วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=22



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2015, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ สุสานหลวง
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2015, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และ “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา”
ได้สิ้นพระชนม์ลงอย่างสงบในระหว่างการเจริญสมาธิ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ น.
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ (ชั้นพระมหากรุณาธิคุณ)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต
ยังความโศกเศร้าอาลัยแก่ประชาชนชาวไทยและพุทธศาสนิกชนเป็นยิ่งนัก

ทั้งนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ประชวรด้วยพระโรคชราภาพตามพระอายุขัย
ซึ่งแทรกซ้อนตามมาด้วยเบาหวาน ไต เป็นต้น
และได้เสด็จประทับรักษาพระอาการประชวรอยู่ที่ชั้น ๖ (ชั้นพระมหากรุณาธิคุณ)
ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ เป็นต้นมา

ในระยะแรกที่เข้าประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลเมื่อราว ๑๐ กว่าปีก่อน
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เสด็จกลับมาที่่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นครั้งคราว
แต่ระยะหลังไม่สามารถเสด็จออกจากโรงพยาบาล
เนื่องจากคณะแพทย์เห็นว่า
พระองค์ต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดจากคณะแพทย์
กระทั่งเมื่อเวลา ๑๙.๓๐ น. ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้สิ้นพระชนม์ลง
รวมระยะเวลาแห่งการประทับ ณ ตึกสงฆ์อาพาธแห่งนี้ ๑๑ ปี ๑๑ เดือน ๕ วัน


--------------------------------

พระนามเดิม : เจริญ คชวัตร
พระนามฉายา : สุวฑฺฒโน (แปลว่า ผู้เจริญดียิ่ง)
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๕๖
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
รัชกาลที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์
เสด็จสถิต ณ : วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ทรงเป็นรัตตัญญูมหาเถระ
ทรงเจริญพระชนมายุ ๑๐๐ พรรษา กับ ๒๑ วัน
ทรงดำรงอยู่ในเพศพรหมจรรย์ ๘๗ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ๕๒ ปี
ทรงเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ๕๐ ปี
ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ๒๕ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๒๔ ปี

นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชนมายุยืนยาวกว่า
สมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตที่ผ่านมา
และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทย
ที่มีพระชนมายุยืนยาวถึง ๑๐๐ พรรษา


--------------------------------

สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์แล้ว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=62&t=46638

๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ ครบ ๑ ปีแห่งการสิ้นพระชนม์ฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=48524

พระประวัติ “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20232

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2015, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

๓ พัดยศสมณศักดิ์สำคัญประจำพระองค์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้แก่
(๑) พัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช
(๒) พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
(๓) พัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น ๑ (พัดประจำรัชกาลที่ ๙)

พัดรัตนาภรณ์เล่มที่ ๒ ที่ทรงได้รับพระราชทานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖
เนื่องในงานฉลองพระชันษา ๘๐ พรรษา
จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙


รูปภาพ

พระโกศทองน้อย
พร้อมทั้ง ๓ พัดยศสมณศักดิ์สำคัญประจำพระองค์
ได้แก่ (๑) พัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช
(๒) พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
(๓) พัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น ๑ (พัดประจำรัชกาลที่ ๙)


ในการบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุพระศพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร


รูปภาพ

พระเจดีย์บรรจุพระอัฐิ (องค์สีน้ำตาล)
พร้อมทั้ง ๓ พัดยศสมณศักดิ์สำคัญประจำพระองค์
ได้แก่ (๑) พัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช
(๒) พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
(๓) พัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น ๑ (พัดประจำรัชกาลที่ ๙)


ครั้งประดิษฐานให้ประชาชนได้เข้าถวายสักการะ
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
ในระหว่างวันที่ ๒๐-๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงฉายพระรูปหน้าพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)


ด้านข้างปรากฏ “พัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.” พัดรัตนาภรณ์เล่มแรก
ที่ทรงได้รับพระราชทานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ จาก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมวราภรณ์
ด้วยทรงเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในพระองค์เมื่อครั้งทรงพระผนวช
และเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙


:b39:

พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=46178

พัดรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51604

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2015, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ดอกไม้จันทน์

:b39:

ไม้จันทน์ ที่ใช้ในการถวายพระเพลิงในสมัยโบราณนั้น มีชื่อว่า “จันทน์หิมาลัย” หรือที่ฝรั่งเรียกว่า “Sandal wood” หรือ “White sandal wood” ซึ่งปลูกมากแถบรัฐทมิฬนาฑูทางอินเดียตอนใต้ แต่ปัจจุบันไม้จันทน์ประเภทนี้หาได้ยากมาก ทั้งยังเป็นของต่างประเทศ จึงมักใช้ไม้จันทน์ที่เป็นของพื้นเมืองแทน ได้แก่ “จันทน์ชะมด” หรือ “จันทน์พม่า”

โดยในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีการใช้ไม้จันทน์ที่ยืนต้นตาย ๓ ต้น จากป่าในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทำดอกไม้จันทน์ในการออกพระเมรุในครั้งนี้

“ดอกไม้จันทน์” นี้มีต้นเค้ามาจากการใช้ท่อนไม้จันทน์ในการเผาศพ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานในคราวเสด็จในงานพระศพกรมหมื่นอนุวัฒนจาตุรนต์ ดังข้อความที่มาในสาส์นสมเด็จ เล่มที่ ๘ ความว่า

“ในนั้นมีกำหนดให้จัดของตั้งถวายในการพระราชทานเพลิงศพ คือให้จัดธูปเทียนเข้าตอกดอกไม้กับท่อนจันทน์ นึกแปลเอาว่า ธูปเทียนเข้าตอกดอกไม้นั้นสำหรับทรงขมาศพ ท่อนจันทน์ (เป็นฟืน) สำหรับเผาศพ ภายหลังมาประดิษฐ์แก้ไขเป็นดอกไม้จันทน์ไปเสีย”

นอกจากนี้ ในหนังสือ “ประเพณีเนื่องในการตาย” ของเสฐียรโกเศศ ยังได้กล่าวถึง การเผาศพต้องมีธูปเทียนดอกไม้สำหรับขมาศพ กับท่อนจันทน์ในการพระราชทานเพลิงศพ ภายหลังคิดประดิษฐ์ทำไม้จันทน์ ก็ทำให้การใช้ดอกไม้สดกับท่อนจันทน์ยกเลิกไป จนสุดท้ายเหลือเพียงธูปเทียนใช้ต่างฟืน

ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกในครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ออกแบบช่อไม้จันทน์ โดยนายนิยม กลิ่นบุบผา นักวิชาการช่างศิลป์ทรงคุณวุฒิ และมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่จัดทำช่อไม้จันทน์ สำหรับทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และสมเด็จพระราชาคณะ โดยจัดทำช่อไม้จันทน์เป็น ๓ รูปแบบ

:b44: ภาพประกอบข้างต้น :: ช่อไม้จันทน์ที่ใช้สำหรับทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นช่อไม้จันทน์ด้วยงานซ้อนไม้ของไทย ประดิษฐ์เป็นลายพุ่ม ทรงข้าวบิณฑ์ใบเทศเปลว ซึ่งช่อจะมีขนาดใหญ่

ช่อไม้จันทน์รูปแบบที่ ๒ สำหรับทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระบรมวงศ์ ทรงจุดไฟพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลักษณะของช่อไม้จันทน์นี้เป็นงานซ้อนไม้ ประดิษฐ์เป็นลายพุ่ม ทรงข้าวบิณฑ์ใบเทศ


รูปภาพ
ซุ้มวางดอกไม้จันทน์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
สำหรับพุทธศาสนิกชนร่วมวางถวายน้อมส่งเสด็จฯ “พระสังฆบิดร”
ในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘


:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2015, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

โปรดเกล้าฯ เลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศ “สมเด็จพระสังฆราช”
นับเป็นองค์แรกในประวัติศาสตร์ เลื่อนชั้นพระโกศ ๒ ครั้ง


:b39:

ศิษยานุศิษย์ปลาบปลื้ม ในหลวงพระราชทานเลื่อนชั้นพระโกศสมเด็จพระสังฆราช ๒ ครั้งพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ด้าน มส. ชวนประชาชนงดอบายมุขในวันพระราชทานเพลิงพระศพ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ถวายเป็นพระกุศล พร้อมแต่งชุดดำไว้ทุกข์

วันนี้ (๘ ธันวาคม) เมื่อเวลา ๑๖.๐๐ น. ที่อาคารมานุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวในการเสวนาการเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนชั้นเครื่องพระเกียรติยศจากพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศทองน้อย ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชน ไม่ใช่พระบรมวงศ์ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นกรณีพิเศษอย่างหาที่สุดมิได้ เท่ากับได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเสมอสมเด็จพระสังฆราชเจ้า นับได้ว่าเป็นองค์แรกที่มีการเลื่อนชั้นเกียรติยศสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ ๑๖ ธันวาคมนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ และบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างสมเด็จพระสังฆราชในอดีต ด้วยทรงดำรงอยู่ในครุฐานียะ เป็นที่ตั้งแห่งพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า

ขณะที่ นายสุเชาว์ พลอยชุม อาจารย์พิเศษประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กล่าวว่า หนังสือจากทางสำนักราชเลขาธิการใช้คำว่า “ครุฐานียะ” มีความหมายว่าบุคคลที่ตั้งอยู่ในที่เคารพสักการะ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเคารพในสมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่ถือเป็นอาจารย์ในการถวายธรรมะ

นายธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพระราชพิธี กล่าวว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่มาจากสามัญชนพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นพระโกศประกอบพระอิสริยยศ ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อคราวสิ้นพระชนม์ จากพระโกศกุดั่นน้อย เป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ และครั้งที่ ๒ คราวออกพระเมรุระหว่าง ๑๕-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดยเลื่อนจากพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศทองน้อย ซึ่งพระโกศทองน้อยถือเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า

ด้านนายสมเกียรติ ธงศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม (มส.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า มส. ออกมติพิเศษ ๗/๒๕๕๘ เรื่อง เชิญชวนประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ งดเว้นอบายมุข ในวันที่ ๑๖ ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อร่วมใจถวายเป็นพระกุศลแด่พระองค์ท่าน และเพื่อเทิดพระเกียรติในการส่งเสด็จเป็นครั้งสุดท้าย

นายสมเกียรติ กล่าวว่า พศ. ยังได้แนบหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งให้คณะสงฆ์ได้ทราบด้วยว่า จะมีงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราชฯ ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ และ ๑๙-๒๐ ธันวาคม ณ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดเทพศิรินทราวาส โดยวันที่ ๑๖ ธันวาคม เวลา ๐๘.๐๐ น. จะมีริ้วขบวนพระอิสริยยศเชิญพระโกศจากวัดบวรนิเวศวิหาร ไปยังพระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส สำหรับเวลา ๑๖.๓๐ น. พระราชทานเพลิงพระศพ รวมทั้งจะมีพิธีถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ ทั้ง ๔๘ วัด และในส่วนภูมิภาคทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ๘๐๐ แห่ง


:b8: โดย MGR Online
๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ๑๘:๓๘ น. (แก้ไขล่าสุด ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ๑๓:๓๒ น.)


รูปภาพ
พระโกศทองน้อย

รูปภาพ
ที่ครอบด้านบนพระโกศทองน้อย

รูปภาพ
ฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น ประกอบพระโกศทองน้อย

:b44: :b44:

รูปภาพ

รูปภาพ
พระโกศกุดั่นใหญ่

รูปภาพ
ที่ครอบด้านบนพระโกศกุดั่นใหญ่

รูปภาพ
เศวตฉัตร (ฉัตรขาว) ๓ ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2015, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
จาก “พระโกศกุดั่นใหญ่” เป็น “พระโกศทองน้อย”
และเมื่อเช้าวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง
ได้มาดำเนินการเปลี่ยนพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศทองน้อย
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่เรียบร้อย


รูปภาพ

ว่าด้วยเรื่อง “พระโกศทองน้อย”
เขียนโดย :: พระศรัณย์ ปญฺญาพโล

:b39:

“พระโกศทองน้อย” พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์สร้างขึ้นตามอย่างพระโกศทองใหญ่ เพื่อใช้ทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อผลัดพระโกศทองใหญ่ไปแต่งก่อนออกงานพระเมรุมาศ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔

หากใช้ทรงพระบรมศพ หรือตั้งคู่กับพระโกศทองใหญ่ในงานพระศพนั้นจะโปรดให้หุ้มทองคำ ดังที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธุ์ ทรงจดไว้ท้ายบัญชีพระโกศทองใหญ่ คือ ในคราวทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมศพพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ พระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ด้วยในคราวออกพระเมรุคู่กับพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมารดาในเจ้าฟ้าพระองค์นั้น ในคราวที่ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พระพระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชินี ที่ออกพระเมรุคู่กับพระเชษฐาในพระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ เป็นต้น

แต่หากใช้ทรงพระศพในกรณีอื่นๆ เวลาที่ใช้ต้องรื้อทองคำออก ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระโกศทองรองทรง” ขึ้นมีศักดิ์เสมอด้วยพระโกศทองใหญ่ เพื่อจะได้ไม่ต้องหุ้มทองเข้าและรื้อออกบ่อยๆ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ อยุธยา) สร้างพระโกศทองน้อยเพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง

ดังนั้น หากจากการจัดลำดับฐานานุศักดิ์ของพระโกศนั้น พระโกศทองน้อย จึงมีฐานานุศักดิ์สูงกว่าพระโกศกุดั่นใหญ่อยู่หนึ่งลำดับชั้น คือใช้การทรงพระศพเจ้านายในลำดับชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า พระวรราชเทวี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และสมเด็จพระนางเจ้า พระวรราชชายา

ดังปรากฏการพระราชทานพระโกศทองน้อย เพื่อใช้ทรงพระศพภายหลังจากสิ้นพระชนม์ เช่น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และครั้งล่าสุดคือ การพระราชทานพระโกศทองน้อย ประดิษฐานพระศพภายใต้ฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้นทรงพระศพพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตร ระหว่างวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ถึงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙

หรือการพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศเป็นพระโกศทองน้อยในคราวออกพระเมรุ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย

ในส่วนของงานพระศพของสมเด็จพระสังฆราชในอดีตนั้น ดังปรากฏการพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศจากพระโกศกุดั่นใหญ่มาเป็นพระโกศทองน้อย ก็ปรากฏเพียงในงานพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑

รวมถึงในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จากพระโกศกุดั่นใหญ่มาเป็นพระโกศทองน้อย ในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ด้วยดำรงอยู่ในครุฐานียะเป็นที่ตั้งแห่งพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่ามาโดยตลอดพระชนม์ชีพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2015, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


พระโกศกับพระเมรุ สมเด็จพระสังฆราช

พระราชพิธีออกพระเมรุสมเด็จพระสังฆราชไทยมีมาแต่โบราณกาล สำหรับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อยู่ระหว่างวันที่ 15-20 ธันวาคม พ.ศ.2558

พระราชพิธีหลัก 3 วันคือ วันที่ 15 ธันวาคม พระราชพิธีออกพระเมรุ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 16 ธันวาคม เชิญพระศพจากตำหนักเพ็ชรสู่พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทร์ วันที่ 17 ธันวาคม เก็บพระอัฐิแล้วอัญเชิญไปยังตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร

วันเชิญพระศพจากวัดบวรฯไปยังวัดเทพศิรินทร์นั้น ศ.ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระราชพิธีบอกว่า ขณะริ้วขบวนพระศพเฉพาะช่วงที่พระโกศผ่านไป พุทธศาสนิกชนควรกราบนมัสการ 3 ครั้ง มิควรเดินเพ่นพ่านและห้ามเดินตัดริ้วขบวนอย่างเด็ดขาด

ความเป็นมาของ “พระโกศ” ในพระราชพิธี พบว่าคนไทยใช้โกศมาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย ดังปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพระยาลิไท ความว่า “...แล้วเอาสำลีละเอียดมาห่อเล่า ดังนั้นนอกผ้าตราสังทั้งหลายเป็นพันชั้น คือว่าห่อผ้า 500 ชั้น แลสำลีอันอ่อนนั้นก็ได้ 500 ชั้น จึงรดด้วยน้ำหอมอันอบได้แลร้อยคาบ แล้วเอาใส่ในโกศทอง...”

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในตำนานสุสานหลวงวัดเทพศิรินทร์ ความตอนหนึ่งว่า “ไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์มาจากขอม จึงได้ใช้โกศใส่พระศพพระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ชั้นสูง” ส่วน “ศพผู้มีบรรดาศักดิ์ เช่น ศพเสนาบดีได้ใส่โกศนั้น พระมหากษัตริย์พระราชทานเกียรติยศเป็นพิเศษ มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี”

เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราชได้รับพระราชทานพระเกียรติยศ เมื่อสิ้นพระชนม์จึงได้รับพระราชทานพระโกศสำหรับทรงพระศพ และมีพระราชพิธีออกพระเมรุเหมือนเจ้านายชั้นสูง

คติการใช้ “โกศ” นั้น พระศรัณย์ ปัญญาพโล ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีบอกว่า การใช้พระโกศใส่พระศพมาจากความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุ การนำพระศพเข้าไปอยู่ในพระโกศก็เหมือนได้อยู่บนเขาพระสุเมรุบนสรวงสวรรค์ ส่วนราชรถเชิญพระศพนั้นก็เหมือนเชิงเขาพระสุเมรุที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่าหิมพานต์

พระศพในพระโกศที่ต้องอยู่ในท่านั่งนั้น พระศรัณย์บอกว่า เป็นไปตามคติโบราณที่เชื่อว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด เนื่องจากเป็นท่าเดียวกับมนุษย์อยู่ในครรภ์มารดา

“พระเมรุ” หรือที่เผาศพ ต้นธารมาจากคำว่า เขาพระสุเมรุ เช่นกัน สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนไว้ในหนังสือ พระเมรุทำไม มาจากไหน ความว่า เชื่อกันว่าบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของสรวงสวรรค์ที่อยู่ของเทวดา เพราะความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุ คนไทยจึงเรียก “เชิงตะกอนเผาศพว่า เมรุ หมายความว่า ได้ส่งวิญญาณผู้ตายขึ้นสู่สวรรค์บนยอดเขาพระสุเมรุ เมรุทุกแห่งจึงมักสร้างเป็นอาคารยอดแหลมสูง”

พระราชพิธีออกพระเมรุสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ทั้ง 19 องค์ จัดขึ้นที่ไหนและทำอย่างไร สถานที่ออกพระเมรุนั้น พบว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 ถวายเพลิงพระศพบนเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง เช่น สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) “รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุผ้าขาว ณ ท้องสนามหลวง มีสมโภช 3 วัน 3 คืน แล้วพระราชทานเพลิงศพ”

คำว่า “เมรุผ้าขาว” หมายถึง เมรุที่คาดผ้าขาวขึงตึงให้เป็นรูปทรงเช่นอาคารก่ออิฐจริง เมรุผ้าขาวเป็นการบอกลักษณะวัสดุที่ใช้ แต่เมรุผ้าขาวมีศักดิ์ศรีที่หลังคาเป็นเรือนยอด เช่น พระเมรุสมเด็จฯกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นต้น

แผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อสิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพ แล้วพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพภายหลัง โปรดเกล้าฯให้สร้างพระเมรุ ณ พระราชวังบวร (ปัจจุบันคือ ส่วนหนึ่งของสนามหลวง) มีสมโภช 3 วัน 3 คืน แล้วพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุมณฑป

แผ่นดินรัชกาลที่ 6 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวิหาร รัชกาลที่ 6 พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ พระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพภายหลัง โปรดเกล้าฯให้สร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง แล้วพระราชทานเพลิงพระศพ

แผ่นดินรัชกาลที่ 8 เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2480 รัชกาลที่ 8 พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2465 ชักพระศพเข้าพระเมรุ พระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส

นับแต่งานออกพระเมรุ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ในรัชกาลที่ 8 เป็นต้นมา สมเด็จพระสังฆราชองค์ใดสิ้นพระชนม์ ก็ออกพระเมรุ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ส่วนพระโกศนั้นส่วนใหญ่เป็นพระโกศกุดั่น

แผ่นดินรัชกาลที่ 9 มีสมเด็จพระสังฆราชมาแล้ว 6 องค์ ล้วนเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มาจากสามัญชน จึงได้รับพระราชทานพระโกศกุดั่น และออกพระเมรุ ณ วัดเทพศิรินทราวาสตามราชประเพณีสืบต่อกันมา อย่างเช่น พระราชพิธีออกพระเมรุ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ) ตั้ง ณ บริเวณห้องโถงใหญ่ของตำหนักเพ็ชร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานพระโกศประดับเกียรติยศแด่สมเด็จพระสังฆราชเป็น “พระโกศกุดั่นใหญ่” พร้อมฉัตร 3 ชั้น และเครื่องประกอบเกียรติยศ

สำหรับวันพระราชทานเพลิงพระศพ วันที่ 16 ธันวาคม 2558 การจัดขบวนพระอิสริยยศกำหนดจำนวน 2 ริ้วขบวน โดยริ้วขบวนที่ 1 การเชิญพระโกศสู่พระเมรุโดยราชรถ ใช้เส้นทางจากวัดบวรนิเวศวิหารไปยังวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และริ้วขบวนที่ 2 การเชิญพระโกศเวียนรอบพระเมรุโดยราชรถจำนวน 3 รอบ

ก่อนถวายพระเพลิงพระศพ คนไทยมีพิธีถวายดอกไม้จันทน์ การใช้ “ไม้จันทน์” นี้ เป็นไปตามคติคือ 1. ถือว่าไม้จันทน์เป็นไม้มงคล จึงนำมาเคารพศพ 2. คนสมัยก่อนเผาเครื่องหอมบูชาเทพเจ้า การเผาไม้จันทน์เท่ากับได้บูชาเทพเจ้า 3. ไม้จันทน์มีกลิ่นหอม สมัยก่อนใช้ฟืนเผาศพ การใช้ไม้จันทน์ช่วยดับกลิ่นเหม็นของศพไปในตัว

ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กรมพระยาดำรงราชานุภาพเห็นว่า ไม้จันทน์เป็นของหายาก จึงให้ใช้ไม้จันทน์มาทำเป็นแผ่นบางๆ มัดเป็นช่อ เรียกว่าดอกไม้จันทน์ แล้วให้ผู้ร่วมงานศพได้นำไปวางที่เผาศพ เท่ากับนำเอาความเชื่อเรื่องถวายดอกไม้กับเผาไม้จันทน์มาอยู่ในสิ่งเดียวกัน แม้สามัญชนก็ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายสืบมา แม้มีการนำไม้โมกข์มาทำเป็นดอกไม้จันทน์เทียม ก็ยังเรียกดอกไม้จันทน์เหมือนเดิม

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นสังฆราชาที่เปี่ยมด้วยพุทธจริยวัตรงามยิ่ง แม้พระวรกายจักสิ้นไป แต่พุทธกิจย่อมสถิตคู่ฟ้าสถาพร.


:b8: โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 15 ธ.ค. 2558 05:01

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
His Majesty the King provided the special ornate royal urn, which is traditionally reserved for a high-ranking royal family member, to be used at the funeral of the late Supreme Patriarch, who lies in state at Wat Bowon Niwet.

:b39:

Last respects set for Supreme Patriarch

Buddhists nationwide will pay their last respects to the late Supreme Patriarch as the royally sponsored cremation ceremony for the revered monk will begin Tuesday.

The ceremony will be held over a three-day period, with his cremation scheduled for Wednesday.

His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara Somdet Phra Sangharaja died on Oct 24, 2013, at Chulalongkorn Hospital. He was 100 years old.

His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn will perform a royal merit-making ceremony Tuesday to mark the start of the cremation ceremony at Wat Bowon Niwet in Bangkok where the body of the late Supreme Patriarch is lying in state.

On Wednesday, a royal urn holding the body of His Holiness will be carried on an ornate royal chariot in a procession from Wat Bowon Niwet to Wat Thep Sirintharawat where the cremation will be held. The Crown Prince will preside over the cremation on behalf of His Majesty the King.

The procession will pass along Phra Sumen Road, Lan Luang Road, Krung Kasem Road and Thanon Luang Road. The 3.5km route will be closed to traffic from 8am to noon.

The public can place dok mai chan, or paper flowers used in cremation rites, in pavilions at temples nationwide.

On Thursday, the Crown Prince will preside over the ceremony to collect the remains of the Supreme Patriarch, which will then be returned to Wat Bowon Niwet for merit-making ceremonies.

Phra Sakayawongwisut, assistant abbot of Wat Bowon Niwet, said spiritual leaders of Buddhist communities in 13 countries -- Bangladesh, Indonesia, Cambodia, Japan, Laos, Myanmar, South Korea, Nepal, Singapore, Sri Lanka, Vietnam, Bhutan and China -- have been invited to the cremation ceremony.

Born on Oct 3, 1913, in Kanchanaburi province, Somdet Phra Nyanasamvara was appointed by His Majesty the King as the head of the Buddhist clergy in 1989.

He was the 19th Supreme Patriarch since the beginning of the Chakri Dynasty. With 24 years in the role, His Holiness was the longest-reigning Supreme Patriarch.

In 2012, the World Buddhist Supreme Conference bestowed the title of the Supreme Holiness of World Buddhism on the Supreme Patriarch during a summit in Japan.

รูปภาพ
Full dress rehearsals for the funeral of the late Supreme Patriarch were held last week.


:b8: :b8: :b8: http://www.bangkokpost.com/news/general ... -patriarch

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ที่มา “พลับพลาอิศริยาภรณ์”
ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร


:b39:

พลับพลาแห่งนี้มีที่มาจากงานพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๗

แม้การออกพระเมรุเป็นเพียง “พระเมรุผ้าขาว” ขนาดเล็ก แต่มีความสำคัญด้วยเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาสแห่งนี้ ดังพระราชดำริที่ว่า

“จะให้มีที่อันตกแต่งรักษาไว้ให้สะอาดอยู่เสมอ แลมีสถานอันเป็นเครื่องประกอบการเมรุซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ให้ครบครัน เมื่อจะทำการปลงศพ อย่าให้ต้องสร้างอันใดใหม่ เว้นแต่ตัวเมรุหรือโรงทึมอย่างเดียวที่จะต้องสร้างใหม่เป็นของทำชั่วคราว ให้ปลูกสร้างได้ตามสมควรแก่ชั้นยศศักดิ์หรือความพอใจของเจ้าภาพ”

หลังจากที่เคยโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรภาส ณ วัดเทพศิรินทราวาสแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔ และเมื่อทรงเห็นว่าเป็นที่สะดวกแก่การจัดการพระเมรุเจ้านายแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ สร้างอาคารประกอบพระเมรุเป็นการถาวร เมื่อมีการออกพระเมรุแต่ละครั้งก็สร้างเพียงพระเมรุเท่านั้น

เมื่อสุสานหลวงแห่งนี้แล้วเสร็จ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕)

นับแต่นั้นมา พลับพลาทรงธรรมประกอบพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสที่สร้างขึ้นในการถาวรในครั้งนั้น จึงออกนามตามพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ อันเป็นปฐม แม้พลับพลาแห่งนี้จะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในภายหลังก็ยังออกนามพลับพลาแห่งนี้เช่นเดิมว่า “พลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส”

หมายเหตุ :
:b44: = ภาพซ้ายบน คือ พระเมรุผ้าขาวในงานพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๗ ปรากฏภาพพลับพลาอิศริยาภรณ์อยู่หลังพระเมรุ

:b44: = ภาพขวาบน คือ พระเมรุผ้าขาวในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ และเจ้าจอมมารดากลิ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๙ ยังคงปรากฏภาพพลับพลาอิศริยาภรณ์หลังเดิมอยู่

:b44: = ภาพล่างสุด คือ พลับพลาอิศริยาภรณ์ ในปัจจุบัน


:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
รูปภาพ

ประกาศ
สถาปนาพระเกียรติยศ

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) พระชนมายุ ๑๐๐ ปี พรรษา ๘๐ ซึ่งสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ มีพระคุณูปการเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นพระอภิบาลถวายโอวาทานุสาสน์ในระหว่างทรงพระผนวช ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระราชศรัทธานับถือยกย่องอย่างสูงในฐานครุฐานียบุคคล เมื่อสิ้นพระชนม์ ทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพ แทนพระโกศกุดั่นน้อย เพื่อเพิ่มพูนพระเกียรติยศ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประดิษฐานภายใต้เศวตฉัตร ๓ ชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายมาเป็นลำดับ อีกทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หล่อพระรูป สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ไว้เป็นที่สักการบูชาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สืบไปชั่วกาลนาน

บัดนี้ ถึงวาระที่จะพระราชทานเพลิงพระศพอันเป็นปัจฉิมวาระแห่งการพระราชกุศล ทรงพระราชดําริว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่ามาตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยทรงมั่นคงในพระธรรมวินัย เพียบพร้อมด้วยพระคุณธรรม และพระขันติธรรมอันสูงส่ง ทั้งได้ทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานในพุทธจักรแห่งสยามรัฐสีมายาวนานถึง ๒๕ ปี ทรงทะนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาเป็นหิตานุหิตประโยชน์แด่พุทธจักรและอาณาจักรอย่างไพศาล ควรได้รับพระเกียรติยศเพิ่มขึ้น เป็นกรณีพิเศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศทองน้อยทรงพระศพ โดยอนุโลมตามโบราณราชประเพณี

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น กางกั้นพระโกศ ถวายเป็นเครื่องเพิ่มเติมพระเกียรติยศให้ปรากฏสืบไป


ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

:: ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระเกียรติยศ
เล่ม ๑๓๒, ตอนพิเศษ ๓๒๘ ง, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘, หน้า ๑-๒
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/328/1.PDF


รูปภาพ

รูปภาพ
ฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น กางกั้นพระโกศทองน้อย

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ว่าด้วยเรื่อง “ฉัตร” พระสังฆราช
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร


:b39:

รูปที่ ๑
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


พระโกศทองน้อย ประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น
มีฐานเชียงรองรับภายใต้เบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว) ๕ ชั้น
อันเป็นฉัตรสำหรับพระบรมราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมชั้นสมเด็จกรมพระยา แวดล้อมด้วยเครื่องสูง
นับแต่วันที่สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔
ตลอดจนถึงการออกพระเมรุจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิง
ณ พระเมรุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
จึงพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ
เป็น “พระโกศทองใหญ่” ประดับพุ่มเฟื่องเต็มพระอิสสริยยศ
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕


รูปที่ ๒
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


พระโกศทองน้อย ประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น
มีฐานเชียงรองรับภายใต้ฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น
อันเป็นฉัตรสำหรับพระบรมราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมชั้นหลวง
และใช้เป็นฉัตรสำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ตลอดจนถึงการออกพระเมรุจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิง
ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส
จึงพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ
เป็น “พระโกศทองใหญ่” ประดับพุ่มเฟื่องเต็มพระอิสสริยยศ
เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓


รูปที่ ๓
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


เมื่อแรกที่ประดิษฐานพระศพ ณ พระตำหนักเพ็ชร ตั้งแต่สิ้นพระชนม์นั้น
ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ
จากพระโกศกุดั่นน้อย เป็นพระโกศกุดั่นใหญ่
ประดิษฐานเหนือแว่นฟ้าทอง ๒ ชั้น มีฐานเชียงรองรับภายใต้เศวตฉัตร ๓ ชั้น
คือ ฉัตรขาว ๓ ชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ลวดซ้อน ๒ ชั้น
อันเป็นฉัตรที่ใช้สำหรับสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชน
ตลอดจนถึงการออกพระเมรุจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิง
ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส
จึงพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพอีกวาระหนึ่ง
เป็น “พระโกศทองน้อย” ประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น
มีฐานเชียงรองรับภายใต้ฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น
เฉกเช่นเดียวกับ
เมื่อครั้งในงานพระศพของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในพระองค์
ในคราวทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต

ก่อนการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ
อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ที่สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แห่งนี้
จักได้รับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ
อันเป็นกรณีพิเศษมาโดยตลอด


รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อราวกว่า ๕๗ ปีก่อน
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์
ทรงฉายพระรูปหน้า “พระโกศทองน้อย”
เครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในพระองค์
ในคราวทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต

ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
มาวันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบพระศพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
จากพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็น “พระโกศทองน้อย” พร้อมฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น
เสมอสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ก่อนการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ


:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2015, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ
พระพุทธชินสีห์ (จำลอง) และพระรูปสมเด็จพระญาณสังวรฯ
ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร


:b50: :b49: :b50:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร