีเจริญสติเจริญที่ถูกต้องแก่เราได้ และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครูบาอาจารย์สอนเรานั้นถูกหรือผิด :b1:
ก็ต้องหาครูบาอาจารย์ที่สอนเกี่ยวกับอริยสัจนั้นแหละครับ การที่คนเรายอมรับครูบาอาจารย์นั้นท่านจะถูกจะผิดคนละประเด็นนะครับ การที่เรามีครูอาจารย์นั้นเท่ากับเราได้ลดมานะถือตนว่าเราเก่งที่สุดไม่มีใครจะสอนเราได้นี่สำคัญ

ส่วนแนวทางการปฎิบัตินั้นมันมีไม่กี่แห่งครับอย่างมากก็มีสายหยุบหนอ สายพุทธโธ สายดูความรู้สึก มันมีอยู่ประมาณนี้ก็ลองดูอันไหนเราคิดว่ามันน่าจะให้ความรู้สึกเราได้ดีเป็นรูปธรรมหน่อยก็น่าจะเลือกเป็นแนวทางได้ อย่างเช่นถ้าไปฝึกสายหนอ 10วันก็ต้องเปิดใจยอมรับปฎิบัติตามอย่างไม่มีข้อสงสัย ถ้าไปปฎิบัติสายพุทโธก็ต้องยอมรับปฎิบัติอย่างไม่มีข้อสงสัย และถ้าปฎิบัติสายดูเวทนาขอแนะนำที่ธรรมกมลาก็ปฎิบัติอย่างไม่มีข้อสงสัย

เมื่อเราได้ปฎิบัติแล้วเราจะรู้เองว่าตรงไหนเป็นสิ่งที่เราชอบถูกจริตเราที่นี้จะถูกจะผิดมันไม่ใช่ปัญหาแล้วเพราะเราได้เลือกแล้ว แต่ละวิธีนั้นก็ให้ผลที่คล้ายๆกัน อาจจะมีความแตกต่างบ้างอันนี้ผู้ปฎิบัติจะพึงเห็นเอง การปฎิบัติหลายๆที่ก็เป็นการเปิดใจยอมรับลดอัดตาตัวเองได้ดี หรือเรียกง่ายๆว่าเราไม่ยึดติดเรายอมรับที่จะเรียนรู้ตรงนี้สำคัญมาก การที่เราไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆนั้นเป็นเพราะเรายึดมั่นคิดว่าของเรานั้นดีของเรานั้นถูกที่สุด

สมมุติของเราดีจริงถูกต้อง แต่การที่ยอมที่จะศึกษานั้นเป้นการลดตัวตนได้ดีเป็นเครื่องพิสูจน์ในการปฎิบัติของเราและเป็นเครื่องพิสูจน์ความก้าวหน้าในตัวมันเอง เพราะการเรียนรู้นั้นไม่เสียหาย แม้ทางนั้นอาจจะไม่ใช่ทางที่ถูกสมบูรณ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆไม่มีวันหยุด ถามตัวเองจริงๆดูสิว่าเราเป็นคนอย่างไรคำตอบมันจะอยู่ในตัวเอง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2012, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปลงตัวหรือยังครับน่า หากยังมีอีกก็ว่าสะให้หมด :b1:



อ้างคำพูด:
อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาตำรับตำราและฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อให้ทราบวิธีการเจริญสติเจริญปัญญาที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะลงมือเจริญสติปัญญาได้อย่างถูกต้อง



แล้วเราจะหาครูบาอาจารย์ที่ไหน ซึ่งพอจะบอกวิธีเจริญสติเจริญที่ถูกต้องแก่เราได้ และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครูบาอาจารย์สอนเรานั้นถูกหรือผิด :b1:
การสรุปเรียนรู้หรือเดินมรรควิธีนั้นสรุปอย่างนี้ศึกษากิจในอริยสัจให้เข้าใจจริงๆ หาวิธีปฎิบัติที่ถูกจริตเราเปิดใจเรียนรู้สักสองสามสถาที่ จะได้มีแนวทางปฎิบัติที่พอน่าเชื่อถือว่าถูกต้องจะได้มีครูอาจารย์ลดมานะตัวตน สถาที่นั้นขอให้เป็นสถานที่ดูมีความหน้าเชื่อถือได้สักหน่อยเป็นที่ยอมรับของคนจำนวนมากๆ สองกำหนดขีดเส้นชัดเจนจะลดละอะไรเมื่อทำได้ก็พัฒนาให้มากขึ้นเรื่อยๆ สร้างบรรยากาศธรรมะให้เกิดแก่ชีวิตประจำวันให้มากเท่าที่ปัญหาจะมองออก เช่นคำเตือนตนองติดไว้ที่เรามองเห็นบ่อยๆเป็นการเตือนสติไปในตัว ฟังธรรมะเพิ่มความรู้อยู่เป็นประจำ รักษาศิล5ค่อยๆพัฒนาให้มากขึ้น มงคล38นั้นแหละเยี่ยม แค่นี้ชีวิตในเส้นทางธรรมก็น่าจะก้าวหน้าได้ดีแล้วละ่

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร