วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๒ สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยแก่ วิญญาณ คือ วิญญาณจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะ
มีสังขารเป็นปัจจัย ลักขณาทิจตุกะของสังขาร มีดังนี้

อภิสงฺขรณ ลกฺขณา มีการปรุงแต่ง เป็นลักษณะ
อายูหน รสา มีการพยายามให้ปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้น หรือ พยายามให้ผล คือรูปขันธ์นาม
ขันธ์เกิดขึ้นเป็นกิจ
เจตนา ปจฺจุปฏฺฐานา จงใจทำให้เกิดความสำเร็จ เป็นผล
อวิชฺชา ปทฏฺฐานา มี อวิชชา เป็นเหตุใกล้

สังขารที่กล่าวแล้วในบทอวิชชานั้น เป็นสังขารที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของ อวิชชา ซึ่งได้แก่
เจตนา ๒๙ หรือ กรรม ๒๙
ส่วนสังขารที่กล่าวถึงในบทนี้ เป็นสังขารที่เป็นปัจจัยธรรม อุปการะช่วยเหลือ ให้เกิดวิญญาณนั้น
ก็ได้แก่ เจตนา ๒๙ หรือ กรรม ๒๙ เหมือนกัน
วิญญาณ ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขารนี้ มีแสดงเป็น ๒ นัย คือ อภิธัมมภาชนิยนัย
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ๑ และ สุตตันตภาชนิยนัย ตาม นัยแห่งพระสูตร ๑
ตามนัยแห่งพระอภิธรมนั้น วิญญาณที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขาร ได้แก่ จิตทั้งหมด
(และเจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้น ๆ ด้วย) เพราะจิตจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยมีสังขารเป็นปัจจัย
คือต้องมีสิ่งปรุงแต่ง
ตามนัยแห่งพระสูตรนั้น วิญญาณที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขาร ก็ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒
คือ อกุสลวิบากจิต ๗, อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘, มหา วิบากจิต ๘ และ มหัคคตวิบากจิต ๙ นั้น
โลกียวิบากวิญญาณ ๓๒ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขารนี้ ยังจำแนก ได้เป็น ๒ จำพวก คือ
วิญญาณที่เกิดในปฏิสนธิกาล มีชื่อว่า ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวงนั้นพวกหนึ่ง
ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ดวงนี้ก็อยู่ในจำนวนโลกียวิบากวิญญาณ ๓๒ นั่นเอง
วิญญาณที่เกิดในปวัตติกาล มีชื่อว่า ปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิบากจิต ๓๒ อีกพวกหนึ่ง
ซึ่งไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิ แต่ทำภวังคกิจ และกิจอื่น ๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อบุญญาภิสังขาร

๑. อบุญญาภิสังขาร เฉพาะเจตนาในอกุสลจิต ๑๑ ดวง (เว้นอุทธัจจเจตนา) เป็นปัจจัยธรรม
ให้เกิดปฏิสนธิ
วิญญาณเป็นปัจจยุบบันนธรรมในปฏิสนธิกาล คือ อุเบกขาสันตีรณอกุสลวิบาก ๑ ดวง
ให้ปฏิสนธิในอบายภูมิทั้ง ๔ เป็นพวกทุคคติ อเหตุกบุคคล ซึ่งมักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ทุคคติบุคคล
๒. อบุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาในอกุสลจิตทั้ง ๑๒ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปวัตติวิญญาณเป็น
ปัจจยุบบันนธรรมในปวัตติกาล คือ อกุสลวิบากจิต ๗ ดวง ให้ได้เห็น(จักขุวิญญาณ), ให้ได้ฟัง(โสตวิญญาณ), ให้ได้กลิ่น (ฆานวิญญาณ), ให้ได้รส(ชิวหาวิญญาณ), ให้ได้การสัมผัสถูกต้อง(กายวิญญาณ), ให้มีการรับ อารมณ์(สัมปฏิจฉันนะ), ให้มีการไต่สวนอารมณ์(สันตีรณ), และการรับอารมณ์ต่อ จากชวนะ(ตทาลัมพนะ) ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ตลอดจนการรักษาภพรักษาชาตินั้น (ภวังคจิต) ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บุญญาภิสังขาร
๑. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในมหากุสลชนิดที่เป็นทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุกโอมโกมกะ
เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจยุบบันน ธรรมในปฏิสนธิกาล คือ อุเบกขาสันตีรณกุสล
วิบาก ๑ ดวง ให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ และเทวดาชั้นต่ำ มีความพิกลพิการ บ้า ใบ้ หนวก บอด เป็นต้น
ซึ่งนับว่าเป็น พวกสุคติอเหตุกบุคคล
๒. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในมหากุสล ชนิดที่เป็นติเหตุกโอมกุกกัฏฐะ ติเหตุกโอมโกมกะ
ทวิเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐะ และทวิเหตุกอุกกัฏโฐมกะ เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ เป็น
ปัจจยุบบันนธรรมในปฏิสนธิกาล คือ มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง ให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์และเทวดา
ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มาแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่าเป็นพวกทวิเหตุกบุคคล
๓. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในมหากุสลชนิดที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐะ และติเหตุกอุกกัฏโฐมกะ
เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจยุบบันน ธรรมในปฏิสนธิกาล คือ มหาวิบากญาณสัม
ปยุตต ๔ ดวง ให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ และเทวดาที่ประกอบด้วยปัญญามาแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่าเป็นพวก
ติเหตุกบุคคล
๔. บุญญาภิสังขาร ทั้ง ๓ ข้อนี้ซึ่งได้แก่เจตนาในมหากุสลทั้ง ๘ เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปวัตติวิญญาณ
เป็นปัจจยุบบันนธรรมในปวัตติกาล คือ
ก. อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง ให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ถูกต้อง การรับอารมณ์ การไต่
สวนอารมณ์ และการรับอารมณ์ต่อจากชวนะ เหล่านี้ ล้วนแต่ที่ดีทั้งนั้น
ข. มหาวิบาก ๘ ดวง ทำกิจรับอารมณ์ต่อจากชวนะ คือทำตทาลัมพนกิจ
ค. มหาวิบาก ๘ ดวง และอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง รวม ๙ ดวง ทำหน้าที่รักษาภพรักษาชาติ
นั้น ๆ (ภวังคจิต) กับทำหน้าที่จุติกิจด้วยเจตนาในมหากุสลจิต ๘ ดวง ที่จำแนกเป็น ติเหตุกอุกัฏฐุกกัฏฐะ,
ติเหตุกอุก กัฏโฐมกะ, ติเหตุกโอมกุกกัฏฐะ, ติเหตุกโอมโกมกะ, ทวิเหตุกอุกัฏฐุกกัฏฐะ, ทวิเหตุกอุกกัฏ
โฐมกะ, ทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุกโอมโกมกะ รวม ๘ อย่างนี้ ได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๕ หมวด
ที่ ๓ กัมมจตุกะ ตอนที่ตั้งแห่งวิบากจิต (ปากฐาน) นั้นแล้ว จึงไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
๕. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในรูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณเป็น
ปัจจยุบบันธรรมในปฏิสนธิกาล คือ รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง ในปฏิสนธิเป็นรูปพรหมในรูปภูมิ ซึ่งเรียกว่า
เป็นพวกติเหตุกบุคคลเหมือนกัน
๖. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในรูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปวัตติวิญญาณเป็น
ปัจจยุบบันนธรรมในปวัตติกาล คือการรักษาภพชาตินั้น ๆ (ภวังคจิต) ตลอดจนทำหน้าที่จุติกิจด้วย
ส่วนอเหตุกกุสลวิบากจิต ๕ ดวง ให้ได้ เห็น(จักขุวิญญาณ), ให้ได้ยิน(โสตวิญญาณ), มีการรับอารมณ์
(สัมปฏิจฉันนะ) และ การไต่สวนอารมณ์(สันตีรณะ) ล้วนแต่ที่ดีนั้นเป็นกามวิบาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อาเนญชาภิสังขาร

๑. อาเนญชาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในอรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
เป็นปัจจยุบบันนธรรมในปฏิสนธิกาล คือ อรูปาวจร วิบากจิต ๔ ให้ปฏิสนธิเป็นอรูปพรหมในอรูปภูมิ ซึ่ง
เรียกว่าเป็นจำพวกติเหตุกบุคคล
๒. อาเนญชาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในอรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปวัตติวิญญาณ
เป็นปัจจยุบบันนธรรมในปวัตติกาล คือ อรูปาวจรวิบาก จิต ๔ ทำหน้าที่ภวังคกิจ รักษาภพรักษาชาติ
นั้น ๆ และทำหน้าที่จุติกิจอีกด้วย
ในบทสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนี้ มีข้อที่ควรสังเกตอยู่ว่า
สังขาร ๓ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ สังขาร ๓ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณนั้น ได้แก่ เจตนา ๒๘ เท่านั้น โดยต้องเว้น อุทธัจจเจตนาเสีย ๑ เพราะอุทธัจจเจตนาไม่สามารถส่งผลให้เป็นปฏิสนธิได้
ส่วนสังขาร ๓ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดปวัตติวิญญาณนั้น ได้แก่ เจตนาทั้ง ๒๙ ดวง
เหตุที่อุทธัจจเจตนาไม่สามารถให้ผลเป็นปฏิสนธิได้นั้น ได้กล่าวไว้ในปริจเฉท ที่ ๕ หมวดที่ ๓ กัมมจตุกะ ตอนที่ตั้งแห่งวิบากจิต (ปากฐาน) นั้นแล้ว
วิญญาณที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขาร ก็จำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ และปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิบากวิญญาณ ๓๒
โลกียวิบากวิญญาณ ๓๒ นั้น เกิดได้ในปวัตติกาลอย่างเดียว มี ๑๓ ดวง คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐,
สัมปฏิจฉันนจิต ๒ และ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ส่วนปฏิสนธิ วิญญาณ ๑๙ นั้น นอกจากทำปฏิสนธิกิจในปฏิสนธิกาลโดยตรงแล้ว ในปวัตติกาล ก็ยังเกิดจิต ๑๙ ดวงนี้ได้ แต่ว่าเกิดขึ้นมาทำกิจอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่ปฏิสนธิกิจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ ที่เกี่ยวแก่สังขาร

ในบทสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นไป
ได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเพียง ๒ ปัจจัย คือ

๑. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย

ความหมายแห่งปกตูปนิสสยปัจจัย นั้นได้กล่าวแล้วในบทก่อน ในบทนี้ก็มีนัย
เป็นทำนองเดียวกันนั้นเอง จึงไม่กล่าวซ้ำอีก
ส่วน นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึงกรรมหรือสังขาร
คือเจตนาที่เกิดต่าง ขณะกัน (คือเจตนาที่ดับไปแล้วนั้น) เป็นปัจจัย
ช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิด จากกรรมนั้น ๆ ดังนั้นในที่นี้จึง
ได้แก่ สังขาร (เจตนา) เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย
วิญญาณ (วิบากวิญญาณ ๓๒) เป็นนานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปฏิสนธิวิญญาณโดยนัยต่าง ๆ

ปฏิสนธิวิญญาณ คือ ปฏิสนธิจิต ซึ่งมีจำนวน ๑๙ ดวงนี้ มีการแสดงโดยนัย ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
กล่าวโดย นัยแห่ง มิสสกะ และสุทธะ แล้วก็มี ๒ คือ
๑. รูปมิสสกวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณที่มีรูปเกิดพร้อมด้วยนั้นมี ๑๕ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณะ ๒
มหาวิบาก ๘ และรูปาวจรวิบาก ๕
๒. รูปอามิสสกวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณที่ไม่มีรูปเกิดพร้อมด้วยนั้นมี ๔ ดวง ได้แก่ อรูปาวจรวิบาก ๔ เพราะไม่มีรูปเกิดมาปะปนด้วย จึงได้ชื่อว่า สุทธะ
กล่าวโดยนัยแห่งภูมิ ก็มี ๓ คือ
๑. กามวิญญาณ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในกามภูมิ มีจำนวน ๑๐ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณ ๒ และมหาวิบาก ๘
๒. รูปวิญญาณ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณในรูปภูมิ มีจำนวน ๕ ดวง ได้แก่ รูปาวจรวิบาก ๕
๓. อรูปวิญญาณ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณในอรูปภูมิ มีจำนวน ๔ ดวง ได้แก่ อรูปาวจรวิบาก ๔

กล่าวโดย นัยแห่งกำเนิด ก็มี ๔ คือ
๑. อัณฑชวิญญาณ คือ ปฏิสนธิวิญญาณในไข่ มีจำนวน ๑๐ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณะ ๒ และมหาวิบาก ๘
๒. ชลาพุชวิญญาณ คือ ปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา มีจำนวน ๑๐ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณะ ๒ และมหาวิบาก ๘
๓. สังเสทชวิญญาณ คือ ปฏิสนธิวิญญาณในที่เปียกชื้น มีจำนวน ๑๐ ดวง อุเบกขาสันตีรณะ ๒ และ
มหาวิบาก ๘
๔. โอปปาติกวิญญาณ คือ ปฏิสนธิวิญญาณที่ไม่ได้อาศัยที่เกิดเหมือน ๓ อย่างข้างต้นนั้น แต่เกิดโดยอาการที่ผุดหรือโผล่ขึ้นมาเต็มที่เลยทีเดียว มีจำนวน ๑๙ ดวง คือ ปฏิสนธิวิญญาณทั้ง ๑๙ อันได้แก่ อุเบกขาสันตีรณ ๒, มหาวิบาก ๘ และ มหัคคตวิบาก ๙ นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดย นัยแห่งคติ ก็มี ๕ คือ

๑. เทวคติวิญญาณ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในเทวภูมิ ๖, ในรูปภูมิ ๑๕ และในอรูปภูมิ ๔ นั้น มีจำนวน ๑๘ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑, มหาวิบาก ๘ และ มหัคคตวิบาก ๙
๒. มนุสสคติวิญญาณ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในมนุสสภูมิ มีจำนวน ๙ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ และ มหาวิบาก ๘

๓. ดิรัจฉานคติวิญญาณ
๔. เปตคติวิญญาณ
๕. นิรยคติวิญญาณ
ทั้ง ๓ นี้มีปฏิสนธิวิญญาณ ๑ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณอกุสลวิบากดวงเดียวเท่านั้น

กล่าวโดย นัย แห่งวิญญาณฐีติ คือภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณนั้น ก็มี ๗ ได้แก่
๑. นานัตตกายนานัตตสัญญีวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีรูปร่าง ต่างกันและปฏิสนธิจิตก็ต่างกันอันได้แก่ ปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ ๗ นั้น มีปฏิสนธิ วิญญาณ ๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ และมหาวิบาก ๘
คำว่า นานัตตะ นี้บางทีก็ใช้อย่าง ทีฆะ ว่า นานาตตะ
๒. นานัตตกายเอกัตตสัญญีวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีรูปร่าง ต่างกัน แต่มีปฏิสนธิวิญญาณอย่างเดียวกัน อันได้แก่ ปฏิสนธิในอบายภูมิ ๔ และ ในปฐมฌานภูมิ ๓ รวม ๗ ภูมิด้วยกัน
ปฏิสนธิในอบายภูมิ ๔ มี ปฏิสนธิวิญญาณ ๑ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑
ปฏิสนธิในปฐมฌานภูมิ ๓ มี ปฏิสนธิวิญญาณ ๑ ดวง คือ รูปาวจรปฐม ฌานวิบาก ๑
๓. เอกัตตกายนานัตตสัญญีวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีรูปร่าง เหมือนกันแต่มีปฏิสนธิวิญญาณต่างกัน อันได้แก่ ปฏิสนธิในทุติยฌานภูมิ ๓ มี ปฏิสนธิวิญญาณ ๒ ดวง คือ รูปาวจรทุติยฌานวิบาก ๑ และรูปาวจรตติยฌานวิบาก ๑
๔. เอกัตตกายเอกัตตสัญญีวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีรูปร่าง เหมือนกัน และมีปฏิสนธิวิญญาณก็อย่างเดียวกัน อันได้แก่ ปฏิสนธิในตติยฌานภูมิ ๓, เวหัปผลาภูมิ ๑ และสุทธาวาสภูมิ ๕ รวม ๙ ภูมิ มีปฏิสนธิวิญญาณ ๒ ดวง คือ
ปฏิสนธิใน ตติยฌานภูมิ ๓ มีปฏิสนธิวิญญาณ ๑ ดวง คือ รูปาวจรจตุตถ ฌานวิบาก ๑
ปฏิสนธิในเวหัปผลาภูมิ ๑ และสุทธาวาสภูมิ ๕ นั้น มีปฏิสนธิวิญญาณ ๑ ดวง คือ รูปาวจรปัญจมฌานวิบาก ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. อากาสานัญจายตนวิญญาณ ปฏิสนธิในอากาสานัญจายตนภูมิ มี ปฏิสนธิวิญญาณ ๑ ดวง
คือ อากาสานัญจายตนวิบาก ๑
๖. วิญญาณัญจายตนวิญญาณ ปฏิสนธิในวิญญาณัญจายตนภูมิ มีปฏิสนธิ วิญญาณ ๑ ดวง
คือ วิญญาณัญจายตนวิบาก ๑
๗. อากิญจัญญายตนวิญญาณ ปฏิสนธิในอากิญจัญญายตนภูมิ มีปฏิสนธิ วิญญาณ ๑ ดวง
คือ อากิญจัญญายตนวิบาก ๑

ตามนัยแห่งวิญญาณฐีตินี้ ไม่ได้กล่าวถึง อสัญญสัตตภูมิ และเนวสัญญานา สัญญายตนภูมิ
เพราะว่าอสัญญสัตตภูมิเป็นภูมิของสัตว์ที่ไม่มีปฏิสนธิวิญญาณ ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
แม้จะเป็นภูมิของสัตว์ที่มีปฏิสนธิวิญญาณก็จริง แต่ว่าวิญญาณนั้นไม่ปรากฏชัด จะว่ามีก็ไม่ใช่จะว่าไม่มี
ก็ไม่เชิง ด้วยเหตุนี้จึงไม่จัด เข้าในวิญญาณฐีติ ๗ นี้ด้วย
กล่าวโดย นัยแห่ง สัตตาวาสภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๙ ภูมิด้วยกันในจำนวน ๙ ภูมินี้มีอยู่ภูมิ ๑ ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของ อสัญญสัตตผู้ไม่มีวิญญาณ ซึ่งไม่ต้อง
กล่าวในที่นี้ด้วย คงจะกล่าวแต่เพียง ๘ ภูมิซึ่ง เป็นภูมิที่อาศัยอยู่ของสัตว์ที่มีวิญญาณ ดังต่อไปนี้

๑. นานัตตกายภูมิ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน มี ๑๔ ภูมิ คือ
กามภูมิ ๑๑ และปฐมฌานภูมิ ๓
๒. เอกัตตกายภูมิ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีรูปร่างเหมือน ๆ กัน มี ๑๒ ภูมิ คือ
ทุติยฌานภูมิ ๓, ตติยฌานภูมิ ๓, เวหัปผลาภูมิ ๑ และสุทธาวาส ภูมิ ๕
๓. นานัตตสัญญีภูมิ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีปฏิสนธิจิตต่างกัน มี ๑๐ ภูมิ คือ
กามสุคติภูมิ ๗ และ ทุติยฌานภูมิ ๓
๔. เอกัตตสัญญีภูมิ หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณในภูมิที่มีปฏิสนธิจิตอย่าง เดียวกันมี ๑๖ ภูมิคือ
อบายภูมิ ๔, ปฐมฌานภูมิ ๓, ตติยฌานภูมิ ๓, เวหัปผลา ภูมิ ๑ และสุทธาวาสภูมิ ๕
๕. อากาสานัญจายตนภูมิ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณในอากาสานัญจายตน ภูมิ ๑ ภูมิ
๖. วิญญาณัญจายตนภูมิ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณในวิญญาณัญจายตนภูมิ ๑ ภูมิ
๗. อากิญจัญญายตนภูมิ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณในอากิญจัญญายตนภูมิ ๑ ภูมิ
๘. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมมิ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณในเนวสัญญานา สัญญายตนภูมิ ๑ ภูมิ
กล่าวโดย นัยแห่งภพ ก็มี ๙ ภพ ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๓ วิญญาณ

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือนามรูปจะปรากฏขึ้นได้ ก็เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย
ลักขณาทิจตุกะของวิญญาณ คือ

วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานแก่เจตสิกและกัมมชรูป เป็นกิจ
ปฏิสนฺธิ ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการสืบต่อระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นผล
สงฺขาร ปทฏฺฐานํ มีสังขาร (๓) เป็นเหตุใกล้
(วา)วตฺถารมฺมณ ปทฏฺฐานํ (หรือ)มีวัตถุ(๖) กับอารมณ์(๖) เป็นเหตุใกล้

ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณอันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขารนั้น จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ
ก. ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙
ข. ปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒
ในบทนี้ก็กล่าวได้ว่า วิญญาณอันเป็นปัจจัยธรรม คือเป็นสิ่งอุปการะช่วยเหลือ ให้เกิดนามรูปนั้น
ก็จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทเหมือนกัน คือ
ก. วิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ดวง วิปากวิญญาณนี้ เป็นเหตุใกล้ (อาสนฺนการณํ)
ข. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ และโลกียกุสลจิต ๑๗ ที่สหรคตกับ อกุสลเจตนากรรมและโลกียกุสลเจตนากรรมในอดีตภพ กล่าวสั้น ๆ ก็ว่า กัมม วิญญาณก็คือกรรม ๒๙ นั่นเอง กัมมวิญญาณนี้เป็นเหตุไกล (ทูรการณํ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนนามรูป อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของวิญญาณ นั้นมีความหมายดังนี้
นาม ในบทนี้หมายถึง เจตสิก เท่านั้น
ก. ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อนว่า วิญญาณได้แก่ จิต ทั้งหมด ดังนั้นในบทนี้ นามคือ เจตสิก ก็ได้แก่ เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง ซึ่งประกอบ กับจิตทั้งหมดนั้นตามควรแก่ที่จะประกอบได้
ข. ตามนัยแห่งพระสูตร ซึ่งในบทก่อนว่า วิญญาณ ได้แก่โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ดังนั้นในบทนี้ นามคือเจตสิกก็ได้แก่ เจตสิกเพียง ๓๕ ดวง ที่ประกอบกับ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เท่านั้น
นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ก็เรียกว่า ปฏิสนธินาม (ปฏิสนธิเจตสิก) เจตสิกที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพ และ ปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย
นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปวัตติวิญญาณ ๓๒ ก็เรียกว่า ปวัตตินาม (ปวัตติเจตสิก) เจตสิกที่เกิดในปวัตติกาลนี้ อาศัยปวัตติวิปากวิญญาณแต่อย่างเดียว เป็นปัจจัย
ส่วน รูป ในบทนี้ หมายถึงรูปภายในสัตว์ทั้ง ๒๘ รูป กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หมายเฉพาะกัมมชรูปโดยตรง และจิตตชรูปโดยอ้อมเท่านั้น
กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิวิญญาณ ๔) นั้นเรียกว่า ปฏิสนธิรูป กัมมชรูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณใน อดีตภพ และปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย
ปวัตติกัมมชรูป ที่เกิดจากกัมมวิญญาณ ๒๕ (เว้นอรูปกัมมวิญญาณ ๔) นั้น อย่างหนึ่ง กับจิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิปากวิญญาณ ๔) อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้เรียกว่า ปวัตติรูป กัมมชรูป ที่เกิดในปวัตติกาลนี้อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพแต่อย่างเดียวเป็นปัจจัย ส่วน จิตตชรูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั้นไม่มี มีแต่เกิดขึ้นในปวัตติกาล โดยอาศัยปวัตติ วิปากวิญญาณเป็นปัจจัย
รวมความว่า รูปในปฏิสนธิกาล มีแต่กัมมชรูปอย่างเดียว รูปในปวัตติกาล มีได้ทั้งกัมมชรูป และจิตตชรูป
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ จำแนกความเป็นปัจจัยได้เป็น ๓ ประการ คือ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป และวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม หมายเฉพาะว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่เจตสิก แต่ อย่างเดียว
ไม่เกี่ยวแก่รูปด้วย
๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวงที่สหรคตด้วยรูปวิราค เจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัย
แก่ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๐ ดวงที่ประกอบกับ ปฏิสนธิวิญญาณในจตุโวการภูมิ ๔ ในปฏิสนธิกาล
๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรปฏิสนธิวิญญาณ ๔ ดวง ในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม
คือเจตสิก ๓๐ ดวง ที่ประกอบกับปฏิสนธิจิตใน จตุโวการภูมิ ๔ ในปฏิสนธิกาล
๓. วิปากวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรวิปากวิญญาณ ๔ ดวง คือ ภวังคจิตเป็น ปัจจัยแก่ปวัตตินาม คือ
เจตสิก ๓๐ ดวงที่ประกอบกับภวังคจิตในจตุโวการภูมิ ๔ ในปวัตติกาล

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป หมายเฉพาะว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปแต่อย่าง เดียว ไม่เกี่ยวแก่นามด้วย
วิญญาณในที่นี้หมายถึง กัมมวิญญาณ อันได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุสลจิต ที่สหรคตด้วยเจตนาในสัญญาวิราคภาวนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในเอกโวการภูมิ คือ อสัญญสัตตภูมิ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป หมายความว่า วิญญาณนั้นอุปการะช่วยเหลือ ให้เกิดทั้งนาม คือ
เจตสิก ทั้งรูปคือกัมมชรูปและจิตตชรูปด้วย

๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๑ มหากุสลจิต ๘ และ รูปาวจรกุสล จิต ๕ รวมเป็น ๒๔ ดวง
ที่สหรคตด้วยเจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธินาม และปฏิสนธิรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖
ในปฏิสนธิกาล ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๕ ดวง ที่ประกอบกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวง
ปฏิสนธิรูป คือ กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวงนั้น

๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ ดวง ในปัจจุบันภพ เป็น ปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม คือ
เจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตนั้น ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปฏิสนธิกาล

๓. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ภวังคจิต ๑๕ ดวง เป็นปัจจัยแก่ปวัตตินาม คือ เจตสิก ๓๕ และปวัตติรูป คือ
จิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

๔. วิปากวิญญาณ ได้แก่ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ และปวัตติรูป คือจิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

๕. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือสัพพจิตต
สาธารณเจตสิก ๗ ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่วิญญาณ

ในบทวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ด้วยอำนาจ
แห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

ก. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม คือ เจตสิกแต่อย่างเดียว (ในจตุโวการภูมิ) นั้น
ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย คือ
๑.สหชาตปัจจัย ๒.อัญญมัญญปัจจัย ๓.นิสสยปัจจัย
๔.วิปากปัจจัย ๕.อาหารปัจจัย ๖.อินทรียปัจจัย
๗.สัมปยุตตปัจจัย ๘.อัตถิปัจจัย ๙.อวิคตปัจจัย

ข. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป คือ กัมมชรูปแต่อย่างเดียว(ในเอกโวการภูมิ)
นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๔ ปัจจัย คือ
๑. วิปากปัจจัย ๒. วิปปยุตตปัจจัย
๓. นัตถิปัจจัย ๔. วิคติปัจจัย

ค. วิญญาณเป็นปัจจัยทั้งนามทั้งรูป (ในปัญจโวการภูมิ) ก็ด้วยอำนาจแห่ง ปัจจัย ๙ ปัจจัย
ซึ่งเหมือนกับข้อ ก. เว้นแต่หมายเลข ๗ สัมปยุตตปัจจัย เปลี่ยน เป็นวิปปยุตตปัจจัย ปัจจัยเดียว
เท่านั้น ส่วนอีก ๘ ปัจจัยนั้นเหมือนกันทุกปัจจัยความหมายแห่งปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยใดที่ซ้ำใน
บทก่อนที่ได้แสดงความหมายมา แล้วก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะ
ปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ
๑. วิปากปัจจัย กล่าวถึงวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัน และกัน ทั้งช่วยอุปการะ
แก่รูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นด้วย ในที่นี้ก็ได้แก่ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปากปัจจัย นาม(คือเจตสิก)
และรูปที่เกิดพร้อมกับวิญญาณนั้น เป็นวิปากปัจจยุบบัน
๒. อาหารปัจจัย กล่าวถึง อาหารทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดพร้อมกันนั้น ในที่นี้
ได้แก่วิญญาณ(คือจิต) เป็นอาหารปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้นเป็นอาหาร
ปัจจยุบบัน
๓. อินทรียปัจจัย กล่าวถึง ปสาทรูป ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจ วิญญาณอย่างหนึ่ง
รูปชีวิตินทรียเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทินนกรูปอย่างหนึ่ง และนามอินทรียเป็นปัจจัย
ช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ(คือจิต)
จึงเป็นอินทรียปัจจัย นามรูปเป็นอินทรีย ปัจจยุบบัน
๔. วิปปยุตตปัจจัย หมายถึงธรรมที่ไม่ได้ประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ อย่าง คือ เอกุปปาทะ
เอกนิโรธะเอกาลัมพนะ และเอกวัตถุกะ ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปปยุตตปัจจัย
รูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น (หรือแม้แต่เกิดก่อน) ก็เป็น วิปปยุตตปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๔ นามรูป

นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ จะปรากฏขึ้นได้ก็ เพราะมีนามรูป
เป็นปัจจัย นามในบทนี้ คือ เจตสิก มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

นมนลกฺขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
สมฺปโยครสํ มีการประกอบกับวิญญาณ และประกอบกันเอง โดยอาการที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น เป็นกิจ
อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่แยกกันกับจิต เป็นผล
วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

รูปในที่นี้ คือ กัมมชรูป(โดยตรง) จิตตชรูป(โดยอ้อม) ลักขณาทิจตุกะ ของ รูปมีดังนี้

รุปฺปนลกฺขณํ มีการสลาย แตกดับ เป็นลักษณะ แตกดับไปด้วย อำนาจปัจจัย
วิกิรณรสํ มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ
อพฺยากตาปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นอพยากตธรรม (ในที่นี้หมายถึงความ ไม่รู้อารมณ์) เป็นผล
วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

นาม คือ เจตสิก ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบ กับโลกียวิปากจิต ๓๒ เท่านั้น
รูป ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ก็ได้แก่ กัมมชรูป เท่านั้น
อายตนะที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของนามรูปนั้นได้แก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ ที่มีชื่อว่า
อัชฌัตติกายตนะ มีจักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และ มนายตนะ
อายตนะ มีความหมายว่า เป็นเครื่องต่อ เป็นบ่อเกิดแห่งจิตและเจตสิก เป็นเครื่องต่อเป็นบ่อเกิดแห่ง
วิถีจิต นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ดังนี้
๑. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ จักขุปสาท จึงปรากฏ จักขวายตนะ
๒. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ โสตปสาท จึงปรากฏ โสตายตนะ
๓. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ ฆานปสาท จึงปรากฏ ฆานายตนะ
๔. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ ชิวหาปสาท จึงปรากฏ ชิวหายตนะ
๕. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ กายปสาท จึงปรากฏ กายายตนะ
๖. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป เจตสิก ๓๕ (ที่ประกอบกับโลกียวิปากวิญญาณ ๓๒) จึงปรากฏ
มนายตนะ โดยเฉพาะ มนายตนะนี้ มีวาทะ เป็น ๒ นัย คือ
ก. อรรถกถาจารย์ และฎีกาจารย์บางท่าน กล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ โลกีย วิปากจิต ๓๒
ข. ภาสาฎีกาจารย์บางท่านกล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ เท่านั้น โดยอ้างว่า ภวังคจิต
เป็นตัวมโนทวาร ช่วยอุปการะให้ ผัสสะ และเวทนาเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า

มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา ฯลฯ ซึ่งแปล
ความว่า มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้
เพราะอาศัย มโนทวาร กับ ธัมมารมณ์ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นี้ ประชุมร่วมกันแล้วเรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ
เป็นปัจจัยแก่เวทนา ฯลฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือ โลกียวิปากวิญญาณ
ทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป
ในบทนี้กล่าวว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ นามอันได้แก่เจตสิก ทำให้เกิดมนายตนะ
อันได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ และ กัมมชรูปทำให้เกิด ปัญจายตนะ (อายตนะ ๕) นี่ก็คือ
ปสาทรูป ๕ นั่นเอง
รวมกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็ได้ความว่า บทก่อนกล่าวว่า จิตทำให้เกิดเจตสิก แต่ บทนี้กลับกล่าวว่า เจตสิก
ทำให้เกิดจิต จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยอยู่
ข้อนี้มีอธิบายว่า การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจแห่ง สหชาตปัจจัย คือ ความเกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกันของธรรมเหล่านั้นประการหนึ่ง และด้วยอาศัยอำนาจแห่ง อัญญมัญญปัจจัย คือ ความอาศัย
ซึ่งกันและกันของ ธรรมเหล่านั้นอีกประการหนึ่ง
กล่าวคือ นาม คือเจตสิกกับมนายตนะ คือโลกียวิปากวิญญาณนั้นเกิดพร้อม กันเกิดร่วมกัน ดังนั้นจะว่า
เจตสิกเกิดพร้อมกับจิตเกิดร่วมกับจิต หรือจะว่าจิตเกิด พร้อมกับเจตสิกเกิดร่วมกับเจตสิก ก็ได้ทั้ง ๒ อย่าง
นี่กล่าวโดยอำนาจแห่ง สหชาตปัจจัย
กล่าวโดยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย จิตกับเจตสิกที่เกิดพร้อมกันเกิดร่วมกัน นั้นต่างก็อาศัยซึ่งกันและ
กัน อุปการะหรืออุดหนุนซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิก อุดหนุนอุปการะจิต หรือว่าจิตอุปการะอุดหนุนเจตสิกก็ได้ทั้ง ๒ อย่างอีกเหมือนกัน
ส่วนรูปนั้น ปสาทรูป ๕ และปัญจายตนะ คือ อายตนะทั้ง ๕ ก็เป็นรูปอัน เดียวกันนั่นเอง แต่เมื่อกล่าวโดย
สมุฏฐาน ก็เรียกว่า กัมมชรูป และเมื่อกล่าวโดย ความเป็นเครื่องต่ออันเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต ก็เรียกว่า
อายตนะ เมื่อมีปสาทรูปจึง จะเป็นเครื่องต่อก่อให้เกิดจิต เจตสิก และวิถีจิตได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร