วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

เหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดความโลภนั้นมี ๔ อย่าง เพราะสาเหตุมาจากกรรมในอดีต ๒ และกรรมในปัจจุบัน ๒

กรรมในอดีต ๒ อย่างนั้นประการแรกคือในอดีตชาติก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์นั้นเคยเกิดเป็นเปรต หรือ อสุรกาย อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติปัจจุบันคือจุติจากเปรตหรืออสุรกายก็มาปฏิสนธิเป็นมนุษย์ การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติปัจจุบันนี้นั้นเพราะมหาวิปากจิต ๘ ดวงใดดวงหนึ่งเป็นต้น มหาวิปากมาส่งผลในขณะปฏิสนธิกาล และมหาวิปากที่เป็นชนกกรรมนำเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็หมดหน้าที่ไป และมีกรรมอันประกอบด้วยโลภะเป็นบริวารติดตามมาด้วยเป็นอุปถัมภกกรรม ทำให้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติปัจจุบันนี้นั้นก็เต็มไปด้วยความโลภ โลภะที่เป็นบริวารนี้จะให้ผลในปวัตติกาลคือ หลังจากปฏิสนธิแล้วโลภะก็จะทำหน้าที่อุปถัมภกกรรมไปเรื่อย ทำให้เป็นคนที่มีสันดาน จริต ที่เต็มไปด้วยความโลภ ความอยากที่มากอย่างมัวเมากักขระหยาบคาย แสวงหาเท่าไรก็ไม่เคยพอ ยอมทำทุกอย่างแม้ทุจริตก็ยอมเพื่อจะได้มาให้มากที่สุด และมนุษย์ที่จะไปเกิดเป็นเปรตนั้นก็เป็นมนุษย์ที่มีแต่ความโลภ เมื่อมีโอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ไม่พ้นจริตเดิมๆ ที่เคยเป็น เพราะมีความแรงของโลภะมากเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

อดีตชาติก่อนที่เป็นเปรตนั้นจะเป็นผู้ที่มีความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา มีความทุกข์ที่เกิดมาจากความอยาก อยากกินน้ำกินอาหารตลอดเวลา แต่เนื่องจากวิปากที่ได้รับจึงทำให้ต้องอดอยากและทรมาน แม้จะได้กินน้ำกินอาหารบ้างแต่ก็ทำได้เพียงเล็กน้อย หูได้ยินเสียงน้ำไหล แต่ก็ไม่สามารถกินได้ เพราะปากเท่ารูเข็มแม้จะกรอกน้ำเข้าไปได้ก็แค่ได้เพียงหยดเดียว จึงดำรงชีวิตอยู่ด้วยความอยาก ความหิวกระหายไม่สิ้นสุดในชีวิตขณะนั้น เปรตจึงไม่มีคำว่าหายอยาก จะอยากอยู่ตลอดเวลา

ส่วนอสุรกาย ก็เป็นพวกที่หากินด้วยความไม่ชอบธรรม ชอบกินของบูชายันต์ เซ่นสรวงบูชา บางทีก็ให้ผลตอบแทนแก่ผู้บูชาเซ่นสรวงได้ มักจะไปหากินกับผู้ที่เป็นร่างทรง เมื่อไปเข้าร่างใคร คนๆ นั้นก็สามารถทำทุกอย่างที่ตนไม่เคยทำ เมื่อถูกอสุรกายแฝงหรือสิงแล้ว กินไก่ได้ทีละ ๑๐ ตัวบ้าง กินเหล้าสูบบุหรี่ได้อย่างชำนาญ อสุรกายบางตัวเมื่อมาสิงอยู่ในมนุษย์คนใดแล้วบางทีก็กินมนุษย์นั้นด้วย ทำให้มนุษย์นั้นค่อยๆ ตายไปในที่สุด อสุรกายนั้นชอบอ้างตนเป็นคนสำคัญที่ตายไปแล้ว เมื่อไปหากินกับร่างทรงก็อ้างตนเองเป็นคนสำคัญที่มนุษย์เคารพยกย่อง หรือบางทีก็อ้างตนเป็นเทวดา ซึ่งเป็นไปแทบจะไม่ได้เลยที่เทวดาทั้งหลายท่านจะมาสิงอยู่ในร่างมนุษย์ เพราะมนุษย์นั้นไม่ใช่อิฏฐารมณ์ของเทวดา สำหรับเทวดาแล้วมนุษย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่น่าพิศมัยนักสำหรับเทวดาที่จะเข้าใกล้

ผู้ที่จะเกิดมาเป็นอสุรกายนั้นคือผู้ที่ทำกรรมด้วยการใช้อำนาจทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง กล่าวคำดูถูกติเตียนผู้ที่ไม่ควรถูกติเตียน และกล่าวสรรเสริญแก่ผู้ที่ไม่ควรได้รับการสรรเสริญ เป็นผู้ที่ใช้อำนาจใช้ทรัพย์สมบัติของตนไปในทางที่ผิด เมื่อผู้นั้นไปเกิดเป็นอสุรกายแล้วหมดวาระลง อาจจะกลับมาเป็นมนุษย์เพราะมหาวิปากจิตส่งผลให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ ก็เกิดมาเป็นมนุษย์ที่ชอบให้สินบนผู้อื่นเพื่อแสวงหาประโยชน์สู่ตน มีความโลภอย่างมากทำทุกอย่างแม้แต่ทางที่ทุจริตก็ทำเพื่อสนองความต้องการไม่จบไม่สิ้น

ทั้งอดีตชาติที่เป็นเปรต อสุรกาย เหล่านี้นั้นก็เป็น อกุศลในอดีตชาติเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้หลังจากเกิดมาแล้ว ก็เป็นมนุษย์ที่มีแต่ความโลภโดยสันดานในปวัิตติกาลของปัจจุบันชาติที่เป็นมนุษย์

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุให้เกิดความโลภประการที่๒ นั้นคือ มนุษย์ที่ปฏิสนธิต่อมาจากเทวดาในอดีตชาติ ในชาติก่อนนั้นได้เกิดเป็นเทวดามีความเป็นอยู่ที่ปราณีตกว่าเปรต อสุรกาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเทวดานั้นจะเป็นผู้ที่มีโลภะมากไม่ได้ โลภะของเทวดานั้นจะไม่กักขระหยาบคายเหมือนพวกเปรต อสุรกาย เทวดานั้นเป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่ปราณีตแสวงหาความสุขทางกามารมณ์ มีรูป รส กลิ่น เสียงเป็นต้น เมื่อมาปฏิสนธิเป็นมนุษย์แล้วนั้น ความสุขทางกามารมณ์ก็ติดมาด้วย ก็เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม แสวงหาที่อันน่ารื่นรมณ์ แสวงหาที่สนุกสนาน ร้อง ฟ้อนรำ ฟังเพลงเต้นรำสนุกสนาน ขอให้ได้แต่งตัวขอให้ได้เที่ยวหาความสำราญ เพลิดเพลินอยู่ในความสนุกสนาน ก็เป็นเหตุใ้ห้เกิดความต้องการทรัพย์เพื่อบำรุงบำเรอความสุขแก่ตน จึงเป็นเหตุให้เกิดความโลภ

(ยกเว้นเทวดาที่อยู่ในชั้นดุสิต เพราะชั้นนี้จะไม่มีความมัวเมา เพราะปราถนาโพธิญาณทั้งสิ้นสำหรับเทวดาที่อยู่ในชั้นนี้ เมื่อเทวดาชั้นดุสิตนี้หมดวาระมาปฏิสนธิเป็นมนุษย์นั้นก็จะเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ เป็นมนุษย์ที่ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในกามารมณ์ มีใจคอกว้างขวางไม่มีจิตใจคับแคบ เป็นผู้ที่ใจบุญใจกุศล ทำทาน ทำบารมี เช่น พระเวสสันดร บริจาคทาน เอื้อเฟือเผื่อแผ่ ไม่ติดในทรัพย์สมบัติ หากเมื่อใดที่โลกมนุษย์มีแต่ผู้ที่มาจากชั้นดุสิตมาเกิดมาก ก็จะทำให้โลกมนุษย์น่าอยู่ ผู้คนที่เกิดอยู่ร่วมด้วยก็พลอยมีความสุขไปด้วย)

จากกรรมในปัจจุบัน ๒ อย่างคือ ประการที่ ๓ นั้นได้แก่การที่มนุษย์นั้นประสบแต่อิฏฐารมณ์ คือพบเจอแต่สิ่งที่น่ารื่นรม พบเจอแต่สิ่งสวยงาม ได้เห็น ได้ยินเข้า ก็เกิดความอยากได้ จึงขวนขวายเพื่อที่จะให้ได้มาจึงเป็นเหตุให้เกิดความโลภ ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มา แม้แต่ต้องทำทุจริตก็ตาม ก็ยอมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา

ประการที่ ๔ คือมนุษย์ที่ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนเองพอใจอยู่เนืองๆ ก็เกิดความโลภขึ้นได้เพราะอยากอยู่อย่างนั้นเรื่อยๆ ไป คือพวกที่เกิดมาสุขสบาย เป็นต้น จะมีเครื่องประดับสวยงาม กินแต่อาหารดีๆ วันหนึ่งถ้าจะต้องพ้นไปจากความสุขเหล่านั้นก็ทนไม่ได้ จึงต้องขวนขวายเพื่อให้ได้เสพสุขอย่างนั้นต่อไป หรือโลภมากขึ้นเพื่อรักษาความเป็นอยู่นั้นไม่ให้หายไปแม้จะต้องทำทุจริตก็ยอม และสะสมทรัพย์สมบัติไว้ให้มากๆ ยิ่งรวยยิ่งโลภ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมในอดีต ๒ ประการนั้น เราจะแก้ไขในอดีตนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่แก้ไขได้อย่างไรนั้นก็ต้องเป็นปัจจุบันชาติในขณะนี้ จะต้องใช้ความเพียรสูง ละอกุศลที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป อุปมาเปรียบเทียบเหมือนผู้ที่ติดยาเสพติด ต้องใช้ความกล้า ต้องใช้ความเพียรสูง ต้องใช้ความอดทน เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ยอมตายแต่ไม่ยอมเสพยาเสพติดอีกต่อไป เรียกว่าลงแดงก็ยอม ก็มีผู้ที่ทำแล้วสำเร็จก็มี ทำสำเร็จได้ก็เลิกเด็ดขาด ดังนั้นผู้ที่มีแต่ความโลภอย่างมัวเมา ก็ต้องปรับพฤติกรรมมีความเพียรสูง มีความกล้าหาญอดทน เพียรที่จะทำกุศล ละอกุศล จึงจะสำเร็จได้แก้ไขกันในขณะปัจจุบันนี้

กรรมในปัจจุบัน ๒ ประการหลังนี้ต้องพิจารณาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้นตามความจริง ถ้าเห็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรจะยึคถือเป็นแก่นสาร แม้แต่เพชรที่มีค่า หากพิจารณาดีๆ จะพบว่าไม่ต่างไปจากก้อนหิน สัมผัสถูกก็แข็ง ถูตัวไปเรื่อยๆ ก็เจ็บ ทำเป็นแหวนสวมใส่นิ้วก็รุงรัง นิ้วนั้นไม่สวมแหวนจะสบายกว่าสวมแหวน อีกทั้งต้องรักษาและระแวดระวังโจรปล้นจี้ เพชรก็ไม่ต่างไปจากก้อนหินเป็นของประจำโลก เราตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของ แต่หากเป็นผู้มีปัญญาควรเร่งขวายทำกุศลเพื่ออาศัยอานิสงส์ของกุศลนั้นเพื่อออกจากวัฏฏะ หรือผู้ที่ยังต้องการเกิดต่อไปก็ต้องอาศัยอานิสงค์ของกรรมดีเพื่อความสุขในภายภาคหน้า ไม่ใช่เร่งขวนขวายเพื่อให้ได้สิ่งต่างๆ มาสะสม เห็นอะไร อยู่อย่างไรไม่ให้หลง ผู้ที่มีปัญญาจะพิจารณาได้ เมื่อพิจารณาแล้วความโลภจะเบาบางลง เร่งทำกุศลดีกว่า ไม่ยินดีติดใจอยู่ในกามารมณ์ รูป รส ฯ ไม่อาลัยอาวรณ์อยู่ในสิ่งต่างๆ เห็นแล้ว พบแล้ว ได้ยินแล้วก็วางเฉยต่อสิ่งเหล่านั้นได้ เป็นต้น

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 13:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณค่ะ

เห็นคุณโสมหายไปหลายวัน เอกอนก็ยังคอยชะเง้อหน้ามองหาทุกวัน

:b1:

กลับมาก็ มีเรื่องดี ๆ มาฝากเลย...

:b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณค่ะ

เห็นคุณโสมหายไปหลายวัน เอกอนก็ยังคอยชะเง้อหน้ามองหาทุกวัน

:b1:

กลับมาก็ มีเรื่องดี ๆ มาฝากเลย...

:b27: :b27: :b27:


:b8: ต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ห่างหายไป :b12:
ขอบคุณค่ะที่เข้ามาอ่าน เรื่องนี้คิดว่าน่าสนใจดีไม่น้อยเลยมาเขียนกระทู้ให้อ่านกันค่ะ
ดิฉันได้ฟังมาจากพระอาจารย์ท่านหนึ่งท่านบรรยายมาค่ะ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2014, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงแม้โลภมูลจิต ๘ นี้จะมีสภาพเป็นอกุศลก็ตาม แต่ก็มีคุณประโยชน์มิใช่น้อยเหมือนกันหากใช้ไปในทางที่เป็นสะพานข้ามไปสู่ความสำเร็จ ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งในทางโลกและในการปฏิบัติธรรม เพราะเรายังเป็นปุถุชน ยังมีโลภะเกิดอยู่ไม่ขาด อยู่ที่การเจริญสติรู้เท่ากันในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็เกิดกุศลขึ้นมาได้ค่ะ ดังนั้น โลภมูลจิตที่เป็นอกุศลก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔

บางครั้งโลภะก็นำพาให้เราไปทำกุศลก็มี มีความอยากมีความยินดีที่จะทำทานกุศลก็ไปทำทาน เมื่อนั้นก็มีกุศลเกิดขึ้นมาแทนตัวโลภะในขณะจิตตั้งอยู่ในกุศลมีความยินดีในเจตนาในการให้ทาน ถ้าเป็นผู้ที่ทำกุศลเป็นคือทำทานที่ประกอบด้วยปัญญา ทานนั้นจะเป็นกุศลชั้นสูงสุดได้เพราะประกอบด้วยความยินดีในกุศล ในขณะที่กุศลเกิดขึ้นนั้นจะเป็นฉันทะที่ประกอบกับการทำกุศลแล้วไม่ใช่ตัวโลภะ

หากแต่ผู้ที่มีโลภะนั้นจะทำกุศลเป็นพักๆ แล้วก็หยุด จะทำเมื่อมีความอยากจะทำเท่านั้น หรือมีคนพูดชักชวนแล้วตนเองก็อยากที่จะทำขึ้นมาบ้าง จะเป็นแบบอยากทำกุศลก็ทำ ไม่อยากทำกุศลก็ไม่ทำ จะเป็นผู้ที่ทำกุศลไม่สม่ำเสมอ

ในทางโลก โลภะก็เป็นตัวขับเคลื่อนให้คนเกิดความทะเยอทะยานที่จะทำให้ตนเองมีอนาคตหน้าที่การงานที่ดี เพื่อยกระดับฐานะของตน เช่นในเด็กที่สนใจศึกษาเล่าเรียน ก็เพราะอยากที่จะมีฐานะครอบครัวที่ดี ไม่ลำบากในภายหน้า จึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเพื่อทำงานในตำแหน่งที่ดีสร้างฐานะให้กินดี อยู่ดี มีหน้าตาทางสังคม ไม่ให้ใครดูถูกดูแคลนได้ สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ พี่น้องได้ ที่ได้กล่าวมานี้โลภะเป็นสะพานไปสู่ความสำเร็จในทางที่สุจริต

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2014, 11:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

สวัสดีค่ะ..คุณโสม......
....ดีใจจังที่กลับมาคุยกันอีก..........
กับบทความดี ๆ ๆ ๆ รู้มากขึ้น...ยอมรับมากขึ้น ทำใจได้มากขึ้นค่ะ......

SOAMUSA เขียน:
เหตุให้เกิดความโลภประการที่๒ นั้นคือ มนุษย์ที่ปฏิสนธิต่อมาจากเทวดาในอดีตชาติ ในชาติก่อนนั้นได้เกิดเป็นเทวดามีความเป็นอยู่ที่ปราณีตกว่าเปรต อสุรกาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเทวดานั้นจะเป็นผู้ที่มีโลภะมากไม่ได้ โลภะของเทวดานั้นจะไม่กักขระหยาบคายเหมือนพวกเปรต อสุรกาย เทวดานั้นเป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่ปราณีตแสวงหาความสุขทางกามารมณ์ มีรูป รส กลิ่น เสียงเป็นต้น เมื่อมาปฏิสนธิเป็นมนุษย์แล้วนั้น ความสุขทางกามารมณ์ก็ติดมาด้วย ก็เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม แสวงหาที่อันน่ารื่นรมณ์ แสวงหาที่สนุกสนาน ร้อง ฟ้อนรำ ฟังเพลงเต้นรำสนุกสนาน ขอให้ได้แต่งตัวขอให้ได้เที่ยวหาความสำราญ เพลิดเพลินอยู่ในความสนุกสนาน ก็เป็นเหตุใ้ห้เกิดความต้องการทรัพย์เพื่อบำรุงบำเรอความสุขแก่ตน จึงเป็นเหตุให้เกิดความโลภ


เห็นภาพมากขึ้นเลยค่ะ.....ไม่ทำงานเพราะเป็นเทวดามาเกิด......
...................................ติดจริตเดิมมา...จึงทำทุกอย่างตามความโลภ......
....โชคดีที่เราเรียนรู้..ตัวเรา-เขา.........
................ขอ อโหสิกรรม......อย่ามีเวรต่อกันเลย ตั้งใจว่าจะประพฤติดี ทำดี ไม่เบียดเบียนตน-ผู้อื่น ....มีสติกำกับใจ....ขอกำลังใจด้วยนะคะ.......
คิดถึงจังเลยค่ะ............. :b27: :b27: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2014, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กล้วยไม้ม่วง เขียน:
tongue

สวัสดีค่ะ..คุณโสม......
....ดีใจจังที่กลับมาคุยกันอีก..........
กับบทความดี ๆ ๆ ๆ รู้มากขึ้น...ยอมรับมากขึ้น ทำใจได้มากขึ้นค่ะ......

เห็นภาพมากขึ้นเลยค่ะ.....ไม่ทำงานเพราะเป็นเทวดามาเกิด......
...................................ติดจริตเดิมมา...จึงทำทุกอย่างตามความโลภ......
....โชคดีที่เราเรียนรู้..ตัวเรา-เขา.........
................ขอ อโหสิกรรม......อย่ามีเวรต่อกันเลย ตั้งใจว่าจะประพฤติดี ทำดี ไม่เบียดเบียนตน-ผู้อื่น ....มีสติกำกับใจ....ขอกำลังใจด้วยนะคะ.......
คิดถึงจังเลยค่ะ............. :b27: :b27: :b8:


:b27: สวัสดีค่ะ คุณกล้วยไม้ม่วง ขอบคุณค่ะที่คิดถึงกัน
:b8: ต้องขอโทษด้วยค่ะที่ห่างหายไป ด้วยเหตุผลหลายอย่าง อย่างหนึ่งที่สำคัญคือต้องดูหนังสือสอบด้วยค่ะ

ไม่มีอะไรแน่นอนเลยค่ะ ดิฉันหายไปจากเวปนี้ได้ ก็กลับมาได้นะคะ :b4: อิๆ

เมตตาธรรมค้ำจุนโลกยิ่งคนใกล้ตัวเรา อภัยได้ก็อภัยกันไปนะคะ วันหนึ่งข้างหน้าไม่รู้ว่าใครจะจากกันไปก่อน วันนี้มีกันอยู่ก็ทำดีต่อกันให้มากที่สุด ทำดีต่อกัน ไม่ว่าเค้าจะร้ายอย่างไร ก็อภัยเค้าไปค่ะ เพราะความทุกข์ที่เราได้รับอยู่นี้ เค้าไม่ได้ทำให้เราทุกข์ เราเคยทำเหตุไม่ดีคือกรรมชั่วไว้ในอดีตชาติ มันจึงตามมาส่งผลเราค่ะ เราทำไว้เองทั้งสิ้น วันนี้เราจึงต้องทุกข์ และเราควรมองเค้าด้วยความเข้าใจ หากมีโอกาสสามารถส่งเสริมให้เค้าทำกุศลได้ ก็จะดีไม่น้อยทีเดียวค่ะ

เราคงต้องเมตตา สงสารเค้าคนนั้นนะคะ อนาคตเค้าก็ต้องได้รับความทุกข์เหมือนกับเราวันนี้เหมือนกันค่ะ
ชีวิตเหมือนความฝัน คนๆ หนึ่งเคยมีชีวิตอยู่ เคยคุยกัน ดีกัน เกลียดกันบ้าง พอวันหนึ่งก็ต่างคนต่างก็แยกย้ายกันไปตามกรรม บุญกุศลเท่านั้นที่ติดตามไปให้ความสุขเราได้ในภายภาคหน้าค่ะ

และการตั้งใจว่าจะประพฤติดี ทำดีฯ อย่างที่คุณบอกมานั้น.......เป็นการตั้งจิตไว้ ตั้งจิตแบบนี้ดีมากๆ ค่ะ
การตั้งจิตไว้อย่างนี้ และรักษาสติไปด้วยทุกวัน เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำค่ะ
หากมีเวลาว่าง ก็อ่านและฟังธรรม เพื่อความเข้าใจ ก็จะได้ประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตประจำวันค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

อภิชฺฌา

คำว่า อภิชฺฌา นี้เป็น อภิ ปพฺพ เฌ ธาตุ อภิ แปลว่า เฉพาะหน้า เฌ แปลว่าคิดถึง
เมื่อรวมกันแล้วเป็นอภิชฌา แปลว่า คิดถึงเฉพาะหน้า หมายถึงคิดเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเฉพาะหน้า
ดังแสดงวจนัตถะว่า
"ปรสมฺปตฺตึ อภิมุขํ ฌานตีติ อภิชฺฌา"
ธรรมชาติใดย่อมคิดถึงทรัพย์สมบัติของผู้อื่นอยู่เฉพาะหน้า
ฉะนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อภิชฺฌา องค์ธรรม(สภาวะ)ได้แก่ โลภะ

โลภะ ๒
๑. ธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยชอบธรรม
๒. อธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยไม่ชอบธรรม

สำหรับโลภะที่เป็นอภิชฌานั้นอยู่ในพวก อธรรมิยโลภะ

ตามธรรมดาบุคคลโดยทั่วไปนั้น เมื่อได้ประสบพบเห็นในอารมณ์ที่ดีต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นแล้ว
ก็ย่อมมีความพอใจอยากได้ในอารมณ์เหล่านั้นด้วยกันทั้งสิ้น แต่ความพอใจอยากได้ของบุคคลเหล่านั้น
ได้แยกออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน

บุคคลประเภทหนึ่ง เมื่อมีความพอใจอยากได้ในสิ่งนั้นๆ แล้ว ก็พยายามเสาะแสวงหาให้ได้มาด้วยความสุจริต คือด้วยการซื้อ ด้วยการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่น หรือด้วยการขอ ความพอใจอยากได้ของบุคคลประเภทนี้จัดเป็น ธรรมิยโลภะ ไม่ใช่เป็นอภิชฌาบุคคล

อีกประเภทหนึ่งนั้น เมื่อมีความพอใจอยากได้ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งนั้นๆ มาเป็นของของตนโดยความไม่ชอบธรรม คือ ไม่อยากซื้อ ไม่อยากขอ หรือไม่อยากแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด คิดหาหนทางจะขโมยหรือโกง เพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆ มาเป็นของของตน ความพอใจอยากได้ของบุคคลประเภทนี้จัดเป็น อธรรมิยโลภะ คือตัวอภิชฌา

เมื่อพิจารณาดูแล้วตัวอภิชฌาเมื่อเข้าครอบงำผู้ใดแล้ว ย่อมทำให้จิตใจของผู้นั้นเกิดความละโมบในสมบัติของผู้อื่นที่เขาหามาได้ด้วยกรรม ญาณ วิริยะ ของเขา ส่วนตนเองนั้นต้องการที่จะได้มาเปล่าๆ โดยไม่ได้นึกถึงว่าผู้นั้นจะได้รับความเสียหายเดือดร้อนแต่อย่างใด ผู้ที่มีความคิดเช่นนี้แม้ว่าจะยังไม่ได้ลงมือหยิบฉวย ฉ้อโกง หรือบังคับขู่เข็ญเจ้าของทรัพย์สมบัตินั้นก็ตาม ก็จัดว่าการนึกคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด น่าละอายมาก แต่ผู้ถูกอภิชฌาเข้าครอบงำแล้วนี้ก็สามารถที่จะคิดเช่นนี้ได้โดยไม่รู้สึกหวาดกลัวหรือละอายแต่อย่างใด ดังนั้นท่านปรมัตถทีปนีฎีกาจารย์จึงแสดงวจนัตถะของอภิชฌานี้ไว้ว่า

"อภิชฺฌายนฺติ อสฺสาทมตฺเต อฐตฺวา ปรภณฺฑสฺส อตฺตโน
ปริณามนวเสน เอตายาติ อภิชฺฌา"


"บุคคลทั้งหลายไม่หยุดอยู่เพียงแต่ความพอใจ ย่อมเพ่งเล็งด้วยอาการที่จะทำให้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นตกมาเป็นของตนด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุแห่งการคิดเช่นนั้น ชื่อว่า อภิชฌา"

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือ กัมมจตุกกะ และมรณุปปัตติจตุกกะ
ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2014, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะคุณโสมฯ

อ่านจบแล้วมองกลับเข้ามาพิจารณาตัวเองว่าเราละอะไรได้แล้ว..และที่ยังละไม่ได้มีอะไรบ้าง..
พบว่ายังเหลือที่ละเอียดอีกมากที่ยังต้องค่อยๆละกันต่อไป...
....การศึกษาธรรมโดยมุ่งหวังที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในชีวิตประจำวันเป็นการศึกษาเพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตนั้นเป็นประโยชน์สูงสุด...โดยส่วนตัวจะใช้หลักการนี้คือศึกษาเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตในปัจจุบันมากกว่าการมุ่งหวังเพียงแค่การสะสมบุญกุศลเท่านั้น...
ที่กล่าวอย่างนี้เพราะเวลาไปวัดมักจะมีแต่คนที่บอกว่ามาทำบุญที่วัดหรือบริจาคปัจจัยเพื่อหวังบุญ...จะได้สุขสบายทั้งชาตินี้และชาติหน้า...ไม่ว่าจะทำอะไรเพื่อใครหรือเสียสละอะไรก็บอกว่า "จะได้บุญ"
แต่ไม่พัฒนาชีวิตในปัจจุบัน ยังละเมิดศีลห้า ฆ่าสัตว์ นินทาว่ากล่าวคนนู้นคนนี้ ด่าลูกด่าหลาน
ละโมบโลภมาก..ยึดติดทุกอย่างที่ขวางหน้า...แล้วก็มาบอกว่า "ทุกข์" ชีวิตนี้เป็นทุกข์เหลือเกิน มีแต่ความไม่สมหวัง ลูกหลานไม่ได้ดั่งใจ...จะมีความสุขเฉพาะเวลาไปวัดเท่านั้น...อยากจะไปบวชอีก!
...เห็นแล้วสงสาร...แต่ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร...ชีวิตปัจจุบันไม่พัฒนาให้เป็นสุข...แต่กลับไปหวังความสุขในชีวิตหน้า...

ขอบคุณสำหรับ ธรรมะ ที่นำมาฝากค่ะ :b8:

:b41: :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2014, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีคนอีกจำนวนมากๆ ค่ะ ที่เค้ายังไม่ได้คิดไปถึงการออกจากวัฏฏะ คนอีกมากยังต้องการเกิดอยู่ต่อไปค่ะ
ดังนั้นคนที่ยังต้องการเกิดก็ทำบุญเพื่อตนเองจะได้เกิดมาไม่ลำบากในชาติต่อไปค่ะ
แต่ยังขาดความเข้าใจในการทำบุญ เรียกว่ายังทำบุญไม่เป็น ทำบุญทุกครั้งก็จะขอ แล้วก็ขอ ทำอยู่อย่างนี้ บอกว่าอย่าขออะไร ก็ไม่เชื่อหรอกค่ะ
บอกวิธีทำบุญให้ถูกต้องก็ไม่เชื่อค่ะ เพราะจะยึคความเข้าใจของตนเองว่าต้องขอ ถึงจะได้ตามต้องการ จึงหวังที่จะได้ทั้งสิ้นในการทำบุญ
แต่ก็ได้ตามที่ขอจริงๆ นะคะในปวัตติกาล บุญแบบนี้จะมีปัญหาใหญ่ตอนปฏิสนธิกาลถ้าบุญที่ทำแบบโลภะนี้นำส่งไปเกิดในสุคติภูมิ ย่อมลำบากแน่ๆ ค่ะ เกิดมาพิการ หรือเกิดมาเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาชั้นต่ำชั้นจาตุมฯ (ในพระสูตรหนึ่ง มีผู้เห็นเทวดาประเภทนี้เข้าก็คิดว่าเปรต แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่านั้นคือเทวดา)

แต่ถ้าอกุศลส่งนำเกิดก็จะไปเกิดในอบายภูมิ 4 ค่ะ

พระพุทธเจ้าตรัสสอนทั้งผู้ที่ยังต้องการเกิด และผู้ที่ทำบุญเพื่อออกจากสังสารวัฏฏ์

บางทีเราก็ต้องเข้าใจค่ะว่า บางคนเค้ายังไม่เข้าใจ และยังขาดศรัทธาจึงไม่คิดจะศึกษาหาความรู้ด้วย จึงประพฤติปฏิบัติตนผิดไป

ที่คุณเล่ามานี้ ยังอยู่ในระดับเริ่มต้น คือทาน ......ยังไม่ถึงขั้่นศีล ยังไม่ถึงขั้นภาวนา
ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ยังติดอยู่แค่ระดับต้นของการทำกุศลคือ การทำทาน และส่วนใหญ่ก็ยังทำทานไม่เป็นด้วยค่ะ
เป็นการเริ่มเอาของภายนอกออกทำทาน.... แต่ยังไม่ได้ถึงขั้นที่จะพยายามทำกุศลเพื่อเอากิเลสภายในใจออกค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2014, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สาเหตุที่คนทำทานกุศลนั้น ก็เพราะมีความเข้าใจในเบื้องต้นแล้วว่า ทำเหตุไว้แล้ว ย่อมได้ผลตามมา เป็นผู้รู้อานิสงส์ของการกระทำกรรมมา พอเข้าใจได้ว่า การเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติต่อไปนั้น ต้องมีเสบียง แต่วิธีสร้างเสบียงนั้นทำไม่เป็น ยังทำแบบมี โลภะ โทสะ โมหะ ปนเปื้อนอยู่ในกุศลขณะที่ทำทานนั้นเป็นต้น คือ ทานกุศลที่มีโลภะซึ่งเป็นอกุศลเป็นบริวารเป็นต้น จึงเป็นกุศลชนิดที่เป็น โอมกะ เป็นกุศลชั้นต่ำ ดังนั้นส่วนที่ทำแล้วไม่ดีก็ช่างมันไป แล้วๆ ไปค่ะ ก็ปรับปรุงทานที่ทำไปแล้วได้ค่ะก็ทำจิตเสียใหม่ภายในใจได้สำหรับทานที่เคยทำผิดๆ ไปค่ะ

มีวิธีแก้ไขไม่ยากค่ะ คือ มีสติทำสมาธิสักเล็กน้อย แล้วให้ย้อนไปคิดถึงกุศลที่ตนทำมา แล้วปลื้มใจในกุศลนั้นว่าตนได้บำรุงพระศาสนาบ้าง ได้เคยช่วยคนให้พ้นจากความลำบากต่างๆ เป็นต้น (แล้วแต่การกระทำของกุศลนั้นนะคะว่าเกี่ยวกับอะไร) หากมีปิติแช่มชื่นใจเกิดขึ้นว่าเราได้บำรุงพระศาสนาบ้าง ได้ถวายอาหารอันปราณีตบ้าง ได้ช่วยคนที่กำลังหิวให้ได้กินอิ่มบ้าง ได้เอาเิงินช่วยค่าเดินทางคนบ้าง เป็นต้น ถ้าปลื้มใจได้ก็ได้เปลี่ยนจากกุศลชั้นต่ำมาเป็นกุศลที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่งค่ะ ถ้ากุศลที่เราปรับปรุงนี้ส่งผลนำเกิดก็จะเกิดมาเป็นคนปกติไม่พิการ เกิดเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาชั้นกลางเกิดในเทวภูมิ ถึงจะได้เป็นเทวดาชั้นจาตุมฯที่เป็นเทวดาชั้นสูงขึ้นจากเดิม จากเดิมที่วิปากส่งเกิดเป็นเทวดาชั้นต่ำค่ะ

เช่นคนที่เคยทำกุศลแบบมีมานะ เอาเงินใส่ซองเยอะๆ กว่าชาวบ้านแล้วเชิดว่าตนเองนั้นทำเยอะกว่าชาวบ้าน หรือตนเองทำกุศลได้ถูกต้องดีกว่าชาวบ้าน ก็เอากุศลเหล่านี้กลับมาปลื้มใจเสียใหม่อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วค่ะ

และทำกุศลครั้งต่อไป ไม่ว่าจะทำทาน ศีล ภาวนา ทำด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ตั้งจิตไว้ให้ดีค่ะ อุปมาเปรียบเทียบตามที่อาจารย์วศิน อินทสระ ได้กล่าวไว้ว่า

"พระพุทธศาสนาแท้ๆ นั้นบริสุทธิ์หมดจด แต่ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ถ้าไม่เข้าใจหรือเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างงมงายแล้ว ก็เหมือนคนเอามือเปื้อนไปจับต้องของบริสุทธิ์สะอาด ทำให้สิ่งนั้นพลอยเปรอะเปื้อนไปด้วยอย่างน่าเสียดาย"

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2014, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2014, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

ขัอความบางตอนจากหนังสือ ปฏิจจสมุปปาททีปนี รจนาโดยพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

สังขาร (ปรุงแต่ง-พยายาม-ชักนำ-อวิชชา)

๑. อภิสงฺขรณลกฺขณา มีการปรุงแต่ง เป็นลักษณะ

๒. อายุหนรสา มีการพยายามให้ปฏิสนธิวิญญาณเกิด หรือพยายามให้ธรรมที่เป็นผลซึ่งได้แก่
รูป นาม ที่เป็นหมวดเป็นกองเกิดขึ้นเป็นกิจ

๓. เจตนาปจฺจุปฏฺฐานา เป็นธรรมชาติที่ชักนำกระตุ้น เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

๔. อวิชฺชาปทฏฺฐานา มีอวิชชาเป็นเหตุใกล้

สรุปความว่า การกระทำต่างๆ ด้วย กาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ย่อมหนีไม่พ้นไปจากสังขารทั้ง ๓ คือ
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร พร้อมทั้งมีความยินดีในสังขารทั้ง ๓ นี้ด้วย

ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก อวิชชา คือ ความไม่รู้จักโทษของทุกข์และสมุทัย และไม่รู้จักคุณของนิโรธและมรรคนั้นเอง ฉะนั้น ท่านอรรถกถาจารย์จึงแสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า

มรุปปาตํ ทีปจฺจึ มธุลิตฺตสฺส เลหนํ
คูถกฬํ วิสํ ขทํ ปิสาจนครํ ยถา ฯ
พาโล กโรติ สงฺขาเร ติวิเธ ทุกฺขเหตโว
ตสฺมา สติ อวิชฺชาย ภาวโต โหติ ปจฺจโย ฯ

ผู้ที่ถูกคลุมด้วยอวิชชา ย่อมพยายามสร้างสังขารทั้ง ๓ มีปุญญาภิสังขาร เป็นต้น อันเป็นเหตุทุกข์ทั้งปวง

เหมือนผู้ที่กระโดดลงในเหวโดยอาศัยความอยากได้นางเทพธิดา หรือ
เหมือนแมลงเม่าที่บินเข้าสู่กองไฟโดยมีความยินดีในแสงไฟนั้น หรือ
เหมือนผู้ที่เลียคมมีดที่เขาทาน้ำผึ้งไว้โดยอาศัยความยินดีในรส หรือ
เหมือนทารกที่หลงใหลเล่นอุจจาระของตนเองอยู่ หรือ
เหมือนผู้ที่ดื่มยาพิษโดยอาศัยความเสียใจอยากตาย หรือ
เหมือนผู้ที่หลงทางเข้าไปในนครปีศาจ

ฉะนั้น สาธุชนทั้งหลายพึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร เพราะเมื่อมีอวิชชา สังขารทั้ง๓ ก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน

อนึ่ง ผู้ที่เดินทางไปในท่ามกลางแห่งความมืด ย่อมมองไม่เห็นทาง ฉะนั้น ผู้นั้นต้องเดินเดาสุ่มไปตามบุญตามกรรม ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง เมื่อขณะที่เดินไม่ถูกทางนั้น แม้จะกล่าวได้ว่า เพราะมืดจึงเดินไม่ถูกทางก็จริง แต่ขณะที่เดินถูกทางนั้น ก็จะกล่าวไม่ได้ว่า เพราะสว่างจึงเดินถูกทาง ข้อนี้ควรพิจารณาให้รู้ไว้ ดังนั้นปุถุชนทั้งหลายที่กำลังเดินทางวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร จึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้เดินทางไปในความมืดด้วยกันทั้งสิ้น และขาดคนจูง คือ
สัจจปฏิเวธญาณ ด้วยเหตุนี้แหละการกระทำของบุคคลเหล่านี้ บางทีก็เป็นบุญเรียกว่า ปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร บางทีก็เป็นบาปเรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ดังนั้นท่านอรรถกถาจารย์จึงแสดงต่อไปว่า

ยถาปิ นาม ชจฺจนฺโธ นโร อปริณายโก
เอกทา ยาติ มคฺเคน กุมฺมคฺเคนาปิ เอกทา ฯ
สํสาเร สํสรํ พาโล ตถา อปริณายโก
กโรติ เอกทา ปุญฺญํ อปุญฺญมฺปิ เอกทา ฯ

อันธปุถุชนซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในวัฏฏสงสาร และขาดผู้จูง คือ สัจจปฏิเวธญาณ บางครั้งก็ย่อมกระทำบุญ บางครั้งก็ย่อมกระทำบาป เหมือนหนึ่งว่าคนตาบอดแต่กำเนิดที่ขาดผู้จูง บางครั้งก็เดินถูกทาง บางครั้งก็เดินผิดทาง

:b8: :b8: :b8:

ทุกขสัจจ์ ได้แก่ โลกียจิต81 เจตสิก51 (เว้นโลภเจตสิก) รูป 28
สมุทยสัจจ์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต2

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2014, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

อรรถกถา ปทกุศลมาณวชาดก
ว่าด้วย ภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย

:b53: ขอเชิญอ่านทั้งหมดได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=271255

    ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้นำตัวอย่างมากราบทูลพระราชาอีกเรื่องหนึ่งว่า :-
    ข้าแต่มหาราชเจ้า ที่บ้านของชาวกาสีตำบลหนึ่ง มีแม่น้ำที่มีจระเข้อยู่ด้านหลังของตระกูลๆ หนึ่ง และตระกูลนั้นมีบุตรคนเดียวเท่านั้น เมื่อบิดาของเขาตายเขาได้ปฏิบัติมารดา มารดาได้นำกุลธิดาคนหนึ่งมาให้เขาโดยที่เขาไม่ปรารถนาเลย ตอนแรกๆ นางกุลธิดานั้นก็รักใคร่แม่ผัวดี ภายหลังเจริญด้วยบุตรและธิดา จึงอยากจะขับไล่แม่ผัวเสีย แม้มารดาของนางก็อยู่ในเรือนนั้นเหมือนกัน
    ครั้งนั้น นางกล่าวโทษแม่ผัวมีประการต่างๆ ต่อหน้าสามี แล้วกล่าวว่า ฉันไม่อาจที่จะเลี้ยงดูมารดาของพี่ได้ จงฆ่ามารดาของพี่เสีย เมื่อสามีกล่าวว่า การฆ่ามนุษย์เป็นกรรมหนักฉันจักฆ่าแม่ได้อย่างไร จึงกล่าวว่า ในเวลาที่แกหลับ เราช่วยกันพาแกไปทั้งเตียงทีเดียว โยนลงแม่น้ำที่มีจระเข้ แล้วจระเข้ก็จักฮุบแกไปกิน
    สามีถามว่า มารดาของเธอนอนที่ไหน นางตอบว่า นอนอยู่ใกล้ๆ กับมารดาพี่นั่นแหละ สามีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเอาเชือกผูกเตียงที่มารดาของฉันนอนทำเครื่องหมายไว้ ครานั้นนางได้กระทำเช่นนั้นแล้วบอกว่า ฉันได้กระทำเครื่องหมายไว้แล้ว สามีกล่าวว่า รอสักหน่อยให้คนทั้งหลายหลับเสียก่อน ตนเองก็นอนทำเป็นหลับ แล้วไปแก้เชือกนั้นมาผูกที่เตียงของมารดาภรรยา ปลุกภรรยาขึ้นแล้วทั้งสองคนก็ไปช่วยกันยกขึ้นทั้งเตียงทีเดียว โยนลงไปในน้ำ จระเข้ทั้งหลายได้ยื้อแย่งกันเคี้ยวกินมารดาของหญิงนั้นในแม่น้ำนั้น.
    วันรุ่งขึ้น นางรู้ว่ามารดาถูกเปลี่ยนตัวจึงกล่าวว่า พี่ มารดาของฉันถูกฆ่าแล้ว ต่อไปนี้พี่จงฆ่ามารดาของพี่ เมื่อสามีตอบว่า ถ้าเช่นนั้นตกลง จึงกล่าวว่า เราช่วยกันทำเชิงตะกอนในป่าช้า แล้วจับแกใส่เข้าไปในไฟให้ตาย
    ลำดับนั้น คนทั้งสองได้นำมารดาผู้กำลังหลับอยู่ไปวางไว้ที่ป่าช้า สามีกล่าวกะภรรยาที่ป่าช้านั้นว่า เธอนำไฟมาแล้วหรือ?
    ภรรยาตอบว่า ไม่ได้นำมาเพราะลืม
    สามีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปนำมา
    ภรรยากล่าวว่า ฉันไม่อาจไปคนเดียว แม้เมื่อพี่ไป ฉันก็ไม่อาจอยู่คนเดียว เราไปกันทั้งสองคนเถิด เมื่อผัวเมียสองคนไปกันแล้ว หญิงแก่ตื่นขึ้นเพราะลมหนาว รู้ว่าที่นั่นเป็นป่าช้าจึงใคร่ครวญดูว่า ผัวเมียสองคนนี้คงจะประสงค์จะฆ่าเรา มันคงไปเพื่อเอาไฟมาเผาเป็นแน่ คิดว่า มันไม่รู้กำลังของเราดังนี้ แล้วจึงได้เอาซากศพศพหนึ่งขึ้นนอนบนเตียง เอาผ้าเก่าคลุมข้างบน แล้วตนเองหนีเข้าถ้ำที่เร้นลับใกล้ป่าช้านั้นแหละ ผัวเมียสองคนนำไฟมาแล้วเผาซากศพด้วยเข้าใจว่า เป็นหญิงแก่ แล้วหลีกไป.
    ก็ครั้งนั้น ในถ้ำที่เร้นลับนั้น โจรคนหนึ่งเอาสิ่งของไปเก็บไว้ก่อน โจรนั้นคิดว่า เราจักไปเอาสิ่งของนั้น จึงได้มาเห็นหญิงแก่เข้าใจว่าเป็นยักษิณีตนหนี่ง สิ่งของของเราเกิดมีอมนุษย์หวงแหนเสียแล้ว จึงได้ไปนำหมอผีมาคนหนึ่ง ครั้นหมอผีเดินร่ายมนต์เข้าไปในถ้ำ หญิงแก่จึงกล่าวกะหมอผีนั้นว่า ฉันไม่ใช่ยักษิณีท่านจงมาเถิด เราทั้งสองจักบริโภคทรัพย์นี้ หมอผีพูดว่า เราจะเชื่อได้อย่างไร? หญิงแก่พูดว่า ท่านจงเอาลิ้นของท่านวางบนลิ้นของเรา หมอผีได้กระทำอย่างนั้น ทันใดนั้นหญิงแก่ได้กัดลิ้นของหมอผีขาดตกไป หมอผีมีโลหิตไหลจากลิ้นคิดว่า หญิงแก่นี้เป็นยักษิณีแน่จึงร้องวิ่งหนีไป
    ฝ่ายหญิงแก่นั้น ครั้นวันรุ่งขึ้น ก็นุ่งผ้าเนื้อเลี่ยนถือเอาสิ่งของคือรัตนะต่างๆ ไปเรือน ลำดับนั้น หญิงลูกสะใภ้เห็นดังนั้นจึงถามว่า แม่จ๋า แม่ได้สิ่งของนี้ที่ไหน? หญิงแก่ตอบว่า ลูก คนที่ถูกเผาบนเชิงตะกอนไม้ในป่าช้านั้น ย่อมได้ทรัพย์สิ่งของเห็นปานนี้
    หญิงลูกสะใภ้ถามว่า แม่จ๋า ถ้าเช่นนั้นอย่างฉันนี้อาจที่จะได้ไหม?
    หญิงแก่ตอบว่า ถ้าจักเป็นอย่างเราก็จักได้
    ครั้งนั้นด้วยความโลภในสิ่งของเครื่องประดับ นางได้บอกแก่สามีแล้วให้เผาตนในป่าช้านั้น. ครั้นในวันรุ่งขึ้นสามีไม่เห็นภรรยากลับมา จึงพูดกะมารดาว่า แม่ ก็แม่มาในเวลานี้ แต่ลูกสะใภ้ทำไมจึงไม่มา. หญิงแก่ได้ฟังดังนั้นจึงดุลูกชายว่า เฮ้ยไอ้คนเลว! ขึ้นชื่อว่าคนที่ตายแล้วจะมาได้อย่างไร แล้วกล่าวคาถาว่า :-

    เรานำหญิงใดผู้มีความโสมนัส ทัดระเบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลืองมา หญิงนั้นขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสมนสฺสํ คือ ยังความโสมนัสให้เกิดขึ้น อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า โสมนสฺสา ความว่า เป็นผู้ยินดีในความโสมนัส.

    ข้อนี้อธิบายว่า เราเข้าใจว่าบุตรของเราจักเจริญด้วยบุตรและธิดาทั้งหลาย เพราะอาศัยหญิงนี้ เรานำหญิงใด ผู้มีความโสมนัส ทัดระเบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลือง มาประดับตกแต่งให้เป็นสะใภ้ด้วยหวังว่าจักเลี้ยงดูเราในเวลาแก่ หญิงนั้นขับไล่เราออกจากเรือน ในวันนี้ ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้วดังนี้.

    :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

    37-พระรัฐบาลเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา

    :b53: ขอเชิญอ่านทั้งหมดได้ที่ http://www.84000.org/one/1/37.html

    ธรรมุทเทศ ๔ ประการนั้น คือ :-
    ๑. โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นผู้นำ นำเข้าไปใกล้ไม่ยั่งยืน
    ๒. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
    ๓. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
    ๔. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา

    :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร