วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2015, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (8).gif
unnamed (8).gif [ 223.11 KiB | เปิดดู 17634 ครั้ง ]
ในขณะนี้ได้มีการรณรงค์ และประชาชนกำลังลงชื่อเพื่อให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ถามว่าเราแก้ปัญหาได้จริงหรือ? คำตอบก็คือ พระในประเทศไทยมีจำนวนเท่าไหร่ แล้วพระที่เป็นพระจริงๆ มีมากน้อยเท่าไร เราแก้ปัญหาภายในให้แข็งแรงก่อนดีหรือไม่ เมื่อปัญหาภายในน้อยลงแล้วเราไม่จำเป็นต้องกลัวปัญหาภายนอก ฆราวาสที่เป็นชาวพุทธที่มีศรัทธา มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจริงๆ มีเท่าไร ฆราวาสที่หลงงมงายกับความเชื่อผิดๆ มีมากน้อยเท่าไร เราลองประเมินดูว่า ศาสนาเราเป็นอย่างไรในตอนนี้ ไม่ต่างจากคนป่วยหนัก เป็นฝีเน่าทั้งข้างในที่มองจากภายนอกไม่เห็นและตามร่างกายก็เต็มไปด้วยฝีหนอง ไข้ขึ้นด้วยความอักเสบ

การที่เรายังไม่สามารถแก้ปัญหาภายในได้ก็เหมือนคนป่วยมีฝีในตัวอาการหนัก แต่กำลังจะออกไปวิ่งไล่คน กลัวเขาจะมาเผาบ้านตนเอง เราควรรักษาตัวเองให้หายก่อนดีกว่ามั้ย ก่อนจะออกไปวิ่งไล่ชาวบ้านที่จะมาเผาบ้านเรา ตอนนี้ชาวบ้านที่กำลังจะเผาบ้านเรานั้น กำลังเดินทางมาไม่ถึง ยังพอมีเวลารักษาตนเอง อย่าเพิ่งไปวิ่งไล่ตอนนี้ หันกลับมารักษาอาการฝีที่เกิดภายในตนเองก่อนดีกว่า

คนเราถ้าร่างกายแข็งแรงเสียแล้ว สติปัญญาก็ดีตามไปด้วย เพราะสามารถระดมความคิด สติปัญญาและความแข็งแรง ใครจะกล้ามาเผาบ้านล่ะทีนี้เพราะคนในบ้านนั้นแข็งแรงซะเหลือเกิน ขืนเดินถือคบไฟมาเผา ได้โดนไล่ตีออกไปไม่ทันล่ะสิ

จะไปควบคุมคนอื่นไม่ให้มาทำร้ายเราได้ เราต้องแข็งแรงทั้งกายและใจ
ไม่ใช่เดินโซซัดโซเซเป็นคนป่วยหนัก ฝีในตัวจะแตกหลายแห่ง เป็นไข้ขึ้นสูง แต่จะไปยืนดักคอยไล่คน
ทั้งๆที่ยังพอมีเวลารักษาตัวเองให้หายแต่ไม่ทำ

ถ้าขืนออกไปไล่คนที่จะมาเผาบ้านได้ เกิดฟรุ๊คไล่ได้จริง แต่ตนเองก็จะตายในที่สุดเพราะปล่อยให้อาการหนัก รักษาไม่หายแล้ว หมดเวลารักษาตัวแล้ว อาการทรุดหนักใกล้เต็มที่ ในที่สุดก็ตาย

ทีนี้ล่ะ เจ้าพวกที่ถูกไล่ไป ไปได้ไม่ไกล พวกเขาก็จะหันหลังกลับมาเผาบ้านเราในที่สุด
ใครที่เป็นหนอนแฝงเล้นในคราบผ้าเหลืองทั้งหากินทั้งบ่อนทำลาย ทั้งจะครอบงำบิดเบือนคำสอน
ทั้งยังสร้างความเสื่อมให้เกิดในใจชาวพุทธ ใช้เงินเพื่อสร้างตัวตนในศาสนา ทำการค้าหากินกับความเชื่อของคน ฯลฯ สิ่งต่างๆ ที่เป็นทางแห่งความเสื่อม ต้องกำจัดต้องฟื้นฟู และปลูกฝังความดีงาม

เรียกศรัทธาคืนมา ชาวพุทธต้องเป็นชาวพุทธที่แท้จริง มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเท่านั้น
ไม่ใช่พึ่งแต่สิ่งที่เหลวไหลไร้สาระ

ดังนั้นควรทำบุคคลในศาสนาของเราให้แข็งแกร่ง ตรงไหนที่บ่อนทำลายศาสนาให้เสื่อมก็ให้กำจัดเสีย
ถึงเวลาบ่งฝีบ่งหนองที่อยู่ตามเนื้อตัวออกได้แล้ว ฝีหนองภายใน ก็กินยาหาหมอให้ตนเองแข็งแรง
แล้วจึงไปยืนคอยเฝ้าระวังคนจะมาเผาบ้านตนเองได้อย่างแท้จริง

ทำภายในให้ดี และภายนอกจะมีผลตามมาเองอย่างสวยงาม
ดูประเทศพม่าเป็นตัวอย่างค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2015, 15:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2428.jpg
Image-2428.jpg [ 77.63 KiB | เปิดดู 17617 ครั้ง ]
ว่าแต่ตอนนี้เรามีปัญหาเรื่องอะไรกันอยู่บ้าง

:b1:

เท่าที่เห็น ๆ ก็ดูจะมีการโยงไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ 3 จว.ชายแดน
เรื่องการเผาโรงเรียน วางระเบิด การทำร้ายพระ ทำร้ายชาวไทยพุทธ การคุกคาม ฯลฯ

...

คือ...ถ้าหากว่าชุมชนที่เอกอนอยู่ถูกคุกคาม
เอกอนก็คงจะหวนไปทบทวนเรื่องราวในครั้งกาลก่อน
ว่าทำไมตอนที่เติร์กบุกนาลันทา ทำไมพระที่นั่นจึงไม่หนีไปไหน ไม่ต่อสู้

เอกอนก็จะพยายามเลือกที่จะทำให้ได้อย่างนั้นเช่นกันล่ะ

...

:b1: :b1: :b1:

เพราะบางทีมันก็พูดยากเน๊อะ คนเราย่อมรักชีวิตนั่นล่ะ
แต่ถ้าต้องอยู่ แต่ต้องอยู่อย่างใจวนเวียนอยู่กับการต่อสู้ เบียดเบียน แย่งชิง ฆ่าฟัน
...

ก็...ขอได้รีบตาย ๆ ไปอย่างสงบดีก่า .... ง่ะ ง่ะ

:b9:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2015, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




รักษาศาสนาพุทธบุญยิ่งใหญ่ พระสังฆราช.jpg
รักษาศาสนาพุทธบุญยิ่งใหญ่ พระสังฆราช.jpg [ 167.34 KiB | เปิดดู 18880 ครั้ง ]
ทั้งประเทศค่ะไม่ใช่มองเฉพาะเหตุการณ์ทางภาคใต้อย่างเดียว
ถ้ายอมตาย หรือ หมดทางสู้ ก็ตายทั้งนั้นแหละค่ะ

แต่ถ้ายังรักษาได้ ก็ช่วยกันรักษา
เพราะทั้งพระอริยะ พระฏีกาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ โบราณจารย์ ฯ
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ก็รักษามากันทั้งชีวิต
ทั้งในยามขาดแคลนอาหาร ทั้งผ่านช่วงสงคราม
ท่านรักษาไว้เพื่ออนุชนในภายหลัง
จนพระธรรมยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้

พระพุทธองค์ฝากพระศาสนาไว้กับพุทธบริษัท
ต้องศึกษา ต้องปฏิบัติตาม พร้อมทั้งเผยแผ่ และปกปักษ์รักษาค่ะ

มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งท่านกล่าวว่า
ศาสนาพุทธในไทยตอนนี้ ไม้หลักปักขี้แลน ยังมั่นคงซะกว่า
เพราะตอนนี้ศาสนาของเราเปรียบเหมือนไม้ลอยไปตามน้ำ ไม่มีที่มั่นคงให้ไม้ปักแน่นอยู่ได้
ได้แต่ไหลไปตามกระแสน้ำ รอวันผุผังกร่อนเพราะแรงน้ำ ออกสู่ทะเลในที่สุดก็ผุผังไม่เหลือค่ะ

ปัญหาอะไรที่ยิ่งใหญ่ตอนนี้คือ ปัญหาที่ชาวพุทธไม่รู้ว่ามีปัญหาที่ทำลายศาสนา
หรือ มองผ่านปัญหาไปโดยไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาค่ะ

ราชสีห์ที่ไม่มีใครทำลายได้ แต่หนอนในตัวราชสีห์นั่นแหละจะฆ่าตัวราชสีห์ผู้ยิ่งใหญ่ซะเอง
ลองหาอ่านบทความของท่านปอ.ปยุตโต ท่านกล่าวไว้ในหลายๆ กรณี

และการต่อสู้ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อปกปักษ์รักษาพระศาสนา
ก็ไม่ได้ให้ไปถือปืน ถือมีด ไล่ฆ่ากับใคร แต่สู้ด้วยการทำกิจและหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง
ถ้าพระและฆราวาส รู้จักหน้าที่ของพุทธบริษัท
ศาสนาของเราจะเข้มแข็ง และชลอการเสื่อมลงตามกฏพระไตรลักษณ์
ไม่ใช่ด่วนจากไปก่อนอย่างรวดเร็วค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 09:03 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b39: กระทู้นี้ น่าสนใจดีค่ะ

พระราชดำรัสสมเด็จฯ “พระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=42329


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (4).gif
unnamed (4).gif [ 117.76 KiB | เปิดดู 17634 ครั้ง ]
ปล่อยวางอย่างรับผิดชอบ
พระไพศาล วิสาโล


คำสอนทั้งปวงในพุทธศาสนา ถึงที่สุดแล้วมุ่งไปสู่การปล่อยวาง เพราะปล่อยวางได้เมื่อไร ก็หมดทุกข์เมื่อนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการปล่อยวาง คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจไปว่า หมายถึงถึงอยู่เฉย ๆ งอมืองอเท้า นี่เป็นความเข้าใจผิด ปล่อยวางแบบพุทธหมายถึงปล่อยวางที่ใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา หรือยึดมั่นให้มันเป็นไปตามใจเราก็จริง แต่ก็ต้องดูแลเอาใจใส่ด้วยความรับผิดชอบ เช่น ร่างกายนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ตัวเราของเรา จึงควรปล่อยวาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องดูแล ร่างกายไม่ใช่ของเราก็จริง แต่เราต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเราในการทำความดี เหมือนกับเรือที่จะพาเราข้ามฟาก เราก็ต้องดูแลเอาใจใส่ ถ้ารั่วก็ต้องอุด ถ้าเสียก็ต้องรู้จักซ่อมแซม เรารู้อยู่ว่าเมื่อถึงฝั่งแล้วเราจะไม่แบกเอาเรือไปด้วย แต่ในขณะที่ยังไม่ถึงฝั่งเราก็ต้องดูแล คอยซ่อมแซมเพื่อนำเราไปถึงจุดหมายให้ได้ เรามีหน้าที่ต้องซ่อมแซมดูแลเรือ ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่ใช่เรือของเราก็เลยปล่อยวางไม่สนใจ ถ้าเช่นนั้นเราจะถึงจุดหมายได้อย่างไร

มีเรื่องเล่าว่า คราวหนึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท เดินไปตรวจตราตามกุฏิพระ เห็นพระรูปหนึ่งนั่งหลบฝน เนื่องจากหลังคารั่ว ฝนจึงหยดลงมา หลวงพ่อชาก็เลยถามว่า ทำไมไม่ซ่อมหลังคาล่ะ พระรูปนั้นบอกว่าผมปล่อยวางครับ หลวงพ่อชาก็เลยบอกว่า ปล่อยวางกับวางเฉยแบบงัวแบบควายนั้นไม่เหมือนกัน

ผู้คนมักคิดว่าวางเฉยแบบงัวแบบควายเป็นการปล่อยวางแบบพุทธ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด ปล่อยวางเป็นเรื่องภายในใจ แต่หน้าที่การงานเราก็ต้องทำตามสมควรแก่เหตุปัจจัย โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่ตัวเราเองและต่อผู้อื่นด้วย พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตโต) ได้สรุปสั้นๆ ว่า ปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องการทำ “จิต” ส่วนการทำงานต่าง ๆ ด้วยความรับผิดชอบนั้นเป็นเรื่องการทำ “กิจ” ในเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนเป็นนิจ ในแง่จิตใจเราจึงควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง แต่ขณะเดียวกันอะไรที่สมควรทำเราต้องรีบทำ ไม่เฉื่อยแฉะเฉื่อยเนือย เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา การทำกิจนั้นบางทีท่านก็เรียกว่าความไม่ประมาท

ความไม่ประมาทกับการปล่อยวางเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แม้อากัปกิริยาภายนอกทำงานด้วยความขยันขันแข็ง แต่ภายในใจไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา พร้อมอยู่เสมอที่จะเผชิญกับความผันผวน พร้อมที่จะเจอความล้มเหลว เพราะรู้ว่าเหตุปัจจัยต่างๆ มีมากมายที่เราควบคุมไม่ได้ เวลาทำงานก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่านี่มันเป็นงานของเรา ใครจะมาแตะต้องหรือวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เวลาทำอะไรก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าผลต้องออกมาอย่างนี้อย่างนั้น ถ้าไม่ออกมาตามที่หวัง ฉันโมโห ฉันโกรธ ฉันท้อแท้ ผิดหวัง ท่าทีเช่นนี้จะทำให้เป็นทุกข์ได้ง่าย

เดี๋ยวนี้เราทำด้วยความยึดมั่นกันมาก ยึดมั่นว่าเป็นของเราก็เลยทำ ถ้าไม่ใช่ของเราก็ไม่ทำ หรือว่ายึดมั่นในผล เวลาทำอะไรก็ตามก็วาดหวังหรือหมายมั่นว่าผลจะต้องออกมาอย่างนี้จึงจะมีกำลังใจทำ ถ้าทำโดยไม่ต้องพะวงถึงผลข้างหน้า แต่ทำตามเหตุตามปัจจัยหรือมุ่งประกอบเหตุให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ แบบนี้ทำไม่เป็น ต้องมีแรงจูงใจคือเอารางวัลหรือเอาผลที่สวยงามมาล่อให้มีกำลังใจ นี้ไม่ใช่วิธีการทำงานแบบพุทธ ท่าทีที่ถูกต้องแบบพุทธคือทำงานโดยไม่จำเป็นต้องเอาความสำเร็จหรือรางวัลมาล่อ แต่ทำเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ มีคุณค่า และน่าทำ ขณะที่ทำจิตก็อยู่กับปัจจุบัน พร้อมเผชิญกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ล้มเหลวก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นเอง แต่งานล้มเหลว ก็ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว เพราะว่าเราไม่ได้เอาตัวตนไปผูกติดไว้กับงาน ใครมาวิจารณ์งานก็ไม่ทุกข์ไม่เสียใจ เพราะไม่ได้ยึดติดว่างานนี้เป็นตัวกูของกู

ทำงานอะไรก็ตาม พึงทำด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบ โดยไม่ถือว่างานนั้นเป็นตัวกูของกู ทำเสร็จแล้วก็มอบผลงานให้เป็นของธรรมชาติไป ไม่ยึดว่าเป็นเราหรือของเรา คำสรรเสริญเยินยอและชื่อเสียงเกียรติยศที่เกิดขึ้นก็มอบให้แก่ธรรมชาติ หรือมอบให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นของเรา ใครสรรเสริญก็ไม่ได้หลงใหลได้ปลื้ม ใครมาตำหนินินทาก็ไม่ได้ทุกข์ร้อน เพราะไม่ได้ยึดว่าเป็นของเราตั้งแต่ต้น ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเวลาทำงานเรามักคาดหวังผล แถมยังไปยึดติดกับคำสรรเสริญเยินยอและคำนินทาว่ากล่าว จึงทำงานอย่างไม่มีความสุข

การปล่อยวางหมายถึงว่าเราไม่เข้าไปยึดในผลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบวกหรือลบ แม้ภายนอกอาจจะไม่ได้ปฏิเสธ แต่ภายในใจนั้นไม่รับอยู่แล้ว ท่านอาจารย์พุทธทาสทั้งพูดทั้งเขียนมาตลอดว่าสมณศักดิ์เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีความหมายสำหรับท่าน ท่านขอเป็นทาสของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว แต่ว่าเมื่อท่านทำงานให้พระศาสนา จนเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ จากพระครู เลื่อนเป็นพระราชาคณะสามัญ แล้วก็เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม สุดที่พระธรรมโกศาจารย์ เคยมีลูกศิษย์มาแนะอาจารย์พุทธทาสว่า สมณศักดิ์เหล่านี้ท่านน่าจะคืนเขาไป ท่านอาจารย์พุทธทาสก็บอกว่า จะคืนได้อย่างไร ก็เรายังไม่ได้รับมาตั้งแต่แรกจะคืนได้อย่างไร คือแม้ทางราชการจะให้สมณศักดิ์และพัดยศมาแต่ใจท่านไม่ได้รับเลย จะเป็นชั้นไหนก็ไม่เคยรับมาตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปคืนเขา
ถ้าเราวางใจได้อย่างนี้ เวลาทำงาน ได้รับคำสรรเสริญเราก็ไม่รับมาเป็นของเรา หรืออาจจะถือไว้แต่ไม่ได้เอามาสวมใส่ ทำได้แบบนี้จะรู้สึกสบาย โปร่งเบา เมื่อถึงเวลาที่เขาตำหนิติฉินเราก็ไม่เดือดเนื้อร้อนใจเพราะว่าเราไม่ได้รับตั้งแต่แรก เมื่อมีคนชมก็ไม่เพลินหรือหลงตัว เมื่อถูกตำหนิก็ไม่เสียใจ สองอย่างนี้ไปด้วยกัน ถ้าเราทำใจด้วยใจที่ปล่อยวางแล้ว เราจะทำงานด้วยใจที่สบาย อิสระ โปร่งเบา และทำด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ใช่สบายแล้วเฉื่อยชาเฉื่อยแฉะ ตรงข้าม เราทำเต็มที่ เพราะความสุขคือการอยู่กับปัจจุบัน แม้ทำงานก็มีความสุข สุสุขอยู่ที่งานไม่ได้อยู่ที่ผลของงาน ยิ่งมีสติและสมาธิด้วยแล้ว จะทำงานอย่างมีความสุขมาก แม้ผลจะยังไม่ปรากฏก็ตาม ถ้าทำงานด้วยท่าทีเช่นนี้ ผลของงานจะไม่มีอิทธิพลต่อเรามากนัก เราจะทำด้วยความสุข และด้วยสำนึกว่า มันเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่ทำเพราะว่ามันเป็นของเรา

การปล่อยวางและการทำงานด้วยความรับผิดชอบ หรือทำด้วยความไม่ประมาท เป็นสิ่งที่เราต้องเชื่อมให้เป็นอันเดียวกันให้ได้ อย่าไปแยกกัน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการปล่อยวางตามอำนาจของกิเลสหรือความหลง มิใช่ปล่อยวางเพราะมีปัญญา

:b8: :b8: :b8:

:b8: ขอบคุณค่ะ http://www.visalo.org/article/bkkB000001.htm

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




20170730_195205.jpg
20170730_195205.jpg [ 121.75 KiB | เปิดดู 17615 ครั้ง ]
sirinpho เขียน:
Kiss
:b39: กระทู้นี้ น่าสนใจดีค่ะ

พระราชดำรัสสมเด็จฯ “พระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=42329


:b4: ดีค่ะ ร่วมด้วยช่วยกัน อะไรที่เกี่ยวข้องน่าสนใจ นำมาใส่ได้เลยค่ะ

หลวงตามหาบัว เทศน์ถึงมหาเถรสมาคม สงสารสมเด็จพระสังฆราช
https://www.youtube.com/watch?v=qrelKadomAA

รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง
(กรณีพระคึกฤทธิ์)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ธรรมทานเพื่อการศึกษาธรรม
มีนาคม 2558
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=51593

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์
http://www.slideshare.net/BonBon3/22018255

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed.jpg
unnamed.jpg [ 29.18 KiB | เปิดดู 17615 ครั้ง ]
Kiss
ธงไตรรงค์มี3สีคือ1ชาติ2ศาสนา3พระมหากษัตริย์
ผู้นำยังคิดไม่ได้อีกหรือว่าควรจัดการอย่างไร
การมีญาติดีที่สนิทอย่างยิ่งคือคบบัณฑิต
ในเมื่อกษัตริย์เป็นญาติกับสังฆราชา
ผู้นำทางโลกในประเทศเป็นญาติ
กับสังฆราชาสมควรไหมที่จะรู้
ว่าควรยกย่องเชิดชูศาสนาใด
เป็นศาสนาประจำชาติกันน๊า
ยังมีพ่อแห่งชาติแม่แห่งชาติ
แล้วสังฆราชาแห่งชาติล่ะ
ปัญหาเกี่ยวอะไรไม่ทราบ
อสมดีเด่นครูดีเด่นประกาศได้
ให้เกียรติพระญาติก็เท่ากับอะไร
นี่รู้จักพระธาตุประกาศความดีไหมล่ะ
onion onion onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 21:52
โพสต์: 32

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมคุยด้วยคน
ผมว่าคนที่รณรงค์ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติก็เป็นคนที่ศรัทธามากและอยากให้เจริญรุ่งเรืองไปอีกนาน ๆ แต่ในความเห็นส่วนตัวอีกมุมหนึ่ง (ของผม) ผมก็ไม่แน่ใจว่ามีคนไทยจำนวนมากเท่าไรที่ไม่เคยศึกษาคำสอน ศึกษาธรรมะและใช้เป็นแนวดำเนินชีวิต คือ ถ้าพุทธบริษัทไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติธรรม ต่อให้ประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติได้จริงมันจะมีความหมายอะไร แต่ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม แม้ไม่ประกาศเป็นศาสนาประจำชาติ มันก็ได้รับความเคารพนับถือจากนานาชาติมากกว่า ปัญหาในปัจจุบัน ผมมองว่า พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้นำธรรมที่แท้จริงมีอยู่เท่าไร เพราะวัดหลาย ๆ แห่งยังไม่สามารถสร้างศรัทธาได้เท่าที่ควร แม้ว่าวัดที่ดี พระที่ดียังมีอยู่มาก แต่ถ้าเทียบกับวัดทั้งหมด พระทั้งหมดล่ะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3872.jpg
Image-3872.jpg [ 97.04 KiB | เปิดดู 17615 ครั้ง ]
Rosarin เขียน:
Kiss
ธงไตรรงค์มี3สีคือ1ชาติ2ศาสนา3พระมหากษัตริย์
ผู้นำยังคิดไม่ได้อีกหรือว่าควรจัดการอย่างไร
การมีญาติดีที่สนิทอย่างยิ่งคือคบบัณฑิต
ในเมื่อกษัตริย์เป็นญาติกับสังฆราชา
ผู้นำทางโลกในประเทศเป็นญาติ
กับสังฆราชาสมควรไหมที่จะรู้
ว่าควรยกย่องเชิดชูศาสนาใด
เป็นศาสนาประจำชาติกันน๊า
ยังมีพ่อแห่งชาติแม่แห่งชาติ
แล้วสังฆราชาแห่งชาติล่ะ
ปัญหาเกี่ยวอะไรไม่ทราบ
อสมดีเด่นครูดีเด่นประกาศได้
ให้เกียรติพระญาติก็เท่ากับอะไร
นี่รู้จักพระธาตุประกาศความดีไหมล่ะ
onion onion onion


จริงค่ะ เห็นด้วยว่าเราควรประกาศ
และถ้าจะประกาศออกมา ก็ต้องทำตัวเองกันเสียใหม่ ยอมปรับปรุงแก้ไข เช่น
พระก็ควรประฟฤติตนให้อยู่ในพระวินัยอย่างแท้จริง
ประชาชนต้องมีหลักสูตรพุทธศาสนาเต็มขั้นเป็นวิชาหนึ่งในชั้นเรียน
และสอนให้เหมาะสมแก่วัย ปลูกฝังคุณธรรมและสำนึกรักสถาบันอย่างจริงจังในวัยเด็ก เป็นต้น

และอย่าให้ใครมาชักใยเบื้องหลัง หาประโยชน์จากการประกาศพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

แต่เคยเห็นหรือไม่คะ มีบุคคลบางท่านได้รับประกาศเกียรติคุณระดับชาติ
หนังสือลงข่าวเชิดชู แต่พอมีคนมีขุยคุ้ยเบื้องหลังจริงๆ ของบุคคลที่ได้รับรางวัลนั้น
ปรากฏว่า กระทำตนไม่สมควรแก่รางวัลเอาเสียเลย

ดังนั้นรางวัลจึงเป็นแค่เรื่องตลก ที่ให้ไปแบบไร้ราคา เป็นรางวัลที่่หาค่าไม่ได้
พลอยให้สถาบันที่ให้รางวัลเสื่อมเสียไปด้วย ซึ่งบุคคลท่านอื่นๆ ที่เคยได้รับรางวังเพราะดีจริงๆ
กลับมองรางวัลที่ตนได้รับมาแบบไม่แน่ใจว่า เราได้รับเกียรติจริงหรือ รางวัลนี้ศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ
ให้มาแบบชุ่ยๆ สุ่มๆ ไม่มีหลักกติกาอะไรชัดเจน ถ้าคนๆ นี้ทำตัวดีจริง บางทีก็มัวหม่องไปด้วย
ในสายตาคนทั่วไป ว่าไม่ได้ให้รางวัลเพราะความดี แต่ให้รางวัลเพราะความดัง

ถ้าจะยกย่องเชิดชู ต้องดีจริง ต้องยอมปรับปรุงตัวกันด้วยค่ะ
ไม่ใช่มีมาเฟียใดชักใยอยู่เบื้องหลังยิกๆ

แต่บางครั้งคนดีจริงมากมายเยอะแยะ แต่ไม่ได้รางวัลอะไรเลยก็มี
อาม่าบางคน เลี้ยงลูกเหนื่อยสายตัวแทบขาด ลูกทุกคนเรียนหนังสือจบปริญญา
ทำงานได้ดิบได้ดี ก็ไม่มีใครให้ใบประกาศแก่อาม่าสักใบ แกก็เดินของแกต๊อกๆออกกำลังกายในหมู่บ้าน
แต่คนที่รู้จักก็ยกย่องแกว่าแกเก่ง เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีมีคุณภาพของประเทศ

ผิดกับคนบางคนที่ได้รับยกย่องระดับชาติ แต่ลูกเดินเข้าออกคุกเป็นว่าเล่น

ดิฉันว่า เอาให้ความดีแบบที่มันประกาศตัวของมันเองดีกว่า
และยิ่งจะดีใหญ่ ที่ผู้คนสรรเสริญแซ่ซ้องกันด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่่ยัดเยียด

หากยัดเยียดความดีที่่ข้างนอกสุกใส แต่ข้างในเป็นโพรง ว่างเปล่าจากความดี
เราก็เป็นแค่ตัวตลกแก่ชาวโลกเท่านั้น อย่าลืมว่าโลกไร้พรมแดนทางด้านการสื่อสารนะคะ
อายจริงๆ ที่จะมายกย่องให้ใครหัวเราะขำ ต่อหน้าในสังคมเขาก็มีมารยาทนะคะ และลับก็คงขำๆ ค่ะ

อยากกินข้าวปั้น อย่าเอาโจ๊กมาปั้น ปั้นกันจนโจ๊กบูด ก็ไม่เป็นข้าวปั้นค่ะ
สู้ไปหุงข้าวญี่ปุนมาใหม่ให้ดี แล้วเอามาปั้นข้าวปั้น ดีมั้ยคะ

พูดถึงญี่ปุ่น ก็พูดต่ออีกหน่อยค่ะโพสนี้
ถ้าเป็นไปได้เรามีความศรัทธามั่นคงแบบคนพม่า
หรือ ศรัทธาไม่คลอนแคลนแบบชาวฮินดูที่มีต่อศาสนาของเขาในอินเดีย
เราทำให้ได้แบบเขา เอาตัวอย่างที่ดีของประเทศเหล่านี้มา
แล้วรัฐบาลเราบริหารประเทศแบบญี่ปุ่น ที่ปกป้องศาสนาและคนในชาติดีเหลือเกินค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




20170730_191935.jpg
20170730_191935.jpg [ 107.08 KiB | เปิดดู 17615 ครั้ง ]
ปัญหาการเมือง

จริงๆคนไทยนับถือพุทธอยู่แล้ว

แต่เพราะการเมือง ทำให้มุมมองออกมาว่า การเมืองหาจุดยืนไม่ได้นั่นเอง

มันเป็นปัญหาการเมือง

ที่ทำให้ประชาชนสั่นคลอน เพราะประชาชนมีจุดยืนแล้ว

แต่การเมืองนั้น ไม่มีจุดยืน!!

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




20170730_160824.jpg
20170730_160824.jpg [ 129.94 KiB | เปิดดู 17615 ครั้ง ]
การที่ต้องเรียบเรียงรายชื่อ เพราะจุดมุ่งหมายคือทำให้ตรงตามหลักการเมือง

เป็นเรื่องที่ประชาชน มุ่งหวังที่จะแก้ไขปัญหาการเมืองมากกว่า หรือพูดง่ายๆว่า ช่วยเหลือการเมือง ไม่ให้ขายหน้ามากไปกว่านี้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




1501020781447.jpg
1501020781447.jpg [ 27.96 KiB | เปิดดู 17616 ครั้ง ]
student เขียน:
ปัญหาการเมือง

จริงๆคนไทยนับถือพุทธอยู่แล้ว

แต่เพราะการเมือง ทำให้มุมมองออกมาว่า การเมืองหาจุดยืนไม่ได้นั่นเอง

มันเป็นปัญหาการเมือง

ที่ทำให้ประชาชนสั่นคลอน เพราะประชาชนมีจุดยืนแล้ว

แต่การเมืองนั้น ไม่มีจุดยืน!!



จุ๊ๆๆ การเมืองพูดแค่น้ำจิ้มนะคะ เดี๋ยวกระทู้จะตกเวทีไป
กราบขอประทานโทษจริงๆค่ะ s002 ไม่เอาไม่พูดค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6940.jpg
Image-6940.jpg [ 52.19 KiB | เปิดดู 17616 ครั้ง ]
บ้านสวนสุขใจ เขียน:
ขอร่วมคุยด้วยคน
ผมว่าคนที่รณรงค์ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติก็เป็นคนที่ศรัทธามากและอยากให้เจริญรุ่งเรืองไปอีกนาน ๆ แต่ในความเห็นส่วนตัวอีกมุมหนึ่ง (ของผม) ผมก็ไม่แน่ใจว่ามีคนไทยจำนวนมากเท่าไรที่ไม่เคยศึกษาคำสอน ศึกษาธรรมะและใช้เป็นแนวดำเนินชีวิต คือ ถ้าพุทธบริษัทไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติธรรม ต่อให้ประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติได้จริงมันจะมีความหมายอะไร แต่ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม แม้ไม่ประกาศเป็นศาสนาประจำชาติ มันก็ได้รับความเคารพนับถือจากนานาชาติมากกว่า ปัญหาในปัจจุบัน ผมมองว่า พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้นำธรรมที่แท้จริงมีอยู่เท่าไร เพราะวัดหลาย ๆ แห่งยังไม่สามารถสร้างศรัทธาได้เท่าที่ควร แม้ว่าวัดที่ดี พระที่ดียังมีอยู่มาก แต่ถ้าเทียบกับวัดทั้งหมด พระทั้งหมดล่ะ...


ยินดีค่ะ

อันดับแรกเลยคือ ศรัทธา

ศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ถ้าทำตัวไม่น่าเชื่อถือ ใครเขาจะมาเชื่อ

ก็ต้องตอบแบบนางงามค่ะ คือ เราต้องเริ่มต้นที่พวกเราชาวพุทธทุกคน เริ่มที่ตัวเราเองก่อน
เริ่มต้นด้วยการศึกษาและปฏิบัติ ตามแต่โอกาสที่ท่านจะสามารถทำได้
และเมื่อใดที่มีโอกาสมากขึ้น ก็ทำมากขึ้นนะคะ

ถ้าทำได้มากกว่านั้นไปอีก คือ ช่วยกันเผยแผ่ตามความสามารถของตนค่ะ
อาจจะช่วยกันโน้มน้าวคนที่ขาดศรัทธาให้หันมามีศรัทธา

เมื่อก่อนนี้ดิฉันก็ไม่ได้สนใจ แต่เมื่อพ่อทำให้เห็นตั้งแต่เด็ก
วันหนึ่งดิฉันก็เดินตามอย่างที่ท่านทำค่ะ

และการสอนคนที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ การทำตนเองให้ดีเป็นตัวอย่างให้คนอื่นเห็นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-767.jpg
Image-767.jpg [ 61.32 KiB | เปิดดู 17617 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

๔. ราโชวาทชาดก
ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นำ


[๖๓๔] ถ้าเมื่อโคทั้งหลาย ว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นำ-
ฝูงว่ายคดอย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน.

[๖๓๕] ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใด ได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้น ประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้
ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่ไม่เป็นสุขทั่วกัน.

[๖๓๖] ถ้าเมื่อโคทั้งหลาย ว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามตรง เมื่อมีโค
ผู้นำฝูงว่ายข้ามตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายข้ามตรงไปตามกัน.

[๖๓๗] ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใด ได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้น ประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมประพฤติเป็นธรรมไป
ตามโดยแท้ ถ้าพระราชา ผู้เป็นใหญ่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั่วกัน.

จบ ราโชวาทชาดกที่ ๔.


อรรถกถา ราโชวาทชาดก
ว่าด้วย คุณสมบัติของผู้นำ


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภราโชวาท
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ควนฺเจ ตรมานานํ ดังนี้
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งใน สกุณชาดก
ส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร แม้พระราชาครั้งแต่ก่อน ทรงสดับถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว ครองราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญทางไปสวรรค์ให้บริบูรณ์ไปแล้ว อันพระราชาทรงอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้วเรียนศิลปะทั้งปวงเสร็จแล้ว บวชเป็นฤาษี ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ในหิมวันตประเทศอันน่ารื่นรมย์.
ในกาลนั้น พระราชาทรงรังเกียจโทษ มิใช่คุณความดี ทรงพระดำริว่า ใครๆ ผู้กล่าวโทษใช่คุณของเรา มีอยู่หรือ จึงทรงแสวงหาอยู่ มิได้พบเห็นใครๆ ผู้มักกล่าวโทษของพระองค์ทั้งในอันโตชนและพาหิรชน ทั้งในพระนครและนอกพระนคร ทรงพระดำริว่า ในชาวชนบทจะเป็นอย่างไรบ้าง จึงปลอมพระองค์ เสด็จเที่ยวไปตามชนบท แม้ในชนบทนั้น ก็มิได้ทรงเห็นคนผู้กล่าวโทษ ได้ทรงสดับแต่คำสรรเสริญคุณของพระองค์นั้น จึงทรงดำริว่า ในหิมวันตประเทศจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเสด็จเข้าไปยังป่าเที่ยวไปจนถึงอาศรมของพระโพธิสัตว์ ทรงอภิวาทพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ทรงทำปฏิสันถารแล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์นำผลนิโครธสุกจากป่ามาบริโภค. ผลนิโครธสุกเหล่านั้นหวานมีโอชะ มีรสเสมอด้วยจุรณน้ำตาลกรวด. พระโพธิสัตว์นั้นทูลเชิญพระราชา แล้วทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก เชิญท่านบริโภคผลนิโครธสุกนี้ แล้วดื่มน้ำ. พระราชาทรงกระทำอย่างนั้นแล้ว ตรัสถามพระโพธิสัตว์ ว่า
ท่านผู้เจริญ เพราะอะไรหนอ ผลนิโครธสุกนี้ จึงหวานดีจริง.
พระโพธิสัตว์ทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก พระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยเสมอ เป็นแน่ เพราะเหตุนั้นแหละ ผลนิโครธสุกนั้น จึงหวาน.
พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ในเวลาที่พระราชาไม่ดำรงอยู่ในธรรม ผลนิโครธสุกย่อมไม่หวานหรือหนอ.
พระโพธิสัตว์ทูลว่า ใช่ ท่านผู้มีบุญมาก เมื่อพระราชาทั้งหลายไม่ดำรงอยู่ในธรรม น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี รากไม้และผลไม้ในป่าเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่หวาน หมดโอชะ.

อีกอย่างหนึ่ง มิใช่สิ่งเหล่านี้อย่างเดียว แม้รัฐทั้งสิ้นก็หมดโอชะ ไร้ค่า แต่เมื่อพระราชาทั้งหลายนั้นทรงดำรงอยู่ในธรรม แม้สิ่งเหล่านั้นก็ย่อมหวานมีโอชะ รัฐแม้ทั้งสิ้นก็ย่อมมีโอชะเหมือนกัน.
พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญคงจักเป็นอย่างนั้น ทรงไม่ให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชาเลย ทรงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วเสด็จไปยังนครพาราณสี ทรงดำริว่า จักทดลองทำตามคำของพระดาบส จึงทรงครองราชสมบัติโดยไม่เป็นธรรม. ทรงดำริว่า จักรู้ความจริงในบัดนี้ จึงให้เวลาล่วงไปเล็กน้อยแล้ว เสด็จไปที่สำนักของพระโพธิสัตว์นั้นอีก ทรงไหว้แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้นแหละ แล้วได้ถวายผลนิโครธสุกแก่พระราชานั้น ผลนิโครธสุกนั้นได้มีรสขมแก่พระราชานั้น พระราชาทรงรู้สึกว่าไม่มีรสหวาน จึงถ่มทิ้งพร้อมกับเขฬะ แล้วกล่าวว่า ขม ท่านผู้เจริญ.
พระโพธิสัตว์ทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก พระราชาจักไม่ทรงประพฤติธรรมเป็นแน่ เพราะในกาลที่พระราชาทั้งหลายไม่ทรงประพฤติธรรม สิ่งทั้งหมดตั้งต้นแต่ผลาผลในป่า ย่อมหารสหาโอชะมิได้
แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นำฝูงว่ายคดอย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน.

ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นทุกข์ทั่วกัน.

ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามไปตรง เมื่อโคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามไปตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายข้ามไปตรงตามกัน.

ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมประพฤติเป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั่วกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ควญฺเจ ตรมานานํ ความว่า เมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำ. บทว่า ชิมฺหํ ได้แก่ คด คือ โค้ง. บทว่า เนนฺเต ความว่า เมื่อโคผู้หัวหน้าโค คือ โคจ่าฝูงผู้เป็นหัวหน้าโค นำไปคือพาไป. บทว่า ปเคว อิตรา ปชา ความว่า สัตว์ทั้งหลายนอกนี้ ก็ย่อมประพฤติไม่เป็นธรรมตามๆ กัน. บทว่า ทุกฺขํ เสติ ความว่า มิใช่จะอยู่เป็นทุกข์อย่างเดียว ย่อมได้ประสบทุกข์ในอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ ด้วย. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า ถ้าพระราชาประพฤติไม่เป็นธรรม โดยลุแก่อคติ มีฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า สุขํ เสติ ความว่า ถ้าพระราชาทรงละการลุอำนาจอคติ ดำรงอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมจะถึงความสุขอย่างเดียว ในอิริยาบถทั้ง ๔.

พระราชาทรงสดับธรรมของพระโพธิสัตว์ จึงให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชา แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเองกระทำผลนิโครธสุกให้หวาน แล้วได้ทำให้ขม บัดนี้ จักกระทำให้หวานต่อไป แล้วทรงไหว้พระโพธิสัตว์ เสด็จกลับพระนครครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ทรงกระทำสรรพสิ่งทั้งปวงให้กลับเป็นปกติตามเดิม.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดก ว่า
พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น พระอานนท์
ส่วนดาบสได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ ๔

.. อรรถกถา ราโชวาทชาดก ว่าด้วย คุณสมบัติของผู้นำ จบ.
อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 0อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 630อรรถกถาอรรถาธิบาย
เล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 634อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 638อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 2519
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 085&Z=3098
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
:b8: :b8: :b8:
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=27&i=634

-----------------------------------------------------------------------------------

ถนนสู่พระสังฆราช
http://manager.co.th/Pjkkuan/ViewNews.a ... 0000003516

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2016, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




20170801_063908.jpg
20170801_063908.jpg [ 149.34 KiB | เปิดดู 17616 ครั้ง ]
ถ้าบุคคลที่เป็นใหญ่ในศาสนาเป็นอย่างไร กลุ่มบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ย่อมเป็นเนื้อเดียวกันกับผู้เป็นใหญ่ ฝูงแมลงวันก็อยู่กับฝูงแมลงวัน ส่วนฝูงผึ้งก็พากันอยู่ในฝูงตนเอง ฉันใดก็ฉันนั้น กลุ่มที่มีหัวหน้าเป็นแมลงวันก็จะรายล้อมด้วยฝูงแมลงวันพากันไปกินอาจม กลุ่มที่มีหัวหน้าเป็นผึ้งก็จะรายล้อมด้วยฝูงผึ้งพากันไปกินน้ำหวานจากดอกไม้

ตอนนี้มีการขู่ว่าถ้าไม่เอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ อีก ๕ ปี ศาสนาพุทธจะไม่มีเหลือ
ประมาณว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ประชาชนก็ต้องลงชื่อแล้วให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

ดิฉันก็เห็นด้วยอย่างยิ่งนะคะ ที่จะมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะดินแดนนี้เป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธอยู่คู่กับแผ่นดินมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ทำไมเราจะไม่ดีใจล่ะที่ศาสนาพุทธจะได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ มันชื่นใจค่ะ

แต่ถ้าหากว่า การบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ อยู่ภายใต้กลุ่มบุคคลใดที่มุ่งหาผลประโยชน์จากการบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ดิฉันก็คิดว่า มันช้ำใจมากกว่าชื่นใจนะคะ

ถ้าศาสนาของคนในชาติ ต้องยกให้กลุ่มบุคคลใดเพื่อหาผลประโยชน์ ก็น่าเสียใจนะคะ
ทุกวันนี้ภัยภายนอกศาสนานั้น อย่าไปโทษพวกเขาเลยค่ะ โทษคนในศาสนานี้แหล่ะตัวดี ตัวทำลายอย่างแท้จริง ศาสนาอื่นเขาก็ต้องเผยแพร่ศาสนาของเขาไปตามปกติอยู่แล้ว จะด้วยวิธีใดก็ตาม อาจจะกลืนไปแล้วบางส่วน แต่ถ้าคนในศาสนาของเราเข้มแข็ง การเมืองเข้มแข็ง เราฟื้นตัวได้และไม่มีใครทำลายเราได้ง่ายๆ เราชลอความเสื่อมให้ช้าลงได้ค่ะ

ขอให้เอาคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องตัดสินนะคะ
เราชาวพุทธควรรักษาศาสนาของเราอย่างไร ใครคือมารศาสนาตัวจริง
เมื่อต้องมีประมุขฝ่ายศาสนา บุคคลเช่นไรควรจะได้รับตำแหน่งนี้
ศาสนาประจำชาติต้องอยู่ประจำในใจชาวพุทธ หรือว่าการบัญญัติขึ้นมาโดยไร้ความหมายในใจที่แท้จริง


เมื่อท่านได้ศึกษาปริยัติดีแล้ว ก็ขอให้มีสติมองลงมาที่ใจของตนเองว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นในใจของท่าน ท่าน และก็ท่านฯ นั้น ดีหรือชั่ว
พระก็ควรคิดอย่างพระ พระอย่ามาคิดและทำแบบฆราวาส เพราะนั้นแหละคือหนทางเสื่อม
ฆราวาสสะสมทรัพย์สินเงินทองติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ถ้าพระจะต้องการเต็มเหนี่ยวแบบฆราวาส
ก็สึกจากพระมาเถอะค่ะ มาทำมาหากินสะสมเงินทองติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
ฆราวาสก็อย่าทำให้พระดี เสียดีด้วยการปรนเปรอสิ่งฟุ่มเฟื่อย ฆราวาสทำพระ ให้เสียพระก็มีมาก


แต่ก็ยังน่ายินดีที่มีกลุ่มบุคคลที่ยังยืนยันความชอบธรรม ด้วยการประกาศเจตนาที่ชัดเจน โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ขอกราบอนุโมทนาบุญกับบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นค่ะ ที่ช่วยกันรักษาพระศาสนาไว้อย่างแท้จริงค่ะ


โปรดฟังหลวงตามหาบัว อีกครั้งค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=qrelKadomAA

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร