วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2013, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามความเห็นความเข้าใจสมาชิกลานแห่งนี้ คือ คำว่า "กาย" มีหลายแห่งเท่่าที่ผ่านหูผ่านตาพวกเรามาค่อนข้างบ่อย ก็เช่น

กาย ที่ กายคตาสติ

ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

ที่ว่า ตา เห็น รูป

รูป นี้ไ้ด้แก่อะไร อันเีดียวกันกับกาย หรือยังไง

รูปที่ในขันธ์ 5 ด้วย (รูป ฯลฯ วิญญาณ)


ทั้งหมดนั่น ท่านเห็นว่า อันเีดียวกันทั้งสิ้น หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ตรงไหน ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2013, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ตาเห็นนั้นคือสีไม่มีเรื่องราวอะไรเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2013, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
สิ่งที่ตาเห็นนั้นคือสีไม่มีเรื่องราวอะไรเลย



ตอบให้หมดประเด็นสิครับ ทั้งกาย ทั้งร่างกาย ทั้งรูป อันเีดียวกันหรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันตรงไหนอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:
สิ่งที่ตาเห็นนั้นคือสีไม่มีเรื่องราวอะไรเลย

ตอบให้หมดประเด็นสิครับ ทั้งกาย ทั้งร่างกาย ทั้งรูป อันเีดียวกันหรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันตรงไหนอย่างไร


ก่อนจะอธิบายในสิ่งที่ถาม อยากจะชี้จุดที่เป็นปัญหาของกรัชกาย(วิจิกิจฉา)ให้รู้เสียก่อน
สิ่งที่ทำให้กรัชกายสับสนก็คือ การไม่เข้าใจหลักการของพุทธพจน์
พุทธพจน์แต่ล่ะคำมีความหมายในตัวเอง พุทธพจน์ไม่มีประโยคแบบไทย
พุทธพจน์ไม่มีการเอาคำมาผสมกันเพื่อให้เกิดคำใหม่
พุทธพจน์แม้เอามารวมกันจะกี่พุทธพจน์ความหมายก็ยังไม่เปลี่ยน

ดูจากคำถามที่กรัชกายถาม ก็รู้เลยว่าอะไรเป็นปัญหาในใจของกรัชกาย
เจ้าตัวกำลังสงสัยว่า ทำไมในคำสองคำจึงมีพุทธพจน์ที่เหมือนกันและแตกต่างกัน

ที่มันเป็นปัญหาก็เพราะ การเข้าหลักการพุทธพจน์แบบผิดๆ
การอ่านพุทธพจน์ห้ามเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่
ปัญหามันเกิดเพราะกรัชกายชอบที่จะเข้าใจว่า หลักการอ่านพุทธพจน์และหลักการอ่านภาษาไทย
เป็นอย่างเดียวกัน แบบนี้มันผิดถนัด

เอาเป็นว่า ถ้ากรัชกายเห็นพุทธพจน์ตั้งแต่สองคำขึ้นไป ก็โปรดเข้าใจเลยว่า
พุทธพจน์ที่เป็นบัญญัติแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงความหมาย แต่จะเปลี่ยนในเหตุปัจจัย
เช่น เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดหรือมีเหตุปัจจัยให้มันเกิด


ยกตัวอย่าง กายก็คือกายถึงแม้จะไปรวมกับพุทธพจน์คำอื่น มันก็คือกาย
ความต่างมันอยู่ กายเป็นเหตุปัจจัยของอะไร....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 03:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถามความเห็นความเข้าใจสมาชิกลานแห่งนี้ คือ คำว่า "กาย" มีหลายแห่งเท่่าที่ผ่านหูผ่านตาพวกเรามาค่อนข้างบ่อย ก็เช่น

กาย ที่ กายคตาสติ

ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

ที่ว่า ตา เห็น รูป

รูป นี้ไ้ด้แก่อะไร อันเีดียวกันกับกาย หรือยังไง

รูปที่ในขันธ์ 5 ด้วย (รูป ฯลฯ วิญญาณ)


ทั้งหมดนั่น ท่านเห็นว่า อันเีดียวกันทั้งสิ้น หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ตรงไหน ?


ถ้าไปเห็นพุทธพจน์คำใดมีคำว่ากายร่วมด้วย ต้องเข้าใจเลยว่า มีกายเป็นเหตุปัจจัยหรือเป็นปัจจัยร่วม
แต่ก่อนที่จะพูดในเรื่องของกาย ควรจะมาทำความเข้าใจกับคำว่า....ร่างกายเสียก่อน

"ร่างกาย" ไม่ได้เป็นพุทธพจน์ การจะเอามาอธิบายร่วมกับพุทธพจน์ จะต้องให้มันมี
ความหมายที่ตรงกับบัญญัติในพุทธพจน์เสียก่อน
ที่กล่าวแบบนี้ก็เพราะ ร่างกายเป็นคำที่ใช้ในทางโลกมันไม่ได้จำแนกแยกแยะว่า อะไรประกอบ
กันเป็นร่างกาย

แต่"กาย"ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส คือบัญญัติที่แยกแยะและรู้แล้วว่า อะไรเรียกว่ากาย
ถ้าเราเอาคำว่า ร่างกายมาเปรียบกับคำว่ากาย ความหมายมันจะสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง
เราจะบอกว่า กายคือร่างกายไม่ได้ เพราะสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นกาย ไม่ได้หมายถึงร่างกาย

ตัวอย่าง ถ้าเราหยิบยกอวัยวะมาเปรียบเช่น ตา เราไม่สามารถเรียกตาว่าร่างกายได้
แต่ตาในความหมายของพุทธพจน์เป็น....กาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับร่ายมาสะยึดยาว เข้าเกณฑ์ คำถาม-คำตอบที่เขาว่า สวัสดีครับ โฮฮับ ไปไหนมาหรอขอรับ ? อ๋อ :b1: 3 วา 2 ศอกจ้า :b32:

โจทท์มีว่า ทั้งกาย ร่างกาย แล้วรูป อันเดียวกัน หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันตรงไหน อย่างไร ?


แต่ก็ยังดีช่วยแสดงความเห็น :b8:

อ้างคำพูด:
ตัวอย่าง ถ้าเราหยิบยกอวัยวะมาเปรียบเช่น ตา เราไม่สามารถเรียกตาว่าร่างกายได้
แต่ตาในความหมายของพุทธพจน์เป็น....กาย


เห็นตัวอย่างนี้ก็ สุดระกำช้ำตรมระทมอุรา หนีเมียจากมาด้วยระอาแม่ยาย แล้ว :b9: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นี้จะอธิบายบัญญัติของแต่ล่ะบัญญัติที่ถาม โดยจะมุ่งตรงให้เข้าใจกับคำว่ากาย
แต่ควรเข้าใจก่อนว่า ธรรมมีความเป็นวิชชาและความเป็นอวิชา

ธรรมในส่วนของกายที่เป็น วิชชาก็คือธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ธรรมในส่วนของกายที่เป็น อวิชาก็คือร่างกายหรืออวัยวะทุกส่วนที่ประกอบกันเป็นร่างกายขึ้น

ดังนั้นการอ่านธรรม ทุกคนต้องแยกแยะพิจารณาให้ดี

กรัชกาย เขียน:
ถามความเห็นความเข้าใจสมาชิกลานแห่งนี้ คือ คำว่า "กาย" มีหลายแห่งเท่่าที่ผ่านหูผ่านตาพวกเรามาค่อนข้างบ่อย ก็เช่น

กาย ที่ กายคตาสติ

ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

คำว่า "กาย"ที่กล่าวมาทั้งหมด มีความหมายเดียวกัน
แต่ที่แตกต่างกันก็เพราะความเป็นร่างกายหรืออวัยวะ
เช่น จักขุหรือตาเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่มันไม่ใช่ร่างกาย
จักขุหรือตาเป็น กาย
โสต ฆาน ชิวหา กาย(กายายตนะ) มโน ก็เช่นกัน ล้วนเป็นกาย แต่ไม่ใช่ร่างกาย

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เท่ากับว่าได้แยกความสับสนออกไปได้หนึ่งอย่าง
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง"กาย" ก็หมายถึง อวัยวะแต่ล่ะอย่างในร่างกาย

เมื่อแยกแยะได้แล้วว่า อะไรเป็นกาย อะไรเป็นร่างกาย เท่ากับดับความเป็นร่างกายออกไปแล้ว
ที่นี้ก็มาลงในประเด็นที่ถาม คำถามมาจากความไม่เข้าใจว่ากายคืออะไรนั้นเอง
เมื่อรู้แล้วก็ต้อง มาดูว่าอะไรเป็นเหตุแห่งกาย และกายเป็นเหตุแห่งอะไร

เหตุแห่งกายก็คือ อวัยวะใดที่จิตไปรู้นั้นเอง และกายเป็นเหตุ ก็คือสติ
เมื่อจิตไปรู้อวัยวะส่วนไหน อวัยวะส่วนนั้นก็คือกาย เช่นรู้ผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง พวกนี้ล้วนเรียกว่ากาย และส่วนที่จิตไปเอากายเป็นเหตุระลึกรู้
สภาพแห่งความเน่าเปื่อย เรียกว่า สติ แบบนี้เรียก.....กายคตาสติ
สรุปในประเด็นกายคตาสติ.....กายก็คืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งนั้นเอง

(มีต่อ)........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเรียนเชิญเพื่อนๆที่เห็นกันบ่อยๆ เช่น คุณ

อโศก

Amazing

ลุงหมาน

เช่นนั้น

student

FLAME

Walaiporn

กบนอกกะลา

โฮฮับ (ไม่ได้ใส่ไว้ครั้งแรกเพราะเห็นมาว่ามาอยู่แล้ว แต่ก็บันทึกไว้สะด้วยจะดีกว่า)

(นอกนั้น ใครจะร่วมแสดงความเห็นด้วยก็เชิญนะครับ)

ร่วมแสดงความคิดเห็นหัวข้อนี้ด้วยครับ :b8: สาธุๆๆ อนุโมทามิ.

ตอบสั้นๆ็ก็ไ้ด้ครับไม่ต้องยาว แต่ให้ครบประเด็นคำถาม ว่าเหมือนกันหรือต่างกัน ถ้าต่าง่กัน ต่างกันตรงไหนอย่างไร

(เพิ่มรายชื่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ต.ค. 2013, 07:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

กายในที่นี้ หมายถึง ตั้งแต่หัว จรดเท้า เรียกว่า กาย

ทำไมตาเราถึงมองเห็น กาย
ก็เพราะกายมี วัณณรูป รวมอยู่ด้วย

กาย ประกอบไปด้วย อะไร

กาย เต็มไปด้วยรูปขันธ์ เกิดๆ ดับๆ ซ้อนๆ กันไปถี่ยิบตลอดเวลา

แต่ก็อย่างที่บอก แม้มีรูปขันธ์ประกอบขึ้นเป็นกายถึง 27 รูป แต่ก็มองเห็นได้แค่รูปเดียวคือ วัณณรูป

กาย กระทบสัมผัส ได้อย่างไร

อาศัย กายปสาทรูป ซึ่งซึมซาบ อยู่ทั่วทั้งตัว เกิดขึ้นรับกระทบสัมผัส โดยอาศัยวิบากจิต ชื่อว่า กายวิญญาณ ประกอบร่วมด้วย เพื่อรับโผสฐัพภารมณ์ที่เข้ามากระทบกาย

สามสิ่งนี้ เกิดพร้อมกัน เรียกว่า กายสัมผัส


สรุป กายเป็นที่ประชุมแห่งรูปทั้งหลาย นั่นเอง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถามความเห็นความเข้าใจสมาชิกลานแห่งนี้ คือ คำว่า "กาย" มีหลายแห่งเท่่าที่ผ่านหูผ่านตาพวกเรามาค่อนข้างบ่อย ก็เช่น

กาย ที่ กายคตาสติ

ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

ที่ว่า ตา เห็น รูป

รูป นี้ไ้ด้แก่อะไร อันเีดียวกันกับกาย หรือยังไง

รูปที่ในขันธ์ 5 ด้วย (รูป ฯลฯ วิญญาณ)


ทั้งหมดนั่น ท่านเห็นว่า อันเีดียวกันทั้งสิ้น หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ตรงไหน ?


อ้างคำพูด:
ที่ว่าตาเห็นรูป ในที่นี้หมายถึง ตา กระทบกับ สี ไม่ได้หมายความว่า ตา เห็น รูป

รูป ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ ตา กระทบ


ขัดกันกันมั้ยครับ

ข้างบนว่า ตา กระทบ สี ไม่ได้หมายถึง ตา เห็น รูป

แต่ข้างล่างว่า รูป หมายถึงสิ่งที่ ตา กระทบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

ที่ว่า ตา เห็น รูป

รูป นี้ไ้ด้แก่อะไร อันเีดียวกันกับกาย หรือยังไง

รูปที่ในขันธ์ 5 ด้วย (รูป ฯลฯ วิญญาณ)


ทั้งหมดนั่น ท่านเห็นว่า อันเีดียวกันทั้งสิ้น หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ตรงไหน ?

ขออธิบายแบบสั้นๆให้ฟังดีกว่า อธิบายยาวมากกรัชกายจขกทก็คงไม่รู้เรื่อง
ไม่รู้เรื่องไม่ว่า แตไอ้ประเภทอวดฉลาด ดีแต่อวดเก่งเสียดสีไม่ไม่เรื่องนี่ซิ เฮ่อ!

กายานุปัสสนา มีเหตุมาจาก กายคตาสตินั้นเอง
ความหมายของกาย ในทางวิชชา กายเป็นเพียงธาตุสี่

กายในวิปัสสนากับกายในคตาสติ เป็นอย่างเดียว ต่างกันที่เหตุ

ส่วนจักขุ โสต ฆาต ชิวหา กาย(กายายตนะ) มโน......
พวกนี้นับโดยวิชชาแล้วมันเป็นเพียงธาตุสี่หรือเป็นอวัยวะที่เรียกว่ากาย

แต่ในความเป็นขันธ์ ทั้งหมดเป็นรูปหรือรูปขันธ์
ในจักขุ โสต ฆาต ชิวหาและกาย จะมีปสาทรูปอาศัยอยู่
และที่มโนหรือหทัย...จะมีหทัยรูปอาศัยอยู่

ถ้าจะกล่าวกันให้ตรงตัวและถูกตามวิชชา การเรียกบัญญัติเหล่านี้ยังไม่ถูกต้อง
อันที่จริงแล้ว เพราะว่ามันเป็นปสาทรูปไม่ใช่กาย จึงต้องเรียกว่า
จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป หทัยรูป

กายกับรูปในขันธ์ห้า แตกต่างกัน กายคือธาตุสี่
ส่วนรูปคือ สิ่งที่มาปรุงแต่งกายให้เกิดให้เกิดเป็นอุปาทายรูปหรือรูปในขันธ์ห้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทั้งสามท่าน ไ้ด้แก่ govit โฮฮับ และลุงหมาน

อันที่จริง จขกท. ควรรอให้ทุกท่านแสดงความเห็นให้ครบก่อน จึงค่อยแสดงความเห็นบ้างตอนท้าย เพราะฉะนั้น ที่แย้งลุงหมานไปข้างบนต้องอภัยนะครับ :b8: ออฟไซต์ไปหน่อย Onion_L

เชิญเลยครับ มีความเข้าใจกันอย่างไร ก็ว่ากันไปตามนั้น Kiss

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

ที่ว่า ตา เห็น รูป

รูป นี้ไ้ด้แก่อะไร อันเีดียวกันกับกาย หรือยังไง

รูปที่ในขันธ์ 5 ด้วย (รูป ฯลฯ วิญญาณ)


ทั้งหมดนั่น ท่านเห็นว่า อันเีดียวกันทั้งสิ้น หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ตรงไหน ?

ขออธิบายแบบสั้นๆให้ฟังดีกว่า อธิบายยาวมากกรัชกายจขกทก็คงไม่รู้เรื่อง
ไม่รู้เรื่องไม่ว่า แตไอ้ประเภทอวดฉลาด ดีแต่อวดเก่งเสียดสีไม่ไม่เรื่องนี่ซิ เฮ่อ!

กายานุปัสสนา มีเหตุมาจาก กายคตาสตินั้นเอง
ความหมายของกาย ในทางวิชชา กายเป็นเพียงธาตุสี่

กายในวิปัสสนากับกายในคตาสติ เป็นอย่างเดียว ต่างกันที่เหตุ

ส่วนจักขุ โสต ฆาต ชิวหา กาย(กายายตนะ) มโน......
พวกนี้นับโดยวิชชาแล้วมันเป็นเพียงธาตุสี่หรือเป็นอวัยวะที่เรียกว่ากาย

แต่ในความเป็นขันธ์ ทั้งหมดเป็นรูปหรือรูปขันธ์
ในจักขุ โสต ฆาต ชิวหาและกาย จะมีปสาทรูปอาศัยอยู่
และที่มโนหรือหทัย...จะมีหทัยรูปอาศัยอยู่

ถ้าจะกล่าวกันให้ตรงตัวและถูกตามวิชชา การเรียกบัญญัติเหล่านี้ยังไม่ถูกต้อง
อันที่จริงแล้ว เพราะว่ามันเป็นปสาทรูปไม่ใช่กาย จึงต้องเรียกว่า
จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป หทัยรูป

กายกับรูปในขันธ์ห้า แตกต่างกัน กายคือธาตุสี่
ส่วนรูปคือ สิ่งที่มาปรุงแต่งกายให้เกิดให้เกิดเป็นอุปาทายรูปหรือรูปในขันธ์ห้า

พี่โฮฮับน้องถามไรหน่อย เพื่อสอบทานความเข้าใจของตัวน้องด้วย พี่อธิบายมาจากภาคปฏิบัติของตน ถึงแยกสภาวะนั้นตามชื่อเรียกต่างๆออกไปใช่หรือไม่เจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถามความเห็นความเข้าใจสมาชิกลานแห่งนี้ คือ คำว่า "กาย" มีหลายแห่งเท่่าที่ผ่านหูผ่านตาพวกเรามาค่อนข้างบ่อย ก็เช่น

กาย ที่ กายคตาสติ

ที่ กายานุปัสสนา

ที่ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน

ที่ "ร่างกาย"

ที่ว่า ตา เห็น รูป

รูป นี้ไ้ด้แก่อะไร อันเีดียวกันกับกาย หรือยังไง

รูปที่ในขันธ์ 5 ด้วย (รูป ฯลฯ วิญญาณ)


ทั้งหมดนั่น ท่านเห็นว่า อันเีดียวกันทั้งสิ้น หรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ตรงไหน ?


รูปกับกายคืออันเดียวกัน แต่รูปนั้นครอบคลุมเฉพาะความเป็นขันธ์5 ไม่ครอบคลุมอายตนะภายนอก ถ้าบอกว่าตาเห็นรูป คือ จักษุ(อายตนะภายใน) กระทบอายตนะภายนอกโดยอาศัยรูปคือตาที่ไม่บอด ดังนั้นรูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่จัดเป็นรูปในขันธ์5 เช่นแสงกระทบวัตถุ เกิดเป็นสีที่ถูกแสดงในจักษุธาตุ สีจึงเป็นรูป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กายนั้นมีความหมายถึงความต่อเนื่องอันเนื่องมาจากความสิ้นสุดลงของขันธ์5ที่ประชุมกัน เช่นโครงกระดูกคนตาย เรียกกาย แต่ไม่เรียกรูปในขันธ์5 เพราะความแตกสลายของธาตุที่ประชุมกัน ร่างกายจึงมีความหมายเหมือนกายคือ ขันธ์5ไม่ประชุมกันก็เรียกเป็นร่างกาย

กายที่กายคตาสติ จึงเป็นกายที่ขันธ์5ยังประชุมกันอยู่
กายานุปัสนาจึงเป็นกายที่ กำหนดรู้ขันธ์5 ที่ประชุมกันอยู่หรือแตกแล้ว
รูปกับกายก็คือขันธ์5ยังประชุมกันอยู่นั่นเองครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร