วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2012, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ประวัติและปฏิปทา
พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย)


วัดถ้ำผาจม
ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย



ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย ครั้งนี้เป็นบันทึกประวัติชีวิตของท่านพระอาจารย์วิชัยโดยตรง ชีวิตการธุดงคกรรมฐานของท่าน ที่ละเอียดมีแง่มุมอันมีเนื้อหาสาระหลากหลาย เป็นประสบการณ์ในชีวิตของพระป่า ที่มีอุดมคติอุดมการณ์ความมุ่งหมายเป็นสัจจุแน่วแน่ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนาให้สาวกและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติ นั่นคือ มรรค ผล นิพพาน! ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัยนี้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์มั่นคงในพระศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต เปี่ยมไปด้วยพลอินทรีย์บารมีอันมุ่งมั่น ควรเป็นที่นับถือ ไหว้นพ เคารพสักการบูชา ชีวประวัติปฏิทานี้เขียนโดยลายมือของท่านพระอาจารย์วิชัยเอง! เริ่มต้นด้วยชาติกำเนิดปฐมวัยของท่านดังต่อไปนี้ ชื่อเดิม “วิชัย คล่องแคล่ว” เกิดวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๘ (สองพันสี่ร้อยแปดสิบแปด) ณ ที่บ้านหินลาด ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบุลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายบัว นางกอง คล่องแคล่ว (สำหรับคุณแม่บวชเป็นแม่ชีอยู่ด้วยขณะนี้) พ่อนั้นตายเสียตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุได้ ๑ ขวบกว่าๆ อาชีพเดิมของบิดามารดา คือการทำนาตามบรรพบุรุษหลายชั่วคน เมื่อตอนเล็ก ๆ ข้าพเจ้าชอบอยู่กับยาย คือแม่เอาข้าพเจ้าไปฝากยายไว้ซึ่งอยู่คนละบ้าน เพราะแม่ของข้าพเจ้าท่านได้ไปแต่งงานใหม่ ทำให้ข้าพเจ้ากับน้องได้ไปอยู่กับยาย นี่คือปฐมบทของชีวิตของเด็กน้อย ที่ได้เริ่มรู้จักกับความว้าเหว่อ้างว้างของลูกที่กำพร้าพ่อและพลัดพรากจากแม่เมื่อข้าพเจ้าอายุได้ ๗ ขวบ ยายก็ให้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านแก่งเจริญ ข้าพเจ้าทำงานหนักที่พอจะทำได้มาตั้งแต่เด็ก ๆ จะเรียกว่าเป็นชีวิตทั้งกำพร้าพ่อแม่ก็ว่าได้เพราะไม่ค่อยจะได้อยู่กับแม่ ข้าพเจ้าได้ช่วยยายและพวกน้าผู้หญิงผู้ชายทำงาน กล่าวคือเมื่อตื่นขึ้นมาก็ต้องไปตักน้ำใส่ตุ่มน้ำกินน้ำใช้ เพราะหมู่บ้านที่อยู่นั้นบ่อน้ำอยู่ห่างไกลออกไปประมาณ ๑ กม. และเมื่อตักน้ำกินมาไว้เต็มตุ่มแล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องลงไปตักน้ำในแม่น้ำมูลมาใช้และรดห้างพลูกินหมากให้ยาย นี่เป็นงานประจำตอนเด็ก นอกจากนั้น ยังต้องช่วยน้าผู้หญิงตำข้าวด้วย เพราะสมัยนั้นหมู่บ้านแถบนี้ยังไม่มีโรงสีข้าว ชีวิตข้าพเจ้าจึงตกระกำลำบาก เด็กเพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันเขาสบายกันมาก ส่วนข้าพเจ้าเวลากินก็แสนจะลำบาก แม้แต่เวลานอนก็ลำบาก ถึงฤดูทำนาต้องไปนอนที่กระท่อมนากับน้าผู้ชาย ตื่นเช้ามาต้องนึ่งข้าวเหนียวหุงข้าวให้น้า เพราะน้าตื่นขึ้นมาก็รับไปไถนา เมื่อหุงข้าวเสร็จ ก็ต้องหามฟืนกลับบ้านซึ่งห่างจากทุ่งนาประมาณ ๔ กม. พอถึงบ้านก็ต้องรีบกินข้าวไปโรงเรียน ระยะทางจากหมู่บ้านไปถึงโรงเรียน ๓ กม. สมัยนั้นยังไม่พัฒนา ทางการให้ ๓ - ๔ หมู่บ้านไปเรียนหนังสือรวมกันที่โรงเรียนแห่งเดียว ทำให้เด็กนักเรียนแต่ละหมู่บ้านต้องเดินไปเรียนกันทางไกลหน่อย พอเลิกเรียนในตอนบ่าย ก็เดินกลับบ้านรีบกินข้าว ซึ่งส่วนมากเป็นข้าวเหนียวในก่องข้าวหรือกระติบเย็นชืดกับปลาร้าและพริกแทบทุกวันอร่อยมากเพราะหิว คนเราเมื่อหิวกินอะไรก็อร่อยทั้งนั้น จากนั้นก็เอากระบุงใส่ปุ๋ยคอกหาบไปทุ่งนาวันละหาบเฉพาะตอนเย็นการไปนาและกลับมาบ้านนั้น บ่าของข้าพเจ้าจะไม่ว่างจากไม้คานเลย เพื่อนฝูงที่เขามีนาอยู่ใกล้กัน ๔ - ๕ คน เขาเดินไปตัวเปล่าเดินมาตัวเปล่าหยอดล้อกันบ้าง วิ่งไล่จับกันสนุกสนาน ส่วนข้าพเจ้าทำไม่ได้เพราะบ่าต้องหาบคอนใส่ของหนังอึ้ง หมดสนุกสนานมีแต่ความเศร้าสร้อย น้าผู้ชายท่านรักข้าพเจ้ามาก รักเสมือนลูกของท่านจริง ๆ ส่วนน้าผู้หญิงนั้นแกไม่รักข้าพเจ้าเลย ชอบข่มเหงรังแกตลอดเวลา บางครั้งทำอะไรไม่ทันใจแกก็จะจิกหัวหรือเฆี่ยนเอา แต่ถ้าน้าผู้ชายเห็นแล้วจะทำไม่ได้ ชีวิตของข้าพเจ้าหากไม่มีน้าผู้ชายช่วยปกป้องแล้วลำบากแสนเข็ญมาก แม้แต่เวลาเข้าเรียนหนังสือเพื่อนเขาได้กระดานใหม่ ๆ คือ กระดานชนวน ได้กางเกงใหม่ เสื้อใหม่ ดินสอใหม่ ส่วนข้าพเจ้าไม่เคยได้เขียนกระดานใหม่ ไม่เคยได้ดินสอใหม่แท่งยาว ๆ เหมือนเขาเลย ยายกเป็นคนตระหนี่ประหยัด จึงให้ใช้กระดานแตก ๆ แต่พอเขียนได้ ดินสอก็สั้น ๆ กุด ๆ แม้แต่กางเกงของข้าพเจ้าก็ขาดกะรุ่งกะริ่ง เพื่อนชอบล้อเล่นอยู่เรื่อยว่า “ลุงก็มาโรงเรียนเหรอ?” หนังสือเรียนก็เก็บเอาของเก่าเขามาให้อ่าน ขาดไปก็มี แต่ก็ยังเป็นบุญบารมีของข้าพเจ้าที่เรียนหนังสือได้เก่งพอสมควร ได้เป็นหัวหน้าชั้นบ่อยที่สุด พูดถึงของใช้แล้ว น้อยนักน้อยหนาที่จะได้ใช้ของใหม่ ๆ ดี ๆ ถ้าเป็นผ้านุ่งผ่าห่มก็รับเอาของเก่าพี่ชายบ้าง ยายเอาของคนอื่นมาให้บ้าง พอถึงหน้าหนาวผ้าห่มก็แสนจะขาดปะแล้วปะอีก กางเกงและเสื้อก็ปะแล้วปะอีก ชีวิตของลูกกำพร้าที่อยู่อาศัยยายและน้านั้นแสนจะลำบากเหลือเกิน ชีวิตเอ๋ยช่างอาภัพโชคกระไรหนออย่างนี้ มองดูชีวิตเพื่อนรุ่นเดียวกันเขาช่างมีความสุขมาก ครั้นพออายุได้ ๘ ขวบ เรียนอยู่ประถม ๒ พี่ชายลูกคนละพ่อเขาไปบวชเป็นสามเณร จิตใจของข้าพเจ้าอยากจะตามไปบวชด้วยเหลือเกิน ได้เห็นพี่ชายห่อมผ้าจีวรเหลืองอร่ามเหมือนทองดอกบวบงามจับใจทำให้ใจไม่อยากจะอยู่บ้านเลย เพราะอยู่บ้านกับยายกับน้าผู้หญิง มีแต่ความทุกข์กายทุกข์ใจเสนอจะยากลำบากกับการงานหนักเกินวัยเด็ก

เวลาเช้าฤดูแล้ง ยายให้ไปส่งข้าวเณรพี่ชายที่วัดทุกเช้า ข้าพเจ้าบอกเณรพี่ชายให้หาหนังสือพระเณรที่เกี่ยวกับการบอกวิธีบวชเรียนและสวดมนต์มาให้ พี่เณรก็เอาหนังสือเจ็ดตำนานมาให้อ่านและได้บอกคำขอบวชให้ด้วย ข้าพเจ้าเอามาอ่านมาท่องทุกวัน ท่องคล่องปากเพราะเคยได้ยินพระสงฆ์ท่านสวดมนต์อยู่เสมอ วันไหนว่างก็แอบไปวัด เพราะวัดคือสถานที่เล่นเย็นใจหรือสนุกสนานของเด็ก ๆ บ้านนอก เมื่อไปวัดก็ท่องคำขอบบวชเณรให้ขึ้นและได้ขอร้องให้พี่เณรมาาช่วยพูดกับยาย ขอร้องให้ยายอนุญาติให้ข้าพเจ้าบวชเณรบ้าง พี่เณรก็บอกว่าเรียนหนังสือยังไม่ทันจบ ป.๔ บวชเณรไม่ได้หรอกแต่ข้าพเจ้าก็ไม่ฟังได้รับเร้าอยู่เรื่อย ๆ จนพี่เณรทนไม่ไหวต้องมาบอกยายเลยโดยยายตวาดเอา แต่ถึงอย่างไรข้าพเจ้าก็ไม่ลดละความพยายายจะบวชให้ได้ ปีต่อมาข้าพเจ้าพยายามหาวิธีบวชให้ได้ วันไหนว่างแอบไปฟังท่านอาจารย์ที่วัดเทศน์และสนทนากับท่านบ้าน ท่านก็ชวนบวช ทำให้ศรัทธาของข้าเจ้ายิ่งมีมากขึ้น บางวันไถนาปลูกข้าวอยู่แต่ร่างกาย ส่วนจิตใจมาอยู่วัดตลอดเวลา วันหนึ่งปลูกข้าวอยู่กับแม่เป็นวัน ๗ ค่ำ ซึ่งทางภาคอีสาน พอถึงวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำ พระเณรที่วัดต้องตีกลองให้สัญญาณบอกวันโกนวันพระเขาเรียกว่าตีกลองแลง ( แลง แปลว่า ตอนเย็น) แม้แต่ตี ๔ ตอนกลางคืนก็ตีกลองอีก ตีสลับกับฆ้องเรียกว่าตีกลองดึกเสียงวังเวง ฝูงหมาจะเห่านอนกันเกรียวที่เดียว วันนั้นพอได้ยินพระท่านตีกลองแลง จิตใจของข้าพเจ้าหวิว ๆ อย่างไรบอกไม่ถูก บอกแม่ว่าเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วผมต้องบวชให้ได้ แม่ก็บอกว่า แม่จะบวชให้ลูกทุก ๆ คนนั่นแหละ ข้าพเจ้าดีใจแสนจะดีใจบอกไม่ถูก ถึงวันพะข้าพเจ้าชอบทำบุญตักบาตร แม้แต่ไปเที่ยววัดไหนยามมีงานวัด ก็ตองทำบุญก่อนเที่ยว เรื่องทำบุญนี้ทำเองด้วยใจรักไม่มีใครบอก เป็นฉันทะความพอใจความเลื่อมใสจากส่วนลึกของหัวใจ

แม่เอาเงินให้ไปเที่ยวดูดโน่นดูนี่ แต่ข้าพเจ้ากลับเอาเงินไปทำบุญหมดก็มี จิตใจมีแต่เมตตาความรักความเอ็นดูสงสารต่อคนอื่นเสมอ แม้แต่สัตว์ เป็นต้นว่าไก่ก็ไม่เคยฆ่า สุนัข แมว วัว ควาย ไม่เคยฆ่า มีเมตตาสงสารสัตว์เหล่านี้เสมอ เห็นใครเขาเชือดคอเป็นคอไก่แล้วต้องรีบเดินหนีด้วยความสงสาร เห็นคนขับเกวียนบรรทุกฟืนเพียบแปล้ เอาดุ้นฟืนขนาดเท่าแขนตีวัวเทียมเกวียน บังคับขู่เข็ญให้วัวลากเกวียนไป แต่วัวหมดแรงลากไม่ไหวถูกตีจนล้มฟุตขี้แตกออกมา ข้าพเจ้าเห็นแล้วถึงกับร้องไห้ด้วยความสงสาร โอหนอ ทำไมคนเราใจคอโหดร้ายใช้สัตว์ทำงานทารุณถึงปานนั้นช่างไม่คิดเวทนาสงสารวัวลากเกวียนเอาเสียเลย หรือว่าชาติปางก่อนวัวตัวนั้นเคยเป็นคนทำบาปชั่วมามาก ชาตินี้เลยมาเกิดเป็นวัวให้คนเขาทุบตีใช้งานหนักเช่นนี้เป็นการใช้กรรมเวร? เพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันชอบล้อว่า พ่อใจบุญ ๆๆ ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจเสมอ เริ่มบวชเป็นสามเณร อายุ ๑๗ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดเวฬุวันบ้านหนองไผ่ ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลธานี โดยมีท่าน พระครูสุนทรธรรมวิบูลย์ เป็นพระอุปัชณาย์ บวชในช่วง ๑๐.๐๐ น. ตกกลางมาก็เริ่มปฏิบัติสมาธิเป็นแล้ว เพราะเคยฝึกมาก่อนบวช การนำจิตเข้าสู่สมาธิจึงทำได้พอสมควร ปฏิบัติมาตลอดทุก ๆ วันในพรรษาแรก จิตก็เข้าสมาธิได้สม่ำเสมอแล้วพรรษาที่สอง สอบนักธรรมตรีได้ และการปฏิบัติเข้มขันขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ในกลางพรรษาที่สอง พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาประทับอยู่ที่หิ้งพระแย้มพระโอษฐ์อยู่นานพอสมควรจึงเสด็จไป

พ.ศ.๒๕๐๘ ย้ายมาอยู่วัดสว่างอารมณ์บ้านเสียม ตำบลหัวดอนอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เรียนนักธรรมชั้นโทแต่ก็สอบไม่ผ่านออกพรรษา หมดเขียนกฐินก็ได้บวชเป็นพระภิกษุ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ เวลา๖.๐๐ น. บวชไม่กี่วันก็ได้เดินธุดงค์ไปประเทศลาวกับหลวงปู่ไพไปพบหลวงพ่อมหาผ่อง เมืองโพนทอง ไปภูมะโรงพบอาจารย์บุญมาก ข้ามยนต์ไปที่จังหวัดปากเซ แล้วก็เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านยิก เลยไปถึงอัตบามือใกล้เมืองสาลวัน ติดต่อเขตแดนลาว เวียดนาม ย้อนกลับมาทางจังหวัดจำปาสัก เดินธุดงค์อยู่ทางประเทศลาวนานพอสมควร จึงได้กลับขึ้นมาประเทศไทย ปี ๒๕๐๙ จำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวดูน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปฏิบัติไปด้วยศึกษาธรรมไปด้วย ก็สอบนักธรรมชั้นโทได้ กลับมาอยู่วัดสว่างอารมณ์บ้านเสียมอีกครั้งหนึ่ง ศึกษานักธรรมชั้นเอกต่อ…..

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ออกจากวัดสว่างอารมณ์ มุ่งหน้าต่อไปทางอุดธานีเดินธุดงค์อยู่ตามภูเก้า อำเภอหนองบัวลำภู ขณะนี้เป็นจังหวัดไปแล้ว และเดินอยู่หลายอำเภอ เพราะแถบนั้นมีป่าเขามาก ในปีนั้นก็ได้เดินกลับมาจำพรรษาอยู่วัดบ้านกุดจิก ตำบลห้อยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีออกพรรษาเดินทางไปเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาว นานพอสมควรก็ได้ข้ามมาประเทศไทย

ปี พ.ศ. ๒๕๐๑๓ จำพรรษาอยู่บ้านกุดจิกต่อ ออกพรรษาก็ได้เดินทางกลับไปเวียงจันทน์อีก

ปี ๒๕๑๔ เดินทางไปอบรมพระพัฒนาการทางจิต ที่จิตภาวันวิทยาลัยอำเภอบางละมุง ได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่ เสร็จจากการอบรมณ์เป็นเวลาสามเดือนก็เดินทางกลับอุดรอีกครั้งหนึ่ง ได้ลาญาติโยมเดินธุดงค์ลงภาคใต้ ได้ไปจำพรรษาอยู่วัดท้าวโครต ขณะนี้เปลี่ยนเป็นวัดชายนา ตำบลนา อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติที่นี่เป็นเวลา ๒ ปี ในช่วงอยู่วัดชายนานี้ได้มีโอกาสทำความเพียรอย่างอุกฤษ มอบการถวายชีวิตค้นคว้าหาสัจธรรมโดยไม่คำนึงถึงตายตามอยู่ หมายถึงเอากายเป็นเดิมพัน ตายเป็นตาย อยู่เดือนปี ไม่มีใจดวงจิต มุ่งหน้าตั้งตาเอาชนะจิตของตัวเอง และเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ในช่วงฤดูแล้ว บางโอกาสก็ออกแสวงหาวิเวก โดยการเดินธุดงค์ไปตามสถานที่สงัด ๆ บางครั้งก็ไปสามเดือนสี่เดือน ก็ย้อนกลับมารับโอวาทจากหลวงพ่อใหญ่ธมฺมธโร ออกพรรษาก็เดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไปแทบทุกจังหวัด และทุกภาคด้วย มีอยู่ช่วงหนึ่งร่างกายสังขารซูบผอมมาก เดินก้าวขาแทบจุไม่ออก ซึ่งได้แวะเข้าไปพักปฏิบัติอยู่สวนโมกข์นานพอสมควร จวนจะเข้าพรรษ ปี ๒๕๑๕ จึงได้กราบลาหลวงพ่อพุทธทาสไปเดินทางไปเกาะสมุย แล้วเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช จำพรรษาที่วัดชายนาอีกครั้งหนึ่ง ออกพรรษาก็ได้เดินธุดงค์กลับทางภาคอีสาน และก็ย้อนกลับลงไปภาคใต้อีก เพื่อจะไปกราบลาหลวงพ่อธมฺมธโร เดินทางไปประเทศพม่าตามความตั้งใจไว้ จึงได้ออกมาองค์เดียว เดินขึ้นมาเรื่อย ๆ ขึ้นมาถึงกรุงเทพแล้ว ก็แวะไปภาคตะวันออกแถวจังหวัดชลบุรี ระยอง จานทบุรี ตราด ขึ้นมาทางปราจีนบุรี นครนายก สระบุรี มาป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถจะเดินทางต่อได้ และเข้าไปพักอยู่วัดเขาเทพพนมยงค์ ในช่วงนั้นหลวงปู่ไวยังไม่ได้ไปอยู่ ขณะป่วยอยู่นั้น ยาข้าวก็ไม่ได้กิน หลวงพ่อแก่ ๆ ท่านจัดให้อยู่กุฏิหลวงเก่า ๆ โทรมแล้วโดยไม่มีใครมาถามข่าวคราวอะไรทั้งสิ้น นั่ง นอน กำหนดจิตต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา นึกว่าเป็นไขอย่างอื่นเข้ามาแทรกเสียแล้ว เพราะมีความร้อนผิดปกติมาก ก็ได้เอาแต่น้ำเย็น ลูบตัวของตัวเอง แก้ไขทางกายเราถือว่าไม่ยาก แต่การแก้ไขทางจิตใจนั้นยุ่งยากกว่า ก็เลยไม่ได้ห่วงมากเท่าไหร่นัก แต่เรื่องจิตใจนั้น จะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ จิตใจป่วยร้ายกว่ากายป่วย กายป่วยไม่นานก็หาย แต่จิตใจป่วยนั้นหลายร้อย หลายพัน หลายหมื่นชาติ ที่คอยรักษาจิตใจอยู่ตลอดเวลานั้นก็เพื่อจะให้เป็นผู้หายป่วยใจเสียที จะได้เป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของโรคชั่วร้ายทั้งหลาย

พออาการป่วยทุเลาลงแล้ว ก็เดินทางต่อมุ่งสู่ภาคเหนือ มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นจุดแรก ได้ยินกิตติศัพย์ของครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง จิตมีความตั้งใจจะไปศึกษาธรรมกับท่าน ก็ได้ไปถึงเชียงใหม่ตามความตั้งใจครั้งแรกไปพักอยู่ที่วัดอุโมงค์ ย้ายไปพักอยู่๔วัดเมืองบาง จากนั้นจึงได้เดินไปวัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง บำเพ็ญเพียรปฏิบัติอยู่ที่นี่นานพอสมควรและได้มาตั้งใจท่องปาฏิโมกข์จบอยู่ที่วัดนี้ ท่องอยู่ ๒๔ วันพอดี ความคิดที่จะเดินทางไปจำพรรษาที่ประเทศพม่ายังสะกิดใจอยู่ตอลดจึงได้กราบลาครูเจ้าอินทจักร์เดินทางต่อไป จากเชียงใหม่เข้าจังหวัดลำพูน มาพักศึกษาธรรมกับครูบาเจ้าพรหมจักร์ ก็เป็นเวลานานพอสมควร ก็เดินทางต่อขึ้นไปทางจังหวัดลำปาง เลยไปถึงเชียงราย ต่อถึงอำเภอแม่สาย ข้ามไปประเทศพม่าจะเดินทางต่อไปเชียงตุง กะว่าจะจำพรรษาที่จังหวัดเชียงตุง บังเอิญเจ้าหน้าที่พม่าไม่ยอมให้ไป จึงได้เดินวนไปมาในแถวเชียงรายหลายอำเภอที่สุดจวนจะเข้าพรรษา จึงได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำผาจม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่าเขาอยู่มาก และเงียบสงบ เมหาะสมกับผู้แสวงหาความวิเวกดีในพรรษานั้นจึงได้ตั้งใจปฏิบาติเต็มที่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จำพรรษาอยู่ถ้ำผาจมออกพรรษาก็เดินธุดงค์อยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่

ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จำพรรษาอยู่ถ้ำผาจลุย บ้านป่าแงะ ตำบลแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย พักปฏิบัติอยู่ที่นี่ ๑๔ เดือน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็ได้ย้อนกลับมาจำพรรษาอยู่วัดถ้ำผาจมอีกครั้งหนึ่ง จนถึงในปัจจุบันนี้ แต่ละปีนั้นจะออกแสวงหาวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ

เป็นประจำทุกปีจวบประวัติโดยย่อของหลวงพ่อเมื่อได้มาอยู่ที่วัดถ้ำผาจมแล้ว การก่อสร้างต่างๆ ก็เริ่มขึ้นในปี ๒๕๑๘ เรื่อยมาจวบจนทุกวันนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ศาลาปฏิบัติธรรมหลังเก่า (ที่รื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่) สร้างตึก ๔ ชั้น สำหรับญาติโยมที่มาพักมาทำบุญในเทศกาลต่างๆ ซึ่งสร้างต่อกันมาเรื่อย ๆ ใช้เวลาหลายปี คือได้เงินทำบุญมาก็นำมาสร้างเป็นชั้น ๆ ไปจนเสร็จสมบูรณ์

อันดับที่ ๓ ก็คืออุโบสถหรือโบสถ์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัด

อันดับที่ ๔ คือ พระนอนที่สวยงามใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของวัดเช่นกัน

อันดับที่ ๕ คือ ศาลาปฏิบัติธรรม ๔ ชั้น สูงสง่าใหญ่โตระโหฐาน โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ และได้เสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๔๓ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๔๐ กว่าล้านบาท และ อันดับที ๖ กำลังจะสร้างพระอุโบสถ หรือโบสถ์หลังใหม่ โดยจะเริ่มสร้างเมื่อต้นปี ๒๕๔๔

ส่วนที่บ้านเกิดของหลวงพ่อวิชัย เขมิโย ในจังหวัด อุบลฯ นั้นท่านได้เมตตาสร้างให้ชาวจังหวัด อุบลฯ ดังนี้

๑. สถานีอนามัยบ้านหันลาด ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ๑ หลัง ในปี ๒๕๓๙

๒. สถานีอนามัยสิริธรณ์ อ.สิริธรณ์ จ.อุบลราชธานี ๑ หลัง ในปี ๒๕๔๐

๓. โรงเรียนบ้านหินลาด ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ๑ หลัง ในปี ๒๕๔๒

๔. ศาลาเอนกประสงค์ วัดบ้านหินลาด จ.อุบลราชธานี ในปี ๒๕๓๘


(มีต่อ ๑)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2012, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ประวัติวัดถ้ำผาจม

ตั้งอยู่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำสาย เป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปที่แม่สาย ส่วนใหญ่เมืองมาถึงตลอดแม่สาย ก็จะเลยข้ามฝั่งไปประเทศพม่า ที่เรียกกันว่าฝั่งท่าขี้เหล็ก ไปเที่ยวซื้อของพื้นเมืองของที่ระลึกต่าง ๆ อันได้แก่ หินหยก หยกของประเทศพม่า เป็นหยกที่ดีที่สุดเพราะมีความเป็นมันวาว อยู่ในตัวของมันพวกเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น พลอยทับทิม ตัวแหวน สร้อยข้อมือ ซึ่งค่าแรงงานทางฝั่งพม่า ไทยใหญ่ถูกกว่าทางกรุงเทพฯ และยังมีสินค้าของประเทศจีน ที่ผ่านเข้ามาจากคุงหมิง มาทางเชียงตุงแล้วเข้ามาวางขายที่ตลาดท่าขี้เหล็กนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมาแล้ว ก็จะถ่ายรูปตรงป้ายที่เขียนว่า “เหนือสุดยอดสยาม” เพราะบริเวณเขต ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย นั้นเป็นพื้นที่ส่วนที่สูงที่สุดของประเทศไทย ฉะนั้นวัดถ้ำผาจม จึงเป็นวัดที่ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย

ทางเข้าวัดถ้ำผาจม

เมื่อมาถึงตรงบริเวณจะข้ามสะพานไปพม่านั้น ทางด้านซ้ายมือจะมีถนนลาดต่ำ มีป้าย วัดถ้ำผาจนปักให้เห็นชัดอยู่ให้ขับลงไปตามถนนวิ่งไปเพียง ๒ นาที ก็จะถึงวัดถ้ำผาจน ถ้าจะนั่งสามล้อก็ประมาณ ๑๐ บาท ต่อ ๑ คน ถ้าไป ๒ คน ก็เสีย ๒๐ บาทนะ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็เช่นกัน เก็บคนละ ๑๐ บาท ถ้าจะเดินเข้าไปก็ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที

สถานที่ของวัดถ้ำผาจม

ตั้งอยู่ในบริเวณหุบเขาซึ่งเป็นเทือกเขายาวไปถึงพระธาตุดอยตุงเรียกกันว่าเทือกเขานางนอน คือถ้ามองไกล ๆ ก่อนที่จะถึงตัวเมืองแม่สายอยู่ระหว่างทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร แล้วสังเกตุดูทางด้นซ้ายมือ จะเห็นภูมเขาเป็นทิวยาวเป็นรูปหญิงนอนอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า เขานางนอน แต่เมื่อยืนอยู่บนเขาของวัดแล้วมองลงมาข้างล่าง จะเห็นเป็นรูปโค้ง โอบบริเวณวัดและบ้านเรือนแถวนั้นเป็นรูปมังกร จากคำกล่าวของหมอซินแสชาวจีนที่ชำนาญทางด้านฮวงจุ้ยเมื่อมาเห็นแล้วชอบใจและกล่าวว่า เป็นภูมิประเทศที่ดีมาก ถูกต้องตามตำรา บริเวณนี้จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างแน่นอนอินเดีย ได้บอกว่า สถานที่ตั้งของวัดถ้ำผาจมคล้ายกับกรุงราชคฤห์ เมื่อมองลงมาจากภูเขาคิชณกูฎ

วัดถ้าผาจม ตั้งอยู่บนเทือกเขามังกรตามตำราของซินแสจากเมืองจีนที่ได้เข้ามาเที่ยวชมวัด

รอบบริเวณอาณาเขตของถ้ำผาจม ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเชิงเขา ขึ้นไปทางบนเขาการที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างอันใด เช่น โบสถ์ ศาลา ต่าง ๆ แล้วจึง ต้องมีการขุดเขาเพื่อปรับพื้นที่ให้เสมอราบ สร้างความเหนื่อยยากให้กับหลวงพ่อวิชัย เขมิโย เอามาก ๆ เพราะเมื่อสมัย ๒๕๑๘ นั้น หลวงพ่อวิชัยเขมิโย ยังไม่มีลูกศิษย์ หรือคนรู้จักมากนัก พอขุดเบาปรับพื้นที่ยังไม่เสร็จดีดินก็ถล่มลงมา สมัยนั้นลำบากมาก รอบ ๆ บริเวณวัดถ้ำผาจมจึงเต็มไปด้วยต้นไม้ตามธรรมชาติที่จริง กุฏิของพระภิกษุสามเณรจึงอยู่ตามป่าเขาร่มรื่นด้วยพรรณไมยืนต้นนานาชนิด ต้อนไผ่แต่ละต้นมีขนาดใหญ่เท่าหัวเด็กความสงบเงียบเพื่อที่จะปฎิบัติธรรมจึงมีอย่างสมบูรณ์ เรียกว่าธรรมชาติช่วยหนุนอย่างเต็มที่ ประกอบด้วยพื้นที่อยู่ในเขตเหนือ และยังติดกับทางชายแดนพม่าที่ชานเมืองยังไม่เจริญ จึงทำให้อากาศบริสุทธิ์เย็นสบาย ถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูร้อนก็ไม่ร้อนมากนัก เพราะว่าลมบนเขาก็มีอยู่ตลอดกุฏิที่พักของพระภิกษุ ซึ่งสร้างอยู่ตามเชิงเขาด้านบน อยู่อย่างธรรมชาติตามป่าเขาอย่างสงบ ความสงบสามารถช่วยการบำเพ็ญภาวนาได้อย่างดีเยี่ยม

ผู้ที่จะหาความสงบจากธรรมชาติ เพื่อที่จะทำสมาธิกรรมฐานแล้ววัดถ้ำผาจม จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งได้อย่างเต็มปากท่านที่จะมาเที่วชมวัดนี้ให้อย่างจุใจแล้วควรจะใช้เวลา ๒ วัน จะเที่ยวได้อย่างทั่วถึง คือวันแรกเที่ยวบนเขาก่อน ค่อย ๆ ขึ้นไปทีละขั้น อย่าเร็วเดี๋ยวจะเหนื่อยจะเห็นเจดีย์รูปทรงทางเชียงแสนเดิม อยู่บนชั้นแรกของเขา จะเห็นเป็นกุฏิเล็ก ๆ เรียกว่าเข้าไปนอนได้เพียงองค์เดียวตั้งเรียงติดพนังเขากุฏิเล็ก ๆ นี้สำหรับฝึกไม่ให้ยึดติดกับสถานที่ ไม่ให้ยึดติดกับความสะดวกสบายบนเขาชั้นแรกนี้จะมองเห็นบริเวณส่วนหน้าของววัดได้หมด เรียกว่ามีความสูบบนเขาชั้นแรกนี้จะมองเห็นบริเวณส่วนหน้าของวัดได้หมด เรียกว่ามีความสูบบนเขาชั้นแรกนี้จะมองเห็นบริเวณส่วนหน้าของวัดได้หมด เรียกว่ามีความสูงพอสมควรจะเห็นตึกที่พักของญาติโยม ผู้ที่มาทำบุญ ผู้ที่ทอดกฐินผ้าป่ารวมทั้งผู้ที่มาฝึกสมาธิ หรือสัญจรผ่านไปมา และถ้ามองทางด้านเหนือจะเห็นทิวเขาของวัดพระธาตุดอยเวา เห็นศาลา เห็นเจดีย์สีทองอร่ามซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเทือกเขามังกร บนเขาชั้นแรกนี้ เมื่อขึ้นไปอยู่บนเขา จะสามารถมองเห็นฝั่งตลาดแม่สาย และตลาดพม่าได้อย่างชัดเจน อากาศบนเขานี้บริสุทธิ์เย็นสบายยิ่ง ถึงแม้ว่าเป็นช่วงกลางวันก็ตาม เมื่อเดินไปทางทิศตะวันตก จะเห็นกุฏิใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ตามเชิงเขาโดยมีต้นไม้ให้ความร่มรื่น

บางครั้งจะเห็นพระเณรออกมาเดินจงกรม หรือออกมาทำงานให้กับวัดและเมื่อเดินไปทางทิศตะวันตก จนถึงกุฏิตรงล้านต้นไผ่ บริเวณนี้จะมองเห็นดาดฟ้าหลังคาของตึกสูง ๔ ชั้น ที่บนตึกของผู้พักของฝ่ายฆราวาสลานดาดฟ้าที่กว้างนั้น หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ได้ทำไว้เป็นที่สำหรับเดินจงกรมของผู้ที่จะมาฝึกสมาธิ บำเพ็ญภาวนาในช่วงเย็นและช่วงเช้า จะมองเห็นผู้ที่มาปฏิบัติทั้งยืนทำสมาธิ ทั้งเดินจงกรม อย่างสงบเป็นภาพที่น่าดูยิ่งนักประกอบกับวิวทิวทัศนีย์ภาพของเนินเขาที่อยู่ด้านหน้า และรอบข้างนั้น ทำให้ภาพบรรยากาศของธรรมชาติ สวยสดเพื่อชีวิตชีวาจากธรรมชาตินั่นเอง

และที่บนดาดฟ้านี้เหมาะสมอย่างยิ่งของผู้ที่ไม่อยากเดินขึ้นเขา ของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ท่านเหล่านั้นขึ้นมาบนดาดฟ้านี้ ขึ้นมาชมทิวทัศน์ ของหุบเขาคุ้มมังกร ดูพระธาตุดอยเวหาท่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม ดูพระอาทิตย์ในยามเช้าและยามอัศดง หรือจะดูพระอาทิตย์อัสดง หรือจะดูแสงจันทร์ ยามราตรี ก็ได้จะพบกับความสงบนิ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง ดาดฟ้าของตึกผู้พักนี้ จึงให้คุณประโยชน์อย่างมากและยืนอยู่บนดาดฟ้านี้แล้วมองไปด้านหลังทิศใต้จะเห็นกุฏิพระตั้งเรียงรายแต่ห่างกันระดับความสูบของดาดฟ้า จะเทียบเท่าความสูงของเขาชั้นที่ ๒ ตามที่เล่ากันมา เมื่อมองสูงขึ้นไป จะเห็นกฏิระชั้นที่ ๓ จะมีที่พักของพระภิกษุที่ชอบความเงียบสันโดษ สร้างเป็นตึก ๒ ชั้นดังรูปที่นำมาให้ชม

หลาย ๆ ท่านที่มาวัดถ้ำผา จม เช่น มาทำบุญ ทอดกฐินทุกปี อย่างเช่นคณะเพื่อนฝูงของผู้เขียนที่เคยมา ๔-๕ ครั้ง แล้วก็ตาม ยังไม่เคยขึ้นมาชมวิวบนดาดฟ้าเลยก็มีมาก ซึ่งนาเสียดายเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงที่มีพระจันทร์เต็มดวงหรือคืนเดือนหงายจะเห็นความงามของแสงจันทร์ที่นวลตาขับความมืดของหุบเขาให้สว่างไปอีกแบบหนึร่ง คือมองแล้วเย็นสบายตามองเห็นไฟเล็ก ๆ ตามบ้านเรือนร้านค้าที่อยู่ไกลออกไป ความเงียบสงัดของธรรมชาติยามราตรี ถูกขับกล่อมด้วยเสียงจักจั่นเรไรในบางครั้งบวกกับเสียงกิ่งกังสดานที่อยู่าบนตัวโบสถ์และในยามที่เสียงใบไม้กระทบกัน ยามเมื่อสายลมโบกพัดผ่านเย็นสบายเสมือนเสียงดนตรีของธรรชาติบรรยากาศสภาพตนอนี้เหมือนกับว่าได้มายืนอยู่อีกโลกหนึ่ง เป็นโลกที่สงบเงียบ อารมณ์จิตใจที่วุ่นวายขุ่นมัวกับภาระหน้าที่ การทำมาหากินได้ถูกทอดทั้งสิ้นไป ไม่เหลือให้มาคิดกังวลเลย

การที่คนเรายืนอยู่ที่สูง ๆ แล้วมองทอดสายตาลงไปเห็นบ้านเรือนต้นไม้ถนนหนทางย่อส่วนเล็กไปหมดนั้น ได้บรรยากาศไปอีกแบบหนึ่งจะ รู้สึกตัวเองว่ายิ่งใหญ่มีความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้นฉะนั้นจึงกระซิบบอกว่าถ้าท่านได้มีโอกาสได้มาพักค้างคืนที่วัดถ้ำผาจมนี้แล้ว อย่าเพิ่งเอาแต่นอนอย่าน้อย ๆ ขอให้ขึ้นมาที่ดาดฟ้าชมความงามยามราตรีเอากำไรชีวิตไว้ก่อนแล้วท่านจะหายง่วงเอง อยากจะหลับนอนไว้นอนบนรถเพราะต้องเดินทางไกลอยู่แล้ว ดาดฟ้านี้จึงมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวง สำคัญอยู่ที่ว่า ท่านรู้จักตักตวงเอากำไรไว้หรือไม่? เมื่อเที่ยวเขาชั้น ๒ หมดแล้ว ถ้ายังไม่หายเหนื่อยแล้ว เขาชั้น ๓ ยังรอท่านอย่า ชั้น ๓ นั้นเป็นทางเดินกว้าง ถ้าไปทางทิศตะวันตก เส้นทางยังไม่ชันพอที่จะขึ้นไปได้อย่างสบาย ๆ จะพบกันที่พักของพระเณร สร้างเป็นตึก ๒ ชาน ตรงบริเวณนี้สามารถมองทิวทัศน์ธรรมชาติได้กว้างขึ้น เพราะอยู่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

ความสูงของเขาชั้น ๓ เมื่อมองเปรียบเทียบไปยังทิวเขาที่ตั้งของพระธาตุดอยเวาแล้ว จะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน เห็นเจดีย์สีทองอยู่ลิบ ๆ แต่ยังชาดเจน และถ้ามองต่ำลงมายังที่พักของฆราวาสแล้วจะเห็นลานดาดฟ้าย่อเล็กลงไป ตามความสูงที่เราได้ขึ้นมาถึงตอนนี้แล้วจะนั่งพักใต้อาคารของพระดูวิวไปหรือขอน้ำจากพระดื่มดับกระหายก็ได้เสร็จแล้วเมื่อเดนไปอีกนิดหนึ่งจะเห็นกำแพงวัดถ้ำผาจมกั้นเป็นแนวเขตให้รู้ว่าเป็นที่ใครเขตใครเมื่อสุดเขตนี้แล้วให้หันกลับจะเห็นทางขึ้นเขาชั้นบนเป็นชั้นที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เส้นทางจะโค้งโอบไปตามลักษณะ ของภูเขา ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับหัวมังกร เมื่อเดินผ่านโค้งแรกแล้ว จะเห็นทิวทัศน์ของฝั่งพม่า เห็นสายน้ำแม่สายที่เป็นลำน้ำแบ่งเขตแดนเห็นหมู่บ้านชาวพม่า ซึ่งเห็นชาวบ้านเล็กขนาดตัวเท่ามด เป็นภาพที่น่าดูมาก ประกอบกับสายลมทีพัดมาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ไม่เหนื่อย

เมื่อมองตรงไปที่เขาพม่าจะเห็นวัดและพระพุทธรูปสูงเด่น เป็นสง่าอยู่บนยอดเขา พระพุทธรูปองค์นี้จะมีขนาดใหญ่มาก จึงทำให้ความห่างไกลขนาดที่ยืนอยู่คนละประเทศยังมองเห็นได้เสียดายที่ผู้เขียนไม่ได้เอากล้องส่งองทางไกลไปด้วยจากจุดยืนบริเวณที่ยืนอยู่บนข้างเขานี้ ยังสามารถมองเห็นตลอดฝั่งไทยให้เปรียบเทียบความเจริญของคนทั้ง 2 ประเทศ เมื่อหายเหนื่อยดูดวิวจนพอใจแล้ว ให้เดินขึ้นเขาต่อไป ทางจะสูงชันขึ้นไปแต่เป็นทางใหญ่เรียบ เพราะหลวงพ่อวิชัย เขาหัวมังกรนี้ฉะนั้นเส้นทางเดินจึงสามารถเดินไปได้อย่างสบาย ไม่ต้องไต่ปีน เพียงแต่ว่าจะชันนิดหน่อยเท่านั้นเองด้านบนยังมีกุฎิพระให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ และยังใช้เป็นสถานที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ภายในวัย ที่กักเก็บน้ำมี ๒ แห่ง ต่างระดับกันบนเขาสูงที่กำลังขึ้นไปแห่งหนึ่ง อีกที่หนึ่งอยู่ที่เขาชั้น ๒ แต่อยู่ด้านหลังเขาหรือทางทิศใต้ตามที่ได้ถ่ายรูปมาให้ดูกัน น้ำที่วัดถ้ำผาจมจึงได้มีใช้ อย่างไม่ขาดแคลนเท่าไรนัก และเดินขึ้นไปให้ถึงยอดเขาบนสุดเลยจะใช้เวลาอีกสัก ๓๐ นาทีได้ถ้าเดินอย่างสบาย ๆ ก็ ๔๐ นาที นับจากเขาชั้น ๒ ตรงบริเวณที่เป็นตึกพระด้านกำแพงเขตวัดถ้ำผาจม


(มีต่อ ๒)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2012, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สถานที่ตั้งวัดถ้ำผาจม

ที่ตั้งวัดถ้าผาจม ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

วัดถ้ำผาจม ตั้งอยู่ติดชายแดนระหว่างไทย-พม่า มีแม่น้ำแม่สายเป็นเขตแดนกั้น ห่างจากสะพานข้ามไปประเทศพม่าประมาณ ๘๐๐ เมตร จะเดินไปก็ไม่ไกล จะนั่งรถสามล้อก็ราคา ๑๐ บาทเท่านั้น

ลักษณะวัดถ้ำผาจม

วัดถ้ำผาจมนั้น ตั้งอยู่ในหุบเขา และอยู่ในแนวนอน เทือกเขาเขาลูกนี้เป็นรูปผู้หญิงนอนหงายสยายผมไปทางประเทศพม่า ฉะนั้น วัดถ้ำผาจมจึงอยู่ปลายผม เมื่อมองไปทางทิศตะวันออก จะเห็นพระธาตุดอยเวา ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร และจะเห็นเทือกเขาเป็นคุ้งมังกรสวยงามมาก สถานที่ที่วัดถ้ำผาจมตั้งอยู่นั้น เป็นช่วงปากของมังกร มีธรรมชาติรอบบริเวณวัดสวยงาม สงบ ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียง ได้เคยไปประเทศอินเดียเมื่อขึ้นไปบนภูเขาคิชณกูฎ มองลงมายังกรุงราชคฤห์เก่า จะเห็นเป็นแงซึ่งมีภูเขาห้าลูกล้อมรอบ สวยงามมาก วัดถ้ำผาจมก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน

ผู้ที่เคยบูรณะวัดถ้ำผาจมสมัยที่ผ่านมา

ข้าพเจ้าได้ถามญาติโยมคนเฒ่าคนแก ท่านได้เล่าให้ฟังว่า องค์พระเจดีย์ในถ้ำนั้น พ่อนายบุญยืน ศรีสมุทร์ เป็นผู้นำคณะศรัทธาญติโยมมาก่อสร้างไว้เป็นเวลากี่ปีนั้น ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ในถ้ำมีรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชนมาเคารพบูชามากมาย ได้แก่พระยืนสององค์ พระไสยาสน์หนึ่งองค์ และพระหลวงพ่อสายรุ่งอีกองค์หนึ่ง เป็นพระที่สวยงามมาก เป็นพึ่งทางใจของประชาชนซึ่งเข้าไปกราบไหว้สักการบูชาตลอดเวลา ถ้ำข้างในเข้าไปอีก มีหลวงพ่อทองทิพย์ ชื่อของหลวงพ่อในถ้ำนี้เป็นชื่อที่คนถิ่นนั้นเรียกกันติดปากมาช้านานแล้ว ในถ้ำบรรจุคนได้ประมาณ ๒๐๐ กว่าคน แต่ทางด้านหลังของหลวงพ่อทองทิพย์นั้น มีถ้ำลึกลงไป เป็นถ้ำที่กว้างใหญ่มาก สามารถบรรจุคนได้ถึงสามพันหรือสี่พันหรือทีเดียว ถ้ำนี้อยู่ลึกจากปากถ้ำลงไปประมาณ ๑๐๐ กว่าเมตร ยาวไปทางประเทศพม่า ลอดใต้แม่น้ำสายไปทะลุขึ้นถ้ำผาปูนทางฝั่งพม่า ซึ่งห่างจากถ้ำผาจมไปประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของพระตา (ผู้เป็นผ้าขาว) เป็นชาวจีนฮ่อ และเคยได้มาทำความเจริญให้แก่วัดถ้ำผาจมพอสมควร) ซึ่งได้ลงไปในถ้ำและไปโผล่ขึ้นที่ถ้ำผาปานดังกล่าว

มีญาติโยมที่เคยได้ไปกราบนมันการหลวงพ่ออุตตะมะซึ่งอยู่ที่อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรีเล่าว่า หลวงพ่อได้ปรารภให้ญาติโยมฟังว่า ถ้ำผาจมที่อยู่ที่อำเภอแม่สายนั้น เป็นถ้ำที่มหัศจรรย์มาก คือ คือ ถ้ำนี้จะลึกเข้าไปถึงเมืองหาสาวดีในประเทศพม่า นี่เป็นคำพูดที่ญาติโยมได้ยินจากหลวงพ่ออุตตมะ

สำหรับข้าพเจ้านั้น ได้ฟังจากโยมเที่ยง เสกกระโก ว่าโยมเคยได้มาช่วยกันปิดถ้ำนี้ไว้ สาเหตุที่ทำให้ต้องปิดไว้นั้น เพราะเคยมีหนุ่มสาวสองคู่คงไปในถ้ำ เสร็จแล้วหายไปเลย ไม่กลับขึ้นมาอีกมีอยู่ที่เคยนั่งสมาธิเห็นว่าใต้ถ้ำนั้นเป็นสระใหญ่สวยงามมาก และยังเห็นหนุ่มสาวสองคู่นั้นยืนอยู่ริมของสระด้านละคู่

สมัยที่ข้าพเจ้ามาอยู่นี้ ในวันพระจะได้ยินเสียงสวดมนต์ในช่วงเวลาตั้งแต่ ๑.๐๐ น. เป็นต้นไป สำหรับในระยะเข้าพรรษานั้น แม้แต่กลางวันก็จะได้ยินเสียงสวดมนต์เสมอ และถ้ำแห่งนี้ กล่าวกันว่า เป็นที่อยู่ของพญานาค ๒ ตัวด้วย

ความสำคัญของวัดถ้ำผาจม

ถ้ำผาจมเป็นปูชนียสถานเก่าแก่ ไม่สามารถประมาณได้ว่า มีตั้งแต่เมื่อไรเป็นสถานที่ที่สงบ เงียบสงัด มีต้นไม้ร่มรื่น สวยงามมาก เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะสำหรับการบำเพ็ญภาวนา หรือการปฏิบัติสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดีเยี่ยม จึงมีครูอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานจาริกธุดงค์ไปพักเป็นประจำเหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำผาจม” การที่ถ้ำนี้ถูกเรียกว่า “ถ้ำผาจม” นั้น เพราะถ้ำแห่งนี้จมลึกลงไปและอยู่ใต้แม่น้ำสายเป็นบางส่วน คนทั้งหลายจึงได้เรียกว่า “ถ้ำผาจม”

ข้าพเจ้าได้มาประจำอยู่ที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งในขณะนั้นสถานที่นี้ยังไม่เป็นวัด เป็นเพียงที่พักพระสงฆ์ที่จาริกมาอยู่ชั่วคราว นายสังเวียน แจ่มจรัส ได้ถวายที่ให้สร้างเป็นวัดขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงได้เริ่มมาก่อสร้าง คือ สร้างโบสถ์ ศาลาอเนกประสงค์ และได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับอนุญาตจากทางการให้สร้างเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๒๖ และได้รับพระราชทานวิสุคามสีมาโดยพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๖

ปัจจุบันนี้ มีพระอธิการวิชัย เขมิโย เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้บริหารงานบูรณปฏิสัขรณ์ ได้สร้างกุฎิ ศาลาปริยัติธรรม ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาการเปรียญ ที่พักพระอาคันตุกะ หอสมุด หอระฆัง เจดีย์ และได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำสำหรับน้ำมาใช้ที่วัดถ้ำผาจม และพระธาตุดอยเวาด้วย

กิจวัตรของวัด

๐๓.๐๐ น. ตื่นมา สวดมนต์ทำวัตรเช้าแปลที่ศาลา เสร็จแล้วผลัดกันอ่านพระไตรปิฏก ผู้ที่ไม่อ่านนั่งสมาธิจนถึงเวลา ๐๖.๐๐ น.

๐๖.๐๐ น. ออกบิณฑบาต กลับมาถึงวัดผลัดกันอ่านพระวินัยก่อนฉันภัตตาหาร

๑๓.๐๐ น. มารวมกันปฏิบัติธรรมที่ศาลา ยืนทำสมาธิ ๑ ชั่วโมง เดินจงกรรม ๑ ชั่วโมง นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมง

๑๖.๐๐ น. ช่วยกันทำความสะอาดรอบบริเวณวัด

๑๘.๐๐ น. ตีระฆัง พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มารวมกันที่ศาลา

๑๘.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเย็นแปล แผ่เมตตา ให้เปลี่ยนอิริยาบถยืนทำสมาธิ เดินจงกรม นั่งสมาธิ จนถึงเวลา ๒๑.๐๐-๒๑.๓๐ น. จึงเลิกมี การบรรยายธรรมะ อบรมสมถวิปัสสนาเป็นประจำทุกวันนี่คือกิจวัตรซึ่งผู้อยู่ที่นี้ต้องปฏิบัติตาม


(มีต่อ ๓)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2012, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดถ้ำผาจมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ทำไมต้องวัดถ้ำผาจม

วัดถ้ำผาจมนี้เดิมเป็ฯที่พำนักสงฆ์หรอืสำนักสงฆ์ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่ถาวรโบสถ์ศาลายังไม่มีกุฏิที่ใช้ มีแต่ไม้ไผ่ผ่าซีกทำเป็นตัวเรือนหลังคามุงแฝกหรือจาก ในสมัยที่หลวงพ่อวิชัย เขมิโย เดินทางมายังสถานที่นี้ เป็นปี พ.ศ. ๒๕๑๖ หลวงพ่อวิชัย เขมิโย เล่าให้ฟังว่า ก่อนทีท่านจะมาวัดถ้ำผาจมนั้นทานพำนักอยู่ที่วัดชายนาอ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ท่านปฏิบัติธรรมเรียนรู้กับท่านพระอาจารย์ ธมฺมธโรภิกขุ ในพรรษานั้น หลวงพ่อท่านได้นิมิตรบริเวณวัดที่อยู่ในหุบเขา เห็นบริเวณวัดที่อยู่ในหุบเขา เห็นเทือกเขา ที่คล้ายลักษณะรูปมังกรโอบล้อมท่านเล่าว่า เมื่อท่านนั่งกรรมฐานนาน ๓-๔ วัน ก็นิมิตรเห็นอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ ถึง ๗-๘ ครั้ง จึงมีความสงสัย อยากเห็นของจริงว่าเป็นอย่างไร มีอะไรผูกพันกันหรือ

เมื่อออกจากพรรษาแล้วจึงธุดงค์มาเรื่อยๆ ทั้งเดินทั้งขึ้นรถ จนมาถึงแม่สาย ในปี ๒๕๑๖ เมื่อถึงบริเวณที่ตั้งวัดถ้ำผาจม เดิมสำรวจรอบๆ ดูแล้วว่า ปรากฏตรงกับที่ได้นิมิตไว้ แต่ก็ยังไม่สามารถอยู่ที่สำนักสงฆ์นี้ได้เพราะถูกกีดกันจากพระที่พำนักอยู่ก่อน ท่านจึงเดินธุดงค์มาที่เขาจลุยปฏิบัติธรรมฝึกกรรมฐษนอยู่ป่าเขาตามถ้ำ เพราะท่านบอกว่าชอบอยู่ในถ้ำมากที่สุดปฏิบัติเช่นนี้จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ท่านจึงย้อนกลับมาที่แม่สาย วัดถ้ำผาจมและเริ่มก่อสร้างจากสำหนักเป็นวัด ต้องเรียกว่าเป็นความสามารถในคามอดทนของท่านอย่างแท้จริง เพราะในสมัยนั้น หลวงพ่อวิชัย เขมิโยที่พำนัก ได้ถึงขนาดนี้ นับว่าท่านมีความสามารถ มีความเก่งกาจพอตัวอยู่เพราะท่านเองนั้นไม่ใช่เป็นคนในพื้นที่นี้ไม่ใช่เป็นคนในภาคเหนือแต่เป็นคนอุบลราชธานี

วัดถ้ำผาจมมีอะไรบ้าง ??

หลวงพ่อวิชัย เขมิโยได้เริ่มสร้างสิ่งต่างๆ ที่จะต้องให้ให้เป็นโประโยชน์ต่อพระสงฆ์สามเณรเพื่อที่จะสืบทอดศาสนาและเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้กับปราชนทั้งหลายจึงต้องสร้างโบสถ์ ศาลาปฏิบัติธรรมสร้างที่พักสำหรับฆราวาสที่มาจกแดนไกลโดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา ส่วนที่พักของพระภิกษุสามเณรส่วนใหญ่จะอยู่ตามเนินเขา

หลวงพ่อสายรุ้ง

ที่วัดนี้จะมีถ้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติเองไม่มีใครมาขุดเจาะสร้างไว้เป็นถ้ำที่มีบริเวณกว้างพอสมครวระดับของถ้ำมีด้วยกันทั้งหมด ๓ ชั้น ชั้นแรกหรือชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางสมาชิกสร้างขึ้นเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏ ไม่สามารถที่จะหาหลักฐานชัดเจนได้ แต่เมือพิจารณาดูดจากพุทธลักษณะแล้วจะคล้ายกับศิลปในสมัยเชียงรุ้ง พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้าน เรียกขานกันว่าหลวงพ่อสายรุ่งเข้ามาประดิษฐานตั้งแต่เมื่อไรไม่มีใครทราบได้ เมื่อหลวงพ่อวิชัย เขมิโย เข้ามาอยู่ที่วัดถ้ำผาจมนี้ก็ได้พบเห็นแล้วเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์เอามากๆ แล้ว จะเล่าให้ฟังในตอนต่อไป

ส่วนในชั้นที่ ๒ ของถ้ำ ต้องเดินลงไปจากชั้นบน จะพบกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปสมัยสุโขทัย ชาวบ้านเรียกขานกันว่าหลวงพ่อทองทิพย์บริเวณของชั้น ๒ นี้ มีความกว้างน้อยกว่าชั้นแรก สามารถเข้ามานั่งสมาธิได้ถึง ๗๐ คน ในสมัยที่หลวงพ่อวิชัย เขมิโยท่านเข้ามาอยู่ที่วัดถ้ำผาจะตอนช่วงแรกๆ ทุกวันท่านเข้ามานั่งสมาธิอยู่ด้านหลังของหลวงพ่อทองทิพย์ท่านมองว่ามีความสงบดี ใครๆ ที่เข้ามาก็จะมองไม่เห็นเพราะท่านี้นประกอบอยู่ด้านหลังขององค์พระเลย และในถ้ำชั้นนี้ ยังเป็นทางลงไปของถ้ำลึก ใต้ดินด้านล่างๆ อีกด้วยจะเป็นถ้ำที่กว้าง คล้ายอุโมงค์ใหญ่ทอดยาว

หลวงพ่อทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์มาก มีเทพเทวดารักษาอยู่ตลอดทุกครั้งที่ผู้เขียนไปนมัสการท่าน และขอออนุญาติถ่ายรูป จะมีแสงสายรุ้งอยู่ที่ภาพทุกครั้งเสมอไป ซึ่งเป็นสิ่งอัศจรรย์ แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธานุภาพยิ่งนักเชื่อมต่อยาวไปถึงเขตพม่าโน้น จะกล่าวต่อไปในส่วนของความแปลกพิสดารของสถานที่นี้ แต่ทางลงไปถ้ำใต้ดินนี้ไปถูกปิดไปแล้ว เพราะมีคนที่ลงไปแล้วไม่สามารถขึ้นมาได้อีก จากชั้นที่ ๒ นี้มีทางเดินลงไปถ้ำข้างล่างซึ่งเป็นชั้นที่ ๓ ชั้นสุดท้ายนี้ไม่มีอะไรที่น่าสนใจ

พระตาผู้มีฤทธิแห่งวัดถ้ำผาจม

ถ้ำที่กล่าวมานี้เป็นจุดเด่นของที่วัดผาจมแห่งนี้ตามคำบอกเล่าของพระตาผู้ที่ดูแลสถานที่นี้ พระตานี้เป็นฆราวาสมีเชื่อสายเป็นจีนฮ้อ เป็นผู้ถือศิลปฎิบัติธรรมเจริญฎรรมฐาน อยู่ในขั้นอภิญญามีฤทธิเดชทีเดียว ท่านเป็นคนตาบอด แต่เดินเหินได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่ต้องมใช้ไม่เท้า หรือมีคนนำทางเลย หลวงพ่อฟักที่ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดเขาวงพระจันทร์ที่ จ.ลพบุรี ในสมัยนั้นท่านยังเคยได้เดินธุดงค์มาถึงแม่สาย และแวะมาที่นี่ได้พบกับพระตา ที่สำคักสงฆ์ถ้ำผาจมแห่งนี้เมื่อได้พูดคุยกันก็ถูกคอ พระตาจึงได้พาหลวงพ่อฟักไปชมเขารอบบริเวณวัดถ้ำผาจม จนทั่งแล้วท่านยังพาเดินไปถึงถ้ำปลา ต่อไปถึงพระธาตุดอยตุงที่เดียว หลวงพ่อกล่าวให้หลวงพ่อวิชัย เขมิโยฟัง ว่ามันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ที่พระตาบอด พาคนตาดีไปเที่ยว ต่อมาไม่นานพระตาก็จากไป การจากไปของท่านนั้น ไม่ใช่ตายจากไป คือมีอยู่วันหนึ่งท่านได้บอกกับชาวบ้านคนหนึ่ง ที่ชื่อว่า โยมสุขว่าให้บอกกับชาวบ้านนะว่าท่านต้องลาไปก่อนอย่าได้เป็นห่วง เพราะท่านไปดีโยมสุขก็ไม่ยอมแต่จะตามไปด้วยท่าเที่ยว พระตาบอกว่าไปด้วยไม่ได้หรอกบุญของโยมนั้นยังไม่ถึง ไม่มีบารมีพอ จะตามไปด้วยไม่ได้ เมื่อท่านเดินมาถึง ลำน้ำแม่สายแล้ว ก็มีเตียงทองลอยขึ้นมารับท่านเตียงทองก็ลอยขึ้นไปถึงกลางน้ำแม่สายแล้วค่อย ๆ จมหายไปต่อไปต่อหน้าต่อตาของโยมสุขแล้วท่านคิดไหมลุ่ว่าพระตาหายไปไหน ?? และเหตุที่ไปนั้นเพราะอะไรอาจจะเพราะว่าชาวบ้านที่มาขอหวยประกอบกับมีผู้มาสืบทอดดูแลถ้ำผาจมแห่งนี้แล้ว หรือหมดวาระหน้าที่ของท่านแล้ว ท่านจึงลงไปเมืองบาดาลเพื่อบำเพ็ญภาวนาต่อ ในสมัยก่อนที่ปากถ้ำตรงที่หลวงพ่อทองทิพย์ ยังไม่ปิดนั้นพระตาได้ลงไปบ่อย ๆ ท่านเล่าให้ฟังว่า

ด้านล่างนั้นเป็นบริเวณกว้างใหญ่สามารถจุคนได้ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ คนทีเดียว เป็นถ้ำที่สวยงามมาก ประกายของผนังถ้ำนั้นเป็นแสงระยิบระยับเมื่อแสงไฟจากไฟฉาย หรือตะเกียงเจ้าพายุ ซึ่งในสมัยก่อนใช้กันประจำทุกครัวเรือน และอุโมงค์ของถ้ำนี้ยังสามารถเดินทะลุ ไปถึงผาปูนของประเทศพม่า โดยที่อุโมงค์ถ้ำนี้อยู่ต่ำกว่าแม่น้ำแม่สาย ความยาวอุโมงค์นี้ ยังลึกยาวไปจรดเขตชายแดนของประเทศจีนที่หนองกระแส เมืองคุงหมิง ชาวบ้านที่คุงหมิงบอกว่าบึงหใหญ่ที่หนองกระแสนี้เป็นที่อยู่ของมังกรและตามคำบอกเล่าของพระตานั้น จะตรงกับหลวงพ่ออุตตะมะ ที่กาญจนบุรี

ท่านเองก็ยังเล่าให้ลูกศิษย์ฟังเช่น กัน และยิงเสริมขึ้นว่า วัดถ้ำผมจมแห่งนี้เป็นดินแดนที่ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์มาก ถ้ำข้างล่างนั้นเป็นเมืองบาดาลเป็นที่อยู่ของพระนาคาหรือพญานาค ส่วนผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนสามารถส่งจิตไปท่องเที่ยวที่ต่างๆ นั้น ต่างก็เห็นภาพตามที่พระตาและหลวงพ่ออุตตามะได้กล่าวไว้และเป็นสิ่งที่ท้ายของผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นอย่างมากเป็นการกระตุ้นให้จิตใจมีความฮึกเหิม ให้มีกำลังในการที่เราจะฝึกสมาธิมากยิ่งขึ้นเมืองบาดาล เมืองพญานาค และอุโมงค์สายยาวของวัดถ้ำผาจมนี้ได้รอให้ท่านทั้งหลายที่มีความตั้งใจ จะพิสูจน์ค้นหาความมหัศจรรย์ ความลี้ลับต่างๆ นาๆ เป็นสิ่งที่ทดสอบสมาธิของท่าน ท่านเป็นอีกผู้หนึ่งที่สามารถจะลองดูได้ เมื่อท่านเก็บสัมภาระกระเป๋าเดินทางเรียบร้อยแล้ว ก่อนอื่นใด ให้ท่านมาที่ถ้ำหลวงพ่อสายรุ่งก่อนเพื่อที่จะกราบไหว้ จุดธูปเทียนบูชา เพื่อเป็นศิริมงคลแกตัวเองจะอธิษฐานอะไรก็ได้แล้วแต่ท่าน เสร็จแล้วก็ให้ลงมากราบไหว้ หลวงพ่อทองทิพย์ ที่ถ้ำชั้นล่าง ช่วงนี้ถ้าใครอยากนั่งสมาธิก็รีบปฏิบัติเลย



.............................................................

รวบรวมและคัดลอกเนื้อหามาจาก ::
เว็บไซต์ http://www.watthamphajom.com

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2012, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยหนึ่ง .. เคยไปปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อที่วัด ..
ก่อนเข้าวัดด้านบนหน้าซะง่อนผา จะมีพระพุทธบาทอยู่ด้านขวามือและมีถ้ำอยู่แถวนั้น
ทำเป็นประตูปิดหน้าถ้ำไว้ ท่านเล่าว่ามีคนเข้าแล้วหายไปไม่กลับออกมา
ตอนนั้นท่านให้กุญแจไว้ สำหรับเข้าไปปฏิบัติธรรม ทางเข้าต้องคลานเข้าไปก่อน
ภายในพอยืนได้ เย็นสบายเป็นเหมือนห้องโถง อยู่ได้ประมาณ ๓-๕ คน

ด้านบนก็มีถ้ำ มีพระพุทธรูป มีถ้ำด้านข้างผนังท่านทำเป็นห้องสำหรับจำวัด ...
หลังจากนั้นก็ไม่ได้ไปเยี่ยมท่านที่วัดอีก พบท่านก็แต่ที่กรุงเทพฯ
ช่วงที่ท่านมาแสดงธรรมวัดปทุมวนาราม .. :b8:

วัดถ้ำผาจม ห่างจากสะพานด่านแม่สายไม่เท่าไร สามารถเดินข้ามไปเที่ยวได้
หวังว่าจะได้ไปปฏิบัติธรรมกับท่านอีกสักครั้ง ..
:b1: :b8:

onion

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร