วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


“ธรรมะ คือ อะไร ในทางปฏิบัติ”
ท่านทั้งหลาย ที่มีศรัทธาในทางพุทธศาสนา และมีความตั้งใจใคร่จะปฏิบัติเพื่อ ลด เพื่อ ละ หรือ ขจัด กิเลส ทั้งปวง ให้เบาบางลงไป จนถึงที่สุด สามารถบรรลุธรรมสู่ชั้นอริยะบุคคลได้นั้น ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลายด้าน นอกเหนือจาก หลักการหรือวิธีการทางศาสนาที่ได้มีสอนไว้เป็นหลักปฏิบัติในรูปแบบต่างๆกัน เพื่อปฏิบัติขั้นพื้นฐานดีแล้ว ก็คงต้องมีการก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อให้ถึงจุดหมายนั่นก็คือ ชั้นอริยะบุคคล ความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า เพราะหลักธรรม จะเป็นเครื่องมือในการที่บุคคลจะใช้เป็นเครื่องขัดเกลา เครื่องมือหรือปัจจัยในการ ลด ละ หรือ ขจัด กิเลศทั้งปวง ให้เบาบางลง
ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรม ย่อมเป็น มรรค หรือ เหตุ ที่จะนำไปสู่ผล แลนำไปสู่ วิธีการที่จะดับทุกข์ได้ ไม่มากก็น้อย
ต้นตอแห่งหลักธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดจาก ธรรมชาติทั้งปวง อันได้แก่ มหาภูตรูป (ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ,ขันธ์ ๕ อันเป็นร่างกายแห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย นับตั้งแต่มนุษย์เป็นต้นไป
ธรรมชาติที่เป็นต้นต่อแห่ง ธรรมะทั้งหลาย นอกเหนือจาก มหาภูตรูป รวมไปถึงสรรพสิ่งที่มีในธรรมชาติอื่นๆ นั่นก็คือ "มนุษย์"
ธรรมชาติ ของมนุษย์ ล้วนเป็นต้นกำเนิดทำให้เกิด หลักธรรมทางศาสนา แลหลักธรรมทางศาสนาต่างก็ล้วน เกิดจาก " ความคิด การระลึกนึกถึง อารมณ์ ความรู้สึก สภาพสภาวะของจิตใจ ความรู้สึกตัว "อันเกิดจากการสัมผัสทางอายตนะ ทั้งหลาย สิ่งที่ได้กล่าวไป ล้วนเป็นต้นกำเนิดแห่ง "ธรรม"
ธรรมะ ในทางพุทธศาสนา ท่านได้กล่าวไว้ว่า ในมนุษย์ทุกคน ล้วนมี ธรรม และในแต่ละบุคคลก็จะมีธรรม อยู่ ๓ ชนิด คือ
๑. กุศลธรรม
๒. อกุศลธรรม
๓. อัพยากตะธรรม
ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น ธรรมทั้ง ๓ ชนิดนี้ ทุกคนล้วนมี ธรรมทั้ง ๓ ชนิดอยู่ในตัวเอง
แต่ในทางศาสนาโดยทั่วไป มักจะสอนให้ผู้ศรัทธา เห็นแต่ "กุศลธรรม" เป็นหลัก ที่สอน กุศลธรรม ก็เพื่อให้บุคคลปฏิบัติแต่ กุศลธรรม อันจักทำให้เกิดความสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นชั้นพื้นฐาน
หากท่านทั้งหลาย มีจิตศรัทธามุ่งมั่นที่จะ ละ ลด ขจัด กิเลส ให้เบาบาง จนไปถึง ขั้น บรรลุธรรมชั้นอริยะบุคคล จำเป็นต้อง เรียนรู้ และทำความเข้าใจ "ธรรม ทั้ง ๓ ชนิด" ให้ถ่องแท้ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีการปฏิสัมพันธ์ เกี่ยวข้อง มีความเป็นอยู่ที่ต้อง อาศัยซึ่งกันและกัน
มนุษย์ แต่ละ บุคคล มีความคิด มีการระลึกนึกถึง มีอารมณ์ มีความรู้สึก มีสภาพสภาวะจิตใจ มีความรู้สึกตัว เมื่อได้รับการสัมผัสที่แตกต่างจากกัน เนื่องด้วย กรรมพันธุ์ การศึกษา การได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม จารีต วัฒนธรรมประเพณี ดังนั้นหากท่านทั้งหลายที่ใฝ่การปฏิบัติได้เรียนรู้แลทำความเข้าใจใน ธรรมทั้ง ๓ ชนิด ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ก็จักเป็น หนทางที่จะนำท่านไปสู่ ความดับทุกข์ได้ ฉะนี้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 26 ต.ค. 2013, 19:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ลงชื่อ นามสกุล ไม่ลงวันที่...ของปลอม s006 grin

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไม่ลงชื่อ นามสกุล ไม่ลงวันที่...ของปลอม s006 grin


ทีแรก ก็ว่าจะไม่ลงชื่อแล้วนะขอรับ เพราะข้าพเจ้าเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรือล่อแหลม แต่ก็เปลี่ยนใจลงชื่อซะดีกว่า จะได้ไม่ต้องไปหาว่าใครเป็นผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับคำล้อของคุณดอกนะขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2013, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม ตามแนว สติปัฏฐาน๔
บทเรียนนี้เป็นคำอธิบายขยายความเกี่ยวกับ “สติปัฏฐาน ๔” เพื่อให้ผู้ศรัทธาในพุทธศาสนาได้เล่าเรียน ได้ศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง เมื่ออ่านแล้วต้องคิดพิจารณาจงอย่าคิดอย่ามองเห็นกงจักรเป็นดอกบัว คิดว่าข้าพเจ้าคัดค้านตำราที่มีอยู่ หลักการเรียนการสอนการศึกษาต่อไปนี้ เป็นการอธิบายให้ได้รู้ให้ได้เข้าใจถึง วิธีการทำความเข้าใจ ซึ่งหากจะกล่าวไปแล้ว ก็เป็นการขยายความหรือแยกแยะรายละเอียดหลักธรรม เพียงหนึ่งข้อตามหลักธรรมแห่งข้าพเจ้า แลพึงทำความเข้าใจเอาไว้ว่า หลัก สติปัฏฐาน ๔ ตามหลักการเรียนการสอนของข้าพเจ้านี้ เป็นหลักปฏิบัติ ที่จำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อบุคคลที่นำไปปฏิบัติสามารถบรรลุธรรมสู่ชั้นอริยะบุคคล อย่างน้อยที่สุด ก็สามารถบรรลุธรรม ชั้น โสดาบัน ได้
บทที่ ๑.....
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิดการระลึกนึกถึง ๔ ประการ (เป็นความหมายที่ข้าพเจ้าบัญญัติขึ้นมาเอง อาจจะไม่ตรงตามตำราก็ได้ แต่ก็ใกล้เคียงแน่นอนขอรับ)
คำว่า"อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิดการระลึกนึกถึง ๔ ประการ"หรือ สติปัฏฐานสี่ นั้น ประกอบไปด้วยหลักการเรียน การศึกษา ๔ ข้อ ด้วยกัน อันได้แก่
๑. อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิดการระลึกนึกถึง ด้าน กาย เรียกว่า "กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน"
๒. อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิดการระลึกนึกถึง ด้าน เวทนา เรียกว่า "เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน"
๓. อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิด การระลึกนึกถึง ด้าน จิต เรียกว่า "จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน"
๔. อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิด การระลึกนึกถึง ด้าน ธรรม เรียกว่า "ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน"

อุบายเรืองปัญญาเพื่อให้เกิดการระลึกนึกถึง หมายถึง การเล่าเรียนศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา คือความรู้ยิ่ง ถึงต้นตอแห่งอริยสัจสี่ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งล้วนมีต้นตอ หรือมีต้นเหตุ มาจาก กาย ,เวทนา ,จิต ,ธรรม
จบบทที่ ๑
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒๗ ก.ย. ๒๕๕๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2013, 14:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
ถ้าจะถามว่า "ธรรมะ คืออะไร นั้น จะได้คำตอบที่กว้างขวางและหลากหลาย เพราะ ธรรมะก็คือ ธรรมชาติ เรื่องของธรรมชาติ
พระบรมศาสดาทรงเปรียบเป็น ใบไม้ในป่า

แต่ถ้าจะถามให้ได้ประโยชน์ ตรงประเด็น ชี้ชัด ไม่หลากเรื่องให้ต้องถกเถียงกันมาก ควรถามว่า

"ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอน คืออะไร"

ถ้าถามอย่างนี้ คำตอบจะมีไว้ครบถ้วน สมบูรณ์แล้วทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในบทสวด ธรรมคุณ 6 ประการ ที่แปลโดยนัยยะทางด้านการปฏิบัติจริง

เป็นเรื่องใบไม้ในกำมือเดียว
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2014, 21:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:24
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องขอพูดด้วยภาษาที่ทำให้เข้าใจง่าย
1รักษาศีล5
2เจริญสติในชีวิตประจำวันอันนี้ถ้าทำไม่ได้ฟันธงเลยไม่เกิดอริยมรรคแน่นอน
ทำอย่างไรสติคือการรู้ว่า มีอะไรเกิดขึ้นในกาย มีอะไรเกิดขึ้นในใจ ก็อ่านกายอ่านใจไปตลอดถ้าไม่มีเรื่องให้คิด ทำไมใช้คำว่าอ่านเพราะให้อ่านไม่ให้เข้าไปยุ่งมันจะดีก็ได้มันจะเลวก็ได้ห้ามไปยุ่งอ่านเฉยๆ
3เจริญสติในรูปแบบทุกวันวันละ10นาที อันนี้ทุกวันไม่มีเว้นนะครับ วิธีนะครับ ถ้าท่องพุทธโธให้ทำแบบนี้ ท่องคำว่าพุทธ เมื่อคำว่าพุทธจบลงให้ดูว่านอกเหนือจากคำว่าพุทธมีอะไรเกิดขึ้นมาอีกเช่นรู้สึกว่ามีความรู้สึกรู้ถึงร่างกาย มีความคิดและอื่นๆ จากนั้นก็ท่องคำว่าโธแล้วก็ดูเหมือนเดิม ให้ดูว่านอกเหนือจากคำว่าโธมีอะไรเกิดขึ้นมาอีก ทำแบบนี้ตลอด10นาที จะได้จิตตั้งมั่นเมื่อชำนานแล้วจะเห็นไตรลักษณ์
ก็จะเริ่มวิปัสนาได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะเอาความรู้ในการปฏิบัติมาตั้งกระทู้มังก็ดีนะ เบื่อตำราละ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร