วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 21:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 11:46
โพสต์: 137


 ข้อมูลส่วนตัว


มุสาวาทานั้น ความหมายมีอย่างตรงตัวแล้วว่าเป็นการพูดไม่ตรงตามความเป็นจริง แล้วมีเจตนาในระดับเจตนาแฝงทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเข้าใจผิดในสิ่งที่ตนพูด มุสาจึงไม่ได้หมายความว่าการพูดด้วยปิยะวาจาแต่อย่างใด การพูดด้วยคำปิยะวาจาด้วยถ้อยคำที่หวานหยดย้อยนั้น อาจจะเป็นการกระทำผิดศีลข้อนี้ได้

สมมุติว่าให้เกิดขึ้นกับผู้เขียนก็แล้วกัน ถ้าหากผู้เขียนไปแนะนำคนอื่นในสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ เช่นบอกให้คนอื่นละความโลภ แล้วตนเองพยายามสร้างภาพว่าตนเองไม่โลภแล้วไปบอกคนทั่วบ้านทั่วเมืองโดยมีเจตนาให้คนอื่นยอมรับในตัวผู้เขียน โดยที่ผู้เขียนเองรู้อยู่เต็มอกมีความโลภกระสันอยากได้ในสิ่งของผู้อื่น แล้วพยายามซ่อนเร้นอำพรางเจตนาแฝงนี้ไว้ไม่ให้แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น แล้วกลบเกลื่อนด้วยการแสดงออกด้วยเจตนาหลักว่าตนเองไม่โลภ แล้วให้คนเชื่อเช่นนั้นด้วยคำพูด การกระทำเช่นนี้ย่อมชี้ชัดว่าผู้เขียนทำผิดศีลข้อสี่ว่าด้วยเรื่องมุสาวาทาด้วย

ในทางปฏิบัติแล้วไม่ให้ทำผิดศีลข้อสี่หรือให้ผิดน้อยที่สุด คือคิดอย่างไรให้พูดและแสดงออกไปอย่างนั้น หมายความว่า เจตนาแฝงภายในใจจะต้องตรงกับเจตนาหลักที่แสดงให้ผู้อื่นรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราทั้งหลายต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีแล้วว่าทำได้ยาก เพราะผู้ที่จะทำได้ต้องฝึกเรื่องของเจตสิก ให้เจตนาแฝงนั้นค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงจากการทำชั่วให้กลายเป็นการทำดีทีละเล็กทีละน้อย ผุ้เขียนขอข้ามเรื่องการทำดีและทำชั่วไป เมื่อตนเองยิ่งทำดีมากขึ้นเท่าใดเจตนาแฝงจะยิ่งถูกแสดงออกให้เห็นในระดับเจตนาหลักมากขึ้น การทำผิดศีลข้อนี้ก็จะน้อยลงด้วยตรรกะที่ว่า ถ้ามีคนไปปล้นธนาคารแล้วนำเงินไปปลนเปรอความสุขตนเอง ไม่มีใครกล้าโพนทนาป่าวประกาศว่าตนเองเพิ่งไปปล้นธนาคารมาหรอก จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไม่ถึงไม่อาจหลุดพ้นการทำผิดศีลข้อสี่นี้ไปได้โดยง่าย

นี่คือข้อเท็จจริงแล้วที่ผู้เขียนได้เขียนเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ผู้เขียนได้ใช้หลักของปรมัธสัจจะในการเขียนทั้งสิ้น สาเหตุที่คนเราทั้งหลายไม่พ้นทุกข์เพราะยึดติดสมมุติสัจจะเป็นอุปทาน แล้วโดยพื้นฐานของสมมุติสัจจะย่อมมีความขัดแย้งกับปรมัธสัจจะโดยธรรมชาติ ผู้อ่านเว็บของผู้เขียนถึงแม้ว่าไม่อาจใช้ปรมัธสัจจะได้เต็มร้อย แต่ยอมรับปรมัสัจจะได้ในระดับหนึ่ง ส่วนจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละคน เพราะสมมุติสัจจะก่อให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจแล้วเกิดขึ้นกับความรู้สึก แต่ปรมัธสัจจะเกิดขึ้นกับกายภาพหากอธิบายถึงปรมัธสัจจะของสิ่งมีชีวิต เช่น เอามีดแทงคนกับแทงหมา เลือดออกเหมือนกันเจ็บกายเหมือนกัน แต่ว่าถ้าด่าคนว่า "ไอ้*" คนเจ็บ หมาอาจจะไม่เจ็บก็ได้

.....................................................
อันความกรุณาปราณี จักมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ จากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน
มอง...ข้างหน้า ให้เป็นความหวัง มอง...ข้างหลัง ให้เป็นบทเรียน มอง...สิ่งที่มัน หมุนเวียน เพื่อยอมรับ...การเปลี่ยนไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 11:46
โพสต์: 137


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่

ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา

แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
................................

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระราหุล ไม่กล่าวมุสา

แม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น

เพราะถ้ากล่าวมุสาได้ ที่จะไม่ทำบาปแม้น้อยหนึ่ง ไม่มี

ดั้งนั้นบุคคลใดมุสาได้ ย่อมทำบาปอย่างอื่นแม้น้อยหนึ่งได้

ผู้ใดมุสา จะเป็นผู้ที่น่ากลัวมาก

เพราะสามารถทำอกุศลได้ทุกอย่าง

เพราะบาปแม้นัอยหนึ่งก็ยังทำได้ บาปมากๆ ก็ทำด้วย การกล่าวมุสาแม้เรื่อง

เล็กน้อย หรือแม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น ก็ไม่ควรกล่าว เพราะตามการสะสม

จะเป็นเหตุปัจจัยให้กล่าวมุสาเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ ก่อให้เกิดความเสียหาย

หรือเสียประโยชน์มากมาย ไม่เป็นที่เชื่อถือของบุคคลอื่น และสามารถทำ

บาปมากๆได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนท่านพระราหุล ไม่ให้กล่าวมุสา

แม้เรื่องเล็กน้อย เช่นเพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น

นอกจากนี้ การไม่กล่าวมุสา แม้เรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องสำคัญ

เราก็ควรอบรม เพราะเป็นการอบรมเจริญ สัจจบารมีด้วย

ถ้าไม่อบรมเจริญสัจจบารมี ซึ่งมีประโยชน์มาก และสำคัญมาก บารมีหนึ่ง

วันหนึ่งๆเรามักจะพูดมุสากันไม่น้อย ด้วยเหตุใดก็ตาม เช่นพูดจาล้อเล่น

ซึ่งไม่เป็นความจริง หรือพูดมุสา เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น

และอื่นๆอีกมาก ส่วนมากจะคิดว่าไม่เป็นไร

ความจริงการกล่าวมุสาไม่สมควร และไม่ดี เราควรอบรมการไม่กล่าวมุสา

คือการพูดความจริง จะได้เป็นสัจจบารมีบางส่วน เพราะ สัจจบารมีหมายถึง

พูดจริง ทำจริง เพื่อเป็นกุศลที่ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ได้

คือเจริญ สติปัฏฐาน ถึงฝั่งโน้น คิอ พระนิพพาน

.....................................................
อันความกรุณาปราณี จักมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ จากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน
มอง...ข้างหน้า ให้เป็นความหวัง มอง...ข้างหลัง ให้เป็นบทเรียน มอง...สิ่งที่มัน หมุนเวียน เพื่อยอมรับ...การเปลี่ยนไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 23:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล..เป็นผล.....มรรคผล..เป็นปัจจัย
มรรคผล..ได้เพราะปัญญา

ได้มรรคได้ผลไปถึงไหน....ศีลก็ละเอียดงดงามไปถึงนั้น...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2013, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




ผิดศีลข้อ 4.jpg
ผิดศีลข้อ 4.jpg [ 31.45 KiB | เปิดดู 4139 ครั้ง ]
:b20: กถาวัตถุ ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ผู้ปฏิบัติ มี ๑๐ อย่างคือ :b20:

๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์


:b8: :b8: :b8:


ขอบคุณที่มา :: ลานธรรมเสวนา

:b44: ♡(✿◕‿◕✿)♡ กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป สุขกายเจริญวัย สุขใจเจริญธรรมนะเจ้าค่ะ ♡(✿◕‿◕✿)♡ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร