วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2013, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1658453989912.jpg
1658453989912.jpg [ 117.16 KiB | เปิดดู 1063 ครั้ง ]
เรื่อง ฉันทาคติ

ฉันทาคติ แปลว่า ความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน การไปในแนวทางที่ไม่ควรคือความพอใจ
เป็นหลักที่ผู้ใหญ่ควรเว้น ไม่ควรทำ เพราะทำให้เสียความยุติธรรม เสียความเป็นผู้ใหญ่

ฉันทาคติ หมายถึง ความเอนเอียงเข้าข้าง ความไม่เป็นกลาง ทำอะไรโดยถือเอาความรักกันชอบกัน
และความพอใจของตนเป็นเกณฑ์ คือ ถือพวก ถือเพื่อน ถือสี ถือศาสน์ ถือญาติ ถือโยม ถือพี่ ถือน้อง ถือสถาบัน

ฉันทาคติ เป็นเหตุให้ถือเขาถือเรา เลือกที่รักผลักที่ชัง ช่วยเหลือเข้าข้างเฉพาะผู้ที่ตนรักชอบ
ทิ้งหลักเกณฑ์ความเป็นกลาง ไม่คำนึงถึงความถูกผิด ไม่ยึดความถูกต้องแต่ยึดความถูกใจเป็นหลัก

ทำให้การปกครอง ระบบงาน และกิจการเกิดอุปสรรค ขาดความร่วมมือ ไม่เจริญก้าวหน้า
และอาจถึงความล่มสลายได้ เป็นเหตุให้ครอบครัว หรือหมู่คณะขาดความอบอุ่นแตกแยก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2013, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1656230933342.jpg
1656230933342.jpg [ 139.52 KiB | เปิดดู 1063 ครั้ง ]
เรื่อง ชาคริยานุโยค

ชาครินุโยค แปลว่า การประกอบความเพียรโดยการตื่นเบิกบานอยู่เสมอ

ชาครินุโยค หมายถึง การหมั่นเจริญความเพียร โดยมิเกิดการย่อท้อ
ทำกิจการงานต่างๆ ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะตื่นตัวอยู่เสมอ มิให้เกิดความง่วงเหงาหาวนอน
ความเกียจคร้านครอบงำจิตใจ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คอยผลัดวันประกันพรุ่ง
กล่าวคือความไม่เห็นแก่นอนนั่นเอง

ชาคริยานุโยค เป็นเหตุให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นการปลุกเร้าใจให้มุ่งมั่น
เพียรทำหน้าที่การงานให้สำเร็จ เช่นในการปฏิบัติกัมมฐาน ในการศึกษาเล่าเรียน
ในการประกอบอาชีพเป็นต้น เป็นเหตุให้เป็นคนกระฉับกระเฉง แช่มชื่น ตื่นตัว

ชาคริยนุโยค เกิดขึ้นได้จากการประคับประคอง สติสัมปชัญญะไว้ (ดูเรื่องสติสัมปชัญญะ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2013, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




jd-old.png
jd-old.png [ 218.82 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ฌาน
ฌาน แปลว่า การเพ่ง หรือ เผา การเพ่ง หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนทำให้สงบนิ่ง
แน่วแน่เป็นสมาธิ
การเผา หมายถึง การเผานิวรณ์ธรรม ที่เป็นเครื่องกีดขวาง
มีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น (ดูนิวรณ์ ๕) ฌาน แบ่งออกได้ เป็น ๒ อย่าง คือ

รูปฌาน คือเป็นการเพ่งรูปธรรมเป็นอารมณ์ จนเกิดความปราณีตขึ้นไปตามลำดับ มี
ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุตถฌาน, ปัญจมฌาน

อรูปฌาน คือการเพ่งอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ คือ
อากาสานัญจายตนฌาน, วิญญานัญจายตนฌาน, อากิญจัญญายตนฌาน, เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ผู้ที่ได้รูปฌานจักเกิดเป็นรูปพรหม ๑๖ ผู้ที่ได้ อรูปฌานจักเกิดเป็นอรูปพรหม ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2013, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




3.png
3.png [ 137.34 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ญาณ

ญาณ แปลว่า ความรู้ คือปรีชาหยั่งรู้หรือกำหนดรู้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญวิปัสสนา
ที่เรียกว่า วิชชา ความรู้แจ้งบ้าง

คำว่า ญาณ ในความหมายเฉพาะหมายถึงพระปรีชาญาณหยั่งรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความรู้แจ้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มๆว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาสัมโพธิญาณ มี ๓ อย่าง คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติเกิดสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพยจักขุญาณ บ้าง
๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวะกิเลสให้สิ้นไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2013, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




segment_regular_X25ADfi5qB8.png
segment_regular_X25ADfi5qB8.png [ 55.92 KiB | เปิดดู 1074 ครั้ง ]
เรื่องตบะ

ตบะ แปลว่า ความเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส
ในที่ทั่วไปหมายถึง การบำเพ็ญเพียรเพื่อให้กิเลสเบาบางหดเหี้ยนหมดไป
ด้วยพิธีกรรมหรือด้วยทรมารกายแบบต่างๆ

ตบะ ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึงธรรมต่างๆ ที่มุ่งหมายกำจัด
เผาผลาญอกุศลวิตก(ความตรึกที่เป็นบาปอกุศล)เป็นหลัก เช่น
ปธาน (ความเพียร) ขันติ(ความอดทน) ศีล (การรักษากายวาจา) อุโบสถกรรม (การรักษาอุโบสถศีล)
การเล่าเรียนปริยัติ การถือธุดงค์ การบำเพ็ญสมณธรรม การประพฤติธรรมเหล่านี้นับเข้าในตบะทั้งสิ้น

ตบะ เป็นข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรม(ดูเรื่องทศพิธราชธรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170824_062345.jpg
20170824_062345.jpg [ 233.96 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ตถาคตโพธิสัทธา

ตถาคตโพธิสัทธา แปลว่า ความเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง เชื่อว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มีจริงและดีจริง
สามารถนำผู้ปฏิบัติตามให้ออกพ้นจากทุกข์ได้จริง ให้เข้าถึงสุขตั้งแต่ธรรมดาจนถึงสุขอันยอดเยี่ยม
กล่าวคือเป็นหนทางให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้จริง

ตถาคตโพธิสัทธา เป็นเหตุให้เกิดความมั่นใจในพระพุทธเจ้า มั่นใจในคำที่พระองค์สอน
และปฏิบัติตามด้วยความมั่นใจ ปราศจากความลังเลสงสัย ทำให้ได้รับผลจริง

คนที่ไม่มีตถาคตโพธิสัทธาย่อมไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง เมื่อปฏิเสธพระพุทธเจ้า
ก็เป็นอันว่าปฏิเสธหมดทั้งธรรมที่ทรงสอน ทั้งเหตุและผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2013, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170824_073220.jpg
20170824_073220.jpg [ 413.84 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ตรัสรู้

ตรัสรู้ แปลว่า รู้อย่างแจ่มแจ้ง รู้ชัดเจน รู้จนหมดข้อสงสัยใดๆเหลืออีก
คำนี้ใช้เรียกเฉพาะการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ใช้กับสาวกและบุคคลทั่วไป

สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือ อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ดูเรื่องอริยสัจจ์)
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ตอนกลางคืนของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยลำดับดังนี้
- ในปฐมยาม ยามต้น ตรัสรู้ บุปเพนิวาสานุสติญาณ
- ในมัชฌิมยาม ยามกลาง ตรัสรู้ จุตูปปาตญาณ
- ในปัจฌิมยาม ยามสุดท้าย ตรัสรู้ อาสวักกขยญาณ
(ดูความละเอียดเรื่องญาณ)

ยามทีแรก, ครั้งโบราณแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง

ยามต้นเรียกปฐมยาม คือ เวลาระหว่าง ๑๘.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น.
ยามที่ ๒ เรียกมัชฌิมยาม นับตั้งแต่ ๒๒.๐๐ น. ถึง ๐๒.๐๐ น.
ยามที่ ๓ เรียกปัจฉิมยาม, นับตั้งแต่ ๐๒.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2013, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




250944.jpg
250944.jpg [ 101.89 KiB | เปิดดู 5796 ครั้ง ]
เรื่อง ไตรภพ - ไตรภูมิ

ไตรภพ แปลว่า ภพทั้ง ๓ หมายถึงโลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ ๓ ระดับ คือ

๑. กามภพ คือภพของสัตว์ผู้ยังเกี่ยวข้องเนื่องด้วยกาม มีกามภูมิ ๑๑ ได้แก่
อบายภูมิ ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖
๒. รูปภพ คือภพของสัตว์ที่ได้ฌาน ได้แก่ รูปพรหม ๑๖ ชั้น
ตั้งแต่ ปาริสัชชะ จนถึงอกนิฏฐาภูมิ
๓. อรูปภพ ภพของสัตว์ผู้ได้อรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม ๔ ตั้งแต่ อากาสานัญจายตนะ เป็นต้น

ภพทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า ไตรภูมิ บ้าง ไตรโลก บ้าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2013, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




img1240.png
img1240.png [ 47.73 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ไตรสิกขา

ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓ หมายถึง ข้อสำหรับศึกษา
การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่ควรศึกษามี ๓ อย่าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา คือ การศึกษาเรื่องศีล
อบรมตนปฏิบัติตนให้ถูกต้องดีงาม ให้บริสุทธิตามหลักของศีล
๒. อธิจิตตสิกขา คือ ศึกษาเรื่องจิต
อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ ได้แก่บำเพ็ญสมถกรรมฐาน
๓. อธิปัญญาสิกขา คือศึกษาเรื่องปัญญา
อบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

ไตรสิกขา เรียกให้สั้นๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2013, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (65).png
unnamed (65).png [ 180.16 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ทมะ

ทมะ แปลว่า การข่ม หมายถึงการ ฝึกฝน การอบรมบ่มนิสัย
เป็นการรู้จักข่มอารมณ์ ควมคุมไม่ให้ทำตามใจดังปรารถนา
การระงับยับยั้งชั่งใจเมื่อได้อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่ปล่อยให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ ย่อมนำไปสู่ความยังคิดมีสติ

ทมะ เป็นหลักปฎิบัติสำหรับผู้เป็นสามีภรรยากันข้อหนึ่ง(ดูในฆาราวาสธรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2013, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




wpid-5-negara-penghasil-emas-terbesar-di-dunia.png
wpid-5-negara-penghasil-emas-terbesar-di-dunia.png [ 250.87 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ทิฏฐุชุกรรม

ทิฏฐุชุกรรม แปลว่า การทำความเห็นให้ตรง เป็นบุญอย่างหนึ่ง (ดูเรื่องบุญกิริยาวัตถุ)

ทิฏฐุชุกรรม หมายถึง การปรับความคิดเห็น การประคับประคองความคิดเห็นของตน
ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง กล่าวคือให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ในทำนองเดียวกัน เห็นว่าทำดีได้ดีมีที่ไหน
จัดเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่ตรงตามความเป็นจริง

ทิฏฐุชุกรรม เป็นเหตุให้การทำและการพูดถูกต้องตรงทำนองคลองธรรม
ไม่ผิดเพี้ยนตามไปด้วย ความสุขสงบก็มีตามมาเพราะทำไม่ผิดพูดไม่ผิด และเป็นเหตุ
ให้สามารถบรรลุธรรมชั้นสูงได้ เพราะทิฏฐุชุกรรมยังหมายถึงปัญญาด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2013, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




blog-photo-gold-300x261.png
blog-photo-gold-300x261.png [ 140.42 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ทิฏฐิวิบัติ

ทิฏฐิวิบัติ แปลว่า ความคิดเสีย เป็นการวิบัติแห่งความคิด
ทิฏฐิวิบัติ หมายถึงเป็นความคิดที่ไม่ถูกทาง ที่วิปริตผิดแผกไปจากความจริง เช่นเห็นว่า
การเล่นการพนันสามารถทำให้ร่ำรวยได้ และเห็นว่าเป็นการพักผ่อนสนุกรื่นเริง เป็นต้น
หรือมีความคิดที่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ๑๐ อย่าง (ดูเรื่องมิจฉาทิฎฐิ)

คนที่มีทิฎฐิวิบัติ เรียกได้ว่า คนมีความคิดเสีย เป็นคนเสียเพราะความคิด
เมื่อคิดผิดก็ย่อมพูดผิด เมื่อคิดผิดก็ย่อมทำผิด จะเห็นความถูกต้องเป็นสิ่งที่ผิด
เช่นเห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ไร้สาระ ไม่เป็นความจริง

คนทิฏฐิวิบัตินั้นชื่อว่าเป็นคนเสีย เป็นคนอาภัพ คือไม่เหมาะสมที่ควรจะบรรลุธรรมชั้นสูง
ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ในบุคคล ๔ เหล่า จึงจัดได้ว่าเป็นบุคคลที่เป็นอาภัพพะบุคคล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




gold-bricks.png
gold-bricks.png [ 60.97 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรม แปลว่า ธรรมของพระราชา ธรรมของราชการ
หมายถึงคุณธรรมหรือจริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติปฏิบัติ
คุณธรรมของข้าราชการ ของนักปกครองเรียกสั้นๆว่า ราชธรรม ก็มี มี ๑๐ ประการ

๑. ทาน คือ การให้ การชุบเลี้ยง การช่วยเหลือ
๒. ศีล คือ การประพฤติสุจริตธรรม
๓. ปริจาคะ คือ การเสียสละส่วนตัว
๔. อาชวะ คือ ความซื่อตรง
๕. มัทวะ คือ ความอ่อนโยน
๖. ตบะ คือ ความเพียร ความข่มใจ
๗. อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ
๘. อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนข่มขี่
๙. ขันติ คือ ความอดทน
๑๐. อวิโรธนะ คือ การปฏิบัติไม่ผิดทำนองคลองธรรม

(โปรดดูรายละเอียดในเรื่องนั้นๆ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2013, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (56).png
unnamed (56).png [ 165.13 KiB | เปิดดู 4014 ครั้ง ]
เรื่อง ทุกข์

ทุกข์ ทุกขัง ทุกขตา เป็นสามัญลักษณะ หรือไตรลักษณ์ หมายถึง ภาวะที่ทนได้ยาก
เป็นสภาวะที่ดำรงค์อยู่อย่างเดิมไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดไป
เช่น ความเป็นเด็กตลอดไปไม่ได้ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไป

ที่ชื่อว่าทุกข์มีลักษณะดังนี้
๑. ถูกบีบคั้นเบียดเบียนโดยการเกิดและการดับอยู่ตลอดเวลา
๒. ทนได้ยาก ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๔. มีความตรงข้ามกับสุข
ทุกข์ในความหมายนี้เกิดขึ้นได้ในสังขาร ที่มีใจครองและไม่มีใจครอง ต่างกับทุกข์ในอริยสัจจ์

ทุกข์ ในอริยสัจจ์ หมายถึง ความไม่สบายกายไม่สบายใจแยกออกเป็น ๒ คือ
สภาวทุกข์ และ ปกิณณกทุกข์

สภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำทุกข์ที่มีอยู่ด้วยกันทุกข์คน ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย
ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แด่ ความเศร้าโศก เสียใจ ความพร่ำเพ้อรำพัน
ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ พลัดพรากในสิ่งที่ตนรัก ไม่สมหวังในสิ่งที่ต้องการ
ทุกข์ ในอริยสัจจ์มีความหมายแคบกว่าทุกข์ในสามัญลักษณะ เพราะเกิดแก่อุปาทินนกสังขาร คือสังขารที่มีใจครองเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1385802501-102074atta-o.gif
1385802501-102074atta-o.gif [ 148.96 KiB | เปิดดู 5627 ครั้ง ]
ขออนุญาตไปอาบน้ำครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร