วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




75361517399.png
75361517399.png [ 159.47 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง สัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัวทั่วพร้อม

สัมปชัญญะ เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ คือมีความรู้สึกตัวตลอดว่ากำลังทำ
กำลังพูด หรือกำลังคิอะไรอยู่ หรือรู้ตัวว่ากำลังเดิน ยืน นั่ง นอน เพราะเป็นธรรมที่เอื้อกับสติ
ที่มีอยู่ ๔ ลักษณะ

๑. สาตกสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด พิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด สิ่งใดๆ
ที่เหมาะสมกับเวลา สถานที่ ว่าพึงทำ พึงพูด เช่นไร (อนาคต)
๒. โคจรสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ในปัจจุบัน ในการกระทำใดๆ
ว่าทำสิ่งใดอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหวเช่นไร (ปัจจุบัน) ในมหาสติปัฏฐาน กายานุปัสสนา นั้น
หมายถึงโคจรสัมปชัญญะนี้
๓. สัมปายสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่อาการจิตที่ไม่มีทุกขเวทนามาก
จนขันธ์ทำงานได้ปกติดี เช่นคนมีทุกข์มากย่อมขาดสติได้ ผู้ที่ทุกข์น้อยก็อาจคุมสติได้ดีกว่า
๔. สัมโมหสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด รู้สิ่งที่ผ่านมา เคยทำ คำสอนในอดีต
ที่พึงใช้ รู้ว่าเราเป็นใครมีหน้าที่อะไร สิ่งที่เคยพูดให้สัญญาเอาไว้เช่นรู้ตัวว่า
เราเป็นพระพึงรักษาวินัย รู้ตัวว่าละครที่ดูเป็นเพียงการแสดง เราเป็นเพียงคนดูหนังอยู่
คนเราต้องแก่เป็นธรรมดา เท่านั้น (อดีต)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




สามเณร-png-.png
สามเณร-png-.png [ 191.4 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่องโสรัจจะ

โสรัจจะ แปลว่า ความเสงี่ยม คือการควบคุมจิตใจให้เยือกเย็นเหมือนปกติ
เมื่อได้รับความทุกข์ หรือถูกกระทบกระทั่งแดกดันเป็นต้น

โสรัจจะ เป็นธรรมคู่แฝดของขันติ ต้องมีคู่กัน กล่าวคือ ขันติ เป็นตัวข่มกายวาจา
ไม่ให้แสดงอาการดิ้นรนหรือพูดจาตอบโต้

โสรัจจะ เป็นตัวข่มใจให้สงบนิ่ง ทำให้ดูเป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เช่นเมื่อถูกด่าว่า สามารถทนได้ไม่โต้ตอบ ข่มความโกรธไว้ได้ แต่ใจยังเดือดอยู่
มือยังสั่นอยู่ อย่างนี้เรียกว่ามีขันติแต่ขาดโสรัจจะ เมื่อข่มใจให้เย็นได้
มือไม่สั่นปากไม่สั่น หน้าไม่แดงด้วยความโกรธ เรียกว่ามีทั้งขันติและโสรัจจะ

โสรัจจะ เป็นโสภณธรรม คือธรรมที่ทำให้คนเราดูดี งดงาม
มีสง่าน่าเกรงขามเช่นเดียวกับขันติ
(ดูเรื่องขันติ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




segment_regular_-LWbWxoG1JE-1.png
segment_regular_-LWbWxoG1JE-1.png [ 202.68 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง สักกายทิฎฐิ

สักกายทิฎฐิ แปลว่า ความเหนว่าเป็นตัวตน คือความที่ยึดติดอยู่ขันธ์ ๕
ว่าเป็นตัวตน ว่าเป็นของตน เช่นเห็นว่ารูปเป็นตัวตน เห็นว่ารูปเป็นของตน เป็นต้น

ใน อัตตวาทุปาทาน ติดใจยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน
ก็คือยึดมั่นใน สักกายทิฏฐินั่นเอง ซึ่งจำแนกรายละเอียดไปตามขันธ์ ๕
จึงเป็นสักกายทิฏฐิ ๒๐ ดังต่อไปนี้

๑. รูปขันธ์ เห็นว่า รูปเป็นตน ตนเป็นรูป รูปอยู่ในตน ตนอยู่ในรูป
๒. เวทนาขันธ์ เห็นว่า เวทนาเป็นตน ตนเป็นเวทนา เวทนามีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ เห็นว่า สัญญาเป็นตน ตนเป็นสัญญา สัญญามีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในสัญญา
๔. สังขารขันธ์ เห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นตน ตนเป็นสังขาร สังขารทั้ง หลายมีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในสังขาร
๕. วิญญาณขันธ์ เห็นว่าวิญญาณเป็นตน ตนเป็นวิญญาณ วิญญาณมีอยู่ใน ตน ตนมีอยู่ในวิญญาณ

บุคคลทั่วไป ยกเว้นพระอริยเจ้าแล้ว ย่อมมีสักกายทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น
จึงว่า สักกายทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิสามัญ มีแก่บุคคลทั่วไปทั่วหน้ากัน และก็สักกายทิฏฐินี่
แหละที่เป็นพืชพันธ์ของมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย

สักกายทิฐิ จัดเป็นสังโยชน์คือเป็นกิเลสที่ยึดโยง
สัตว์ไว้ในภพและกองทุกข์ มิให้หลุดพ้นไปได้ (ดูเรื่องสังโยชน์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d13bgc1-51110787-602c-4761-813f-a96cbeca6e8b.png
d13bgc1-51110787-602c-4761-813f-a96cbeca6e8b.png [ 142.23 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง สีลัพพตปรามาส

สีลัพพตัพปรามาส แปลว่า ความยึดถือศีลและพรต
ในข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ

สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้น
ได้ด้วยศีลและวัตร (คือ ถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอ
ที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงาย
หรืออย่างงมงายก็ตาม), ความถือศีลพรตโดยสักว่า ทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง,
ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย
(ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐)

สีลัพพตัพปรามาส จัดเป็นสังโยชน์คือเป็นกิเลสที่ยึดโยงสัตว์ไว้ในภพและกองทุกข์
มิให้หลุดพ้นออกไปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ftestickers-monks-walk-sticker-by-yasak-mahakarn (1).png
ftestickers-monks-walk-sticker-by-yasak-mahakarn (1).png [ 648.31 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง สีลานุสสติ

สีลานุสสติ แปลว่า การระลึกนึกถึงศีลเนื่องๆ
เป็นวิธีบำเพ็ญกรรมฐาน อย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ (ดูเรื่องอนุสสติ ๑๐)

สีลานุสสติ คือ การกำหนดนึกถึงศีลของตน นึกถึงความด่างพร้อยและความบริสุทธิ์
แห่งศีลที่ตนรักษา ตรวจดูว่าศีลที่ตนสมาทานไว้บกพร่องหรือไม่อย่างไร
ถ้าหากพบว่าบกพร่องก็ตั้งใจว่าจะสำรวมระวังมิให้ด่างพร้อยต่อไป พบว่าบริสุทธิ์
เรียบร้อยดีก็จะเกิดการปิติยินดี เกิดความอบอุ่นใจ สบายใจสำรวมระวังมากขึ้น

สีลานุสสติ เมื่อระลึกนึกถึงอยู่เนืองๆ ย่อมส่งผลให้มีความเคารพในศีล
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เร็ว ได้ ศรัทธา สติ ปัญญา บารมีเพิ่มไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เกิดปิติปราโมทย์ยิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddhist-monk-svg-vector-buddhist-monk-clip-art-svg-clipart (1).png
buddhist-monk-svg-vector-buddhist-monk-clip-art-svg-clipart (1).png [ 54.19 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง หิริ

หิริ แปลว่า ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป
หิริ หมายถึง ความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด
ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้น
ไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน เช่นบิดามารดามีความละอายใจ
ที่จะไม่ดูแลบุตรของตน เช่นนี้เรียกว่ามีหิริ

หิริ เกิดขึ้นได้ด้วยการคิดถึงการศึกษา ฐานะ ยศศักดิ์
ชาติตระกูลของตน คิดถึงความเสียกายที่จะเกิดขึ้น
รวมกับความแกล้วกล้าของจิตใจที่จะไม่ทำชั่วเช่นนั้น

หิริ เป็นธรรมรักษาคุ้มครองโลก ทำให้โลกเกิดสันติ
ทำให้คนเราอยู่กันอย่างสงบสุข เพราะคนที่มีหิริจะเกลียดความชั่ว
และละอายที่จะทำความชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ทำให้ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่โลกและสรรพสัตว์ทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




97605118222.png
97605118222.png [ 192.47 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่องโอตตัปปะ

โอตตัปปะ แปลว่า ความเกรงกลัวต่อบาป ทุจริต
หมายถึง ความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้

โอตตัปปะ เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษภัย หรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำชั่ว
จากการประพฤติทุจริตของตน เช่น ตัวเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง
เสียอิสระภาพ หรือถูกคนอื่นติเตียน ถูกสังคมรังเกียจเป็นต้น

โอตตัปปะ เป็น โลกปาลธรรม คือคุ้มครองโลกคู่กับหิริ
เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จำทำความผิด ทำให้งดเว้น
จากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดสันติภาพขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




16206348148.png
16206348148.png [ 29.92 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อกุศลกรรม

อกุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นอกุศล กรรมไม่ดี การกระทำของคนไม่ฉลาด

อกุศลกรรม หมายถึงบาป กรรมชั่ว ความชั่วร้าย ความเสียหาย ความไม่ถูกต้อง
ซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเว้น การกระทำบาป กระทำความชั่ว
เรียกว่าทำอกุศลกรรม เรียกย่อว่า ทำอกุศล หรือเรียกว่า ทำบาปอกุศล

อกุศลกรรม เกิดมาจากอกุศลมูลอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
เพราะเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุชักนำใจให้คิดทำอกุศลกรรม
เช่นเมื่อโลภะเกิดขึ้นก็เป็นเหตุให้คิดอยากได้ เมื่ออยากได้ก็แสวงหา
เมื่อไม่ได้ตามต้องการด้วยวิธีสุจริต ก็เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมอื่นต่อไป
เช่น ลักขโมย ปล้น จี้ ฉ้อโกง เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6977461526.png
6977461526.png [ 145.46 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อกุศลกรรมบถ

อกุศลกรรมบถ แปลว่า หนทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล
หรือการกระทำอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ ความเสื่อมทั้งปวง
พระพุทธองค์ทรงบัญญัติอกุศลกรรมบถไว้ ๑๐ ประการด้วยกัน

อกุศลกรรมบถ ๑๐ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ หมวดใหญ่ๆ คือ
อกุศลทางกาย (กายกรรม) อกุศลทางคำพูด (วจีกรรม) อกุศลทางใจ (มโนกรรม) ดังนี้

อกุศลทางกาย (กายกรรม) มี ๓ ข้อ ดังนี้
๑. ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน หมายถึง การลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การประพฤติผิดทางกาม

อกุศลทางวาจา (วจีกรรม) มี ๔ ข้อ ดังนี้
๑. มุสาวาท หมายถึง การพูดปด พูดเท็จ โกหก หลอกลวง
๒. ปิสุณวาจา หมายถึง พูดส่อเสียด คือพูดยุยงให้เขาแตกแยกกัน
๓. ผรุสวาจา หมายถึง พูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปะ หมายถึง พูดเพ้อเจ้อ

อกุศลทางใจ (มโนกรรม) มี ๓ ข้อ ดังนี้
๑. อภิชฌา หมายถึง ความละโมบ อยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน
๒. พยาบาท หมายถึง คิดร้ายปองร้ายมุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทำลายประโยชน์
และความสุขของผู้อื่นให้เสียหายไป
๓. มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง เห็นผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่วทำชั่วได้ดี
มารดาบิดาไม่มีบุญคุณ ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น

อกุศลกรรมบท ก็คือทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจนั่นเอง (ดูเรื่องทุจริต)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




LIVELIHOODS_img.png
LIVELIHOODS_img.png [ 23.49 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อคติ

อคติ แปลว่า ความลำเอียง หมายถึง เอนเอียงเข้าข้าง
เป็นความไม่ยุติธรรม ทางที่ไม่ควรดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่จะเดินต่อไป
หรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ

อคติ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน
เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง
ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ ซึ่งการกระทำในลักษณะ เช่นนี้
เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ

อคติ มี ๔ อย่าง คือ
๑. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ
๒. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธ หรือเกลียด ไม่ชอบ
๓. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก
อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
๔. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ

ความลำเอียงทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก ทุกยุคทุกสมัย
ที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว
มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียความยุติธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oyw4jeFGno1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oyw4jeFGno1wtg8hyo1_500.png [ 216.17 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อทินนาทาน

อทินนาทาน แปลว่า การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
หมายถึง การลักทรัพย์ รวมไปถึงการเบียดบัง ฉ้อ โกง ตระบัด
ทำลายทรัพย์ของผู้อื่นให้เสียหาย เป็นต้น

การกระทำที่จะเป็นอทินนาทานจะต้องครบองค์ ๕ คือ
๑. ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. รู้ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓. มีเจตนาจะลัก
๔. มีความพยายามในการลัก
๕. ลักทรัพย์นั้นมาได้ด้วยความพยายามนั้น

การกระทำอทินนาทานถือว่าเป็นการละเมิดศีล
แสดงถึงความเป็นมีความโลภเป็นเหตุให้ผู้กระทำมัวหมอง
เป็นเหตุก่อเวรภัยมีโทษถึงตกนรก และส่งผลทำให้เกิดเป็นคนยากจน
ขาดแคลนสมบัติในทุกภพทุกชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oytto5xmw71wtg8hyo1_500.png
tumblr_oytto5xmw71wtg8hyo1_500.png [ 209.65 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อนัตตา-อนัตตตา

อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้
โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ ๕ คำนี้จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นคำไวพจน์
ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก จะมาคู่กับคำไวพจน์ของขันธ์อีก ๒ คำ
คือ อนิจจัง กับ ทุกขัง นั่นเอง

อนัตตา ที่ขันธ์ ๕ ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้

๑. เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ ๔
เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
๒. หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
๔. แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา

อนัตตา หรือ อนัตตตา เป็นสามัญลักษณะ คือเกิดแก่สังขารทุกอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png [ 228.58 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม แปลว่า กรรมที่ให้ผลไม่มีระหว่างคั่น
คือต้องให้ผลทันทีหลังจากตายไป ไม่มีกรรมอื่นมาให้ผลคั่นกลาง
ถือว่าเป็นกรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) เป็นบาปกรรมที่ยิ่งกว่ากรรมใดๆ

ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี ๕ อย่าง คือ
๑.มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
๒.ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
๓.อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
๔.โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป
๕.สังฆเภท - ยังสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์

กรรม ๕ อย่างนี้ เมื่อผู้ตายไปย่อมตกนรกทันทีแม้จะทำบุญอื่นๆไว้มาก
ก็ต้องได้รับผลกรรมนั้นก่อน เช่นพระเทวฑัตซึ่งทำสังฆเภทไว้
ถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในนรกอเวจีมหานรก

แม้พระเจ้าอชาตศัตรูจะทำนุบำรุงพระพระพุทธศาสนามากมายเพียงใด
ก็ไม่อาจลบล้างบาปกรรมจากการปิตุฆาตได้ ในที่สุดพระองค์จึงถูกอุทัยภัทรราชกุมาร
ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ลอบปลงพระชนม์ขณะทรงพระบรรทมและยึดราชสมบัติไป

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้บอกกล่าวไว้ว่า เมื่อพระองค์สวรรคต
กุศลที่พระองค์ได้มาจากการเป็นศาสนูปถัมภ์ในการปฐมสังคายนาบวกกับทำนุ
บำรุงพระพระพุทธศาสนาได้นำมาหักล้างบาปแห่งอนันตริยกรรมที่ทำไว้

จึงทำให้พระองค์ไม่ไปบังเกิดในมหาขุมนรกอเวจี แต่ไปบังเกิดในนรกที่มีชื่อว่า
โลหกุมภีนรก เสวยทุกขเวทนาเป็นเวลา 60,000 ปีนรก
เมื่อชดใช้กรรมในนรกหมดแล้ว พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
มีนามว่า ชีวิตวิเสส ในอนาคตกาลกัลป์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxihx5Rk2k1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxihx5Rk2k1wtg8hyo1_500.png [ 327.4 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อภิธรรม

อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันยิ่ง
ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก"
ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ
ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย

พระอภิธรรมปิฎก หมายถึง หลักธรรมสำคัญอันยิ่งใหญ่ เป็นธรรมะเหนือโลก
เป็นหลักธรรมหัวข้อธรรมะ หลักวิชาธรรมะล้วน ๆ เป็นอมตะธรรมไม่มีข้อกล่าวอ้างบุคคล
พาดพิงเหตุการณ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นธรรมะที่จริงแท้ ที่ทำให้จิตฉลาดสว่างไสว
เป็นจิตของพระอริยสาวก เข้าถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต คือ พระนิพพานได้ง่ายรวดเร็ว

ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดคิดว่า
พระอภิธรรมปิฎก หมายถึง พระธรรมอันสำคัญยิ่งนั้น
มีอยู่ในหมวดพระอธิธรรมปิฎกเท่านั้นและยากที่จะเข้าใจได้

พระอภิธรรม คือ หลักธรรมอันสำคัญยิ่งนั้น มีอยู่ในตัวเรานี้เอง
คือ กายกับจิต หรือขันธ์ ๕ กับจิต และอภิธรรม คือ หลักธรรมล้วน ๆ
ก็มีอยู่ทั้งในพระวินัยก็คือ ศีล ทั้งในพระสูตรและในธรรมชาติ
ถ้าจิตเราฉลาดสะอาดเป็นกุศลจะเข้าใจมองโลกในทางเป็นจริง คือ
มีแต่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เปลี่ยนแปลงสึกหรอ มีเรื่องให้แก้ไขปัญหาตลอดเวลา
แล้วผุพังสูญสลายไปในที่สุดนั้น ก็ คือ อภิธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oyttvp6Nbb1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oyttvp6Nbb1wtg8hyo1_500.png [ 219.86 KiB | เปิดดู 1059 ครั้ง ]
เรื่อง อนิจจัง - อนิจจตา

อนิจจัง - อนิจจตา แปลว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
หรือ ตั้งอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก

อนิจจัง โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรมปวง อันได้แก่ ขันธ์ ๕
แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช่นเด็กก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป
เป็นหนุ่มสาว เป็นผู้ใหญ่ เป็นคนชราและก็ต้องแก่ตายไปในที่สุด ตามลำดับ

ที่ชื่อว่า อนิจจัง เพราะมีลักษณะดังนี้
๑. เมื่อเกิดมีขึ้นแล้วก็ไม่มี คือเกิดแล้วดับ
๒. เป็นสิ่งชั่วคราว ตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ
๓. แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
๔. แย้งต่อนิจจะ คือตรงกันข้ามกับนิจจะ (ความเที่ยง)

อนิจจัง หรือ อนิจจตาเป็นสามัญลักษณะ คือเกิดมีเสมอกันแก่สังขารทุกอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร