วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 05:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2013, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่สัตว์บางพวกกลัวตาย
บางพวกไม่กลัวตาย
พราหมณ์ ! สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อม
กลัวถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่ สัตว์ผู้มีความตาย
เป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่.

พราหมณ์ ! ก็สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย เป็นอย่า่งไรเล่า่ ?

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจาก
ความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก
ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม
ทั้งหลาย มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขา
มีโรคหนักอย่า่งใดอย่า่งหนึ่งถูกต้องแล้วย่อมมีความปริวิตก
อย่างนี้ว่า กามอันเป็นที่รักจักละเราไปเสียละหนอ และ
เราก็จะต้องละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก
ระทมใจ คร่ำครวญ ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหล.

พราหมณ์ ! บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจาก
ความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก
ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาย
มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก
อย่า่งใดอย่า่งหนึ่งถูกตอ้งแล้ว ยอ่มมีความปริวิตกอย่า่งนี้ว่า่
กายอันเป็นที่รักจักละเราไปละหนอ และเราก็จักละกาย
อันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก... .

พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไ้ม่ไ่ด้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำความป้องกันความกลัวไว้ ทำ
แต่บาป ทำแต่กรรมที่หยาบช้า้ ทำแต่กรรมที่เศร้า้หมอง มี
โรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก
อย่า่งใด้อย่า่ งหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่า่งนี้ว่า่
เราไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำความป้องกัน
ความกลัวไว้ ทำแต่บาป ทำแต่กรรมที่หยาบช้า ทำแต่กรรม
ที่เศร้าหมอง คติของคนไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล
ไม่ได้ทำความป้องกันความกลัว ทำแต่บาป ทำแต่กรรม
ที่หยาบช้า ทำแต่กรรมที่เศร้าหมองมีประมาณเท่าใด
เราละไปแล้ว ย่อมไปสู่คตินั้น เขา่ย่อมเศร้า้โศก... .

พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความสงสัย
เคลือบแคลง ไม่ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรม มีโรค
หนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก
อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้
ว่า เรามีความสงสัยเคลือบแคลง ไม่ถึงความตกลงใจ
ในพระสัทธรรม เขาย่อมเศร้าโศก... .

พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตาย
เป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

พราหมณ์ ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีความตาย
เป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

พราหมณ์ ! บุคคลมีความตายเป็นธรรมดา ย่อม
ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปราศจาก
ความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย มีโรคหนัก
อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใด
อย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
กามทั้งหลายอันเป็นที่รักจักละเราไปเสียละหนอ และ
เราก็จักละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่
ระทมใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความหลงใหล.

พราหมณ์ ! บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปราศจาก
ความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกาย มีโรคหนักอย่างหนึ่ง
ถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอยา่ งใดอยา่ งหนึ่งถูกตอ้ งแลว้
ย่อมไม่มีปริวิตกอย่างนี้ว่า กายอันเป็นที่รักจักละเราไป
ละหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักนี้ไป เขาย่อม
ไม่เศร้าโศก... .

พราหมณ์ ! บุคคลแม้นี้แล มีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เปน็ ผูไ้มไ่ดก้ ระทำบาป
ไม่ได้ทำกรรมที่หยาบช้า ไม่ได้ทำกรรมที่เศร้าหมอง
เป็นผู้ทำความดีไว้ ทำกุศลไว้ ทำกรรมเครื่องป้องกัน
ความกลัวไว้ มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อ
เขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความ
ปริวิตก อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำกรรมอันเป็นบาป ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้ทำกรรมที่เศร้าหมอง เป็นผู้
ทำกรรมดีไว้ ทำกุศลไว้ ทำกรรมเครื่องป้องกันความ
กลัวไว้ คติของบุคคลผู้ไม่ได้ทำบาปไว้ ไม่ได้ทำกรรม
หยาบช้า ไม่ได้ทำกรรมที่เศร้าหมอง ทำกรรมดีไว้ ทำ
กุศลไว้ ทำกรรมเครื่องป้องกันความกลัวไว้เพียงใด เรา
ละไปแล้วจักไปสู่คตินั้น เขาย่อมไม่เศร้าโศก... .

พราหมณ์ ! แม้บุคคลนั้นแลมีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไ้ม่มีความสงสัย
ไม่มีความเคลือบแคลงถึงความตกลงใจในพระสัทธรรม
มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก
อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้
ว่า เราไม่มีความสงสัย ไม่มีความเคลือบแคลงถึงความ
ตกลงใจในพระสัทธรรม เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ระทมใจ
ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความหลงใหล.

พราหมณ์์ ! แม้บุคคลนี้แล มีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

พราหมณ์ ! บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีความตาย
เป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

แสงทองแสงธรรม เจิดฉายกายจิต
ชีวิตได้ล่วง ผ่านกาลสมัย
ทุกสิ่งอย่าง ล้วนแต่เปลี่ยนไป
ตัดเสียอารัก ในวัฏฏะวน

มนุษย์สัตว์ ทุกตนล้วนตายเกิด
เลือกเอากำเนิด ด้วยผลแห่งกรรม
จงพึงน้อมนำ ธรรมมาสู่ใจ
ได้เป็นที่พึง ทุกๆท่านเทอญ

หลักในการใช้จ่ายทรัพย์
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์ที่ตน
หาได้มา ด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วย
กำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ
๔ ประการอย่างไรเล่า ? ๔ ประการในกรณีนี้คือ :-
๑. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา
โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการเลี้ยงตน
ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารตนให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงมารดาและบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหาร
ท่านทั้งสองให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง, ในการเลี้ยงบุตร
ภรรยา ทาสและกรรมกรชายหญิง ให้เป็นสุข อิ่มหนำ
บริหารให้อยู่กันอย่างเป็นสุขโดยถูกต้อง, ในการเลี้ยงมิตร
อำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว
บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล (อายตนโส)
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๒. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา
โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการปิดกั้น
อันตรายทั้งหลาย ทำตนให้สวัสดีจากอันตรายทั้งหลาย
ที่เกิดจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร หรือจากทายาท
ที่ไม่เป็นที่รักนั้น ๆ นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๒
อันอริยสาวกนั้นถึงแล้วบรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบ
ด้วยเหตุผล คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๓. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา
โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวข้างต้น) ในการกระทำพลีกรรม
๕ ประการ คือ สงเคราะห์ญาติ (ญาติพลี) สงเคราะห์แขก
(อติถิพลี) สงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว (ปุพพเปตพลี) ช่วย
ชาติ (ราชพลี) บูชาเทวดา (เทวตาพลี) นี้เป็นการบริโภค
ทรัพย์ ฐานที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภค
แล้วโดยชอบด้วยเหตุผล คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๔. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหามาได้
โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการตั้งไว้ซึ่ง
ทักษิณา อุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้งดเว้นแล้วจาก
ความประมาทมัวเมา ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะผู้ฝึกฝน ทำความสงบ ทำความดับเย็น แก่ตนเอง อันเป็น
ทักษิณาทานที่มีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝ่ายดี มีสุข
เป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์ นี้เป็นการ
บริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว
บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ย่อมใช้โภคทรัพย์
ที่ตนหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวม
มาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรม
ในหน้าที่ ๔ ประการเหล่านี้.

คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่นมากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่องยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบายจะมีความสุข เรื่องลูก ก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป


เห็นทุกข์เพียงตัวเดียว

ผู้ถาม : ลูกขอกราบเรียนถามหลวงพ่อ การพิจารณาร่างกายว่ามีอาการสลายไปเป็นกระดูก และผลสุดท้ายไม่มีอะไรคงเหลืออยู่ เกิดความรู้สึกว่าจะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เรากำหนดเรียกขึ้นมา แต่ความจริงแล้วก็เป็นสภาพเช่นนั้นเอง ลูกขอกราบเรียนถามว่า เป็นความรู้สึกที่ถูกต้องไหมเจ้าคะ?

หลวงพ่อ : แต่ไอ้คำว่า ”ไม่ยาก” น่ะมันพูดได้นะ แต่ว่าการจะปลดจะเปลื้องต้องค่อยๆ ทำ อย่าหักโหม ดูเหตุดูผล เห็นทุกข์เสียตัวเดียวเท่านั้นแหละพอ เห็นทุกข์จงอย่าเมาในทุกข์ อย่าตกใจในทุกข์ เห็นว่ามันเป็นทุกข์จริง โลกนี้มันเป็นทุกข์

แต่ที่เราอยู่ในโลกนี้ เราจำเป็นจะสนองความต้องการของมัน แต่จิตตัวหนึ่งเราหวังตัดทุกข์คือไม่ต้องการมันอีก ไอ้ตัวนี้มันทุกข์อยู่แล้วเราไม่กลุ้ม สมมติว่าเราถูกไปจับขัง เรามีโทษถูกขัง ไอ้โทษประเภทนี้เราถูกขัง เราจะไม่ทำอย่างนี้ต่อไป เราก็จะไม่ถูกขัง เมื่อพ้นมาแล้ว

นี้ก็เหมือนกันที่เรามาเกิดได้ เดิมทีเดียวมันมีเหตุ ๔ ประการ ที่นำให้เรามาเกิดได้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม

กิเลส คืออารมณ์ชั่วของจิต ที่เราเศร้าหมองเพราะจิตมันชั่ว มันจึงปรากฏ นี่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไอ้ตัวมิจฉาทิฎฐิทำให้เห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี ถ้าเราเข้าใจว่าของชั่วเป็นของดีๆ เป็นของชั่ว ของชั่วเป็นของดี อุปาทาน ก็เลยจับยึดมั่นว่าไอ้ของชั่วที่เราคิดว่าดีน่ะทำมันไปตามนั้นเกาะมันว่าดี

ตัณหา ตัวอยาก เมื่อมันเห็นว่าชั่วเป็นดี ดีเป็นชั่ว เราต้องการชั่วมันก็อยากได้ อยากได้ก็ทำ ทำตามนั้น ตัวยึดมั่นเข้าไว้ พอยึดมั่นแล้วก็ปฏิบัติตาม ปฏิบัติตามเป็นเหตุให้เราเกิด

ที่มา : หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม (การปฏิบัติธรรม)



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


กฐินบังคลาเทศ 2556
http://nuwayplaya.blogspot.com/2013/10/ ... l?spref=fb

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินแก่วัดที่ไม่มีเจ้าภาพทั่วประเทศ ประมาณ 2,000 วัด
โทรศัพท์ ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๓๕ – ๔๑


กลุ่มสมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตจุฬาฯ บุคลากร และญาติธรรมทุกท่าน ร่วมฟังพระธรรมเทศนา จากพระครูกิตติอุดมญาณ (หลวงปู่ไม อินทสิริ) ณ ห้องธรรมวิศว์ ตึก3 ชั้น3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในวันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน 2556 กำหนดการ 16.00 น โทร.0824666207


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2013, 07:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ในผู้ไม่กลัวตาย..สำหรับคนยังไม่หมดกิเลส..อย่างเราๆ นั้น
ข้อ 3 ...ทำแต่กรรมดี...
.ดูเหมือนง่าย...แต่ใช้ความเพียรมาก...ต่อเนื่องตลอด...ผู้มีศรัทธาหนักจะทำได้ง่าย

ข้อ4 ...ไม่สงสัยลังเลในพระสัทธรรม...ตัดวิจิกิจฉาได้...ทำเพียงแค่ครั้งเดียว..ผลอยู่ได้ตลอด...อันนี้ต้องใช้ปัญญา...


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2013, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๕๗๑] อ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม
มีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน
ภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็
เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย
ที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็
เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย
ที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล ก็เมื่อเขาเห็น
ความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมมีความ
สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

[๑๕๗๒] ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม
ไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?
อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความ
ตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อ
เขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่
มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็น
ไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมไม่มีความ
สะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2013, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
[๑๕๗๑] อ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม
มีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน
ภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็
เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย
ที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็
เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย
ที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล ก็เมื่อเขาเห็น
ความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมมีความ
สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

[๑๕๗๒] ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม
ไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?
อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความ
ตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อ
เขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่
มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็น
ไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมไม่มีความ
สะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสต์ เมื่อ: 02 พ.ย. 2013, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 02 พ.ย. 2013, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยครับ


โพสต์ เมื่อ: 03 พ.ย. 2013, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกชีวิตที่ยังไม่อยากตาย ก็เพราะเหตุว่าเขาเหล่านั้นยังยึดติดกับภพชาติอยู่
แม้ว่าร่างกายจะพิกลพิการ รูปร่างอัปลักษ์ขนาดไหน หรือถูกเบียดเบียนจากโรคภัยไข้เจ็บ
เขาเหล่านั้นก็ยังไม่อยากตาย ก็ยังพยายามดิ้นรนรักษาเพื่อจะให้ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก
และก็บางที่อาจมีบางคนฆ่าตัวเองตาย ก็ใช่ว่าเขาเหล่านั้นอยากที่จะตาย แท้จริงแล้ว
เขาเหล่านั้นเขาสงสารตัวเองต่างหาก ที่เห็นว่าเขาไม่อยากให้ตัวเขาต้องทนทุกข์อีกต่อไป
เหตุเพราะเขาจะหนีทุกข์นี้ต่างหาก และก็ไม่มีใครในโลกนี้มีความสุขแล้วเกิดคิดจะฆ่าตัวตาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ทุกชีวิตที่ยังไม่อยากตาย ก็เพราะเหตุว่าเขาเหล่านั้นยังยึดติดกับภพชาติอยู่
แม้ว่าร่างกายจะพิกลพิการ รูปร่างอัปลักษ์ขนาดไหน หรือถูกเบียดเบียนจากโรคภัยไข้เจ็บ
เขาเหล่านั้นก็ยังไม่อยากตาย ก็ยังพยายามดิ้นรนรักษาเพื่อจะให้ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก
และก็บางที่อาจมีบางคนฆ่าตัวเองตาย ก็ใช่ว่าเขาเหล่านั้นอยากที่จะตาย แท้จริงแล้ว
เขาเหล่านั้นเขาสงสารตัวเองต่างหาก ที่เห็นว่าเขาไม่อยากให้ตัวเขาต้องทนทุกข์อีกต่อไป
เหตุเพราะเขาจะหนีทุกข์นี้ต่างหาก และก็ไม่มีใครในโลกนี้มีความสุขแล้วเกิดคิดจะฆ่าตัวตาย


ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร