วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2012, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐานกับอ้อนวอน ต่างกันอย่างไร ? และคิดว่าเรื่องไหนเป็นจริงได้ค่ะ :b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2012, 21:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 00:24
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


การอธิษฐาน กับการอ้อนวอน หรือ ผมว่าอาการไม่ต่างกันเท่าไหร่นักหรอก
เพราะเป็นอาการของคนที่ ยังหวังพึ่งสิ่งอื่น ๆ อยู่...เป็นอาการของคนที่ไม่ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน หวังพึ่งสิ่งอื่นอยู่รำไป..ไม่พอใจกับสภาวะปัจจุบันที่ตนเองเป็นอยู่

ส่วนเรื่องไหนเป็นจริง มันก็มีโอกาสเป็นจริงเท่า ๆ กัน และก็ไม่มีโอกาสเป็นจริงพอ ๆ กัน
สรุปก็คือไม่มีความแน่นอนเลย..ไม่ควรฝากความหวังไว้กับคำสวดอ้อนวอน หรือคำอธิษฐานแม้แต่น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2012, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ขึ้นอยู่กับว่าท่านไหนแปลความหมายของแต่ละคำว่าอะไร

หากแปลอธิษฐานว่าการขอพร การขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากสิ่งที่มีอำนาจดลบันดาลให้เป็นจริงได้ แบบนี้ อธิษฐาน ก็คงมีความหมายไม่ต่างจากอ้อนวอน

แต่หากแปลอธิษฐานไปในมุมมองของศาสนาพุทธ แปลในความหมายทางธรรม

อธิษฐาน หมายถึง ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.ph ... 9%B0%D2%B9)

จะเห็นว่าความหมายของคำว่าอธิษฐาน ต่างไปจากการอ้อนวอนอย่างสิ้นเชิง

คำว่าอธิษฐาน ในทางธรรมะ จึงหมายถึงการตั้งใจมุ่งสู่เป้าหมายที่เราต้องการบรรลุถึง

เคยสังเกตตัวเองกันบ้างไหมว่า เวลาเราอยากทำอะไรซักอย่างที่ใหม่ ที่ยาก ที่เราไม่มีประสบการณ์ หลายๆครั้งเราจะรู้สึกท้อถอย หรือไขว้เขวไปจากเป้าหมายหลักของเรา เช่นอยากลดน้ำหนัก แต่มันลำบากเหลือเกิน ออกกำลังกายก็เหนื่อยก็เสียเวลา แถมอาหารโน่นนี่ก็น่ากินไปหมด

เมื่อเกิดอาการอย่างนี้ หากเราปล่อยเลยตามเลย ก็จะยิ่งเบี่ยงเบนออกจากเป้าหมายที่ต้องการไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะทำไม่สำเร็จ

แต่หากเรามีการพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ตั้งใจพิจารณาอยู่บ่อยๆว่าเราต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องการมีคุณประโยชน์อย่างไร

คือตั้งเข็มทิศให้ใจ ให้ชี้มุ่งไปที่เป้าหมายเสมอๆ เราไม่ยอมเบนเข็มออกจากเป้าหมายไม่ว่าด้วยเหตุอะไร

แบบนี้เมื่อเราท้อ โอกาสที่เราจะกัดฟันสู้ต่อก็จะมีมากขึ้น และแน่นอนว่าในที่สุด เมื่อเราพยายามไม่ย่อท้อ เมื่อเหตุและปัจจัยเหมาะสม เราจะได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจอย่างแน่นอน

จะเห็นได้ว่าการอธิษฐานจิตแบบนี้ พูดง่าย แต่ทำยาก เป็นการต่อสู้กับใจตัวเอง เป็นการพยายามฝืนกระแสกิเลสความเคยตัวเคยใจ และยังเป็นเหตุให้เกิดคุณความดีอย่างอื่นด้วย เช่นความอดทน(ขันติ) ความพากเพียร(วิริยะ) การคิดพิจารณาหาเหตุผลข้อดีข้อเสีย(ปัญญา) etc.

อย่าลืมว่าการอธิษฐาน เป็นถึง 1 ในบารมี 10 เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้บำเพ็ญอย่างถึงที่สุดได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ

ไม่เว้นแม้กระทั่งการบรรลุพระนิพพาน หรือการบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


คุนน้องก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า จะอยู่บนเส้นทางธรรมของพระพุทธองค์ และจะทำประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น และจะไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น แต่ตอนนี้เอาตัวเองให้พ้นทุกข์ก่อนดีกว่า :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 17:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
คิดว่าเรื่องไหนเป็นจริงได้ค่ะ :b8: :b12:


มันเป็น ตามที่มันเป็น

เป็นจริง แบบ สมหวัง
กะ
เป็นจริง แบบ ไม่สมหวัง

คือ มันเป็นจริงของมันอย่างนั้นล่ะ :b9:

555

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2012, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
อธิษฐานกับอ้อนวอน ต่างกันอย่างไร ? และคิดว่าเรื่องไหนเป็นจริงได้ค่ะ :b8: :b12:

อธิษฐาน คือ ตั้งความปรารถนา มุ่งมั่น เช่น อยากรวย สวย มีปัญญา
ก็ต้องบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น .. หมายถึง ตนต้องทำเอา

อ้อนวอน คือ ขอร้อง วิงวอน บนบาลศาลกล่าว เช่น ขอให้ถูกหวยรวยเบอร์ เป็นเศรษฐี
ให้คนนั้นรัก คนนี้ชอบ ให้สอบไล่ได้ จะถวายขนม นม เนย ช้าง ม้า รำวงถวาย ฯลฯ
หมายถึง ให้คนอื่นช่วยทำ ..

ทั้งสองกรณีนี้ อธิษฐาน มีความเป็นไปได้มากกว่าการอ้อนวอน เพราะอธิษฐานขึ้นอยู่
กับตัวเอง ถ้ามีความพยายาม ขันติและสัจจะ ส่วน อ้อนวอนนั้นถึงจะเป็นจริงในบางครั้ง
เราก็เรียกว่า บังเอิญหรือฟลุ๊ค ..

อธิษฐานนี้ เป็นหนึ่ง ในบารมี ๑๐ ถ้าท่านใดที่ต้องการพระโพธิญาณ ฯ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
ในอนาคตกาลข้างหน้า เมื่อได้บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ย่อมสำเร็จได้
สมความมุ่งมาดปรารถนา อย่างไม่ต้องสงสัยเลย ...
:b8:

:b1: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องของเหตุปัจจุบัน เพื่อผลในปัจจุบันไปหาอนาคต เหตุคือเกิดสังขารขันธ์ หรือ ผัสสะที่เกิดจากมโนวิญญาณ เพื่อผล คือ สังขารขันธ์ ผลไม่ใช่ปัญญา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2012, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2012, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐานต่างกับการอ้อนวอนอย่างไร :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=2088.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
อธิษฐานกับอ้อนวอน ต่างกันอย่างไร ? และคิดว่าเรื่องไหนเป็นจริงได้ค่ะ :b8: :b12:

แท้จริงแล้ว มันไม่ต่างกันในเรื่อง ความเป็นกุศลธรรม
เรื่องความเป็นจริง มันก็เป็นจริงได้ทั้งสองอย่าง

ที่ว่าธรรมทั้งสองเหมือนกัน ก็ตรงที่ ความตั้งใจมั่นในกุศลธรรม
อธิษฐานคือการตั้งใจมั่น เพื่อ ให้สำเร็จในงาน แต่งานที่ว่า เป็นเพื่อตนเอง
บางท่านอาจเข้าใจผิดว่า การไปจุดธูปแล้วนั่งพึมพำในปาก นั้นเป็นการอธิษฐาน
จริงแล้วไม่ใช่ การอธิษฐานที่แท้จริงแล้วคือ การเพียรมีสติ ระลึกถึงอิทธิบาทสี่
เพื่อผลของธรรมนั้นๆ


ส่วนการอ้อนวอน มีความหมายว่า เป็นการขอ แต่เป็นการขอเพื่อให้
ไม่ใช่เพื่อตนเองเป็นการทำเพื่อผู้อื่น อย่างเช่น เราเป็นคนกลางไกล่เลี่ย
ร้องขอให้คนที่มีเรื่องกัน ยกโทษให้กันและกัน

หรือตัวอย่างในพุทธกาล ที่นางวิสาขาทูลขอพรกับพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ แต่นางวิสาขาได้อธิบายว่า ที่ขอไม่ใช่เพื่อตน
แต่เป็นเพื่อคนอื่น นั้นก็คือขออนุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝนกับภิกษุ
เหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
อธิษฐานกับอ้อนวอน ต่างกันอย่างไร ? และคิดว่าเรื่องไหนเป็นจริงได้ค่ะ :b8: :b12:


ถึงแม้ว่าจะมีผู้ตอบไปแล้ว แต่ข้าพเจ้านำมาให้ได้อ่านอีกครั้งว่า อธิษฐาน หมายถึง
1) ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำ ตัวชนิดนั้นๆ เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร, คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ” (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น) 2) ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐), ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา
(จากพจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต)


ส่วนคำว่า "อ้อนวอน" นััน หมายถึง พยายามพูดขอร้อง (จากพจนานุกรมไทย ราชบัณฑิตยสถานฯ)

คำตอบสำหรับสิ่งที่คุณถามมา ว่า ต่างกันอย่างไร อยู่ในข้อความข้างต้น แล้วขอรับ

เสริมอีกนิด ในคำถามที่คุณถามว่า เรื่องไหนเป็นจริงได้
ตอบ...ว่า เป็นจริงได้ทั้งสองอย่างขอรับ และ/หรือ อาจจะไม่เป็นจริงทั้งสองอย่างขอรับ ขึ้นอยู่กับ สภาพกาล สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร