วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 16:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน - ประโยชน์สูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้จากชีวิตนี้


ความสุขที่ไม่ต้องหา


เมื่อมองกว้างๆ มนุษย์ยอม รับความจริงว่า พวกตนผจญปัญหาทั้งในระดับสังคมและในระดับบุคคล และถ้ามองเจาะลึกลงไปถึงขั้นพื้นฐาน ก็จะพบว่า ปัญหาของมนุษย์ทั้งในระดับสังคมและในระดับบุคคล ก็มาจากความจริงอันเดียวกัน คือการที่ชีวิตของมนุษย์นั้นโดยธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของปัญหา จะใช้คำว่า มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดปัญหา หรือว่าไม่ปลอดพ้นจากปัญหา ก็ได้ทั้งนั้น


ปัญหาชีวิตของมนุษย์นั้น มีต่างๆ มากมาย เมื่อพูดตามความรู้สึกให้เข้าใจได้ง่าย ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับดี - ชั่ว หรือ ดี - ร้าย และสุข - ทุกข์ ถ้าพูดรวบรัดลงไปอีก ก็รวมลงในคำเดียวคือทุกข์ อย่างคำพูดที่แสดงความรู้สึกเด่นชัดออกมาว่า มีชีวิตอยู่เพื่อหาความสุข ก็เป็นการบ่งถึงทุกข์อยู่ในตัว คือบอกว่าจะหนีออกจากความทุกข์ ไปหาความสุข และทุกข์นั้นยังอาจส่งผลเกี่ยวข้องถึงความดี ความชั่ว และสุขทุกข์ ต่อไปอีกหลายชั้นด้วย

ถ้าจะให้ชัด ก็พูดตรงไปที่ความจริงขั้นพื้นฐานกันเลย คือเป็นหลักความจริงง่ายๆว่า ทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของชีวิต หรือว่าชีวิตนี้มีทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของมัน หมายความว่า เป็นธรรมดาตามธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง ที่เป็นสังขาร ซึ่งเกิดมีเป็นไปโดยขึ้นต่อเหตุปัจจัยหลายหลาย ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่คงทน แปรปรวนเรื่อยไป ไม่มี ไม่เป็นตัวตนของมันเองอย่างแท้จริง เช่น จะให้คงอยู่หรือเป็นไปอย่างที่ใจปรารถนาไม่ได้ ต้องว่ากันไปตามเหตุปัจจัย พูดสั้นๆ นี่ก็คือมันเป็นทุกข์



เมื่อประมวลให้เห็นง่าย ทุกข์ที่เป็นพื้นฐานตามสภาวะของชีวิต ก็พูดรวบรัดด้วยคำว่า ชรา มรณะ หรือ แก่ และตาย หรือ เสื่อมโทรม และแตกสลาย แล้วจากทุกข์ตามสภาวะนี้ ก็ตามมาด้วยทุกข์ที่เป็นความรู้สึกต่างๆ เช่น ความโศกเศร้า ความคับแค้น ความเสียใจ ความพิไรรำพรรณ


ในเมื่อตามสภาวะ ชีวิตมีทุกข์เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมันอยู่แล้ว การที่จะแก้ปัญหาดับสลายคลายทุกข์ และการที่จะมีความสุขได้ คนก็ต้องมีจิตใจที่มั่นคงในการอยู่กับความจริง เริ่มด้วยจัดการให้ชีวิตของตนลงตัวกันได้กับความทุกข์พื้นฐานนั้น โดยมีปัญญาที่ทำให้จิตเป็นอิสระจากทุกข์พื้นฐานนั้น หรือให้ใจอยู่กับมันได้สบายๆอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าทำถึงขั้นนั้นไม่ได้ ก็ให้ใจอยู่กับมันด้วยปัญญาที่รู้เท่าทัน วางใจวางท่าที่ถูกต้อง อย่างน้อยก็ยอมรับความจริง สู้หน้า เผชิญหน้าความจริงได้ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริงนั้น


ถ้าคนมีใจที่มั่นคงการอยู่กับความจริงไม่ได้ ถ้าเขาไม่มีปัญญาจัดการให้ชีวิตของตนลงตัวกันได้กับความทุกข์พื้นฐานนั้น ก็กลายเป็นว่า เขาปล่อยให้ทุกข์พื้นฐานนั้น กลายเป็นปมปัญหาที่แฝงซ่อนอยู่ในตัวเขาเอง แล้วเขาก็จะมีชีวิตอยู่แบบปิดกลบปัญหา บังตาจากความทุกข์ และหลอกตัวเอง ปล่อยให้ปมที่ซ่อนอยู่ข้างในนั้นก่อปัญหาซ้อนขึ้นมาไม่รู้จบสิ้น


มนุษย์บอกว่าตนปรารถนาความสุข ไม่ต้องการความทุกข์ แต่แล้วมนุษย์ก็ประสบปัญหาจากวิธีที่จะเข้าถึงความสุขของเขาเอง แทนที่จะแก้ทุกข์ สร้างสุข เขาหนีทุกข์ หาสุข ทุกข์พื้นฐานที่มีแน่ แต่ไม่แก้ เมื่อปล่อยไว้ ก็เลยกลายเป็นปม แล้วก็ก่อปัญหาซ้อนหลังเรื่อยไป แทนที่จะหมดหรือแม้แต่ลดทุกข์ ก็ยิ่งทวีทุกข์ซับซ้อนทั้งข้างในตัว และออกไปปะทะกระทบข้างนอก


สำหรับมนุษย์ที่ปิดกลบทุกข์ ซ่อนปมปัญหาไว้ข้างในตัวเองนี้ เริ่มแรก การหาความสุขก็แสดงอยู่ในตัวถึงความขาดแคลนบอกพร่อง ความบีบคั้นกระวนกระวาย หรือภาวะไร้ความสุขอยู่ภายใน ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่ามีทุกข์ จากนั้น จึงผลักดันให้ต้องออกมาสวงหาสิ่งที่จะเอามาเติมให้เต็มหายขาดแคลนบกพร่อง หรือเอามาระงับดับคลายความบีบคั้นกระวนกระวายนั้น และในการแสวงหาเช่นนี้ ก็ปรากฏความขัดแย้งเบียดเบียนกันขึ้น เกิดปัญหาเกี่ยวกับความดีความชั่ว และความสุขความทุกข์ในระหว่างมนุษย์พอกพูนขยายวงกว้างขวางออกไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มองอีกด้านหนึ่ง ปัญหาเกิดจากมนุษย์มีทุกข์อยู่แล้ว แต่แก้ไขทุกข์ไม่ถูกต้อง จึงระบายทุกข์นั้นออกไป ทำให้ทุกข์กระจาย เพิ่มขยายปัญหาทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ด้วยความเป็นไปเช่นนี้ ทุกข์ที่เป็นสภาวะติดเนื่องมากับความเป็นสังขารของชีวิต หรือทุกข์ตามธรรมดาของธรรมชาติ แทนที่จะถูกแก้ไข กลับถูกละเลยมองข้าม หรือปิดกลบไว้เสีย แล้วสุขทุกข์ และปัญหาต่างๆ ชนิดที่เกิดจากฝีมือเสกสรรผันพิสดารของมนุษย์ ก็เกิดประดังพรั่งพรูวิจิตรนานัปการ จนแทบจะบดบังให้มนุษย์ลืมปัญหาพื้นฐานของชีวิตเสียทีเดียว


บางคราว มนุษย์เองยังติดหลงไปด้วยซ้ำว่า หากลืมมองปัญหาพื้นฐานของชีวิตนั้นเสียได้ ก็จะสามมารถหลุดพ้นไปจากความทุกข์ และชีวิตก็จะมีความสุข แต่ความจริงยังคงยืนยันอยู่ว่า ตราบใด มนุษย์ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาพื้นฐานแห่งชีวิตของตน ยังวางตัววางใจหาที่ลงไม่ได้กับทุกข์ถึงขั้นตัวสภาวะ ตราบนั้น มนุษย์ก็จะยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ยังหลีกไม่พ้นการตามรังควานของทุกข์ ไม่ว่าจะพบสุขขนาดไหน และจะยังไม่ประสบความสุขที่แท้จริง ซึ่งเต็มอิ่ม สมบูรณ์ในตัว และจบบริบูรณ์ลงที่ความพึงพอใจอย่างไม่คืนคลายไม่กลับกลาย



ซ้ำร้าย ทุกข์พื้นฐานที่หลบเลี่ยงและยังไม่ได้แก้นั้น กลับจะกลายเป็นเงื่อนปมซ้อนอยู่เบื้องหลัง คอยส่งอิทธิพลออกมาบีบคั้นรุนเร้าให้การแสวงหาและเสวยสุขต่างๆ เป็นไปอย่างเร่าร้อนกระวนกระวาย ไม่รู้จักเต็มอิ่ม และไม่มีความแน่ใจจริง ขาดความมั่นใจที่โปร่งโล่ง พร้อมทั้งส่งผลในทางจริยธรรมเกี่ยวกับความดี ความชั่ว เช่น เพิ่มทวีการแย่งชิงเบียดเบียน ให้แพร่หลายและรุนแรงยิ่งขึ้นด้วย พูดอีกนัยหนึ่งว่า สร้างความกดดันให้ทุกข์แฝงขยายตัวเพิ่มขีดระดับสูงตามขึ้นไป


การ ดำเนินชีวิต ก็คือ ความพยายามที่จะแก้ปัญหาของชีวิต หรือการหาทางปลดเปลื้องไถ่ถอนทุกข์ แต่ถ้าไม่รู้วิธีแก้ไขหรือวิธีปลดเปลื้องไถ่ถอนที่ถูกต้อง การแก้ปัญหา ก็กลายเป็นการเพิ่มปัญหา การปลอดเปลื้องไถ่ถอนทุกข์ ก็กลายเป็นการสะสมสมทุกข์ ยิ่งพยายามดำเนินไป ปัญหาหรือทุกข์ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น กลายเป็นวงจร และเป็นวงจรที่ยิ่งหนายิ่งเข้มข้นยิ่งซับซ้อนขึ้นทุกที เรียกโดยภาพพจน์ว่าเป็นวังวนแห่งปัญหา และการเวียนว่ายอยู่ในทุกข์ สภาพเช่นนี้ คือ ความเป็นไปแห่งกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์ (วังวนแห่งการเวียนว่ายอยู่ในทุกข์) ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในหลักปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร หรืออนุโลมปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นว่า ปัญหาหรือความทุกข์ของมนุษย์เกิดขึ้นตามกระบวนการแห่งเหตุและผลอย่างไร



ถ้ามนุษย์อยู่กับความเป็นจริง รู้เข้าใจทุกข์ตามสภาวะของมัน ไม่ซ่อนปัญหา ไม่ปิดตา ไม่หลอกตัวเอง มีใจลงตัวกับทุกข์นั้นตามที่มันเป็นของมันได้ นอกจากว่าเขาจะไม่มีปมซ้อนข้างในที่จะก่อปัญหาใหม่ที่จะขยายปัญหาเก่า แล้ว ปัญญาที่เขามีเป็นพื้นฐานนั้น ก็จะพัฒนาขึ้นไป มาปลดปล่อยจิตใจของเขาให้เป็นอิสระแม้แต่จากทุกข์ที่เป็นสภาวะพื้นฐานของชีวิตด้วย โดยที่ว่า ทุกข์ที่มีเป็นสภาวะตามธรรมดาของมันในธรรมชาติ ก็เป็นเพียงทุกข์ของธรรมชาติตามธรรมดาของมันไป ไม่มีผลที่จะก่อปัญหาทำให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นในจิตใจของเขา



ยิ่ง กว่านั้น แม้แต่ในระหว่างที่ยังไม่เป็นอิสระสิ้นเชิง เมื่อไม่มีเงื่อนปมของปัญหาจากทุกข์ที่บังตาไว้นั่น เขาจะเสวยความสุขได ก็เสวยได้เต็มอิ่มสมบูรณ์ตามสภาวะที่มีที่เป็นของมันนั้น และพร้อมกันนั้น โอกาสก็เปิดให้ในการที่คนจะพัฒนาความสุขขั้นต่างๆ ได้มากมาย มีความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น สุขที่เป็นอิสระมากขึ้น สุขที่เต็มอิ่มมากขึ้น ความสุขที่สมบูรณ์ปลอดมลพิษมากขึ้น ความสุขสัมพัทธ์ที่โปร่งโล่งมากขึ้นไปตามลำดับ จนถึงความสุขที่ไร้ทุกข์แท้จริง หนทางแห่งความสุขเปิดกว้างเต็มที่ ไม่มีกรอบกั้นหรือขีดคั่นที่จะจำกัดใดๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าโดยหลักพื้นฐาน พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร อันเป็นที่มาของปัญหาหรือความทุกข์แล้ว ก็มิได้หยุดอยู่เพียงนั้น แต่ได้แสดงปฏิจจสมบุปบาทนิโรธวาร อันเป็นกระบวนธรรมฝ่ายวิวัฏฏ์ คือฝ่ายดับทุกข์ หรือแก้ไขปัญหาต่อไปอีกด้วย เป็นการชี้ให้เห็นว่า ทุกข์หรือปัญหาของมนุษย์เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ และแสดงวิธีแก้ไขไว้ด้วย


ยิ่งกว่านั้น ยังทรงชี้ต่อไปถึงภาวะที่เลิศล้ำสมบูรณ์ ซึ่งมนุษย์สามารถมีชีวิตที่ดีงามและเป็นสุขแท้จริงได้โดยไม่ต้องฝากตัวขึ้น ต่อปัจจัยภายนอก ไม่ต้องเอาสุขทุกข์ของตนไปพิงไว้กับสิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขารให้สิ่งเหล่า นั้นกำหนด ซึ่งสิ่งเหล่านั้นแม้แต่ตัวมันเองก็ทรงเอาไว้ไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงว่าจะไปช่วยรับพิงรับยันให้ใครทรงแสดงให้เห็นว่า ภาวะเช่นนี้มีอยู่ และเป็นไปได้ ภาวะนั้นเป็นสิ่งที่ให้เกิดคุณค่าและความหมายแก่ชีวิตได้อย่างแท้จริง เพราะทำให้ชีวิตเป็นอิสระ เป็นไทแก่ตัว ไม่ต้องขึ้นกับสิ่งภายนอก



ทั้งนี้ต่างกับภาวะอย่างอื่นภายนอก เช่น ความสุข เป็นต้น ที่มนุษย์แสวงหากันอยู่ ซึ่งเมื่อมนุษย์รับเอาคุณค่าและความหมายจากมัน มันก็ทำให้ชีวิตของมนุษย์สูญเลียคุณค่าหมดความหมายไปด้วย เพรามันเองไม่มีคุณค่าและความหมายที่จะเป็นหลักให้แก่ใคร ด้วยว่าตัวมันเองก็ขึ้นกับสิ่งอื่นๆ ต่อๆไป อย่างน้อยที่สุด มันก็ทำให้ความเป็นอิสระความเป็นไทของมนุษย์หลุดออกไปอยู่ในกำกับของมัน


แม้ว่าในเบื้องต้น มนุษย์จะยังไม่สามารถเข้าถึงภาวะวิวัฏฏ์นี้ได้โดยสมบูรณ์ แต่เมื่อเริ่มต้นดำเนินชีวิตตามวิถีทางแห่งการแก้ปัญหาที่ถูกต้องนี้ แล้ว เมื่อสามารถตัดทอนกำลังของกระบวนธรรมแห่งปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร และเสริมกำลังกระบวนธรรมตามแนวปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารได้มากขึ้นเท่าใด ก็จะสามารถแก้ไขปัญหา เหินห่างจากทุกข์ และมีชีวิตที่ดีงามได้มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังจะทำให้สามารถเสวยสุขแบบเสพโลกได้อย่างรู้เท่าทัน ไม่สยบ ไม่ตกเป็นทาส ไม่ถูกกระแสความผันผวนของมันทำร้ายเอา ไม่เป็นเหตุก่อทุกข์หรือปัญหาทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น และยังจะช่วยให้มีชีวิตที่เกื้อกูลแก่กันในสังคมมากขึ้นตามลำดับอีกด้วย


ในที่นี้ จะแสดงแต่กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร พร้อมทั้งภาวะแห่งความดับทุกข์ ภาวะพ้นปัญหา หรือไม่เกิดปัญหาเลย ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามโดยตรงกับกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร พร้อมด้วยภาวะแห่งทุกข์ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น


(ส่วนการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิตที่เป็นวิธีแก้ปัญหาหรือผ่อนคลายทุกข์ในระหว่าง เพื่อความก้าวหน้าไปตามลำดับจนถึงจุดหมาย คือภาวะดับทุกข์หรือพ้นปัญหาโดยสิ้นเชิงในที่สุด จะยกไปกล่าวข้างหน้าในตอนต่อไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการดับทุกข์ หรือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร


ก. วงจรยาว

การ แก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อใหญ่โต หรือเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม ต้องมีความรู้จริงหรือความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้น จึงจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ มิฉะนั้น ปัญหาอาจยุ่งเหยิงสับสนหรือขยายตัวร้ายแรงยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาทั่วๆไปของชีวิตแต่ละเรื่องๆ ก็ต้องรู้เข้าใจตัวปัญหาและกระบวนการก่อเกิดของมันเป็นเรื่องๆไป จึงจะแก้ไขอย่างได้ผล


ยิ่งเมื่อต้องการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานของ ชีวิต หรือปัญหาของตัวชีวิตเอง โดยจะทำชีวิตให้เป็นชีวิตที่ไม่มีปัญหา หรือให้เป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์กันทีเดียว ก็ต้องรู้เข้าใจสภาพของชีวิตที่มีทุกข์ และเหตุปัจจัยที่ทำให้ชีวิตเกิดเป็นทุกข์ขึ้น พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ต้องรู้เข้าใจสภาพความจริงที่จะช่วยให้ทำลายกระบวนการก่อเกิดทุกข์ของชีวิต ลงได้


โดยนัยนี้ ความไม่รู้ หรือความหลงผิดเพราะไม่รู้จริง จึงเป็นตัวการก่อปัญหา และทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมุ่งเพื่อแก้ปัญหาหรือหลุดรอดจากทุกข์ กลายเป็นการเพิ่มพูนปัญหา สะสมทุกข์ยิ่งขึ้น ในทางตรงข้าม ความรู้ หรือความเข้าใจตามเป็นจริง จึงเป็นแกนนำของการแก้ปัญหาหรือดับทุกข์ทุกอย่าง

ในกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร ว่าด้วยการก่อเกิดทุกข์ ที่แสดงมาแล้ว เริ่มต้นด้วยอวิชชา ดังที่จะเขียนให้เห็นง่าย ต่อไปนี้


อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ทุกขสมุทัย

อวิชชาดับ > สังขารดับ > วิญญาณดับ > นามรูปดับ > สฬายตนะดับ > ผัสสะดับ > เวทนาดับ > ตัณหาดับ > อุปาทานดับ > ภพดับ > ชาติดับ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ

รายละเอียดอย่างอื่นทั้งหมด พึงทราบตามแนวที่ได้บรรยายแล้วในเรื่องปฏิจจสมุปบาท คือบทว่าด้วย ชีวิต เป็นไปอย่างไร


กระบวน ธรรมทั้งฝ่ายก่อเกิดทุกข์ และฝ่ายดับทุกข์ อย่างที่เขียนไว้นี้ เป็นวงจรแบบเต็มรูป หรือวงจรยาว คือมีองค์ธรรมที่เป็นปัจจัยครบทั้ง ๑๒ หัวข้อ และทำหน้าที่สัมพันธ์สืบทอดต่อเนื่องเรียงกันไป ตามลำดับจนครบทุกหัวข้อ


แต่ความจริง การแสดงปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร หรือกระบวนธรรมก่อเกิดทุกข์ ไม่จำเป็นต้องแสดงตลอดสายครบทุกหัวข้อตามลำดับอย่างนี้เสมอไป ในบาลีปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องเป็นแบบอื่นก็มี สุดแต่ว่าจุดของปัญหาจะตั้งต้นที่ไหน หรือทรงมุ่งย้ำเน้นข้อใดแง่ใด *


อย่าง ไรก็ตาม กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าจะทรงแสดงกระบวนธรรมฝ่ายก่อเกิดทุกข์เป็นแบบใดก็ตาม ในฝ่ายดับทุกข์ กระบวนธรรมมีหลักทั่วไปแบบเดียวกัน คือ ตั้งต้นแต่ดับอวิชชา ไปตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง * ^

*ตามที่ศึกษาสืบกันมา สรุปการแสดงปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร เป็น ๔ แบบ คือ


๑) ชักต้นไปหาปลาย (แบบธรรมดา): อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

(สํ.นิ.16/2-3/1-2)


๒) ชักปลายมาหาต้น: ชรามรณะ (ทุกข์) < ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตนะ < นามรูป < วิญญาณ < สังขาร < อวิชชา

(ม.มู.12/447/480)


๓) ชักจากลางย้อนมาต้น: อาหาร ๔ < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตนะ < นามรูป < วิญญาณ < สังขาร < อวิชชา

(สํ.นิ.16/28/14)


๔) ชักจากกลางไปหาปลาย: (สฬายตนะ > ผัสสะ >) เวทนา > (ตัณหา) อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส

(ม.มู.12/453/488)


สำหรับแบบแรก เวลาแสดงฝ่ายนิโรธวาร จะแสดงแบบบวงจรยาวเต็มรูป ถึงอวิชชา แต่สำหรับแบบที่ ๔ แสดงนิโรธวาร แบบวงจรสั้น เหมือนที่กล่าวในเนื้อเรื่อง ข้อ ข.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. วงจรสั้น


ในทางปฏิบัติ บางครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกระบวนธรรมตามสภาพความเป็นไปในชีวิตประจำวัน ชนิดที่จะมองเห็นและเข้าใจกันได้ง่ายๆ ในกรณีเช่นนี้ กระบวนธรรมฝ่ายก่อเกิดทุกข์ หรือปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร จะเริ่มต้นที่การรับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ แล้วแล่นต่อไปทางข้างปลายตลอดสาย จนถึงชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ละช่วงต้นของกระบวนธรรมตั้งแต่อวิชชาเป็นต้นมา ไว้ในฐานให้เข้าใจว่ามีแฝงอยู่ด้วยพร้อมในตัว ส่วนกระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ หรือปฏิจจสมุบาทนิโรธวาร ก็จะตั้งต้นที่ดับตัณหา เป็นต้นไป คือตั้งต้นหลังจากรับรู้ และเกิดเวทนาแล้ว ไม่ย้อนไปพูดถึงการดับอวิชชา เป็นต้น ในช่วงแรกเลย ดังจะเห็นได้จากบาลีที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้


แสดงสมุทยวารก่อน แห่งหนึ่งว่า


"ภิกษุทั้งหลาย เด็กนั้นเติบโตขึ้น อินทรีย์แก่กล้า เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาปรนเปรอด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่มีลักษณะน่ารัก เย้ายวน ชวนกำหนัด ชวนรักใคร่ เด็กนั้น เห็นรูปด้วยตา....ฟังเสียงด้วยหู...รู้กลิ่นด้วยจมูก....ลิ้มรสด้วย ลิ้น....ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมติดใจในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะน่ารัก ย่อมขัดใจในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะไม่น่ารัก เด็กนั้น อยู่โดยปราศจากสติกำกับตัว และมีจิตด้อย (จิตใจไม่เจริญเติบโต) ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ (ภาวะเป็นอิสระปลอดพ้นของจิตใจ) ปัญญาวิมุตติ (ภาวะเป็นอิสระปลอดพ้นด้วยปัญญา) อันเป็นที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายดับไปไม่เหลือ



"เด็กนั้น ประกอบความยินดียินร้ายเอาไว้อย่างนี้ ได้เสวยเวทนาของ ใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม เขาย่อมตั้งหน้าเพลิน พร่ำบ่นพร่ำชม สยบอยู่กับเวทนานั้น เมื่อเขาตั้งหน้าเพลิน พร่ำบ่นพร่ำชม สยบอยู่กับเวทนานั้น นันทิ (ความติดใคร่เหิมใจ) ย่อมเกิดขึ้น นันทิ ในเวทนานั้น ก็คืออุปาทาน เพราะอุปาทานของเขาเป็นปัจจัย ก็มีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย ก็มีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เกิดขึ้นพร้อม ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้"



อีกแห่งหนึ่งว่า


"ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์เป็นไฉน ? อาศัยตา และ รูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ภิกษุทั้งหลาย นี่แลคือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์"

(ทางด้านโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็อย่างเดียวกัน)


ความในบาลีทั้งสองแห่งนี้ จับเฉพาะองค์ธรรมหลัก เขียนเป็นกระบวนธรรมให้ดูง่าย ดังนี้

แบบแรก (สฬายตนะ > ผัสสะ>) เวทนา > นันทิ > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ทุกขสมุทัย

แบบที่สอง (สฬายตนะ>) ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา = ทุกขสมุทัย


ทั้งสองแบบนี้ โดยหลักการหรือสาระสำคัญ ก็อย่างเดียวกัน คือ เริ่มที่การรับรู้ทางอายตนะ แต่แบบแรกแสดงกระบวนธรรมต่อไปจนตลอดสาย แบบที่สอง แสดงถึงตัณหา ต่อจากนั้นคงเป็นอันให้รู้กันโดยนัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงนิโรธวารต่อไป แห่งแรกว่า (ต่อมา เด็กนั้นได้ออกบวชศึกษาปฏิบัติธรรม ประกอบด้วยศีล อินทรียสังวร และเจริญฌานแล้ว)


"เธอเห็นรูปด้วยตา ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ติดพันในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษะน่ารัก ไม่ขัดเคืองในรูป ในเสียง ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษะไม่น่ารัก เธออยู่อย่างมีสติกำกับตัว มีจิตใจที่ เจริญเติบใหญ่กว้างขวางไม่มีประมาณ และรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายดับไปไม่เหลือ เธอผู้ละความยินดียินร้ายได้อย่างนี้แล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม เธอย่อมไม่ตั้งหน้าเพลิน ไม่พร่ำบ่นพร่ำชม ไม่สยบกับเวทนานั้น นันทิใดๆ ในเวทนาทั้งหลาย ย่อมดับ เพราะความดับแห่งนันทิของเธอ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้"


แห่งที่สองว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน? เพราะอาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหานั้นแหละจางดับไปไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี่แลคือความดับแห่งทุกข์"

(ทางด้านโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็อย่างเดียวกัน)


บาลีทั้งสองแห่งนี้ เขียนเป็นกระบวนธรรมให้ดูง่าย ดังนี้


แบบแรก (สฬายตนะ > ผัสสะ>) เวทนา > นันทิดับ > อุปาทานดับ > ภพดับ > ชาติดับ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ

แบบที่สอง (สฬายตนะ >) ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา: (แต่) ตัณหาดับ > อุปาทานดับ > ภพดับ > ชาติดับ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ


ตามที่เขียน แสดงนี้ แบบแรกแสดงใหม่ตลอดสาย ให้ตรงข้ามกับฝ่ายสมุทยวารที่ได้แสดงไปแล้วนั้น ส่วนแบบที่สอง แสดงต่อจากฝ่ายสมุทยวารนั้นไปเลย เพราะสมุทัยวารแสดงไว้เพียงแค่ตัณหา พอถึงตัณหาก็หักกลับตรงข้ามให้เป็นฝ่ายดับไปจนตลอดสาย


แต่รวมความแล้ว ทั้งสองแบบนี้ไม่ต่างกันเลย หลักการใหญ่และสาระสำคัญคงเป็นอย่างเดียวกัน ่ คือ แสดงกระบวนธรรมฝ่ายดับ หลังจากมีการรับรู้และเสวยเวทนาแล้ว โดยตัดตอนให้หยุดเพียงนั้น ไม่ให้นันทิ หรือ ตัณหาเกิดขึ้นได้ วงจรก็ขาด ทุกข์ก็ไม่เกิด


พึงสังเกตว่า คำว่า นันทิ ในแบบที่ ๑ พูดอย่างคร่าวๆ ก็ตรงกับตัณหาในแบบที่สองนั่นเอง เป็นแต่ใช้ยักเยื้องไปเล็กน้อย ให้เหมาะกันกับข้อความแวดล้อมที่เป็นกรณีเฉพาะของแบบที่หนึ่งนั่นเท่านั้น


ข้อสังเกตสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ข้อความในบาลีของแบบที่ ๑ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คำว่านันทิดับ หมายความว่า นันทิที่ไม่เกิดขึ้น หรือไม่มีนันทินั่นเอง เมื่อนำความหมายนี้มาใช้แสดงการดับตัณหาในแบบที่สอง ก็จะได้สาระสำคัญว่า "เมื่อรับ รู้แล้ว เกิดเวทนา แล้วก็จะเกิดตัณหาตามกระบวนธรรมแบบก่อทุกข์ แต่คราวนี้ ตัดตอนเสียก่อน โดยปิดกั้นไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น วงจรก็ขาด องค์ธรรมข้อต่อๆไป เช่น อุปาทาน เป็นต้น ก็ไม่เกิด ทุกข์ก็ไม่เกิด ทุกขนิโรธก็สำเร็จ"



ในกระบวนธรรมแบบวงจรสั้น ทั้งฝ่ายก่อเกิดทุกข์หรือฝ่ายสังสารวัฏฏ์ และฝ่ายดับทุกข์ หรือฝ่ายวิวัฏฏ์นี้ แม้จะไม่ได้กล่าวถึงอวิชชาไว้ แต่ก็พึงทราบว่ามีอวิชชาแฝงอยู่พร้อมในตัว ซึ่งเห็นได้ไม่ยาก กล่าวคือ ในฝายก่อเกิดทุกข์ เมื่อเสวยเวทนาแล้ว ตัณหาเกิดขึ้น ก็เพราะไม่รู้เท่าทันสภาพความจริงของสิ่งที่ตนเสพเสวยนั้น ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเข้าไปยึดถือเอาเป็นของตนได้จริง ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมีคุณมีโทษอย่างไรๆ เป็นต้น และทำการรับรู้ด้วยอวิชชาที่เรียกว่า อวิชชาสัมผัส เวทนาที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในฝ่ายดับทุกข์ เมื่อเสวยเวทนาแล้ว ไม่เกิดตัณหา ก็เพราะมีความรู้เท่าทันสภาวะสังขารของสิ่งที่เสพเสวย คือมีวิชชารอง เป็นพื้นอยู่ จึงทำการรับรู้ชนิดที่ไม่ประกอบด้วยอวิชชา เมื่อไม่มีอวิชชาสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่นำไปสู่ตัณหา ดังนั้น ที่ว่าตัณหาดับ จึงบ่งถึงอวิชชาดับอยู่แล้วในตัว พูดอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการดับอวิชชาที่แสดงอย่างอ้อม โดยยกการดับตัณหาขึ้นชูเป็นตัวเด่น (เหมือนอย่างทีพระพุทธเจ้าแสดงในคำจำกัดความอย่างสั้นของอริยสัจข้อที่ ๒ และ ๓ ว่า ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ และดับทุกข์ได้ด้วยการดับตัณหา) การที่ทรงแสดงแบบนี้ ก็เพื่อให้เห็นภาพในทางปฏิบัติง่ายขึ้น และเห็นทางที่จะนำเอาไปใช้ประโยชน์ชัดเจนยิ่งขึ้น



เท่าที่ กล่าวมาถึงปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ทั้งแบบวงจรยาวและวงจรสั้น สรุปว่า หลักการสำคัญของการดับทุกข์ คือ ตัดวงจรให้ขาด วงจรนี้ปกติตัดได้ที่หัวเงื่อน หรือขั้ว ๒ แห่ง ได้แก่ ที่ขั้วใหญ่ คืออวิชชา และที่ขั้วรอง คือตัณหา แต่ไม่ว่าจะตัดที่ขั้วใด ก็ต้องให้ขาดถึงอวิชชาด้วย การตัดวงจรจึงมี ๒ อย่าง คือ ตัดโดยตรงที่อวิชชา และตัดโดยอ้อมที่ตัณหา



เมื่อวงจรขาด กระบวนธรรมสังสารวัฏฏ์สิ้นสุดลง เข้าสู่วิวัฏฏ์ ก็จะบรรลุภาวะแห่งความดับทุกข์ เป็นผู้มีชัยต่อปัญหาชีวิต เป็นอยู่อย่างไร้โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น มีความสุขที่แท้จริง เรียกว่า เข้าถึงวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ หรือนิพพาน อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้ คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมามีชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า สังสารวัฏฏ์ และวิวัฏฏ์ นำมาใช้ ณ ที่นี้ ตามนิยมแห่งวิวัฒนาการของภาษา ไม่ใช่คำจำเพาะที่ใช้มาแต่เดิม สังสารวัฏฏ์ ในบาลี นิยมใช้เพียงสังสาร (เช่น สํ.นิ.16/421/212 เป็นต้น) หรือวัฏฏะ (เช่น สํ.ข.17/122/79 เป็นต้น) คำใดคำหนึ่ง ต่อมา ในบาลี รุ่นรองจึงใช้ควบกัน เช่น ขุ.ม.29/701/414 เป็นต้น ส่วน วิวัฏฏ์ ในบาลีทั่วไปไม่นิยมใช้ในความหมายนี้ เว้นแต่ในปฏิสัมภิทามัคค์ (เช่น 31/1/3...) ต่อมาในคัมภีร์รุ่นอรรถกถาและฎีกา จึงนิยมใช้กันดื่นขึ้น (เช่น วิสุทฺธิ.3/351...เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 1.55 KiB | เปิดดู 3557 ครั้ง ]
หัวข้อนี้ก็นำมาจากหนังสือพุทธธรรมหน้า 325 เมื่อลงแล้วโดยมากจะตัดชื่อคัมภีร์ใช้อ้างอิงออกเห็นว่ารุงรัง และทุกๆบทความก็จากหนังสือนี้ ต่อไปจะไม่บอกอีก สำหรับผู้ที่พูดค่อน ทำนองว่ากรัชกายขโมยบทความผู้อื่นมาเป็นของตน พึงมาดูที่นี่ :b32: คิดไปได้ แล้วมันได้อะไรหือ :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2014, 12:17 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาสาธุค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร