วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2016, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 99.09 KiB | เปิดดู 10831 ครั้ง ]
แผนผังการเปรียบเทียบญาณ ๑๖ กับวิสุทธิมรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 06:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เป็นภาพสรุปธรรมที่ดีมากครับลุงหมาน กรุณาเอาไปลงในเฟสในไลน์ ให้ชาวโลกไซเบอร์ทั้งหลายได้เห็นเป็นบุญตามั่งก็น่าจะดีนะครับ
smiley smiley
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
เป็นภาพสรุปธรรมที่ดีมากครับลุงหมาน กรุณาเอาไปลงในเฟสในไลน์ ให้ชาวโลกไซเบอร์ทั้งหลายได้เห็นเป็นบุญตามั่งก็น่าจะดีนะครับ
smiley smiley
:b4: :b4:


ในไลท์ส่งให้แต่เพื่อนที่เรียนพระอภิธรรม ในเฟรสยังไม่ได้ส่ง ขอบคุณที่แนะนำครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1568675849455.jpg
1568675849455.jpg [ 36.46 KiB | เปิดดู 7319 ครั้ง ]
ลำดับญาณ ๑๖ โดยสังเขป
ในขั้นต้นพระโยคาวจรจะต้องเจริญวิปัสสนาเดินสายปัญญาโดยมีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้นทาง
มีรูปนามเป็นอารมณ์ โดยใช้หลักการเรียนรู้มาก่อนเพื่อเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ๑๖
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปแยกนามออกจากกัน
คือรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปธรรม
และนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
๓. สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์ปรากฏแจ้งชัด ๑๕ %
คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไ
ม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของรูปนาม
พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐ % สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่า
สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา
๕. ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม คือ อุปาทะ ความเกิดขึ้น
ฐิติ ความตั้งอยู่ มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจน เพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้น รูปนามปรากฏเร็วขึ้น
จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะในส่วนแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ว่า สังขารทั้งปวงล้วน
ดับสลายไปทั้งสิ้น
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่
ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
๗. อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม คือเมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่
ดับสลาย เป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
๘. นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหลในรูปนาม
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปจากนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อที่จะหาทางหลุดพ้นไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่นมั่นคง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉยเป็นกลางในรูปนาม คือทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลาง วางเฉยได้
๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง
อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์
อาการใดอาการหนึ่ง
๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงยึดเอา
พระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔. มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน นั่นหมายถึงพระโยควจรได้เข้าสู่ความพ้นทุกข์อย่างถาวรอย่างสิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะลุง เป็นกระทู้ที่ดีจริงๆ ค่ะ

ขออนุญาติเพิ่มเติมค่ะ

ในอุทยัพพยญาณ แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ตรุณ และ พลว
ที่ติดวิปัสสนูปกิเลสก็ตรงตรุณ เพราะปัญญาแล่นเลยสติจึงเกิดวิปัสสนูฯ สติเกิดมากเท่าไหร่ไม่เป็นโทษ แต่ปัญญาที่แล่นเลยสติเกิดโทษคือเกิดวิปัสสนูฯ
วิปัสสนูมี ๑๐ ข้อนั้น ๙ ข้อแรกเป็นกุศล แต่ข้อที่ ๑๐ นี้เป็นตัณหาคือเป็นอกุศล ตัณหานี้แหละเข้าไปพอใจใน ๙ ข้อข้างต้นนั้น ทำให้ติดอยู่ตรงนี้ไม่ไปไหน ต้องเอาทั้ง ๙ ข้อข้างบนนี้ เกิดข้อไหนก็เอาข้อนั้นมาเป็นอารมณ์ให้สติในวิปัสสนารู้ไตรลักษณ์ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา จึงจะเป็นผู้ฉลาดของจริงค่ะ แล้วจะผ่านตรุณอุทยัพพยญาณไปได้

ตั้งแต่ภังคญาณ เป็นต้นไปเริ่มประหาณอารัมมณานุสัยเป็นตทังคประหาณ และจะประหาณได้เด็ดขาดที่มรรคญาณค่ะเป็นสมุทเฉทปหาน
การปฏิบัติวิปัสสนานั้น เมื่อการปฏิบัตินั้นได้อานิสงส์ ๘ ประการครบเมื่อไร เมื่อนั้นจะเป็นปัจจัยให้ภยญาณเกิดติดต่อกันไปค่ะ

ในอาทีนวญาณนั้นจะมีอารมณ์ที่ชัดเจน ๒ อารมณ์ อารมณ์หนึ่งเห็นโทษ ส่วนอีกอารมณ์หนึ่งคือแล่นเข้าสู่พระนิพพาน (เป็นอานิสสงค์ )ยิ่งเห็นทุกข์ ยิ่งโทษมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งระลึกเห็นถึงคุณของพระนิพพานมากขึ้นเท่านั้น จิตจะแล่นเข้าสู่พระนิพพาน ญาณนี้ตัณหาจะห่างออกไป คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิไม่ได้อาศัย ตัณหาจะเป็นปฏิปักษ์กับญาณนี้ ยิ่งปฏิบัติไปจิตใจยิ่งแห้งแล้งเพราะตัณหาฉาบทาไม่ได้ จึงจำเป็นต้องทำสมาธิเข้าช่วย เห็นประโยชน์หรือไม่ว่าทำไมต้องทำสมาธิ พอทำไปเรื่อยๆ จะต้องพึ่งการทำสมาธิด้วยค่ะ

ในสังขารุเปกขาญาณ ก็มีติดตอนต้น และตอนปลาย ด้วยค่ะ ถ้าคนทั่วไปจะติดที่อุทยัพด้วย แต่สำหรับพระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี ติดที่ตรงญาณนี้เท่านั้นค่ะ

ส่วน ๓ ญาณนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์
๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงยึดเอา
พระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔. มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

โคตรภูญาณ มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ญาณยังเป็นฝ่ายโลกียะอยู่
จึงเป็นญาณเดียวเท่านั้นที่เป็นโลกียะ แต่่มีอารมณ์ของฝ่ายโลกุตตระคือพระนิพพานแต่ยังไม่ได้ประหาณกิเลส ญาณที่ประหาณกิเลสได้คือมรรคญาณค่ะ

มีอะไรที่ผิด ลุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกอธิบายได้ครบถ้วนกระบวนความอยู่แล้ว อธิบายได้แบบนี้ไม่น่าเป็นห่วง
เพราะมีธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งได้แล้ว เรียกว่าไม่ตกรถด่วนกระบวนธรรม
ในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ได้อย่างแน่นอน

แต่ในโคตรภูญาณยังมีข้อถกเถียกกันในกลุ่มของผู้รู้ว่าจะยกเห็นฝ่ายไหนกันแน่
เช่นว่าโคตรภูญานมีนิพพานเป็อารมณ์ โคตณภูญานจะต้องเป็นธรรมฝ่ายโลกุตตรใช่หรือไม่?
แต่ทำไมโคตรภูญานยังอยู่ในโลกียะเล่า? แต่น่าพอจะสรุปได้ว่าโคตรภูญานเพียงแค่ได้เห็น
ฝั่งพระนิพพานจึงเพียงได้น้อมเอานิพพานมาเท่านั้น แต่ยังไปไม่ถึงถึงพระนิพพาน
ก็เหมือนคนมีสายตากว้างไกลมองเห็นฝั่งโน้นได้อย่างชัดเจน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2016, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1568772157309.jpg
1568772157309.jpg [ 111.55 KiB | เปิดดู 7315 ครั้ง ]
ญาณที่ ๔. อุทยัพพยญาณ
ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน อีกทั้งเห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ
และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด(เห็นทันทั้ง ในขณะที่เกิดขึ้นและขณะที่ดับไป)
อุทยัพพยญาณมี ๒ ระดับคือตรุณอุทยัพพยญาณเป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่และพลวอุทยัพพยญาณ
เป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว ตามที่คุณโสมได้อธิบายไว้แล้ว และชื่อญาณนี้ ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก
คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค และในคัมภีร์อรรถกถาด้วย

สภาวะธรรมของ ญาณระดับอ่อน(ตรุณะ) และญาณระดับแก่(พลวะ) ในญาณที่ ๔ มีดังนี้
ในระดับ(ตรุณะ) โยคีกำหนดรู้สภาวะต่างๆ ของรูปนามแล้วเห็นชัดว่าสภาวะดับหายไปเร็วขึ้นกว่าเดิม
แม้แต่เวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อกำหนดก็หายไปเร็วขึ้น ผู้ปฏิบัติมักจะเห็นสภาวะที่แปลกๆ มีภาพปรากฏให้เห็น
มีแสงสว่างเข้ามาปรากฏอยู่บ่อยๆ (โอภาส) เนื่องจากโยคีไม่เคยเห็นแสงสว่างเช่นนี้มาก่อน ก็อาจจะสนใจดูหรืออาจเข้าใจผิดว่าได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็เป็นได้ สภาวะที่ปรากฎในญาณนี้ได้แก่
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง

๑.โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)
๒.ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้
๓. ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ
๔. ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น
๕. สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ
๖. อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ
๗. ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี
๘. อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด
๙. อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง
๑๐. นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจในอุปกิเลส ๙ ข้อข้างต้น

วิปัสสนูปกิเลสทั้งสิบนี้ เป็นภาวะที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน
จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิด คิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึดเอาคิดว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้น
เป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้นก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป คือพลาดทางวิปัสสนา
แล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดได้ว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นไม่ใช่ทาง รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง
ซึ่งจะพึงเดินต่อไป

ในวิปัสสนูกิเลสนั้นเป็นของดี แต่ถ้าผู้ปฏิบัติไม่รู้เท่าทันก็จะกลายเป็นของไม่ดีไป
ซึ่งจะอยู่ในข้อที่ ๑๐ คือ นิกันติ ดังจะเห็นได้ว่า
วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่
๑. พระอริยสาวก ผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
๒. ผู้ปฏิบัติผิด (เริ่มต้นมาแต่ศีลวิบัติ)
๓. ผู้ละทิ้งกรรมฐาน
๔. บุคคลเกียจคร้าน (แม้ปฏิบัติถูกมาแต่เริ่มต้น)
แต่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ประกอบความเพียร ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้ว เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะลุง

เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ จะดูหนังดูละครฟังเพลงไม่สนุกเหมือนเดิม ไม่ต้องมีใครสั่งให้ปิดวาจา แต่วาจาปิดเอง
ได้ยินเสียงคนอื่นพูดแล้วไม่ใส่ใจ มีใครถามอะไรมา ต้องกลับไปถามเขาใหม่ว่าเมื่อกี้ถามว่าอะไรเหรอ
ต่อให้นั่งท่ามกลางผู้คน ก็เหมือนนั่งอยู่คนเดียว จะสลดใจต่อผู้คนที่เห็นคือสงสารที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
เพราะรู้ว่าสังสารวัฏฏ์เต็มไปด้วยทุกข์ ถ้าเป็นคนโสดก็ไม่คิดจะแต่งงานแล้ว อยากจะบวชแล้ว
อยากแต่จะหาที่สงบที่สันโดษอยู่ คนที่มีครอบครัวถ้าสละครอบครัวได้ ก็จะสละแล้ว

กิเลสจะเบาบางลงกว่าคนทั่วไป ถึงแม้จะยังไม่สามารถตัดกิเลสได้สักตัวก็ตาม
ศรัทธาจะมากไม่เปลี่ยนแปลงถึงแม้ยังไม่เป็นพระโสดาบันก็ตาม แต่ศรัทธาไม่คลอนแคลนแล้ว

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 123.56 KiB | เปิดดู 2672 ครั้ง ]
เมื่อเข้านามรูปปริเฉทญาน แม้จะเข้าใจโดยการศึกษา ทำจิตให้บริสุทธิ
ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ถึงยังละกิเลสไม่ได้เลย จูฬโสดาบันก็ยังพอเป็นที่พึ่งได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


หวังพึ่งน้อยจัง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


นามรูปปริเฉทญาณ

ละกิเลสไม่ได้ เทียบกับอริยสัจ4คือ ทุกข์ควรกำหนดหนดรู้

ละกิเลสต้องเป็น มรรค

แต่ผู้ที่รู้การเกิดดับนามรูป คือวิสัยของผู้ที่จะก้าวเป็นพระอริยะบุคคลที่เห็นความจริงของสัจธรรม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หวังพึ่งน้อยจัง...


ถ้าเราหวังอะไรที่มันมากๆ ตัณหาก็จะเข้ามาแทรกแซง
แม้หนทางที่ยาวไกลเมื่อเพียรเดินไปทีละก้าวหนทางนั้นก็จะสั้นเข้าๆ
และก็จะเข้าใกล้เข้าไปทุกที ซึ่งมันจะส่งผลที่จะเข้าถึงตั้งแต่ก้าวแรกแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
นามรูปปริเฉทญาณ

ละกิเลสไม่ได้ เทียบกับอริยสัจ4คือ ทุกข์ควรกำหนดหนดรู้

ละกิเลสต้องเป็น มรรค

แต่ผู้ที่รู้การเกิดดับนามรูป คือวิสัยของผู้ที่จะก้าวเป็นพระอริยะบุคคลที่เห็นความจริงของสัจธรรม


นามรูปปริเฉทญาณเป็นการเห็นตามความเป็นจริง ที่กายก็อย่างหนึ่ง ใจก็อย่างหนึ่ง
ล้วนแล้วเป็นการอิงอาศัยกันเกิดขึ้นทั้งสิ้น และจะแตกสลายไปด้วยปัจจัยอื่นๆเป็นที่สุด
ล้วนแล้วเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 99.09 KiB | เปิดดู 10625 ครั้ง ]
ญาณ ๑๖ วิสุทธิ ๗ ปรับเข้ากันได้ดังนี้

สีลวิสุทธิ จตุปาริสุทธิสีล
๑. ปาฏิโมกขสังวรสีล ให้ตั้งอยู่ในสีล
๒. อินทรียสังวรสีล สำรวมระวังอินทรียทั้ง ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิสีล มีความเป็นอยู่โดยบริสุทธิ
๔. ปัจจยสันนิสสิตสีล พิจารณาก่อนบริโภค

จิตตวิสุทธิ
ขณิกสมาธิ ไม่เผลอไปจากปัจจุบันธรรม

ทิฏฐิวิสุทธิ
นามรูปปริจเฉทญาณ กำหนดแจ้งในรูปและนาม
ละ สักกายทิฏฐิ เห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็น ญาตปริญญา

กังขาวิตรณวิสุทธิ
ปัจจยปริคคหญาณ รู้แจ้งปัจจัยแห่งรูปและนาม
ละ อเหตุกทิฏฐิ เห็นผิดว่าไม่มีเหตุ
ละ วิสมเหตุกทิฏฐิ ยึดในเหตุที่ไม่เหมาะสม
ละ กังขามลทิฏฐิ หม่นหมองเพราะสงสัย
เป็น ญาตปริญญา

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
สัมมสนญาณ เห็นความเกิดของรูปนาม
ละสมูหัคคาหะ การยึดเรา ยึดเขา
เป็น ญาตปริญญา
ตรุณอุทยัพพยญาณ เห็นทั้งความเกิดและความดับของรูปนาม
แต่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสมารบกวนอยู่
ละ อมัคเคมัคคสัญญา สัญญาที่เข้าใจผิด
เป็น ตีรณปริญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 99.09 KiB | เปิดดู 9940 ครั้ง ]
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
พลวอุทยัพพยญาณ เห็นทั้งความเกิดและความดับของรูปและนาม
โดยปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว
ละ อุจเฉททิฏฐิ เห็นผิดว่าตายแล้วสูญ
เป็น ตีรณปริญญา
ภังคญาณ เห็นแต่ความดับของรูปนาม
ละ สัสสตทิฏฐิ เห็นผิดว่าเที่ยง
เป็น ปหานปริญญา
ภยญาณ เกิดปัญญารู้แจ้งว่า รูปและนามนี้เป็นภัย
ละ สภเยอภยสัญญา สัญญาที่ไม่แจ้งในภัย
เป็น ปหานปริญญา
อาทีนวญาณ เกิดปัญญารู้แจ้งว่า รูปและนามนี้เป็นโทษ
ละ อัสสาทสัญญา สัญญาที่ยินดี
เป็น ปหานปริญญา
นิพพิทาญาณ เกิดปัญญาเบื่อหน่ายในรูปนาม
ละ อภิรติสัญญา สัญญาที่เพลิดเพลิน
เป็น ปหานปริญญา
มุญจิตุกมยตาญาณ อยากพ้นจากรูปนาม
ละ อมุญจิตุกามภาวะ การข้องอยู่ในกาม
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิสังขาญาณ หาอุบายที่จะให้พ้นจากรูปนาม
ละ อปฏิสังขาน การยึดโดยไม่ไตร่ตรอง
เป็น ปหานปริญญา
สังขารุเบกขาญาณ วางเฉยต่อรูปนาม
ละ อนุเปกขณะ การยึดโดยไม่วางเฉย
เป็น ปหานปริญญา
อนุโลมญาณ คล้อยตามให้เห็นอริยสัจจ
ละ สัจจปฏิโลมคาหะ การยึดโดยไม่คล้อยตามสัจจะ
เป็น ปหานปริญญา

จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนาวิสุทธิโดยปริยาย
โคตรภูญาณ ปัญญาแจ้งในพระนิพพาน
เป็น ปหานปริญญา

ญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคญาณ ปหานกิเลสเป็นสมุจเฉท
เป็น ปหานปริญญา

จัดเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ โดยอนุโลม
ผลญาณ เสวยอารมณ์พระนิพพานตามมัคค
ปัจจเวกขณญาณ พิจารณามัคคผล นิพพาน
และกิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังคงเหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร