วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2014, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




10151166_498854116910891_1126758689129277510_n.jpg
10151166_498854116910891_1126758689129277510_n.jpg [ 34.15 KiB | เปิดดู 3783 ครั้ง ]
เรือง ประมาท

ประมาท แปลว่า ความมัวเมา ความเลินเล่อ ความพลังเผลอ
หมายถึง ความปราศจากสติ ไม่มีสติคอยควบคุม ขาดความยั้งคิ
ขาดความรอบคอบ ทั่วๆไปใช้ทับศัพท์ว่า ความประมาท

ผู้ที่ชื่อว่า คนประมาท คือผู้ที่มัวเมา หลงระเริงอยู่กับการกระทำ
สิ่งที่ก่อทุกข์ก่อโทษให้แก่ตัวเอง คือ

- ละเลยกายสุจริต ประพฤติกายทุจริต
- ละเลยวจีสุจริต ประพฤติวจีทุจริต
- ละเลยมโนสุจริต ประพฤติมโนทุจริต
- ละเลยสัมมาทีฐิ ประพฤติมิจฉาทิฐิ

คนประมาท ย่อมพลาดประโยชน์ที่จะพึงได้ในโลกนี้
ประโยชน์ที่พึงจะได้ในโลกหน้า และประโยชน์อันสูงสุดคือพระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




10298828_499362706860032_6337466365143431476_n.jpg
10298828_499362706860032_6337466365143431476_n.jpg [ 55.75 KiB | เปิดดู 3767 ครั้ง ]
เรื่อง ปธาน-สัมมัปปทาน

ปธาน แปลว่า ความเพียรที่เป็นประธาน
ใช้หมายถึง ความเพียรที่เป็นหลักเป็นเบื้องต้น
ที่นำให้บรรลุธรรม เรียกเต็มๆ ว่า สัมมัปปธาน

ปธาน ในทางปฏิบัติมี ๔ ประการ คือ

๑. สังวรปธาน เพียรระวังมิให้บาปเกิดขึ้นในตน
เพียรป้องกันมิให้เกลือกลั้วกับความชั่ว ความผิดทั้งหลาย
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ละการกระทำไม่ดี เพียรกำจัดสิ่งที่ชั่ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้น
เพียรเพิ่มพูนบุญและความดีงามให้เกิดขึ้นในตน
๔. อนุรักขนา เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
เพียรรักษาบุญ รักษาความดีงามที่มีอยู่

ความเพียรประการนี้เป็นหนทางให้บรรลุธรรม ถึงความสำเร็จ
สูงสุดจนถึงมรรคผลนิพพานได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220615_162550.gif
20220615_162550.gif [ 3.72 MiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปริจาคะ - บริจาค
ปริจาคะ หรือ บริจาค แปลว่าการเสียสละ
การปล่อยวาง มีความหมาย ทำนองในเดียวกัน

ทาน และ ปริจาคะ ปกติเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ แต่ในบางหมวดธรรม
เช่น ทศพิธราชธรรม ๑๐ มีปรากฏทั้งสองคำในกรณีเช่นนั้น

ทาน หมายถึง การให้วัตถุสิ่งของด้วยกุศลเจตนาด้วยกุศลธรรม
มุ่งสงเคราะห์ มุ่งบูชาคุณ คือการให้ที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นหลัก

ปริจาคะ จะหมายถึง การให้วัตถุสิ่งของ การเสียสละความสุขส่วนตัว
การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น โดยไม่เลือกว่าเป็นมิตรหรือศัตรู
คือการให้ที่มุ่งกำจัดกิเลสในตัวเอง คือมุ่งกำจัดโลภะ กำจัดความตระหนี่
กำจัดความเห็นแก่ตัวเป็นหลัก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220612_112211.gif
20220612_112211.gif [ 2.24 MiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปริสัญญุตา

ปริสัญญุตา แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

ปริสัญญูตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักชุุมชนหรือสังคมที่ตนอาศัยอยู่
ชุมชนที่ทำงาน ชุมชนที่ตนจะเข้าไปหา ว่าคนในที่นั้นเขาเป็นอย่างไร

มีความต้องการหรือไม่ต้องการอะไร มีความเห็นมีข้อตกลงกันอย่างไร จะเข้าไปหา
หรือจะต้อนรับอย่างไรเป็นต้น เพื่อความร่วมมือช่วยเหลือชุมชนนั้นได้ถูกต้อง
เพื่อจะได้อยู่ในสังคมนั้นได้อย่างสงบสุข ไม่ทะเลาะขัดแย้งกับชุมชนนั้น

ปริสัญญุตา เป็นเหตุให้ทำตัวได้อย่างถูกต้อง
อยู่ในชุมชนนั้น ด้วยความสบายใจไม่มีเรื่องมีราว และได้รับความไว้วางใจ
ไม่หวาดระแวงจากชุมชน มีความองอาจในชุมชน

ผู้ประกอบด้วยปริสัญญุตา จัดได้ว่าเป็น สัตบุรุษ คือ เป็นคนดี คนฉลาด
น่ายกย่องนับถือ และเหมาะที่จะคบหาสมาคมด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2014, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220522_065515.gif
20220522_065515.gif [ 19.12 KiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปัตติทานมัย

ปัตติทานมัย แปลว่า การให้ส่วนบุญ การให้ส่วนความดี
หมายถึงเมื่อเราทำบุญ เช่น ใส่บาตร ถวายสังฆทาน สร้างโบสถ์ รักษาศีล เป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วบอกให้ผู้อื่นทราบด้วย เพื่อบอกให้รู้ว่าเราทำบุญทำความดีอะไรมา
เพื่อที่เขาจะได้ชื่นชมพลอยยินดี ในบุญนั้นแล้วปรารถนาทำบุญเช่นเราบ้าง
การให้ส่วนบุญ จัดเป็นทานอย่างหนึ่ง ผู้ให้ก็ได้บุญ ผู้พลอยยินดีก็ได้บุญ

ปัตติทาน เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า ปัตติทานมัย แปลว่า
บุญที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ หมายถึง บุญที่เกิดจากการแบ่งส่วนบุญให้
หรือบุญที่ทำแล้วอุทิศบุญให้ (ดูเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ปัตติทานมัย เป็นเหตุให้กำจัดมัจฉริยะคือความตระหนี่ คือความตระหนีหวงแหน
บุญความดีอันเป็นมลทินใจได้ ทำให้บุญเพิ่มขึ้น ทำให้พวกพ้องมีบริวารมาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2014, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220522_151121.gif
20220522_151121.gif [ 20.44 KiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปัตตานุโมทนามัย

ปัตตานุโมทนา แปลว่า การอนุโมทนาส่วนบุญ
คือ ความพลอยยินดีส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วมาบอกให้ทราบ
หรือเขาไม่บอก แต่เมื่อเราทราบเข้าก็เกิดมุฑิตาจิตยินดีด้วย ปราศจากความอิจฉา
ริษยาในบุญหรือความดีของเขา และพร้อมเสมอที่จะปฏิบัติหรือทำบุญ
อย่างเขาบ้างในเมื่อมีโอกาส

ปัตตานุโมทนามัย เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย
แปลว่า บุญที่สำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ หมายถึง บุญที่เกิดจาก
การอนุโมทนาในบุญ ในความดีที่คนอื่นทำ (ดูเรื่องบุญกิริยาวัตถุ)

ปัตตานุโมทนามัย เป็นเหตุให้มีความสุขใจ ไม่ร้อนใจเพราะไฟริษยา
ได้รับความสนิทสนมกับผู้ให้ส่วนบุญ และเป็นเหตุให้ตนปรารถนาทำบุญ
ทำความดีเช่นเขาบ้าง และเมื่อตัวเองได้ทำแล้วก็จะได้รับผลเป็นความสุขมากยิ่งไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2014, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220524_053252.gif
20220524_053252.gif [ 20.07 KiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปาณาติบาท

ปาณาติบาท แปลว่า การทำให้สิ่งที่มีปราณคือลมหายใจตกไป
โดยทั่วไปหมายถึง การฆ่าสัตว์ การทำสัตว์ให้สิ้นไป
การกระทำที่จะเป็นปาณาติบาทจะต้องครบองค์ ๕ คือ

๑. สัตว์นั้นมีชีวิตคือมีปราณ
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีเจตนาที่จะฆ่า
๔. มีความพยายามที่จะฆ่า
๕. สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น

การกระทำปาณาติบาทถือว่าละเมิดศีล แสดงถึงขาดความเมตตาธรรมต่อสัตว์
เป็นเหตุให้ผู้กระทำมัวหมอง เป็นเหตุก่อเวร มีโทษถึงตกนรก และส่งผลให้อายุสั้น
พลันตายก่อนอายุขัยทุกภพทุกชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2014, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220609_062721.gif
20220609_062721.gif [ 3.87 MiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปาปมิตร - มิตรปฏิรูป

ปาปมิตร แปลว่า มิตรชั่ว เพื่อนชั่ว หมายถึงเพื่อนไม่ดี
เพื่อนที่ไม่น่าคบหาสมาคมด้วย เรียกอีกอย่างคือมิตรปฏิรูป คือมิตรเทียม มิใช่มิตรแท้
คนที่จัดว่าเป็นมิตรชั่ว มิตรเทียม ได้แก่คน ๔ ประเภท คือ

๑. คนปอกลอก ได้แก่คนที่เอาแต่ได้ เอาเปรียบเพื่อน
คบเพื่อนเพื่อผลประโยชน์เท่านั้น

๒. คนดีแต่พูด ได้แก่ คนที่ชอบพูดแต่เรื่องที่ผ่านมาแล้ว เรื่องที่ไกลตัว
ช่วยเหลือแต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์ พึ่งไม่ได้เมื่อมีภัยหรือเดือดร้อน

๓. คนหัวประจบ ได้แก่ คนที่ชอบคล้อยตามทุกเรื่อง
สรรเสริญเฉพาะต่อหน้า แต่พอลับหลังกลับนินทา

๔. คนชักชวนไปในทางเสีย ได้แก่ คนชวนดื่ม สุรายาเสพติด ชวนเที่ยวกลางคืน
ชวนให้มัวเมาในการบรรเทิง ชวนเล่นการพนัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2014, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220716_090221.gif
20220716_090221.gif [ 1.42 MiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปาพจน์

ปาพจน์ แปลว่า คำเป็นประธาน หมายถึง คำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นศาสดาแทนองค์พระพุทธเจ้า

ปาพจน์ แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
ธรรม กับ วินัย เรียกรวมกันว่า พระธรรมวินัย

ธรรม ได้แก่ คำสั่งสอนเนื่องด้วยการปฏิบัติ เป็นหลักที่ควรรู้และปฏิบัติ
เป็นวิถีชีวิต เป็นแนวทางอบรมความประพฤติและอัธยาศัยให้ละเอียดปราณีต
งดงาม และสูงขึ้นตามลำดับจนสามารถกำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
ซึ่งได้แก่คำสั่งสอนที่รวมอยู่ในสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก

วินัย ได้แก่ คำสั่งสอนเนื่องด้วยคำปฏิบัติ เป็นข้อห้าม วางไว้เป็นหลักปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความสงบสุขเรียบร้อยดี งามในหมู่คณะ เป็นเครื่องมือบริหารหมู่คณะ
ซึ่งได้แก่คำสั่งสอนที่รวมอยู่ในพระวินัยปิฎก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2014, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220609_164910.gif
20220609_164910.gif [ 2.02 MiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปิยวาจา

ปิยวาจา แปลว่า วาจาน่ารัก เป็นที่น่ารัก

ปิยวาจา หมายถึง คำพูดที่อ่อนหวานคำพูดที่สุภาพไม่หยาบคาย
เป็นคำพูดที่หวังดี ก่อให้เกิดความซาบซึ้งใจเป็นกำลังใจ ได้สติยั้งคิด
ให้เกิดแรงบันดาลใจให้ไฝ่ทำความดี ให้เกิดความสมานสามัคคีในหมู่คณะ

ปิยวาจา เป็นสังคหวัตถุธรรม คือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจกันไว้ (ดูเรื่องสังคหวัตถุ)

คำพูดที่เป็นปิยวาจา คือ
- คำสุภาษิต คือ ทำที่ดี ไม่ก่อกวนทำความเดือดร้อน
- คำเป็นธรรม คือ คำถูกต้อง มีเหตุผล
- คำเป็นที่รัก คือ คำไพเราะอ่อนหวาน
- คำสัตย์ คือ คำที่มีจริงเป็นจริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2014, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAHKS43U.jpg
imagesCAHKS43U.jpg [ 55.6 KiB | เปิดดู 3688 ครั้ง ]
เรื่อง ปิติสัมโพชฌงค์

ปิติสัมโพชฌงค์ แปลว่า ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือปีติ
หรือ ปีติเป็นองค์ประกอบแห่งการตรัสรู้พร้อม

ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ คืออาการที่จิตอิ่มเอิบ แช่มชื่นอันเนื่องมาจากการที่ได้
ละธรรมดำ เจริญธรรมขาวอยู่ด้วยวิริยะความเพียรทีถูกต้อง จากผลานิสงส์
ที่ได้รับจากการเจริญธรรมนั้นๆ เช่นได้ความสงบใจ ได้ฌาน เป็นต้น

เป็นอาการที่จิตที่ดื่มด่ำพอใจกับการปฏิบัติของตน เป็นเหตุให้ร่างกาย
พลอยสดใสชื่นบานไปด้วย เนื่องจากร่างกายเอิบอิ่มเป็นสึขเช่นนี้
แล้วก็จะสามารถปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้นไปได้โดยง่าย

ปิติสัมโพชฌงค์ เกิดได้จากโยนิโสมนสิการ คือฝึกฝนใส่ใจนึกถึงบุญกุศล
นึกถึงทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นที่ตนบำเพ็ญไว้เนืองๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2014, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220620_072704.jpg
20220620_072704.jpg [ 97.12 KiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง ปุคคลปโรปรัญญุตา

ปุคคลปโรปรัญญุตา
แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักบุคคลผู้ยิ่งหรือผู้หย่อน

ปุคคลปโรปรัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลที่ควรคบ
กล่าวคือการรู้จักบุคคลแต่ละคนในแง่มุมต่างๆ เช่น อุปนิสัยใจคอ ความชอบ
คุณธรรม ความประพฤติส่วนตัว และหน้าที่การงานของเขา เป็นต้น

แล้วรู้จักที่จะเลือกคบหาว่าควรคบคนเช่นใด
ควรห่างคนเช่นใด ผู้ใดเป็นเจ้านายที่ดี ผู้ใดเป็นลูกน้องที่ดี

ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นเหตุให้รู้จักบุคคลแต่ละบุคคลโดยละเอียดถี่ถ้วน
ทำให้ได้คบหาคนดี ไม่คบคนพาล หรือทำให้คนทำงานได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาดเสียหาย

ผู้ประกอบด้วยปุคคลปโรปรัญญุตา จัดว่าเป็นสัตบุรุษ คือเป็นคนดี คนฉลาด
น่ายกย่องนับถือ และเหมาะที่จะคบหาสมาคมด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




enlightenment-2.jpg
enlightenment-2.jpg [ 50.84 KiB | เปิดดู 3608 ครั้ง ]
เรื่อง ปุพเพกตปุญญตา

ปุพเพกตปุญญตา แปลว่า ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในปางก่อน

คำว่า บุญ ในที่นี้ หมายถึง ความดี สุจริต บุญกิริยาวัตถุ เช่น ทาน ศีล ภาวนา

ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง บุญในอดีต ความดีในอดีต คือที่เคยทำไว้แต่ชาติก่อนบ้าง
ที่เคยทำไว้ในอดีตสมัยเป็นเด็กหรือเป็นหนุ่มเป็นสาวบ้าง เช่นเคยให้ทานไว้ เคยรักษาศีลไว้
เคยทำวัตรสวดมนต์ รวมไปถึงเคยขยันศึกษาเล่าเรียน เคยหากินโดยสุจริตแล้วเก็บออมเงินทองไว้
บุญและความดีที่เป็นอดีตหรือที่ทำไว้ก่อนหน้านี้จะกลายมาเป็นปุพเพกตปุญญตาในปัจจุบัน

ปุพเพกตปุญญตา เป็น จักรธรรม คือเป็นธรรมนำพาไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
นำไปสู่ความมั่งคั่ง ดุจล้อนำรถไปถึงที่หมาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2014, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAVFC0Y1.jpg
imagesCAVFC0Y1.jpg [ 35.26 KiB | เปิดดู 3576 ครั้ง ]
เรื่อง พรหมวิหาร

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของพรหม
หมายถึง เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐ
และบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ผู้ปกครอง
และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ ๔ ประการ คือ

๑.เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข
มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์เพีื่อความสุขแก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

๒.กรุณา ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้อง
บำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์

๓.มุทิตา ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง
กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข
พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรม
ตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง
ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว
อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ
พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู
ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว
เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2014, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220808_080311.jpg
20220808_080311.jpg [ 94.69 KiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
เรื่อง พาล

พาล แปลว่า อ่อน เขลา ผู้ตัดประโยชน์ ทั่วๆไปใช้ หมายถึง คนชั่วร้าย คนเกเร

คนพาล จะประกอบไปด้วยทุจริต ๓ คือ

๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท
และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ
๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์
ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม

รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ

๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิ เช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน
ให้ไปลักขโมย ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล

๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย
แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน
แกล้งยุยง นินทาว่าร้ายกันและกัน เป็นต้น

๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่
เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่
หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิด เป็นต้น

๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่
เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป็นต้น คนพวกนี้จะโกรธ
เมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง

๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ
ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เป็นต้น

การไม่คบคนพาลเป็นมงคลอย่างหนึ่ง การคบคนพาลเป็นอัปมงคล มีแต่เรื่องเดือดร้อนมาให้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร