วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 93 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลแห่งโลภะโทสะโมหะ

อกุศลจิต จิตที่เป็นบาปนี้ กล่าวโดย เยภุยยนัย คือ กล่าวโดยส่วนมากแล้วเป็นเหตุให้ได้รับผลดังนี้

เยภุยฺเยน หิ สตฺตา ตณฺหาย เปตฺติวิสยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
สัตว์ทั้งหลายโดยมากย่อมไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย ด้วยอำนาจแห่งโลภะ อันมีความอยากได้เป็นมูลฐาน

โทเสน หิ จณฺฆชาตตาย โทสสทิสํ นิรยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
สัตว์ทั้งหลายย่อมไปเกิดในนรก ด้วยอำนาจแห่งโทสะ อันเป็นที่ทรมานสัตว์ให้เร่าร้อน
เช่นเดียวกับสภาวะของโทสะที่ดุร้าย ทำลาย อันทรมานเผาไหม้หัวใจอยู่ทุกขณะ

โมเหน หิ นิจฺจสมฺมุฬฺหํ ติรจฺฉานโยนิยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปเกิดเป็นดิรัฉาน ด้วยอำนาจแห่งโมหมูลจิต
เพราะเป็นสภาพที่ยังสัตว์ให้ลุ่มหลงงมงายอยู่เป็นนิจ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโลภะ
สมัยนั้นก็เกิด ทุพฺภิกฺขนฺตราย อันตรายที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง
เป็นเหตุให้อดอยากล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก

สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโทสะ
สมัยนั้นก็เกิด สตฺถนฺตราย อันตรายที่เกิดจากศัตราวุธต่างๆ
เป็นเหตุให้ฆ่าฟันกันล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก

สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโมหะ
สมัยนั้นก็เกิด โรคนฺตราย อันตรายที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ
เป็นเหตุให้เป็นโรคระบาดล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 31.3 KiB | เปิดดู 4912 ครั้ง ]
อกุศลจิตเป็นธรรมที่ควรละ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อกุศลจิต เป็นจิตที่ชั่ว ที่บาป
ที่ มีโทษและให้ผลเป็นทุกข์ จึงเป็นธรรมที่ควรละโดยแท้

โลภมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความโลภ ความอยากได้
ถ้าไม่ระมัดระวังไว้บ้างแล้วก็ จะอยากจนหาประมาณที่สุดมิได้เลย
จะละด้วย สนฺตุฏฺฐี คือ สันโดษ ความพอใจเท่าที่มีอยู่
ความพอใจเท่าที่กำลังของตนจะหาได้ ความพอใจเท่าที่จะพึงหาได้โดยชอบธรรม
เพียง ๓ ประการเท่านี้ ก็นับว่าประเสริฐพอประมาณแล้ว

โทสมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความเกลียด โกรธ ประทุษร้าย ทำลาย
อันมีแต่จะวู่วามก่อให้เกิดโทษนั้นเอง จงละด้วยเมตตา โดยการพิจารณาเป็นเนืองนิจว่า
ตนเกลียดทุกข์ประสงค์สุขฉันใด ผู้อื่นสัตว์อื่นก็เกลียดทุกข์แสวงสุขเหมือนตนฉันนั้น
เช่นนี้ก็จะผ่อนคลายความเบียดเบียนซึ่งกันและกันลงไปได้อย่างมาก
ในสติปัฏฐานอรรถกถา แสดงเหตุที่ประหารโทสะไว้ ๖ ประการ คือ

๑. เมตฺตานิมิตฺตสฺส อุคฺคโห ศึกษาในเมตตานิมิต
๒. เมตฺตาภาวนานุโยโค ประกอบภาวนาในเมตตาเนืองๆ
๓. กมฺมสกตา ปจฺจเวกฺขณ พิจารณาว่าเป็นกรรมของตน
๔. ปฏิสงฺขาย พหุลีกตา ทำให้มากด้วยปัญญา
๕. กลฺยาณมิตฺตตา มีมิตรที่ดี (ที่มีเมตตา)
๖. สปฺปายกถา ได้ฟังถ้อยคำที่สบาย (เมตตากถา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โมหมูลจิต แม้จะไม่ประจักษ์โทษโดยเด่นชัด แต่ก็มีโทษหาน้อยไม่เปรียบเสมือนสนิม
เหล็กที่กัดกินเนื้อเหล็กให้กร่อนลงทีละน้อย จนขาดผุไปอย่างไม่รู้ตัว ในสติปัฏฐาน
อรรถกถาจึงแสดงเหตุที่ประหารโมหะไว้ดังนี้ คือ

เหตุที่ประหารวิจิกิจฉา ๖ ประการ
๑. พหุสฺสุตตา เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมามาก
๒. ปริปุจฺฉกตา หมั่นสอบสวนทวนความ
๓. วินเยปกตญฺญุตา รอบรู้ชำนาญและเคร่งครัดในวินัย
๔. อธิโมกฺขพหุลตา มากด้วยการตัดสินใจเชื่อ
๕. กลฺยาณมิตฺตตา มีมิตรที่ดี
๖. สปฺปายกถา ได้ฟังถ้อยคำอันเป็นที่สบาย

เหตุที่ประหารอุทธัจจะ ๖ ประการ
เหตุที่ประหารอุทัธจจะ นี้ก็เหมือนกับเหตุที่ประหารวิจิกิจฉา นั้นเว้นแต่ข้อ ๔ เป็นดังนี้
๔. พุทฺธเสวิตา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าบ่อยๆ
ส่วนข้ออื่นๆ มีข้อความเหมือนกันหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกอกุศลจิตโดยประเภทต่างๆ มีชาติเภทเป็นต้น

ในบรรดาจิตทั้งหมดนั้น ยังจำแนกเป็นประเภทต่างๆ มีชาติเภทเป็นต้น อีกตั้ง ๙ ประเภท คือ
๑. ชาติเภท ๒. ภูมิเภท ๓. เวทนาเภท ๔. เหตุเภท ๕. สังขารเภท
๖. สัมปยุตตเภท ๗. โสภณเภท ๘. โลกเภท ๙. ฌานเภท

แต่ละประเภทมีความหมายอย่างใด จะได้กล่าวต่อไปนี้ พร้อมกับแสดงประเภทต่างๆ แห่งอกุศลจิตนั้นเลยทีเดียว

http://www.thepathofpurity.com

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ชาติเภท จำแนกจิตโดยประเภทแห่งชาติ คือจิตทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยชาติแล้ว ก็มี ๔ ชาติ
ได้แก่ ก. อกุศลชาติ ข. กุศลชาติ ค. วิบากชาติ และ ง. กิริยาชาติ

ก. อกุศลชาติ หรือ ชาติอกุศล หมายถึง อกุศลจิต ซึ่งเป็นจิตที่มีโทษให้ผลเป็นทุกข์
ข. กุศลชาติ หรือ ชาติกุศล หมายถึง กุศลจิต ซึ่งเป็นจิตที่ปราศจากโทษ ให้ผลเป็นสุข
ค. วิบากชาติ หรือ ชาติวิบาก หมายถึงวิบากจิต ซึ่งเป็นจิตที่เป็นผลของอกุศล
เรียกว่า อกุศลวิบากจิต จิตที่เป็นผลของกุศล เรียกว่า กุศลวิบากจิต
ง. กิริยาชาติ หรือ ชาติกิริยา หมายถึง กิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ใช่ผลของอกุศล ไม่ใช่ผลของกุศล
ไม่ใช่จิตที่เป็นอกุศล ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศลและเป็นจิตที่ไม่ก่อให้เกิดอกุศลวิบาก
หรือกุศลวิบากแต่อย่างใดเลย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง

อนึ่ง วิบากชาติ กับกิริยาชาติ รวมเรียกว่า ชาติอพยาตก
ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่า อพยากตชาติเป็นชาติที่ไม่ใช่บุญและไม่ใช่บาปเท่านั้น
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นชาติอกุศลทั้ง ๑๒ ดวง

๒. ภูมิเภท จำแนกจิตโดยประเภทแห่งภูมิ คำว่า ภูมิในที่นี้หมายถึงชั้นของจิตพื้นเพของจิต
ซึ่งจำแนกเป็น ๔ ภูมิ หรือ ๔ ชั้นด้วยกัน คือ
ก. กามาวจรภูมิ ข. รูปาวจรภูมิ ค. อรูปาวจรภูมิ และ ง. โลกุตตรภูมิ

ก. กามาวจรภูมิ หมายถึงชั้นกามาวจร จิตชั้นกาม พื้นเพของจิตติดอยู่ในกามคุณ
ในบรรดาจิตทั้งหมดนั้น ถือว่าจิตนี้มีพื้นเพต่ำกว่าเพื่อนถึงจัดว่าเป็น หินะ คือ เป็นจิตชั้นต่ำ

ข. รูปาวจรภูมิ หมายถึงจิตชั้นรูปาวจร จิตชั้นรูปฌาน พื้นเพของจิตสูงถึงชั้นรูปพรหม
ดำรงอยู่ในพรหมวิหารธรรม จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐะ ชั้นอุกฤษฏ์ ชั้นสูง

ค. อรูปาวจรภูมิ หมายถึงจิตชั้นอรูปาวจร จิตชั้นอรูปพรหม พื้นเพของจิตละเอียดอ่อนถึงชั้นอรูปพรหม
จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐตระ ชั้นอุกฤษฏ์ยิ่ง ชั้นสูงยิ่ง
บรรดาโลกียจิตคือจิตที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะแล้ว จิตชั้นนี้เป็นชั้นสูงยิ่ง ประเสริฐยิ่งกว่าในฝ่ายโลกีย

ง. โลกุตตรภูมิ หมายถึงจิตชั้นโลกุตตร จิตชั้นที่ให้พ้นจากโลกให้พ้นจากทุกข์
ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเลย ในบรรดาจิตทั้งหมดไม่มีจิตชั้นในจะประเสริฐสุดเท่าจิตชั้นนี้ได้เลย
จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐตมะ อันเป็นชั้นประเสริฐสุดยอด ซึ่งไม่มีจิตใดจะประเสริฐเท่าเทียมถึงเลย

สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ คือเป็นจิตในชั้นกามทั้ง ๑๒ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 69.51 KiB | เปิดดู 4911 ครั้ง ]
๓. เวทนาเภท โดยประเภทแห่งเวทนา คือการเสวยอารมณ์ ในที่นี้จำแนกจิตโดยเวทนา ๕
อันได้แก่ สุขเวทนา เป็นความสุขทางกาย ๑. ทุกขเวทนา เป็นความทุกข์ทางกาย ๑
โสมนัสเวทนา เป็นความสุขทางใจ ๑ โทมนัสเวทนา เป็นความทุกข์ทางใจ ๑
และอุเบกขาเวทนา ไม่ทุกข์ไม่สุบเป็นความเฉยๆ ๑

สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เกิดพร้อมกับเวทนาถึง ๓ อย่าง คือ
โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา มีรายละเอียดดังนี้
โสมนัสเวทนา เกิดแก่โลภมูลจิตที่เป็นโสมนัส ๔ ดวง
โทมนัสเวทนา เกิดแก่โทสมูลจิต ๒ ดวง
อุเบกขาเวทนา เกิดแก่โลภมูลจิตที่เป็นอุเบกขา ๔ ดวง และโมหมูลจิตอีกทั้ง ๒ ดวง

อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า จิตทุก ๆ ดวง ( เว้นแต่โลกุตตรจิต ๘ ดวง เท่านั้น )
ชื่อของจิตแต่ละดวงได้ระบุบอกเวทนาไว้ด้วยแล้ว ทำให้สะดวกแก่การค้นหาและจดจำ

๔. เหตุเภท โดยประเภทแห่งเหตุ จำแนกได้เป็น ๒ คือ อเหตุกและสเหตุก
อเหตุก หมายว่า ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือไม่มีเหตุประกอบ และเหตุในที่นี้ก็หมายเฉพาะ เหตุ ๖
อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ ดังนั้นอเหตุกจึง
มีความหมายว่า เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ นี้ประกอบเลยแม้แต่เหตุเดียว

สเหตุก มีความหมายว่า เป็นจิตที่เป็นสัมปยุตตเหตุ เป็นจิตที่มีเหตุ ๖
นั้นประกอบด้วย แม้ว่าจะมีเหตุ ๖ เพียงเหตุเดียวประกอบ ก็ได้ชื่อว่า สเหตุก
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นสเหตุกจิตทั้ง ๑๒ ดวง มีรายละเอียดดังนี้
โลภมูลจิต ๘ ดวง มีสัมปยุตตเหตุ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ ดวง มีสัมปยุตตเหตุ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
โมหมูลจิต ๒ ดวง มีสัมปยุตตเหตุเพียงเหตุเดียว คือ โมหเหตุเท่านั้น
อนึ่ง มีข้อที่ควรทราบว่าสเหตุจิตนั้น
จิตแต่ละดวงมีสัมปยุตตเหตุอย่างน้อยเพียงเหตุเดียว แต่อย่างมากไม่เกิน ๓ เหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร จำแนกได้เป็น ๒ คือ อสังขาริก และสสังขาริก
อสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสิ่งชักชวน
สสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะมีสิ่งชักชวน
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็น อสังขาริก ๗ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิตที่เป็นอสังขาริก ๔ ดวง
โทสมูลจิตที่เป็นอสังขาริก ๑ ดวง และโมหมูลจิตอีก ๒ ดวง ซึ่งจัดเป็นอสังขาริกด้วย
เป็นสสังขาริก ๕ ดวง โลภมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง

๖. สัมปยุตตเภท โดยประเภทแห่งสัมปยุตต จำแนกได้เป็น ๒ คือ สัมปยุตต และ วิปปยุตต
สัมปยุตตเภท ( ไม่ใช่สัมปยุตตเหตุ ) ในจิตทั้งหมดนั้น มีสัมปยุตต ๕ ประการ คือ
ก. ทิฏฐิสัมปยุตต ประกอบด้วยความเห็นผิด
ข. ปฏิฆสัมปยุตต ประกอบด้วยความโกรธ
ค. วิจิกิจฉาสัมปยุตต ประกอบด้วยความลังเลสงสัย
ง. อุทธัจจสัมปยุตต ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
จ. ญาณสัมปยุตต ประกอบด้วยปัญญา
ส่วนวิปปยุตตนั้นถ้าไม่ประกอบด้วยสัมปยุตต ก็เรียกว่าวิปปยุตต
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง ได้แก่โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง
เป็นทิฏฐิวิปยุตต ๔ ดวง ได้แก่โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปยุตต ๔ ดวง
เป็นปฏิฆสัมปยุตต ๒ ดวง ได้แก่โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง ได้แก่โมหมูลจิตดวงที่ ๑
เป็นอุทธัจจสัมปยุตต ๑ ดวง ได้แก่โมหมูลจิตดวงที่ ๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. โสภณเภท โดยประเภทแห่งโสภณะ จำแนกได้เป็น ๒ คือ โสภณะ และอโสภณะ
โสภณะ เป็นจิตที่ดีงาม มีโสภณเจตสิกประกอบ
อโสภณะ ไม่ได้หมายว่าเป็นจิตที่ไม่ดีไม่งาม แต่หมายเพียงว่าเป็นจิตที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเท่านั้นเอง
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นอโสภณะ เพราะไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเลยทั้ง ๑๒ ดวง

๘. โลกเภท โดยประเภทแห่งโลก จำแนกได้เป็น ๒ คือ โลกียะและโลกุตตระ
โลกียะ หมายถึงจิตที่ยังข้องอยู่ในกามโลก รูปโลก อรูปโลก
ซึ่งยังต้องวนเวียนอยู่ใน กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ คือไม่พ้นไปจากโลกทั้ง ๓ หรือภูมิทั้ง ๓ ได้

โลกุตตระ หมายถึงจิตที่พ้นจากความข้องความติดอยู่ในโลกทั้ง ๓ นั้นแล้ว
ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกทั้ง ๓ ในภูมิทั้ง ๓ นั้นอีกต่อแไปแล้ว
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นโลกียจิตทั้ง ๑๒ ดวง เพราะยังไม่พ้นไปจากโลกทั้ง ๓
หรือ ภูมิทั้ง ๓ เลย

๙. ฌานเภท โดยประเภทแห่งฌาน จำแนกได้เป็น ๒ คือ ฌาน และ อฌาน
ฌาน หมายถึงจิตที่มีฌาน จิตที่ได้ฌาน จิตที่ถึงฌาน
อฌาน หมายถึงจิตที่ไม่ได้ฌาน
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นจิตที่ไม่ใช่ฌานจิตทั้ง ๑๒ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 37.82 KiB | เปิดดู 4912 ครั้ง ]
อเหตุกจิต

อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ หมายความว่า จิตจำพวกนี้ไม่มีเหตุบาป คือ อกุศลเหตุ

อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ และไม่มีเหตุบุญ คือ กุศลเหตุ
อันได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ รวม ๖ เหตุนี้มาสัมปยุตต คือมาประกอบด้วยเลยแม้แต่เหตุเดียว

หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อเหตุจิตเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 23.27 KiB | เปิดดู 4901 ครั้ง ]
อเหตุกจิต ซึ่งมีจำนวน ๑๘ ดวงนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า

๔. สตฺตากุสลปากานิ ปุญฺญปากานิ อฏฺฐธา
กฺริยจิตฺตานิ ตีณีติ อฏฺฐารส อเหตุกา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘ ดวง ได้แก่

อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง
อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวง
อเหตุกกริยาจิต ๓ ดวง

อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอกุศลกรรม เป็นผลของฝ่ายชั่วฝ่ายบาปอกุศล
ที่ได้สั่งสมที่ได้กระทำมาแล้วแต่อดีต จึงต้องมาได้รับผลเป็นอกุศลวิบากจิต อันเป็นผลที่ไม่ดี ๗ ดวงนี้


อเหตุกกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของกุศลกรรม เป็นผลของฝ่ายดีฝ่ายบุญกุศล
ที่ได้สั่งสมที่ได้กระทำมาแล้วในอดีต จึงมาได้รับผลเป็นอเหตุกุกศลวิบากจิต อันเป็นผลที่ดี ๘ ดวง


จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรม เรียก อกุศลวิบากจิต เท่านั้น
แต่จิตที่เป็นผลของกุศลกรรมเรียก อเหตุกกุศลวิบากจิต ที่แตกต่างกันเพราะอกุศลวิบากจิต
มีแต่ในประเภทอเหตุกจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตแห่งเดียวเท่านั้น อกุศลวิบากจิตที่มีสัมปยุตตนั้นไม่มีเลย

ซึ่งผิดกับกุศลวิบากเหตุ เพราะกุศลวิบากจิตที่เป็นอเหตุก คือเป็นจิตไม่มีสัมปยุตตเหตุ
เช่นที่กำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้ก็มี และกุศลวิบากจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ
ซึ่งเรียกว่า สเหตุจิตดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้านี้ก็มีอีก ดังนั้นจึงต้องเติมอเหตุกไว้ด้วย
เพื่อจะได้ทราบโดยแจ้งชัดว่าเป็นกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุหรือหาไม่

อเหตุกกริยาจิต เป็นจิตไม่ใช่ผลของบาปอกุศลหรือบุญกุศลแต่อย่างใด
ทั้งไม่ใช่เป็นจิตที่เป็นตัวกุศลหรืออกุศลด้วย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำไปตามหน้าที่
การงานของตนเท่านั้นเอง จึงไม่สามารถจะก่อให้เกิดผลบุญหรือบาปต่อไปด้วย


อเหตุกกริยาจิต ก็มีทั้งไม่ประกอบด้วยเหตุ ดังที่กล่าวถึงอยู่ในขณะนี้
และมีทั้งที่ประกอบด้วยเหตุ คือ สเหตุกซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้าอีกด้วย
ดังนั้นจึงต้องเรียกให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่ปะปนกัน ทำนองเดียวกับ
กุศลวิบากจิต อกุศลวิบากจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 15.4 KiB | เปิดดู 4901 ครั้ง ]
อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบาปอกุศล ซึ่งมีจำนวน ๗ ดวงนั้น ได้แก่

๑. อุเปกฺขาสหคตํ อกุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี
๒. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี
๓. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี
๔. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี
๕. ทุกฺขสหคตํ อกุศลวิปากํ กายวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดี
๖. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี
๗. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี

อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง นี้ มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจในชั้นต้นนี้บางประการ คือ
จักขุวิญญาณ จิตรู้ทางนัยน์ตา คือเห็น
โสตวิญญาณ จิตรู้ทางหู คือได้ยิน
ฆานวิญญาณ จิตรู้ทางจมูก คือได้กลิ่น
ชิวหาวิญญาณ จิตรู้ทางลิ้น คือรู้รส


ทั้ง ๔ นี้เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา คือ ความเฉยๆ อย่างเดียว
เฉยเพราะไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
เพราะจิตเหล่านี้เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างอุปาทยรูปกับอุปายทายรูป
เปรียบเหมือนสำลีกระทบสำลีมีกำลังน้อย จึงไม่ก่อเกิดเป็นทุกข์เป็นสุขหรือเสียใจ ดีใจแต่อย่างใดเลย


ส่วนกายวิญญาณ จิตรู้การสัมผัสถูกต้องทางกายนั้นสำหรับฝ่ายอกุศลวิบากที่กำลังกล่าวถึงขณะนี้ เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา เพราะกายวิญญาณนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างมหาภูตรูป ( คือความแข็งความร้อน ) กับอุปาทายรูป ( คือกายปสาท ) เปรียบเหมือนเอาค้อนตีสำลีที่วางอยู่บนทั่ง ย่อมมีกำลังแรง จึงก่อให้เกิดทุกข์


http://www.thepathofpurity.com

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 16.09 KiB | เปิดดู 4901 ครั้ง ]
อเหตุกกุศลวิบากจิต
อเหตุกกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบุญกุศล ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวงนั้น ได้แก่

๑.
อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล เห็นรูปที่ดี
๒. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้ยินเสียงที่ดี
๓. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้กลิ่นที่ดี
๔. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้รสที่ดี
๕. สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญฺญาณํ
จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุศล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี
๖. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
๗. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
๘. โสมนสฺสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
จิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา เป็นผลของกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดียิ่ง

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวงนี้ ก็มีนัยทำนองเดียวกับอกุศลวิบากจิต ๗ ดวงที่กล่าวแล้วนั้น
แต่ว่าจิตจำพวกนี้เป็นผลของฝ่ายดีฝ่ายบุญกุศลเท่านั้นเอง

อนึ่ง อเหตุกกุศลวิบากจิต มีมากกว่า อกุศลวิบากจิต ๑ ดวง คือ

โสมนัสสันตีรณจิตซึ่งทางฝ่ายอกุศลวิบากจิตไม่มีโทมนัสสันตีรณจิตเป็นคู่กันเหมือน ๗ คู่ข้างต้นนั้น
ทั้งนี้ก็เป็นดังที่กล่าวมาแล้วตอนอกุศลจิตว่า


โทมนัสเวทนานี้เกิดได้กับโทสจิตโดยเฉพาะเท่านั้น จะเกิดกับจิตอื่นใดอีกไม่ได้เลย
ถ้าเมื่อใดถึงกับโทมนัสแล้ว ก็เป็นโทสจิตเมื่อนั้น และเมื่อเป็นโทสจิตแล้วก็ไม่ใช่อเหตุกจิต
เพราะโทสจิตเป็นสเหตุกจิต คือเป็นจิตที่มีเหตุ และมีถึง ๒ เหตุ
คือ มีโทสเหตุเป็นเหตุนำ มีโมหเหตุเป็นเหตุหนุน ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่มีโทมนัสสันตีรณจิตในอกุศลวิบากจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 14.23 KiB | เปิดดู 4913 ครั้ง ]
อเหตุกกิริยาจิต
อเหตุกกิริยาจิต เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำ ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖
เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป และไม่ใช่ผลของบุญหรือผลของบาปด้วยมีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่


๑. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ
จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕
มีความหมายว่า เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบนั้นว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน
จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่วิญญาณจิตทางทวารนั้นรับอารมณ์
อุปมาเหมือนนายทวารที่รักษาประตูพระราชวัง คอยเปิดให้เข้าตามฐานะของบุคคลนั้นๆ


๒. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ
จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร
มีความหมายว่า จิตนี้ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ทั้ง ๕ ทางทวาร ๕
และมีหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เกิดทางมโนทวารคือทางใจนึกคิดโดยตรงด้วย


๓. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ
จิตที่ยิ้มแย้มของพระอรหันต์ เกิดพร้อมด้วยความโสมนัส
มีความหมายว่า จิตดวงนี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ทั้งหลายโดยเฉพาะ
บุคลลอื่นที่มิใช่พระอรหันต์ ไม่ได้ยิ้มแย้มด้วยจิตดวงนี้ แต่ยิ้มและหัวเราะด้วยจิตดวงอื่น
ซึ่งจะขอกล่าวถึงต่อเมื่อได้แสดงกามจิตครบจำนวนหมดทั้ง ๕๔ ดวงแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สังขารเภทแห่งอเหตุกจิต

ในอเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงนี้ หาได้บ่งบอกหรือระบุไว้ว่าเป็นอสังขาริกหรือ สสังขาริกแต่อย่างใดไม่
จึงมีวาทะที่เกี่ยวกับสังขารเภทแห่งอเหตุกจิตนี้รวมได้เป็น ๓ นัยคือ


ก. ในมูลฎีกา และในวิภาวนีฎีกา กล่าวว่าเป็นสังขารวิมุตติทั้ง ๑๘ ดวง
ทั้งนี้เพราะบาลีไม่ได้ระบุไว้เลยว่าเป็นอสังขาริก หรือสสังขาริก เมื่อไม่ได้แสดงไว้เลยเช่นนี้แล้ว
ก็ต้องถือว่าเป็นสังขารวิมุตติ พ้นจากความเป็นอสังขาริก หรือ สสังขาริก


ข. ในปรมัตถทีปนีฎีกา กล่าวว่าเป็นสังขารได้ทั้ง ๒ อย่าง ทั้ง ๑๘ ดวง
เช่นในเวลาที่จะตาย อาจจะมีผู้หนึ่งผู้ใดชักจูงแนะนำให้ดูพระพุทธรูปเป็นต้นก็ได้


ค. ส่วนโบราณจารย์กล่าวว่า เป็นอสังขาริกทั้ง ๑๘ ดวง เพราะเห็นเองได้ยินเอง
เท่าที่ได้ศึกษามา ได้สงเคราะห์อเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงนี้ว่าเป็น อสังขาริกเห็นจะเป็นด้วยเหตุว่า
เมื่อมีอุปัตติเหตุแล้ว อเหตุกจิตนี้ย่อมเกิดขึ้นเอง แม้จะมีผู้ใดชักจูงแนะนำชี้ชวนให้ดู
แต่ถ้าอุปัตติเหตุมีไม่ครบองค์ก็หาเห็นไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปัตติเหตุแห่งอเหตุกจิต มีดังต่อไปนี้
อุปปัตติเหตุแห่งอเหตุกจิต


อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ คือ
โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ
ประกอบด้วยเลย แต่ว่า อเหตุกจิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีเหตุ
เหตุที่ให้เกิดขึ้นนี้มีชื่อว่า อุปัตติเหตุ ที่เราเรียกกันว่า อุบัติเหตุ ไม่ใช่เหตุ ๖
แต่เป็นเหตุให้เกิด อุบัติเหตุนั้นมีดังนี้

อุปปัตติเหตุให้เกิด จักขุวิญญาณจิต
๑. จักขุปสาท มีประสาทตาดี มีนัยน์ตาดี
๒. รูปารมณ์ มีรูป คือสีต่างๆ
๓. อาโลกะ มีแสงสว่าง
๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวารวัชชนะ )

อุปปัตติเหตุให้เกิด โสตวิญญาณจิต
๑ โสตปสาท มีประสาทหูดี
๒. สัททารมณ์ มีเสียง
๓. วิวรากาส มีช่องว่างของหู ( มีอากาศ )
๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )

อุปปัตติเหตุให้เกิด ฆานวิญญาณจิต
๑. ฆานปสาท มีประสาทจมูกดี
๒. คันธารมณ์ มีกลิ่น
๓. วาโยธาตุ มีธาตุลม
๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )

อุปปัตติเหตุให้เกิด ชิวหาวิญญาณจิต
๑. ชิวหาปสาท มีประสาทลิ้นดี
๒. รสารมณ์ มีรส
๓. อาโปธาตุ มีธาตุน้ำ
๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวารวัชชนะ )

อุปปัตติเหตุให้เกิด กายวิญญาณจิต
๑. กายปสาท มีประสาทกายดี
๒. โผฏฐัพพารมณ์ มีแข็ง อ่อน ร้อน เย็น หย่อน ตึง
๓. ถัทธปฐวี มีปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง
๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 93 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร