วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=22



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า”
พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

รูปภาพ

พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พุทธศักราช ๒๕๓๒-๒๕๕๖


วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


:b44: หัวข้อ

• พระประวัติในเบื้องต้น
• ทรงบรรพชา
• ทรงอุปสมบท
• พระศาสนกิจและสมณศักดิ์
• สมเด็จพระญาณสังวรรูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
• สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
• พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
• พระศาสนกิจในต่างประเทศ
• การสาธารณูปการ
• การสาธารณสงเคราะห์
• พระนิพนธ์
• ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
• ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
• ชีวิตและปฏิปทาแบบอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระประวัติในเบื้องต้น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร
และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี

มีพระนามเดิมว่า “เจริญ คชวัตร” พระนามฉายาว่า “สุวฑฺฒโน”
ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๗๕
ตรงกับวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๒)
เวลาประมาณ ๑๐ ทุ่ม มีเศษ (หรือเวลาประมาณ ๐๔.๐๐ นาฬิกาเศษ
แห่งวันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตามที่นับแบบปัจจุบัน)
ณ บ้านวัดเหนือ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

พระชนกชื่อ นายน้อย คชวัตร (ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๐๘)

บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย
กล่าวคือ มาจาก ๔ ทิศทาง

พระชนกนั้นมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง

ส่วนพระชนนีมีมีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง

นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็ก และ นางแดงอิ่ม
เป็นหลานปู่หลานย่าหลวงพิพิธภักดี และนางจีน

ตามที่เล่ามานั้น หลวงพิพิธภักดี เป็นชาวกรุงเก่า
เข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ
ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยา คราวหนึ่ง
และเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบองคราวหนึ่ง

หลวงพิพิธภักดี ไปได้ภริยาชาวเมืองไชยา ๒ คน
ชื่อ ทับ คนหนึ่ง ชื่อ นุ่น คนหนึ่ง
และได้ภริยาชาวเมืองพุมเรียง ๑ คน ชื่อ แต้ม

ต่อมาเมื่อครั้งพวกแขกยกเข้ามาตีเมืองไทร
เมืองตรัง เมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาศรีพิพัฒน์
(ทัด ต่อมาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔)
เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม

หลวงพิพิธภักดี ได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย
และไปได้ภริยา ชื่อ จีน ซึ่งเป็นธิดาของพระยาปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สน)
เป็นหลานสาวพระตะกั่วทุ่ง
หรือ พระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช)

มีเรื่องราวดังที่เขียนไว้ในจดหมายหลวงอดุมสมบัติว่า

หลวงพิพิธภักดี ได้พาจีน
ภริยาจากตะกั่วทุ่งมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพฯ
ได้รับภริยาเดิม ชื่อ แต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย
(ส่วนภริยาชาวเมืองไชยาอีก ๒ คน ได้ถึงแก่กรรมก่อน)

เวลานั้น พี่ชายของ หลวงพิพิธภักดี
เป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี
และ พระยาประสิทธิสงคราม (จำ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีครั้งนั้น
ก็เป็นอาของหลวงพิพิธภักดี
ต่อมาหลวงพิพิธภักดีพาภริยาทั้ง ๒
ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เล่ากันมาว่า

หลวงพิพิธภักดี เป็นคนดุ
เมื่อรับราชการเป็นผู้ช่วยราชการเมืองไชยา
เคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคา
เป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีสลดใจลาออกจากราชการ

แต่บางคนบอกเล่าว่า

ต้องออกจากราชการเพราะความขึ้น
เรื่องที่เกี่ยวกับจีนหลานสาวพระตะกั่วทุ่ง
เมื่ออพยพมาอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีนั้นแล้ว
พระพิชัยสงคราม ผู้พี่ชาย จะให้เขารับราชการอีก
หลวงพิพิธภักดี ไม่ยอมรับ สมัครทำนาอาชีพ

รูปภาพ
นายน้อย คชวัตร พระชนก


นายน้อย คชวัตร เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก
ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗
ได้เรียนหนังสือ ตลอดจนถึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ ๒ พรรษา
ในสำนัก พระครูสิงคบุรคณาจารย์ (สุด)
เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน

พระครูสิงคบุรคณาจารย์ เป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดี
และ นางจีน เป็นอาคนเล็กของ นายน้อย คชวัตร เอง
เมื่อลาสิกขาแล้วได้เข้ารับราชการ

เริ่มตั้งแต่เป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรี
และได้แต่งงานกับ นางกิมน้อย เมื่ออายุ ๒๗ ปี

(มีต่อ ๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
นางกิมน้อย คชวัตร พระชนนี


นางกิมน้อย คชวัตร มาจากบรรพชนทางญวนและจีน
บรรพชนสายญวนนั้นเข้ามาในเมืองไทย รัชกาลที่ ๓
เมื่อครั้ง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ยกทัพไปปราบจลาจลเมืองญวน ได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวาย

รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ญวนพวกที่นับถือพระพุทธศาสนาไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี
เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๒ เพื่อรักษาป้อมเมือง

ส่วนพวกที่นับถือคริสต์ศาสนา
ให้ไปรวมอยู่กับพวกญวนเข้ารีตที่ตำบลสามเสน ในกรุงเทพฯ

พวกญวนที่ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีในครั้งนั้น
ได้สร้างวัดญวนขึ้นที่เมืองกาญจนบุรีวัดหนึ่ง ชื่อ วัดครั๊นถ่อตื่อ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดถาวรวราราม”
บรรพชนสายญวนของนางกิมน้อยเป็นพวกที่เรียกว่า “ญวนครัว”
ที่เข้ามาเมืองไทยในครั้งนั้น

ส่วนบรรพชนสายจีนนั้น ตามที่เล่ามาว่า
ได้โดยสารเรือสำเภามาจากเมืองจีน
เรือมาแตกก่อนจะถึงฝั่งเมืองไทย
แต่ก็รอดชีวิตมาขึ้นฝั่งเมืองไทยได้
และได้ไปตั้งหลักฐานทำการค้าอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

นางกิมน้อย คชวัตร
เป็นบุตรของนางเฮงเล็ก แซ่ตัน (สายจีน) และนายทองคำ (สายญวน)
เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ
ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ที่ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

มีชื่อเรียกเมื่อเป็นเด็กว่า “กิมน้อย” แปลว่าเข็มน้อย
คำว่า “กิม” เป็นคำญวณ แปลว่าเข็ม
แต่งงานกับนายน้อย คชวัตร เมื่ออายุ ๒๕ ปี
และใช้ชื่อเมื่อแต่งงานแล้ว
ตามที่พบในสมุดบันทึกของนายน้อย คชวัตร ว่า “แดงแก้ว”
แต่ต่อมาใช้ชื่อว่า “กิมน้อย” หรือ “น้อย” ตลอดมา
นางกิมน้อย คชวัตร พูดญวนได้
และอ่านเขียนภาษาไทยได้เล็กน้อย

ตามประวัติการรับราชการ นายน้อย คชวัตร
ได้เป็นเสมียนอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕
จนเป็นผู้ที่รั้งปลัดขวา

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ต่อมาได้ไปตรวจราชการท้องที่
กลับมาป่วยเป็นไข้อย่างแรง
ต้องลาออกจากราชการคราวหนึ่ง
หายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่

และได้ให้กำเนิดบุตรคนโต
คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนายในปีต่อมา
ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘

(มีต่อ ๒)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)



ในศกนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม
ก็ได้มีโอกาสไปร่วมซ้อมรบด้วย

และในศกเดียวกันนั้นเอง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ขณะประทับที่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
ได้โปรดให้ชาวบ้าน ข้าราชการ นำบุตรหลานเล็กเข้าเฝ้า

ในวันหนึ่ง นายน้อย คชวัตร ก็ได้นำบุตรคนโต อายุ ๒ ขวบ
คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าเฝ้าด้วยในโอกาสนั้น

ต่อมา นายน้อย คชวัตร
ได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ได้ไปป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกขึ้น
เมื่ออาการมากได้กลับมารักษาตัวที่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี
และได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง ๓๘ ปี
ทิ้งบุตร ๓ คน ซึ่งมีอายุน้อยๆ ให้อยู่ในความอุปการะของภริยา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น
ป้าเฮ้ง ผู้เป็นพี่หญิงของนางกิมน้อย
ได้ขอไปเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆ และได้อยู่กับป้าเรื่อยมา

แม้เมื่อ นางกิมน้อย ต้องย้ายไปอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม
ก็หาได้นำเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปด้วยไม่
เพราะเกรงใจป้าซึ่งรัก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาก
ป้าเลี้ยงเจ้าพระคุณสมเด็จด้วยความทะนุถนอม
เอาใจจนใครๆ พากันว่าเลี้ยงตามใจเกินไป
จะทำให้เสียเด็กภายหลัง แต่ป้าก็เถียงว่าไม่เสีย

เมื่อทรงพระเยาว์ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
คนภายนอกมักจะเห็นว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ทรงมีร่างกายอ่อนแอ ขี้อาย เจ็บป่วยอยู่เสมอ

คราวหนึ่งป่วยถึงกับผู้ใหญ่คิดว่าไม่หาย
และบนว่าถ้าหายจะให้บวชแก้บน
ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ทรงมีพระนิสัยทางพระแสดงออกตั้งแต่ทรงพระเยาว์
คือชอบเล่นเป็นพระ ทำคัมภีร์เทศน์เล็ก พัดยศเล็ก


(ตามที่เห็นคือพัดพระครูของท่านพระครูอดุลยสมณิจครั้งนั้น)
เก็บหินมาทำภูเขา มีถ้ำ ทำเจดีย์เล็กบนยอดเขา
เล่นทอดกฐินผ้าป่า เล่นทิ้งกระจาด
และทำรูปยมบาลเล็กด้วยกระดาษแบบพิธีทิ้งกระจาดที่วัดญวน

เมื่อทรงเจ็บป่วยขึ้นผู้ใหญ่ต้องนำรูปยมบาลไปเผาทิ้งเสีย
ในคราวที่ป้าต้องตื่นแต่เช้ามืดออกไปทำงาน
ก็ต้องให้เทียนไว้สำหรับจุดที่นั่งเล่นพราะไม่ยอมนอน

รูปภาพ
ด้านหน้าวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อพระชนมายุได้ ๘ ขวบ
ที่ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน
และโรงเรียนในครั้งนั้นก็คือศาลาวัดนั่นเอง ทรงเรียนจนจบชั้นสูงสุด
คือประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเท่ากับจบประถมศึกษาเมื่อครั้งกระนั้น
ถ้าจะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาก็ต้องย้ายไปเข้า
โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้)
ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี

แต่ครูโรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม
ชวนให้ไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่
โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ ๑
และจะเปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ต่อไปอีก
แต่ไม่มีภาษาอังกฤษเท่านั้น
จึงตกลงเรียนที่ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ต่อไป
มีเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันหลายคนย้ายไปเรียนชั้นมัธยมที่
โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) แล้วมาต่อที่กรุงเทพฯ

ในระหว่างเป็นนักเรียนได้สมัครเป็นอนุกาชาด
และเป็นลูกเสือได้เรียนวิชาลูกเสือ สอบได้เป็นลูกเสือเอก

ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ฝึกซ้อมรบลูกเสืออย่างหนัก
โดยฝึกรบอย่างทหารใช้พลองแทนปืน
เพราะมีกำหนดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม
และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ลูกเสือจากกาญจนบุรีเข้าร่วมการซ้อมรบด้วย
แต่ก็ได้เสด็จสวรรคตในศกนั้นเอง
จึงเป็นอันเลิกเรื่องการซ้อมรบเสือป่าลูกเสือ

ขณะเป็นนักเรียนอยู่นั้นเคยรับเสด็จเจ้านายหลายครั้ง
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช

ได้เสด็จประพาสจังหวัดกาญจนบุรี
และได้เสด็จเยี่ยม โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ครั้งหนึ่ง

รูปภาพ
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช


(มีต่อ ๓)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร


ทรงบรรพชา

ในต้นพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙
จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่ วัดเทวสังฆาราม ๒ คน
พระชนนีและป้าจึงชวนให้บวชเป็นสามเณรแก้บนเสียให้เสร็จ
จึงตกลงพระทัยบวชเป็นสามเณรในศกนั้น เมื่อพระชนมายุเข้า ๑๔ ปี

โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (พุทฺธโชติ ดี เอกฉันท์)
(สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี)
เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูนิวิฐสมาจารย์ (สุวณฺณโชติ เหรียญ รัสสุวรรณ)
(สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณสมาจาร)
เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว)
ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

บรรพชาแล้วจำพรรษาอยู่ที่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)

รูปภาพ
พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์
(สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี)
เมื่อครั้งทรงบรรพชาและทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



ก่อนที่ทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่เคยอยู่วัด
ไม่คุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระทุกองค์
เป็นแต่ไปเรียนหนังสือในวัด
ไปบำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่างๆ ในวัด

เคยพาป้าไปฟังเทศน์ตอนค่ำพรรษาหนึ่ง
มีเทศน์ชาดกติดต่อกันทุกคืนภายในพรรษา
ติดพระทัยเร่งป้าให้ไปฟังนิทานทุกคืน
ถ้าเป็นเทศน์ธรรมะฟังไม่เข้าใจก็เร่งให้กลับ

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้อยู่กับป้าไม่เคยแยก
นอกจากไปแรมคืนเมือเป็นลูกเสือบางครั้งเท่านั้น
คืนวันสุดท้ายก่อนจะทรงบรรพชาเป็นสามเณร ป้าพูดว่า

“คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน”

ซึ่งก็เป็นความจริง ได้แยกจากกันตั้งแต่วันนั้นมา
จนอวสานแห่งชีวิตของป้า (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗)

รูปภาพ
พระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์หมดไปด้วยการท่องสามเณรสิกขา
ทำวัตรสวดมนต์ต่างๆ กับทำอุปัชฌายวัตร ยังมิได้เริ่มศีกษานักธรรม

พระครูอดุลยสมณกิจ หรือหลวงพ่อวัดเหนือ (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)
ได้ต่อเทศน์กัณฑ์อริยทรัพย์ ๗ ประการ แบบต่อหนังสือค่ำให้กัณฑ์หนึ่ง
คือเมื่อเข้าไปทำอุปัชฌายวัตรทุกคืน
ท่านอ่านนำให้ท่องตามทีละวรรค คืนละตอนจนจำได้ทั้งกัณฑ์
แล้วให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่าแก่พุทธบริษัทในคืนวันพระคืนหนึ่ง

ครั้นวันออกพรรษาแล้วก็ยังเพลินอยู่ หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลี
ที่ วัดเสนหา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
เพื่อที่ว่าต่อไปจะได้กลับมาสอนที่ วัดเทวสังฆาราม
ท่านว่าจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้

รูปภาพ
ศาสนสถานภายในบริเวณวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


ครั้นสามเณรและผู้เป็นญาติโยมยินยอมแล้ว
หลวงพ่อจึงนำ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปฝากไว้กับ
พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดเสนหา
เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐

(มีต่อ ๔)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เริ่มเรียนไวยากรณ์ที่วัดเสนหา ในพรรษาศกนั้น
อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจาก วัดมกุฏกษัตริยาราม
ออกพรรษาแล้ว อาจารย์เห็นว่าจะทรงเจริญก้าวหน้าในการเรียน
จึงชักชวนให้ไปอยู่ที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม
และได้ติดต่อฝากฝังทางวัด ให้ทางวัดจัดกุฏิเตรียมสำหรับที่อยู่
และแจ้งว่ามีนิตยภัตบำรุงของเจ้าของกุฏิด้วย

จึงได้หารือเรื่องนี้กับหลวงพ่อ แต่ท่านไม่เห็นด้วย
เพราะท่านคิดจะนำไปฝากให้เรียนต่อที่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่
จึงเป็นอันงดไม่ได้ไปอยู่วัดมกุฏกษัตริยาราม


ส่วน พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) นั้น
ได้อาพาธเป็นวัณโรคถึงแก่มรณภาพในเวลาต่อมา
พระปลัดห้อย (ต่อมาเป็นพระครูสังวรวินัย) เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม
เรียนแปลธรรมบทปี พ.ศ. ๒๔๗๒ อีกพรรษาหนึ่ง
ออกพรรษาแล้วกลับไปพัก วัดเทวสังฆาราม เตรียมเข้ากรุงเทพฯ
เพราะหลวงพ่อได้เข้ามากราบเรียนฝาก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร (พระยศในขณะนั้น)
หรือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(สุจิตฺโต ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)
ในกาลต่อมา และท่านได้กรุณารับไว้แล้ว

รูปภาพ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในกาลต่อมา



เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีโอกาสได้เห็น เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
เป็นครั้งแรกที่วัดเสนหา เมื่อเสด็จออกไปแสดงธรรมเทศนา
ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร)

หลวงพ่อได้นำ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
มาฝาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ก็ได้ทรงพระเมตตารับไว้
และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองดูแลของ
พระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ. ๓ ต่อมาลาสิกขา)

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับประทานพระฉายา
จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ว่า “สุวฑฺฒโณ”
ได้ปฏิบัติทุกอย่างตามกฎกติกาของวัดบวรนิเวศวิหาร
เช่น ซ้อมสวดมนต์ได้จบหลักสูตรของวัด

ในปีแรกที่มาอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร
ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๗๒ พระชนมายุ ๑๗ สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ. ๒๔๗๓ พระชนมายุ ๑๘ สอบได้นักธรรมโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๕ พระชนมายุ ๒๐ สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค


เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร
ขณะนั้น มีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น
ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระราชหัตถ์


ปีต่อจากนั้นก็งด
มีเหลือแต่ไตรสดัปกรณ์เพียง ๑๐ ไตร จนกระทั่งปัจจุบัน

รูปภาพ
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

(มีต่อ ๕)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน ทรงถ่ายภาพร่วมกับพระภิกษุสามเณร
วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี (แถวนั่ง องค์ที่ ๓ จากขวา)



ทรงอุปสมบท

เมื่อ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒
ก็มิได้มาบวชแปลงใหม่เป็นสามเณรธรรมยุต
เพราะหลวงพ่อมีความประสงค์จะให้กลับมาบวช
อยู่ช่วยท่านสอนพระปริยัติธรรมที่ วัดเทวสังฆาราม

ครั้นพระชนมายุครบอุปสมบทได้ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงกลับมาอุปสมบทที่ วัดเทวสังฆาราม
เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖
ตรงกับวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา

โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (พุทฺธโชติ ดี เอกฉันท์)
เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เป็นพระอุปัชฌาย์
(สุดท้ายเลื่อนขึ้นเป็น พระเทพมงคลรังษี ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐)

พระครูนิวิฐสมาจารย์ (สุวณฺณโชติ เหรียญ รัสสุวรรณ)
เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
(สุดท้ายเลื่อนขึ้นเป็น พระโสภณสมาจาร ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓)

พระปลัดหรุง เสี่ยงฉี เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
(ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙)

รูปภาพ
พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม


รูปภาพ
พระครูนิวิฐสมาจารย์ (เหรียญ สุวณฺณโชติ) พระกรรมวาจาจารย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม


รูปภาพ
พระปลัดหรุง เสี่ยงฉี พระอนุสาวนาจารย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
แล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา
แล้วกลับมาพำนักที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ได้ทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุตอีกครั้งหนึ่ง
ตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖
(ขณะนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นต้นปี)
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร


โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(สุจิตฺโต ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)
ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นที่
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระรัตนธัชมุนี (อิสฺสรญาโณ จู ทีปรักษพันธุ์)
ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

มีพระนามฉายาว่า “สุวฑฺฒโน” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้เจริญดียิ่ง

รูปภาพ
พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) พระกรรมวาจาจารย์
เมื่อครั้งทรงอุปสมบทซ้ำ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



แม้มาอุปสมบทอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร แล้ว
ก็ยังเวียนไปมาช่วยหลวงพ่อสอนพระปริยัติธรรมที่ วัดเทวสังฆาราม อยู่อีก ๒ ปี
ระหว่าง ๓ ปีแรกที่ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุนี้ สอบได้ทุกปี คือ

พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุ ๒๑ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๗ พระชนมายุ ๒๒ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๘ พระชนมายุ ๒๓ สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สอบเป็นพระเปรียญ
สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร เรื่อยมาทุกประโยค
เว้นแต่ประโยค ป.ธ. ๗ สอบในนามสำนักเรียน วัดมกุฏกษัตริยาราม

เพราะเจ้าหน้าที่ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ทำตกบัญชีขอเข้าสอบ
จึงไปเที่ยวแสวงหาว่าสำนักเรียนไหน
ส่งชื่อนักเรียนขอเข้าสอบประโยค ป.ธ. ๗ แต่สลละสิทธิ์ไม่สอบ
และทาง วัดมกุฏกษัตริยราม อนุญาตให้เข้าสอบในสำนักเรียนนั้นได้
โดยเลขที่ของผู้ที่สมัครไว้แต่ไม่สอบนั้น
จึงกลายเป็นพระ สำนักเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม ไปประโยคหนึ่ง

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียนภาษาอังกฤษและสันสกฤต
กับ ท่านสวามีสัตยานันทบุรี ปราชญ์ชาวอินเดีย อยู่ประมาณ ๒ ปี
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๗๘ ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร

แต่การเรียนไม่ค่อยสะดวกนัก
เพราะต้องเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมบ้าง บาลีบ้าง ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
และต้องช่วยทำงานอย่างอื่นๆ อีก
เมื่อเวลาสอนมาตรงกับเวลาเรียน ก็ต้องงดการเรียนไปทำการสอน

ในด้านพระปริยัติธรรมได้ทรงสอบบาลีต่อขึ้นไปอีก ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๘๑ พระชนมายุ ๒๘ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๘๒ พระชนมายุ ๒๙ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค


รูปภาพ
ทัศนียภาพภายในวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

(มีต่อ ๖)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระเปรียญ


๏ พระศาสนกิจและสมณศักดิ์

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเริ่มรับภาระทางวัด
และทางการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรี เปรียญโท
คือเป็น ครูสอนพระปริยัติธรรม นักธรรมบ้าง บาลีบ้าง

และเมื่อมีวิทยะฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลี
ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการตรวจและบาลีแห่งสนามหลวง เรื่อยมา
ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีถึงชั้นเอก
ตั้งแต่ประโยค ป.ธ. ๓ ถึง ประโยค ป.ธ. ๙
ได้ทรงรับภาระทางคณะสง์และการพระศาสนาต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ

• พ.ศ. ๒๔๘๔

เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง
(ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔)
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ฉบับนี้ได้เลิกใช้
เมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แทน

เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย
ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
และเป็น ผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระเปรียญ


• พ.ศ. ๒๔๘๘

เป็นพระวินัยชั้นอุทธรณ์
เป็น กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

• พ.ศ. ๒๔๘๙

เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระสูตร และพระอภิธรรม
ในสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

• พ.ศ. ๒๔๙๐

พระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโศภณคณาภรณ์
(มีความหมายว่า ผู้เป็นอาภรณ์หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม)
ซึ่งเป็นพระราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นรูปแรก
และเป็น กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระโศภณคณาภรณ์


• พ.ศ. ๒๔๙๓

เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

• พ.ศ. ๒๔๙๓

เป็น กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว

• พ.ศ. ๒๔๙๔

เป็น กรรมการอำนวยการมหามกูฏราชวิทยาลัย
กรรมการแผนกตำราของมหามกุฏฯ


• พ.ศ ๒๔๙๕

ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
และเป็นผู้ร่วมในคณะฑูตพิเศษที่มหามกุฏราชวิทยาลัย
ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุและพระอัครสาวกธาตุ
ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

• พ.ศ. ๒๔๙๖

เป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา

• พ.ศ. ๒๔๙๗

เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
และเป็นผู้ร่วมในคณะพระเถระแห่งคณะสงฆ์ไทยไปร่วมประชุมสมัยที่ ๒
แห่ง ฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎก ณ กรุงร่างกุ้ง ประเทศพม่า

• พ.ศ. ๒๔๙๘

ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม

รูปภาพ
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร



• พ.ศ. ๒๔๙๙

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชอุปัธยาจารย์
ของ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงเลือกพระองค์เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระโศภณคณาภรณ์
ให้เป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ในระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙
พร้อมทั้งได้ถวายความรู้ในพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงพระผนวช

และในอภิลักขิตสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น
ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์
(มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ)
ซึ่งเป็นพระราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นรูปแรก
และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมวราภรณ์

(มีต่อ ๗)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็น “พระอภิบาล” ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

(มีต่อ ๘)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์ ณ วัดเทวสังฆาราม
เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมวราภรณ์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=48818


• พ.ศ. ๒๕๐๐

เป็น กรรมการพิจารณาร่างระเบียบบริหารวัดธรรมยุต
และได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์

• พ.ศ. ๒๕๐๑

เป็น กรรมการคณะธรรมยุต
และเป็น กรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)

• พ.ศ. ๒๕๐๓

เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง สั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
องค์การหนึ่งๆ มีสังฆมนตรีสองรูป
สำหรับฝ่ายมหานิกายหนึ่งรูป สำหรับฝ่ายธรรมยุตหนึ่งรูป
และเป็นกรรมการดำเนินการสร้างธรรมสภา (แต่โครงการนี้ได้หยุดชะงักไป)

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองฯ
ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่พระธรรมวราภรณ์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49524


• พ.ศ. ๒๕๐๔

ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
(คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ
(มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนาหรือผู้ยังพระศาสนาให้งาม)

เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ลำดับที่ ๖ สืบต่อจากพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
เป็น ผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็น ประธานกรรมการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

เป็น กรรมการโครงการเชิดชูและบำรุงพระพุทธศาสนา โดยตำแหน่ง
เป็น ผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตทุกภาคทั่วราชอาณาจักร

• พ.ศ. ๒๕๐๖

เป็น พระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๐๕ มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
กล่าวคือ ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
แล้วให้ใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แทน
ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ กำหนดให้มหาเถรสมาคม (มส.)
มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน บริหารปกครองคณะสงฆ์
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
นับเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก
ซึ่งประกอบไปด้วยพระมหาเถระทั้งหมด ๘ รูป คือ

(๑) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ
ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘)

(๒) สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม
ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔)

(๓) สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖)

(๔) พระธรรมปัญญาบดี (วน ฐิติญาโณ) วัดอรุณราชวราราม
ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐)

(๕) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑)

(๖) พระสาสนโสภณ (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร
คือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ
(สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖)

(๗) พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สาลี อินฺทโชโต) วัดอนงคาราม
(มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑)

(๘) พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) วัดสัมพันธวงศ์
(มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐) ครั้นถึงเดือนพฤษาคม ศกเดียวกัน (พ.ศ. ๒๕๐๖)
ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระมหารัชชมังคลาจารย์


อนึ่ง กรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรกนี้
ได้ประชุมกันครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดสระเกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
ทุกสมัยตั้งแต่เริ่มต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี
และเป็น อนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคม ตลอดมาทุกสมัย

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระสาสนโสภณ
และกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)



• พ.ศ. ๒๕๐๗

เป็น อนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบการเดินทางไปต่างประเทศ
ของพระภิกษุสามเณร

เป็น ผู้ถวายพระธรรมเทศนา “พระมงคลวิเสสกถา” (วิเศษกถา)
ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลปัจจุบัน
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗

พระมงคลวิเสสกถา เป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง เริ่มมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๔
ซึ่งพรรณนาพระราชจรรยาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเพื่อประโยชน์
จะได้ทรงพระปัจจเวขณ์ (คือพิจารณา) ถึงแล้ว เกิดพระปีติปราโมทย์แล้ว
ทรงบำเพ็ญราชธรรมนั้นยิ่งๆ เป็นการอุปถัมภ์พระราชจรรยาให้ถาวรไพบูลย์
พระเถระที่จะรับหน้าที่ถวายในครั้งนั้น สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ปัจจุบัน การถวายพระมงคลวิเสสกถาเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช
หรือพระเถระรูปใดรูปหนึ่งที่สมเด็จพระสังฆราชทรงมอบหมาย

• พ.ศ. ๒๕๐๙

เป็น ประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
และในฐานะที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ได้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง

เพื่อพิจารณาเพิ่มการศึกษาระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
กำหนดให้หลักสูตรพระธรรมทูตรวมอยู่ด้วย
เพราะผู้ที่มารับการศึกษาอบรมพระธรรมฑูตนั้น
ได้ผ่านการศึกษาขั้นปริญญาตรีของสองมหาวิทยาลัยสงฆ์มาแล้ว

ทั้งเป็นการช่วยให้พระที่ต้องการจะศึกษาต่อปริญญาโท
ไม่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
เป็นการช่วยประหยัดการใช้จ่ายของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย

และในโอกาสเดียวกันก็ได้เสนอมหาเถรสมาคม
ให้รับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์
คือสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในวัดบวรนิเวศวิหาร
และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์


ผลปรากฏว่า ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
คณะสงฆ์ก็ได้รับรองสองมหาวิทยาลัยสงฆ์
เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์นับว่าเป็นครั้งแรก
ที่ทำให้สองมหาวิทยาลัยสงฆ์ดังกล่าวมาแล้ว
เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์โดยถูกต้องสมบูรณ์

สำหรับข้อพิจารณาเพิ่มการศึกษาขั้นปริญญาโทของคณะสงฆ์ขึ้น
แม้ว่าโครงการนี้จะยังไม่สำเร็จตามโครงการในขณะนั้น
แต่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
ก็ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทขึ้นเป็นผลสำเร็จ

นับว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงมีพระคุณูปการ
แก่การศึกษาของคณะสงฆ์ในด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง


• พ.ศ. ๒๕๑๐

เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาประจำปี ๒๕๑๑
เป็นประธานอนุกรรมการพิจาณาร่างระเบียบมหาเถรสมาคม
ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติในการปลูกสร้างอากาศในที่ดินของวัดซึ่งที่ผู้เช่าอยู่

เป็นประธานอนุกรรมการพิจาณาหลักเกณฑ์ยกเว้นค่าโดยสารรถไฟ
ให้พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา
และเป็นอนุกรรมการพิจาณณาแก้ไขข้อขัดข้องในระหว่างวัดกับผู้เช่า (พ.ว.ช.)

• พ.ศ. ๒๕๑๑

เป็น ประธานอนุกรรมการพิจารณาโครงการรับการศึกษา
ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์

• พ.ศ. ๒๕๑๒

เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโครงการจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง

• พ.ศ. ๒๕๑๔

เป็น ประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างกฏมหาเถรสมาคม
ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ


• พ.ศ. ๒๕๑๕

เป็น พระธานกรรมการบริหารงานของสภาการศึกษาของคณะสงฆ์
เป็น รองประธานกรรมการและผู้อำนวยการ
โรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุต

เป็น เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ (ธรรมยุต)
และเป็น ประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน

• พ.ศ. ๒๕๑๖

เป็น ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์

(มีต่อ ๙)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
(พระรูปฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙)



๏ สมเด็จพระญาณสังวรรูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในอภิลักขิตกาลเฉลิมพระชนมพรรษาที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
สมเด็จพระราชาคณะในราชทินนามนี้ มีขึ้นเมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์

คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในวิปัสสนาคุณ
ของพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา

จึงทรงอาราธนามาให้ครองวัดพลับ (คือวัดราชสิทธาราม)
และพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระญาณสังวรเถร”
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของ
สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนนาท
และบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

สมัยดำรงพระราชอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓
สมัยทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

และเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔
สมัยทรงผนวชเป็นสามเณร

ถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่
“สมเด็จพระญาณสังวร” และกล่าวกันว่าท่านนั่งหน้า
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
เสมอในงานราชการเพราะมีพรรษายุกาลมากกว่า

รูปภาพ
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน”



ครั้นเมื่อสมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์แล้ว
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ท่านทรงเป็นที่เลื่องลือมากในทางวิปัสสนาคุณ
โดยเฉพาะทางเมตตาพรหมวิหารคุณ กล่าวกันว่า
สามารถแผ่เมตตาจนทำให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้
ชาวประชาทั้งหลายจึงมักพากันขนานพระนามท่านว่า
“สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน”

ในราชทินนามตำแหน่งที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
ซึ่งพระองค์ท่านได้รับพระราชทานเป็นรูปแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จึงเป็นที่รู้จักและจดจำกันได้ติดใจของคนทั่วไป


ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ราชทินนามตำแหน่งที่ สมเด็จพระญาณสังวร ก็ไม่ได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดอีกเลยนับแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา


กระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร) วัดบวรนิเวศวิหาร
ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงนับเป็น
“สมเด็จพระญาณสังวร” รูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ในคราวที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร ทรงปรารภว่า
“ถ้าไม่มีสมเด็จญาณสังวรฯ (สุก ไก่เถื่อน) รูปที่ ๑
ก็คงไม่มีสมเด็จญาณสังวรฯ รูปที่ ๒
พระองค์นับว่าเป็นผู้มีพระคุณท่านหนึ่ง”


ฉะนั้น เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
จึงเสด็จไปถวายสักการะพระรูปและพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) และที่วัดมหาธาตุ ตลอดมาทุกปี


นับแต่ปีที่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร)
ขึ้นเป็นสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น นับเป็นเวลา ๑๕๒ ปี
ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง ๖ รัชกาลที่ว่างเว้นไม่ได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดในราชทินนามตำแหน่งนี้


ราชทินนามตำแหน่งที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ตามพระนาม หมายถึง ผู้สำรวมในญาณคือความรู้
หรือผู้มีความสำรวมในความรู้อย่างยิ่ง
(“ญาณ” หมายถึง ความรู้ และ “สังวร” หมายถึง สำรวม)


หรือหากอ้างถึงพระอรรถกถา ความหมายของ “ญาณสังวร”
จะเป็นหัวข้อหนึ่งใน สังวรวินัย ๕ คือ
สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร และวิริยสังวร
และดังได้มีอรรถาธิบายความหมายของ “ญาณสังวร” ว่า

สังวรที่ตรัสไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
“ดูก่อนอชิตะ กระแส (ตัณหา) เหล่าใดในโลกมีอยู่
สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น
เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็นเครื่องระวังกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านั้นอันบุคคลย่อมละด้วยปัญญานี้เรียกว่า ญาณสังวร”

ขุ.สุ. ๒๕/๔๒๕/๕๓๐


เพราะฉะนั้นราชทินนามตำแหน่งที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” นี้
จึงกล่าวได้ว่า เป็นตำแหน่งที่มีความหมายสำคัญในประวัติการณ์
ของคณะสงฆ์ไทยแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตำแหน่งหนึ่ง

อนึ่ง ในวโรกาสที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับสถาปนา
เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นี้


คณะชาวจังหวัดกาญจนบุรี
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นประธาน
ได้พร้อมใจกันจัดงานสมโภชสุพรรณบัฏ
ในวันที่ ๒๑-๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖
ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี

คณะกรรมการจัดงานได้มีมติให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
สำหรับเป็นที่ระลึกบูชาของคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ
ในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขึ้น จำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ (สองหมื่นเหรียญ)


รูปภาพ
เหรียญสมโภชน์พระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ (ด้านหน้า)



ลักษณะเป็นเหรียญทองแดงรมดำ ขนาด ๒.๗-๓ เซนติเมตร
ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินสีห์
ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถพระวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร
มีจารึกอักษรขอม มีมุม มุมๆ ละหนึ่งตัว
อ่าน น ชา ลิ ติ เป็นหัวใจคาพระสิวลี หริอพระฉิมพลี

ใต้รูปพระพุทธชินสีห์มีจารึก

“สมโภชน์พระสมณศักดิ์สมเด็จพระญาณสังวร ๒๒ เมษายน ๒๕๑๖”

สำหรับด้านหลังเป็นคำอำนวยพร
ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับจารึกในเหรียญนี้เป็นพิเศษ
และมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับประวัติของพระองค์ด้วย ดังนี้


อิสฺวาสุรตนตฺตยํ

ขอรัตนสาม คือ อิ (อิติปิโส ภควา, สวา (สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม),
สุ (สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ)

รกขตุ ตฺวํ นิรนฺตรํ

จงรักษาท่านชั่วนิรันดร์

โหตุ สวฑฺฒโน สาธุ

จงเป็นผู้เจริญดี เป็นคนดี

สพฺพตฺถ ญาณสํวโร

และจงเป็นผู้สำรวมในญาณ (คือ ความรู้) ทุกเมื่อแล


รูปภาพ
เหรียญสมโภชน์พระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ (ด้านหลัง)



คำว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งแปลว่า “ผู้เจริญดียิ่ง”
มาจากนามฉายาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ

คำว่า “ญาณสํวโร” ซึ่งแปลว่า ผู้สำรวมในญาณคือความรู้
หรือผู้มีความสำรวมในความรู้อย่างยิ่ง
(“ญาณ” หมายถึง ความรู้ และ “สังวร” หมายถึง สำรวม)
มาจากราชทินนาม “สมเด็จพระญาณสังวร”


(มีต่อ ๑๐)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


• พ.ศ. ๒๕๑๖

ในฐานะคณะกรรมการมหาเถรสมาคม
และรองประธานคณะกรรมการคณะธรรมยุต
ทรงได้รับฉันทานุมัติจากคณะกรรมการคณะธรรมยุต
ให้เสด็จไปทรงตรวจการณ์คณะสงฆ์

และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม ๙ จังหวัด
คือจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดขอนแก่น

• พ.ศ. ๒๕๑๗

เป็นคณะกรรมการคณะธรรมยุต

• พ.ศ. ๒๕๑๘

เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนครูปริยัติธรรม คณะธรรมยุต

• พ.ศ. ๒๕๑๙

เป็นกรรมการคณะมูลนิธิสังฆประชานุเคราะห์

• พ.ศ. ๒๕๒๐

เป็น ประธานอำนวยการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย

รูปภาพ
เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร
ในการทรงผนวช และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



• พ.ศ. ๒๕๒๑

เป็น พระราชกรรมวาจาจารย์ ของพระภิกษุ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามกุฏราชกุมาร
เมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และเป็นพระอาจารย์ถวายการอบรมพระธรรมวินัย
ขณะที่พระภิกษุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามกุฏราชกุมาร เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ในระหว่างวันจันทร์ที่ ๖ ถึง วันจันทร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑

เป็นรองประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์

• พ.ศ ๒๕๒๒

เป็นประธานอำนวยการมูลนิธิสิรินธร

• พ.ศ. ๒๕๒๔

ในฐานะ กรรมการมหาเถรสมาคม
และ ประธานกรรมการคณะธรรมยุต
ทรงได้รับฉันทานุมติจากคณะกรรมการคณะธรรมยุต
ให้เสด็จไปทรงตรวจการคณะสงฆ์
และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชนในภาคเหนือ รวม ๑๐ จังหวัด

คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง
จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย
จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดอุรดิตถ์ และจังหวัดกำแพงเพชร

• พ.ศ. ๒๕๒๕

เป็นผู้ถวาย พระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา (วิเศษกถา)
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และถวายตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

รูปภาพ
พระรูปสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี



• พ.ศ. ๒๕๒๖

เป็น ประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์

• พ.ศ. ๒๕๒๗

เป็น ประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา
เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของคณะสงฆ์

• พ.ศ. ๒๕๒๘

เป็น ผู้อ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
ในกระบวนพระราชอิสริยยศ สู่ พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง

เป็น รองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์
ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก

เป็น สังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก
ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

จนสำเร็จทันในการพระราชพิธีฉลองเฉลิมพระชนมพรรษา

• พ.ศ. ๒๕๓๐

เป็น พระประธานกรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม
เป็นประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสงเคราะห์และฟื้นฟูจิตใจผู้ติดยาเสพติด

และเป็น พระอุปัชฌาย์ ในวโรกาส
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการ หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล
พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามกุฏราชกุมาร
ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา

• พ.ศ. ๒๕๓๑

รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี
ทรงเป็น นายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
และ นายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยฯ

รูปภาพ
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

(มีต่อ ๑๑)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร) ขึ้นเป็น
“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และเป็น “เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต”
สืบต่อจาก
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล
สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ
สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง
วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ
วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร
สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช


สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง
ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ
คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนา เทอญฯ

หากถอดความหมายของพระนามแล้ว
จะเห็นเป็นที่ประจักษ์ในคุณลักษณะและพระเกียรติคุณ
แห่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ หลายประการ ดังนี้


สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระผู้มีธรรมเป็นเครื่องระวัง
อันประกอบด้วยพระปรีชาญาณ

บรมนริศรธรรมนีติภิบาล
ทรงเป็นพระอภิบาล หรือพระพี่เลี้ยงในการถวายแนะนำพระธรรม
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นใหญ่อย่างยิ่งในหมู่นรชน

อริยวงศาคตญาณวิมล
ผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทินด้วยพระญาณ
อันสืบมาแต่วงศ์แห่งพระอริยเจ้า

สกลมหาสังฆปริณายก
ผู้นำแห่งสังฆะทั้งปวง

ตรีปิฎกปริยัตติธาดา
เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือ พระไตรปิฎก

วิสุทธจริยาธิสมบัติ
ทรงถึงพร้อมอย่างยิ่งด้วยพระจริยา คือ ความประพฤติอันบริสุทธิ์วิเศษ

สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต
ปรากฏพระนามหรือพระฉายาในทางพระสงฆ์ว่า สุวัฑฒนะ

ปาวจนุตตมพิสาร
ทรงพระปรีชากว้างขวางในพระอุดมปาพจน์
(คำอันเป็นประธาน คือ พระธรรมวินัยอันสูงสุด)

สุขุมธรรมวิธานธำรง
ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมวิธีอันละเอียดอ่อน

วชิรญาณวงศวิวัฒ
ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

พุทธบริษัทคารวสถาน
ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัท

วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ
ทรงพระคุณอันเจริญด้วยพระปฏิภาณอันวิจิตร

วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร
ทรงงดงามด้วยพระศีลจารวัตรอันไพบูลย์

บวรธรรมบพิตร
ผู้เป็นใหญ่ในพระธรรมอันประเสริฐ

สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี
ทรงเป็นประธานและอธิบดีผู้เป็นใหญ่ เป็นอิสระแห่งสังฆะทั้งปวง

คามวาสี อรัณยวาสี ทั้งพระบ้าน และพระป่า


สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง
ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ
คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนา เทอญฯ

ผู้แปลความพระสุพรรณบัฏ
นายสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙
นายสุชีพ ปุญญานุภาพ ป.ธ. ๙ ตรวจ
นายแปลก สนธิรักษ์ ป.ธ. ๙ ตรวจ

หมายเหตุ : บวรธรรมบพิตร
บวร หมายถึง ประเสริฐ ล้ำเลิศ บริสุทธิ์
ธรรม หมายถึง ธรรมะ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บพิตร หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ ประมุข

“บวรธรรมบพิตร” จึงหมายถึง พระผู้เป็นใหญ่ในพระธรรมอันประเสริฐ
คือ สมเด็จพระสังฆราช ที่ประทับ ณ วัด “บวร” นิเวศวิหาร
คือ พระผู้เชื่อมร้อยการพัฒนา “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ด้วยพระธรรมอันประเสริฐ
คือ พระผู้เผยแผ่ “พระธรรมอันบริสุทธิ์” มายาวนานกว่า ๘๖ ปี
คือ “องค์พระประมุขสูงสุด” ผู้ทรงธรรมอันล้ำเลิศแห่งพระพุทธศาสนาโลก


รูปภาพ

(มีต่อ ๑๒)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระแท่นเศวตฉัตร ๓ ชั้น
หนึ่งในเครื่องประกอบพระสมณศักดิ์สำคัญที่สมเด็จพระสังฆราช



พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

เมื่อการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเสร็จสิ้นลงในภาคเช้าแล้ว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีสถาปนา
สมเด็จพระสังฆราช ในภาคบ่ายวันเดียวกัน

เจ้าพนักงานได้เตรียมการตั้งแต่ง
และตรวจแต่งเครื่องประกอบ
พระราชพิธีในพระอุโบสวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพิ่มเติม ดังนี้

บนธรรมาสน์ศิลาหน้าฐานพระเบญจาบุษบก
ที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ประดับตกแต่งด้วยแจกันดอกบัวขาวแซมด้วยดอกหน้าวัว
ตั้งโต๊ะสลักลายปิดทอง
ปูด้วยผ้าขาววางพานพระมหาสังฆ์ทักษิณาวัฏ
พร้อมด้วยเรื่องยศสมณศักดิ์
ประกอบด้วยพระสุพรรณบัฏวางบนพานแว่นฟ้า
กลีบบัวครอบด้วยคลุมปักดิ้นทอง

ใบกำกับพระสุพรรณบัฏและใบประกาศพระบรมราชโองการ
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชวางที่ขอบพานกลับบัว
พระตราตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช
วางบนตะลุ่มพุก พัดยศ ไตร แพรวางบนตะลุ่มมุก
บาตรพร้อมด้วยฝาและเชิงบาตรรมปัด

เครื่องถมปัดมี พานพระศรี
ประกอบด้วยมังสี ๒ ตลับพู่ ๑ จอก ๑ ซองพลู ๑ (พร้อมพลู)
ขันน้ำพานรองมีจอกคลุมตาดรูปฝาชี
ถาดสรงพระพักตร์ หีบตราพระจักรี (หีบหลังเจียด)
คณโฑ กาทรงกระบอก หม้อลักจั่น
ปิ่นทรงกลม ๔ ชั้น สุพรรณราช สุพรรณศรี

หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่
พร้อมพระแท่นทรงกราบสำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และทอดเครื่องนมัสการทองทิศ
สำหรับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ

แนวผนังพระอุโบสถด้านใต้ ปูพรมที่สีแดงลาดสุหนี่ทับ
ทอดพระราชอาสน์สำหรับเป็นที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยเครื่องราชูปโภค
มีพานพระขันหมาก พระสุพรรณศรีทองคำลงยา
พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ พระสุพรรณาราช
พระแสงปืนและพระแสงง้าวด้ามทอง

แถวที่สองหลังพระราชอาสน์ทอดพระราชอาสน์
สำหรับเป็นที่ประทับของ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (พระเก้าอี้เหลืองตัด)
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

แถวที่สามชิดผนังพระอุโบสถ
ตั้งเก้าอี้สำหรับราชเลขาธิการ
เลขาธิการพระราชวังสมุหราชองครักษ์ และผู้ตามเสด็จฯ

หลังพระฉากพระทวารด้านทิศใต้
จัดเก้าอี้เฝ้าฯ เป็น ๓ แถว
ชิดผนังแถวที่ ๑ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน
แถวที่ ๒ สำหรับประธานองคมนตรี และคณะองคมตรี
และแถวที่ ๓ สำหรับนายกรัฐมนตรี
ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา
คณะรัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายพลเรือน

แนวผนังพระอุโบสถด้านหนือตรงข้ามที่ประทับ
ตั้งอาสนสงฆ์เก้าอี้ แถวหน้า ๑ ตัว
แถวหลังยกพื้นบุด้วยผ้าขาวสำหรับพระสงฆ์ ๑๓๖ รูป
นั่งเจริญชัยมงคลคาถา

ในแถวอาสนะสงฆ์เก้าอี้
จัดไว้เป็นที่ประทับสำหรับ สมเด็จพระสังฆราช
พร้อมด้วยโต๊ะเคียงวางพระศรีพานแก้ว
ขันน้ำพ้นรองแก้ว และกระโถนไว้พร้อม ๑ ที่
และสำหรับสมเด็จพระราชาคณะ ๕ รูป
พระราชาคณะซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป
ต้นอาสนะสงฆ์ติดกับที่ประทับ สมเด็จพระสังฆราช
ทอดเครื่องยศสมณศักดิ์สำหรับ สมเด็จพระสังฆราช

คือพระแท่นเศวตฉัตร ๓ ชั้น ตกแต่งด้วยแจกันดอกบัวขาว
บนพระแท่นตั้งโต๊ะสลักลายปิดทองปูด้วยผ้าเยียรบับ
และหน้าพระแท่นตั้งโต๊ะเคียง ๒ ตัว ปูด้วยผ้าเยียรบับเช่นกัน
สำหรับวางเครื่องยศสมณศักดิ์ที่จะได้รับพระราชทาน

กลางพระอุโบสถ ตั้งอาสนะสงฆ์ยกพื้นปูผ้าขาว
และบุรอบด้วยผ้าขาวปิดทองแผ่ลวดฉลุลายดอกลอย
สำหรับเป็นที่นั่งของสมเด็จพระราชาคณะ
และพระราชาคณะซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
ขณะสดับประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
แล้วนำพระสงฆ์สวดคาถาสังฆานุโมทนา

ท้ายอาสนะสงฆ์ ตั้งฆ้องชัย และเป็นที่ยืนของชาวพนักงานประโคม

ที่ชานหน้าพระอุโบสถตรงกับพระทวารกลาง
ตั้งเก้าอี้สำหรับบรรพชิตจีนและบรรพชิตญวน
พร้อมด้วยโต๊ะเคียงปูผ้าขาววางพานเรื่องสักการะ
ที่จะถวายแด่ สมเด็จพระสังฆราช

ถัดออกไปทางด้านทิศเหนือและทิศใต้
และระเบียงพระอุโบสข้างพระทวารด้านทิศใต้
ตั้งเก้าอี้สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

ที่มุมระเบียงพระอุโบสถด้านทิศเหนือ
ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางพานผ้าไตร และตั้งเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์นั่งพัก

ที่ชานหลังพระอุโบสถ
ตั้งเก้าอี้สำหรับสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และพระสงฆ์นั่งพัก


รูปภาพ

(มีต่อ ๑๓)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ครั้นใกล้ถึงเวลาเสด็จพระราชดำเนิน พระบรมวงศานุวงศ์
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี พร้อมด้วย องคมนตรี
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา สมาชิกรัฐสภา
นายจำรัส เขมะจารุ ประธานศาลฎีกา
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร พลเรือน
และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมกัน
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ที่ลานนอกกำแพงแก้วพระอุโบสถด้านทิศเหนือ
มีประชาชนรอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ข้างทางลาดพระบาทเป็นจำนวนมาก

• เวลา ๑๖ นาฬิกา ๑๕ นาที

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
เสด็จพระราชดำเนินถึงพระอุโบสถประทับ ณ พระเก้าอี้ที่ทอดถวายไว้

• เวลา ๑๖ นาฬิกา ๒๕ นาที

เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา
อาราธนาสมเด็จพระราชาคณะ ๕ รูป มี

สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร ป.ธ. ๙)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธโร ฟื้น พรายภู่ ป.ธ. ๙)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธมฺมสาโร วิน ทีปานุเคราะห์ ป.ธ. ๙)
สมเด็จพระวันรัต (ฐิตธมฺโม จับ สุนทรมาศ ป.ธ. ๙)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสโภ อาจ ดวงมาลา ป.ธ. ๘)

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (เขมจารี สนิท ทั่งจันทร ป.ธ. ๙)
อาพาธมิได้มาร่วมในพระราชพิธี

และพระราชาคณะที่เป็นคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป มี

พระพุทธิวงศมุนี (สุวณฺณโชโต สุวรรณ วงศ์เรืองศรี ป.ธ. ๗)
พระพรหมคุณาภรณ์ (อุปเสโณ เกี่ยว โชคชัย ป.ธ. ๙)
พระพรหมมุนี (จนฺทปชฺโชโต สนั่น สรรพสาร ป.ธ. ๙)
พระธรรมวโรดม (ฐานิสฺสโร นิยม จันทนินทร์ ป.ธ. ๙)
พระธรรมปัญญาบดี (วรปุญฺโญ ช่วง สุดประเสริฐ ป.ธ. ๙)
พระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก ป.ธ. ๖)
และพระธรรมบัณฑิต (ถาวโร มานิต ก่อบุญ ป.ธ. ๙)


รวม ๑๓ รูป ขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์เก้าอี้แถวหน้าพระสงฆ์ราชาคณะ

นอกนั้นขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์ยกพื้นแถวหลังโดยลำดับ

• เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินพร้อม
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูวิเศษไชยศรี
ทหารกองรักษาการแต่งเต็มยศถวายความเคารพ

อนึ่งในวันนั้น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

ทรงฉลองพระองค์จักรีเต็มยศ
ทรงสายสะพายราชอิสริยาภรณ์
อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
สายสร้อยจักรี ประดับดาราราชอิสริยาภรณ์

• เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๕ นาที

รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวังรับเสด็จ
ตำรวจหลวง ๔ นาย นำเสด็จผ่านเถวทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
รับเสด็จและแซงเสด็จ

เสด็จพระราชดำเนินไปตามทางลาดพระบาทเข้าสู่พระอุโบสถ
ทรงจุดธุปเทียนท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระสังฆพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว
เสด็จไปที่อาสนสงฆ์ ทรงประเคนผ้าไตรแด่สมเด็จพระราชคณะ ๕ รูป

ส่วนพระราชาคณะที่เป็นคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป
เดินเข้าไปรับพระราชทาน
จากนั้นทรงรับถวายการเคารพของผู้มาเฝ้าฯ
แล้วประทับพระราชอาสน์

สมเด็จพระราชาคณะลงจากอาสนะสงฆ์ไปครองผ้าที่ในพระฉากหลัง
พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ส่วนพระราชาคณะกรรมการมหาเถรสมาคม
ออกจากพระอุโบสถไปครองผ้าที่พระระเบียงข้างพระอุโบสถ
เมื่อครองเสร็จแล้วเข้าไปนั่งยังอาสนะสงฆ์ที่เดิม

• เวลา ๑๖ นาฬิกา ๕๐ นาที

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
สยามินทราธิราช บรมนาถบบพิตร
เสด็จไปทรงจุดธุปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศ
บูชาพระรัตนตรัยที่หน้าธรรมาสน์ศิลา
ทรงกราบแล้วประทับพระราชอาสน์

เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถมภ์ กรมการศาสนา
นิมนต์สมเด็จพระราชาคณะะทั้ง ๕ รูป
พระราชาคณะที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป รวม ๑๓ รูป
ไปนั่งยังแท่นอาสนสงฆ์กลางพระอุโบสถ
หันหน้าสู่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

โดยนั่งเรียงเป็น ๓ แถว คือ

แถวแรก (จากขวาไปซ้าย)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุฒาจารย์

แถวที่ ๒ (จากขวาไปซ้าย)

พระพุทธพจนวราภรณ์ พระพุทธิวงศมุนี
พระพรหมคุณาภรณ์ พระพรหมมุนี

แถวที่ ๓ (จากขวาไปซ้าย)

พระธรรมวโรดม พระธรรมปัญญาบดี พระธรรมดิลก พระธรรมบัณฑิต

• เวลา ๑๖ นาฬิกา ๕๖ นาที

เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล
สมเด็จพระญาณสังวรถวายศีล ทรงศีล จบแล้ว

• เวลา ๑๗ นาฬิกา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอาลักษณ์
กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรฐมนตรี
อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
ผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ที่นั้น
ยืนขึ้นเคารพพระบรมราชโองการพร้อมกัน

นายสุรินทร์ ศรีวิทยา ผู้อำนายการกองประกาศิต
ถวายคำนับแล้วออกไปยืนที่หน้าไมไครโฟน
ซึ่งตั้งไว้ที่มุมช่องว่างด้าน
พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ถวายคำนับอีกครั้งหนึ่ง
แล้วอ่านประกาศพระบรมราชโองการ ดังนี้


(มีต่อ ๑๔)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร