วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

คุณสมบัติเพื่อความเป็นอริยะ

การที่อริยบุคคลในมนุษยโลกมีน้อยกว่าในเทวโลกนั้น ก็เพราะว่าบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาในมนุษยโลกนี้ มีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นส่วนน้อย และการที่จะเป็นอริยบุคคลได้นั้นต้องประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ

๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล

๒. ต้องได้เคยสร้างบารมีที่เกี่ยวกับวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน

๓. ต้องมีความเพียรในชาติปัจจุบันนี้ด้วย

๔. วิธีเจริญวิปัสสนาต้องถูกต้องตามหลักพระบาลีและอรรถกถา

๕. ต้องมีสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

๖. ต้องไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ

๗. ต้องมีเวลาอันสมควร

ฉะนั้น บุคคลที่มีความสนใจในวิปัสสนาธุระเป็นส่วนน้อยอยู่แล้วนั้น จะหาบุคคลที่ประกอบด้วยธรรมทั้ง ๗ ประการ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็หาได้โดยยาก และมีบุคคลที่มีความเข้าใจผิดคิดว่า

๑. ถ้าเราเจริญวิปัสสนาแล้ว จะทำให้เราเป็นคนมีชื่อเสียงดี
๒. จะเป็นที่เคารพและเชื่อถือแก่บุคคลทั่วๆ ไป ทำให้อาชีพของเราเจริญขึ้นได้ง่าย

ความเข้าใจผิดเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปแก่บุคคลทั้งหมดก็หามิได้ หมายถึงมีอยู่ในบุคคลเป็นส่วนมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า อริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษยโลกนั้น น้อยกว่าอริยบุคคลที่มีอยู่ในเทวโลกเป็นจำนวนมาก

มีพุทธภาษิตที่เป็นเครื่องวินิจฉัยอยู่ ๕ ข้อ ชื่อว่า ปธานิยังคะ สำหรับเป็นเครื่องตัดสินตัวเองว่าชาตินี้ตนจะเป็นอริยะได้หรือไม่ดังนี้คือ

ปธานิยังคะ ๕

๑. ต้องมีความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และอาจารย์ที่สอนวิปัสสนา

๒. ต้องมีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค

๓. ต้องไม่มีมารยาสาไถยกับอาจารย์ หรือในหมู่พวกปฏิบัติด้วยกัน

๔. ต้องมีความเพียรตั้งมั่นในใจว่า เลือดและเนื้อของเรานี้ แม้ว่าจะเหือดแห้งไปคงเหลือแต่หนัง
เส้นเอ็น กระดูกก็ตาม เราจะไม่ยอมละความเพียรนั้นเสีย

๕. ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นอุทยัพพยญาณเสียก่อน

พุทธภาษิตที่วางไว้เป็นหลักสำหรับวินิจฉัยตนเองทั้ง ๕ ข้อนี้ เมื่อผู้ใดพิจารณาดูตัวเองว่ามีครบถ้วนแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าตนต้องสำเร็จมรรคผลในชาตินี้ได้แน่นอน ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันหวังไม่ได้ซึ่งมรรคผลในชาตินี้

:b42: ข้อมูลจาก ปริจเฉทที่ ๕/๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปลิโพธ (เครื่องกังวล) ๑๐

๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่

๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฎฐาก

๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ

๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ

๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงานเช่น การก่อสร้าง

๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ

๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น

๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง

๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน

๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม
(ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)

ปลิโพธ (เครื่องกังวล) ๑๐จากเวปhttp://onknow.blogspot.com/2011/01/10_29.html

:b8: :b8: :b8:

คุณสมบัติพระโสดาบัน
คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ พุทธธรรม
“ชีวิตและคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


คุณสมบัติของพระโสดาบัน

:b47: ๑. คุณสมบัติฝ่ายมี

๑.๑ ด้านศรัทธา เชื่อมั่นในความจริง ความดีงาม และกฎธรรมดาแห่งเหตุผล มั่นใจในปัญญาของมนุษย์ที่จะดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาได้ตามทางแห่งเหตุผล และเชื่อในสังคมที่ดีงามขอมนุษย์ซึ่งจะเจริญงอกงามขึ้นได้ตามแนวทางเช่นนั้น ความเชื่อมั่นนี้แสดงออกด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระรัตนตรัย เป็นศรัทธาซึ่งแน่วแน่ มั่นคง ไม่มีทางผันแปร เพราะเกิดจากญาณคือความรู้ ความเข้าใจ

๑.๒ ด้านศีล มีความประพฤติทั้งทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพสุจริต เป็นที่พอใจของอริยชน มีศีลที่เป็นไทคือเป็นอิสระไม่เป็นทาสของตัณหา ประพฤติตรงตามหลักการ ตามความหมายที่แท้ เพื่อความดี ความงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขัดเกลาลดกิเลส ความสงบใจ เป็นไปเพื่อสมาธิ โดยทั่วไปหมายถึงศีลห้า ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง จัดเป็นขั้นที่บำเพ็ญศีลได้บริบูรณ์

๑.๓ ด้านสุตะ เป็นสุตวา อริยสาวก หรืออริยสาวกผู้มีสุตะ คือได้เรียนรู้อริยธรรม รู้จักอารยธรรม นับว่าเป็นผู้มีการศึกษา

๑.๔ ด้านจาคะ อยู่ครองเรือนด้วยใจที่ปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการสละ การให้ การเฉลี่ยเจือจาน แบ่งปัน

๑.๕ ด้านปัญญา มีปัญญาอย่างเสขะ คือรู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔ มองเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา เป็นอย่างดี จนสลัดมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย ในรูปแบบต่างๆ ได้สิ้นเชิง หมดความสงสัยในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นั้น เรียกตามสำนวนธรรมว่าเป็นผู้รู้จักโลกแท้จริง

๑.๖ ด้านสังคม พระโสดาบันเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน ที่เรียกว่า “สาราณียธรรม ๖” ดังนี้
- เมตตากายกรรม แสดงออกทางกายด้วยเมตตา ช่วยเหลือกันแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน
- เมตตาวจีกรรม แสดงออกทางวาจาด้วยเมตตา เช่นบอกแจ้งแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพต่อกัน
- เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา เช่นมองกันในแง่ดี คิดทำประโยชน์แก่กัน ยิ้มแย้มแจ่มใส
- สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม เฉลี่ยเจือจานให้ได้มีส่วนร่วมทั่วกัน
- สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตเสมอกับผู้อื่น ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่
- ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกับเพื่อนร่วมหมู่ ในอารยทฤษฏี ซึ่งนำไปสู่การกำจัดทุกข์

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

:b47: ๒. คุณสมบัติฝ่ายหมดหรือฝ่ายละ (แสดงเฉพาะที่สำคัญและน่าสนใจพิเศษ)

๒.๑ ละสังโยชน์หรือกิเลสที่ผูกมัดใจได้ ๓ อย่าง
- สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบและเกิดความกระทบกระทั่ง มีทุกข์ได้แรงๆ
- วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขาเป็นต้น ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดไปในมรรคา
- สีลัพพตปรามาส ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติศีลและวัตร หรือกฏเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิเป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทำตามๆ กันมา

๒.๒ ละมัจฉริยะ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่นทั้ง ๕ อย่างคือ
- อาวาสมัจฉริยะ หวงที่อยู่อาศัย หวงถิ่น
- กุลมัจฉริยะ หวงตระกูล หวงพวก หวงสำนัก หวงสายสัมพันธ์ เทียบกับที่พูดกันบัดนี้ว่าเล่นพวก
- ลาภมัจฉริยะ หวงลาภ หวงผลประโยชน์ คิดกีดกันไม่ให้คนอื่นได้
- วัณณมัจฉริยะ หวงกิตติคุณ หวงคำสรรเสริญ ไม่พอใจให้ใครมีอะไรดีมาแข่งตน ไม่พอใจให้ใครสวยงาม ได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของคนอื่นแล้วทนไม่ได้
- ธรรมมัจฉริยะ หวงธรรม หวงวิชาความรู้ หวงคุณพิเศษที่ได้บรรลุ กลัวคนอื่นจะรู้หรือประสบผลสำเร็จเทียมเท่าหรือเกินกว่าตน

๒.๓ ละอคติ คือ ทางความประพฤติที่ผิด หรือความลำเอียงได้ ๔ อย่าง
- ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
- โทสาคติ ลำเอียดเพราะชัง
- โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
- ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

๒.๔ ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรงที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำกรรมชั่ว ขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย

๒.๕ ระงับภัยเวร โทมนัสและทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักศีลห้า เป็นผู้พ้นจากอบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้าง เป็นเพียงเศษน้อยนิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:51 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2024, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร