วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2014, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มาของต้นหม่อนคือ เพื่อนของแฟน ไม่รู้เค้าคิดอย่างไง จู่ๆเค้ามีความรู้สึกว่า
เค้าอยากจะเจอเพื่อนเก่าของเค้า เค้าก็ไปหาที่บ้าน แล้วแฟนของเค้า บอกว่า
ตอนนี้เค้าทำสวนอยู่ที่.......

เพื่อนของแฟนก็ขับรถไป พอไปถึง เพื่อนแฟนก็แปลกใจ นี่คือต้นอะไรเค้าไม่เคยเห็น
เพื่อนเค้าที่ปลูกก็อธิบายให้ฟัง เพื่อนแฟนก็ถาม " ปลูกยากมั๊ย "
คนที่ปลูกก็บอก " ไม่ยากหรอก แค่ตัดกิ่งไปปักก็ขึ้นแล้ว "
เพื่อนแฟนก็บอก " ขอกิ่งหนึ่งซิ เอาไปให้เพื่อนปลูก "
เพื่อนของเค้าก็บอก " โอ๊ย ไม่ต้องตัดกิ่งไปหรอก ที่กระถาง4ต้นนั่นนะ ยกเอาไปให้เลย
เพื่อนแฟนก็ "ห๋า! จริงๆเหรอต้นใหญ่แล้วนะ "

เค้าบอกเค้ากลับมาถึงที่นี่ ตอนเกือบตี 5 เค้าก็เลยเอามาตั้งไว้ห้ที่หน้าบ้านเรา
วันนั้นเราก็เลยได้กินน้ำลูกหม่อนปั่น :b12: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณโสมเขียน

อ้างคำพูด:
คุยเรื่องความฝันกันค่ะ




แต่ก่อน เราเป็นคนที่ไม่เคยสนใจเรื่องความฝันเลยค่ะ แต่พอเริ่มสนใจศึกษาธรรมะ
เรามีความรู้สึกว่า จริงๆแล้วความฝันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไร้สาระเสมอไป
โดยเฉพาะก่อนนอน ถ้าจิตของเรานึกถึงแต่เรื่องที่เป็นธรรมะ

เราจะเล่าความฝันให้ฟังเรื่องหนึ่งค่ะ ตอนนั้นเราสนใจที่จะปลูกต้นหม่อนมากๆเลย
ไปหาซื้อตามร้านต้นไม้ หาอยู่นานเหมือนกัน ไม่มีร้านไหนขายเลย
เอารูปให้ดู พวกเค้าก็ไม่รู้ว่าต้นอะไร จนเราท้อไม่ไปหาซื้อแล้ว

พอตอนกลางคืนฝันเลย ฝันว่ามีผู้หญิง-ผู้ชายหลายคนนะ พวกเค้าแต่งตัว
เราบอกไม่ถูก ว่าเค้าแต่งแบบไหน มาชวนเราไปดูต้นหม่อน
บอกว่า "ป่ะจะพาไปดูต้นหม่อน" เราก็ตามไป เรามองว่าพวกเค้าเหมือนคนร่าเริง
พอไปถึงสวนเราเห็นต้นหม่อนเยอะมากๆเลย ต้นใหญ่ๆทั้งนั้นเลย
ลูกหม่อนเต็มต้นเลย เราก็เลยเด็ดลูกหม่อนมากินซิ รสชาติอย่างไง
พอเรากินเข้าไป เราก็คิด "อ๋อ!รสชาติอย่างนี้นี่เอง" ก็ตื่นขึ้นมา
ใจเราก้อนึกตำหนิตัวเอง ฟุ้งซ่านแต่เรื่องลูกหม่อน จนฝัน ไร้สาระ


พอเดินไปเปิดผ้าม่านที่ประตู มองไปที่หน้าบ้าน ก็เห็นต้นไม้ตั้งอยู่ข้างนอก4ต้น เราก็มอง
ใครเอาต้นไม้มาวางไว้ วางผิดบ้านหรือปล่าว เราก็มอง
" ห๋า!นั่นต้นหม่อนนี่นา มีลูกสีดำ-สีแดงทุกต้นเลย
แล้วสิ่งที่สำคัญคือ เป็นพันธ์ที่เราอยากจะได้ซะด้วย งงเลย!
เราไม่ได้ฝันอะไรที่เป็นเรื่งไร้สาระนี่นา ใจก็คิด
นี่เราไม่ได้ฝันนี่นา มันเป็นเรื่องความจริงนี่นา :b12:

ทีนี้ก็มาถึงเรื่อง ที่มาที่ไปของต้นหม่อนค่ะ ว่าทำไมต้นหม่อนทั้ง4ต้น
ถึงมาอยู่ที่หน้าบ้านเรา
:b41: :b55: :b49:


ทำไมต้นหม่อนทั้ง4ต้น ถึงมาอยู่ที่หน้าบ้านเรา
:b4: มีบุญที่จะได้ตามปราถนา ส่งผลเป็นวิปากที่ดีจัดสรรมาให้ค่ะ

ดิฉันว่าฝันแบบที่คุณเล่ามานี้ก็อัศจรรย์ดีนะคะ
เหมือนมีใครดลใจให้รู้ตรงพอดีกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 10:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเอกอน :b12:

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ปุคคลสูตร
บุคคล ๔ จำพวก
๑. เป็นผู้มืดมามืดไป
๒. เป็นผู้มืดมาแล้วกลับสว่างไป
๓. เป็นผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป
๔. เป็นผู้สว่างมาแล้วสว่างไป

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ โสมฯ เขียน

อ้างคำพูด:
ปุคคลสูตร
บุคคล ๔ จำพวก
๑. เป็นผู้มืดมามืดไป
๒. เป็นผู้มืดมาแล้วกลับสว่างไป
๓. เป็นผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป
๔. เป็นผู้สว่างมาแล้วสว่างไป



คุณโสมฯน่าจะลงความหมาย ของบุคคล4จำพวกด้วยนะค่ะ น่าสนใจค่ะ
เราหาดูแล้วค่ะน่าสนใจดีค่ะ :b8: :b41: :b55: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณ โสมฯ เขียน

อ้างคำพูด:
ปุคคลสูตร
บุคคล ๔ จำพวก
๑. เป็นผู้มืดมามืดไป
๒. เป็นผู้มืดมาแล้วกลับสว่างไป
๓. เป็นผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป
๔. เป็นผู้สว่างมาแล้วสว่างไป



คุณโสมฯน่าจะลงความหมาย ของบุคคล4จำพวกด้วยนะค่ะ น่าสนใจค่ะ
เราหาดูแล้วค่ะน่าสนใจดีค่ะ :b8: :b41: :b55: :b48:


:b1: ได้ค่ะคุณเต้ ขอบคุณค่ะ
:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท

:b8: ขอบคุณ กลุ่มไตรปิฎกสิกขา
http://www.dlitemag.com/index.php?optio ... 7&Itemid=1


[๓๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท้าวเธอผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งว่า
มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน?
บุคคล ๔ จำพวก คือ บุคคลผู้มืดมามืดไปจำพวก ๑ บุคคลผู้มืดมากลับสว่างไปจำพวก ๑
บุคคลผู้สว่างมากลับมืดไปจำพวก ๑ บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไปจำพวก ๑.


[๓๙๔] มหาบพิตร บุคคลผู้มืดมามืดไปเป็นอย่างไร?
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำ คือตระกูลจัณฑาล
ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ ซึ่งขัดสน
มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง เป็นตระกูลที่หาอาหารและผ้านุ่งห่มได้โดยยาก
และเขาเป็นคนมีผิวพรรณทรามไม่น่าดูไม่น่าชม เป็นคนเล็กแคระ มีความเจ็บป่วยมาก
เป็นคนเสียจักษุ เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอกหรือเป็นคนเปลี้ย๑
ไม่ค่อยได้ซึ่งข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
และเครื่องประทีป เขายังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษไปจากความมืดมิดสู่ความมืดมิด
หรือไปจากความมืดมัวสู่ความมืดมัว หรือไปจากสายเลือดชั่วสู่สายเลือดชั่ว ฉันใด
มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น
มหาบพิตร บุคคลผู้มืดมามืดไปอย่างนี้แล.


[๓๙๕] มหาบพิตร บุคคลผู้มืดมากลับสว่างไปเป็นอย่างไร?
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำ คือตระกูลจัณฑาล
ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ ซึ่งขัดสน
มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง เป็นตระกูลที่หาอาหารและผ้านุ่งห่มได้โดยยาก
และเขาเป็นคนมีผิวพรรณทรามไม่น่าดูไม่น่าชม เป็นคนเล็กแคระ มีความเจ็บป่วยมาก
เป็นคนเสียจักษุ เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอกหรือเป็นคนเปลี้ย
ไม่ค่อยได้ซึ่งข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
และเครื่องประทีป แต่เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
ครั้นเขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ ขึ้นจากแผ่นดินสู่เตียง หรือขึ้นจากเตียงสู่หลังม้า
หรือขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด
มหาบพิตร ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น
มหาบพิตร บุคคลผู้มืดมากลับสว่างไปเป็นอย่างนี้แล.


[๓๙๖] มหาบพิตร บุคคลผู้สว่างมากลับมืดไปเป็นอย่างไร?
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาภายหลังในตระกูลสูง คือตระกูลขัตติยมหาศาล
ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคฤหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีของใช้น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย
และเขาเป็นคนมีรูปงาม น่าดู น่าชม มีความงามแห่งผิวเป็นเยี่ยม
มักหาได้สะดวกซึ่งข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
และเครื่องประทีป แต่เขากลับประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
ครั้นเขาพระพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า
หรือลงจากหลังม้าสู่เตียง หรือลงจากเตียงสู่พื้นดิน หรือจากพื้นดินเข้าไปสู่ที่มืด แม้ฉันใด
มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น
มหาบพิตร บุคคลผู้สว่างมากลับมืดไปเป็นอย่างนี้แล.


[๓๙๗] มหาบพิตร บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไปเป็นอย่างไร?
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาภายหลังในตระกูลสูง คือตระกูลขัตติยมหาศาล
ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคฤหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีของใช้น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย
และเขาเป็นคนมีรูปงาม น่าดู น่าชม มีความงามแห่งผิวเป็นเยี่ยม
มักหาได้สะดวกซึ่งข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
และเครื่องประทีป และเขายังประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
ครั้นเขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษก้าวไปด้วยดีจากเตียงสู่เตียง
หรือก้าวไปด้วยดีจากหลังม้าสู่หลังม้า หรือก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง
หรือก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่ปราสาท แม้ฉันใด
มหาบพิตร ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น
มหาบพิตร บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไปเป็นอย่างนี้แล
มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.


[๓๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์นี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า

มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจ ไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ด่าบริภาษสมณะหรือพราหมณ์หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้ามคนที่ให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย นี้ชื่อว่าผู้มืดมามืดไป.

มหาบพิตร บุรุษบางคนเข็ญใจ แต่มีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ เขามีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับสมณะหรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่ให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน นี้ชื่อว่าผู้มืดมากลับสว่างไป.

มหาบพิตร บุรุษมั่งมี แต่ไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ด่าบริภาษสมณะหรือพราหมณ์หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้ามคนที่ให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย นี้ชื่อว่าผู้สว่างมากลับมืดไป.

มหาบพิตร บุรุษมั่งมี ทั้งมีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับสมณะหรือพราหมณ์หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่ให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน นี้ชื่อว่าผู้สว่างมาแล้วสว่างไป.

ปุคคลสูตร จบ

(หมายเหตุ ๑. คนกระจอก คือคนเดินขาเขยก ๆ. คนเปลี้ย คือคนเป็นอัมพาต ตายแถบหนึ่ง.)

(ปุคคลสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๔)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2014, 20:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
วันนั้นเราก็เลยได้กินน้ำลูกหม่อนปั่น :b12: :b41: :b55: :b49:


ต้องลูกสีดำ ๆ :b17: :b17: :b17:
กินสด ๆ จั๊บ จั๊บ ... :b4:

ช่วงนี้หม่อนกะลังออกลูกอย่างดี
วันก่อนเพื่อนที่ทำงานก็หิ้วมาฝาก
เอกอนว่าจะขอกิ่งมาปลูกเองแล้วล่ะ....อิอิ อร่อย

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
bbby เขียน:
วันนั้นเราก็เลยได้กินน้ำลูกหม่อนปั่น :b12: :b41: :b55: :b49:


ต้องลูกสีดำ ๆ :b17: :b17: :b17:
กินสด ๆ จั๊บ จั๊บ ... :b4:

ช่วงนี้หม่อนกะลังออกลูกอย่างดี
วันก่อนเพื่อนที่ทำงานก็หิ้วมาฝาก
เอกอนว่าจะขอกิ่งมาปลูกเองแล้วล่ะ....อิอิ อร่อย

:b17: :b17: :b17:


tongue ดิฉันเคยฟังพระอาจารย์ท่านเทศน์ไว้ว่า
การที่เราปรารถนาสิ่งใดแล้วได้สิ่งนั้นดั่งใจปรารถนา เกิดจากอานิสงส์ของเจตนาในการให้ทานในอดีตค่ะ
ที่เป็นกาลทาน ในปัจจุบันนี้เราจะปรารถนาสิ่งใด เราก็จะได้สิ่งนั้นค่ะ เพราะเราสร้างเหตุที่ดีไว้ในอดีตค่ะ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อรับผลแล้วก็ต้องสร้างเหตุไว้อีกด้วยค่ะ

ทุกวันนี้หากปรารถนาอะไรแล้วไม่ได้ อิๆ สะท้อนให้รู้แล้วว่าอดีตไม่ได้ให้ทานแบบกาลทานไว้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

๖. กาลทานสูตร

[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ

ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑
ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑
ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑
ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่
ย่อมให้ทาน ในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาล
ในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส
ทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา
หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี
ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น
แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ

จบสูตรที่ ๖


ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/84000/tipi ... m8292.html
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ไปอ่านเรื่องราวกระทู้คุณดอกจำปีมา :b16: :b16:

พี่เต้ คุณโสม หาเรื่องแบบนั้นมาเล่ามั่งจิ เยอะ ๆ
เอกอนว่าพี่เต้ กะคุณโสม และฮาน่าจัง ต้องมีเรื่องแบบนี้เยอะเรยล่ะ :b17:

คือแบบว่าช่วงนี้เอกอนงานยุ่งน่ะ
การได้เข้ามาแล้วติดตามอ่านเรื่องราวเบา ๆ
ทำให้เอกอนได้เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย

จะเอาเรื่องแบบลูกหม่อนอีกน่ะ

แบบว่าหลังเลิกงานช่วงนี้
เอกอนกำลังประสาทกลับไปเป็นเด็กสี่ขวบ
ที่ชอบฟังนิทนาที่แฝงธรรมะ...น่ะ

แบบว่า มันอ่านแล้วเพลิน
เป็นอาหารที่ย่อยง่ายสำหรับเด็กหญิงเอกอน
ก่อนเข้านอนนน...

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2014, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
วันนี้ไปอ่านเรื่องราวกระทู้คุณดอกจำปีมา :b16: :b16:

พี่เต้ คุณโสม หาเรื่องแบบนั้นมาเล่ามั่งจิ เยอะ ๆ
เอกอนว่าพี่เต้ กะคุณโสม และฮาน่าจัง ต้องมีเรื่องแบบนี้เยอะเรยล่ะ :b17:

คือแบบว่าช่วงนี้เอกอนงานยุ่งน่ะ
การได้เข้ามาแล้วติดตามอ่านเรื่องราวเบา ๆ
ทำให้เอกอนได้เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย

จะเอาเรื่องแบบลูกหม่อนอีกน่ะ

แบบว่าหลังเลิกงานช่วงนี้
เอกอนกำลังประสาทกลับไปเป็นเด็กสี่ขวบ
ที่ชอบฟังนิทนาที่แฝงธรรมะ...น่ะ

แบบว่า มันอ่านแล้วเพลิน
เป็นอาหารที่ย่อยง่ายสำหรับเด็กหญิงเอกอน
ก่อนเข้านอนนน...

:b20: :b20: :b20:


:b19: ขอติดไว้ก่อนล่ะกันค่ะคุณเอกอน
เอาไว้จะหาเรื่องหนุกๆ มาให้อ่านค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2014, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:
รูปภาพ

อดีตนิทาน


ในกาลล่วงมาแต่หนหลัง พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพ่อค้าในกรุงพาราณสีแคว้นกาสิกะเที่ยวประกอบพาณิชกรรมไปในต่างเมือง มีบริวารอันเป็นพลเมืองแคว้นเดียวกัน หนทางที่จะไปนั้นก็ไม่ได้แน่นอน บางทีบางสัญจรก็ราบรื่น ดินฟ้าอากาศก็ชุ่มชื่นไม่เดือดร้อน บางแห่งทางสัญจรเป็นทะเลทราย ความสบายก็ไม่ค่อยมี แต่แม้ถึงอย่างนั้นก็ไม่ละความเพียร เพราะได้เล่าเรียนมาเฉพาะวิชาว่าด้วยการค้าขาย ทั้งไม่ใจร้ายยังโอบอ้อมโอภาด้วยอัธยาศัย การค้าขายก็ดีมีกำไร ประชาชนทั่วไปพากันสรรเสริญเจริญพร โดยเฉพาะทางสัญจรของโคและเกวียนในทะเลทรายที่จะผ่านไปนั้น มีระยะทางยาวถึงสองหมื่นสี่พันเส้น ทรายในที่นั้นก็ละเอียนร่วนยิบแม้แต่จะกอบกำขึ้นมาก็ไม่ติดมือ ในเวลากลางวันเล่าก็ร้อนโชนเหมือนกับถ่านเพลิง ผู้เป็นพ่อค้าจะผ่านไปในทางนั้นจะต้องตระเตรียมเสบียงอาหาร น้ำใช้ น้ำรับประทานไปให้พร้อม การเดินทางก็เดินได้เฉพาะเวลาที่พระอาทิตย์ตกดินล่วงไปแล้วจนสว่าง พอรุ่งอรุณก็ต้องจอดเกวียนเข้าไว้เป็นวงทำปะรำข้างบน นั่งพักบริโภคอาหารและพักผ่อนอยู่ตั้งแต่เช้าจนตลอดวัน เมื่อค่ำลงแผ่นทรายหายร้อนแล้ว ก็เทียมเกวียนออกเดินทางกันต่อไป วันใหม่ก็ทำอย่างนั้นอีก จนกว่าจะข้ามทุ่งทะเลทรายนั้นพ้นไป

ขุดบ่อกลางทะเลทรายไม่ละความเพียร

ในการเดินทางนั้นก็ต้องมี "ต้นหน" หมายถึงผู้ชำนาญประจำหมู่เกวียน กำหนดดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นเข็มทิศ เป็นเครื่องหมายในการเดินทาง หมู่เกวียนของพระโพธิสัตว์ก็จัดต้นหนคนนำทางไปกับเกวียนเล่มเบื้องหน้า ส่วนพระองค์และบริวารอยู่เล่มหลังๆ เพื่อคอยระแวดระวังในอันตรายเมื่อได้เดินผ่านทุ่งทรายมาหลายวัน เห็นสำคัญว่าหนทางที่เคยเดินมาแล้วในครั้งก่อน จะแรมรอนไปข้างหน้าก็เพียงอีกราตรีเดียว ก็จะผ่านพ้นทะเลทรายอันร้อนระอุนั้นไป เมื่อบริโภคข้าวปลาอาหารอิ่มหนำสำราญแล้ว พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพ่อค้าใหญ่ก็ได้สั่งให้ออกเดินทางต่อไป เพี่อรีบรุดไปให้ถึงจุดหมาย เพราะเสบียงอาหารและน้ำใช้ที่ได้ตระเตรียมมาจวนจะหมด ถ้าไม่รีบก็จะพากันอดอยาก จะเกิดความลำบากไปทุกคนและสัตว์ถึงความวิบัติเป็นภัยใหญ่ การเดินทางล่วงราตรีไปไม่นาน ต้นหนผู้ชำนาญเกิดตายใจว่าหนทางอีกไม่ไกลก็ข้ามพ้น ทั้งตนและบริวารก็อดนอนมาหลายราตรีให้รู้สึกอ่อนเพลียละเหี่ยใจ จึงได้นั่งหลับสัปปะหงกไปในเกวียนเล่มหน้า พร้อมทั้งบอกให้คนขับเลี้ยวซ้ายขวาไปตามทิศทางของดาว ไม่ช้านานก็หลับสนิท เกวียนโคที่ตามเบื้องหลังก็ถือนิมิตในเกวียนเล่มหน้า ครั้นเดินไปๆ เกวียนเล่มหน้าถูกโคพาวกวนมาทางเก่า ที่เดินมาแล้วจนตลอดราตรี เมื่อเขารู้สึกตัวตื่นขึ้นก็พอดีได้อรุณรุ่งสาง มองดูหนทางก็ทราบชัดว่าตรงนี้เราได้จัดเป็นที่พักเมื่อวันวาน โคพาเกวียนมาเนิ่นนานตลอดราตรี หาทางที่ยังมีก็อีกไกล อีกน้ำท่าฟืนไฟก็เหลือน้อย ชรอยว่าเราจะต้องอดตายกันในคราวนี้เอง ต่างก็พากันทอดอาลัยตายอยากไปตามๆ กัน

พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์อย่างนั้นจึงคิดว่า ถ้าเรานิ่งเฉยเสีย ผู้คนและโคเกวียนก็จะพากันพินาศหมด แล้วพระองค์จึงได้ออกเดินตรวจดูไปรอบๆ บริเวณที่เป็นทะเลทราย ได้เห็นกอหญ้าคากอใหญ่ขึ้นเขียวขจี จึงดำริว่า
ชรอยในที่นี้จะมีน้ำอยู่ข้างล่าง จึงเรียกเอาบริวารผู้หนึ่งมาแล้ว ก็ชี้ให้ลงมือขุดลงไปตรงกอหญ้าคานั้น คนทั้งหลายก็ช่วยกันเป็นอันดี ขุดพื้นที่เป็นบ่อลงไปประมาณ ๖๐ ศอก จอบและเสียมก็ไปกระทบเข้ากับแผ่นศิลา พากันท้อถอยเพราะเหงื่อไหลไคลย้อยอยู่ท่วมตัว บ้างก็กลัวต่อความร้อน บ้างก็เหนื่อยอ่อนกำลัง พากันยับยั้งไม่กระทำ พระโพธิสัตว์ผู้นำจึงได้รู้ พระองค์จึงได้ลงไปดู น้อมกายลงเอาหูแนบสนิทกับแผ่นศิลาที่กั้นปิดปกป้องอยู่ ก็ได้รู้ว่าภายใต้แผ่นศิลานั้นมีสายน้ำ จึงได้สั่งกำชับคนใช้ที่สนิทว่า ถ้าเจ้าไม่คิดทำความเพียร คนทั้งหลายก็จะพากันตายสิ้น ขอให้เจ้าจงอุสาหะถือเอาค้อนเหล็กลงไปต่อยศิลานั้นให้แตก คนสนิทผู้นั้นก็ได้กระทำตาม พอศิลาที่ปิดกั้นแผ่นนั้นแตก สายน้ำก็ท่วมขึ้นมา ชนทั้งหลายได้พากันดื่มและอาบกิน โคเกวียนก็ไม่สิ้นไม่วิบัติพอพระอาทิตย์อัสดงคต ก็กำหนดเป็นอันดีเดินทางต่อไปก็ลุถึงฐานของตน ประชาชนเหล่านั้นพากันเคารพคารวะในความฉลาดของพระโพธิสัตว์ และชื่นชมโสมนัสในความเพียรของบุคคลที่พยายามขุดบ่อกลางทะเลทรายนั้นอยู่ทั่วไป

ขุดทองแห่งธรรม

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอดีตนิทานจบลงอย่างนี้แล้ว ด้วยพุทธประสงค์เพื่อคุณอันประเสริฐแดสาธุชน พระองค์จึงได้สืบอนุสนธิธรรมภาษิตโดยพระคาถาว่า

อกิลาสุโน วณฺณุปเถ ขณนฺตา
อุทงฺคเณ ตตฺถ ปปํ อวินฺทํ
เอวํ มุนิ วิริยพลูปปนฺโน
อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ ฯ

ความว่า ชนทั้งหลายมีความขวนขวายไม่เกียจคร้าน
เพียรขุดหาน้ำในหนทางที่เป็นทะเลทราย
ก็ได้พบน้ำในที่ดอนนั้นสมตามความต้องการ
พระมุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลังแรงกายใจ
ไม่เกียจคร้าน ก็จะพึงบรรลุธรรมเป็นที่สงบแห่งจิต ฉันใดก็ฉันนั้น

จากเรื่องและภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานโอวาทแก่ภิกษุ
นั้นในที่นี้เพื่อจะให้เห็นเด่นชัดก็ต้องอาศัยอุปมาดั่งว่า

พ่อค้าหรือโพธิสัตว์สัตถวาหะดุจสมเด็จพระบรมศาสดา เพราะประกอบไปด้วยพระปัญญาอันบริสุทธิ์
กอหญ้าคาดุจข้อวัตรปฏิบัติ ที่ทรงตั้งเป็นระเบียบไว้ให้ปฏิบัติ
บุรุษที่เป็นคนใช้คนสนิทเพียรขุดหาน้ำกลางทะเลทรายดุจพุทธบริษัท
ศิลาที่กั้นน้ำดุจอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่าง สายน้ำดุจรสแห่งพระธรรมคำสอน

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมที่ลึกลับ ทรงตั้งข้อปฏิบัติสำหรับผู้มุ่งธรรม ทรงแนะนำให้ปฏิบัติตามประดุจพ่อค้าผู้มีปรีชา เห็นกอหญ้าคาก็รู้ได้ว่าน้ำมีอยู่ใต้นั้น ข้อปฏิบัติมีรสคือวิมุติซึมซาบอยู่ จึงตั้งดำรงคงที่ไม่แปรผัน ดุจกอหญ้าอาศัยความชื้นแห่งน้ำจึงงอกงามอยู่ได้ไม่เหี่ยวแห้งอันตรธาน พุทธบริษัทเชื่อต่อสมเด็จพระบรมศาสดา ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงตั้งเป็นระเบียบไว้ดุจบุรุษที่รับใช้เชื่อต่อนาย ให้พยายามขุดจนพบน้ำได้สมประสงค์ เหมือนกับปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องพบกับความขัดข้อง แต่ไม่ท้อถอยบากบั่นอยู่เป็นนิจจนสำเร็จที่ปรารถนา ก็เพราะเชื่อต่อพระศาสดา ดุจบุรุษรับใช้ขุดศิลาที่เป็นอุปสรรค อาศัยเชื่อต่อปัญญาผู้เป็นนายไม่ถึงซึ่งความหายนะ ได้ดื่มน้ำทำตนและ พวกพ้องให้รอดพ้นจากอันตราย

ฉะนั้น ปัญญาแลความเพียรในการคิดจะทำจิตให้เที่ยงธรรม บรรลุผลเช่นนั้นได้ก็ต้องอาศัยมีสติกำกับอยู่ด้วย ถ้าไม่เช่นนั้นความรู้และความคิดจะดำเนินไปในทางที่ผิดจิตมักฟุ้งซ่าน มัวแต่ทะยานในอารมณ์ที่ตนรักบ้าง ขัดเคืองบ้าง เกิดความเลินเล่อพลั้งเผลอ กลายเป็นความประมาทมัวเมาบ้าง เมื่อเป็นดังนี้ก็จะมีใจรวนเรไม่บรรลุผลสมตามความมุ่งหมาย แม้จะล่วงไปได้ก็ไม่ตลอด ไม่ได้รับความปลอดภัยจากกิเลส องค์สมเด็จพระโลกเชษฐ์สัมมาสัมพุทธะ ตรัสสำทับว่าการไม่ทำตนให้บรรลุความสวัสดี จะทำให้กายวจีถึงความวิบัติ จะทุกข์โทมนัสไม่บางเบาเลย

พระองค์ทรงตรัสต่อไปอีกว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลังไม่เกียจคร้าน ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นที่สงบแห่งจิตเหมือนเหล่าพาณิชไม่เกียจคร้าน ขุดหาน้ำในกลางทะเลทรายพบน้ำได้ฉันใด บุคคลผู้เป็นบัณฑิตในศาสนานี้ไม่เกียจคร้านบำเพ็ญเพียรอยู่ ก็ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นที่สงบแห่งหทัย อันต่างประเภทกัน มีฌาน เป็นต้น เมื่อตรัสจบลงอย่างนี้ องค์พระมุนีจึงมุ่งเฉพาะภิกษุรูปนั้นแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เมื่อก่อนเพียงต้องการน้ำเท่านั้นท่านยังทำความเพียรและตั้งใจขุด เหตุไฉนในบัดนี้ท่านจึงสิ้นอุตสาหะละความขวนขวาย เพื่อให้ได้บรรลุมรรคผลในศาสนาที่เป็นนิยานิกธรรมเห็นปานนี้เล่า

พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว ทรงประกาศ อริยสัจจ์ ๔ ประการ ประทานเหล่าภิกษุ ก็ได้บรรลุอรหัตผล ทรงเทียบเคียงบุคคลเป็นอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า คนใช้ที่สนิทเพียรขุดบ่อกลางทะเลทรายได้น้ำครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้สละความเพียรรูปนี้ บริวารที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัทในกาลนี้ ส่วนพ่อค้าหรือนายสัตถวาหะผู้เป็นใหญ่ในหมู่เกวียน ได้มาเป็นเราตถาคต พระองค์จึงมีพุทธพจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ควรแก่การสักการะบูชา ในพระปัญญาอันประเสริฐ ก็จะเกิดประโยชน์โสตถิผล แด่ท่านสาธุชนโดยทั่วไป

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

จากเรื่องนี้ได้แนวคิดว่า

๑. ในการศึกษาก็ดี ในการอาชีพก็ดี ย่อมมีผิดมีพลาดด้วยกันทุกคน แต่ในท่ามกลางความผิดพลาดนั้น ท่านสอนไว้ว่ามิให้ละทิ้งความเพียร กล่าวคือ เพียรแก้ความผิดพลาดตามที่นักปราชญ์เห็นว่าดี

๒. ในทุกๆ ชีวิต ย่อมมีความยากลำบากขัดข้องเป็นอุปสรรคขวางหน้าอยู่ เมื่อเกิดความท้อถอยละทิ้งความเพียรเสียแล้ว ถ้าเป็นนักศึกษาก็เรียนไม่สำเร็จ เป็นผู้ประกอบอาชีพก็ท้อถอยเสียกลางคัน ดังนั้นจึงต้องมุ่งหมายให้มีความขยันหมั่นเพียรมุ่งก้าวหน้า ตั้งใจให้เสร็จภาระกิจ พึ่งเห็นตามตัวอย่างในเรื่องนี้ และมีคติไว้สอนใจเสมอๆ ว่า เมื่อพบอุปสรรคก็ให้นึกอยู่เสมอว่า ความสำเร็จมาคอยอยู่เบื้องหน้าแล้ว

๓. ที่ท่านกล่าวว่า "มุนีผู้ไม่เกียจคร้านประกอบด้วยความเพียร พึงได้บรรลุธรรมเป็นที่สงบแห่งหทัย" นั้นเป็นคำสอนที่หมายถึงว่า ความสงบใจหาได้ด้วยความไม่เกียจคร้าน ความสงบใจมิใช่จะได้มาด้วยการไม่ทำอะไร นั่งนอนอยู่เฉยๆ ยิ่งเฉยๆ มาก ไม่ทำอะไรมากๆ ก็ยิ่งฟุ้งซ่าน บางคนมานั่งเปิดอ่านอัลบั้มชีวิตในหนหลัง ก็ย่อมจะประดังให้ใจรวนเร ท่านอย่าพึงบอกกับใครๆ เลยว่าท่านเอามือปิดหู หรือนั่งหลับตา แล้วท่านเป็นผู้สงบ ในเมื่อใจยังพล่านไปไม่รู้จักหยุดหย่อน

ขอความสวัสดีจงมีโดยทั่วกัน

:b8: :b8: :b8:
จาก...หนังสือ อภินิหาร-วิญญาณพเนจร
ทัศนาจรชาดก-ยกเขาพระสุเมรุ
พระครูประกาศสมาธิคุณ
ภัททสารี ภิกขุ-ปริชาโน ภิกขุ
อธิปปัตโต ภิกขุ
(หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๑๐)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2014, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

เรื่องเล่านี้ เป็นเรื่องเล่าที่ดีมาก

ผู้เพียรขุดบ่อน้ำกลางทะเลทราย

:b48: :b54: :b54: :b54: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2014, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =27&i=1014
อรรถกถา เสนกชาดก
ว่าด้วย ผู้มีปัญญาช่วยคนอื่นได้


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระปัญญาบารมีของพระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ่มแจ้งใน อุมมังคชาดก.


ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ชนก ครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์. เหล่าญาติได้ขนานนามท่านว่า เสนกะ. ท่านเติบโต แล้วเรียนศิลปะทุกอย่างที่เมืองตักกสิลา แล้วกลับมาเฝ้าพระราชาที่นครพาราณสี. พระราชาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งอำมาตย์ และทรงเพิ่มยศยิ่งใหญ่ให้ท่าน. ท่านได้ถวายอรรถธรรมแก่พระราชาเนืองๆ. ท่านเป็นผู้สอนธรรมที่มีถ้อยคำไพเราะ ให้พระราชาทรงดำรงอยู่ในเบญจศีล แล้วให้ทรงดำรงอยู่ในปฏิปทาที่ดีงามนี้ คือในทาน ในอุโบสถกรรมและในกุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อ.

สมัยนั้น ได้เป็นเสมือนเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในสากลรัฐ. พระมหาสัตว์ไปที่ท่ามกลางแท่นที่อบอวลไปด้วยของหอม ในธรรมสภาที่เขาเตรียมไว้แล้ว ก็แสดงธรรมด้วยพุทธลีลา. ธรรมกถาของท่านเป็นเช่นกับธรรมกถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ปานกัน.

ลำดับนั้น พราหมณ์ชราคนหนึ่งเที่ยวหาขอเงินได้เงินพันกหาปณะ เก็บฝากไว้ที่ตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง แล้วคิดว่า เราจะเที่ยวขออีก ดังนี้ แล้วก็ไป. ในเวลาพราหมณ์นั้นไปแล้วตระกูลนั้นใช้กหาปณะหมด. พราหมณ์นั้นกลับมา แล้วขอกหาปณะคืน. พราหมณ์ไม่อาจจะให้กหาปณะคืนได้ จึงได้ให้ธิดาของตนให้เป็นนางบำเรอบาท คือเมียของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์พานางไปอยู่กินกันที่หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลจากนครพาราณสี.

คราที่นั้น ภรรยาของเขาผู้ไม่อิ่มในกาม เพราะยังสาว จึงประพฤติมิจฉาจาร คือเป็นชู้กับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าของที่ไม่รู้จักอิ่มมี ๑๖ อย่างคือ:-
๑. มหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้ำที่ไหลมาทุกทิศทุกทาง
๒. ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ
๓. พระราชาไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติ.
๔. คนพาลไม่อิ่มด้วยบาป.
๕. หญิงไม่อิ่มด้วยของ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
เมถุนธรรม ๑
เครื่องประดับ ๑
การคลอดบุตร ๑.
๖. พราหมณ์ไม่อิ่มด้วยมนต์.
๗. ผู้ได้ฌานไม่อิ่มด้วยวิหารสมาบัติ คือการเข้าฌาน.
๘. พระเสขบุคคลไม่อิ่มด้วยการหมดเปลืองในการให้ทาน.
๙. ผู้มักน้อยไม่อิ่มด้วยธุดงค์คุณ.
๑๐. ผู้เริ่มความเพียรแล้วไม่อิ่มด้วยการปรารภความเพียร.
๑๑. ผู้แสดงธรรม คือนักเทศน์ไม่อิ่มด้วยการสนทนาธรรม.
๑๒. ผู้กล้าหาญไม่อิ่มด้วยบริษัท.
๑๓. ผู้มีศรัทธาไม่อิ่มด้วยการอุปัฏฐากพระสงฆ์.
๑๔. ทายกไม่อิ่มด้วยการบริจาค.
๑๕. บัณฑิตไม่อิ่มด้วยการฟังธรรม.
๑๖. บริษัท ๔ ไม่อิ่มในการเฝ้าพระพุทธเจ้า.

ถึงนางพราหมณีนั้นก็ไม่อิ่มด้วยเมถุนธรรม ต้องการจะสลัดพราหมณ์นั้นให้ออกไป แล้วทำบาปกรรม วันหนึ่ง นอนกลุ้มใจอยู่ เมื่อพราหมณ์ถามว่า แม่มหาจำเริญ มีเรื่องอะไรหรือ? จึงพูดว่า พราหมณ์เจ้าขา ฉันไม่อาจจะทำงานในบ้านของท่าน คือทำไม่ไหว ขอท่านจงไปนำเอาทาสหญิง ทาสชายมา.

พราหมณ์ แม่มหาจำเริญ ทรัพย์ของเราไม่มี ฉันจะให้อะไรเขา แล้วจึงจะนำทาสหญิงทาสชายมาได้.
พราหมณี เที่ยวขอเสาะหาทรัพย์ แล้วนำมาสิ.
พราหมณ์ แม่มหาจำเริญ ถ้าอย่างนั้น เธอจงเตรียมเสบียงให้ฉัน.
นางจึงเตรียมข้าวตูก้อนข้าวตูผง บรรจุเต็มไถ้หนังแล้ว ได้มอบให้พราหมณ์ไป.

ฝ่ายพราหมณ์ เมื่อเที่ยวไปในหมู่บ้านนิคมและราชธานีทั้งหลาย ได้เงิน ๗๐๐ กหาปณะ เห็นว่าพอแล้ว เงินเท่านี้สำหรับเราเพื่อเป็นค่าทาสชายและทาสหญิง แล้วก็กลับมาบ้านของตน มาถึงที่แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่มีน้ำสะดวกสบาย จึงแก้ไถ้ออกกินข้าวตู แล้วไม่ได้ผูกปากไถ้เลย ลงไปดื่มน้ำ. งูเห่าหม้อตัวหนึ่งได้กลิ่นข้าวตู จึงเลื้อยเข้าขดตัวนอนกินข้าวตูอยู่ พราหมณ์มาแล้วไม่ได้มองดูภายในไถ้ ผูกไถ้แล้วแบกขึ้นบ่าไป.

เทวดาผู้เกิดบนต้นไม้ต้นหนึ่งในระหว่างทางยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ พูดว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านพักระหว่างทาง ท่านจักตายเอง แต่ถ้าวันนี้ ท่านไปถึงบ้าน ภรรยาของท่านจักตาย แล้วก็หายไป. เขามองดูอยู่ไม่เห็นเทวดา กลัวถูกภัยคือความตายคุกคาม จึงร้องไห้คร่ำครวญไปถึงประตูพระนครพาราณสี.

ก็วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่พระโพธิสัตว์นั่งแสดงธรรมบนธรรมาสน์ที่เขาตกแต่งแล้ว มหาชนพากันถือของหอมและดอกไม้เดินไปฟังธรรมกถากันเป็นพวกๆ. พราหมณ์เห็นเขา จึงถามว่า ท่านทั้งหลายไปไหนกัน พ่อคุณ? เมื่อเขาบอกว่า ดูก่อนพราหมณ์ วันนี้เสนกบัณฑิตจะแสดงธรรมด้วยเสียงไพเราะตามพุทธลีลา ท่านไม่รู้หรือ? จึงคิดว่า ได้ทราบว่า ท่านผู้แสดงธรรม ธรรมกถึกเป็นบัณฑิต ส่วนเราถูกมรณภัยคุกคาม ก็แหละผู้เป็นบัณฑิตอาจจะบรรเทาความโศกตั้งมากมายได้. แม้เราก็ควรไปฟังธรรม ณ ที่นั้น.

เขาจึงไปที่นั้นกับมหาชนนั้น กลัวความตาย ได้ยืนร้องไห้อยู่ท้ายบริษัทที่มีพระราชา นั่งห้อมล้อมพระมหาสัตว์อยู่แล้วไม่ไกลจากธรรมาสน์ ทั้งๆ ที่ไถ้ข้าวตูยังพาดอยู่ที่ต้นคอ.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมเหมือนกับให้ข้ามอากาศคงคาและเหมือนกับหลั่งฝนอมฤตลง. มหาชนเกิดความโสมนัสให้สาธุการได้ฟังธรรมกันแล้ว.

ก็ธรรมดาบัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้มองดูทิศทาง ในขณะนั้น พระมหาสัตว์ลืมตาที่มีประสาท ๕ ผ่องใสขึ้นดูบริษัทโดยรอบ เห็นพราหมณ์นั้น จึงคิดว่า บริษัทจำนวนเท่านี้ เกิดความโสมนัสให้สาธุการฟังธรรมกัน แต่พราหมณ์คนนี้คนเดียวถึงความโทมนัสร้องไห้ พราหมณ์นั้นต้องมีความเศร้าโศกอยู่ในภายในที่สามารถให้น้ำตาเกิดขึ้นแน่ๆ เราจักพลิกใจพราหมณ์ผู้มืดมน แสดงธรรมให้เขาไม่มีความโศกให้พอใจในเรื่องนี้ทีเดียว เหมือนสนิมทองแดงหลุดออกไปเพราะขัดด้วยของเปรี้ยว และเหมือนหยดน้ำกลิ้งออกไปจากใบบัวฉะนั้น.

ท่านได้เรียกพราหมณ์นั้นมาหา เมื่อเจรจากับพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราชื่อว่าเสนกบัณฑิต เราจักทำให้ท่านไม่มีความเศร้าโศก ขอท่านจงวางใจ แล้วบอกมาเถิด.

จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
ท่านหัวเสีย มีอินทรีย์ คือนัยน์ตาโรยแล้ว น้ำตาไหลจากตาของท่านทั้ง ๒ ข้าง. ท่านสูญเสียอะไรไป ก็ท่านต้องการอะไร จึงมาที่นี้ เชิญเถิด เชิญบอกให้เราทราบเถิด


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุปิตินฺทฺริโยสิ ความว่า พระมหาสัตว์พูดว่า ท่านมีอินทรีย์โรยแล้ว หมายถึงจักขุนทรีย์นั่นเอง ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายตักเตือน.

จริงอยู่ พระมหาสัตว์ เมื่อจะตักเตือนพราหมณ์นั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเศร้าโศกคร่ำครวญกัน เพราะเหตุ ๒ ประการ คือเมื่อสูญเสียญาติที่รักบางคน ในบรรดาสัตว์และสังขารทั้งหลายนั่นเอง หรือปรารถนาญาติที่รักบางคนนั่นเอง แต่ไม่ได้ดังต้องการ ในจำนวน ๒ อย่างนั้น ท่านสูญเสียอิฏฐผลข้อไหน ก็ท่านปรารถนาอะไร จึงมาที่นี้? ขอจงบอกเรื่องนี้แก่เราโดยเร็วเถิด.


ลำดับนั้น พราหมณ์ เมื่อจะบอกเหตุแห่งความโศกของตนแก่พระมหาสัตว์
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ยักษ์รุกขเทวดาบอกว่า วันนี้ เมื่อข้าพเจ้าไปถึงบ้านเมียของข้าพเจ้าจะตาย แต่ถ้าข้าพเจ้าไปไม่ถึงก็จะมีความตายเอง ข้าพเจ้าหวาดหวั่นเพราะทุกข์นั้น ข้าแต่ท่านเสนกะ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วชโต ความว่า ไปถึงเรือน.
บทว่า อคจฺฉโต ความว่า เมื่อไปไม่ถึง.
บทว่า ยกฺโข ความว่า พราหมณ์กล่าวว่า รุกขเทวดาตนหนึ่งในระหว่างทางกล่าวอย่างนี้. ได้ทราบว่า เทวดานั้นควรจะบอกว่า พราหมณ์ในไถ้ของท่านมีงูเห่าหม้อ แต่ไม่บอก เพื่อจะประกาศอานุภาพญาณของพระโพธิสัตว์.
บทว่า เอเตน ทุกฺเขน ความว่า ข้าพเจ้าหวาดหวั่น ดิ้นรน หวั่นไหว เพราะเหตุนั้น คือเพราะทุกข์เกิดจากความตายของภรรยา เมื่อไปถึงบ้าน และทุกข์ คือความตายของตน เมื่อไปไม่ถึงบ้าน.
บทว่า เอตมตฺถํ มีอธิบายว่า ขอท่านจงบอกข้าพเจ้าถึงเหตุนั้น คือเหตุที่เป็นเหตุให้ภรรยาของข้าพเจ้ามีความตาย เมื่อข้าพเจ้าไปถึงบ้าน และที่เป็นเหตุทำให้ตนมีความตาย เมื่อไปไม่ถึงบ้าน.


พระมหาสัตว์ได้ฟังคำของพราหมณ์ แล้วจึงแผ่ข่ายญาณไป เหมือนเหวี่ยงแหลงในน่านน้ำทะเล คิดแล้วว่า เหตุแห่งการตายของสัตว์เหล่านี้มีมาก คือจมทะเลไปบ้าง ถูกปลาร้ายในทะเลนั้นคาบไปบ้าง ตกลงไปในน้ำบ้าง ถูกจระเข้ในแม่น้ำนั้นคาบไปบ้าง ตกต้นไม้บ้าง ถูกหนามแทงบ้าง ถูกประหารด้วยอาวุธนานาประการบ้าง กินยาพิษเข้าไปบ้าง ปีนขึ้นภูเขาแล้วตกลงไปในเหวบ้าง หรือถูกโรคนานาประการมีหนาวจัดเป็นต้น เบียดเบียนบ้าง ตายเหมือนกันทั้งนั้น.

เมื่อเหตุแห่งการตายมีมากอย่างนี้ ด้วยเหตุอะไรหนอแล วันนี้พราหมณ์นั้น เมื่ออยู่ระหว่างทางจึงจักตายเอง แต่เมื่อไปถึงบ้านภรรยาของเขาจักตาย. และเมื่อกำลังคิดอยู่ได้มองเห็นไถ้อยู่บนคอของพราหมณ์ ก็รู้ได้ด้วยญาณ คือความฉลาดในอุบายว่า ในไถ้นี้คงมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปอยู่ข้างใน. ก็แหละเมื่อจะเลื้อยเข้าไป มันคงจะเลื้อยเข้าไปเพราะกลิ่นข้าวตู ในเมื่อพราหมณ์คนนี้กินข้าวตู ในเวลาอาหารเช้าไม่ได้ผูกปากไถ้ไว้เลย แล้วไปดื่มน้ำ. พราหมณ์ดื่มน้ำแล้วมา ไม่ทราบว่างูเข้าไปอยู่ในไถ้แล้ว คงจักผูกปากไถ้แล้วก็แบกเอาไป.

พราหมณ์นี้นั้น เมื่อพักอยู่ระหว่างทาง ก็จักแก้ไถ้สอดมือเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เราจักกินข้าวตู ณ สถานที่พักในเวลาเย็น เมื่อเป็นเช่นนั้นงูก็จะกัดมือเขาให้ถึงความสิ้นชีวิต นี้คือเหตุแห่งการตายของพราหมณ์ผู้พักอยู่ระหว่างทาง.

แต่ถ้าพราหมณ์ไปถึงบ้านไซร้ ไถ้จักตกถึงมือของภรรยา นางก็จักแก้ไถ้เอามือล้วงด้วยตั้งใจว่า จักดูของอยู่ข้างใน. เมื่อเป็นเช่นนั้น งูก็จักกัดนางให้ถึงความสิ้นชีพ นี้คือเหตุแห่งการตายของภรรยาของเขาผู้ไปถึงเรือนในวันนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มีความดำรินี้ว่า งูเห่าหม้อตัวนี้กล้าหาญควรปลอดภัย เพราะว่างูตัวนี้ แม้จะกระทบสีข้างใหญ่ของพราหมณ์ ก็ไม่แสดงความหวั่นไหวหรือความดิ้นรนของตน ถึงในท่ามกลางบริษัทชนิดนี้ ก็ไม่แสดงความมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น งูเห่าหม้อตัวนี้ที่กล้าหาญ จึงควรปลอดภัย. แม้เหตุการณ์ดังที่ว่ามานี้ พระมหาสัตว์ก็ได้รู้ด้วยญาณ คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายนั่นเอง เหมือนเห็นด้วยทิพพจักขุ. เมื่อเป็นเช่นนี้ พระมหาสัตว์กำหนดด้วยญาณ คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายนั่นเอง เหมือนคนยืนดูงูที่กำลังเลื้อยเข้าไปในไถ้ ท่ามกลางบริษัทที่มีพระราชา.

เมื่อจะแก้ปัญหาของพราหมณ์ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เราคิดค้นหาเหตุหลายอย่าง บรรดาเหตุเหล่านี้ เหตุที่เราจะบอกนั่นแหละเป็นของจริง พราหมณ์ เราเข้าใจว่า งูเห่าหม้อตัวหนึ่งได้เลื้อยเข้าไปอยู่ในไถ้ข้าวตูของท่านผู้ไม่รู้สึก.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูนิ ฐานานิ ได้แก่เหตุหลายอย่าง.
บทว่า วิจินฺตยิตฺวา ความว่า เป็นเสมือนบรรลุปฏิเวธ ด้วยสามารถแห่งการคิดทะลุปรุโปร่ง. บทว่า ยเมตฺถ วกฺขามิ ความว่า บรรดาเหตุเหล่านั้น เราจะบอกเหตุอันใดอย่างหนึ่งแก่ท่าน. ด้วยบทว่า ตเทว สจฺจํ พระมหาสัตว์แสดงว่า เหตุนั้นนั่นแหละเป็นเรื่องแท้ คือจักเป็นเช่นกับเรื่องที่เห็นด้วยทิพพจักขุ แล้วจึงบอก.
บทว่า มญฺญามิ ความว่า กำหนด.
บทว่า สตฺตุภสฺตํ ได้แก่ ไถ้ข้าวตู.
บทว่า อชานโต ความว่า เราเข้าใจว่า เมื่อท่านไม่รู้อยู่นั่นแหละ งูเห่าหม้อตัวหนึ่งเข้าไปแล้ว.


ก็แหละพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงถามว่า พราหมณ์ มีไหมข้าวตูในไถ้ของท่านนั้น?
พ. มี ท่านบัณฑิต
ม. วันนี้ เวลาอาหารเช้า ท่านนั่งกินข้าวตูละสิ?
พ. ใช่ ท่านบัณฑิต
ม. นั่ง ที่ไหนล่ะ?
พ. ที่ควงไม้ ในป่า
ม. ท่านกินข้าวตูแล้ว เมื่อไปดื่มน้ำ ไม่ได้ผูกปากไถ้ล่ะสิ?
พ. ไม่ได้ผูก ท่านบัณฑิต
ม. ท่านดื่มน้ำแล้วมา ไม่ได้ตรวจดูไถ้ผูกเลยสิ?
พ. ไม่ได้ดู ผูกเลย ท่านบัณฑิต
ม. พราหมณ์ เราเข้าใจว่า ในเวลาท่านไปดื่มน้ำ งูเข้าไปในไถ้แล้ว เพราะได้กลิ่นข้าวตูของท่านผู้ไม่รู้ตัวเลย ท่านได้มาที่นี้อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น ให้ยกไถ้ลงวางไว้ท่ามกลางบริษัท แก้ปากไถ้ออก แล้วเลี่ยงไปยืนอยู่ห่างพอควร ถือไม้ท่อนหนึ่งเคาะไถ้ก่อน ต่อจากนั้น ก็จักเห็นงูเห่าหม้อ แผ่แม่เบี้ย เห่าฟ่อๆ เลื้อยออกมา แล้วหายสงสัย ดังนี้

แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะไถ้ดูเถิด จะเห็นงูมีลิ้น ๒ แฉก พ่นพิษเลื้อยออกมา ท่านจะสิ้นความเคลือบแคลงสงสัย ในวันนี้แหละ ท่านจงแก้ไถ้เถิด ท่านจะเห็นงู.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริสุมฺภ ความว่า จงเคาะ.
บทว่า ปสฺเสลมูคํ ความว่า ท่านจะเห็นงูมีลิ้น ๒ แฉก พ่นพิษทางปากที่มีน้ำลายไหลออกมา.
บทว่า ฉินฺทชฺช กงฺขํ วิจิกิจฺฉิตานิ ความว่า วันนี้ท่านจะตัดความเคลือบแคลงและความสงสัยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ว่า ในไถ้มีงูหรือไม่มีหนอ เชื่อเราเถิด เพราะคำพยากรณ์ของเราไม่ผิดพลาด ท่านจะเห็นงูเลื้อยออกมาเดี๋ยวนี้แหละ จงแก้ไถ้เถิด.


พราหมณ์ได้ฟังคำของพระมหาสัตว์ แล้วสลดใจถึงความกลัวได้ทำตามนั้น. ฝ่ายงูพอถูกไม้เคาะขนดก็เลื้อยออกจากปากไถ้ เห็นผู้คนมากมาย จึงได้หยุดอยู่.

พระศาสดา เมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-
พราหมณ์นั้นสลดใจ ทิ้งไถ้ข้าวตูลงท่ามกลางบริษัท ลำดับนั้น งูพิษที่มีพิษร้ายได้แผ่แม่เบี้ย เลื้อยออกมา.

ในเวลางูแผ่แม่เบี้ยออกมา คำพยากรณ์ของพระมหาสัตว์ได้เป็นเสมือนคำพยากรณ์ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า. มหาชนพากันชูผ้าขึ้นเป็นจำนวนพัน ยกนิ้วขึ้นดิดหมุนไปรอบๆ เป็นพันๆ ครั้ง ฝนแก้ว ๗ ประการตกลงมา เหมือนลูกเห็บตก สาธุการก็เป็นไปเป็นจำนวนพันๆ เสียงดังปานประหนึ่งมหาปฐพีจะถล่มทะลาย.

ก็ธรรมดาการแก้ปัญหาแบบนี้ด้วยพุทธลีลานี้ ไม่ใช่เป็นพลังของชาติ ไม่ใช่เป็นพลังของโคตร ของตระกูล ของประเทศ ของยศและของทรัพย์ทั้งหลาย แต่เป็นพลังของอะไรหรือ เป็นพลังของปัญญา.
ด้วยว่า บุคคลผู้มีปัญญาเจริญวิปัสสนา แล้วจะเปิดประตูอริยมรรคเข้าอมตมหานิพพานได้ ทะลุทะลวงสาวกบารมีบ้าง ปัจเจกโพธิญาณบ้าง สัมมาสัมโพธิญาณบ้าง. เพราะว่า บรรดาธรรมทั้งหลายที่จะให้บรรลุอมตมหานิพพาน ปัญญาเท่านั้นประเสริฐที่สุด ธรรมทั้งหลายที่เหลือเป็นเพียงบริวารของปัญญา.

เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสไว้ว่า :-
ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีลก็ดี แม้สิริก็ดี ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายก็ดี เป็นสิ่งคล้อยตามผู้มีปัญญา.


ก็แล เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแก้ปัญหาอย่างนี้แล้ว หมองูคนหนึ่งก็ใส่กุญแจปากงู แล้วก็จับงูไปปล่อยในป่า. พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระราชาให้พระองค์ทรงมีชัย แล้วประคองอัญชลี
เมื่อจะสดุดีพระราชา จึงกล่าวคาถากึ่งคาถาว่า :-
เป็นการได้ลาภที่ดีของพระเจ้าชนก ที่ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี.


คาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า
พระชนกพระองค์ใดทรงลืมพระเนตรแล้ว ได้ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญาสูงสุด ด้วยพระเนตรที่น่ารักทุกขณะที่ทรงปรารถนาจะเห็น การได้ทอดพระเนตรเห็นทุกขณะที่ทรงพระประสงค์เหล่านั้นของพระเจ้าชนกนั้น เป็นลาภที่พระองค์ทรงได้แล้วดีจริงๆ คือบรรดาลาภทั้งหมดที่พระเจ้าชนกนั้นทรงได้แล้ว ลาภเหล่านั้นเท่านั้น ชื่อว่าเป็นลาภที่ทรงได้มาดีแล้ว.

ก็แหละ ครั้นถวายสดุดีพระราชา แล้วพราหมณ์ได้หยิบเอาเงิน ๗๐๐ กหาปณะออกมาจากไถ้ ประสงค์จะสดุดีพระมหาสัตว์ให้ความชื่นชม

จึงกล่าวคาถา ๑ กับครึ่งคาถาว่า :-
ท่านเป็นผู้เปิดเครื่องปิดบังออกได้หรืออย่างไร จึงเห็นของทุกอย่าง ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ญาณของท่านเป็นญาณที่น่าพิศวงนัก ทรัพย์เหล่านี้ของข้าพเจ้ามีอยู่ ๗๐๐ กหาปณะ ขอท่านจงรับเอาทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่าน
เพราะว่า วันนี้ข้าพเจ้าได้ชีวิตไว้ เพราะท่าน อีกโสดหนึ่ง ท่านก็ได้ทำความสวัสดีให้แก่ภรรยาของข้าพเจ้าด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวฏฺฏจฺฉโท นุ สิ สพฺพทสฺสี ความว่า พราหมณ์ถามด้วยอำนาจการสดุดีว่า ท่านเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ทรงเปิดเครื่องปกปิดในอาการของธรรมทุกอย่าง คือทรงเป็นผู้มีธรรมที่ควรรู้ อันเปิดเผยแล้วหรืออย่างไร.
บทว่า ญาณํ นุ เต พฺราหฺมณ ภึสรูปํ ความว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เมื่อท่านเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง ญาณของท่านเป็นญาณที่พิลึกเหลือเกิน คือมีกำลังเหมือนสัพพัญญุตญาณ.
บทว่า ตยา หิ เม ความว่า วันนี้ข้าพเจ้าได้ชีวิตมา เพราะท่านให้.
บทว่า อโถปิ ภริยายมกาสิ โสตฺถึ ความว่า อีกโสดหนึ่ง ท่านเองก็ได้ทำความสวัสดีแก่ภรรยาของผม.


พราหมณ์นั้น ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ก็อ้อนวอนพระโพธิสัตว์แล้วอ้อนวอนอีกว่า ถ้าหากมีทรัพย์แสนหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็ต้องให้ทีเดียว แต่ทรัพย์ของข้าพเจ้ามีเพียงเท่านี้เท่านั้น ขอท่านจงรับทรัพย์ ๗๐๐ กหาปณะเหล่านี้เถิด.

พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-
บัณฑิตทั้งหลายจะไม่รับค่าจ้าง เพราะคาถาทั้งหลายที่ไพเราะที่ตนกล่าวดีแล้ว ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงให้ทรัพย์ของท่านได้แต่เพียงนี้ วางใกล้เท้า แล้วจงรับเอาไปยังที่อยู่ของตนเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวตฺตนํ ได้แก่ สินจ้าง อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็เป็น เวตนํ นี้เหมือนกัน. บทว่า อิโตปิ เต พฺราหฺมณ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงให้ทรัพย์ของท่านแต่แทบเท้าของเรา. บทว่า วิตฺตํ อาทาย ตฺวํ คจฺฉ มีเนื้อความว่า ท่านจงถือเอาทรัพย์จำนวนอื่นอีก ๓๐๐ กหาปณะจากทรัพย์จำนวน ๗๐๐ นี้ รวมเป็น ๑,๐๐๐ กหาปณะ แล้วไปที่อยู่ของตนเถิด.

ก็แหละ พระมหาสัตว์ครั้นพูดอย่างนี้ แล้วก็ให้กหาปณะแก่พราหมณ์เต็มพัน แล้วถามว่า พราหมณ์ ใครส่งท่านมาหาขอทรัพย์?
พ. ภรรยาของผม ท่านบัณฑิต.
ม. ก็ภรรยาของท่าน แก่หรือสาว?
พ. สาว ท่านบัณฑิต.
ม. ถ้าอย่างนั้น เขาคงประพฤติอนาจารกับชายอื่น จึงส่งท่านไป ด้วยหมายใจว่า จักได้ประพฤติอนาจารปลอดภัย พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าหากท่านนำกหาปณะเหล่านี้ไปถึงเรือนแล้วไซร้ นางจักให้กหาปณะที่ท่านได้มาด้วยความลำบากแก่ชู้ของตน เพราะฉะนั้น ท่านอย่าตรงไปบ้านทีเดียว ควรเก็บกหาปณะไว้ที่ควงไม้หรือที่ใดที่หนึ่งนอกบ้าน แล้วจึงเข้าไป ดังนี้ แล้วจึงส่งเขาไป.

พราหมณ์นั้นไปใกล้บ้านแล้ว เก็บกหาปณะไว้ใต้ควงไม้ต้นหนึ่ง แล้วจึงได้ไปบ้านในเวลาเย็น. ขณะนั้น ภรรยาของเขาได้นั่งอยู่กับชายชู้ พราหมณ์ยืนที่ประตู แล้วกล่าวว่า น้องนาง. นางจำเสียงเขาได้ จึงดับไฟปิดประตู เมื่อพราหมณ์เข้าข้างใน แล้วจึงนำชู้ออกไป ให้ยืนอยู่ริมประตู แล้วก็เข้าบ้าน ไม่เห็นอะไรในไถ้ จึงถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านไปเที่ยวขอได้อะไรมา.
พ. ได้กหาปณะพันหนึ่ง.
ภ. เก็บไว้ที่ไหน?
พ. เก็บไว้ที่โน้น พรุ่งนี้เช้าจึงจักเอามา อย่าคิดเลย.
นางไปบอกชายชู้ เขาจึงออกไปหยิบเอาเหมือนของที่ตนเก็บไว้เอง.
ในวันรุ่งขึ้น พราหมณ์ไปแล้วไม่เห็นกหาปณะ จึงไปหาพระโพธิสัตว์ เมื่อถูกถามว่า เรื่องอะไร พราหมณ์? จึงบอกว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นกหาปณะ ท่านบัณฑิต.
ม. ก็ท่านบอกภรรยาของท่านละสิ.
พ. ถูกแล้ว ท่านบัณฑิต.
พระมหาสัตว์ก็รู้ว่า นางนั้นบอกชายชู้ จึงถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภรรยาของท่าน มีพราหมณ์ประจำตระกูลไหม?
พ. มี ท่านบัณฑิต.
ม. ฝ่ายท่านล่ะ มีไหม.
พ. มี ท่านบัณฑิต.

จึงพระมหาสัตว์ได้ให้พราหมณ์ถวายเสบียงอาหารแก่พราหมณ์ประจำตระกูลนั้น เป็นเวลา ๗ วัน แล้วบอกว่า ไปเถิดท่าน วันแรกจงเชื้อเชิญพราหมณ์มารับประทาน ๑๔ คน คือฝ่ายท่าน ๗ คน ฝ่ายภรรยา ๗ คน ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นเป็นต้นไปให้ลดลงวันละ ๑ คน ในวันที่ ๗ จึงเชื้อเชิญ ๒ คน คือฝ่ายท่าน ๑ คน ฝ่ายภรรยาของท่าน ๑ คน จงรู้ไว้ จำไว้ว่า พราหมณ์คนที่ภรรยาของท่าน เชื้อเชิญมาตลอด ๗ วัน มาเป็นประจำ แล้วบอกข้าพเจ้า.

พราหมณ์ทำตามนั้นแล้วจึงบอกแก่พระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้ากำหนดพราหมณ์ผู้มารับประทานเป็นนิจไว้แล้ว. พระโพธิสัตว์ส่งบุรุษไปกับพราหมณ์นั้น ให้นำพราหมณ์คนนั้นมา แล้วถามว่า ท่านเอากหาปณะพันหนึ่งที่เป็นของพราหมณ์คนนี้ไปจากควงไม้ต้นโน้นหรือ? พราหมณ์คนนั้นปฏิเสธว่า ผมไม่ได้เอาไป ท่านบัณฑิต. พระโพธิสัตว์บอกว่า ท่านไม่รู้จักว่าเราเป็นเสนกบัณฑิต เราจักให้ท่านนำกหาปณะมาคืน. เขากลัว จึงรับว่า ผมเอาไป.
ม. ท่านเอาไปเก็บไว้ที่ไหน.
พ. เก็บไว้ ณ ที่นั้นนั่นเอง ท่านบัณฑิต.
พระโพธิสัตว์จึงถามพราหมณ์ผู้เป็นสามีว่า พราหมณ์ หญิงคนนั้นนั่นเอง เป็นภรรยาของท่านหรือ? หรือจักรับเอาคนอื่น
พ. เขานั่นแหละเป็นของผม ท่านบัณฑิต
พระโพธิสัตว์ส่งคนไป ให้นำกหาปณะของพราหมณ์และนางพราหมณีมา แล้วบังคับให้รับกหาปณะจากมือของพราหมณ์ผู้เป็นโจรแก่พราหมณ์ ให้ลงพระราชอาชญาแก่พราหมณ์ผู้เป็นโจร เนรเทศออกจากพระนครไป และให้ลงพระราชอาชญาแก่พราหมณี ให้ยศใหญ่แก่พราหมณ์ แล้วให้อยู่ในสำนักของตนนั่นเอง.


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม คนจำนวนมากได้ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้แก่ พระอานนท์ ในบัดนี้
รุกขเทวดา ได้แก่ พระสารีบุตร
บริษัท ได้แก่ พุทธบริษัท
ส่วนเสนกบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเสนกชาดกที่ ๗
-----------------------------------------------------

.. อรรถกถา เสนกชาดก ว่าด้วย ผู้มีปัญญาช่วยคนอื่นได้ จบ.
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2014, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
ข้อความบางตอนจากหนังสือ คำบรรยายปฏิบัติธรรมะตามพระไตรปิฎก
อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ

สัตว์ทั้งหลายผจญอยู่ในภัย คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แต่ภัยอย่างแท้จริงคือ อภิสังขาร
กิเลสและกรรม การจำนงมุ่งหวัง ด้วยการเข้าไปติด แล้วมีการแสวงหา มีความติดมีความพัวพันต่อสิ่งนั้นๆ
การมีกิเลสคือการเข้าไปติดด้วยจิตอันเศร้าหมอง แล้วมีความพยายามกระทำในสิ่งนั้นเป็นการก่อวิบาก คือมีผล เมื่อมีผลวิบากนั้นเป็นสังขาร คือการแปรเปลี่ยนไป ดำรงอยู่ในสิ่งนั้นไม่ได้ แต่บุคคลนั้นก็ยังคงมีความหวัง มีความไขว่คว้าสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ แล้วสิ่งต่างๆ ก็แปรเปลี่ยนไป จึงมีกิเลสครอบงำ ณ ภายในจิต อย่างโวหารพระพุทธเจ้าตรัสว่า
"รูปใดรูปหนึ่ง ที่บุคคลเข้าไปหวัง เข้าไปยินดี ที่จะไม่เกิดความเศร้าโศกเพราะรูปนั้นแปรเปลี่ยนนั้น ไม่มี"
อย่างคล้ายๆ บัญญัติรูปที่ว่าร่างกายตน ร่างกายเรานี้เราดีใจไหม ยินดีที่มีกาย? เห็นเงาหน้าในกระจกใช่ไหม ดีใจไหม? เริ่มเบื่อหรือยัง? อยากได้กายใหม่หรือยัง?

การที่รู้สึกว่าเป็นเรา นี่คืออุปาทาน เพราะความมุ่งหวัง เพราะการเข้าไปติด คล้ายๆ กับว่าอยากมี ไม่อยากสูญเสีย ก็เข้าไปติด เข้าไปจำในสิ่งนั้น และยึคในสิ่งนั้น ว่าเป็นของเรา แต่สิ่งใดก็ตามที่ตนเข้าไปติด ตนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้นทั้งหมด เพียงแต่เร็วหรือช้าก็ตาม ดังนั้น โลภะนำหน้า จะมีโทสะเป็นผล ความดีใจนำหน้า จะมีความเสียใจเป็นผล ทุกอย่างไป

:b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร