วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2015, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


บันไดแห่งการพ้นทุกข์
พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

รูปภาพ

ถ้าหากจะกล่าวถึงเรื่องพระพุทธศาสนา ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ
โดยมากก็ต้องขึ้นอยู่กับการกระทำ คือหมายความว่าผู้ประพฤติปฏิบัติพุทธศาสนา
จะต้องลงมือทดสอบด้วยตนเองว่า สิ่งต่างๆ ที่เราได้ประสบพบเห็น
ในระยะที่เราได้ไปฝึกหัด นั่งสมาธิภาวนา
หรือทำกิจการงานต่างๆ ในด้านพระพุทธศาสนา
เราได้รับหรือมีความรู้สึกนึกคิดแบบใดวิธีใด
ก็ตัวเองเป็นผู้รู้ผู้เห็นก่อนคนอื่น เราจะรู้รสชาติการกระทำไปในตัว
ในเรื่องธรรมะนี้ก็ได้ปรารภกันอยู่บ่อยๆ และก็เทศน์อยู่ในสถานที่ต่างๆ
โดยมากได้ปรารภกันเฉพาะเรื่องการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ
หรือให้มีพลังเกิดขึ้นในจิตใจของแต่ละท่านแต่ละคน
นี่เป็นธรรมะสำหรับพระวัดสายป่า
ส่วนฝ่ายบริหารท่านก็เทศน์กันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว
ในเรื่องการทำบุญสุนทาน ซึ่งเราก็ขอยกไว้ให้ท่าน

และต่อไปนี้ก็ขอพูดในเรื่องการฝึกหัดในด้านจิตใจ
เพราะว่าจิตใจของแต่ละท่านแต่ละคนมันมีอยู่แล้ว
ร่างกายก็มีอยู่ทุกผู้ทุกคน ซึ่งเรียกว่าธาตุทั้งสี่
มิหนำซ้ำศาลาแห่งนี้ ท่านทายกวัดก็บอกว่ามีธาตุสี่
คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่คนละทิศทาง
ตัวคนเราก็มีธาตุสี่เหมือนกัน แต่มันมีสิ่งหนึ่งซึ่งมาสิงสถิต
มาแทรกอยู่ในร่างก้อนนี้ ซึ่งได้แก่ “จิตวิญญาณ”
แม้ว่าฆราวาสญาติโยม หรือพระเจ้าพระสงฆ์ ก็มีกันอยู่ด้วยทั่วหน้ากัน
อันได้นามว่า “จิต” คือความรู้สึกนึกคิด
ซึ่งอยู่ในจิตใจของเรา หรือในตัวของเรานี่แหละ
โดยเฉพาะในทางพระพุทธศาสนา ท่านสอนให้พัฒนาในด้านจิตใจ
หรือฝึกหัดจิตให้เป็นไปในความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ให้มีความเยือกเย็น ปราศจากภัยเวรต่างๆ
ไม่ให้มีความเดือดร้อนวุ่นวายเกิดขึ้นด้านภายใน
ร้อนภายนอกเรามีทางจะหนีไปให้พ้นได้
แต่ร้อนภายในจิตใจ ไปไหนมาไหนมันก็ร้อนไปด้วย
จะดำน้ำลงไปอยู่ใต้พื้นน้ำก็ร้อน เหาะเหินเดินอากาศไปบนท้องฟ้ามันก็ร้อน
อยู่บนตึกเก้าชั้นสิบชั้นก็ไม่คลายร้อน
ก็ในเมื่อมันร้อนภายใน อันนี้จักต้องอาศัยธรรมะของพระพุทธเจ้า
เป็นเครื่องแก้ไขดัดแปลงกล่อมเกลา
ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ประพฤติปฏิบัตินั้นๆ
หากเราต้องการร้อนก็ร้อนได้ ต้องการเย็นก็เย็นได้
เพราะว่ามันเป็นเรื่องของ “จิต” ของเรา

ถ้าจะพูดอีกอย่าง “จิต” ของเราในขณะนี้
หมายถึงจิตสำหรับผู้ที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติฝึกหัดดัดแปลง
หรือฝึกหัดทวนกระแสของจิตแล้ว “จิต” จะอยู่เหนืออำนาจของเรา
ส่วนที่เราจะต้องการให้จิตอยู่ใต้อำนาจของเรา ต้องการบอกให้ได้ใช้ให้ฟัง
บอกให้ทำรูปแบบวิธีใด ก็ทำได้ ทำตามทุกอย่าง
นี่แสดงว่าจิตอยู่ใต้อำนาจของเรา
แต่ในขณะที่เรายังไม่ได้ฝึกหัดดัดแปลง จิตมันอยู่เหนืออำนาจของเรา
อยากร้อง อยากไห้ มันก็ร้องไห้ ห้ามไม่ฟัง
ไม่อยากให้มันโกรธมันแค้น มันก็โกรธก็แค้น มันเป็นไปของมันเอง
หากได้รับอารมณ์สูงๆ ต่ำๆ มา มันก็ขึงขังตึงตังขึ้นเลย
ตั้งท่าจะพูดเบาๆ มันก็เบาไม่ได้
ถ้าโกรธขึ้นมาจัดๆ มันก็เผาไหม้ในด้านจิตของเรา
บังคับให้หัวใจฉีดเลือดแรงอย่างเต็มที่ หน้าดำหน้าแดง
มือสั่นมือส่าย พูดไม่ถูกถ้อยถูกความ หนักเข้าก็เผาไหม้ในร่างกาย
ร่างกายก็สึกหรอไปไม่น้อยเหมือนกัน อันเป็นเหตุให้อายุสั้น
ถ้าเย็นก็เย็นไป ถ้าร้อนก็ร้อนไป หาความพอดีไม่ได้

ถ้าเรารักษาจิตใจไม่ให้มีความโกรธจัดจนเกินไป
หรือหากมีก็ให้พยายามระงับยับยั้งเอาไว้ รักษาจิตให้อยู่ในระดับสบายๆ
เอาให้ได้เพียงแค่นี้ นี่นับว่าพอจะมีอายุยืนได้บ้างมิใช่น้อย
ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีอิจฉาพยาบาทจองเวรกัน
ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร เพราะไม่ได้สร้างกรรมสร้างเวรเอาไว้
ถึงแม้ว่ามิได้ทำบุญกุศลใดๆ ก็ย่อมค่อยยังชั่วหน่อยเป็นเสมอตัว
แต่นี่หากได้มีการทำบุญสุนทาน ได้มีการนั่งสมาธิภาวนา
แต่แล้วความโกรธก็ปล่อยให้โกรธเต็มที่
ความอิจฉา พยาบาท อาฆาต จองเวร ก็ปล่อยให้เกิดภายในเสียเต็มที่
และไม่หาทางแก้ไข มีแต่ส่งเสริมให้มันเกิดทวีคูณขึ้นไป
หนักเข้าก็เกิดอิจฉา พยาบาท จองล้างจองผลาญกันหลายภพหลายชาติก็ยังมี

ฉะนั้นบรรดาพวกเราจึงต้องมาแก้จิตใจเพื่อไม่อยากให้มีภัยเวรต่างๆ
นี่เป็นความมุ่งหมายอยากให้การฝึกหัดในด้านธรรมะ
แม้ว่าจะไม่ได้ร่ำเรียนมามากก็ตาม ไม่ได้ปฏิบัติมากก็ตาม
ไม่ได้ทำบุญสุนทานมากก็ตาม (เนื่องจากฐานะของเรา)
แต่ให้รักษาจิตใจให้อยู่ในระดับปกติ แค่นี้ก็นับว่ายังดีพอ
พอให้รักษาฐานะมูล (มรดก) เดิมของเรา
ให้อยู่ในสภาพเดิมที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้
แม้ว่าตายไปจากชาตินี้ ก็ยังพอมีโอกาสจะได้ไปเกิดเป็นคน
จะได้บำเพ็ญคุณงามความดีต่อไปอีกก็ได้
นี่อะไรจิตใจทั้งร้อนทั้งไหม้ ไม่รู้อะไรต่อมิอะไร อีรุงตุงนังยุ่งเหยิงกันให้วุ่น
ความโลภก็จัดเป็นเหตุให้เอารัดเอาเปรียบร้อยอันพันอย่าง
ตีชิง วิ่งราว ปล้นสะดม ขาดความเมตตาปรานีสงสารซึ่งกันและกัน
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการทำลายผู้อื่น และก็เลยเป็นการทำลายตนเองไปด้วยในตัว
ผลมันก็จะสะท้อนเข้าสู่จิตใจของเรานี่แหละ

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2015, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


บันไดแห่งการพ้นทุกข์ชั้นที่ ๑

นี่ถ้าหากจิตใจของเราได้รับอารมณ์ไม่ดีและปรากฏเกิดขึ้น
จะเป็นร้อนภายในก็ตาม ซึ่งเรียกว่าความโกรธหรือความโลภ
จนกระทั่งตัวสั่นมือสั่นก็ตาม หรือจะเป็นรูปแบบวิธีใดๆ ก็ตาม
เราอย่าได้เพ่งมองออกไปข้างนอก ให้ย้อนมองคืนมาที่ใจ
มองทวนกระแสให้กลับย้อนเข้ามาที่ใจนี้แหละ

ว่าทำไมเขาพูดเพียงแค่นี้ทำไมมันจึงโกรธ จึงร้อนมากนัก
ภายในตัวเรานี้ใครเป็นผู้ร้อน มันร้อนมาจากไหน
นี่เราย้อนหันมาจุดที่มันเกิดขึ้น ความร้อนมันย่อมมีจุดร้อน
ขอให้เปรียบเทียบดูของภายนอก เช่น เราเข้าใกล้กองไฟ มันก็ต้องร้อน
เราก็รู้ว่าความร้อนมาจากกองไฟนั้น
ถ้าร้อนแดดก็รู้ว่าร้อนนั้นเกิดจากเปลวไฟของดวงอาทิตย์ท่านส่องมา
ถ้าร้อนอย่างอื่นก็ต้องมีสาเหตุแห่งร้อนนั้นๆ
เช่นเดียวกับความร้อนใจ มันจะต้องมีที่มา
นี่ให้พากันลองพิจารณาประพฤติปฏิบัติ แล้วสังเกตดูด้วยตาของท่านเอง

แต่แล้วคนเราหาได้ดูตัวเจ้าของไม่ หากร้อนก็ว่าร้อนมาจากคนนั้น
จากคนนี้ คนนั้นว่าอย่างนั้น คนนี้ว่าอย่างนี้
ของคนนั้นเป็นของคนนี้ คนนั้นเอาของคนโน้น คนนี้เอาของคนนั้น
มองเห็นแต่ของภายนอก ไม่ได้มองย้อนเข้ามาหาตัวสักที
หากเดินไปชนตอ ก็ไปโกรธตอ ด่าตอ ตำหนิตอ
โน่นแหละ ไม่เคยคิดจะตำหนิตัวเองว่าตัวหลง ตัวโง่ ไม่รู้ทาง
หรือตาตัวเองมองไม่เห็น หรือไม่ได้ระมัดระวัง
ยิ่งถ้าไม้คานมันแข็ง ก็ลงโทษไม้คาน เอามีดไปฟันมันหักมันทิ้ง
ไม่มองหาเหตุว่ามันมาจากไม้คานหรือเพราะคนทำ มองดูแต่ภายนอก
มันมักจะเป็นอย่างนี้ ไม่ย้อนมามองดูที่ใจตนเลย

นี่ถ้าพูดถึงเรื่องไปดูหนังดูละครไม่ได้เชียวล่ะ
ฝนฟ้าจะตก แดดจะร้อน ฉันไม่เกี่ยงล่ะ ดั้นด้นไปเสียอย่าง
เสียเงินเสียทองเท่าใดไม่ว่า ยอมเสียยอมจ่าย
ไม่ว่าจะเป็นการดูมวยหรือดูอะไรเหมือนกัน
ถ้าอย่างนี้แล้วละก็ขยันขันแข็งจริงจัง หากไม่ได้ไป จะตายเสียให้ได้
ยิ่งช่องทางเข้าแคบๆ ก็แย่งชิงกันเข้าไป
ข้างในจะแน่นแสนแน่นแทบหายใจไม่ได้ ก็อุตส่าห์แย่งกันเข้าไป
ปล่อยตัวปล่อยใจให้เลยตามเลยไปอย่างนั้นเอง
แต่จะรักจะชอบอะไรก็ไม่ว่า
ขอเพียงสักนิดหนึ่งว่าอะไรมันจะเกิดประโยชน์แก่ตน แล้วค่อยไป
สิ่งใดพอห้ามก็ห้ามกันบ้าง ให้มีห้ามล้อกันบ้าง เหมือนกับห้ามล้อรถ
หากวิ่งได้ก็วิ่งกันตลอดคืน จนไม่มีเวลาหยุด มันก็พังเท่านั้น
ขอให้มีเครื่องห้ามบ้าง จังหวะเร็วก็เร็วบ้าง
เรื่องของจิตก็เหมือนกัน ก็ขอให้มีการห้ามกันบ้าง
อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า เขาก็มีเครื่องห้ามเหมือนกันนะ จะปล่อยแรงก็ได้ ให้เบาให้ช้าก็ได้
จิตใจของเราก็ไม่แตกต่างไปกว่านี้ และยิ่งเป็นของพิเศษกว่านั้นอีก
แต่ทว่าคนเราไม่ได้ศึกษาหาวิธีการแก้ การเกิดการปิด
ถ้าลงได้ปล่อยก็ปล่อยตะบันไปทั้งปีทั้งชาติ ถ้าปิดก็ปิดไม่รู้หน้าหลังก็ยังมี

สิ่งเหล่านี้แหละ ท่านจึงได้ให้มาศึกษาค้นคว้าในด้านจิตใจ
คำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านได้สอนมาแล้วหลายพันปี
อย่างพระโคดมของเรา และก็พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ก็ไม่รู้ว่ากี่กัปกี่กัลป์มาแล้ว
ท่านก็สอนกันมา สอนกันมาตามหลักความเป็นจริงนี่แหละ
หรือที่เรียกว่าหลัก “สัจธรรม” เป็นหลักของธรรมชาติ หรือ “หลักธรรม”
ซึ่งเป็นของมีประจำตัวมนุษย์ ตลอดถึงบรรดาสัตว์ต่างๆ
แม้แต่สัตว์เขาก็ฟังได้ ฟังเข้าใจภาษากันได้

นี่ปัญหาด้านฝึกหัดจิตใจ บางคนก็ทำเป็นคนมีศรัทธาแข็งขัน
กระวีกระวาดนั่งสมาธิภาวนา
กลั้นอกกลั้นใจทำได้ชั่วประเดี๋ยวเดียว หงายหลังผึ่งลม
เวลานั่งสมาธิก็คิดหน้าคิดหลัง ความคิดอ่านมากมาย วุ่นวายไปหมด
ครั้นให้ทำจริงดังคิดไว้ ก็ไม่เห็นได้เรื่อง
สิ่งเหล่านี้แหละที่มักจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
ซึ่งก็ตัวเรานั่นแหละที่รู้ หากสังเกตให้ดี
ให้นั่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องคิดไม่ต้องทำอะไร กลับไม่ชอบ อยากหางานทำ
ครั้นหากให้ไปทำจริงๆ เข้า ก็ไม่ได้เรื่อง อยากไปทางใหม่
อันนี้เรียกว่าเราบอกไม่ได้ใช้ไม่ฟัง เรื่องของจิต มันทำตามใจของมัน
แต่เราต้องพยายามอยู่เหนือระดับของจิตซิ เราจะเอาใจเป็นใหญ่อย่างเดียวไม่ได้
ถ้าใจมันใหญ่ จะเอาอะไรไปสอนมันได้ มันต้องมีสิ่งที่ใหญ่กว่าใจอีก
สิ่งนั้นคืออะไรล่ะ สิ่งนั้นก็คือธรรมะ ได้แก่ธรรมะ หรือความจริง
อันนี้แหละที่เข้าไปสอนใจ เมื่อธรรมะคือความจริงเข้าไปถึงใจแล้ว มันก็ยอมเท่านั้นเอง

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2015, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


บันไดแห่งการพ้นทุกข์ชั้นที่ ๒

หลักการประพฤติปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้
ก็เคยได้แนะนำหมู่คณะมามากต่อมากหลายต่อหลายครั้งแล้ว
จะมีผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติได้สำเร็จเพียงใดแค่ไหน
ก็ยังไม่เคยปรากฏว่าผู้ใดได้ผลเพียงใด
คณะญาติโยมทั่วทั้งร้อยเอ็ด ฟังมานี้ก็หลายปีดีดักแล้ว
แต่ละคำๆ ที่พูดออกไป ถ้าหากเป็นตัวเป็นตนเท่ากำมือ
ดูเหมือนว่าจะเต็มทั่วเขตวัดดงนางย่อง หรือจะสูงเทียมฟ้าแล้วก็เป็นได้
แต่ว่ามันจะเข้าสู่จิตใจคนหรือวิ่งเข้าป่าก็ไม่ทราบได้
นี่ก็ขอได้ลองพิจารณาดูเอาบ้างเถิด
การฝึกหัดจิตใจให้เป็นสมาธิ
ให้หยุดอยู่ในอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียวเท่านี้นะ มันยากนักหรือ
ทว่าการฝึกเหล่านี้จะต้องอาศัยความอดทนเป็นหลัก
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนในโอวาทปาฏิโมกข์
ให้เอาขันติธรรมนี่แหละขึ้นต้นก่อนอื่นใด (ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา)
ก็แสดงว่าเอาความอดทนเป็นแนวหน้าในการที่กระทำทุกอย่าง
ไม่ว่าในการประพฤติปฏิบัติใดๆ
แม้แต่การงานในทางโลก จะต้องอาศัยความอดทน
ถ้าหากเราไม่มีความอดทน จะทำการงานใดๆ ไปไม่ได้
แดดมากไป ร้อนไป หนาวเกินไป เดี๋ยวก็หาว่าเช้า ว่าสาย ว่าบ่าย ว่าเที่ยง อยู่นั้นแหละ
อ้างกาล อ้างเวลา หาทางออกอยู่ร่ำไป ทำอะไรก็ไม่ได้ ไม่กล้าทำทั้งนั้น
อันเป็นลักษณะของคนเกียจคร้านโลเล และก็เลยทำอะไรไม่ได้

“ขันติ” เป็นตัวสำคัญในการประพฤติปฏิบัติ
การที่จะมาวัดดงนางย่องนี่ก็ยาก หากไม่มีขันติธรรม
แต่ว่าใครจะมีมากมีน้อย นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ฉะนั้นพวกนักปฏิบัติธรรมจะต้องสร้างขันติธรรม
เอาไว้ให้ได้มากๆ มากเท่าใดก็ยิ่งดีในขันติ
“ขันติบารมี” ท่านกล่าวว่าเป็นบารมีชนิดหนึ่ง
ถ้าหากว่ามีขันติบารมีตัวนี้แล้ว อย่างอื่นมันก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
ตลอดจนถึงสามสิบทัศหรือสิบทัศบารมีใหญ่ๆ มีขั้นต่ำ ขั้นกลาง ขั้นสูง
นี่ถ้าหากว่าเราได้มานั่งภาวนาลงปุ๊บ
ลักษณะก่อนการนั่ง ความคิดนึกของเราก่อนจะนั่ง
จะต้องตั้งใจก่อนว่าเราจะนั่งอยู่ที่นี่
นี่ก็เป็นการตั้งสัจจะ เป็นสัจจบารมีชั้นหนึ่งก่อน
ต่อไปเราจะกำหนดจิตไว้จุดนี้ มุมนี้ อันนี้ก็ล้วนเป็นสัจจะทั้งนั้น
พอนั่งเข้า เกิดทุกขเวทนา รูปนั้นวิธีนี้ขึ้นมา
เราก็ใช้ความอดทนคือขันติธรรม ขันติบารมีก็มีอยู่แล้ว
สิ่งใดที่มันเกิดขึ้นมา เราก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมัน ให้สละสลัดออก
จะเจ็บจะปวด จะเหนื่อยเมื่อยล้า จะหิว
จะส่งหน้า ส่งหลัง (จิตใจ) ฟุ้งซ่าน รำคาญใดๆ ก็ตาม
ไม่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น พยายามกำหนดให้อยู่ในจุดเดียวที่เรากำหนด
ก็เป็นการเสียสละจาคะออกไป
ก็เรียกว่า “ทานปรมัตถบารมี” เป็นทานชั้นสูง
ทานอุปบารมี จาคะ ทานก็มีแล้ว

ต่อจากนี้ก็ให้พยายามกำหนดอยู่เรื่อยไปโดยไม่ต้องย่อท้อ
ก่อนจะลงมือทำก็เนื่องจากมีศรัทธา เมตตาสงสารตัวเอง
มีความรักความหอมในตัวเจ้าของ อยากให้ตัวของเรามีศีลมีธรรม
หรือได้เห็นอรรถเห็นธรรม ซึ่งเรียกว่าเมตตาบารมี ก็มีในตัว
หมายความว่าบารมีแต่ละอย่างมารวมอยู่ในจุดเดียวกันที่เรานั่งนั่นเอง
ถ้าหากเราทำให้สำเร็จกิจในระยะนั้น บารมีสิบทัศพร้อมมูลบริบูรณ์กันเลย
ไม่อย่างนั้นแล้วจิตใจก็ไม่ลงเนินสมาธิได้
นี่เรียกว่าเป็นการสร้างบารมีง่ายๆ เท่านี้เอง โดยไม่ต้องเหาะไปไหนนะ
พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ก็นั่งในที่แห่งเดียว (ใต้ต้นมหาโพธิ์พฤกษ์)
นี่ตามตำนานท่านได้กล่าวไว้
ท่านไม่ได้เหาะไปทำลายเทวโลก พรหมโลก หรือเหาะไปทำลายอรูปพรหม
ไม่ได้เหาะไปไหน ทำลายอยู่จุดเดียว ก็ไปพระนิพพานได้เลย
ไม่ได้ดำลงไปทำลายนรกอะไรให้ยากเลย

ฉะนั้นสิ่งต่างๆ เมื่อมันมาอยู่ในจิตในใจของเราหมดแล้ว
เมื่อทำในที่แห่งเดียว ธรรมะทั้งหลายก็พยายามจะหดตัวมารวมอยู่ในที่จุดนี้
จิตอยู่ไหน ความรู้สึกอยู่ที่ไหน ธรรมะก็จะมารวมอยู่ในจุดนั้น
ธรรมท่านได้กล่าวไว้อย่างนั้น
ฉะนั้นบรรดาพวกเรานักปฏิบัติก็ควรจะนั่งให้จิตสงบสักหน่อยหนึ่ง
แต่ทว่าก่อนจิตจะสงบนี้มักมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นก่อน
เริ่มแรกก็ขอให้ใช้ขันติธรรม พอนั่งเข้าหน่อยหนึ่ง หลายอย่างจะตามมา
เป็นต้นว่า ความฟุ้งซ่านรำคาญก็จะตามมา
ความเมื่อยล้า ความหิว ความง่วงเหงาหาวนอน
ความคิดอ่านในกิจการต่างๆ นู่นๆ นี่ๆ
ร้อยอันพันประการ มีแต่จะตามมาดึงออกทั้งนั้น
มายุมาแหย่ ปลุกปั่น ยุยงส่งเสริมจิตใจของเรา
ให้หันหน้าหันหลังไปหาทางออกอยู่อย่างนั้นแหละ
ถ้าหากผู้ไม่มีขันติคือความอดทน ไม่มีความเมตตาสงสารตัวเอง
เพื่อจะได้ประพฤติปฏิบัติ ให้เห็นอรรถเห็นธรรม แล้วละก็
ถอยหลังทันที นี่มันเป็นอย่างนี้

นี่หากว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
ขอให้คิดเสียว่า ทางเดินของจิตมันจะต้องเดินไปทางนี้ ไม่มีทางอื่น
ทางเดินของกายเดินก็เป็นอีกทางหนึ่ง เชิงตะกอน
ทางเท้าก็มีทางเท้า ทางรถเดิน ทางเรือเดิน
ทางลาดยาง ทางลูกรัง ทางดิน ทางทราย เหล่านี้ของๆ มัน
แต่ทว่าทางเดินของจิตก็เป็นอีกทางหนึ่ง
ทางเดินในชั้นนี้จะเป็นอย่างนี้ จะเต็มไปด้วยอะไรต่ออะไร มิได้เกี่ยวข้อง
ในขั้นแรกก็เช่นเดียวกับถนนที่ตัดใหม่ อาจจะต้องมีขวากหนาม
มีมด มีปลวก มีสัตว์ มีหลัก มีตอ มีไม้ อะไรต่ออะไร
หากเดินก็ต้องชนดะไปก่อน
ลักษณะการนั่งสมาธิใหม่ๆ ก็ทำนองเดียวกัน
ทุกขเวทนามันจะเกิดขึ้นทุกด้าน ความเจ็บ ความปวด
ความเมื่อยล้า รำคาญ เป็นเหน็บเป็นชา อะไรต่างๆ
ตลอดจนแน่นท้อง คลื่นไส้ มีความกระวนกระวาย เจ็บนั่น ปวดนี่
ยังกะมีดทิ่มแทง เหมือนกับตัวแมลงไต่ตอม สารพัดสารเพ ร้อยอันพันอย่าง
จะยังไงก็ตาม ที่เรานั่งนี่ เราไม่ได้นั่งเพื่อต้องการสิ่งเหล่านี้
เรานั่งเพื่อต้องการให้ “จิตสงบ” พยายามกำหนดอยู่ในจุดที่กำหนดให้
จะใช้คำบริกรรมว่า “พุทโธ” ก็ให้ท่องให้นึกอยู่อย่างนั้น
หรือจะใช้ “อานาปานสติ” กำหนดลมหายใจเข้าออก
ก็ให้กำหนดรู้เฉพาะช่องจมูก สังเกตลมที่มันผ่านเข้าผ่านออกเท่านั้น
เรื่องอื่นถือว่าเป็นเรื่องจรมา เราไม่ต้องสนใจ นั่งกำหนดอยู่ที่แห่งเดียว
บางทีมันจะเจ็บจะปวด ร้อยอันพันอย่างเท่าใดก็ช่างมัน
นี่ให้ใช้ความอดทนต่อไว้ก่อน
ถ้าเรายังพิจารณาไม่ได้ก็ให้อดทนต่อไป อดทนไปเรื่อยๆ

หนักเข้าขันติธรรมคือความอดทนตัวนี้
มันจะกลายเป็นตัวสติขึ้นมา (คือความระลึกรู้)
ถ้าหากขันติแก่กล้า ก็เลยกลายเป็นตัวสติ
สตินี่เป็นของพิเศษ คือความระลึกรู้ติดตามจิตใจอยู่ตลอดกาล
ถ้าหากเรามีสติคือความระลึกรู้ของจิต
มันจะเป็นความพิเศษของจิตอีกขั้นหนึ่ง
เป็นธรรมะอันหนึ่ง ซึ่งภาษาธรรมะท่านว่า สติคือความระลึกรู้
รู้ก็ใช่ว่าจะรู้อะไรมากหรอก รู้ตามลักษณะอาการของใจ
จิตใจมันคิดแบบใด มันส่องหน้าส่องหลัง เราก็รู้ติดตามไปด้วย

หากสติดีพอแล้ว จิตใจอาจจะยอมรับตัวสติเป็นนายควบคุมใจ
นี่พูดให้เข้าใจง่ายๆ หากมีสติขึ้นมา
ก็เช่นเดียวกับทหารที่ไปคุมนักโทษเอาไว้ ให้ไปก็ได้ ไม่ให้ไปก็ได้
ถ้าหากสติดีก็เลยกลายเป็นศีลไปเลย
ฉะนั้นในวินัยท่านถึงกล่าวว่า “สติวินโย ทาตพฺโพ”
ถ้ามีสติแล้ว พระวินัยทั้งหมดไม่ว่าสักกี่หมื่นกี่ล้านแสน
มาในพระปาฏิโมกข์ก็สองร้อยยี่สิบเจ็ด
มาในบาลี ทุกกฎบาลี ทั้งพระตรัยบาลี หมดทุกอย่าง
จะเป็นกี่ล้านกี่หมื่นล้านก็ตาม ก็มารวมในสติตัวเดียวกันนี่หมด
ศีลก็มีตัวเดียวคือสติเท่านั้น สติตัวนี้แหละกลายเป็นศีล เกิดความบริสุทธิ์ขึ้นมา
นี่มันต้องเป็นไปในรูปแบบนี้

นี่พูดในด้านการปฏิบัติ
ในเริ่มแรกจะต้องฝึกตัวเราเองเสียก่อน อดทนเอาเสียก่อน
มันจะเจ็บจะปวด มันทิ่มหน้าแทงหลัง
เหมือนกับหนามทิ่มแทง จะเป็นแบบหอกหลาวทิ่มแทง
ต้องอดต้องทน อดทนเอาอย่างเดียวนั่นแหละ
ต้องสู้ตาย เอาตาย วางเป็นเดิมพันเลยว่างั้นเถอะ
มันไม่ถึงกับตายหรอก ก็เรานั่งเฉยๆ
หากว่ามันคิดไม่ดี อารมณ์ไม่ดี เราก็ต้องหาอุบายมาแก้ไขมัน
เราก็นั่งอยู่เฉยๆ มุ้งก็กางกันยุงให้ ที่นั่งก็จัดไว้
ปากก็ไม่ต้องพะวงจะต้องพูดจากับใคร ตาก็หลับไว้
แล้วทำไมนั่งเฉยๆ จะนั่งไม่ได้
แล้วที่ต้องออกแรงเหนื่อยกายไปดูหนังดูละคร ทำไมจึงไปได้ทำได้
ก็แล้วเวลาไปนั่งในครรภ์มารดา ถ้านับเวลาตั้งเก้าเดือน สิบเดือน
ทำไมถึงชอบเข้าไปนัก จนรัฐบาลพากันหาทางป้องกันไว้
เข้าไปอยู่ในนั้นตาก็มองไม่เห็น ปากก็ปิด จมูกก็ปิดไว้
ข้างบนก็เป็นกระเพาะอาหารใหม่ ข้างล่างก็เป็นกระเพาะอาหารเก่า
เป็นเก้าอี้นั่งอยู่อย่างคับแคบ ดุจดังลิงหลบฝน
แต่แล้วยิ่งพากันชอบพากันทนทุกข์ทรมาน ยังกับชอบกันนักหนา
แล้วก็พอใจจะเข้าไปในนั้นโดยไม่รู้เบื่อ
ก็ให้พยายามบอกเขาเตือนเขาบ้างซิ นั่งอยู่อย่างนี้ อยู่ข้างนอกอย่างนี้ดีที่สุดแล้ว
จมูกก็ไม่ได้ปิด ปากก็ไม่ได้อุดไว้ มันจะเจ็บจะปวด
จะแน่นอก แน่นท้อง ก็ไม่เห็นมีใครไปทำไปกดไปรัดมัน
ที่นั่งก็จัดไว้ให้อย่างดี แล้วทำไมจะนั่งไม่ได้
ก็ให้บอกให้เตือน หาทางแก้ไขให้ทันกับอาการของจิตซิ อบรมบ้าง สั่งสอนบ้าง
แม้ทุกขเวทนาจะเกิดขึ้นมาเท่าใดก็ตาม ก็ต้องหาทางแก้ไข วิจารณ์ไปด้วย
หนักๆ เข้ามันก็จะทะลุถึงความสำเร็จเองนั่นแหละ
ดุจดังเราใช้สว่านเจาะไม้ ถ้าเราทำเราหมุนไปเรื่อยๆ
ผลสุดท้ายมันก็จะทะลุของมันเอง แม้ว่าไม้จะหนาจะบางอย่างไรก็ตาม

นี่ถ้าเราผ่านจากทุกข์ไปแล้ว มันก็จะพบกับความสุข ออกจากสุขก็ทุกข์
เป็นเปลาะๆ อยู่เช่นนี้เรื่อยไป นี่ลักษณะวิธีการมันเป็นอย่างนี้
นี่อะไร การปฏิบัติจะให้ได้รับผลง่ายๆ
เหมือนอย่างปอกกล้วย นั่งกระดิกขารับประทาน
นั่นไม่มีทาง เราต้องทนสู้กันบ้าง
แล้วนี่อะไรกัน ทั้งๆ ที่คับๆ แคบๆ ก็ยังอุตส่าห์พากันสนใจ ดีอกดีใจ
อยากจะมาเกิดให้วุ่นวาย จนถึงกับรัฐบาลต้องคอยคุมกำเนิดกันไว้
บางประเทศถึงกับออกกฎหมายป้องกันไว้เลย ไม่อยากให้เกิดมาเป็นคน
มันจะแน่นแผ่นดิน เกิดมาเพื่อยื้อแย่งกันอยู่ แย่งกันกิน
นี่เรามานั่งสมาธิภาวนา เราก็เอาเรื่องเหล่านี้แหละมาเตือนมาเล่าให้เขาฟัง
นานไปใจมันก็จะยอมรับเท่านั้นเอง


คัดมาจาก : หนังสือรวมพระธรรมเทศนา ๑๐๘ กัณฑ์ เล่ม ๑
ที่ระลึกในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๕
จัดพิมพ์โดย ชมรมพุทธศาสตร์เอสโซ่
:b8: :b8: :b8:


:b39: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ศรี มหาวีโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=50005

:b39: รวมคำสอน “หลวงปู่ศรี มหาวีโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=50228

:b39: งานพระราชเพลิงสรีระสังขาร “หลวงปู่ศรี มหาวีโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=41937

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2020, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2020, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 22:38 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2021, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2023, 11:24 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron