วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2013, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dhrama_p4_U2-24.png
dhrama_p4_U2-24.png [ 185.87 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่องกรรม

กรรม แปลว่า การกระทำ ซึ่งเป็นคำกลางๆ ยังไม่บ่งชี้ว่าการกระทำที่ดีหรือชั่ว
ถ้าเป็นกระทำดีก็ เรียกว่า กุศลกรรม ถ้าการกระทำที่ชั่วก็ เรียกว่า อกุศลกรรม แต่ความรู้สึก
ทั่วๆไปมักจะมุ่งว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่นว่า

นาย ก. บ่นว่าเป็นกรรมของผมแท้ๆที่ต้องมาติดคุกอย่างนี้ นาง ข.เปรยๆขึ้นว่า
ทำไม่ดีไว้เองก็ต้องใช้กรรมไปก็แล้วกัน

กรรมนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา ดังคำที่พระพุทธองค์ไว้ว่า "เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม"
ก็หมายความว่าถ้าทำด้วยเจตนาก็เป็นกรรม ถ้าทำด้วยไม่มีเจตนา ก็ไม่เป็นกรรม
ถ้ามีเจตนาชั่วก็จะได้รับผลชั่ว ถ้าทำด้วยเจตนาดีก็จะได้รับผลดี

กรรมแบ่งออกได้เป็น ๑๒ ลักษณะ คือ
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
๓. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลตั้งแต่ในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป
๔. อโหสิกรรม กรรมที่ให้ผลแล้ว และไม่มีโอกาสที่จะให้ผล
๕. ชนกกรรม กรรมที่นำเกิด
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่คอยสนับสนุน
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมที่คอยบีบคั้น
๘. อุปฆาตกรรม กรรมที่ตัดรอน
๙. ครุกรรม กรรมหนัก
๑๐. อาจิณณกรรม กรรมที่เคยชิน
๑๑. อาสันนกรรม กรรมที่ให้ผลเมื่อใกล้ตาย
๑๒. กตัตตากรรม กรรมที่สักแต่ว่าทำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2013, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




9adc4af088f32a9004e23eb3a56aacd6.png
9adc4af088f32a9004e23eb3a56aacd6.png [ 181.17 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่องกัมมสัทธา

สัทธา หรือ ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายถึงเชื่อด้วยปัญญา เชื่อด้วยเหตุผล

กัมมสัทธา แปลว่า ศรัทธาในกรรม ความเชื่อกรรม
คือเชื่อในกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีจริง
เชื่อว่าการกระทำทุกอย่างไม่ว่าดีหรือชั่วล้วนแล้วเป็นกรรมทั้งสิ้น
ทั้งกรรมดีกรรมชั่วจะมีผลสนองทั้งหมด

กัมมสัทธา เป็นเหตุให้คนเรายอมรับความจริงในการกระทำว่าเป็นกรรม ซึ่งมีทั้งกรรมดีและไม่ดี
จึงทำให้คิดแต่กระทำกรรมดี และละเว้นกรรมชั่ว ทำให้เกิดความละอายต่อบาปได้ด้วยตนเอง
แต่ตรงกันข้ามคนที่ไม่มีกัมมสัทธาย่อมไม่เชื่อกรรมและปฏิเสธกรรม ว่ากรรมดีกรรมชั่วไม่มีผล
จึงกระทำกรรมต่างๆ ได้โดยไม่ละอายความชั่วกลัวต่อบาปต่างๆ แต่ประการใดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2013, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Free-PNG-HQ-Image.png
Gautama-Buddha-Free-PNG-HQ-Image.png [ 223.54 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กัมมัสสกตาสัทธา

กัมมัสสกตาสัทธา แปลว่า ความเชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆตน
คือเชื่อว่าเมื่อบุคคลใดทำกรรมอันใดไว้แล้ว ผู้นั้นจะต้องรับผลของกรรมอันนั้น
จะต้องเสวยวิบากคือรับผลของกรรมที่ทำไว้ ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ หรือจะหลีกหนีไปด้วยพาหนะใดๆ
ไม่ว่าจะดำดิน ไปอยู่ในซอกหุบเขา แม้จะไปอยู่ในสะดือทะเล คือจะไม่มีที่จะยืนเลยสักแห่งหนึ่ง
ที่กรรมตามไปไม่ถึง กรรมจะเป็นผู้ติดตามไปทุกหนแห่ง เหมือนเงาติดตามตัว

กัมมัสกตาสัทธา เป็นเหตุให้คนเรากลัวบาปกรรม ไม่กล้าทำบาปกรรม
และเป็นเหตุให้คนเรายินดีในการกระทำความดี เพราะเชื่อว่าเมื่อทำแล้วกรรมนั้นก็ต้องตกเป็นของตน
ตนเป็นเจ้าของกรรมที่จะติดตามไปทุกหนแห่ง

คนที่ไม่มีกัมมัสสกตาสัทธา ย่อมไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อว่าสิ่งที่ตนทำเป็นกรรมของตนเอง
มักโยนความผิดไปให้ผู้อื่นจะไม่ยอมรับความจริงใดๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2013, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




WaterBoyD1.png
WaterBoyD1.png [ 528.47 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กตัญญู กตเวที

กตัญญู แปลว่า ผู้รู้สึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตน
คือ ผู้ระลึกรู้ว่าใครเคยทำดีเคยช่วยเหลือ
เกิ้อกูลตนมา ก็ยอมรับและไม่ลืมบุญคุณผู้นั้น รวมถึงบุญคุณของสัตว์
บุญคุณของที่อยู่อาศัยบุญคุณของธรรมชาติแวดล้อม บุญคุณของแผ่นดิน
ที่ช่วยให้ตนได้รับความสะดวกสบาย อยู่เป็นสุขความรู้สึกของคนกตัญญู
เช่นนี้เรียกว่า กตัญญุตา

กตเวที แปลว่า ผู้ประกาศบุญคุณของผู้มีอุปการะแก่ตนมาด้วยการทำอุปการะตอบแทน
คือผู้ที่สนองคุณของผู้มีบุญคุณแก่ตนด้วยความสำนึกในบุญคุณ เช่น เลี้ยงดูตอบแทน
ตอบแทนในเมื่อมีโอกาส หรือเขื่อฟังคำสั่งสอน เป็นต้น การสนองคุณนี้เรียกว่า กตเวที

กตัญญู กตเวที จัดเป็น ทุลลภบุคคล คือบุคคลที่หาได้อยาก เช่นเดียวกับบุพการี
เพราะคนเรามักลืมบุญคุณคนง่าย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2013, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1659663716012.jpg
FB_IMG_1659663716012.jpg [ 99.52 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กามาวจร - กามาพจร

กามาวจร หรือ กามาพจร แปลว่า ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม
คือยังเกี่ยวข้องติดเนื่องอยู่กับกาม เป็นคำที่ใช้คู่กับคำอื่นๆ คือ จิต ภูมิ ภพ เป็นต้น

ที่ใช้คู่กับจิต เรียกว่า กามาวจรจิต
หมายถึงจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔

ที่ใช้คู่กับภูมิ เรียก กามาวจรภูมิ หมายถึงชั้นแห่งจิตและเจตสิกที่ยังเกาะเกี่ยวอยู่ในกามคุณ

ที่ใช้คู่กับภพ เรียก กามาพจร หมายถึงภพที่ยังเสวยกามคุณอยู่
ได้แก่ กามภูมิ ๑๑ มี มี สวรรค์ ๖ มนุษย์ ๑ อบายภูมิ ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2013, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6511183_thumb.png
6511183_thumb.png [ 85.98 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กาลามสูตร

กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ
หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศลเรียกว่า เกสปุตตสูตร ก็มี

กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยที่ไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณา
ให้เห็นจริงถึงคุณและโทษหรือดีไม่ดีเสียก่อน มี ๑๐ ประการ คือ
๑. อย่าเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
๒. อย่าเชื่อตามที่ทำต่อๆกันมา
๓. อย่าเชื่อคำล่ำลือ
๔. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
๕. อย่าเช่อโดยนึกเดาเอา
๖. อย่าเชื่อโดยคาดคะเนเอา
๗. อย่าเชื่อโดยนึกคิดตามแนวทางเหตุผล
๘. อย่าเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
๙. อย่าเชื่อเพราะรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
๑๐. อย่าเชื่เพราะผู้พูดเป็นอาจารย์ของตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




flat-style-subway-train-city-260nw-1609610056.jpg
flat-style-subway-train-city-260nw-1609610056.jpg [ 66.54 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กัลยาณมิตร

กัลยาณมิตร แปลว่า มิตรดี คือมิตรแท้ปรารถนาดีต่อเพื่อนกันด้วยความไมตรีจิต
กัลยาณมิตร มีลักษณะ ๗ ประการ

๑. ปิโย ทำตัวน่ารัก น่าคบสมาคม
๒. ครุ ทำตัวน่าเคารพ หนักแน่น เป็นที่พึ่งได้ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเมื่อใกล้ชิด
๓. ภาวนีโย ทำตัวน่ายกย่อง ให้เกิดความภูมิใจเมื่อกล่าวถึง น่านับถือเอาแบบอย่าง
๔. วัตตา คอยแนะนำในทางที่ถูก ให้สติเมื่อหลงผิด เป็นคู่คิดที่ปรึกษาในกิจต่างๆ
๕. วจนักขโม อดทนคำพูดและการกระทำของเพื่อนได้ มีเหตุผล พร้อมที่จะรับฟังเพื่อน
๖. คัมภีรัง กะถัง กัตตา ฉลาดชี้แจง อธิบายเรื่องที่ลึกซึ้ง ซับซ้อนให้กระจ่างได้
๗. โนจัฏฐาเน นิโยชะเย ไม่ชักชวนนำพาไปในทางเสียหาย แนะนำแต่เรื่องเหมาะสมดีงาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2013, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




miranda_cosgrove_png_by_dianaalvarez06_d6azu81-fullview.png
miranda_cosgrove_png_by_dianaalvarez06_d6azu81-fullview.png [ 95.12 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กาลัญญุตา

กาลัญญุตา แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักกาล หมายถึง ความเป็นผู้รู้คุณค่าของกาลเวลา
รู้ว่าเวลาใดควรทำงาน เวลาใดควรหยุด รู้ว่าสิ่งนี้ควรทำในเวลาใด รู้จักเร่งในเวลาที่ควรเร่ง
รู้จักช้าในเวลาที่ควรช้า รู้จักประมาณเวลาในการทำงาน ว่าควรใช้เวลาเท่าไหร่
รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยเวลาไปให้เสียไปเปล่าๆ เป็นต้น

กาลัญญุตา เป็นเหตุให้คนตรงต่อเวลา รู้คุณค่าของเวลา
ไม่อึดอาดยืดยาดในเวลาทำงาน ทำเสร็จตรงต่อเวลา ทำให้ได้รับความนิยมยกย่อง
และเป็นเหตุให้การงานไม่อากูลคั่งค้าง อันส่งผลให้เจริญรุ่งเรืองในที่สุด

ผู้ที่ประกอบด้วยกาลุญญุตา จัดได้ว่าเป็นสัตบุรุษ คือเป็นคนดี คนฉลาด
น่ายกย่องน่านับถือ เหมาะที่จะคบหาสมาคมด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2013, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d78e6x4-58dd7ae3-20ea-450d-85b2-3ebfb83563c4.png
d78e6x4-58dd7ae3-20ea-450d-85b2-3ebfb83563c4.png [ 123.1 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กิเลส

กิเลส หมายถึงธรรมชาติที่เป็นเครื่องให้เศร้าหมองหรือเร่าร้อน
อุปมาเหมือนกับสีที่ใส่ลงไปในน้ำ
องค์ธรรมของกิเลสมี ๑๐ อย่าง คือ
(๑) โลภะ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ
(๒) โทสะ ความโกรธ ความไม่พอใจ
(๓) โมหะ ความหลง ความโง่
(๔) มานะ ความเย่อหยิ่ง ถือตัว
(๕) ทิฏฐิ ความเห็นผิด
(๖) วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ
(๗) ถีนะ ความหดหู่
(๘) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
(๙) อหิริกะ ความไม่ละอายต่อทุจริต
(๑๐) อโนตตัปปะ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อทุจริต

กิเลสยังแบ่งได้เป็น ๓ ระดับคือ

๑. ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสอย่างหยาบ
๒. วีติกมกิเลส เป็นกิเลสอย่างกลาง
๓. อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสอย่างละเอียด

(โปรดดูเรื่องกิเลส)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2013, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




miley_cyrus_png_by_camii_camiilaa_d52wzcs-fullview.png
miley_cyrus_png_by_camii_camiilaa_d52wzcs-fullview.png [ 61.64 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กุศลกรรมบถ

กรรมบถ แปลว่า ทางแห่งกรรม คือการกระทำที่เข้าทางเป็นกรรม หรือนับว่าเป็นกรรม

กุศลกรรมบถ แปลว่าทางแห่งกุศล คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดี มี ๑๐ คือ

ที่เป็นไปทางกายมี ๓
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติในกาม

ที่เป็นไปทางวาจามี ๔
ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

ที่เป็นไปทางใจมี ๓
ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายผู้อื่น เห็นชอบตามคลองธรรม(สัมมาทิฏฐิ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2013, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




SANITATION_HYGIENE_img.png
SANITATION_HYGIENE_img.png [ 56.35 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กาเมสุมิจฉาจาร

กาเมสุมิจฉาจาร แปลว่า การประพฤติผิดในกาม หมายถึง การล่วงละเมิดคู่ครองของคนอื่น
การมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ต้องห้าม ที่ไม่ควรละเมิด ที่เป็นการกระทำกาเมสุมิจฉาจาร
จะต้องมีองค์ ๔ คือ
๑. เป็นบุคคลที่ต้องห้าม ไม่ควรละเมิด
๒. มีจิตที่คิดจะมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
๓. มีความพยายามที่จะมีเพศสัมพันธ์
๔. อวัยวะเพศเข้าถึงกัน
การกระทำกาเมสุมิจฉาจารถือเป็นการละเมิดศีล ๕ แสดงถึงความมักมากในกาม
เป็นเหตุให้ผู้กระทำมัวหมอง เป็นเหตุก่อเวรภัย มีโทษถึงตกนรก และส่งผลให้เกิดเป็นคน
มีจิตวิปริตทางทางเพศ มีความล้มเหลวในช๊วิตคู่ มีคู่ครองนอกใจทุกภพทุกชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




begger-png-4-300x200.png
begger-png-4-300x200.png [ 59.07 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กายกรรม

กายกรรม ถ้าเป็นไปในทางโลกก็ หมายถึง การแสดง การเล่นที่ห้อยโหนโยนตัว
เป็นการแสดงในสิ่งที่ยาก ที่เรียกว่ากายกรรม เป็นต้น
กายกรรม ถ้าเป็นไปในทางธรรม หมายถึงการกระทำทางกาย ไม่ว่าจะเป็นไปในทางที่ชั่ว
หรือในทางดี จัดเป็นกายกรรมทั้งหมด

กายกรรมทางที่ดี มี ๓ อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
เรียกอีกอย่างว่า กายสุจริต
กายกรรมทางที่ชั่ว มี ๓ อย่าง คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายทุจริต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfklkhefOV1wtg8hyo1_500.png
tumblr_pfklkhefOV1wtg8hyo1_500.png [ 293.78 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กายคตาสติ

กายคตาสติ แปลว่าสติที่เป็นไปในกาย ซึ่งเป็นวิธีที่บำเพ็ญกรรมฐานอย่างหนึ่ง
ในอนุสสติ ๑๐
กายคตาสติ คือ การใช้สติพิจารณาถึงอวัยวะในร่างกายของตน
หรือผู้อื่น มี ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นของไม่งาม เป็นปฏิกูล น่าเกลียด เป็นของโสโครก
ไม่ยึดมั่นถือมั่นพิจารณาจนเห็นความจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในกาย
ไม่ถือมั่นในกาย ว่ากายนี้คือกายของเราอีกต่อไป

กายคตาสติ เมื่อระลึกอยู่เนืองๆ ย่อมส่งผลให้ข่มความยินดียินร้าย
อดทนต่อทุกขเวทนา ส่งผลให้จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน บรรเทาราคะ และความยึดมั่นถือมั่นในกาย
ถอนความคิดว่าสวยว่างามลงได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




13736bb9db374a34e8799d6f7cf91217.png
13736bb9db374a34e8799d6f7cf91217.png [ 184.95 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่องกตัตตากรรม

กตัตตากรรม แปลว่า กรรมที่เคยทำไว้แล้ว หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว
นอกจากกรรม 3 อย่าง
ข้างต้น คือ นอกจากครุกรรม อาจิณณกรรม และอาสันนกรรม, ฎีกากล่าวว่า
กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป.

ใน คำวัด บรรยายกตัตตากรรม ไว้ว่าเป็น กรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ
แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย
ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุลกรรม กรรมนี้จึงจะให้ผล

กตัตตากรรม ได้แก่ กรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีในชวนะดวงที่ 2-6 ซึ่งจะให้ผลได้ในภพที่ 3 เป็นต้นไป
โดยจะรอให้ผลจนกว่าคนๆนั้นจะดับขันธปรินิพพาน.

กรรมข้อนี้ ท่านเปรียบเหมือนคนบ้ายิงลูกศร เพราะคนปกติที่ไม่มีฤทธิ์จะไม่รู้เลยว่า
เป็นกรรมอะไรที่จะมาให้ผลนำเกิด เนื่องจากทำไว้ในอดีตชาตินั่นเอง.

ในประเทศไทย เข้าใจกันไปว่า เป็น "กรรมสักว่าทำ" อย่างไรก็ตาม
ข้อนั้นไม่ตรงตามคำของพระอรรถกถาและฎีกาจารย์ และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




students3.png
students3.png [ 240.02 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
เรื่อง กรรมสมุฏฐาน - กัมมชรูป

กรรมสมุฏฐาน หมายความว่า กรรมเป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด ได้แก่ กรรม ๒๕ คือ
เจตนาที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒
เจตนาที่ประกอบในมหากุศลจิต ๘
เจตนาที่ประกอบในรูปาวรกุศลจิต ๕
รวมเจตนาทั้ง ๒๕ ดวงนี้แหละ ที่เป็น กรรมสมุฏฐาน ทำให้รูปเกิด

กัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานนี้ ได้แก่
มหาภูตรูป ๔
ปสาทรูป ๕
โคจรรูป ๓ (เว้นสัททรูป)
ภาวรูป ๒
หทยรูป ๑
ชีวิตรูป ๑
อาหารรูป ๑
ปริเฉทรูป ๑
รวม ๑๘ รูป เรียกว่ากัมมขรูป ๑๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร