วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2013, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

สมาธิช่วยแก้ปัญหาได้

เวลาที่เราพบกับปัญหาว้าวุ่นใจ หรือความเครียดเรื่องงาน การเรียน หนี้สิน ฯลฯ สมองของเราจะเหมือนห้องสกปรกที่เต็มไปด้วยขยะ ไม่มีพื้นที่จะนอนหรือนั่งให้สบาย หรือเก็บสิ่งของอย่างอื่น

ดังนั้น เวลาที่รู้สึกเช่นนั้น เราควรจะทำใจให้สงบด้วยการแผ่เมตตาหรือสวดมนต์ หรือถ้าจะให้ดีสุดก็ควรเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อใจของเราสงบแล้ว สมองของเราก็จะเหมือนห้องโล่งสะอาดที่สามารถเก็บสิ่งของต่างๆ หรือนั่งเล่นนอนเล่นได้ ส่งผลให้เห็นปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นตฺถิ สมาธิปโร อตฺถิ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ (ธรรมที่ยิ่งกว่าสมาธิไม่มีในโลกนี้และโลกหน้า)

อาจมีคำถามว่า ศาสนาพุทธเน้นปัญญามิใช่หรือ เหตุใดพระพุทธดำรัสนี้จึงเน้นสมาธิ และพระพุทธดำรัสนี้ไม่ขัดแย้งกับพระพุทธดำรัสว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ (สุขที่ยิ่งกว่าความสงบไม่มี) หรือไร เพราะข้อความนี้ระบุถึงพระนิพพานอันเป็นสุขที่เลิศสูงสุด

ขอตอบว่า ข้อความที่ตรัสถึงสมาธิดังกล่าว เป็นข้อความจากคัมภีร์ชาดกที่พระโพธิสัตว์ตรัสไว้เพื่อแสดงประโยชน์ของสมาธิ ซึ่งสามารถใช้ในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติธรรมได้ เพราะสมาธิจะทำให้สมองของเราโล่งสบาย มองเห็นปัญหาและทางออก อีกทั้งสมาธิยังเป็นบาทให้เกิดปัญญาได้ต่อไป ดังนั้น พระพุทธดำรัสทั้งสองอย่างจึงไม่ขัดแย้งกัน

พม่ามีคำพังเพยว่า อ่านตำราง่าย เทียบตำรายาก หมายความว่า การอ่านให้เข้าใจเนื้อหาในแต่ละเรื่อง ไม่ยาก แต่การตีความให้สอดคล้องกันถือว่ายาก


:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

สติคือเข็มนาฬิกา

ในบางขณะเรารู้สึกหงุดหงิด ผิดหวัง กลุ้มใจ วิตกกังวล แล้วเรามักโทษคนอื่นว่าเป็นเพราะคนนั้นคนนี้มาว่าเรา เจ้านายตำหนิเรา เพื่อนอิจฉาเรา เรามักชี้นิ้วไปหาคนอื่น โดยลืมว่ามีอีก ๔ นิ้วกำลังชี้เข้ามาหาตัวเอง

ความรู้สึกหงุดหงิดเป็นต้นนั้นเกิดจากการขาดสติ เหมือนเข็มนาฬิกาหลุดออกไป ทำให้นาฬิกาไม่เดิน สตินั้นเป็นเหมือนเข็มนาฬิกาที่ทำให้ใจของเราพ้นไปจากกิเลสที่เป็นไอร้อนคือความโลก โกรธ หลง

ดังนั้น ถ้าเรามีสติอยู่เสมอๆ แม้จะมีคนมารบกวนหรือทำให้ไม่สบายใจ เราก็จะยิ้มสู้ได้อย่างเป็นสุข

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เจริญสติอย่างสูงสุด ในสมัยพุทธกาลแม้จะมีบางคนมารบกวนพระองค์ ก็มิได้ทรงทำให้พระองค์รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ บางช่วงก็มีคนมาด่าว่าพระองค์ถึง ๗ วัน บางช่วงก็ถูกใส่ร้ายว่าเป็นฆาตกรฆ่าคนอื่น แต่เมตตาและกรุณาของพระองค์ก็ยังคงเดิม ไม่ได้ลดหย่อนลงเพราะถ้อยคำหรือความประพฤติชั่วของผู้อื่น

ชาวพุทธในปัจจุบันนับว่าเป็นสัตบุรุษที่สืบทอดมาจากพระพุทธเจ้า เราจึงควรเจริญสติให้มีพลังเพื่อต่อต้านโลกธรรมที่มากระทบใจของเรา

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

ทางดำเนินของสัตบุรุษ

ถ้าทุกคนในโลกนี้ดำเนินไปตามทางของสัตบุรุษแล้วอยู่กันด้วยจิตที่ปรองดองสมัครสมานกัน โลกนี้ก็จะร่มเย็นเป็นสุขไม่เดือดร้อน

ทางดำเนินของสัตบุรุษนั้น คือ

๑. รู้จักอดทนเมื่อถูกคนโง่เบียดเบียน

๒. ไม่ล่วงเกินผู้อื่น

๓. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สิ่งของและโอกาสของตนแก่คนอื่น

๔. ชื่นชมยินดีเมื่อพบเห็นคนอื่นเจริญก้าวหน้าด้วยใจที่เป็นสุขไม่เสแสร้ง

ถ้าทุกคนในโลกดำเนินไปตามทางของสัตบุรุษเช่นนี้ ทุกคนก็จะเป็นสัตบุรุษ ไม่มีใครเบียดเบียนใคร ต่างอยู่กันด้วยความโสมนัสยินดี

ทางดำเนินของสัตบุรุษนี้เป็นทางสว่างที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำชาวโลกที่เหมือนเดินอยู่ในที่มืด เราสามารถพัฒนาศักยภาพของจิตได้ด้วยการดำเนินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นี้


จาก...เฟสบุ๊ควัดท่ามะโอ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 17 ต.ค. 2013, 15:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

:b42: พระบาลีคาถาที่ ๒๑๙

สทา สเมติ สตา สํ สิมติ อสตา อสํ วายโส กุณปํ ยาติ กุสุมํ ยาติ ฉปฺปโท.

สัตบุรุษย่อมมาร่วมกับสัตบุรุษทุกเมื่อ อสัตบุรุษย่อมมาร่วมกับอสัตบุรุษ
เหมือนกาย่อมบินไปหาซากศพ ส่วนผึ้งย่อมบินไปหาดอกไม้ ฉะนั้น.



.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 17 ต.ค. 2013, 15:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 08:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ ธรรมะสวัสดีค่ะ คุณSOAMUSA :b8: :b8: :b8: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: ขอบพระคุณค่ะ คุณพี่Supatorn

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b8: ขอขอบคุณค่ะ ข้อมูลจากเวป http://www.prachatalk.com/webboard

:b45: รู้ไหมว่าระหว่างสวดมนต์กับนั่งสมาธิ
ได้ผลดีต่างกันอย่างไร

โดย songvit
เมื่อ ศุกร์, 04/10/2013 - 08:07

*ผลการวิจัยออกมาแล้วโดย K. Kijsarun Chanpo ได้ทำการทดลองกับนิสิตจุฬา ฯ จำนวน 60 คน
โดยให้สวดมนต์ 30 คน และทำสมาธิ 30 คน ชาย-หญิงอย่างละ 15 คน และทำการวัดคลื่นสมองทีละ
คนในขณะสวดมนต์ 30 นาที และผู้ทำสมาธิ 30 นาที บันทึกการทำงานของสมองตลอดระยะเวลา 30
นาที ผลปรากฎว่าทั้ง 30 คนในการสวดมนต์ทีละคนได้ผลเหมือนกันคือนาทีที่ 0-5 นาทีแรกจิตยังซัด
ส่าย พอนาทีที่ 5-10,10-15,15-20,20-25,25-30 คลื่นสมองจะบอกถึงการดิ่งของจิตที่สงบจนจบ
ต่อเนื่องถึงหลังการทดลองอีกระยะหนึ่ง. สุดยอดไหม


ส่วนการทำสมาธิจะได้ผลดีที่สุดอยู่ที่ นาทีที่ 0-5 พอเข้านาทีที่ 5-10,10-15,15-20...จบจนการ
ทดลองจิตจะซัดส่าย คลื่นสมองจะไม่นิ่ง อันเนื่องจากมีนิวรณ์ 5 เข้ามาเป็นเครื่องกั้นการทำงานของจิต
ต่อการทำสมาธิ ดังนั้นจิตที่ยังมีนิวรณ์ 5 อยู่เช่นนี้ย่อมจะไม่สามารถเป็นสมาธิได้ ต้องฝึกเป็นประจำอย่าง
สม่ำเสมอจะสามารถกำจัดนิวรณ์ได้.


ซึ่งการทดลองนี้สอดคล้องกับมาตรฐานสัญญาณคลื่นสมองอัลฟ่าผ่อนคลายเมื่อหลับตาลงซึ่งเป็นช่วงที่ดี
ที่สุดในระยะแรก


ฉะนั้นทำให้เรารู้ว่าการสวดมนต์ก่อนทำสมาธิจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจิตเราจะจดจ่อกับบทสวดมนต์อยู่
ตลอดเวลา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองอัลฟ่าเกิดขึ้นและคงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องจนหลังการ
ทดลองอีก 5 นาที. ซึ่งจะเป็นช่วงที่เข้าสู่การทำสมาธิได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อฝึกบ่อย ๆนิวรณ์5 ก็จะหมดไป*

:b8: ร่วมกันอนุโมทนาบุญกับผลงานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสามารถแนะนำคนที่ยังไม่เคยทำ ได้ทดลองปฏิบัติดู

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2013, 01:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
สมาธิ ยังมีประโยชน์ในการปรับธาตุทั้ง4 ให้เกิดความสมดุล เช่น หายใจได้ละเอียดขึ้น นุ่มนวล รวมทั้งสภาวะที่เกิดจากความเครียด เช่น โรคปวดหัว สมัยก่อนนั้น student ปวดหัวรุนแรงมาก ปัจจุบันนี้ หายสนิทเลยครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2013, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
:b8: :b8: :b8:
สมาธิ ยังมีประโยชน์ในการปรับธาตุทั้ง4 ให้เกิดความสมดุล เช่น หายใจได้ละเอียดขึ้น นุ่มนวล รวมทั้งสภาวะที่เกิดจากความเครียด เช่น โรคปวดหัว สมัยก่อนนั้น student ปวดหัวรุนแรงมาก ปัจจุบันนี้ หายสนิทเลยครับ


:b8: ขออนุโมทนา สาธุในกุศลที่เกิดกับคุณ student ค่ะ
ลมหายใจที่นำอ๊อกซิเจนเข้าร่างกายในขณะที่ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นนั้น กระดูกสั้นหลังตรงขณะหายใจ
ทำให้ร่างกายปรับตัวสมดุลย์ นอกจากเกิดกุศลแล้วร่างกายแข็งแรงค่ะ tongue

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2013, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

สติเจตสิก

สติเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความระลึกได้ในอารมณ์ และให้สังวรอยู่ในกุศลธรรมเป็นลักษณะ
มีอรรถโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) ๔ ประการ คือ
อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ เป็นลักษณะ
อสมฺโมหรสา มีความไม่หลงลืม เป็นกิจ
อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา (วา) มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
วิสยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความจดจ่อต่ออารมณ์ เป็นผล
ถิรสญฺญา ปทฏฺฐานา (วา) มีความจำอันมั่นคง เป็นเหตุใกล้ (หรือ)
กายาทิสติปฏฺฐาน ปทฏฺฐานา มีสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้

สติมีลักษณะประการ คือ
๑. อปิลาปนลักขณาสติ
๒. อุปคัณหณลักขณาสติ

๑. อปิลาปนลักขณาสติ ได้แก่ สติที่เตือนให้ระลึกไปในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมสิ่งนี้ดี สิ่งนั้นชั่ว,
สิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์, ธรรมสิ่งนี้เป็นสติปัฏฐาน๔, สิ่งนี้เป็นสัมมัปปธาน๔,
สิ่งนี้เป็นอิทธิบาท๔, สิ่งนี้เป็นอินทรีย์๕, สิ่งนี้เป็นพละ๕, สิ่งนี้เป็นโพชฌงค์๗, สิ่งนี้เป็นมรรค๘,
หรือสิ่งนี้เป็นสมถกรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นฌาน, เป็นสมาบัติ, เป็นวิชา,
เป็นวิมุตติ, เป็นกองจิต, กองเจตสิก

เมื่อ อปิลาปนลักขณาสติ เตือนให้ระลึกถึงธรรมเหล่านี้แล้ว ก็มิได้ส้องเสพธรรมอันมิควรเสพ
กลับเสพธรรมที่ควรเสพ สตินี้ จึงหมายถึงสติที่ประกอบทั่วไปในโสภณจิต
ย่อมให้ระลึกถึงกุศลธรรม
โดยทำหน้าที่กั้นกระแสแห่งนิวรณ์ธรรม จะประกอบด้วยปัญญา หรือมิได้ประกอบด้วยปัญญา
ก็สามารถให้ระลึกถึงกุศลธรรมโดยชอบได้

๒. อุปคัณหณลักขณาสติ ได้แก่ สติที่ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี ย่อมระลึกว่า ธรรมสิ่งนี้มีอุปการะ
ธรรมสิ่งนี้มิได้มีอุปการะ, นำออกเสียซึ่งธรรมมิได้เป็นประโยชน์ มิได้เป็นอุปการะ ถือเอาแต่ธรรมที่เป็น
ประโยชน์ ธรรมที่เป็นอุปการะ ดุจนายประตูของพระบรมกษัตริย์ ถ้าเห็นผู้ใดประหลาดเข้าไปสู่ประตู
พระราชวัง ก็ห้ามเสียมิให้เข้า ผู้ใดมีอุปการะแก่พระบรมกษัตริย์ ก็ปล่อยให้เข้าไปสู่พระราชฐาน
ย่อมกำจัดเสียซึ่งคนอันมิใช่ข้าเฝ้า ถือเอาแต่คนที่เป็นข้าเฝ้าให้เข้าสู่พระราชฐานนั้นได้

อุปคัณหณลักขณาสติ จึงเป็นสติที่อุปการะแก่ปัญญาโดยตรง ได้แก่ สติ สัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะ
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่า เจริญ "สติปัฏฐาน ๔" อันเป็นปุพพภาคมรรค ซึ่งเป็นเบื้องต้น
แห่งมรรคพรหมจรรย์ ที่จะอุปการะให้แจ้งพระนิพพาน

ฉะนั้น สติจึงมี ๒ อย่าง คือ
๑. สติ ที่ประกอบกับโสภณจิตโดยทั่วไป ในขณะระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บจำไว้ตามนัยปฏิบัติ
ด้วยอปิลาปนลักขณาสติ กับ
๒. สติ ที่ทำความรู้สึกตัวขณะกำหนดรูปนามตามความจริงในการเจริญสติปัฏฐาน ตามนัยปฏิบัติด้วย
อุปคัณหณลักขณาสติ (สติที่ประกอบด้วยปัญญา)


จากเอกสารประกอบการเรียน อชว.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

:b50: สติ เป็นอย่างไร?
จาก หนังสือ คำบรรยาย ปฏิบัติธรรมะตามพระไตรปิฎกฯ อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ


สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก ...สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อยลอย ความไม่ลืม
สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้ชื่อว่า สติ

เราแยกออกไหม ใครมีสติ ใครไม่มีสติ?
เรามองตัวเราออกไหม ว่าเรามีสติ หรือไม่มีสติ สติมีขั้นบัญญัติ กับ ขั้นปรมัตถ์

-สติขั้นบัญญัติ เช่น วางของไว้แล้วลืม ผู้สูงวัยส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้ได้ เป็นความเสื่อมทางกาย การฝึกความจำโดยการฝึกคิดนั้น ช่วยได้ระดับหนึ่ง คือให้คุ้นกับเรื่องนั้นๆ ไม่ได้ช่วยได้ทั้งหมด

-ส่วนสติขั้นปรมัตถ์ คือ ความไม่เผลอเรอ ซึ่งต้องฝึกการเจริญสติ ต้องฝึกสติ ถ้าไม่ฝึกสติแล้วทำไม่ได้
(สติขั้นปรมัตถ์ ต้องฝึกการเจริญสติ จึงจะทำได้ค่ะ)

แต่สติที่บุคคลพอจะรู้จักคือ พอโกรธแล้วหยุด นั่นคือมีสติ ส่วนเมื่อหยุดแล้ว ถ้าหยุดต่อได้อีก คือสามารถรักษาสติด้วยสติ นั่นแหละสติอย่างแท้จริง นั่นแหละสติปัฏฐาน นั่นแหละเส้นทางที่จะเห็นธัมม์ในธัมม์ แต่ถ้าโกรธแล้วหยุด หยุดแล้วหมดงาน ฟุ้งไป เดี๋ยวก็โกรธใหม่ หยุดใหม่ อย่างนี้เป็นขั้นเหตุการณ์ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีสติ ไม่หยุด และจะเป็นเหตุให้ฝึกได้ แต่ถ้าหยุดไม่เป็นเลย ยังไม่รู้จักสติเลย แบบนี้ฝึกยากมาก การจะฝึกให้เข้าถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ไม่ใช่โอกาส เพราะจะไม่เข้าถึง

ดังนั้น ผู้ที่จะฝึกธัมมานุปัสสนาได้ ต้องเห็นความต่างของธัมม์เหล่านี้ ต้องพอจะวินิิจฉัยได้ในธัมม์เหล่านี้ว่าใช่หรือไม่ใช่ ว่ามีหรือไม่มี แล้วมาเจริญให้เพิ่มพูลขึ้นได้ เพราะรู้จักมาระดับหนึ่งแล้ว แต่ถ้าไม่รู้จักเลยในธัมม์เหล่านี้ อาจไม่เหมาะที่จะเจริญธัมมานุปัสสนา เช่น ถ้าไม่รู้จักสติ เมื่อไปเดินก็จะพยายามหาสติ จะไม่เจอสติ เพราะไม่รู้ว่าตนจะหาอะไร แต่ถ้ารู้มาก่อนว่า สติเป็นอย่างไร แล้วเจริญในสิ่งที่ตนรู้จัก ก็จะพอเข้าถึงได้

:b50: สมาธิ เป็นอย่างไร?

เอกัคคตา ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ

พอจะรู้สึก พอจะสังเกตได้้ไหม ว่าเรามีความนิ่ง ความนิ่งที่ไม่ฟุ้งถึงเรื่องต่างๆ ได้ ความนิ่งที่ยังไม่คิถึงเรื่องอื่น ในความรู้สึก ความรู้จักจิตของบุคคลทั่วไป คือ คิดทั้งวัน หรือฟุ้งทั้งวัน คนทั่วไปจะรู้จัก ๒ อย่างนี้เป็นส่วนมาก คือ ฟุ้งอยู่เรื่อย หรือ คิดอยู่เรื่อย

แต่ในคราวที่นิ่งอยู่นั้น มีอยู่ คือ ถ้ารู้จักความนิ่ง คือการหยุด การระงับความคิดระดับหนึ่ง การหยุดระงับความฟุ้งระดับหนึ่ง การหยุดนี่ไม่ใช่การต่อสู้ การต่อสู้คือจะหยุดคิดจะหยุดฟุ้ง คือไปต่อสู้กับความคิดความฟุ้ง แต่สมาธิไม่ได้ต่อสู้ แต่สร้างสิ่งหนึ่งที่มี ไม่เกี่ยวกับสิ่งอื่น อย่างคล้ายๆ กับความรู้สึกของคนที่ว่า ถ้าเราเจริญสติ เราต้องหยุดฟุ้งก่อนไหม เราถึงจะเจริญสติ? ไม่ใช่ ไม่เกี่ยวกัน...การเจริญสติคือการเจริญสติ ไม่เกี่ยวกับอย่างอื่น

เมื่อเจริญสติ ความฟุ้งต่างๆ จะลดไปเองจากการเจริญสติ... แต่ถ้าจะเจริญสติด้วย จะลดความฟุ้งด้วย สติเราไม่รู้จัก แต่ความฟุ้งเรารู้จักก็จะไปย้ำความฟุ้ง แล้วพยายามไล่ความฟุ้งด้วยความฟุ้ง ทำนองเดียวกับที่ ถ้าเราอยากจะลืมใครสักคน ก็นึกถึงคนๆ นั้นขึ้นมา แล้วบอกตัวเองว่าให้ลืม อย่าไปนึกถึง เป็นการไปต่อสู้ พยายามไปไล่ ก็จะยิ่งนึกถึงคนๆ นั้นบ่อยขึ้นอีก สติก็คือสติ ไม่เกี่ยวกับความฟุ้ง ถ้าพยายามไปไล่ความฟุ้ง ก็จะยิ่งเจอแต่ความฟุ้ง เพราะความฟุ้งเป็นสิ่งที่เรารู้จัก จึงหวนคิดถึงบ่อยๆ ได้ ส่วนสติ เราไม่รู้จัก ดังนั้น สร้างสติไม่ได้

(ในหมวดธัมมานุปัสสนานี้ ท่านกล่าวว่า ผู้ที่จะเข้าถึง ต้องเป็นผู้มีปัญญา จึงจะเป็นธัมม์ได้ไม่ยาก รวมถึงเห็็นธัมม์ก่อนที่จะเห็นสภาวะของกาย ของเวทนา ของจิต บุคคลพอจะตรวจสอบได้ว่า ตนมีปัญญาหรือไม่ ก็ด้วยความเข้าใจในอรรถ ในเนื้อความของธรรมะต่างๆ)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2014, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

:b50: ปัญญา เป็นอย่างไร?
จาก หนังสือ คำบรรยาย ปฏิบัติธรรมะตามพระไตรปิฎกฯ อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ


ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจััย ความเลือกสรร ความวิจัยธัมม์ ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฎัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง สัมมาทิฏฐิ

ความรู้ชัด จะต่างจาก เดิมไม่รู้ชัด
แล้วรู้ชัด นั่นคือปัญญา

แต่ถ้ายังไม่รู้ชัด แล้วคิดให้รู้ชัด เช่น คิดว่าสติเป็นอย่างไร ปัญญาเป็นอย่างไร อย่างนั้นจะไม่รู้
เพราะไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นความคิด เอาจิตที่ไม่รู้ไปคิดถึงสิ่งที่อยากรู้

ธรรมะ จะมีสภาวะเหล่านี้ ถ้าบุคคลเข้าใจความต่างของธรรมะเหล่านี้ว่า ธรรมะแท้ๆ อย่างนี้ เป็นอย่างไร
ที่ไม่ใช่อย่างนี้เป็นอย่างไร คือต้องเห็นความต่าง การที่บุคคลสามารถเห็นความต่างเหล่านี้ เรียกว่า คนมีปัญญาแยกแยะออก เมื่อแยกแยะออก ก็จะรู้จักคน ว่าคนไหนศรัทธา คนไหนไม่ศรัทธา คนไหนขยัน คนไหนไม่ขยัน รวมถึงแยกจริตของคนออกว่า คนไหนราคะจริต(มักได้ ละโมบ มีแต่จะเอา) คนไหนโทสะจริต(มากด้วยความขุ่นเคือง) คนไหนโมหะจริต(มากด้วยความหลง) คนไหนศรัทธาจริต(อ่อนน้อม เคารพ) คนไหนพุทธิจริต(ฉลาดมีปัญญา)

ในสมัยก่อน ภิกษุที่สอนธรรมะ ถ้าเป็นผู้รู้จริตเหล่านี้ ท่านก็จะสอนให้เหมาะสมกับจริตของผู้ฟัง เช่น ราคะจริตต้องสอนกรรมฐานที่ทำให้ละราคะ หยุดระงับความโลภ ให้เป็นคนดีมีศรัทธาก่อน แล้วจึงจะสอนธรรมะที่ยิ่งขึ้นไปให้ แต่ถ้าสอนธรรมะของสูงให้ ทั้งๆ ที่ผู้นั้นยังเป็นคนไม่ดีอยู่ เขาจะไม่ละความไม่ดี จะแปลงธรรมะไปเพื่อตนเท่านั้้น

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2014, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:
ความต่างกันระหว่าง
ผู้ไม่มีสติ กับ ผู้มีสติ

(จากปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๒)


ทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นทุกข์ก็มี ๓ อย่าง คือ
๑. ทุกขทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นทุกขทุกข์ คือ ทุกข์จริงๆ ได้แก่อาการที่ทนได้ยาก มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๒. วิปริฌามทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นวิปริฌามทุกข์ คือ ไม่ใช่ทุกข์จริง ไม่มีใครคำนึงถึงทุกข์ชนิดนี้ ได้แก่อาการไม่คงที่ของความสุขสบายที่มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๓. สังขารทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นสังขารทุกข์ คือ ทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก ได้แก่อาการที่เกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันไม่ขาดสาย

:b51: ผู้ไม่มีสติกำหนด
ผู้ที่มิได้มีการกำหนดรู้รูปนามนั้นมิอาจที่จะรู้การเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนามโดยไม่ขาดสายในทวาร ๖

ฉะนั้นเมื่อมีอาการปวด เมื่อย เจ็บ ขัด ร้อน เป็นต้นที่เป็นทุกข์กายเกิดขึ้นเนื่องมาจากการยืน เดิน นั่ง นอน อย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปในเวลานั้นหาได้รู้เห็นความทุกข์ที่มีอยู่ในกายโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามแต่อย่างใดไม่ แต่คงเห็นเป็นบัญญัติที่เนื่องมาจากสักกายทิฏฐิว่า เราปวด เราเมื่อย เราเจ็บ เราขัด เราร้อน เพราะนั่งหรือนอนเป็นต้นมากไปแล้ว

ก็ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเสียใหม่ ดุจดังเด็กที่เห็นรูปเสือกะพริบตาอ้าปากเคลื่อนไหวไปมาด้วยเครื่องกลไกที่เขาประดิษฐ์ขึ้น(เสือปลอม) เข้าใจว่าเป็นเสือจริง มีความกลัวไม่กล้าเข้าใกล้หนีไปเสีย

ดังนั้นทุกข์กายที่เป็นทุกขทุกข์ และสภาพทนได้ยากที่เป็นทุกขลักขณะจึงมิอาจจะปรากฏแก่ผู้นั้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ได้ เนื่องมาจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ปกปิดความทุกข์กายและสภาพทนได้ยากไว้โดยที่ไม่มีการรู้ตัวเมื่อทุกขทุกข์ และทุกขทุกลักขณะมิอาจจะปรากฏโดยความเป็นสภาวะปรมัตถ์แก่ใจได้แล้ว การปรากฏแห่งวิปริณามทุกข์และวิปริฌามทุกขลักขณะ สังขารทุกข์และสังขารทุกขลักขณะเหล่านั้นก็ไม่มีข้อที่จะต้องสงสัย เพราะจักปรากฏแก่ใจไม่ได้อย่างแน่นอน

:b47: ฉะนั้นผู้ที่ไม่มีสติคอยกำหนดรูปนามที่เกิดอยู่ในตัวทุกข์และทุกขลักขณะที่มีสภาพหยาบจึงไม่อาจปรากฏโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ได้ ทุกขานุปัสสนาที่แท้จริงซึ่งเป็นผู้นำเข้าสู่มรรควิถีนั้นจึงเกิดขึ้นไม่ได้

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

:b51: ผู้มีสติกำหนด

ส่วนผู้ที่มีการกำหนดรู้อยู่ในรูปนามนั้น ย่อมรู้เห็นการเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนามโดยไม่ขาดในทวารทั้ง ๖ ดังนั้นวิปริณามทุกขลักขณะปรากฏคือความสุขกายที่เกิดขึ้น ในขณะแรกแห่งอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแต่มาภายหลังได้หายไป ผู้นั้นก็สามารถรู้เห็นวิปริณามทุกขลักขณะนี้ได้ทั้งสามารถรู้เห็นในการปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด, ร้อน เป็นต้นที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามล้วนๆ มิได้เกี่ยวด้วยความรู้สึกว่าเป็นเราปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด, ร้อน ซึ่งเป็นบัญญัติแม้แต่ประการใดๆ เมื่อกำหนดการปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด, ร้อนนั้นอยู่เป็นเวลานานจนกระทั่งทนไม่ไหว มีจิตคิดจะเปลี่ยนก็รู้ถึงวาระจิตที่ต้องการจะเปลี่ยนนั้นด้วยตลอดจนถึงกำลังทำการเปลี่ยนอิริยาบถโดยลำดับ ครั้นเปลี่ยนเสร็จแล้วความสุขกายเกิดขึ้น ก็สามารถรู้ในความสุขกายนี้ได้อีก ต่อมาภายหลังความสุขกายได้หายไป ผู้นั้นก็รู้เห็นได้อีกเป็นอันว่ามีสติกำหนดรู้อยู่ในสังขารทุกข์และสังขารทุกขลักขณะ, วิปริณามทุกข์และวิปริณามทุกขลักขณะ, ทุกขทุกข์ และทุกขทุกขลักขณะ, ที่เกิดขึ้นในอิริยาบถต่างๆ ได้โดยลำดับต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ ฉะนั้นผู้ที่ทำการปฏิบัติรู้อยู่ในอิริยาบถ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กล่าวนี้ การปฏิบัติได้เช่นนี้ชื่อว่าเพิกอิริยาบถเป็นอันว่าทุกขานุปัสสนาที่แท้จริง ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสู่มรรควิถีได้เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น

:b47: ดังที่พระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า
ทุกฺขลกฺขณํ อภิณฺหสมฺปฏิปีฬนสฺส อมนสิการา อิริยาปเถหิ ปฏิจฺฉนฺนตฺิตา น อุปฏฺฐาติฐ อภิณฺห สมฺปฏิปีฬนํ มนสิกตฺวา อิริยาปเถ อุคฺฆาฏิเต ทุกฺขลกฺขณํ ยาถาวสรสโต อุปฏฺฐาติฯ

แปลความว่า ทุกขลักขณะไม่ปรากฏก็เพราะไม่มีการกำหนดพิจารณาความเบียดเบียนโดยอาการเกิดดับอยู่เสมอ และการเปลี่ยนอิริยาบถใหม่คือ การยืน เดิน นั่ง นอน มาปกปิด, แต่เมื่อได้กำหนดพิจารณาความเบียดเบียนโดยอาการเกิดดับอยู่เสมอและเพิกอิริยาบถที่ปกปิดไว้ กล่าวคือมีการกำหนดการปวดเมื่อยก่อนที่จะทำการเปลี่ยนอิริยาบถ ตลอดจนจิตคิดจะเปลี่ยน การเปลี่ยนอิริยาบถ ความสุขที่เกิดขึ้นใหม่, เช่นนี้แล้วทุกขลักขณะย่อมปรากฏโดยสภาพของตนอย่างแท้จริง

:b47: อนึ่ง ในคำกล่าวของพระอรรถกถาจารย์นี้ได้แสดงการปรากฏแห่งทุกขลักขณะทั้ง ๓ พร้อมกัน คือแสดงการปรากฏแห่งทุกขลักขณะด้วยคำว่า อิริยาปเถ อุคฆาฏิเต แสดงการปรากฏแห่งวิปริณามทุกขลักขณะและสังขารทุกขลักขณะทั้ง ๒ นี้ ด้วยคำว่า อภิณฺหสมฺปฏิปีฬนํ มนสิกตฺวา ฯ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 16:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ...สาธุ..สาธุ...อนุโมทามิ.... :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2014, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

:b42: http://www.youtube.com/playlist?list=PL ... UQ-rXn9QvV

:b51: ขอเชิญฟังหัวข้อดังต่อไปนี้

การกำหนดกาย ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

ดูกายในกาย ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

มีสติอยู่ในกาย ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

มีสติรู้กาย ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

มีสติรู้กาย ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

การเจริญสติ ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

อิริยาบทย่อย ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

ดูอิริยาบท ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

ทำความรู้สึกตัว; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

สังขารปรุงแต่ง ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

ไม่ประมาท ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

ไม่ยึดติด ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

รู้ปัจจุบัน;พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

ปัญญาเกิด ; พระอาจารย์ มานพ อุปสโม

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2014, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


อาตาปี สติมา สัมปชาโน มีวิริยะเพียรให้สติเกิด สมาธิก็เกิดขึ้นจากความเพียรให้สติเกิด
และสมาธิก็เป็นเหตุใกล้ให้ปัญญาเกิด ปัญญาจะเกิดขึ้นเป็นอันดับสุดท้าย และจะเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้แล้วแต่เหตุปัจจัยในการกระทำนั้นๆ

เชิญอ่่านอีกหนึ่งเหตุผล จากกัลยาณมิตรท่านหนึ่งค่ะ

เรื่องสติฝึกไม่ได้นั้น
อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ การไปฝึกเป็นการบังคับนั้น
จะบังคับสติให้เกิด หรือ ไม่บังคับให้เกิด อัตตาที่บังคับ หรือ ถูกบังคับก็ไม่มีอยู่แล้ว
เมื่อเข้าใจเช่นนี้ จะเรียกว่าเพียร เรียกว่าฝึก หรือ เรียกว่าบังคับก็ตาม ก็ล้วนไม่เข้าใจผิดว่ามีอัตตาบังคับ หรือ ถูกบังคับทั้งนั้น เพราะทราบว่า เป็นเพียงปัจจัย ยังปัจจยุปบันให้เกิดอยู่แล้ว

ไม่บังคับ ไม่ฝึก ไม่ปฏิบัติ แล้วจะเข้าใจถูก
ทั้งที่ความจริงแล้ว จะบังคับ หรือ ไม่บังคับ อัตตาก็ไม่มี จะกลัวอะไร?

"ค่อยๆ ฟังไป จนกว่าจะเข้าใจ" นั้น มันก็คือ การปฏิบัติ การบังคับ การฝึก ดีๆ นี่เอง
แถมเป็นวิธีที่ช้าที่สุด (ในคนที่อินทรีย์ยังไม่เต็ม) เสียด้วย
ผู้พูดและผู้ฟังต้องบารมีสูงจริงๆ คนที่พูดก็ต้องเก่งมาก คนที่ฟังก็ต้องมีจุดเด่นที่คนพูดจะเอามาเน้นให้เห็นสัจจะได้ ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนเราๆ ท่านๆ อ่านมากี่พันสูตร ก็ยังไม่บรรลุ

จะบังคับ หรือ ไม่บังคับ ความเข้าใจผิดว่ามีอัตตา ก็เกิดอยู่แล้ว.
การห้ามไม่ให้บังคับให้เข้าใจถูก จึงเท่ากับ รักษาความเข้าใจผิด.
ไปคิดว่าการไปฝึกนั้น เพราะความอยากให้มีนั้น มีโลภะเกิด
พระพุทธเจ้าไม่สอนเช่นนั้น แต่ทรงสอนว่า ใช้รูปตัณหา ละกามตัณหา ใช้อรูปตัณหา ละรูปตัณหา
ใช้โลกุตรมรรค ละตัณหาทั้งปวง
คือ ใช้ตัณหา ใช้ความเข้าใจผิดที่ละเอียดๆ ละอันที่หยาบๆ ไปก่อน
เมื่อพร้อม ก็ละทั้งปวงด้วยอริยมรรค

ทั้งที่ความจริง คือ ฟังไปเรื่อยๆ แล้ว สติปัฏฐานเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
สติปัฏฐานจะพัฒนาขึ้นก็มี จะตั้งอยู่ก็มี จะเสื่อม เพราะฟังก็มี
บางทีตอนแรกพัฒนา ตอนกลางตั้งอยู่ สุดท้ายเสื่อมก็มี

จะเห็นว่า ถ้ารวบถือเอาว่า ฟังไปเรื่อยๆ สติปัฏฐานจะเกิด จะพัฒนาไปเอง อันนี้ เป็นความจริงก็มี
ไม่เป็นความจริงก็มี ถ้าในผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า ก็เป็นจริง

แต่ในคนทั่วไป ไม่ว่าจะพัฒนาขึ้น หรือตั้งอยู่ สุดท้ายก็จบลงที่เสื่อมแน่ๆ
เพราะตายก่อนจะบรรลุ ฟังจนตายก็ไม่บรรลุ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2014, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

(๓) อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป — earnestness; diligence; heedfulness) ข้อนี้เป็น องค์ประกอบภายใน (internal factor; personal factor) และเป็น ฝ่ายสมาธิ (a factor belonging to the category of concentration)

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

“ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”

“รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้นฉันนั้น”

“ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”

“ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”

“สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

“ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม เอกกะ - หมวดที่ ๑

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร