วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




10306622_523137447815891_5365373894038993849_n.jpg
10306622_523137447815891_5365373894038993849_n.jpg [ 38.35 KiB | เปิดดู 6174 ครั้ง ]
เมื่อในชุมชนมีผู้ใดป่วยไม่สบายแล้ว
ก็จะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเยี่ยมอาการป่วย
ซึ่งเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคตามสมัย หรืออาจหลงลืมไปบ้างก็มี

นอกจากมีการเยี่ยมผู้ป่วยแล้ว ยังมีการจัดพิธีนิมนต์พระภิกษุมา
เจริญพระพุทธมนต์ต่ออายุ ถวายสังฆทาน สวดบังสกุลเป็น
การแสดงธรรมให้ผู้ป่วยฟังนั้น มิใช่จะแสดงให้ฟังมีเฉพาะ
ในอุบาสกอุบาสิกเท่านั้น ในหมู่พระสงฆ์ก็มีเช่นกัน

แม้แต่ในสมัยพุทธกาล เมื่อเกิดมีภิกษุอาพาธบางครั้งพระพุทธเจ้า
เสด็จไปแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง เช่นครั้งหนึ่งท่านมหากัสสปะพักอยู่
ณ ถ้ำปิปผลิ ได้เกิดอาพาธเป็นไข้หนักทุกกข์ทรมาน
พระพุทธองค์ ได้เสด็จไปเยี่ยมท่านพระมหากัสสปะ แล้วก็ได้ตรัสถาม
อาการอาพาธของท่านแล้วได้ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ

พอจบลง ท่านพระมหากัสสปะ พอใจ เพลิดเพลินข้อธรรมที่ทรงแสดง
แล้วท่านก็หายจากอาการป่วยไปในขณะนั้น ธรรมเทศนาข้อที่
พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ท่านพระมหากัสสปะนี้ ขื่อว่า "ปฐมคิลานสูตร"

นอกจากพระองค์ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ
กับพระมหากัสสปะแล้ว พระองค์ก็ยังแสดงแก่ท่านมหาโมคคัลลานะ
ซึ่งเป็นไข้อาพาธหนักทุกข์ทรมาน แล้วกราบทูลอาการอาพาธให้ทรงทราบ
พอฟังธรรมจบท่านพระมหาโมคคลานะ ก็หายจากอาการป่วยในขณะนั้นเช่นกัน
ที่แสดงโปรดพระโมคคานะนี้ขื่อว่า "ทุติยคิลานสูตร"

ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอาพาธประประชวรหนัก มีพระอาการทุกข์ทรมาน
พระองค์ก็ได้นิมนต์ให้พระภิกษุสงฆ์แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ทรงสดับ
เช่น เมื่อครั้งที่พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์
ทรงเกิดอาการอาพาธพระประชวรหนักมีอาการทุกข์ทรมาน

ตกเย็นท่านมหาจุลทะ น้องชายพระสารีบุตรได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
พอนั่งลงเรียบร้อย พระองค์ได้ให้ท่านแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ
ถวายให้สดับ เมื่อจบลงพระพุทธเจ้าทรงพอพระทัย หายจากอาการป่วยในขณะนั้น
ที่ท่านมหาจุลทะแสดงถวายแด่พระพุทธเจ้านี้ชื่อว่า "ตติยคิลานสูตร"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ที่ทรงแสดงแก่ท่านพระมหากัสสปะนั้นหนังสือสวดมนต์
ตั้งชื่อว่า มหากัสสปโพชฌงคสูตร

โพชฌงค์ที่แสดงแก่ท่านพระมหาโมคคานะนั้นหนังสือสวดมนต์
ตั้งชื่อว่า มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร

โพชฌงค์ที่ท่านพระมหาจุลทะแสดงถวายพระองค์นั้นหนังสือสวดมนต์
ตั้งชื่อว่า มหาจุลทโพชฌงคสูตร มีเนื้อหาสาระเหมือนกัน
เรียกปัจจุบันว่า สามภาณ คือ สวด ๓ จบ นิยมนิมนต์พระสงฆ์สวดให้ฟัง

บางครั้ง พระพุทธองค์จะมีรับสั่งพระภิกษุไปแสดงธรรมให้ภิกษุที่อาพาธฟัง
เช่น ครั้งหนึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ท่านพระคิริมานนท์
เกิดอาการอาพาธเป็นไข้หนัก ทุกข์ทรมาน ท่านพระอานนท์ทราบแล้วเข้าเฝ้ากราบทูล
ขอให้พระองค์เสด็จไปเยี่ยมแสดงอาการอาพาธ ของท่านพระคิริมานนท์

พระพุทธเจ้ามีรับสั่งให้พระอานนท์ไปเยี่ยมแทนพระองค์
ให้แสดงสัญญา ๑๐ ประการโดยพระองค์ได้ทรงแสดงสัญญา ๑๐
ให้พระอานนท์ฟังจำไปแสดงต่อ

ท่านพระอานนท์ได้กำหนดจำสัญญา ๑๐ ประการนี้ ไปแสดงกับพระคิริมานนท์
พอท่านฟังจบลงก็หายจากอาการอาพาธไปในขณะนั้น
ธรรมเทศนาที่พระองค์รับสั่งให้ท่านพระอานนท์ ทรงจำไปแสดงให้
ท่านพระคิริมานนท์ฟังนี้ ชื่อว่าคิริมานนทสูตร แต่ปัจจุบันดูเหมือนจะลดความนิยมลง
อาจจะเนื่องจากหาพระที่สวดได้มีน้อยลงจนเกือบไม่มีแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCANXI5NE.jpg
imagesCANXI5NE.jpg [ 81.71 KiB | เปิดดู 6236 ครั้ง ]
พระธรรมเทศนา ที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีฟังเมื่อตอนไม่สบาย
เป็นไข้หนักสูตรสุดท้ายในช่วงบั้นปลายชีวิตซึ่งท่านได้ฟังแล้ว
ต่อมาได้ถึงแก่กรรมตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต พระสังคีติกาจารย์
ได้จัดพระสูตรนี้ไว้ใน คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ชื่อว่า อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑกะ ในครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกะไม่สบายเป็นไข้หนักทุกข์ทรมาน
นอนรอความตายอยู่ปกติแล้วถ้าเท้าทั้งสองยังเดินได้อยู่ ท่านก็จะไปวัดพระเชตวัน
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าวันละ ๑ ครั้ง ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้างมิได้ขาด

เพราะท่านมีความรักในพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งนอกจากจะไปเข้าพระพุทธเจ้าแล้ว
ท่านก็ยังเยี่ยมเยือนพระมหาเถระทั้งหลายด้วย มาวันนี้ท่านอนลุกไม่ไหว
เพราะเท้าทั้ง ๒ ข้างเดินไม่ได้ ท่านต้องการส่งข่าวไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
และพระมหาเถระทั้งหลาย ท่านจึงได้เรียกบุรุษรับใช้คนหนึ่งมาสั่งให้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
ให้ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระพุทธองค์แทนตนแล้ว

กราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่าไม่สบายเป็นไข้หนักทุกข์ทรมาน
ขอฝากกราบเท้ามาถึงท่านพระสารีบุตร
ให้นิมนต์ท่านสารีบุตรช่วยมาอนุเคราะห์ไปเยี่ยมที่บ้านด้วย

บุรุษรับใช้รับคำแล้วได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร
ในเวลาพลบค่ำพระอาทิตย์ตกดินแล้ว พอถึงได้ถวายอภิวาทพระพุทธเจ้าแล้วนั่งลง
ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง พอนั่งลงเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระองค์ว่า ท่านอนาถบิณฑกะ
ไม่สบายเป็นไข้หนัก ฝากมาถวายอภิวาทเบื้องพระยุคลบาทพระองค์ พระเจ้าค่ะ
ขอให้พระองค์ไปเยี่ยมที่บ้านด้วย

มีต่อ....
V

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์แล้วนุ่งสบงทรงจีวรถือบาตร
มีพระอานนท์เป็นอนุจรไปบ้านท่านอนาถบิณฑิกะ พอไปถึงก็นั่งบนอาสนะที่จัดถวาย
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตรไดถวายถามอาการไข้ท่านอนาถบิณฑิกะว่า
"คหบดี ท่านพอทนได้หรือ พอประคองตนได้หรือ อาการทุกข์ทรมานของท่าน
ยังทวีคูณหรือทุเลาลง พอจะบรรเทาหรือยังไม่บรรเทา"

ท่านอนาถบิณฑิกะเรียนว่า "พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมจะทนไม่ไหวแล้ว
จะประคองตนอยู่ไม่ไหวแล้ว อาการทุกข์ทรมานของโยมยังทวีคูณอยู่ ไม่ทุเราเลย
อาการทวีคูณอยู่เรื่อยๆ ไม่บรรเทาเลย" แล้วยังเรียนให้ท่านพระสารีบุตร และท่าน
พระอานนท์ทราบอาการทุกข์ทรมานว่า "ลมเสียดแทงในศีรษะของโยม
เจ็บปวดเหลือประมาน เหมือนมีคนนำเอาเข็มแหลมคมมาทิ่มแทง"

ในศีรษะของโยมเจ็บปวดเหลือประมาน เหมือนมีคนแข็งแรง
นำเชือกเหนียวมาผูกรัดจนตึง ลมเสียดแทงท้องของโยมเจ็บปวดเหลือประมาณ
เหมือนคนฆ่าโคนำมีดมาชำแหละโคอันคมกริบมาเฉือดเฉือน ในกายของโยม
ก็รู้สึกร้อนเหลือประมาณ เหมือนมีชาย ๒ คนที่แข็งแรงมาจับแขนขายกขึ้นย่าง
พลิกกลับไปกลับมาบนถ่านเพลิงที่ร้อนระอุ

พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมจะทนไม่ไหวแล้ว จะประคองตัวอยู่ไม่ไหวแล้ว
อาการทุกข์ทรมานของโยมยังทวีคูณอยู่ ไม่ทุเลาเลย อาการทวีคูณอยู่เรื่อยๆไม่บรรเทาเลย
ท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นว่า ท่านอนาถบิณฑิกะอาการหนักไม่ไหวแล้ว จึงแสดงธรรม
โปดเพื่อให้ท่านถือเป็นอารมณ์ข่มความทุกข์ทรมาว่า

"คหบดี ขอให้ท่านทำใจว่าเราจะไม่ยึดถือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แก่เรา
เราจะไม่ยึดถือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความรู้สึกในใจ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัย รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส ความรู้สึกในใจ จะไม่มีแก่เรา


มีต่อ.....

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เราจะไม่ยึดถือความรับรู้อารมณ์ทาง ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัยความรับรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถือการกระทบทาง ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัยการกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถือความรู้สึกที่เกิดเพราะการกระทบทาง ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัยความรู้สึกที่เกิดเพราะการกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณจะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ความรับรู้ที่อาศัยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถืออากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัย อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ จะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถือโลกนี้ ความรู้อารมณ์ที่อาศัยโลกนี้ จะไม่มีแก่เรา
เราจะไม่ยึดถือโลกหน้า ความรู้อารมณ์ที่อาศัยโลกหน้าจะไม่มีแก่เรา

เราจะไม่ยึดถือรูปที่เราเห็น เสียงที่เราได้ยิน กลิ่น รส สัมผัสที่เราได้ทราบ
ความรับรู้อารมณ์ที่อาศัยสิ่งนั้นๆ จะไม่มีแก่เรา

พอท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมจบลง ท่านอนาถบิณฑิกะได้ร้องให้น้ำตาไหลพราก

มีต่อ....

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพระอานนท์ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยเห็นแล้วจึงเข้าใจ
ท่านอนาถบิณฑิกะมีศรัทธาเลื่อมใสเป็นพระโสดาบัน ยังกลัวตาย
คนอื่นใครเล่าจะไม่กลัวตาย จึงกล่าวกับท่านอนาถบิณฑิกะว่า
คหบดี ท่านยังอาลัยห่วงใยสมบัติของตนอยู่อีกหรือ คหบดีท่านสิ้นหวังหรือ

ท่านอนาถบิณฑิกะ กล่าวตอบท่านพระอานนท์ว่า พระคุณเจ้า
โยมมิได้ห่วงใยในสมบัติของตน โยมมิได้สิ้นหวังแต่ที่โยมร้องให้เพราะคิดว่า
โยมอยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ผู้ที่น่าเจริญใจเป็นเวลานาน
ยังไม่เคยฟังธรรมเทศนาอย่างนี้เลย

ท่านพระอานนท์กล่าวเสริมว่า คหบดี ธรรมเทศนาอย่างนี้
ไม่เป็นที่เข้าใจสำหรับผู้ครองเรือน เป็นที่เข้าใจสำหรับบรรพชิต

ท่านอนาถบิณฑิกะเรียนท่านพระสารีบุตรว่า
พระคุณเจ้าสารีบุตร ขอให้ธรรมเทศนาอย่างนี้จงเป็นที่พอใจแก่คฤหัสถ์
ผู้ครองเรือนด้วยเถิด เพราะคนที่มีกิเลสเบาบางยังมีอยู่ ถ้าเขาไม่ได้ฟังธรรมจักเสื่อม
ผู้รู้ธรรมจักมี พอท่านสารีบุตรกับพระอานนท์กลับไปไม่นาน
ท่านอนาถบิณฑิกะก็ถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2014, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อมาพอตกกลางคืน พอปฐมยามผ่านไป อนาถบิณฑิกะเทพบุตร
มีวรรณงดงาม เปล่งรัศมีจนสว่างไสวไปทั่วพระเชตวันมหาวิหาร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงในที่ประทับได้ถวายอภิวาทแล้วได้ไปยืนอยู่
ณ ด้านที่สมควรด้านหนึ่ง กราบทูลเป็นคาถา แปลว่า

ข้าพระองค์ รู้สึกชื่นชมยินดีกับพระเชตวันอันเป็นที่พำนัก
ของพระธรรมราชาและพระภิกษุสงฆ์นี้เหลือเกิน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยการกระทำ ปัญญา ธรรม ศีล
และการเป็นอยู่อันสูงสุด มิใช่บริสุทธิ์ด้วยวงตระกูล หรือด้วยทรัพย์

ดังนั้น บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน
พึงเลือกเฟ้นธรรมด้วยอุบาย จะบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรมนั้นดังนี้
พระสารีบุตรแล เป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา ด้วยศีล ด้วยความสงบ
พระภิกษุอื่นแม้จะถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ย่อมไม่เกินไปกว่าพระสารีบุตร

พระบรมศาสดาทรงพอพระทัย อนาถบิณฑิกเทพบุตร ทราบว่า
พระพุทธองค์พอพระทัย จึงถวายอภิวาทกระทำประทักษิณหายไปใน ณ ที่นั้น
พอรุ่งเช้า พระพุทธองค์มีรับสั่งกับพระภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อคืนนี้ เทพบุตรองค์หนึ่ง
ได้เข้ามาเฝ้าตถาคตกล่าวชมเชย สารีบุตรให้ตถาคตฟัง แล้วหายไป

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า คงจะเป็นอนาถบิณฑิกเทพบุตร เพราะก่อนถึงแก่กรรม
ท่านอนาถบิณฑิกะเลื่อมใสท่านพระสารีบุตรเป็นอย่างมาก พระพุทธองค์
จึงตรัสว่า สาธุ สาธุ อานนท์เป็นอย่างที่เธอคิด เทพบุตรตนนั้น
เป็นท่านอนาถบิณฑิกะ ไม่ใช่ใครอื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สาระจากสูตรนี้

หลักธรรมในอนาถปิณฑิโกวาทสูตรนี้
เป็นข้อธรรมที่ควรศึกษาอย่างยิ่งสำหรับอุบาสก อุบาสิกา และชาวเราทั้งหลาย
เพราะเราท่านทั้งหลาย วันหนึ่งจะต้องประสบกับความเจ็บไข้ มีอาการทุกข์ทรมาน
เมื่อถึงวันนั้น แม้ว่าการเจ็บไข้ที่มาเยือนเราจะยังไม่ถึงกับให้เสียชีวิต

แม้เป็นเพียงเล็กน้อยก็ตาม ถ้าเราไม่ตั้งสติกำหนดแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจิตใจเราจะเป็นมากกว่า
อาการเจ็บไข้ ก็เนื่องจากเรามีความยึดถือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รูปร่างกายของเรามากนั่นเอง มันก็เป็นธรรมดา ปุถุชนก็ต้องมีความยึดถือร่างกายของตน
แต่ก็ควรศึกษาไว้บ้างเพื่อเป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อไป

อาการทุกข์ทรมานของท่านอนาถบิฑิกะ
เป็นอาการที่จวนเจียนจะถึงแก่กรรมผู้ที่จะถึงแก่กรรมนั้น
ความร้อนแห่งไฟธาตุในกาย เป็นเสมือนไฟที่ถูกลมกระพือพัดลุกโพลง
ไฟธาตุนั้นจะดับไปพร้อมกับประสาททุกส่วนดับ ถ้าไฟธาตุที่ร้อนนั้น
ยังทรงความร้อนอยู่ตราบใด อาการทุกข์ทรมานที่จวนเจียนจะถึงแก่กรรม
ก็จะยังทรงอาการอยู่ตราบนั้น เพราะความรู้สึกยังไม่ดับ

ท่านพระสารีบุตรท่านทราบเหตุนั้น จึงแสดงธรรมเพื่อให้ท่านอนาถบิณฑิกะ
คลายความยึดถืออายตนะภายในอายตนะภายนอก ความรู้ที่เกิดจาก
อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกกระทบกัน เพื่อให้คลายความยึดถือธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เป็นต้น
ก็เพราะท่านได้พิจารณาเห็นว่า อาการทุกข์เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกะ
นั้นจวนเจียนจะทำให้ท่านถึงแก่กรรมแล้ว สนทนากันเรื่องอื่นก็ไร้ประโยชน์

จะต้องแสดงธรรมเพื่อให้คลายความยึดถือ เพราะบุคคลผู้ยึดถืออายตนะภายใน
และอายตนะภายนอกด้วยตัณหา ด้วยมานะ ด้วยทิฎฐิ ย่อมไม่สามารถจะข่มความทุกข์
ทรมานในเวลาใกล้ตายได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อยังยึดถือว่า
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งธาตุ ๔
เป็นของตนแล้ว เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปร่างกาย เกิดอาการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
เนื่องด้วยไฟในกาย ลมในกาย น้ำในกาย กำเริบทำให้ดินคือกายที่มีส่วนแข้นแข็ง เกิดอาการผิด
ปกติ ก็จะรู้สึกทรมานมีทุกขเวทนามาก ถ้าคลายยึดถือลงบ้าง ก็พอจะข่มทุกขเวทนาลงได้

ท่านพระสารีบุตรสอนท่านอนาถบิณฑิกะไม่ให้ยึดถือ เมื่อไม่ยึดถือรูปร่างกายที่เจ็บปวด
ความรับรู้อารมณ์ คือ ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานก็จะไม่มีแก่ผู้ยึดถือ
เราท่านทั้งหลาย ผู้ต้องพบกับโรคภัยไข้เจ็บที่แสนจะทุกข์ทรมาน พึงศึกษาพระธรรมเทศนา
ของท่านพระสารีบุตรนี้ให้ขึ้นใจ แล้วน้อมนำมาปฏิบัติเมื่อถึงเวลานั้น

ที่ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมตอนท้ายๆ ให้ท่านอนาถบิณฑิกะทำใจว่า
เราจะไม่ยึดถืออากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ และความรับรู้อารมณ์ที่อาศัย อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ จะไม่มีแก่เรา

นั้นเป็นการไม่ยึดถือในอรูปฌาน ๔ ข้อความตอนนี้อรรถกามิได้อธิบายอะไรที่ไม่ให้ยึดถือ
อรูปฌาน ๔ คงเป็นเพียงลำดับแห่งการเทศนา คือการแสดงธรรมตั้งแต่ระต่ำขึ้นไป
จนถึงระดับสูง และก็ไม่ปรากฎว่าท่านอนาถบิณฑิกะได้ฌานสมาบัติ ๘ ที่ไหน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2015, 13:39 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร