วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2013, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ในปัจจัยสังคหะนี้ มีการอุปการะอยู่ ๒ นัย คือ
๑. ปฏิจจสมุปบาทนัย
๒. ปัฏฐานนัย

เป็นการแสดงให้รู้ถึงความต่างกันระหว่างนััยทั้ง ๒ คือ การแสดงเหตุผล ตามนัยแห่ง
ปฏิจจสมุปบาทนั้น แสดงเพียงให้รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ล้วนแต่เป็น
ผลที่เกิดมาจากธรรมที่เป็นเหตุทั้งสิ้น ที่จะเกิดขึ้นเอง หรือมีผู้สร้างให้เกิดโดยไม่ได้
อาศัยธรรมที่เป็นเหตุนั้นย่อมไม่มีเลย หมายความว่าเมื่อมีเหตุมีปัจจัยครบบริบูรณ์แล้ว
ผลก็ย่อมปรากฏขึ้นเป็นธรรมดา แต่ไม่ได้แสดงถึงอำนาจของปัจจัยนั้นๆ ว่า การช่วย
อุปการะของปัจจัยนั้นๆ เป็นไปโดยอำนาจเหตุบ้าง อารมณ์บ้าง อธิบดีบ้าง เป็นต้น

ส่วนการแสดงเหตุผลตามนัยแห่งปัฏฐานนั้น แสดงให้รู้ว่าสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย
ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นเหตุผลเกี่ยวเนื่องกันตามสมควร ที่ปรากฏขึ้นโดยไม่เกี่ยวเนื่อง
กับเหตุผลนั้นไม่มีเลย และแสดงถึงอำนาจของปัจจัยนั้นๆ ด้วยว่า การอุปการะของปัจจัยนั้นๆ
เป็นไปโดยอำนาจแห่งเหตุบ้าง อารมณ์บ้าง อธิบดีบ้าง เป็นต้น

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2013, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้รูปนามตามเหตุผล

โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐาน

ในการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นไปของบรรดาสิ่ง
ที่ไม่มีชีวิตในโลกนี้ที่ปรากฏขึ้น ก็โดยอาศัยมีเหตุผลเกี่ยวเนื่องกันโดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทและ
ปัฏฐานนั้น ก็เพื่อประสงค์จะให้สัตว์ทั้งหลายได้มีความรู้ความเข้าใจในเหตุผลในความเป็นอยู่ของ
ตัวเองว่า รูปนามที่สมมติกันว่า เรา เขา ที่ปรากฏอยู่นี้ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สร้างขึ้น มีแต่เหตุกับผล
เกี่ยวเนื่องกันตามสภาวะเท่านั้น ไม่มีตัวตน เรา เขา อย่างใดเลย ความรู้ความเข้าใจในรูปนาม
ตามเหตุผลเช่นนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำให้ผู้รู้นั้นได้พ้นจากวัฏฏทุกข์ทั้งปวงเพราะสามารถละสักกายทิฏฐิ
และวิจิกิจฉา พร้อมทั้ง สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ และนิตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ เสียได้ตาม
สมควรแก่ความรู้ของตน กล่าวคือ ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการศึกษาเล่าเรียนการฟัง ที่เรียกว่า
สุตมยปัญญา ย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านั้นได้โดย ตทังคปหาน คือ
ละได้ชั่วขณะหนึ่งๆ ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการนึกคิดพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเอง
เรียกว่า จินตามยปัญญา นั้นย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านั้นได้โดย
วิกขัมภนปหาน คือข่ม ระงับไว้ได้เป็นเวลานานๆ และความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนาตาม
สุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา นั้นย่อมสามารถละสักกายทิฏฐิ และ
วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านั้นได้โดย สมุจเฉทปหาน คือละได้โดยเด็ดขาด

ถ้าจะแสดงเปรียบเทียบความรู้ในรูปนามตามเหตุผลดังกล่าวแล้วนั้น สุตมยปัญญา ก็ได้แก่ ปัญญา
ของผู้ที่มีความรู้ในปฏิจจสมุปบาท และปัฏฐานโดยอาศัยการศึกษาเล่าเรียน หรือ การฟัง

จินตามยปัญญา เมื่อว่าโดยทางโลกแล้ว ได้แก่ ปัญญของผู้คิดค้นคว้าสร้างวัตถุสิ่งของต่างๆ ขึ้น เช่น
สร้างเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น เมื่อว่าโดยทางธรรมแล้วได้แก่ ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า

ภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสุตมยปัญญานั้น ได้แก่ ปัญญาของพระอริยสาวกทั้งหลาย

ภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยจินตามยปัญญานั้น ได้แก่ ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระปัจเจกพุทธเจ้า

ความรู้ความเข้าใจในรูปนามตามเหตุผล ที่เป็นสุตมัย จินตามัยและภาวนามัย ทั้ง ๓ เหล่านี้
ถ้าสงเคราะห์เข้าในวิปัสสนาญาณแล้ว ย่อมได้ ๒ อย่าง คือ นามรูปปริจเฉทญาณ และ
ปัจจยปริคคหญาณ และถ้าสงเคราะห์เข้าในวิสุทธิแล้วก็ได้วิสุทธิ ๒ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ และ
กังขาวิตรณวิสุทธิ

ผู้ที่มีความเข้าใจดีในปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐานแล้วนั้น ก็ย่อมได้เข้าถึงปัจจยปริคคหญาณ
อันเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิโดยตรง สำหรับการเข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นทิฏฐิวิสุทธินั้น
ก็เพราะเป็นผู้ที่รู้ในปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐานนั้น ก็ต้องรู้ดีในเรื่องรูปนามอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้
นามรูปปริจเฉทญาณอันเป็นทิฏฐิวิสุทธิจึงสงเคราะห์สำเร็จไปด้วย

ตามที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้ปฏิบัติจนได้สำเร็จเป็นพระอริยะพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้นั้น
ที่จะไม่รู้ถึงความเป็นไปของรูปนามตามปฏิจจสมุปบาท หรือปัฏฐานโดยภาวนามัยนั้นย่อมไม่มีเลย
แต่ผู้ที่รู้ทั้ง ๒ นัยนั้น มีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว นอกจากพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายนับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้น จนถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมรู้
ความเป็นไปของรูปนามโดยภาวนามัย ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทนัยเดียว หมายความว่าผู้
ปฏิบัติเมื่อเข้าถึงปัจจยปริคคหญาณเป็นต้นจนถึงอนุโลมญาณนั้น ย่อมรู้ความเป็นไปของรูปนาม
ที่เป็นเหตุเป็นผลเนื่องกันตามปฏิจจสมุปบาทด้วยกันทั้งสิ้น แต่ที่รู้กว้างขวางสามารถแสดงให้
ผู้อื่นฟังได้โดยละเอียดนั้น ต้องอาศัยมีหลักปริยัติ ถ้าขาดหลักปริยัติเสียแล้ว แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็ไม่สามารถแสดงความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดได้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2013, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา สังขาร/ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา/ ตัณหา อุปาทาน ภวะ/ ชาติ ชรามรณะ

อวิชชาที่ปกปิดสภาพความเป็นจริง ๔ อย่าง
๑. อวิชชาหนาแน่นมาก
-อันปุถุชน.....ไม่ศึกษาธรรม, ไม่คบหาสัตตบุรุษ, ไม่รู้สภาวธรรม, ไม่เข้าถึงกัมมสกตาญาณ
* เมื่ออกุศลกรรมเกิดขึ้นทางใจ>>> ก็ปล่อยให้เกิดต่อทางกายและวาจา

๒. อวิชชาบางมากแล้ว
-เมื่อรู้ว่าอกุศลกรรมเกิดขึ้นทางใจ>>> ก็ไม่ปล่อยให้สำเร็จทั้งทางกายและวาจา
ยอมรับวิปากที่สมควรได้รับ
-แต่เมื่อกุศลเกิดขึ้นทางใจแล้ว>>> จะเร่งทำให้สำเร็จทั้งทางกายและวาจา

๓. อวิชชาบางที่สุด คือ พระอริยบุคคลเบื้องต่ำ ๓ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
เพราะ
๑. รู้ในอริยสัจจ์ ๔
๒. มีการปหานอวิชชาโดย สมุจเฉท ตามมัคคของตน
๓. ยังมีงานอื่นที่ต้องทำ (เจริญวิปัสสนา เพื่อให้ได้มัคคสูงขึ้น)

๔. อวิชชาไม่มีเหลือ พระอรหันต์มี ๓ นัย คือ
๑. พระปัจเจกพระพุทธเจ้า มีแต่อรรถรส(การเข้าถึงสภาว) ไม่ต้องฟังใครเพราะฟังมาหลายชาติแล้ว
มีจินตา จึงเข้าถึงภาวนา ไม่มีธรรมรส สื่อธรรมให้บุคคลอื่นไม่ได้
๒. พระสาวก อาศัยสุตต จึงเข้าถึงภาวนา ปฏิสัมภิทาปัตต
-อัตถะ ขยายเนื้อความ
-ธัมม แสดงธรรมได้กว้างขวาง
-นิรุตติ การใช้ภาษา
-ปฏิภาณ ไหวพริบ
*ศึกษาจากพระไตรปิฏก รู้อัชฌาสัยของสัตว์ทั้งหลายไม่เท่ากัน
๓. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การไม่รู้ตามความเป็นจริงของอวิชชานี้มีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. ไม่รู้ในทุกข์
๒. ไม่รู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. ไม่รู้ธรรมอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์
๔. ไม่รู้หนทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์
๕. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต
๖. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต
๗. ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีตและอนาคต
๘. ความไม่รู้ในรูป นาม ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยมีเหตุให้เกิดตามในปฏิจจสมุปบาท

พูดโดยรวมก็คือ ความไม่รู้ในวิปัสสนาภูมิ ๖ นั่นเอง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2013, 22:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:

๔. อวิชชาไม่มีเหลือ พระอรหันต์มี ๓ นัย คือ
๑. พระปัจเจกพระพุทธเจ้า มีแต่อรรถรส(การเข้าถึงสภาว) ไม่ต้องฟังใครเพราะฟังมาหลายชาติแล้ว
มีจินตา จึงเข้าถึงภาวนา ไม่มีธรรมรส สื่อธรรมให้บุคคลอื่นไม่ได้
๒. พระสาวก อาศัยสุตต จึงเข้าถึงภาวนา ปฏิสัมภิทาปัตต
-อัตถะ ขยายเนื้อความ
-ธัมม แสดงธรรมได้กว้างขวาง
-นิรุตติ การใช้ภาษา
-ปฏิภาณ ไหวพริบ
*ศึกษาจากพระไตรปิฏก รู้อัชฌาสัยของสัตว์ทั้งหลายไม่เท่ากัน
๓. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

:b8: :b8: :b8:


แปลกมากเลย....ดู ๆ ไปแล้ว...ดูเหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้า..จะมีความสามารถน้อยกว่าพระสาวกเสียอีก..

ทั้ง ๆ ...ที่...ระยะเวลา...ความเข้มข้น..ในการบำเพ็ญบารมี...มากกว่าสาวกเยอะ

ไม่สมเหตุสมผลเลย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2013, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
SOAMUSA เขียน:

๔. อวิชชาไม่มีเหลือ พระอรหันต์มี ๓ นัย คือ
๑. พระปัจเจกพระพุทธเจ้า มีแต่อรรถรส(การเข้าถึงสภาว) ไม่ต้องฟังใครเพราะฟังมาหลายชาติแล้ว
มีจินตา จึงเข้าถึงภาวนา ไม่มีธรรมรส สื่อธรรมให้บุคคลอื่นไม่ได้
๒. พระสาวก อาศัยสุตต จึงเข้าถึงภาวนา ปฏิสัมภิทาปัตต
-อัตถะ ขยายเนื้อความ
-ธัมม แสดงธรรมได้กว้างขวาง
-นิรุตติ การใช้ภาษา
-ปฏิภาณ ไหวพริบ
*ศึกษาจากพระไตรปิฏก รู้อัชฌาสัยของสัตว์ทั้งหลายไม่เท่ากัน
๓. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

:b8: :b8: :b8:


แปลกมากเลย....ดู ๆ ไปแล้ว...ดูเหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้า..จะมีความสามารถน้อยกว่าพระสาวกเสียอีก..

ทั้ง ๆ ...ที่...ระยะเวลา...ความเข้มข้น..ในการบำเพ็ญบารมี...มากกว่าสาวกเยอะ

ไม่สมเหตุสมผลเลย...


พระสาวกนั้นท่านอาศัย สุตตจึงเข้าถึงภาวนา สุตตะนั้นท่านฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
รู้ธรรมตามพระพุทธองค์สอน ดังเช่นตอนนี้ก็มีพระธรรมปรากฏอยู่ให้เราศึกษา แ้ม้จะสมัยใดก็ตาม
สภาวธรรมก็เหมือนกันไม่เคยเปลี่ยน เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็ศึกษาพระอภิธรรมกันได้ ไม่ต้องกลัว
หลงทาง พระอภิธรรมมีองค์ธรรมแน่นอน สภาวธรรมก็ปรากฏอยู่จริงๆ ปฏิบัติตามก็รู้ได้
ตามความเป็นจริง ปัญญาก็ไปรู้สภาวธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ผิดเพี้ยนค่ะ

แต่พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านสุตตะมาหลายชาติแล้ว พอมาชาติสุดท้ายที่ตรัสรู้นั้นท่านไม่ได้
ฟังจากใครแล้ว อาศัยจินตาจึงเข้าถึงภาวนา ไม่ได้เรียนในชาติสุดท้ายที่ตรัสรู้ แต่ท่านเข้าถึง
สภาวธรรมได้ด้วยตนเอง และไม่สามารถบัญญัติมาสอนคนได้ เพราะการบัญญัติได้ตามธรรม
นั้นเป็นวิสัยของพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้าเท่านั้น และการแสดงสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นได้นั้น
ก็โดยอำนาจแห่งพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่เข้าถึงธรรมรส ท่านจึงทรงสอนได้
ให้คนอย่างเราเข้าใจได้ตามกำลังปัญญาที่สั่งสมมา ดั่งเช่นบัว 4เหล่า เหล่าไหนเข้าใจได้ จะเข้าใจ
ได้เท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสั่งสมมาด้วยค่ะ หรือไม่เข้าใจซะเลยก็มีคือบัวอยู่ในตมนั่นเองค่ะ

พระสาวกก็ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระสาวกสามารถเข้าถึงธรรมรสได้ จึงสอนได้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2013, 13:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม้....มีเนื้อแข็ง...เนื้ออ่อน

ไม้เนื้ออ่อน....ส่วนใหญ่จะโตไว
ไม้เนื้อแข็ง...โตช้ากว่าจะใช้งานได้..
ถ้าขนาดเท่ากัน....ไม้เนื้อแข็งจะมีอายุมากกว่า

นี้คุณสมบัติของไม้...

ความรู้...ที่โลกสอนกัน...โลกชินกับการเรียนรู้แบบ..สุตตะ..จินตา

แต่ความรู้ที่บำเพ็ญเพียรสะสมกันมาไม่รู้กี่ชาติ...เหมือนดั่งไม้ที่สะสมเนื้อไม้ในทุกปี
เป็นความรู้ที่ต้องเอาสิ่งปกคลุมหุ่มห่อ...ออกเสียก่อน....ดั่งเนื้อไม้ที่ใช้งานได้ต้องผ่านเปลือกไม้เข้าไป...

การเข้าถึงความรู้นี้ได้...ด้วยการภาวนา

ตัวภาวนาไม่ใช่...ความรู้...ยังเป็นสุตตะอยู่..มีผลคือ...สมาธิ

คุณลักษณะของผู้ที่ตรัสรู้เอง....คือ...ต้องเจอปัญหานั้นแล้วก็สาลวนหาทางออกจากปัญหานั้นจนได้

เมื่อเจอทางออก....ก็จดจำ

จะออกจากทุกข์....ปัญหาข้อขัดข้องสงสัยมีอยู่มากมาย....ด้วยเหตุนี้...ผู้ที่อธิฐานเพื่อออกจากทุกข์ด้วยตัวเองจึงต้องผ่าน
การเวียนว่ายตายเกิดนับตั้งแต่ได้รับพุทธะพยากรณ์...4 อสงขัย..บ้าง....8 อสงขัยบ้าง...16 อสงขัยบ้าง...สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า....บารมี10 ต้องผ่านความละเอียดถึง 3 ระดับ..เป็นบารมี 30 ทัศ..จึวจะลึกซึ่งพอที่จะสอนสัตว์ได้ทุกจริต...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2013, 13:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


พระปัจเจก...อย่างน้อย...ต้องสังสมบารมี..ไม่น้อยกว่า 2 อสงขัย
อนุพุทธะหรืออรหันตสาวก..ต้องสั่งสมบารมีไม่น้อยกว่า 1 อสงขัย

จึงเป็นไปไม่ได้...ที่ความลุ่มลึกในพระธรรมของพระปัจเจกฯ...จะน้อยกว่า..อรหันตสาวก

ปฏิสัมภิทา...ของอรหันตสาวก....ไม่ใช่...ความจำได้หมายรู้ในตำราในพุทธวจนะ...ได้มาก ๆ นะ..แต่ใช้บัญญัตนั้นเพื่ออธิบายธรรมะที่ตนรู้ได้เก่ง....

ส่วนของพระปัจเจกฯ...เนื่องจากไม่มีการบันทึก....เราจึงคิดเอาเอง...ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ...แต่จะเป็นเช่นนั้นมั้ย?

จากที่อ่านดู....ผมว่าไม่สมเหตุสมผลอย่างที่ผมว่ามานะ...

ลองสมมุติว่า...นักคอมพิวเตอร์...หลุดไปอยู่ในสมัยอยุธยา...คุณว่า...เขาจะสอนการทำงานของคอมพิวเตอร์กับคนอยุธยามั้ย?

ผมว่า...ไม่
ทำไมละ?...

คนยังไม่พร้อม....ที่จะรับ...นะซิ

อย่างนี้....การไม่สอน...ไม่ได้แสดงถึงความรู้ความสามารถของเขาเลย...นิ

อันนี้เป็นข้อให้สังเกต...นะครับ
ดังนั้น...การจะเชื่ออะไรจากที่ใครสอนมา...ลองตั้งคำถามนิดหนึ่ง.
ที่แสดงความเห็นเพียงเพื่อให้คนที่มาอ่านภายหลัง..ฉุกคิด...ก่อนจะเชื่อ...มิได้มีเจตนาตำนิใครนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2013, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์ปัฏฐานนั้นจึง มี ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ
ในอุปนิสสยปัจจัยนั้น บัญญัติเป็นธรรมที่ช่วยอุปการะแก่ นาม

เมื่อว่ากันเต็มๆ ในอุปนิสสยปัจจัยก็คือ บัญญัติ นามรูป เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม
การจะบัญญัติคำๆ หนึ่งขึ้นมาสอนได้ พระโพธิสัตว์ท่านต้องเวียนเกิดเวียนตายกี่ภพกี่ชาติ
กว่าจะสั่งสมบารมีจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถสอนคนให้บรรลุตามได้

พระสาวกเมื่อฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงเข้าใจ และสามารถสอนผู้อื่นได้เช่นกัน
หากจะพูดถึงว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าน่าจะรู้และสอนได้เก่งกว่าพระสาวก ก็น่าจะได้นะคะ
หากว่าท่านได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเฉกเช่นเดียวกับพระสาวกทั้งหลายได้ฟังธรรม
แต่พระปัจเจกพระพุทธเจ้าก่อนท่านจะตรัสรู้นั้น ท่านไม่สามารถมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าในชาติที่ท่านกำลังจะตรัสรู้ได้ค่ะ

เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาพร้อมกันไม่ได้จริงมั้ยคะ

ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้าสามารถอุบัติขึ้นพร้อมๆ กันได้หลายพระองค์

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ว่าจะเป็นผู้ตรัสรู้สภาวธรรมเองก็ตาม แต่ความรู้ของพระปัจเจก
พุทธเจ้านี้ จะเทียบเท่ากับความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาได้ไม่ ฉะนั้นการรู้สภาวธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงรู้เพียง ๑ ส่วนในร้อยส่วนของพระอภิธรรมเท่านั้น

การจะบัญญัติออกมาเป็นคำสอนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงเห็นได้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงใช้เวลา
บำเพ็ญเพียรนานกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้ามากมายนัก เพื่อที่จะสามารถสอนและช่วยเวไนยสัตว์
พ้นจากสังสารวัฏได้ค่ะ
:b51: :b51: :b51: :b51:

จะนำ อสาธารณญาณ จากหนังสือ อภิธัมมาวตาร รจนาโดย พระพุทธทัตตเถระ พระเถระท่านนี้
ได้รจนาก่อนพระอนุรุทธาจารย์ค่ะ

:b42: อสาธารณญาณ คือ ญาณที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวก มี ๖ อย่าง
๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ญาณที่ถึงพร้อมด้วยพระมหากรุณา
๒. ยมกปาฏิปาริยญาณ ญาณรู้เห็นยมกปาฏิหาริย์
๓. อาสยานุสยญาณ ญาณรู้เห็นความคุ้นเคยของจิตและอนุสัยกิเลส
๔. อินทริยปฏรปริยัตติญาณ ญาณรู้เห็นความยิ่งและหย่อนของอินทรีย์
๕. สัพพัญญุตญาณ ญาณรู้เห็นเญยยธรรมทั้งปวง
๖. อนาวรณญาณ ญาณที่ปราศจากเครื่องขัดขวางในการรู้เห็นธรรมทั้งปวง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2013, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายในการจำแนกองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยกาลทั้ว ๓

กถํ อวิชฺชา สงฺขารา อตีโต อทฺธา, ชาติชรามรณํ อนาคโต อทฺธา, มชฺเฌ อฏฺฐ ปจฺจุปปนฺโน
อทฺธาติ ตโย อทฺธา ฯ

คำว่า อัทธา แปลว่า กาล เป็นบัญญัติไม่มีองค์ธรรมปรมัตถ์ แต่ในที่นี้คำว่า อตีตอัทธา
อนาคตอัทธา ปัจจุปปันนอัทธา นั้น มุ่งหมายเอาธรรมที่เกิดในกาลทั้ง ๓ มีองค์ธรรมปรมัตถ์
คือ อวิชชา สังขาร เป็นอดีตกาล ชาติ ชรา มรณะ เป็นอนาคตกาล วิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ เป็นปัจจุบันกาล ฉะนั้น อวิชชา สังขาร
ที่ชื่อเป็นอดีตกาลเป็นต้นนี้ เป็นการเรียกชื่อโดยฐานูปจารนัย คือ ยกเอาชื่อของกาลทั้ง ๓
มาตั้งไว้ในตัวธรรมแล้วเรียก อวิชชา สังขาร เป็นต้นนี้ว่า เป็นอดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล
(เอาตัวเวลาไปตั้งไว้ที่องค์ปฏิจจฯ เพื่อการอธิบายให้เข้าใจ และ ภวะ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
กัมมภวะ และ อุปัตติภวะ )

อธิบายว่า ตามธรรมดาในจิตตสันดานของคนทั้งหลายที่นอกจากพระอรหันต์แล้ว ย่อมมีโมหะเป็น
ผู้ปกครอบประจำอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลทั้งหลายมองไม่เห็นโทษการทำอกุศล และไม่เห็นวัฏฏทุกข์
ในการทำกุศลของตน โมหะนี้แหละได้ชื่อว่า อวิชชา และในการทำกุศล อกุศลเหล่านี้ ก็ต้องมีเจตนาเป็น
ผู้กระตุ้นจัดแจงเสียก่อน การกระทำนั้นๆ จึงจะเกิดขึ้นได้ เจตนาที่เป็นตัวกระตุ้นให้ลงมือกระทำการงานที่
เรียกว่า ปุพพเจตนานี้แหละ ได้ชื่อว่า สังขาร ฉะนั้น อวิชชา และ สังขาร ทั้ง ๒ นี้จึงเป็นอดีตกาล
(อวิชชามีสภาพปกปิด , เจตนามีสภาพกระตุ้นเตือน มีอวิชชาและเจตนา ก็ทำกรรมสำเร็จ)

เมื่อมีอวิชชาเป็นผู้ปกครอง มีสังขารเป็นผู้กระตุ้นจัดแจงแล้ว คนทั้งหลายก็กระทำการงานที่เป็นกุศลบ้าง
อกุศลบ้าง ร่างกาย ใจ และการกระทำของบุคคลเหล่านั้น เมื่อว่าโดยธรรมาธิฏฐานแล้วก็ได้แก่
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ฉะนั้น วิญญาณ นามรูป
เป็นต้น ทั้ง ๘ องค์เหล่านี้ จึงจัดเป็นปัจจุบันกาล

เมื่อคนทั้งหลายได้กระทำการงานอันเป็นกุศล อกุศล สำเร็จลงแล้วด้วยอำนาจแห่งการกระทำกุศล
อกุศล ที่เรียกว่า กัมมภวะ นั้นเอง ย่อมให้ผลบังเกิดขึ้นในอนาคตกาล โดยที่บุคคลเหล่านั้นเมื่อ
ตายจากภพนี้แล้ว ก็ย่อมไปเกิดใหม่อีกในภพหน้าแล้วแต่การกระทำของตน คือถ้าทำอกุศลกรรม
ก็ไปเกิดเป็นพวกอบายสัตว์ ถ้าทำกุศลกรรมก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ตามสมควรแก่
กุศลนั้นๆ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นต้นเหล่านี้แหละชื่อว่า ชาติ หรือเรียกว่า อุปัตติภวะ ก็ได้
เมื่อมีชาติปรากฏเกิดขึ้นแล้ว ชรามรณะก็ต้องเกิดขึ้นติดตามมาเป็นธรรมดา ฉะนั้น ชาติ ชรามรณะ
เหล่านี้จึงจัดเป็นอนาคตกาล

อนึ่ง อวิชชา สังขาร ที่จัดเป็นอดีตกาลนั้น เป็นอดีตกาลในภพก่อนก็มี เป็นอดีตกาลในภพนี้ก็มี
คือ ถ้ากล่าวถึงผลในปัจจุบันอันได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา (อวิชชา สังขาร
ก็เป็นอดีตกาลในภพก่อน) ถ้ากล่าวถึงผลในอนาคตอันได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
เวทนา ที่จะไปเกิดใหม่ในภพหน้าแล้ว (อวิชชา สังขาร ก็เป็นอดีตกาลในภพนี้)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

สรุปโดยผู้ทำกระทู้ ให้ท่านเข้าใจคือ

นัยที่ ๑....... กาล ๓
:b47: อดีตกาล ๒ คือ
-อวิชชา
-สังขาร

:b47: ปัจจุบันกาล ๘ คือ
-วิญญาณ
-นามรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ
-เวทนา
-ตัณหา
-อุปาทาน
-ภวะ

:b47: อนาคตกาล ๒ คือ
-ชาติ
-ชรามรณะ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

นัยที่ ๒......องค์ ๑๒
อวิชชา สังขาร/ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา/ ตัณหา อุปาทาน ภวะ/ ชาติ ชรามรณะ
ภวะ มี 2 ส่วนคือ กัมมภวะ และอุปปัตติภวะ

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

นัยที่ ๓.....ประเภท ๒๐
:b49: อดีตเหตุ ๕
-อวิชชา
-สังขาร
-ตัณหา
-อุปาทาน
-กัมมภวะ

:b49: ปัจจุบันผล ๕
-วิญญาณ
-นามรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ
-เวทนา

:b49: ปัจจุบันเหตุ ๕
-ตัณหา
-อุปาทาน
-กัมมภวะ
-อวิชชา
-สังขาร

:b49: อนาคตผล ๕
-วิญญาณ
-นามรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ
-เวทนา

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในปฏิจจสมุปบาท องค์ หมายความว่า เป็นเครื่องประกอบของปฏิจจสมุปบาทที่สามารถทำให้หมุนเวียน
อยู่ไปมาไม่มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนกับเครื่องประกอบของวงล้อที่ช่วยให้ล้อนั้นหมุนไปได้ ฉะนั้น องค์นี้จึง
เป็นสิ่งสำคัญในการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า จักรปฏิจจสมุปบาท

อธิบายในข้อที่ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ไม่จัดเป็นองค์ปฏิจจสมุปบาทโดยเฉพาะ
ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้น เมื่อต่อจากชรามรณะแล้ว ยังมีผลธรรมทั้ง ๕ อย่าง
คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ แต่ผลธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ไม่ได้นับเข้าเป็นองค์โดยเฉพาะ
ทั้งนี้ก็เพราะว่า การเกิดขึ้นแก่บุคคลไม่ทั่วไป เช่น
๑. พวกพรหม เทวดาชั้นสูง ๒พวกนี้ แม้ว่า อวิชชา เป็นต้นจนถึง มรณะ เกิดขึ้นได้ก็ตาม แต่ โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ย่อมไม่เกิด ...(ผู้ทำกระทู้อธิบายเพิ่ม..เพราะพรหมมีปีติเป็น
อาหาร ซึ่งมีสภาพตรงกันข้ามกับโสกะ เป็นต้นเพราะผลธรรมทั้ง ๕ ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นโทสะ ว่าโดย
ภูมิแล้ว ก็เป็นไปโดยอำนาจแห่งภูมิ รูปวิบากซึ่งเป็นภวังคจิตมีปีติเป็นอาหาร ส่วน เทวดาชั้นสูงนั้น
ข่มโทสะได้เพราะเข้าใจสภาพธรรมแล้วเช่น พระอินทร์ ผู้ที่จะไปเกิดเป็นพระอินทร์ได้นั้นต้องประกอบ
ด้วย ธรรม ๗ ประการ และ มีการระงับความโกรธไว้ได้ เป็นข้อหนึ่งในธรรม ๗ ประการนั้น)

๒. มนุษย์ที่เป็นพระอนาคามี และฌานลาภีบุคคลเหล่านี้ อวิชชา เป็นต้นจนถึง ชรามรณะ เกิดได้
แต่โสกะ ปริเทวะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๔ นี้เกิดไม่ได้ เกิดได้แต่ทุกขะ เท่านั้น
(ผู้ทำกระทู้อธิบายเพิ่ม..เพราะพระอนาคามี ประหาณโทสมูลจิต ๒ ได้แล้ว ส่วนฌานลาภีบุคคลข่มโทสะไว้ได้ด้วยฌาน)

๓. ผู้ที่ได้รับการอบรมในธรรมชั้นสูง และพระโสดาบัน พระสกทาคามีเหล่านี้ อุปายาสะก็เกิดไม่ได้
(ผู้ทำกระทู้อธิบายเพิ่ม..อุปายาสะ เป็นความเหือดแห้งใจ เป็นความเสียใจที่ทำให้ผู้ที่กำลังเสียใจสลบ
หรือเป็นลมไปได้ หรืออาจจะเป็นบ้าได้ และ บุคคลที่กล่าวมาในข้อ ๓ นี้ จะเป็นผู้ที่มีโทสะเบาบางลง
แล้ว ไม่เหมือนกับบุคคลทั่วๆ ไป ดังนั้นอุปายาสะจึงเกิดแก่บุคคลดังกล่าวไม่ได้ แต่ผลธรรมอีก ๔ อย่าง
ที่เหลือยังเกิดได้อยู่)

(เพราะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เกิดขึ้นแก่บุคคลได้ไม่ทั่วไป จึงเรียกว่า นิสสันผล
...ผู้ทำกระทู้อธิบายเพิ่ม)

ปฏิจจสมุปบาทธรรมนอกนั้นเกิดได้ด้วยเหตุนี้จึงไม่นับเป็นองค์โดยเฉพาะ แต่ก็เป็นผลธรรมที่เกิด
จากชาติเป็นเหตุด้วยเหมือนกัน ต่างกันอยู่ที่ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เป็นผล
ที่เกิดจากชาติไม่แน่นอนเหมือนกับชรา มรณะ เรียกว่า นิสสันทผล คือ เป็นผลส่วนปลาย
ส่วนชรา มรณะเรียกว่า วิปากผล คือเป็นผลโดยตรงของชาติ


:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้อาจจะมีเนื้อหาไม่เต็มที่ เพราะจัดทำขึ้นเพื่อทบทวนเนื้อหาบางส่วนของผู้จัดทำ
และขอแบ่งปันแก่เพื่อนๆ ได้อ่านด้วยค่ะ

ยังไม่จบค่ะ

มาจากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท อชว.


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2013, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปโดยผู้ทำกระทู้ ให้ท่านเข้าใจคือ

นัยที่ ๑....... กาล ๓
:b47: อดีตกาล ๒ คือ
-อวิชชา
-สังขาร

:b47: ปัจจุบันกาล ๘ คือ
-วิญญาณ
-นามรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ
-เวทนา
-ตัณหา
-อุปาทาน
-ภวะ

:b47: อนาคตกาล ๒ คือ
-ชาติ
-ชรามรณะ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

นัยที่ ๒......องค์ ๑๒
อวิชชา สังขาร/ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา/ ตัณหา อุปาทาน ภวะ/ ชาติ ชรามรณะ
ภวะ มี 2 ส่วนคือ กัมมภวะ และอุปปัตติภวะ

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

นัยที่ ๓.....ประเภท ๒๐
:b49: อดีตเหตุ ๕ .......สมุทยสัจจ์
-อวิชชา
-สังขาร
-ตัณหา
-อุปาทาน
-กัมมภวะ

:b49: ปัจจุบันผล ๕ .......ทุกขสัจจ์
-วิญญาณ
-นามรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ
-เวทนา

:b49: ปัจจุบันเหตุ ๕.......สมุทยสัจจ์
-ตัณหา
-อุปาทาน
-กัมมภวะ
-อวิชชา
-สังขาร

:b49: อนาคตผล ๕........ทุกขสัจจ์
-วิญญาณ
-นามรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ
-เวทนา

:b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45:

นัยที่ ๔....สันธิ ๓ แปลว่า การสืบต่อนั้นดูตามจากนัยที่ ๒ เป็นหลักค่ะ

อวิชชา สังขาร/ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา/ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ/ชาติ ชรามรณะ

:b46: ๑. ในระหว่าง สังขาร กับ วิญญาณ ที่เป็น อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล ต่อกัน> สันธิ๑

:b46: ๒. ในระหว่าง เวทนา กับ ตัณหา ที่เป็น ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ ต่อกัน> สันธิ ๒

:b46: ๓. ในระหว่าง กัมมภวะ กับ ชาติ ที่เป็น ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล ต่อกัน> สันธิ ๓

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

นัยที่ ๕...สังเขป ๔ แยก องค์ ๑๒ โดยหมวด
๑. อวิชชา สังขาร ที่เป็น อดีตเหตุ หมวดหนึ่ง
๒. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่เป็น ปัจจุบันผล หมวดหนึ่ง
๓. ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เป็น ปัจจุบันเหตุ หมวดหนึ่ง
๔. ชาติ ชรามรณะ ที่เป็น อนาคตผล หมวดหนึ่ง

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

นัยที่ ๖...วัฏฏะ ๓ (การหมุนเวียน)
:b42: ๑. กิเลสวัฏ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
:b42: ๒. กัมมวัฏ ได้แก่ กัมมภวะ สังขาร
:b42: ๓. วิปากวัฏ ได้แก่ อุปปัตติภวะ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

นัยที่ ๗...มูล ๒
:b39: อวิชชา
:b39: ตัณหา

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ภวจักร ๒ คือ
:b42: ปุพพันตภวจักร มี ๗ (ภวจักรแรก) คือ
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา (อดีตเหตุเป็นต้นจนถึงปัจจุบันผล)

:b42: อปรันตภวจักร มี ๕ (ภวจักรหลัง) คือ
ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะ (ปัจจุบันเหตุเป็นต้นจนถึงอนาคตผล)

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2013, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


วีสตาการา (อาการ ๒๐)

ในการแสดงจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยการที่แสดงไปแล้วนั้นนั้นเป็นการแสดงชี้ขาด
ในองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยเฉพาะ ฉะนั้น ธรรมที่เป็น อดีตกาล ปัจจุบัน อนาคตกาล จึงมีจำกัด
แต่เมื่อแสดงถึงสภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทโดยเหตุผล ในอดีตกับปัจจุบัน ปัจจุบันกับอนาคต
แล้ว มีประเภทถึง ๒๐ คือ
-อดีตเหตุ ๕
-ปัจจุบันผล ๕
-ปัจจุบันเหตุ ๕
-อนาคตผล ๕
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ทั้ง ๕ นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมจะเว้นเสียซึ่งกันและกันไม่ได้ คือ อวิชชา สังขาร เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ใดแล้วที่จะไม่มี
ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ เกิดขึ้นด้วยนั้น ย่อมไม่มี

ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ที่จะไม่มี อวิชชา สังขาร เกิดขึ้นด้วย
ก็ย่อมไม่มีเช่นเดียวกัน

และชาติ ชรามรณะนั้นก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา นั้นเองที่เป็นตัว เกิด แก่ ตาย
ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ

ฉะนั้น ในการแสดงเหตุในอดีตนั้น จึงสงเคราะห์เอา ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ทั้ง ๓ นี้เข้าอยู่ร่วมกับ
อวิชชา สังขารด้วย เพราะเมื่อกล่าวโดยวัฏฏ ๓ แล้ว อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็เป็นพวกกิเลสวัฏ
ด้วยกัน สังขารกับกัมมภวะ ก็เป็นพวกกัมมวัฏด้วยกัน

ในองค์ปฏิจจสมุปบาท ๘ ที่เป็นปัจจุบันกาลนั้น แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
-ผลพวกหนึ่ง
-เหตุพวกหนึ่ง
ผลนั้น ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
เหตุนั้น ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ

ในปัจจุบันผล ๕ ที่ไม่นับเอา ชาติ ชรา มรณะ เข้ามาอยู่ด้วยนั้นก็เพราะ ชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้
ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ เป็นเพียงอาการเป็นไปของวิญญาณ นามรูป เป็นต้น ดังที่กล่าวมาแล้ว

ส่วนในปัจจุบันเหตุ ๕ นั้น ได้นับเอา อวิชชา สังขาร เข้าร่วมอยู่กับตัณหา อุปาทาน กัมมภวะด้วย
ก็เพราะธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ ต้องเกิดขึ้นด้วยกันเสมอดังกล่าวแล้ว

สำหรับองค์ปฏิจจสมุปบาท ๒ คือ ชาติ ชรามรณะ ที่เป็นอนาคตกาลนั้น เมื่อว่าโดยวัฏฏะ ๓ แล้ว
เป็นวิปากวัฏ และตัวชาติ ชรามรณะ ก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
นั้นเอง

ฉะนั้น ในอนาคตผล ๕ จึงได้เอา วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ยกขึ้นแสดงแทน
ชาติ ชรามรณะ

คำอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในประเภทของอาการ ๒๐

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2013, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สนธิ ๓
คำว่า สนธิ แปลว่า การสืบต่อระหว่าง เหตุกับผล ผลกับเหตุ
เมื่อจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยการสืบต่อกันแล้ว มี ๓ คือ
๑. ในระหว่าง สังขาร กับ วิญญาณ ที่เป็นอดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล ต่อกันสนธิหนึ่ง
๒. ในระหว่าง เวทนา กับ ตัณหา ที่เป็นปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ ต่อกันสันธิหนึ่ง
๓. ในระหว่าง กัมมภวะ กับ ชาติ ที่เป็นปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล ต่อกันสนธิหนึ่ง

สังเขป ๔
คำว่า สังเขป แปลว่า รวมรวมไว้เป็นหมวดๆ
เมื่อจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยหมวดแล้ว มี ๔ คือ
๑. อวิชชา สังขาร ที่เป็น อดีตเหตุ หมวดหนึ่ง
๒. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่เป็น ปัจจุบันผล หมวดหนึ่ง
๓. ตัีณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เป็น ปัจจุบันเหตุ หมวดหนึ่ง
๔. ชาติ ชรามรณะ ที่เป็น อนาคตผล หมวดหนึ่ง
สำหรับ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๕ นี้สงเคราะห์เข้าอยู่ในหมวดที่ ๔

วัฏฏะ ๓
วัฏฏะ แปลว่า การหมุนเวียน เหมือนกับการหมุนของวงล้อ
การหมุนเวียนนี้มี ๓ อย่างคือ
๑. กิเลสวัฏ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
๒. กัมมวัฏ ได้แก่ กัมมภวะ สังขาร
๓. วิปากวัฏ ได้แก่ อุปปัตติภวะ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ

อธิบายว่า ในร่างกายและจิตใจของคนทั้งหลาย ยกเว้นพระอรหันต์แล้ว วัฏฏะทั้ง ๓ ย่อมมีครบบริบูรณ์ คือ
:b47: ร่างกายและจิตใจคนทั้งหลายนี้แหล่ะเป็น วิปากวัฏ
:b47: ความหลง ความอยากได้ ความเห็นผิด ที่เกิดอยู่ภายในจิตตสันดานเป็น กิเลสวัฏ
:b47: การกระทำดีไม่ดีด้วยกาย วาจา ใจ ที่คนเรากระทำกันอยู่ทุกวันนี้เป็น กัมมวัฏ

สภาพทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนผลัดกัน เป็นเหตุเป็นผลอยู่ทุกภพทุกชาติไม่มีที่สิ้นสุด
กล่าวคือ เมื่อคนเรามีความหลง ความอยากได้ ความเห็นผิด อันเป็นกิเลสวัฏประจำอยู่ในจิตตสันดาน
แล้ว ด้วยอำนาจแห่งกิเลสวัฏนี้ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นมีการกระทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง ดี
บ้าง ไม่ดีบ้าง อันเป็นกัมมวัฏเกิดขึ้น การกระทำต่างๆ เหล่านี้แหละจะให้ผลปรากฏขึ้นในกาลข้างหน้า
ในเมื่อผู้ตายนั้นจากภพนี้ไปแล้ว ก็ได้ไปเกิดใหม่มีภพมีชาติใหม่ใน ๓๑ ภูมิ ตามสมควรแก่การกระทำ
ของตน การเกิดใหม่ของรูปนามขันธ์๕ ที่เรียกว่า สัตว์ทั้งหลายนี้แหละเป็นวิปากวัฏ เมื่อมีวิปากวัฏเกิดขึ้น
แล้ว กิเลสวัฏก็ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยวิปากวัฏเป็นเหตุมุนเวียนกันไปดังนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะได้เข้าถึง
พระนิพพาน การหมุนเวียนของวัฏทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้แหละ เมื่อว่าตามโวหารที่ใช้กล่าวกันอยู่ในโลกนี้แล้ว
ได้แก่ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วก็สร้างกรรมใหม่ แล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิดใหม่อีก เกิดแล้วก็สร้างกรรมใหม่
อีก แล้วก็ตายอีก หมุนเวียนกันอยู่ ถ้าจะอุปมาแล้วก็เหมือนความเป็นไปของต้นไม้ที่สืบพันธุ์กันอยู่
เรื่อยๆ ไป คือ ลำต้นเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยเมล็ด เมล็ดเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยยางเหนียวในลำต้น ยางเหนียวเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยลำต้น เมื่อเปรียบเทียบกันกับวัฏทั้ง ๓ แล้ว
-วิปากวัฏ เปรียบเหมือน ลำต้น
-กิเลสวัฏ เปรียบเหมือน ยางเหนียว
-กัมมวัฏ เปรียบเหมือน เมล็ด
เมื่อพิจารณาในวัฏฏะทั้ง ๓ นี้แล้ว จะเห็นได้ว่ากิเลสวัฏเป็นตัวสำคัญที่สุด ฉะนั้น ในการทำลายวัฏฏะ
เพื่อไม่ให้หมุนอีกต่อไป จึงต้องทำลายที่กิเลสวัฏ เมื่อกิเลสวัฏถูกทำลายแล้ว กัมมวัฏและวิปากวัฏ
ทั้ง ๒ นี้ ก็ถูกทำลายตามไปด้วย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b50: มูล ๒

มูล แปลว่า เป็นที่ตั้ง หรือ เป็นต้นเหตุของวัฏฏทุกข์ทั้งปวง

มูล ๒ ได้แก่
-อวิชชา
-ตัณหา

ปฏิจจสมุปบาทธรรมเมื่อแบ่งออกเป็นภวจักรแล้วมี ๒ คือ ตั้งแต่อดีตเหตุ เป็นต้นจนถึงปัจจุบันผล
เป็นภวจักรอันหนึ่ง ชื่อว่า ปุพพันตภวจักร เป็นภวจักรแรก

ตั้งแต่ปัจจุบันเหตุเป็นต้นจนถึงอนาคตผล เป็นภวจักรอันหนึ่ง ชื่อว่า อปรันตภวจักร เป็นภวจักรหลัง

ในปุพพันตภวจักร มีองค์ปฏิจจสมุปบาท ๗ องค์ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
เวทนา ในองค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ อวิชชาเป็นต้นเหตุ หรือเป็นที่ตั้งนำให้ถึงเวทนา

ในอปรันตภวจักร มีองค์ ๕ คือ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะ ในองค์ ๕ เหล่านี้
ตัณหาเป็นต้นเหตุ หรือเป็นที่ตั้งนำให้ถึง ชรามรณะ

ในปุพพันตภวจักร ที่มีองค์ ๗ นั้น มุ่งหมายเอาแต่เฉพาะองค์ที่ปรากฏออกหน้า แต่ในขณะที่องค์ ๗
หมุนเวียนอยู่นั้น ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรา มรณะ อีก ๕ องค์เหล่านี้ก็หมุนตามไปด้วย

หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในปัจจุบันภพนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอวิชชาเป็นผู้นำ
มีสังขารเป็นผู้จัดแจงที่ในภพก่อน ฉะนั้น อวิชชาจึงเรียกว่า ปุพพันตมูล เมื่อมีอวิชชาเป็นผู้นำ
มีสังขารเป็นผู้จัดแจง ในภพนั้นก็ต้องมี ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ เกิดขึ้นด้วย เพราะอวิชชา
เป็นผู้ปกปิดไม่ให้เห็นโทษและสภาพความเป็นจริง จึงทำให้ผู้นั้นเกิดความยินดีความต้องการ
ความเห็นผิดความยึคมั่นขึ้น ย่อมกระทำการต่างๆ ด้วย กาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
ตามความประสงค์ของ ตัณหา อุปาทาน ให้สำเร็จลง โดยมีสังขารเป็นผู้จัดแจงให้กระทำ

สำหรับร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในปัจจุบันภพนี้ ก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสะ เวทนา นั้นเอง และในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ต้องมี
การเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ คือจากเด็กขึ้นมาเป็นหนุ่มเป็นสาว จากหนุ่มสาวขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่
จากผู้ใหญ่ขึ้นมาเป็นคนแก่ มีอาการผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว ความคิดความจำเสื่อมถอย
ลงไปเป็นต้นไปตามลำดับ และสุดท้ายก็ถึงวาระแห่งชีวิต อันได้แก่ ชรามรณะ สำหรับชาตินั้นเมื่อ
ขณะที่วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เริ่มเกิดขึ้นในภพใหม่ ชาติก็สงเคราะห์สำเร็จอยู่
ในนั้นแล้ว

ด้วยเหตุนี้แหละจึงกล่าวไว้ว่า เมื่ออวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
องค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ หมุนเวียนอยู่ในปุพพันตภวจักร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะ
องค์ทั้ง ๕ เหล่านี้ก็ย่อมหมุนเวียนตามไปด้วย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร