วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม ที่เป็น สังขตธรรม คือ
จิต เจตสิก รูป ต้องมีอารมณ์ วัตถุ มนสิการ ปรุงแต่ง
ต้องมีกรรม จิต อุตุ อาหาร ปรุงแต่ง

ปรมัตถธรรม ที่เป็น อสังขตธรรม คือ
นิพพาน ไม่ต้องมีอะไรปรุงแต่ง


สภาพของนิพพาน

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพาน
เป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน

และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ
และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทนอยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่า
นั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

สนฺติ ลกฺขณา มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ
อจฺจุต รสา มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)
อนิมิตฺต ปจฺจุปฏฺฐานา ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ
(วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา (หรือ) มีความออกไปจากภพ เป็นผล
ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พระอนุรุทธาจารย์ ได้พรรณาสภาพของนิพพาน เพื่อแสดงให้รู้ว่า นิพพาน คืออะไร
ไว้ ๕ ประการ โดยประพันธ์ เป็นคาถาสังคหะ ( คาถาที่ ๑๓ ) ว่า

๑๓. ปทมจฺจุตมจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ
นิพพานมิติ ภาสนฺติ วานมตฺตา มเหสโย ฯ


แปลความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัด ตรัสรู้ ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย

ธรรมที่เที่ยง (คือ พ้นจากกาลทั้ง ๓) ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใด
จะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ
ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า
เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า
นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดย
มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน
บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ
บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วจนัตถะของนิพพาน

คำว่า นิพพาน มีวจนัตถะ หรือวิเคราะห์ มีความหมายมากมายหลายนัย จะนำมากล่าวแต่เพียงเล็กน้อย
เท่านั้น กล่าวอย่างธรรมดาสามัญที่สุด ก็ว่า นิพพาน แปลว่า ตัณหาดับสนิท คำว่าดับสนิท หมายความว่า
เมื่อดับไปแล้ว ไม่มีการเกิดขึ้นได้อีกเลย
อีกนัยหนึ่งก็ว่า กิเลสดับสิ้นไปเมื่อใด เมื่อนั้นแหละ คือถึงซึ่งนิพพาน คำว่า ดับสิ้น หมายความว่า
ต้องดับสนิท
ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ตัณหาหรือกิเลสดับ แต่สำคัญตรงที่ไม่เกิด ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่เกิดอีกแล้ว
นั่นแหละ คือ นิพพาน
นิพพาน มาจากคำว่า นิ ซึ่งแปลว่า พ้นจาก และคำว่า วาน แปลว่า ตัณหา ดังนั้น คำว่า นิพพาน
จึงแปลว่า ธรรมที่พ้นจากตัณหา

ธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาเครื่องร้อยรัดนั้น เรียกว่า นิพพาน
ธรรมชาติของสันติที่เกิดโดยพ้นจากตัณหานั้น เรียกว่า นิพพาน
นิพพานมีความสุขที่พ้นจากกิเลส เป็นลักษณะ

สุข เวทยิตสุข สุขอันเกิดจากเวทนา

สุข สันติสุข สุขอันเกิดโดยพ้นจากเวทนา

เวทยิตสุข สุขอันเกิดจากเวทนานั้น เป็นสุขที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ
สันติสุข สุขอันเกิดโดยพ้นจากเวทนานั้น เป็นสุขที่ไม่ได้เกิดจากการเสวยอารมณ์
เป็นนิโรธสัจจ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

สุข ( เวทนา ) จะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีการเสวย ( อารมณ์ )

ใน สตุตันตปิฎก เล่ม ๓๓ หน้า ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวยอารมณ์นั่นแหละ เป็นความสุขที่แท้จริง
เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง
ดังนั้น จึงจัด สุขเวทนา ว่าเป็น วิปริณามทุกข์ คือ ความสุขนั้นจะต้องวิปริตผันแปรไปเป็นทุกข์อย่างแน่นอน
ส่วน สุขในนิพพาน ไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็น สันติสุข จึงไม่ผันแปรไปเป็นอื่นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานโดยการณูปจารนัย

นิพพาน กล่าวโดย การณูปจารนัย คือกล่าวโดยปริยายแห่งเหตุแล้ว มี ๒ คือ

ก. สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่นิพพานที่กิเลสดับสิ้นอย่างเดียว ส่วนขันธ์ ๕ ยังคงเหลืออยู่
ข. อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานที่กิเลสดับสิ้น และขันธ์ ๕ ก็ดับ สิ้นแล้ว ไม่มีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ สภาพที่ไม่เกิดซึ่งขันธ์ หลังการดับ ( ของพระอรหันต์เจ้า )

นิพพาน โดยอาการที่เข้าถึง

นิพพาน กล่าวโดยอาการที่เข้าถึง หรือกล่าวโดยสภาพที่บรรลุ หรือโดยอาการ ที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ

ก. อนิมิตนิพพาน
ข. อัปปณิหิตนิพพาน
ค. สุญญตนิพพาน

ก. อนิมิตนิพพาน หมายถึงนิพพานนั้นไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง การสงัดจากนิมิตอารมณ์
ที่ยังให้เกิดกิเลส หรือ ชรามรณธรรม เป็นต้น นั้น เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง
อันปราศจากนิมิตเครื่องหมายเช่นนี้แล้ว และเพ่งอนิจจังต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นอนิจจังนั้นมี ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน ผู้มีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์
บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรง ด้วย ศีล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2013, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์เป็นที่น่าปรารถนา
การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดสรรพทุกข์นั้น เรียกว่า อัปปณิหิต นิพพาน
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ ทุกข์ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป
อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้เช่นนี้แล้ว และเพ่งทุกข์ต่อไปจนบรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นทุกข์นั้นมีชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน ผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณ์
บุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วย สมาธิ

ค. สุญญตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทาน และ ขันธ์ ๕
ไม่มีอะไรเหลืออยู่ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนัตตา เห็นความไม่ใช่ตัวตน
บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า เช่นนี้แล้ว และเพ่งอนัตตาต่อไปจนบรรลุมัคคผล
มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นอนัตตานั้น มีชื่อว่า สุญญตนิพพาน
ผู้ที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา
ผู้ที่เห็นสามัญญลักษณ์ หรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจังกับอนัตตาแล้วก้าวขึ้นสู่ มัคคผลนั้น
มีจำนวนมากกว่าผู้ที่เห็นทุกขัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณนามของนิพพาน

เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็น ได้ว่า นิพพาน นั้น

ก. กล่าวโดยสภาพ ก็มีเพียง ๑ คือ สันติสุข สงบจากกิเลสและขันธ์ ๕
ข. กล่าวโดยปริยายแห่งเหตุ ก็มี ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน
ค. กล่าวโดยอาการเข้าถึง ก็มี ๓ คือ อนิมิตตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน และ สุญญตนิพพาน
นอกจากนี้แล้ว ยังมีแสดงไว้อีกหลายนัย เช่น
ง. กล่าวโดยประเภทแห่งมัคค ก็มี ๔ คือ นิพพานแห่งโสดาปัตติมัคค แห่งสกิทาคามิมัคค
แห่งอนาคามิมัคค และ แห่งอรหัตตมัคค
จ. กล่าวโดยการดับกามคุณ ก็มี ๕ คือ ดับความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส และในการสัมผัสถูกต้อง
ฉ. กล่าวโดยการดับตัณหา ก็มี ๖ คือ การดับตัณหาในรูป คือการดับรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฐฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา
ช. กล่าวโดยชื่อ คือ นามแห่งคุณของนิพพาน มีตั้ง ๑๐๐ กว่าชื่อ เพียงแต่ชื่อของนิพพาน ก็พอที่
จะทำให้ทราบความ หมายแห่งนิพพานด้วย ดังนั้นจึงขอยกมากล่าวสัก ๓๐ ชื่อ คือ

๑. อเสสวิราคนิโรโธ เป็นธรรมที่ ดับทุกข์โดยพ้นจากราคะไม่มีเศษเหลือ
๒. อเสสภวนิโรโธ เป็นธรรมที่ ดับภพไม่มีเศษเหลือ
๓. จาโค เป็นธรรมที่ สละจากตัณหาทั้งปวง
๔. ปฏินิสฺสคฺโค เป็นธรรมที่ พ้นจากภพต่างๆ
๕. มุตฺติ เป็นธรรมที่ พ้นจากกิเลส
๖. อนาลโย เป็นธรรมที่ ไม่มีความอาลัย
๗. ราคกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นราคะ
๘. โทสกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นโทสะ
๙. โมหกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นโมหะ
๑๐. ตณฺหกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นตัณหา
๑๑. อนุปฺปาโท เป็นธรรมที่ ดับขันธ์ ๕
๑๒. อปวตฺตํ เป็นธรรมที่ ดับรูปนาม
๑๓. อนิมิตฺตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีสังขารนิมิต
๑๔. อปฺปณิหิตํ เป็นธรรมที่ ปราศจากความต้องการ
๑๕. สุญฺญตํ เป็นธรรมที่ สูญสิ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง
๑๖. อปฺปฏิสนฺธิ เป็นธรรมที่ ไม่ปฏิสนธิอีก
๑๗. อนุปฺปตฺติ เป็นธรรมที่ ไม่อุบัติต่อไป
๑๘. อนายูหนํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความพยายามอีกแล้ว
๑๙. อชาตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเกิด
๒๐. อชรํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความแก่
๒๑. อพยาธิ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเจ็บป่วย
๒๒. อคติ เป็นธรรมที่ ไม่มีที่ไป
๒๓. อมตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความตาย
๒๔. อโสกํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความโศกเศร้า
๒๕. อปริเทว เป็นธรรมที่ ไม่มีการร้องไห้
๒๖. อนุปายาส เป็นธรรมที่ ไม่มีการรำพันพร่ำบ่น
๒๗. อสงฺกิลีฏฺฐ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเศร้าหมอง
๒๘. อสงฺขตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
๒๙. นิวานํ เป็นธรรมที่ พ้นจากเครื่องร้อยรัด
๓๐. สนฺติ เป็นธรรมที่ สงบสุขจากทุกข์ทั้งปวง

มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๑๔ ส่งท้ายว่า

๑๔. อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ
ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จตุธาว ตถาคตา ฯ

แปลความว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ทรงประกาศปรมัตถธรรม โดยย่อเป็น ๔ ประการ
คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น โดยนัยที่บรรยายมาฉะนี้


อวสานคาถา

อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตถสงฺคเห
ฉฏฐม ปริจฺฌฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ


นี่ปริจเฉทที่ ๖ ( ชื่อ รูปสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม
ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อเพียงเท่านี้แล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร