วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ย. 2024, 02:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.jpg
ลุงหมานออกแบบ.jpg [ 124.87 KiB | เปิดดู 16540 ครั้ง ]
:b8: เรียน ท่านผู้ที่สนใจศึกษาพระอภิธรรมค่ะ

หากท่านมีใจที่ปราถนาจะศึกษาอย่างแรงกล้า ดิฉันก็ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะว่า ขณะนี้ระบบการเรียน
ที่อยู่ในห้องเรียนนั้น เรียนได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกและง่ายดาย เพราะมียูทูปให้ท่านได้เรียนแบบสบายๆ
ที่บ้าน เรียกว่าจากคนที่ไม่เคยรู้อะไรเลย ก็สามารถเข้าใจได้ จำได้ ท่องได้แบบมีความเข้าใจด้วย
และเป็นพื้นฐานในการที่จะเข้าไปอ่านเนื้อหาตรงไหนที่ท่านว่ายาก ก็จะทำให้ท่านพอจะเข้าใจได้บ้าง

สิ่งที่ท่านต้องทำก็คือ เข้าใจด้วยการฟังในยูทูป หรือหาอ่านได้จากอินเตอร์เนทในปริจเฉทที่ได้ลำดับ
ไว้สำหรับศึกษาหาความเข้าใจได้อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอนให้เข้าใจเป็นไปตามลำดับในหลักสูตร
และสามารถทำให้ท่านได้สะสมความเข้าใจไ้ว้เป็นพื้นฐาน ในการไปอ่านคัมภีร์ต่างๆ อ่านพระสูตร
ได้เข้าใจในภายหลังจากสำเร็จการศึกษาในปริจเฉททั้งหมด หรือบางท่านก็พอจะเข้าใจได้บ้างแล้ว
ตามปัญญาของท่าน ที่ท่านได้สั่งสมมา ท่านก็สามารถไปอ่านในคัมภีร์ต่างๆ ได้บ้างตามความเข้าใจที่
ท่านพึงจะมีนั้นก็เป็นความสามารถเฉพาะตัวของท่าน แต่หากจะให้ความเข้าใจที่ตรงกับเนื้อหาจริงๆ
ก็ควรศึกษาทำความเข้าใจในเนื่อหาแต่ละปริจเฉทด้วยค่ะว่า ที่ท่านเข้าใจนั้นไม่คลาดเคลื่อน
ดูรายละเอียดต่างๆที่เวปนี้ค่ะ http://www.mcu.ac.th/site/

สำหรับผู้ที่ศึกษาครบทุกปริจเฉทในระบบการเรียนแล้ว
ก็ไปศึกษาในคัมภีร์ต่อเช่นกันในชั้นมัช-เอก และมหาตรี โท เอก


ดังนั้น สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมเลย สามารถไล่เรียงศึกษาไปตาม
หลักสูตรได้อย่างสบายๆ ที่ยูทูปในห้องนี้ที่ลุงหมานได้กรุณานำมารวบรวมไว้ค่ะ เริ่มตั้งแต่ชั้นจูฬตรี

หากท่านสนใจ ที่จะไปเข้าใจเป็นเนื้อหาเฉพาะเรื่อง สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเข้าใจพระอภิธรรมนั้น
ท่านก็สามารถเลือกอ่านกระทู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของท่านได้ ถึงแม้ว่าการอ่านของท่าน
ใน 1 หน้านั้น จะมีคำศัพท์ที่ท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจได้ก็จริง แต่ก็มีเนื้อหาในบางส่วนที่เป็นบทความ
ที่มีความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เป็นบทความที่สามารถทำให้ท่านเข้าใจได้ และนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์
สุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้าได้ ได้แนะแนวทางในการทำชีวิตประจำวันให้ท่านอยู่ได้ด้วยความเข้าใจ
วิธีทำกุศลอย่างเป็นผู้มีปัญญา ซึ่งความเข้าใจเหล่านี้สามารถอ่านได้โดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องมีความรู้
ความเข้าใจในพระอภิธรรมมากมายนัก เพียงแต่ท่านทำความเข้าใจกับเนื้อหาในกระทู้อย่างผู้มีศรัทธา
อย่างผู้ที่มีปัญญาเข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลกันของเนื้อหาที่อ่าน ท่านก็สามารถเข้าใจได้ไม่ยากค่ะ
อย่างเช่น มีอยู่หลายๆ กระทู้ซึ่งท่านสามารถอ่านแล้วนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันได้ทันทีค่ะ

สำหรับผู้ที่เข้ามาเจอพระอภิธรรมแล้ว ปรารถนาจะรู้เข้าใจอย่างจริงจัง ท่านเริ่มจากชั้นจูฬตรีได้เลยค่ะ
จะไปศึกษาตามสถานที่จัดการเรียนการสอนที่สะดวกใกล้บ้านที่สุด หรือจะศึกษาในยูทูปท่านก็เลือก
ได้ตามสะดวกตามความประสงค์ของท่านค่ะ

คลิ๊ก อ่านกระทู้ที่เกี่ยวกับพระอภิธรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=28739
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=44795
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=28774
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=32615

และกระทู้อื่นๆ ซึ่งดูได้จากในห้องพระอภิธรรมนี้ค่ะ

:b49: วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้พุทธบริษัทมีความรู้ความเข้าใจพระอภิธรรมปิฎกอย่างถูกต้อง
2. เพื่อรักษาพระปริยัติในส่วนของพระอภิธรรมปิฏกให้ดำรงมั่นคงสืบต่อไป
3. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในปรมัตถธรรมอันเป็นสภาวะที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
4. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาธรรมะในพระอภิธรรมปิฏก
พระสุตตันตปิฎก และพระวินัยปิฎก ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันได้อย่างดี
5. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์และความสุข
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

เนื้อหาที่ควรเข้าใจตามลำดับคือ

:b47: ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี ศึกษาในเรื่อง
ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิศดาร
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาของรูปและนิพพาน

:b47: ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะโท ศึกษาในเรื่อง
ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
ศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่ง
เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะ
หมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ

:b47:ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะเอก ศึกษาในคัมภีร์พระธรรมสังคณี
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์ธัมมสังคณี ประเภทของมาติกา ทุกมาติกา
อภิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา

:b42: วัตถุประสงค์และปริจเฉทที่ศึกษาในเรื่องต่างๆ นั้นมาจากหนังสือ การมอบประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต
รุ่นที่ ๔๙/๒๕๕๕ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAECET0I.jpg
imagesCAECET0I.jpg [ 76.62 KiB | เปิดดู 16673 ครั้ง ]
ผู้สนใจศึกษาพระอภิธรรม และศึกษาให้เป็นระบบ ควรเริ่มต้น
จากปริจเฉทที่ ๑.๒.๖ เป็นต้นไป ชั้นนี้เรียกว่าชั้นจูฬตรี

ปริเฉทที่ ๑
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45767

ปริเฉทที่ ๒
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45776

ปริเฉทที่ ๖
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45994

VDO ปริเฉทที่ ๖
V
http://www.youtube.com/playlist?list=PL ... tzvwcjfXDm

ต้องการศึกษาพระอภิธรรมชั้นจูฬตรีทาง VDO เชิญคลิ๊กด้านล่างนี้ครับ
v
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45756

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาสาธุค่ะลุง ที่นำมารวบรวมไว้ในห้องพระอภิธรรมค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b47: มัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี ศึกษาในเรื่อง
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและกฏเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี
อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ
มรณุปปัตติจตุกกะ

:b47: มัชฌิมอาภิธรรมิกะโท ศึกษาในเรื่อง
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหะ
ศึกษาความหมายของปัจจัยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัย ความเป็นไปของเหตและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน
ตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ
ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
โดยอรรถกถาและฎีกาประกอบ

:b47: มัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก ศึกษาในคัมภีร์ธาตุกถา
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา
นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


:b8: คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มี 3 ประการ ดังนี้คือ
1. ประโยชน์ที่พึงได้รับในภพนี้ คือ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ประโยชน์ที่พึงได้รับในภพหน้า คือ บุคคลนั้นต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา
3. ประโยชน์ที่เข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียว คือ พระนิพพาน


:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะโท ศึกษาในเรื่อง :b48: :b48:

:b53: :b53: ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
ศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่ง
เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45828

:b48: :b48: ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะ
หมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=46000

เรียนทาง VDO ปริเฉทที่ ๗
v
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=46032

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะเอก ศึกษาในคัมภีร์พระธรรมสังคณี
:b45: ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์ธัมมสังคณี
ประเภทของมาติกา ทุกมาติกา อภิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
v
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=44988

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ชั้นนี้เป็นชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี ศึกษาในเรื่อง
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและกฏเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี
กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45919

VDO ปริเฉทที่ ๔
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45920

ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาของวิมุตตสังคหะ
ภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกกะ
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45952

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ชั้นนี้เป็นชั้น มัชฌิมอาภิธรรมิกะโท ศึกษาในเรื่อง
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหะ
ศึกษาความหมายของปัจจัยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัย ความเป็นไปของเหตและผล
ที่เกี่ยวเนื่องกัน ตามปัฏฐานนัย
v
viewtopic.php?f=66&t=46107

ปริจเฉทที่ ๘ ดูวีดีโอ
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45976

ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ
ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
โดยอรรถกถาและฎีกาประกอบ

ปริจเฉทที่ ๙
v
viewtopic.php?f=66&t=46112&p=332542#p332542

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ชั้นนี้เป็นชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก ศึกษาในคัมภีร์ธาตุกถา
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา
นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
V
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45107

V
ศึกษาทาง VDO
V
http://www.youtube.com/playlist?list=PL ... qe8wlFXxTi

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะลุง

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

จะนำธรรมเทศนาของท่านเรวตภิกขุ กัมมัฏฐานาจริยะ ธัมมกถิกะ แห่งพะอ็อก ตอยะ
เรื่องตื่นเถิดชาวโลก
ท่านบรรยายไว้เป็นภาษาอังกฤษ คุณอัยยา จิตรญาณี แปลและเรียบเรียง


พระกัมมัฏฐานาจารย์สอนให้ท่านเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไปทีละขั้นอย่างเป็นระบบ
ถ้าบารมีเก่าผนวกกับความเพียรในปัจจุบันของท่านมีกำลังมากพอ และวิปัสสนาญาณถึงความแก่กล้า
มัคคญาณและผลญาณจะบังเกิดขึ้น

คนสมัยปัจจุบันยังสั่งสมบารมีได้ไม่สูงเท่าระดับคนสมัยพุทธกาล ในสมัยนั้น มีชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็น
พระอริยบุคคล ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์ หลังจากเพียงสดับ
คำสอนของพระศาสดา ในปัจจุบันนี้ยากที่จะพบผู้เปี่ยมบารมีเช่นนั้นจริงๆ ถ้ากล่าวในเชิงปฏิบัติแล้ว
หมายความว่า บรรชิตและคฤหัสถ์ในยุคนี้ไม่อาจจักบรรลุมัคคญาณและผลญาณได้ โดยแค่การสดับ
พระธรรมเทศนา คนสมัยปัจจุบันจำเป็นต้องปฏิบัติกัมมัฏฐานไปทีละขั้น อย่างเป็นระบบ

เมื่ออาตมาไปสอนกัมมัฏฐานที่สิงคโปร์ ฆราวาสชายท่านหนึ่งถามว่า "จำเป็นต้องเจิรญกัมมัฏฐานอย่าง
เป็นระบบ แบบนี้ด้วยหรือครับ? ในสมัยพุทธกาลชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็นพระอริยะหลังจากเพียงสดับคำ
ตรัสสอนสั้นๆ ท่านเหล่านั้นได้ปฏิบัติธรรมทีละขั้นอย่างเป็นระบบหรือครับ? จำเป็นต้องปฏิบัติ
-ศีลสิกขา
-สมาธิสิกขา
-และปัญญาสิกขา
อย่างเป็นระบบหรือครับ?"

อาตมาตอบว่า "ใช่" และอธิบายว่า เราไม่เหมือนกับคนสมัยพุทธกาลเราอยู่ในยุคปัจจุบัน
นี่เป็นยุคที่เราจำต้องทำให้ถูกต้อง ตามปฏิปทาอันแท้จริงของพระไตรสิกขา
และปฏิบัติไปทีละขั้น อย่างเป็นระบบ

แม้แต่ที่พะอ็อก ตอยะ ลูกศิษย์บางท่านก็ถามอาตมาว่า "จำเป็นต้องปฏิบัติรูปกัมมัฏฐานด้วยหรือครับ?
ไม่เห็นมีใครสอน นอกจากที่พะอ็อก"
ผู้ที่ตั้งคำถามนี้ ขณะนี้กำลังยิ้ม และตอนนี้เขากำลังปฏิบัติรูปกัมมฐาน
คำตอบก็เป็นเช่นเดิมอีกคือ "ใช่" ในยุคปัจจุบันโปรดอย่าหวังจะได้เห็นพระนิพพานโดยปราศจาก
การปฏิบัติตามคำสอนทีละขั้นอย่างเป็นระบบ

ในวันหนึ่งข้างหน้า อาตมาจะให้อรรถาธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับสิ่งนี้ สิ่งที่อาตมาต้องการแสดงแก่ท่าน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการแสดงธรรมครั้งนี้ก็คือ ธิดาช่างหูกนั้น หลังจากได้สดับพระพุทธโธวาท
ก็ได้ปฏิบัติตามอย่างจริงจัง เธอเจริญมรณสติทั้งกลางวันกลางคืนทุกๆ วัน เป็นเวลา ๓ ปีนับจากวันนั้น
จนกระทั่งพระศาสดาเสด็จกลับมาที่เมืองอาฬวีอีก เพื่อโปรดเธอ ตรัสแสดงธรรมเพื่อให้เธอดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล และเทศนานั้นได้มีปรโยชน์แม้แก่มหาชน

ถ้าท่านได้อยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์จะตรัสสอนท่านโดยทางตรง ถ้าท่านได้สั่งสมบารมีมาบริบูรณ์แล้ว พระศาสนดาจักตรัสสอนกัมมัฏฐานที่เหมาะสมกับอุปนิสัยของท่านเพื่อให้ได้บรรลุพระนิพพานอย่างรวดเร็ว

ขณะนี้ท่านไม่ได้อยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ว่าอยู่ต่อหน้าอาตมา อาตมาทำได้เพียงการสอนวิธีเจริญกัมมัฏฐานทีละขั้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งสอนไปตามพระพุทธพจน์ ในปัจจุบันนี้การทำตามคำสอนและปฏิบัติอย่างเป็นระบบไปวันต่อวันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้ว่าท่านไม่อาจบรรลุพระนิพพานในเวลานี้ การปฏิบัติอย่างเป็นระบบก็มีอานิสงส์ และจักช่วยให้ท่านบรรลุพระนิพพาน เห็นอมตธรรมได้ในอนาคต

ตอนนี้โปรดติดตามอ่าน

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

หน้าต่างที่ ๗ / ๑๑.


๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่อว่าอัคคาฬวะ ทรงปรารภธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนฺธภูโต อยํ โลโก" เป็นต้น.

คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า
"ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า 'ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราพึงตายแน่แท้, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตของเราไม่เที่ยง, ความตายเที่ยง’
ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด ชนทั้งหลายนั้นย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัว ฉะนั้น.
ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้นย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ."

พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก
พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖ ปีคนหนึ่ง คิดว่า "โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญมรณสติจึงควร" ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน.
ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้ว ก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน.
นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว.
ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่งทรงเห็นนางกุมาริกานั้น เข้าไปในภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า "เหตุอะไรหนอ? จักมี" ทรงทราบว่า "นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานี้ เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔ แล้วภาษิตคาถานี้ ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้นจักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน"
ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ. ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว" จึงไปวิหาร ทูลนิมนต์แล้ว. แม้นางกุมาริกานั้นทราบการเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า "ข่าวว่า พระมหาโคดมพุทธเจ้าผู้พระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์ ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญของเราเสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า "พระศาสดาผู้มีวรรณะดังทองคำ อันเราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้ บัดนี้ เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท ซึ่งมีโอชะอันไพเราะ (จับใจ) ของพระศาสดานั้น."
ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า "แม่ ผ้าสาฎกซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ), ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่ง ยังไม่สำเร็จ. เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้ เจ้ากรอด้ายหลอดแล้ว พึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว."
นางกุมาริกานั้นคิดว่า "เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้ เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอแล หรือจะกรอด้ายหลอดแล้วนำไปให้แก่บิดา?" ครั้งนั้น นางกุมาริกานั้นได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "เมื่อเราไม่นำด้ายหลอดไปให้บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง เพราะฉะนั้น เรากรอด้ายหลอดให้แก่ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่บนตั่ง.
แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว ได้รับบาตร ยืนอยู่เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนิ่งแล้ว ด้วยทรงดำริว่า
"เราอาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์ กุลธิดานั้นไม่มีโอกาสแม้ในวันนี้ เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาส เราจักทำอนุโมทนา."
ก็ใครๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไรๆ กะพระศาสดาผู้ทรงนิ่งอย่างนั้นได้. แม้นางกุมาริกานั้นแล กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้า เดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว ก็ได้เดินแลดูพระศาสดาไป.
แม้พระศาสดาก็ทรงชะเง้อ๑- ทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. ถึงนางกุมาริกานั้นก็ได้ทราบแล้ว โดยอาการที่พระศาสดาทอดพระเนตรเหมือนกันว่า "พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอดพระเนตรเราอยู่ ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนักของพระองค์ทีเดียว."
นางวางกระเช้าด้ายหลอด แล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.
____________________________
๑- คีวํ อุกฺขิปิตฺวา.

ถามว่า "ก็เพราะเหตุอะไร? พระศาสดาจึงทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น."
แก้ว่า "ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า ‘นางกุมาริกานั้น เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน, แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จักเป็นผู้มีคติแน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน." นัยว่า ในวันนั้น ชื่อว่าความพ้นจากความตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น.
นางกุมาริกานั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดาทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างแห่งรัศมีมีพรรณะ ๖ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก
ในขณะที่นางกุมาริกานั้นถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า "กุมาริกา เธอมาจากไหน?"
กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอจักไป ณ ที่ไหน?
กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอไม่ทราบหรือ?
กุมาริกา. ทราบ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอทราบหรือ?
กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานั้น ด้วยประการฉะนี้.
มหาชนโพนทะนาว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู ธิดาของช่างหูกนี้พูดคำอันตนปรารถนาแล้วๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ‘เธอมาจากไหน?’ ธิดาของช่างหูกนี้ควรพูดว่า ‘จากเรือนของช่างหูก’ เมื่อตรัสว่า ‘เธอจะไปไหน ?’ ก็ควรกล่าวว่า ‘ไปโรงของช่างหูก’ มิใช่หรือ?"
พระศาสดาทรงกระทำมหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า "กุมาริกา เธอ เมื่อเรากล่าวว่า ‘มาจากไหน?’ เพราะเหตุไร เธอจึงตอบว่า ‘ไม่ทราบ’".
กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมาจากเรือนช่างหูก แต่พระองค์ เมื่อตรัสถามว่า ‘เธอมาจากไหน?’ ย่อมตรัสถามว่า ‘เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้?’ แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า ‘ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้?"
ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกานั้นว่า "ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เธอ อันเราถามแล้วว่า ‘เธอจะไป ณ ที่ไหน?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ไม่ทราบ?’"
กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก, พระองค์ย่อมตรัสถามว่า ‘ก็เธอไปจากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน?’ ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไม่ทราบว่า ‘จักไปเกิดในที่ไหน?’"
ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘ไม่ทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ทราบ?’"
กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘เธอย่อมทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงพูดว่า ‘ไม่ทราบ?’"
กุมาริกา. หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะ คือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า "จักตายในเวลากลางคืน กลางวันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น."

คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ
ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า
"ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า "พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว จักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่ ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๗. อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุนฺโต๑- ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.
สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด ในโลกนี้
น้อยคนนักจะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปสวรรค์
เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น.
____________________________
๑- อรรถกถา เป็น สกุโณ.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อยํ โลโก ความว่า โลกิยมหาชนนี้ชื่อว่าเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญา.
สองบทว่า ตนุเกตฺถ ความว่า ชนในโลกนี้น้อยคน คือไม่มาก จะเห็นแจ้งด้วยสามารถแห่งไตรลักษณ์มีไม่เที่ยงเป็นต้น.
บทว่า ชาลมุตฺโตว ความว่า บรรดาฝูงนกกระจาบที่นายพรานนกผู้ฉลาดตลบด้วยข่ายจับเอาอยู่ นกกระจาบบางตัวเท่านั้น ย่อมหลุดจากข่ายได้ ที่เหลือย่อมเข้าไปสู่ภายในข่ายทั้งนั้น ฉันใด;
บรรดาสัตว์ที่ข่ายคือมารรวบไว้แล้ว สัตว์เป็นอันมาก ย่อมไปสู่อบาย, น้อยคนคือบางคนเท่านั้น ไปในสวรรค์ คือย่อมถึงสุคติหรือนิพพานฉันนั้น.
ในเวลาจบเทศนา นางกุมาริกานั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ
แม้นางกุมาริกานั้นได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว. แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว น้อมกระเช้าด้ายหลอดเข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม ทำเสียงตกไป. บิดานั้นตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืมไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิดแล้วในที่สุดภพ.
ลำดับนั้น บิดาของนางเมื่อแลดูนาง ได้เห็นนางมีสรีระทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้นแก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า "ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความโศกของเราให้ดับได้" จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้าพระองค์ให้ดับ."
พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า "ท่านอย่าโศกแล้ว เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว ในกาลเป็นที่ตายแห่งธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล ในสงสารมีที่สุด ที่ใครๆ ไม่รู้แล้ว เป็นของยิ่งกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสอนมตัคคสูตร.
เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องธิดาของนายช่างหูก จบ.
----------------------------------

:b8: :b8: :b8:
(กลับมาที่การแสดงพระธรรมเทศนาของท่านเรวตะ ต่อค่ะ)

ด้วยการเจริญมรณสติ ธิดาของเขาได้เป็นพระโสดาบัน ส่วนช่างหูกได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
มรณสติยังอานิสงส์มาแก่ชนทั้งสอง และนำให้พวกเขาไปสู่การหลุดพ้น

ดังนั้น เราพึงมนสิการถึงการตาย และเจริญมรณสติทุกๆ วัน เราพึงเจริญมรณสติอย่างขยัน
หมั่นเพียรและเป็นระบบ

ในวันหนึ่ง เราพึงตายแน่แท้
ในวันที่เราเกิด คนอื่นยิ้มแย้ม ในขณะที่เรากำลังร่ำไห้
แต่ในวันตายของเรา คนอื่นจะร่ำไห้
เราควรจะโศกเศร้าเช่นเดียวกับพวกที่ร่ำไห้ไหม? เราไม่ควรเศร้า
ถ้าเราปฏิบัติธรรมอย่างขยันหมั่นเพียรจนได้เป็นพระอริยบุคคล เราจะไม่ตายด้วยการร่ำไห้
เราจะตายด้วยรอยยิ้ม ฉะนั้น.

ขออำนวยพรให้ท่านไ้ด้เจริญมรณสติ
ขออำนวยพรให้ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท
ขออำนวยพรให้ท่านบรรลุพระนิพพาน อมตธรรมในปัจจุบันชาตินี้
ขออำนวยพรให้เราทั้งหลายบากบั่นเพียรอุตสาหะเพื่อความหลุดพ้น

สาธุ สาธุ สาธุ
เจริญพรและเมตตา
เรวตภิกขุ
พะอ็อก ตอยะ เมียนมาร์
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘
:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
28 สิงหาคม 2556
ไตรสิกขา


สิกขา คือ ความประพฤติ เป็นการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่ศึกษาจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ใช่การฟังจากผู้อื่น หรือคิดนึกพิจารณาหาเหตุผล

พระพุทธองค์สอนให้เราประพฤติไตรสิกขา ๓ ได้แก่

๑. ศีล ความสำรวมกายและวาจาให้เรียบร้อยสงบเสงี่ยม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าเป็นนักบวชก็รวมไปถึงการไม่ล่วงละะเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ศีลทำให้เราไม่เดือดร้อนใจว่าทำผิดศีล ส่งผลให้เกิดความเคารพตนเอง ผู้ที่ยังไม่เคารพตนเองจะเป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่นได้อย่างไร ดังพระพุทธดำรัสว่า สีลํ อวิปฺปฏิสาราย (ศีลมีประโยชน์เพื่อความไม่เดือดร้อนใจ) ความไม่เดือดร้อนใจดังกล่าวจะก่อให้เกิดปราโมทย์ ปีติ ความสงบ ความสุข สมาธิ และญาณทัศนะเป็นต้นตามลำดับ

๒. สมาธิ การตั้งใจมั่น คือ การมีใจสงบไม่ขุ่นมัวด้วยนิวรณ์ที่ปิดกั้นความดีอันได้แก่สมาธิและปัญญา

เมื่อจิตตั้งมั่นโดยมีศีลเป็นเหตุ ปัญญาที่เกิดร่วมกับสมาธิจะค่อยๆ ชัดเจนยิ่งตามลำดับ เหมือนบุรุษอยู่ที่ริมสระน้ำใส ย่อมสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำใสสะอาดได้ชัดเจน

๓. ปัญญา การรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ การรู้แจ้งเห็นประจักษ์รูปนามตลอดจนถึงไตรลักษณ์ของรูปนามตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะอย่างแท้จริง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

บุคคลพึงประคอง ภาชนะอันเปี่ยมด้วยน้ำมันฉันใด
บัณฑิตผู้ปรารถนาจะไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงรักษาจิตของตนไว้ด้วยสติ ฉันนั้น
ผู้ปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไปพึงรักษาจิตของตนไว้
เหมือนคนประคองไปซึ่งโถน้ำมัน อันเต็มเปี่ยมเสมอขอบมิได้มีส่วนพร่องเลย

เพราะเหตุว่า การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เบา พลันตกไปในอารมณ์ที่ปรารถนานี้
ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จิตที่ฝึกแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากแท้ละเอียดลออ
พลันตกไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนา จิตที่คุ้มครองไว้ได้แล้วนำความสุขมาให้

ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตนี้ ซึ่งไปได้ไกล เที่ยวไปโดดเดี่ยว
ไม่มีรูปร่าง อาศัยร่างกายไว้ได้
ชนเหล่านั้น จักพ้นจากบ่วงแห่งมารได้

ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์ไม่ได้
มีจิตอันราคะไม่รั่วรดแล้ว มีใจอัันโทสะตามกำจัดไม่ได้ (ละบุญและบาปเสียได้แล้ว)
เป็นผู้ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย

ผู้มีปัญญา ย่อมกระทำจิตอันดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก
ให้ตรงเหมือนช่างศร ดัดลูกศรฉันนั้น.

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

จากหนังสือ ธัมมเจติยะ พระบรมศาสดา

เห็นพระประธานเหนือแท่นธำรง เหมือนพุทธองค์เหนืออาสน์อำไพ
แผ่ธรรมจุนเจือโอบเอื้อเราผองปัดป้องปวงภัย
ขอน้อมดวงใจกราบไหว้วันทา

:b8: :b8: :b8:



.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2013, 16:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 21:44
โพสต์: 173

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 4.17 KiB | เปิดดู 16447 ครั้ง ]
ขอบคุณมากๆนะค่ะสำหรับความรู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม
หนู๋ปอลูกแม่จั๋นกับหลานลุงหมาน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ

ยังไงๆหนู๋ก็ต้องขอบคุณคนลงโพสให้ได้ เพราะหนู๋เอาไปอ่านไปศึกษา และก็จะหาวัดหยุดไปสืนเสาะหาที่เรียนให้ได้ค่ะ
Kiss Kiss :b4: rolleyes อนุโมทนากับบุญนะค่ะ ขอให้พวกท่านที่โพสกระทู้นี้จงมีแต่ความสุข
ความเจริญ และหลุดจากสังสารวัฎอันใกล้ด้วยเถิดดดด :b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




1236021_549629785092747_1627175446_n.jpg
1236021_549629785092747_1627175446_n.jpg [ 209.15 KiB | เปิดดู 16401 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ

ขณะใด สังขารธรรมคือรูปนามทั้งหลายปรากฏชัด
แก่บุคคลผู้ปฏิบัติที่ทำความเพียรเพ่งพินิจอยู่ ขณะนั้น
ความสงสัยของเขาย่อมหมดสิ้นไป เพราะได้รู้เห็น
สังขารธรรม คือ รูปนาม ว่ามีเหตุ ด้วยการภาวนาปัญญา


:b8: :b8: :b8:



:b53: ค่ะคุณJIT TREE :b8: ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะที่คิดจะศึกษาพระอภิธรรม

:b49: :b49: :b49:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 132.16 KiB | เปิดดู 16400 ครั้ง ]
JIT TREE เขียน:
ขอบคุณมากๆนะค่ะสำหรับความรู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม
หนู๋ปอลูกแม่จั๋นกับหลานลุงหมาน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ

ยังไงๆหนู๋ก็ต้องขอบคุณคนลงโพสให้ได้ เพราะหนู๋เอาไปอ่านไปศึกษา และก็จะหาวัดหยุดไปสืนเสาะหาที่เรียนให้ได้ค่ะ
Kiss Kiss :b4: rolleyes อนุโมทนากับบุญนะค่ะ ขอให้พวกท่านที่โพสกระทู้นี้จงมีแต่ความสุข
ความเจริญ และหลุดจากสังสารวัฎอันใกล้ด้วยเถิดดดด :b8: :b8: :b8:


อนุโมทนานะจ๊ะ แค่มีความตั้งใจจะมาเรียนเท่านี้ก็เป็นกุศลแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร