วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




70692-pic-14.jpg
70692-pic-14.jpg [ 34.75 KiB | เปิดดู 13094 ครั้ง ]
วิถีสังคหะวิภาค
คู่มือการศึกษา
วิถีสังคหวิภาค พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๔

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

วิถี

วิถีสังคหวิภาค เป็นส่วนที่รวบรวมแสดงโดยย่อเรื่อง วิถีจิต คือ แสดงความเป็นไปของจิตตามลำดับ
ที่เกิดก่อนและหลัง ในเมื่อประสบกับอารมณ์ใหม่ ในวาระหนึ่ง ๆ
ถ้าได้ศึกษา วิถีจิต ให้เข้าใจโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้การศึกษาพระอภิธรรม (เฉพาะอย่างยิ่งในคัมภีร์มหาปัฏฐาน) เข้าใจได้ซาบซึ้งยิ่งขึ้นดังที่ท่านโบราณจารย์ได้กล่าวไว้ว่า
จะเชี่ยวชาญ พระวินัย ต้องแตกฉานใน อุโบสถ
จะเชี่ยวชาญ พระสูตร ต้องแตกฉานใน ลิงคะ ( ไวยกรณ์ )
จะเชี่ยวชาญ พระอภิธรรม ต้องแตกฉานใน วิถี

วิถีสังคหะนี้ ท่านพระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาพระอภิธัมมัตถสังคหะจัดเป็นปริจเฉทที่ ๔
ให้ชื่อว่า วิถีสังคหะวิภาค
ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะรวม ๑๐ คาถา คาถาที่ ๑ และที่ ๒ ประพันธ์ไว้ว่า

๑. จิตฺตปฺปาทานมิจฺเจวํ กตฺวา สงฺคหมุตฺตรํ
ภูมิปุคฺคลเภเทน ปุพฺพาปรนิยามิตํ ฯ

๒. ปวตฺติสงฺคหํ นาม ปฏิสนฺธิปฺปวตฺติยํ
ปวกฺขามิ สมาเสน ยถาสมฺภวโต กถํ ฯ


แปลความว่า ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า อนุรุทธาจารย์ ได้แสดงปกิณกสังคหะ
อันเป็นอรรถอันยิ่งแห่งจิตและเจตสิกแล้ว
บัดนี้จักกล่าว ปวัตติสังคหะในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล
แสดงความเป็นไปของจิตและเจตสิกตามลำดับที่เกิดก่อนและหลัง
พร้อมด้วยประเภทแห่งภูมิและบุคคล โดยย่อตามสมควรแก่ความบังเกิดขึ้นของจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปวัตติสังคหะ

ปวัตติสังคหะ หมายความว่า การรวบรวมกล่าวถึงความเป็นอยู่
หรือความ เป็นไปของจิตและเจตสิก จำแนกได้เป็น ๒ คือ ความเป็นอยู่
หรือความเป็นไปของ จิตและเจตสิก ในปฏิสนธิกาล ๑ ในปวัตติกาล ๑
ความเป็นอยู่และความเป็นไปของจิตและเจตสิกใน ปฏิสนธิกาล นั้นมีชื่อว่า วิถีมุตตจิต
เป็นจิตที่พ้นวิถี เป็นจิตที่ไม่อยู่ในวิถี เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถี จึงไม่แสดง ในปริจเฉทนี้
แต่จะแสดงในปริจเฉทต่อไป
ส่วนความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของจิตและเจตสิกใน ปวัตติกาล นั้นมีชื่อ ว่า วิถีจิต
ซึ่งจะแสดงในปริจเฉทนี้

ฉักกะ ๖

ในวิถีสังคหะนี้ มีธรรมเกี่ยวเนื่องกัน ๖ หมวด แต่ละหมวดก็จำแนกได้เป็น ๖ อย่าง
จึงเรียก ฉักกะ รวม ๖ หมวดก็เป็น ๖ ฉักกะ คือ
๑. วัตถุฉักกะ (วัตถุ ๖) คือ ที่ที่จิตและเจตสิกอาศัยเกิด ๖ แห่ง
๒. ทวารฉักกะ (ทวาร ๖) คือ ทางที่จิตและเจตสิกรับอารมณ์ ๖ ทาง
๓. อารัมมณฉักกะ (อารมณ์ ๖) คือ สิ่งที่จิตและเจตสิกรู้ ๖ สิ่ง
๔. วิญญาณฉักกะ (วิญญาณ ๖) คือ จิตที่รับรู้ หรือ ตัวรู้ ๖ ประเภท
๕. วิถีฉักกะ (วิถี ๖) คือ ความเป็นไปของจิต ๖ กระแส (๖ วิถี)
๖. วิสยัปปวัตติฉักกะ (วิสยัปปวัตติ ๖) คือ จิตที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ มี ๖ อย่าง



ติดตามปริเฉทที่ ๔ เริ่มต้นศึกษาทาง VDO
viewtopic.php?f=66&t=45920&p=330267#p330267

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๑ วัตถุฉักกะ คือ วัตถุ ๖ ได้แก่ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และ หทยวัตถุ
หมวดที่ ๒ ทวารฉักกะ คือ ทวาร ๖ได้แก่ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และ มโนทวาร

หมวดที่ ๓ อารัมมณฉักกะ คือ อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์และ ธัมมารมณ์
ธรรม ๓ หมวดนี้ ได้กล่าวแล้วในปริเฉทที่ ๓ คือ วัตถุฉักกะ ได้แสดง แล้วใน วัตถุสังคหะ ทวารฉักกะ ได้แสดงแล้วใน ทวารสังคหะ และ อารัมมณฉักกะ ได้แสดงแล้วในอารัมมณสังคหะ
หมวดที่ ๔ วิญญาณฉักกะ คือวิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และ มโนวิญญาณ

ธรรมหมวดที่ ๔ นี้ ก็ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๑ จิตสังคหวิภาค นั้นแล้ว
หมวดที่ ๕ วิถีฉักกะ คือ วิถี ๖ ความเป็นไปของจิต ๖ กระแส หรือ ๖ สาย หรือ ๖ ทาง หรือ ๖ วิถี มีความหมายถึงความเป็นไปของจิตนั้นเกี่ยวกับ ทวารใดในทวารทั้ง ๖ นั้น คือ
กระแสจิตที่เกิดทาง จักขุทวาร ก็เรียกว่า จักขุทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง โสตทวาร ก็เรียกว่า โสตทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง ฆานทวาร ก็เรียกว่า ฆานทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง ชิวหาทวาร ก็เรียกว่า ชิวหาทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง กายทวาร ก็เรียกว่า กายทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง มโนทวาร ก็เรียกว่า มโนทวารวิถี

หมวดที่ ๖ วิสยัปปวัตติฉักกะ คือ วิสยัปปวัตติ ๖, วิสย แปลว่า อารมณ์, ปวัตติ แปลว่า ความเป็นไป, วิสยัปปวัตติ ก็แปลว่า ความเป็นไป(ของจิต) ในอารมณ์หนึ่ง ๆ , วิสยัปปวัตติ ๖ จำแนกได้เป็น ๒ คือ วิสยัปปวัตติทาง ปัญจทวาร และ มโนทวาร
ก. วิสยัปปวัตติ ทางปัญจทวาร มี ๔ ได้แก่
๑. อติมหันตารมณ์ ๒. มหันตารมณ์
๓. ปริตตารมณ์ ๔. อติปริตตารมณ์
ข. วิสยัปปวัตติ ทางมโนทวาร มี ๒ ได้แก่
๑. วิภูตารมณ์ ๒. อวิภูตารมณ์

อนึ่ง วิสยัปปวัตติ ในปฏิสนธิกาล มีเพียง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และ คตินิมิตอารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากอดีตชาติเมื่อจะ ตาย ไม่เกี่ยวกับวิสยัปปวัตติ ๖ นี้
ปฏิสนธิจิต มีอารมณ์เก่า ไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ด้วย เป็นจิตที่พ้นทวาร (ทวาร วิมุตตจิต)ด้วย และเป็นจิตที่ไม่ใช่วิถี (วิถีมุตตจิต) ด้วย จึงไม่แสดงในปริจเฉทนี้
แม้ ภวังคจิต และ จุติจิต ในภพเดียวชาติเดียวกับปฏิสนธิจิตนั้น ก็เป็น จิตดวงเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับปฏิสนธิจิต ก็เป็นทวารวิมุตตจิต วิถีวิมุตต จิตเหมือนกัน จึงไม่แสดงในปริจเฉทนี้เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีฉักกะ กับวิสยัปปวัตติฉักกะ

ความแตกต่างกันระหว่างหมวดที่ ๕ วิถีฉักกะ กับ หมวดที่ ๖ วิสยัปปวัตติ ฉักกะ คือ
วิถีฉักกะ นั้นแสดงเพื่อให้ทราบว่า ความเป็นไปของจิตที่เกี่ยวเนื่องกับทวาร นั้นว่า
วิถีจิตนั้นเกิดทางทวารไหน

ส่วน วิสยัปปวัตติ นั้นแสดงเพื่อให้ทราบว่า ความเป็นไปของจิตที่เกี่ยว เนื่องกับอารมณ์นั้นว่า
อารมณ์นั้นชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด
เมื่อรวมกล่าวทั้ง วิถี และ วิสยัปปวัตติ ไปด้วยกัน ก็เป็นการแสดงให้ ทราบว่า
วิถีจิตนั้นเกิดทางทวารไหน และมีอารมณ์ชัดเพียงใดด้วย ดังนี้
จักขุทวารวิถี ที่เป็นอติมหันตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร อติมหันตารมณ์วิถี
จักขุทวารวิถี ที่เป็นมหันตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร มหันตารมณ์วิถี
จักขุทวารวิถี ที่เป็นปริตตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร ปริตตารมณ์วิถี
จักขุทวารวิถี ที่เป็นอติปริตตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร อติปริตตารมณ์วิถี

แม้ทางโสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี และกายทวารวิถี ก็เป็นไป อย่างเดียวกันนี้
ส่วนทางมโนทวาร ก็คงเรียก วิภูตารมณ์วิถี หรือ อวิภูตารมณ์วิถี เท่านั้น เพราะทั้ง ๒ ชื่อนี้
ย่อมต้องเกิดทางมโนทวารทางเดียว จะเกิดทางทวารอื่นหาได้ไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างกันระหว่างวิสยัปปวัตติ ๖

๑. อติมหันตารมณ์
คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง ทางตาเห็นรูป
ก. เกี่ยวกับวัตถุ จักขุวัตถุที่มีหน้าที่รับรูปารมณ์นั้น จะต้องเป็นจักขุปสาท ที่ดี ไม่พิการแม้แต่เล็กน้อยเลย มีความใส คือ มีความสามารถรับรูปารมณ์ได้เป็นอย่างดี
ข. เกี่ยวกับอารมณ์ รูปารมณ์นั้นต้องชัดและเด่น ตั้งอยู่ไม่ไกลเกินไปหรือผ่าน ไปไม่เร็วนัก รูปารมณ์นั้นต้องอยู่ในที่ที่แสงสว่างพอที่จักขุปสาทจะรับได้ชัดเจน
เมื่อจักขุวัตถุได้รับรูปารมณ์ชัดเจนแจ่มแจ้งเช่นนั้น จึงทำให้ขณะจิตเกิดได้มาก ที่สุด
แม้ทางหูได้ยินเสียง ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นได้รส ทางกายได้รับการสัมผัส ถูกต้อง ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากที่สุดที่ชื่อว่า อติมหันตารมณ์นี้ มีจิตตุปปาทะ (คือจิตที่เกิดขึ้นในวิถี) ถึง ๑๔ ขณะ ทั้งนี้ไม่นับภวังคจิต ๓ ขณะ ซึ่งไม่ใช่จิตใน วิถีด้วย และมีวิถีจิตถึง ๗

๒. มหันตารมณ์
คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากพอประมาณ ไม่เด่นชัด หรือแจ่มแจ้งเท่าอติมหันตารมณ์ ทั้งนี้เพราะวัตถุหรืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง บกพร่องไปบ้างเล็กน้อย
อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากพอประมาณที่ชื่อว่า มหันตารมณ์นี้ มีจิตตุป ปาทะเพียง ๑๒ ขณะ ทั้งนี้ไม่นับภวังคจิตรวมด้วยเช่นเดียวกัน และมีวิถีจิตเพียง ๖

๓. ปริตตารมณ์
คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อย เพราะวัตถุหรืออารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องไปมาก จึงไม่ชัดแจ้งพอที่จะตัดสินลงไปได้ว่าอารมณ์นั้นดี หรือชั่วประการใด
อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อย ที่ชื่อว่า ปริตตารมณ์นี้ มีจิตตุปปาทะ เพียง ๗ ขณะเท่านั้นเอง และมีวิถีจิตเพียง ๕

๔. อติปริตตารมณ์
คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อยที่สุด เพราะวัตถุหรือ อารมณ์นั้นบกพร่องมากเหลือเกิน จึงทำให้จิตเพียงแต่แว่ว ๆ ไหว ๆ เท่านั้น ไม่ทัน จะได้เห็น ไม่ทันจะได้ยิน อารมณ์นั้นก็ดับไปเสียแล้วเลยยังไม่ทันรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อยที่สุด ที่ชื่อว่า อติปริตตารมณ์นี้ จิตตุปปาทะ ไม่มีเลย และวิถีจิตก็ไม่มีด้วยทั้ง ๔ นี้ เป็นวิสยัปปวัตติทางปัญจทวาร ต่อไปนี้จะแสดง วิสยัปปวัตติ ทางมโนทวาร อีก ๒ คือ

๕. วิภูตารมณ์
คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจชัดเจนแจ่มแจ้งมาก ทำให้มีจิต ตุปปาทะถึง ๑๐ ขณะ และมีวิถีจิต ๓

๖. อวิภูตารมณ์
คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อยกว่า หรือไม่แจ่มแจ้งเท่าวิภูตารมณ์ จึงมีจิตตุปปาทะเพียง ๘ ขณะ และมีวิถีจิตเพียง ๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของจิตตุปปาทะ วิถีจิต และ ขณะ

คำว่า จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบ
ในที่นี้มี ความหมายว่า ในวิถีนั้นมีจิตเกิดขึ้นกี่ดวง นับแต่ อาวัชชนจิต คือ จิตที่รับอารมณ์ใหม่เป็นต้นไป ส่วน ภวังคจิต แม้จะมีอยู่ในวิถีนั้นด้วยก็ไม่นับ เพราะภวังคจิตเป็น จิตที่รับอารมณ์เก่าดังกล่าวแล้วข้างต้น จิตเกิดขึ้นในวิถีนั้นกี่ดวงก็นับเรียงดวงไปเลย ไม่ว่าจิตนั้นจะทำกิจอย่างเดียวกัน หรือทำกิจต่างกัน เช่น ชวนจิตในวิถีนั้นมี ๗ ดวง หรือ ๗ ขณะ ซึ่งทำชวนกิจอย่างเดียวกัน ก็นับเป็นจิตตุปปาทะ ๗ ขณะ หรือ ๗ ดวง ตทาลัมพนจิตในวิถีนั้นมี ๒ ดวง หรือ ๒ ขณะ ซึ่งทำตทาลัมพนกิจอย่างเดียว ก็นับเป็นจิตตุปปาทะ ๒ ดวง หรือ ๒ ขณะ

คำว่า วิถีจิต คือ จิตในวิถีนั้นมีกี่อย่าง มีความหมายว่า จิตในวิถีนั้นทำกิจ กี่อย่าง ทำกิจอย่างหนึ่งก็เรียกว่ามีวิถีจิต ๑ นับแต่ อาวัชชนจิต คือจิตที่รับอารมณ์ใหม่เป็นต้นไป เช่นเดียวกับจิตตุปปาทะ แต่ไม่นับเรียงดวง นับเป็นพวก ๆ เช่น ชวนจิตมีจิตตุปปาทะ ๗ แต่ทำชวนกิจอย่างเดียวเท่านั้นก็เรียกว่าวิถีจิต ๑, ตทาลัมพนจิต ๒ ดวง ทำตทาลัมพนกิจอย่างเดียวก็เรียกว่า วิถีจิต ๑ เช่นกัน รวมชวนจิต ๗ ตทาลัมพนจิต ๒ เป็นจิต ๙ ดวง ก็เรียกว่า มีวิถีจิต ๒ เป็นต้น

คำว่า ขณะ คือ จิตเกิดขึ้นดวงหนึ่งก็นับเป็นขณะหนึ่ง เรียกว่า ขณะจิต บางทีก็เรียก ขณะ เฉย ๆ แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นดวงหนึ่งที่เรียกว่าขณะหนึ่งนั้น ยังแบ่ง ได้เป็น ๓ อนุขณะ หรือ ๓ ขณะเล็ก คือ อุปาทขณะ หมายถึงขณะที่จิตเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, ฐีติขณะ หมายถึงขณะที่จิตตั้งอยู่ ๑ อนุขณะ และ ภังคขณะ หมายถึง ขณะที่จิตนั้นดับไป ๑ อนุขณะ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ขณะจิตหรือจิตแต่ละดวง นั้นมีอายุ ๓ อนุขณะ คือ อุปาทขณะ ๑, ฐีติขณะ ๑, ภังคขณะ ๑

อนึ่งจิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ มีความหมายว่า จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๑๗ ขณะ หรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุ เท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็น อุปาทขณะ คือขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็น ฐีติขณะ คือขณะที่รูปตั้งอยู่๔๙ อนุขณะ และเป็น ภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า อุปาทขณะของจิตกับอุปาทขณะของรูปมี ๑ อนุขณะ เท่ากัน ภังคขณะของจิตกับภังคขณะของรูปก็มี ๑ อนุขณะเท่ากันอีก ส่วนฐีติ ขณะของจิตก็มี ๑ อนุขณะ แต่ฐีติขณะของรูปนั้นมีถึง ๔๙ อนุขณะ รูปจึงมีอายุยืนยาวกว่าจิตมาก

รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตฺตรสายุกรูป
รูปธรรมทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็น สตฺตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิต เพียง ๒๒ รูป เท่านั้น ส่วนอีก ๖ รูป คือ วิญญัติรูป ๒ และ ลักขณะรูป ๔ มีอายุไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต เพราะวิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่า กับอายุของจิตดวงเดียวคือ ๓ อนุขณะ เท่านั้น

ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูป กับ สันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้น ไม่ถึง ๕๑ ขณะ ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้ง อยู่คือ ฐีติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ และอนิจจตารูปที่กำลังดับไป คือ ภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ เป็นอันว่าลักขณะ รูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปมีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะ แม้แต่สักรูปหนึ่ง ก็ไม่มีอายุถึง ๕๑ อนุขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 22.48 KiB | เปิดดู 11195 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 26.62 KiB | เปิดดู 11195 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 21.42 KiB | เปิดดู 11195 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 24.87 KiB | เปิดดู 11195 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 20.88 KiB | เปิดดู 11195 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 18.92 KiB | เปิดดู 11195 ครั้ง ]
เพื่อให้เข้าใจความหมายและการนับจำนวน จิตตุปปาทะ วิถีจิต และ ขณะจิต ได้ง่ายเข้า ดูภาพประกอบคำอธิบายข้างต้นดังนี้

อติมหันตารมณ์วิถี
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗
ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ จิตตุปปาทะ ๑๔

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ วิถีจิต ๗

มหันตารมณ์วิถี
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗
ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ภ

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ จิตตุปปาทะ ๑๒

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ วิถีจิต ๖

ปริตตารมณ์วิถี
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗
ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ภ ภ ภ ภ

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ จิตตุปปาทะ ๗

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ วิถีจิต ๕


อติปริตตารมณ์วิถี
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗
ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ภ ภ ภ ภ

จิตตุปาทะ และวิถีจิต ไม่มีเลย

วิภูตารมณ์วิถี
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต ภ

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ จิตตุปปาทะ ๑๐

๑ ๒ ๓ วิถีจิต ๓

อวิภูตารมณ์วิถี
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ภ ภ

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ จิตตุปปาทะ ๘

๑ ๒ วิถีจิต ๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1302443568.jpg
1302443568.jpg [ 42.62 KiB | เปิดดู 13287 ครั้ง ]
ความหมายของอักษรย่อ
ตี = อตีตภวังค,
น = ภวังคจลนะ,
ท = ภวังคุ ปัจเฉทะ,
ป = ปัญจทวาราวัชชนะ,
วิ = ปัญจวิญญาณ,
สํ = สัมปฏิจฉันนะ,
สัน = สันตีรณะ,
วุ = โวฏฐัพพนะ,
ช = ชวนะ,
ต = ตทาลัมพนะ,
ภ = ภวังค,
มโน = มโนทวาราวัช

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง อติมหันตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี และอติปริตตารมณ์ วิถี เป็นวิถีที่เกิดทางปัญจทวาร ซึ่งต้องมีรูปธรรมเป็นอารมณ์แน่นอน อายุของ รูปธรรมนั้นมี ๑๗ ขณะจิต จึงแสดงจิต ๑๗ ดวง เท่าอายุของรูปธรรมที่มา เป็นอารมณ์
ส่วนวิภูตารมณ์วิถี และอวิภูตารมณ์วิถีนั้น เป็นวิถีที่เกิดทางมโนทวาร มี รูปธรรมเป็นอารมณ์ก็ได้ มีนามธรรมหรือบัญญัติเป็นอารมณ์ก็ได้ จึงไม่ได้แสดงจิต ถึง ๑๗ ขณะ

จำแนกวิถี

ในวิถีสังคหะนี้ จำแนกวิถีออกไปตามประเภทของจิต คือ วิถีของจิตประเภท กามาวจร ก็เรียก กามวิถี
วิถีของจิตประเภทมหัคคต ก็เรียกว่า โลกียอัปปนาวิถี หรือ มหัคคตวิถี วิถีของจิตประเภทโลกุตตร ก็เรียกว่า โลกุตตรอัปปนาวิถี หรือ โลกุตตรวิถี

ในกามวิถียังแยกเป็น ๒ คือ กามวิถีทางปัญจทวาร และกามวิถีทางมโน ทวาร กามวิถีทางปัญจทวารก็แจกเป็น อติมหันตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริต ตารมณ์วิถี และอติปริตตารมณ์วิถี ส่วนกามวิถีทางมโนทวารก็แจกเป็น วิภูตารมณ์วิถี และอวิภูตารมณ์วิถี

ในอติมหันตารมณ์วิถี มี ๑ นัย มหันตารมณ์วิถี มี ๒ นัย ปริตตารมณ์วิถี มี ๖ นัย และอติปริตตารมณ์วิถี มี ๖ นัย รวมกามวิถีทางปัญจทวาร แต่ละทวารมี ๑๕ นัย ๕ ทวาร ก็เป็น ๗๕ นัย ดูภาพต่อไปนี้ประกอบด้วย จะทำให้เข้าใจได้ง่ายเข้า
ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี โลกียอัปปนาวิถี โลกุตตรอัปปนาวิถี

อติมหันตารมณ์วิถี ๑ นัย วิภูตารมณ์วิถี
มหันตารมณ์วิถี ๒ นัย อวิภูตารมณ์วิถี
ปริตตารมณ์วิถี ๖ นัย
อติปริตตารมณ์วิถี ๖ นัย
รวม ๑๕ นัย
๕ ทวาร เป็น ๗๕ นัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 146.17 KiB | เปิดดู 11192 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 124.21 KiB | เปิดดู 11190 ครั้ง ]
...........

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจทวารวิถี

ปัญจทวารวิถี อยู่ในประเภท กามวิถี อย่างเดียว
เพราะอัปปนาวิถีไม่เกิดทางปัญจทวารเลย
ปัญจทวารวิถี คือ วิถีจิตที่ปรากฏอารมณ์ทางปัญจทวารเท่านั้น
ปัญทวารวิถีนี้ มีคาถาสังคหะที่ ๓ แสดงว่า

๓. วิถีจิตฺตานิ สตฺเตว จิตฺตุปฺปาทา จตุทฺทส
จตุปญฺญาส วิตฺถารา ปญฺจทฺวาเร ยถารหํ ฯ


แปลความว่า วิถีจิตที่ปรากฏอารมณ์ทางปัญจทวารนั้น
กล่าวโดยวิถีจิต แล้วมี ๗
กล่าวโดยจิตตุปปาทะ แล้วมี ๑๔
กล่าวโดยพิสดาร แล้วมี ๕๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 25.79 KiB | เปิดดู 11185 ครั้ง ]
อธิบาย

ปัญจทวารวิถี กล่าวโดยวิถีจิต คือ จิตที่นับเป็นวิถีแล้ว มี ๗ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑, ทวิปัญจวิญญาณจิตดวงใดดวงหนึ่งแล้วแต่อารมณ์ที่มา ปรากฏ ๑, สัมปฏิจฉันนจิต ๑, สันตีรณจิต ๑, โวฏฐัพพนจิต ๑, ชวนจิต ๑, และ ตทาลัมพนจิต ๑

เมื่อกล่าวโดยจิตตุปปาทะ คือ ตามจำนวนจิตที่เกิดขึ้นแล้วมี ๑๔ ได้แก่ ปัญจ ทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง ทวิปัญจวิญญาณจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง สัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้น ๑ ดวง สันตีรณจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง โวฏฐัพพนจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง ชวนจิตเกิด ขึ้น ๗ ดวง (คือ ๗ ขณะ) และตทาลัมพนจิตเกิดขึ้น ๒ ดวง (คือ ๒ ขณะ) ดังนี้ จึงรวมเป็น ๑๔
การนับจำนวนวิถีจิตก็ดี การนับจำนวนจิตตุปปาทะก็ดี ได้แสดงเป็นภาพเพื่อ ให้เห็นได้ง่าย ที่หน้า ๗-๘ ขอให้พลิกไปดูประกอบด้วย
ถ้ากล่าวโดยพิสดารแล้วมี ๕๔ นั้น หมายความว่า บรรดาจิตที่อาจจะเกิดขึ้น ในปัญจทวารวิถีได้มีทั้งหมดรวม ๕๔ ดวง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัญจทวารวิถี มีจิตที่จะเกิดได้ถึง ๕๔ ดวง ซึ่งจิตทั้ง ๕๔ ดวงนี้ ล้วนแต่เป็น กามจิต ทั้งนั้น
คือ

วิถีจิตที่เรียกว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
วิถีจิตที่เรียกว่า ปัญจวิญญาณจิต มีจิตที่เกิดได้คือ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง
วิถีจิตที่เรียกว่า สัมปฏิจฉันนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง
วิถีจิตที่เรียกว่า สันตีรณจิต มีจิตที่เกิดได้คือ สันตีรณจิต ๓ ดวง
วิถีจิตที่เรียกว่า โวฏฐัพพนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
วิถีจิตที่เรียกว่า ชวนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ กามชวนจิต ๒๙ ดวง
วิถีจิตที่เรียกว่า ตทาลัมพนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ ตทาลัมพนจิต ๑๑ ดวง

รวมตัวเลขได้ ๕๗ แต่ต้องหัก สันตีรณจิต ๓ ซึ่งรวมอยู่ในตทาลัมพนจิต ๑๑ อีกด้วยนั้นออกเสีย เพราะซ้ำกัน จึงคงเหลือ ๕๔ ดวง ทั้ง ๕๔ ดวงนี้ เป็นกามจิต ทั้งสิ้น แสดงเป็นภาพได้ดังนี้

ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต
--------๑.๑๐.๒.๓.๑--กามชวน ๒๙--๑๑

รวมกามจิต ๕๔

อนึ่ง ที่แสดงว่า ปัญจทวารวิถี กล่าวโดยวิถีจิตมี ๗ กล่าวโดยจิตตุปปาทะมี ๑๔
กล่าวโดยพิสดารมี ๕๔ นั้น เป็นการแสดงส่วนรวมถึงจำนวนอย่างมากที่จะ พึงมีพึงเป็นไปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7796-1.jpg
7796-1.jpg [ 17.81 KiB | เปิดดู 13269 ครั้ง ]
ขณะจิตในอติมหันตารมณ์วิถี

อติมหันตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตที่เกิดทางปัญจทวาร มีถึง ๑๗ ขณะจิต ตาม ลำดับดังต่อไปนี้

ขณะที่ ๑ อตีตภวังค เป็นภวังคจิตดวงแรกที่กระทบกับอารมณ์ใหม่ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
อารมณ์ใหม่มากระทบกับภวังคจิตดวงใด ภวังคจิตดวงนั้นได้ชื่อ ว่า อตีตภวังค
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ภวังคจิตมี กรรมอารมณ์ หรือกรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อน ซึ่งขอ สมมติเรียกว่าอารมณ์เก่า
อตีตภวังคก็คงมีอารมณ์เก่า ยังไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ เป็น แต่เพียงอารมณ์ใหม่มากระทบเท่านั้นเอง
ดังนั้น จิตดวงนี้จึงยังไม่เรียกว่า วิถีจิต

ขณะที่ ๒ ภวังคจลนะ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ
แต่ยังคงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเหมือนกัน

ขณะที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ เป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์ เก่า
วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นต่อไป ภวังคุปัจเฉทะนี้ ก็ยัง
คงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเช่นเดียวกัน
อตีตภวังค ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ ทั้ง ๓ ขณะ ที่กล่าวมานี้ ได้แก่ ภวังคจิต
ดวงเดียวกัน ดวงใดดวงหนึ่งในจำนวนภวังคจิต ๑๕ ดวง (เว้นอรูป วิปากจิต ๔)

ขณะที่ ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นกิริยาจิตก็เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาอารมณ์ ใหม่ที่มากระทบนั้น
ว่าเป็นอารมณ์ที่มาทางทวารไหน จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่ วิญญาณจิตทางทวารนั้น
ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้เป็นปฐมวิถีจิต คือ เป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นวิถี หรือที่นับ เป็นวิถี เพราะจิตดวงนี้
ได้รับอารมณ์ใหม่แล้ว และจิตดวงต่อ ๆ ไป ก็รับอารมณ์ ใหม่ และนับเป็นวิถีจิต
จนกว่าจะสุดวิถี คือ กลับเป็นภวังคไปตามเดิม

ขณะที่ ๕ ปัญจวิญญาณ ก็เกิดขึ้นตามควรแก่อารมณ์ คือ
เป็น รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้น เห็นรูปนั้น
เป็น สัททารมณ์ โสตวิญญาณ ก็เกิดขึ้น ได้ยินเสียงนั้น
เป็น คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้กลิ่นนั้น
เป็น รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้รสนั้น
เป็น โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้สึกในสัมผัสนั้น

ขณะที่ ๖ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณเสนอต่อไป ยังสันตีรณะ
ขณะที่ ๗ สันตีรณะ เกิดขึ้นไต่สวนอารมณ์นั้น ว่าดีหรือไม่ประการใด
ขณะที่ ๘ โวฏฐัพพนะ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำหน้าที่ โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวารนี้
ก็เกิดขึ้น ตัดสินและกำหนดให้เป็นไป กุสล หรือ อกุสล หรือกิริยา ตามควรแก่ มนสิการ และบุคคล

ขณะที่ ๙ ถึงขณะที่ ๑๕ รวม ๗ ขณะ เป็น ชวนจิต ทั้ง ๗ ขณะ เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นเป็นกุสล
อกุสล กิริยา ตามที่โวฏฐัพพนะได้ตัดสินและกำหนดมานั้นแล้วเสพให้เป็นกุสลก็เป็นกุสลทั้ง ๗ ขณะ
ให้เป็นอกุสลหรือกิริยาอย่างใดก็เป็น อย่างนั้นแต่อย่างเดียวตลอดทั้ง ๗ ขณะ ชวนจิตที่เกิดได้ในวิถีนี้ ได้เฉพาะกามชวนจิต ๒๙ ดวงเท่านั้น

ขณะที่ ๑๖ และ ๑๗ ตทาลัมพนะ ก็เกิดขึ้นยึดหน่วงอารมณ์ที่เหลือจาก ชวนะนั้นอีก ๒ ขณะ
เป็นอันครบ ๑๗ ขณะจิต เป็นอันสิ้นสุดวิถี และสิ้นอายุของอารมณ์ใหม่นั้น ด้วยพอดี
แล้วก็กลับเป็นภวังคจิต รับอารมณ์ต่อไปตามเดิม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 33.87 KiB | เปิดดู 11185 ครั้ง ]
ขณะจิตในมหันตารมณ์วิถี

มหันตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร มี ๒ นัย
มีขณะจิตเหมือนกับ อติมหันตารมณ์วิถีทุกประการ เว้นแต่

ก. มหันตารมณ์วิถีนัยที่ ๑ มีอตีตภวังค ๒ ขณะ นัยที่ ๒ มีอตีตภวังค ๓ ขณะ ที่มีอตีตภวังคมากขณะ
ก็เพราะว่า วัตถุ ๕ (คือปสาทรูป ๕) และปัญจารมณ์ นั้นบกพร่องหรืออ่อน อารมณ์นั้นจึงต้องกระทบ
กับภวังคจิตหลาย ๆ ครั้ง ภวังคจิต จึงจะรู้สึกตัวไหวตัวได้

ข. ไม่มีตทาลัมพนะภายหลังชวนะ (ดูภาพประกอบด้วย) กล่าวคือ
เมื่อชวนะเสพอารมณ์ครบ ๗ ขณะ แล้วก็เป็นภวังคจิตรับอารมณ์เก่าไปเลย
ทั้งนี้ เพราะอารมณ์นั้นหมดอายุ จึงดับไปไม่เหลือพอให้เกิดตทาลัมพนะได้ ๒ ขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2013, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 87.39 KiB | เปิดดู 11186 ครั้ง ]
ขณะจิตในปริตตารมณ์วิถี

ปริตตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร มี ๖ นัย
นัยที่ ๑ มี อตีตภวังค ๔ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๔ ขณะ
นัยที่ ๒ มี อตีตภวังค ๕ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๓ ขณะ
นัยที่ ๓ มี อตีตภวังค ๖ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๒ ขณะ
นัยที่ ๔ มี อตีตภวังค ๗ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๑ ขณะ
นัยที่ ๕ มี อตีตภวังค ๘ ขณะ ไม่มีภวังคจิตข้างหลังมีแค่โวฏฐัพพนะ ๓ ขณะ
นัยที่ ๖ มี อตีตภวังค ๙ขณะไม่มีภวังคจิตข้างหลังและมีโวฏฐัพพนะเพียง ๒ ขณะ

ปริตตารมณ์วิถีนี้ มีจิตตุปปาทะ หรือวิถีจิตเพียงแค่โวฏฐัพพนะเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะวัตถุ ๕
หรือปัญจารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างบกพร่องมาก จึงรับอารมณ์ได้ไม่ชัดเจน
แจ่มแจ้งพอที่จะตัดสิน และกำหนดลงไปได้ว่า ควรจะเป็นอย่างไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร