วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 03:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องปัญญา ๓ นี้ ผมรู้เป็นการยาก ที่จะหาคำอธิบายเพื่อให้คนอื่นเข้าใจ
เพราะรู้ดีว่า สิ่งที่นำมาอธิบาย เป็นเรื่องที่ข้ามขั้นตอน ข้ามสถานะของบุคคล
เอาเป็นว่า ผมเคยแนะนำให้หลายท่านไปเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญาแล้ว
มีหลายคนที่ไม่เชื่อ ถือซะว่า ผมได้บอกตามขั้นตอนแล้ว

เริ่มเข้าเรื่อง ผมเห็นมีหลายท่านเอาเรื่องของปัญญา๓ มาอธิบายความแล้ว
ผมมีความเห็นแย้งและรู้ได้เลยว่า ผู้พูดขาดความเข้าใจในสิ่งที่พูด ตัวอย่างเช่น........

".สุตตะมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการ ฟัง ศึกษา เรียนรู้

.จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการ คิด นึก พิจารณา วิตก วิจารณ์ วิเคราะห์ วิจัย

.ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการลงมือทำจริง ประสบการณ์จริง"

นี่เป็นหนึ่งในหลายๆความเห็น ที่มันคลาดเคลื่อนจากความหมายที่เป็นจริง

ผมเกริ่นนำไว้ก่อนครับ ใครมีความเห็นเรื่องปัญญา๓ เป็นอย่างอื่น
อยากให้แสดงความเห็น จะได้พูดที่เดียวครับ

การพูดธรรมไม่มีผิดไม่มีถูก มันก็แค่รู้กับไม่รู้ เหตุนี้เราเข้าใจธรรมว่าอย่างไร
ก็พูดไปเลยครับ ไม่ต้องอายหรือกลัวความเห็นแย้ง ที่สำคัญอย่าเอาคำพูดของคนอื่น
มาเป็นอารมณ์ มันจะทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า เสียสาระในธรรม
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
การพูดธรรมไม่มีผิดไม่มีถูก มันก็แค่รู้กับไม่รู้ เหตุนี้เราเข้าใจธรรมว่าอย่างไร
ก็พูดไปเลยครับ ไม่ต้องอายหรือกลัวความเห็นแย้ง ที่สำคัญอย่าเอาคำพูดของคนอื่น
มาเป็นอารมณ์ มันจะทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า เสียสาระในธรรม


โฮฮับ เขียน:
การพูดธรรมไม่มีผิดไม่มีถูก


ก็ไปคิดเสียยังงี้ซี้ มันถึงเละกลายเป็นคนประมาทเลิ่นเล่อไป

มันมีผิดมีถูกนะขอรับพี่โฮ พูดถูก ก็เป็นสัมมาวาจา พูดผิด ก็เป็นมิจฉาวาจา
อีกอย่างหนึ่ง พูดธรรมะผิด ก็เป็นอธรรม พูดถูก ก็เป็นธรรม

เอาอีกก็ได้ รู้ก็เป็นวิชชา ไม่รู้ก็เป็นอวิชชา คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จ๋าจ้ะ ปัญญา :b1:

ปัญญานั้น แท้จริงก็มีอย่างเดียว ได้แก่ ธรรมชาติที่เ็ป็นความรู้เข้าใจสภาวะ คือ หยั่งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แต่ก็นิยมจำแนกแยกประเภทออกไปเป็นหลายอย่าง ตามระดับของความรู้เข้าใจบ้าง ตามหน้าที่หรือแง่ด้านของการทำงานของปัญญาบ้าง ตามทางที่ปัญญานั้นเกิดขึ้นบ้าง เป็นต้น

ปัญญาชุดหนึ่งซึ่งจำแนกตามแหล่งที่มา หรือทางเกิดของปัญญา ได้แ่ก่ ปัญญา ๓ อย่าง ชุดที่แยกออกไปเป็น สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา คำท้ายคือปัญญาเป็นตัวกลางร่วมกัน ส่วนคำข้างหน้าที่ต่างกัน บอกที่มาหรือแหล่งเกิดของปัญญานั้น ว่า หนึ่ง เกิดจากสุตะ (การสดับฟัง การอ่าน และเล่าเรียน) สอง เกิดจากจินตะ (การคิดไตร่ตรองพิจารณา) และสาม เกิดจากภาวนา (การปฏิบัติต่อจากนั้น)

ปัญญา ๓ ชุดนี้ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อย แต่มีผู้นำมาพูดค่อนข้างบ่อย ข้อสำคัญคือเข้าใจความหมายกันไม่ค่อยชัด จึงควรแสดงคำอธิบายที่พ่วงมากับถ้อยคำเหล่านี้สืบแต่เดิมไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูให้ต่อเนื่องกันนะครับ


เริ่มด้วยการเรียงลำดับ ปัญญา ๓ นั้น ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ของเดิมในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และในพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เริ่มต้นด้วยจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก อย่างไรก็ตามในเนตติปกรณ์ ซึ่งพระเถรวาทสายพม่าถือเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย (จัดรวมไว้ใน ขุททกนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก) เรียงสุตมยปัญญาขึ้นก่อน (และเรียกชื่อต่างไปเล็กน้อยเป็น สุตมยีปัญญา จินตามยีปัญญา ภาวนามยีปัญญา) และต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฎีกา นิยมมากขึ้นในทางที่จะเรียกชื่อเป็น สุตมยญาณ จินตามยญาณ และภาวนามยญาณ

ในที่นี้ ขอเรียงลำดับ ปัญญา ๓ ตามพระไตรปิฎกชั้นเดิมไว้ก่อน พร้อมด้วยแสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาเกิดจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาเกิดจากปรโตโฆสะ)

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ปัญญาเกิดจากปัญญาสองอย่างแรกนั้นแล้วหมั่นมนสิการ)

การที่ท่านเรียงจินตามยปัญญาขึ้นก่อน หรือสุตมยปัญญาขึ้นก่อน จับความได้ว่า อยู่ที่การคำนึงถึงบุคคลเป็นหลัก หรือมองธรรมตามความเกี่ยวข้องของบุคคล

ในกรณีที่เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก ก็คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน หมายความว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยสุตะ ไม่ต้องมีปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการของตนเอง สามารถสืบสาว เรียงต่อ ไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอด จนหยั่งเห็นความจริงได้ จากจินตามยปัญญา จึงต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย (ไม่ต้องอาศัยสุตมยปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า บุคคลเล่าเรียนสดับฟังได้สุตะ ได้ข้อธรรม ได้ข้อมูลแล้ว เกิดศรัทธาขึ้นเป็นพื้นเบื้องต้น จึงนำไปใคร่ครวญตรวจสองพิจารณาได้ความรู้เข้าใจในสุตะนั้น ก็เกิดเป็นสุตมยปัญญา แล้วในขั้นต่อไป อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเ็ป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป มองเห็นเหตุผลความสัมพันธ์เป็นไปชัดเจน เกิดเป็นจินตามยปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย

(พูดอีกสำนวนหนึ่งว่า อาศัยหรือตั้งอยู่ในปัญญาทั้งสองนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา - สุตจินฺตามยญาเณสุ หิ ปติฏฺฐิโต วิปสฺสนํ อารภติ. เนตฺติ. ๕๓) แล้วเกิดญาณ มีความรู้สว่างประจักษ์แจ้งความจริง เป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยปัญญา

พึงสังเกตด้วยว่า สำหรับคนทั่วไปนี้ ถึงจะได้รับสุตะ คือ ข่าวสารข้อมูลมากมาย แต่คนจำนวนมากก็ได้แค่สุตะเท่านั้น (ได้แค่ฟังเท่านั้น) หาได้ปัญญาไม่ คือ ในข้อที่ ๑ นั้น ต้องแยกว่า คนจำนวนมากได้แต่สุตะ มีเพียงบางคนที่อาศัยสุตะนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดสุตมยปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฯลฯ...

ดังที่ท่านไขความว่า "ปัญญาที่สำเร็จด้วยอำนาจภาวนา อันถึงอัปปนา ขื่อว่า ภาวนามัย คำไขความตรงนี้ ที่กล่าวถึงภาวนา โยงไปถึงข้อความข้างต้นที่ว่าขะมักเขม้นมนสิการในประดาสภาวธรรม ซึ่งก็คือวิปัสสนาปัญญาเห็นแจ้งชัดถึงขีด จิตก็เป็นสมาธิถึงอัปปนา ความประจักษ์แจ้งจดจิตสนิทแน่ว ถึงกับให้สิ่งหมักหมมผูกรัดหุ้มพอกจิต ที่เรียกกิเลส ถูกสลายล้างออกไป จิตพ้นจากกิเลสสิ้นเชิงหรือบางส่วนก็ตาม ความรู้แจ้งถึงขั้นทำให้เกิดความเปลี่ยนของชีวิตอย่างนี้ได้ คือภาวนามยปัญญา ซึ่งเป็นมรรคญาณ

มีความรู้ประกอบอีกหน่อยว่า ในเนตติปกรณ์ (เนตฺติ ๘) ท่านโยงปัญญา ๓ นี้ กับการจัดประเภทบุคคล ๔ ด้วย โดยแสดงความหมายของบุคคล ๓ ประเภทแรกที่เป็นเวไนย (เวไนย ๓) ให้เห็นทุนเดิมก่อนจะก้าวสู่ภาวนามยปัญญาว่า คนที่มี ๒ อย่าง ทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา เป็น อุคฆฎิตัญญู (ผู้รู้ได้ฉับพลันเพียงแค่ฟังหัวข้อก็เข้าใจ) คนที่มีสุตมยปัญญาอย่างเดียว เป็น วปจิตัญญู (ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อมีการขยายความ) คนทีี่ยังไม่มีปัญญา ๒ อย่าง ทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา เป็น เนยยะ (ผู้ที่จะพึงแนะนำโดยฝึกสอนอบรมให้เข้าใจต่อไป) ส่วนปทปรมะ ไม่เป็นเวไนย เป็นอันไม่ต้องพูดถึง

เมื่อรู้เ้เข้าใจหลักต่างๆ ข้างต้นเป็นพื้นฐานแล้ว อาจจะประมวลเ็ป็นคำอธิบาย ปัญญา ๓ สำหรับคนทั่วไป ที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ คร่าวๆ

ทวนความก่อนว่า อัจฉริยบุคคล ในขั้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นนักคิดที่แท้จริง คือมีปัญญายิ่งใหญ่เหนือคนทั่วไป อย่างที่ว่า ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ทั้งหลาย ที่คนอื่นๆพบเห็นกันมาเป็นสิบปีร้อยปีพันปีแล้ว กี่รุ่นกี่่ชั่วคน เขาก็อยู่กันมา ก็รู้เข้าใจตามๆ กันมาอยู่แค่นั้น แต่พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นมา ทรงมีโยนิโสมนสิการ ที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายในแง่มุมอื่นๆ ที่่คนทั่วไปนึกไม่ถึง มองไม่เห็น สามารถคิดสืบสาวหยั่งเห็นความจริงที่ลึกล้ำอยู่เบื้องหลัง คิดริเริ่มใหม่ๆ ในสิ่งที่คนยังไม่เคยคิด ทำให้มีการมองใหม่เห็นใหม่่ค้นพบใหม่ ได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ และก้าวต่อไปในโยนิโสมนสิการนั้น จนเข้าถึงความจริงที่ไม่มีใครอื่นหยั่งถึงได้

ปัญญาที่เกิดจากการรู้จักคิดด้วยโยนิโสมนสิการของตนเองอย่างนี้ เรียกว่าจินตามยปัญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงมีโดยไม่่ต้องอาศัยการสั่งสอนแนะนำจากผู้อื่น (และไม่มีคนอื่นมีปัญญารู้ที่ะมาบอกมาสอนใหได้) จึงเป็นปัญญาของบุคคลพิเศษที่คนทั่วไปไม่มี ถ้าไม่มีบุคคลพิเศษทีี่่มีจินตามยปัญญาอย่างนี้ การค้นพบใหม่ การแหวกวงล้อมหรือกรอบทางปัญญาออกไป ก็ไม่่อาจเป็นไปได้ และคนก็อยู่ก็รู้ก็คิดตามๆ กันเรื่อยไป

ในเมื่อคนทั่วไปไม่มีจินตามยปัญญาจากการใช้โยนิโสมนสิการเริ่มคิดด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยการสดับรับฟังเล่าเรียนคำแนะนำสั่งสอนจากผู้อื่นเป็นจุดเริ่ม ที่คือเริ่มจากการสร้างสุตมยปัญญาก่อน ในขณะที่บุคคลพิืเศษข้ามสุตมยปัญญานี้ไปเลย

แก้ไขเมื่อ 19-06-2013 16:49:55

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับในที่นี้ เมื่อแยกบุคคลพิเศษออกไปแล้ว จึงกล่าวถึงปัญญา ๓ ครบจำนวน และเรียงลำดับโดยถือเอาคนทั่วไปเป็นที่ตั้ง ดังนี้

๑. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากสุตะ ได้แ่ก่ ปัญญาที่คนทั่วไปจะพัฒนาขึ้นไป โดยต้องอาศัยสุตะ คือ เมื่อยังคิดเองไม่เป็น หรือคิดไปไม่ถึง มองอะไรไม่ออก ไม่เข้าใจ ก็ต้องมีผู้แนะนำสั่งสอนบอกให้ เช่น มีท่านที่เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร อย่างพระพุทธเจ้า ท่านผู้รู้ ครูอาจารย์ มาแนะนำชี้แจงอธิบาย จึงรู้เข้าใจหยั่งความจริงได้ในระดับหนึ่ง

๒. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากจินตะ ได้แ่ก่ การรู้จักคิด คือ เมื่อได้ความรู้เข้าใจในสุตะ เกิดมีสตุมยปัญญาจากการเล่าเรียนสดับฟังแล้ว ก็ฝึกโยนิโสมนสิการให้มองเห็นรู้เข้าใจกว้างไกลลึกรอบทั่วตลอดแยกโยงได้ ทำให้ก้าวต่อไปในการเข้าถึงความจริง และใ้ช้ความรู้อย่างได้ผล

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากภาวนา คือการปฏิบัติบำเพ็ญ ทำให้เป็นให้มีขึ้นได้จริง โดยลงมือทำกับประสบการณ์ตรง หมายถึงปัญญาที่พัฒนาต่อจากสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญาสองอย่างแรกนั้น คืออาศัยปัญญาสองอยู่แรกนั้น พัฒนาต่อไปด้วยการมนสิการ (หมายถึงโยนิโสมนสิการ) ที่ตัวสภาวะ จนเกิดปัญญารู้แจ้งจริงที่สำเร็จเป็นมรรคได้บรรลุผล

ขอให้สังเกตไว้เป็นข้อสำคัญประการแรกว่า ภาวนามยปัญญานี้ อาศัยและต่อจากสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา ไม่ใช่ว่ายังไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย ไปนั่งสมาธิ แล้วมาบอกว่าเข้าฌานได้ภาวนามยปัญญา อยา่งนั้นไม่่ใช่ พึงตระหนักว่า คนทั่วไปนี้ แม้แต่จินตามยปัญญาก็ยังทำให้เกิดเองไม่ได้ ต้องเริ่มจากสุตมยปัญญา (สุตมยปัญญาก็ยังไม่ค่อยจะได้ มีแต่ได้แค่สุตะ อย่างที่พูดข้างต้น)

จุดสังเกตสำคัญประการที่สอง คือ โยนิโสมนสิการ เป็นตัวทำงาน เรียกได้ว่าเป็นแกนในการพัฒนา หรือสร้างปัญญาทั้งสามอย่างนี้ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่บุคคลพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า ที่ว่าตั้งต้นด้วยจินตามยปัญญา โดยไม่ต้องอาศัยสุตะจากคนอื่น (ไม่่ต้องพึ่งปรโตโฆสะ) ก็คือ ใช้โยนิโสมนสิการที่มีขึ้นมาเป็นของเริ่มต้นในตนเอง เป็นที่มาของปัญญาที่เกิดจากกการคิด ที่ทำให้คิดเป็นได้อย่างเฉพาะพิเศษ ส่วนคนทั่วไป แม้จะได้พึ่งสุตะจากผู้อื่น แต่เมื่อจะก้าวต่อไปจากนั้น จะให้ปัญญาพัฒนาขึ้นไป ก็ต้องใช้โยนิโสมนสิการ จนกระทั่ง ในที่สุด การเกิดของปัญญาข้อที่ ๓ อันสูงสุดนั้น มีการทำงานของโยนิโสมนสิการเป็นสาระสำคัญเลยทีเดียว

เรื่องจึงเ็ป็นอย่างที่พูดแล้วแต่ต้นว่า ปัญญา ๓ อย่างในชุดสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา นี้ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อยนัก พระสารีบุตรประมวลมาแสดงไว้ เป็นการให้มองเห็นแหล่งเกิดที่มาของปัญญา ไม่เป็นหลักที่ท่านเน้นย้ำมาก

เรื่องที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำบ่อยมาก ตรัสอยู่เสมอ ก็คือ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการทำใหเกิดปัญญา เมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้ว ปัญญาทั้งสามนั้นก็มาได้ และให้สัมฤทธิ์บรรลุจุดหมาย

ก็มาสรุปไว้ท้ายนี้อีกทีว่า คนทั้งหลายที่รับข่าวสารข้อมูลกันนั้น

- บางคน ได้แต่สุตะ โดยไม่ได้ปัญญาเลย แม้แต่สุตมยปัญญาก็ไม่ได้

- บางคน รู้จักมนสิการไตร่ตรองพิจารณาสุตะนั้นแล้ว สามารถทำสุตมยปัญญาให้เกิดขึ้น

- บางคน ได้สุตมยปัญญาแล้ว รู้จักมนสิการคิดพินิจยิ่งขึ้นไป ก็พัฒนาจินตามยปัญญาให้เกิดขึ้นมา

- บางคน ใช้สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา ที่มีที่ได้แล้วนั้น เป็นฐาน พัฒนาปัญญาด้วยโยนิโสมนสิการยิ่งขึ้นไป ก็อาจทำภาวนามยปัญญาให้เกิดขึ้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีตัวอย่างผู้เริ่มทำการภาวนาต่อท้ายให้ด้วย

อ้างคำพูด:
มีอยู่วันนึงค่ะ นั่งสมาธิตอนเช้ามืด นั่งไปได้ประมาณ 5 นาทีก็เกิดอาการเหมือนถูกดึงขึ้นด้านบนแป๊บนึง ก็ถูกกระชากลงที่เดิมอย่างแรง ตกใจมากค่ะ แต่ยังนั่งต่อจนได้ 15 นาที ไม่เคยเกิดอาการแบบนี้เลยค่ะ มีใครเคยเป็นแบบนี้มั๊ยคะ


นี่แหละสังขารธรรมหรือสังขตธรรม ก็มันเป็นยังงี้ มันก็เป็นยังงี้ แต่เราไม่รู้ว่ามันเป็นงี้ จึงตกอกตกใจ ว่าทำไมถึงเป็นยังงั้น ก็ธรรมดามันเป็นยังงั้น เราจะให้มันเป็นยังไง

มีทางเดียวผู้ทำการภาวนาต้องรู้ตามที่ธรรมชาติมันเป็น รู้ตามที่มันเป็นๆๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 09:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุ อนุโมทนากับการอธิบายและยกหลักฐานจากคัมภีร์มาอ้างอิงประกอบของท่านกรัชกาย
ทำเอาลุงโฮฮับอึ้งอิมกี่ไป อธิบายความเห็นเรื่องปัญญาของตนเองไม่ออก

เรื่องปัญญา 3 นี้มันมีเหตุโต้แย้ง คัดค้านในความเห็นของลุงโฮ จึงแยกยกมาเป็นกระทู้ใหม่ ที่จะได้คุยกันมันส์ๆ ต่อ ยังไงก็ได้ประโยชน์แน่ทั้งแง่สุตตะ และจินตมยปัญญาครับ
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ คุณกรัชกายค่ะ :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
สาธุ อนุโมทนากับการอธิบายและยกหลักฐานจากคัมภีร์มาอ้างอิงประกอบของท่านกรัชกาย
ทำเอาลุงโฮฮับอึ้งอิมกี่ไป อธิบายความเห็นเรื่องปัญญาของตนเองไม่ออก

เรื่องปัญญา 3 นี้มันมีเหตุโต้แย้ง คัดค้านในความเห็นของลุงโฮ จึงแยกยกมาเป็นกระทู้ใหม่ ที่จะได้คุยกันมันส์ๆ ต่อ ยังไงก็ได้ประโยชน์แน่ทั้งแง่สุตตะ และจินตมยปัญญาครับ
Kiss

ที่บอกว่ากรัชกายเอาคัมภีร์มาอ้างอิง อยากถามโสกะหน่อยเถอะ
คัมภีร์ที่ว่า เป็นคัมภีร์อะไร คัมภีร์วัดเส้าหลินหรือคัมภีร์บู๊ตึ่ง :b32:

ที่กรัชกายเอามาโพสนั้นน่ะเขาเรียก แบบเรียนเร็วใหม่ของสามเณร
เขาเอาไว้สอนเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เรียนสายปกติแบบเด็กทั่วไป
โดยเนื้อแท้แล้ว มันเป็นวิชาทางโลก อาจจะลงรายละเอียดมากกว่า
วิชาพุทธศาสนามัธยมต้นนิดหน่อย มันก็แค่นั้น

สรุปมันไม่ได้เกี่ยวกับแก่นแท้ของพระธรรมเลย

เดี๋ยวจะเอาเนื้อหาที่เป็นพระธรรมมาโชว์ให้ดู :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระอภิธรรมปิฎกกล่าวญานวัตถุ๓ในเรื่องของปัญญาไว้.........

ติกนิเทศ
[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิ
ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่
เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา


อธิบายปัญญา๓ ได้ดังนี้ครับ
๑.จินตมยปัญญา ............๒.สุตมยปัญญา..........๓.ภาวณามยปัญญา

หลักการโดยรวมตามบัญญัติทั้งสาม ไม่ได้มีความหมายว่า ความคิดทำให้เกิดปัญญา
การฟังไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา และการภาวนาไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา

แต่ความหมายที่แท้จริงของบัญญัตินั้น ..............ได้แก่

๑. จินตมยปัญญา คือการใช้ปัญญามาเป็นหลักในการคิด

๒. สุตมยปัญญา คือการใช้ปัญญามาเป็นหลักในการอ่านและฟัง

๓.ภาวนามยปัญญา คือการใช้ปัญญามาเป็นหลักในการพิจารณา....ฌาน


สรุปในช่วงนี้สั้นๆ ก็คือ การเอาปัญญามาฟัง คิด อ่านและภาวนา
จะทำให้เกิด.......ญานรู้(วิชชา) และรู้อะไรบ้างก็มีกล่าวไว้ในพระธรรมที่ผมเอามาอ้างอิง


เน้นอีกครั้งครับว่า จินตมยปัญญา...สุตมยปัญญา...ภาวนามยปัญญา
ไม่ใช่การทำให้เกิดปัญญา แต่เป็นการเอาปัญญามาใช้ ในลักษณะที่แตกต่างกัน
คือเอาปัญญามาใช้กับการคิด ....เอาปัญญามาใช้กับการฟัง....
และเอาปัญญามาใช้กับการภาวนา(ฌาน)
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ในที่นี้ ขอเรียงลำดับ ปัญญา ๓ ตามพระไตรปิฎกชั้นเดิมไว้ก่อน พร้อมด้วยแสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาเกิดจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)


กรัชกายเละอีกแล้ว พี่โฮอยากบอกให้รู้ว่า กรัชกายกำลังสับสน กรัชกายเข้าใจว่า
จินตมยปัญญา มีความหมายว่า ปัญญาเกิดจากความคิดพิจารณา .....เข้าใจผิด

จินตมยปัญญา ก็คือปัญญานั้นเอง มันเป็นปัญญาในลักษณะของความคิด
ปัญญาในลักษณะของจินตะหรือความคิด ปัญญาตัวนี้เรียกว่า.....ไตรลักษณ์

จินตมยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสฯ แต่จินตมยปัญญาคือ
การใช้ความคิดที่มีการโยนิโสฯปัญญาไตรลักษณ์มาประกอบร่วมกับความคิดนั้น
ทำให้เกิดผลที่ได้เป็น........สัมมาทิฐิ


กรัชกาย เขียน:
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาเกิดจากปรโตโฆสะ)

สุตมยปัญญานี้ก็เช่นกัน ไม่ได้เกิดจากปรโตโฆสะ แต่มันเป็นการอ่านศึกษาพระธรรม
ด้วยการเอาปัญญาไตรลักษณ์มาพิจารณาพระธรรมที่ฟังหรืออ่านนั้น
พูดง่ายๆก็คือ การเอาปัญญาไตรลักษณ์มาปรโตโฆษะกับพระธรรมที่อ่านหรือฟังนั้น
การปฏิบัติเช่นนี้ จะทำให้เกิด......สัมมาทิฐิ

กรัชกาย เขียน:
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ปัญญาเกิดจากปัญญาสองอย่างแรกนั้นแล้วหมั่นมนสิการ)


อันนี้เละตุ้มเป๊ะ! ภาวนามยปัญญา เป็นเรื่องของผู้ที่ทำฌานสมาบัติ๘
ซึ่งสมาบัติ๘ก็เปรียบเหมือนปัญญาของผู้ทำฌาน สภาวะสุดท้ายของฌาน๘คือ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวะนี่แหล่ะที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
การเพ่งพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ จะทำให้เกิด นิโรธสมาบัติ
กรัชกาย เขียน:
ในกรณีที่เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก ก็คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน หมายความว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยสุตะ ไม่ต้องมีปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการของตนเอง สามารถสืบสาว เรียงต่อ ไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอด จนหยั่งเห็นความจริงได้ จากจินตามยปัญญา จึงต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย (ไม่ต้องอาศัยสุตมยปัญญา)


มันไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียงอะไรก่อนหลัง เพราะปัญญาทั้ง๓เป็นลักษณะจำเพาะ
มันไม่ใช่เป็นขั้นตอนแบบที่กรัชกายว่า ไม่ได้มีอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีการปฏิบัติก็ได้ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน

หลักของการใช้สุตมยปัญญาและภาวนามยปัญญา เป็นวิธีของสาวก
ส่วนจินตมยปัญญาเป็นหลักของ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ได้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ในที่นี้ ขอเรียงลำดับ ปัญญา ๓ ตามพระไตรปิฎกชั้นเดิมไว้ก่อน พร้อมด้วยแสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาเกิดจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)


กรัชกายเละอีกแล้ว พี่โฮอยากบอกให้รู้ว่า กรัชกายกำลังสับสน กรัชกายเข้าใจว่า
จินตมยปัญญา มีความหมายว่า ปัญญาเกิดจากความคิดพิจารณา .....เข้าใจผิด

จินตมยปัญญา ก็คือปัญญานั้นเอง มันเป็นปัญญาในลักษณะของความคิด
ปัญญาในลักษณะของจินตะหรือความคิด ปัญญาตัวนี้เรียกว่า.....ไตรลักษณ์

จินตมยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสฯ แต่จินตมยปัญญาคือ
การใช้ความคิดที่มีการโยนิโสฯปัญญาไตรลักษณ์มาประกอบร่วมกับความคิดนั้น
ทำให้เกิดผลที่ได้เป็น........สัมมาทิฐิ


กรัชกาย เขียน:
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาเกิดจากปรโตโฆสะ)

สุตมยปัญญานี้ก็เช่นกัน ไม่ได้เกิดจากปรโตโฆสะ แต่มันเป็นการอ่านศึกษาพระธรรม
ด้วยการเอาปัญญาไตรลักษณ์มาพิจารณาพระธรรมที่ฟังหรืออ่านนั้น
พูดง่ายๆก็คือ การเอาปัญญาไตรลักษณ์มาปรโตโฆษะกับพระธรรมที่อ่านหรือฟังนั้น
การปฏิบัติเช่นนี้ จะทำให้เกิด......สัมมาทิฐิ

กรัชกาย เขียน:
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ปัญญาเกิดจากปัญญาสองอย่างแรกนั้นแล้วหมั่นมนสิการ)


อันนี้เละตุ้มเป๊ะ! ภาวนามยปัญญา เป็นเรื่องของผู้ที่ทำฌานสมาบัติ๘
ซึ่งสมาบัติ๘ก็เปรียบเหมือนปัญญาของผู้ทำฌาน สภาวะสุดท้ายของฌาน๘คือ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวะนี่แหล่ะที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
การเพ่งพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ จะทำให้เกิด นิโรธสมาบัติ
กรัชกาย เขียน:
ในกรณีที่เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก ก็คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน หมายความว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยสุตะ ไม่ต้องมีปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการของตนเอง สามารถสืบสาว เรียงต่อ ไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอด จนหยั่งเห็นความจริงได้ จากจินตามยปัญญา จึงต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย (ไม่ต้องอาศัยสุตมยปัญญา)


มันไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียงอะไรก่อนหลัง เพราะปัญญาทั้ง๓เป็นลักษณะจำเพาะ
มันไม่ใช่เป็นขั้นตอนแบบที่กรัชกายว่า ไม่ได้มีอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีการปฏิบัติก็ได้ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน

หลักของการใช้สุตมยปัญญาและภาวนามยปัญญา เป็นวิธีของสาวก
ส่วนจินตมยปัญญาเป็นหลักของ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ได้เอง


อ้างคำพูด:
ใช้สุตมยปัญญาและภาวนามยปัญญา


ตรรกะง่ายๆ ถ้าไม่มีปัญญา ไม่สร้างไม่เจริญปัญญา แล้วจะเอาปัญญาที่ไหนมาใช้ ถามหน่อย ปัญญามันต้องเจริญ (ปัญญาภาวนา) ตรรกะง่ายๆอีก บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ปัญญาก็ไม่เกิด แล้วจะเอาปัญญาจากการฟังมาจากที่ไหน คิกๆๆ มันต้องฟังเป็น คิดเป็น ภาวนาเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตรรกะง่ายๆ ถ้าไม่มีปัญญา ไม่สร้างไม่เจริญปัญญา แล้วจะเอาปัญญาที่ไหนมาใช้ ถามหน่อย ปัญญามันต้องเจริญ (ปัญญาภาวนา) ตรรกะง่ายๆอีก บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ปัญญาก็ไม่เกิด แล้วจะเอาปัญญาจากการฟังมาจากที่ไหน คิกๆๆ มันต้องฟังเป็น คิดเป็น ภาวนาเป็น


ก็เล่นใช้ตรรกง่ายๆ(พี่โฮว่ามักง่ายเสียล่ะมากกว่า :b32: )
จะบอกให้เอาบุญ ที่กรัชกายไม่สำเหนียกกับคำอธิบายความของพี่โฮ
เป็นเพราะกรัชกาย.....ไม่มีสุตตะมยปัญญา

เพราะกรัชกายเล่นท่องจำคำศัพท์ มันเลยทำให้กรัชกายแยกแยะไม่ออก
ระหว่างคำแปลกับคำอธิบาย เมื่อกรัชกายมาเจอคำอธิบายซึ่งมันมีตัวอักษร
ที่ผิดไปจากคำแปลที่กรัชกายจำ จึงทำให้กรัชกายเถียงคำไม่ตกฟาก เถียงข้างๆคูๆ :b9:

ที่ถามว่าจะเอาปัญญาที่ไหนมาใช้ นี่ก็อีกเล่นอ่านแต่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า
ขาดปัญญาในเรื่องของสุตตะ เลยไม่รู้จักหาเหตุที่มา

การเอาปัญญามาฟัง มันก็ต้องมีปัญญาอยู่ก่อนแล้ว ปัญญาที่ว่าก็คือ....สภาวะไตรลักษณ์
การรู้สภาวะไตรลักษณ์ คือการไปรู้เห็นสภาวะในกายใจของตนเอง
การรู้ไตรลักษณ์ต้องรู้ด้วยการเห็นสภาวะนั้นจริงๆ ...ไม่ใช่จากการอ่านหรือฟัง
ไตรลักษณ์จึงไม่ใช่ ปัญญาที่เกิดจากการฟังหรืออ่าน
สุตตะมยปัญญาจึงหมายถึง ใช้ปัญญาไตรลักษณ์มาฟังหรืออ่านพระธรรม
เพื่อให้เกิด....สัมมาทิฐิ

กรัชกายท่องแต่คำแปล เลยไม่รู้ว่า ปัญญาก็คือผลของการปฏิบัติ
มันจึงมีหลายความหมาย เช่น.... ไตรลักษณ์ และสัมมาทิฐิเป็นต้น :b32:

สรุปสุตตะมยปัญญาก็คือ การฟังหรืออ่านที่สัมปยุตด้วยปัญญาไตรลักษณ์
ผลที่ได้ก็คือสัมมาทิฐิ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร