วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2016, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-821486230-612x612.jpg
istockphoto-821486230-612x612.jpg [ 60.68 KiB | เปิดดู 1457 ครั้ง ]
ในญาณ ๑๖ นั้นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพนะพุทธเจ้า
เขาจะบำเพ็ญบารมีมาแค่ญาณที่ ๑๑ คือสังขารุเบกขาญาณ ไม่เกินไปถึงญานที่ ๑๒ คืออนุโลมญาน
เพราะจะทำให้โคตรภูญาณเกิดขึ้น ซึ่งจะทำสำเร็จมรรคผล ซึ่งเป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์
ที่จะไม่พึงกระทำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2018, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1518743861151 (3).jpg
1518743861151 (3).jpg [ 103.62 KiB | เปิดดู 3911 ครั้ง ]
.

๑. นามรูปปริเฉทญาณ

นามรูปปริเฉทญาณ ปัญญาที่กำหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่แท้จริง
ของสมถยานิกบุคคลสำหรับบุคคลผู้ปรารถนาถึงขั้นความเห็นบริสุทธิ์
(ทิฏฐิวิสุทธิ)ถ้าเคยปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อนเมื่อออกจากรูปาวจรฌานจิต ๕
หรืออรูปาวจรฌานจิต ๓ (เว้นเนวสัญญา)ฌานใดฌานหนึ่งมาแล้ว
ต้องกำหนดองค์ฌานมี วิตก วิจาร เป็นต้น หรือกำหนดสภาวธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับองค์ฌานมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2018, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดองค์ฌาน หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ฌานนั้น
ก่อนอื่นต้องกำหนดสภาวธรรมนั้นโดยสภาวลักษณะ (ลักษณะ) หน้าทื่ หรือกิจ (รส)
อาการที่ปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน)ต่อไปจึงจะกำหนดสภาวธรรม ทั้งหมดเหล่านั้น ว่าเป็นธรรมชาติที่น้อมไป
(นาม)มุ่งหน้าไปสู่อารมณ์ เมื่อพิจารณาดูนามธรรมเหล่านั้นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงติดตามนาธรรมเหล่านั้น
อาศัยอะไรก็ทราบว่าอาศัยหทยวัตถุรูป เปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นงูภายในเรือนแล้ว
จึงติดตามมันไปก็พบที่อาศัยของมัน

เมื่อทราบว่าหทยวัตถุรูปเป็นที่อาศัยของนามธรรมเหล่านั้นแล้วก็พิจารณาต่อไปว่า
แม้หทยวัตถุก็ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย เกิดขึ้น
และอุปาทายรูปทั้ง ๒๓ (เว้นหทยวัตถุรูป) ก็คืออาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
สำหรับสมถยานิกบุคคล ครั้นออกจากฌานจิตแล้ว จะพิจารณากำหนดนามธรรมว่า
มีอาการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ หรือกำหนดรูปธรรมว่า มีอาการเสื่อมสิ้นสลายไปเป็นลักษณะก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2018, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕

สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ ก็กำหนดดังนี้
ในสรีระร่างกายนั้นนิปผันนรูป ๑๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น และ
อนิปผันนรูป ๑๐ มีปริเฉทรูป เป็นต้น กำหนดเป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิกที่
ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่
ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ (เว้นเวทนา สัญญา)
ที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นสังขารขันธ์ โลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็น วิญญาณขันธ์
ในลำดับต่อมาผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปขันธ์ว่าเป็นรูปธรรม และพิจารณานามขันธ์ ๔ ที่เหลือว่า
เป็นนามธรรม การกำหนดรูปนาม ทางขันธ์ ๕ เป็นหลัก ก็มีด้วยประการ ฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2018, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘


สำหรับผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกำหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘ พึงพิจารณาดังนี้ว่า
ในอัตภาพนี้มี จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ เป็นต้น แล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นก้อนเนื้อที่สายเอ็นยึดไว้ในเบ้าตา
ที่มีลักษณะยาวและกว้าง วิจิตรด้วยวง สีขาว สีดำ และสีดำมากนั้นที่ชาวโลกที่เเข้าใจว่าจักษุ
แต่แท้ที่จริงแล้วที่จักษุที่ชาวโลกเข้าใจกันก็คือ กลุ่มของรูป ๕๔ รูปคือ จักขุทสกลาป ๑๐ กายทสกกลาป ๑๐
ภาวทสกกลาป ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดกับจิต ๘ เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘

ในจำนวนรูปทั้ง ๕๔ รูปนี้จักขุปสาทเท่านั้นที่ชื่อว่า จักขุ หรือจักขุธาตุ ส่วนรูปอีก ๕๓ นั้นมิใช่จักขุ
เมื่อพิจารณาจยทราบว่าจักขุปสาทรูปเป็นสภาวธรรมที่ชื่อว่า จักษุ แล้วก็จะทราบว่าลักษณะของจักขุปสาท
นั้นคือ อาการเสื่อมสิ้นสลายไปซึ่งเป็นอาการเสื่อมสิ้นสลายไปนั่นเอง

ถึงแม้ในโสตธาตุจนถึงชิวหาธาตุ ก็เป็นไปเหมือนกันกับจักขุธาตุ ส่วนกายธาตุนั้นประกอบด้วยรูป ๔๓ รูปคือ
กายทสกกลาป ๙ (เว้นกายปสาท) ภาวทสกกลาป ๑๐ สัททนวกกลาป ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดจากจิต ๘
เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘ แต่เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าประกอบด้วย ๔๕ รูป
คือกายทสกกลาป ๙ (เว้นกายปสาทรูป) ภาวทสกกลาป ๑๐ สัททนวกกลาปที่เกิดจากจิต ๙
และเกิดจากอุตุ ๙ (อวินิพโภครูป ๘ และสัททรูป ๑) และเกิดจากอาร ๘

รูป ๑๒ รูปคือ ปสาทรูป ๕ เป็นจักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ และวิสยรูป ๗ เป็นรูปธาตุ
สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ส่วนรูปที่เหลือ คือ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมธาตุบางส่วน

สำหรับนามธรรมที่เป็นจิตคือ ทวิปัญญจวิญญาณจิต ๑๐ เป้นทวิปัญญจวิญญาธาตุ ๕ มีจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น
ปัญจทวารวัชชนจิต ๑ กับสัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ ส่วนโลกียจิตที่เหลือ ๖๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ
ส่วนนามธรรมที่เป็นเจตสิก คือ เจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ นั้น เป็นธรรมธาตุบางส่วน
ฉะนั้น ในธาตุ ๑๘ ยี้ ธาตุ ๑๐ กับธัมมธาตุบางส่วน(สุขุมรูป ๑๖) เป็นรูปธรรม และธาตุ ๗
กับธัมมธาตุอีกบางส่วน(เจตสิก ๕๒) เป็นนามธรรม การกำหนดรูปธรรมและนามธรรมทางธาตุ ๑๘
เป็นหลักก็มีด้วยประการดังกล่าว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2018, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒

สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒
ก็กำหนดทำนองเดียวกันกับธาตุ ๑๘ นั่นเอง ต่างกันตรงโลกียจิต ๘๑
หรือวิญญาณธาตุ ๗ นั้น เป็นมนายตนะ ๑๒ อายตนะ ๑๐ กับธัมมธาตุบางส่วน
คือสุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรมและอายตนะ ๑ กับธัมมธาตุบางส่วน
เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรม การกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2018, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรูป ให้นามปรากฏ

เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรูปธรรมแล้ว ก็ย้อนมากำหนดนามธรรม แต่นามธรรมนั้นยังมิได้ปรากฎ
ก็อย่าท้อถอยเลิกละกำหนดความเพียรเสีย ควรใส่ใจใคร่ครวญในรูปธรรม เหล่านั้น
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะว่ารูปธรรมเหล่านั้นที่พิจารณาดีแล้ว สะสางชำระออกแล้วบริสุทธิแล้ว
เห็นจนชัดแจ้งดีแล้ว นามธรรมซึ่งมีรูปธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นเอง

มีอุปมาดังนี้
๑. บุรุษมองดูเงาในหน้ากระจกมัว เงาหน้าไม่ปรากฎ แต่บุรุษนั้นไม่ทิ้งกระจกไป
กลับเช็ดถูกระจกนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนใสสะอาดบริสุทธิ์ เงาหน้าของบุรุษนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาเอง
๒. บุรุษต้องการทำน้ำให้ใสก็หยิบเอาเมล็ดกตกะ(หรือสารส้ม) หย่อนลงในน้ำแกว่งไป
แกว่งมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง น้ำก็ยังไม่ใสบุรุษก็ยังไม่่ทิ้งเมล็ดกตกะ กลับเอาเมล็ดกตกะแกว่งไปมาซ้ำอีก
ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนโคลนตมจมลง น้ำก็ใสสะอาดขึ้นมาเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2018, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1219644614-612x612.jpg
istockphoto-1219644614-612x612.jpg [ 46.41 KiB | เปิดดู 1456 ครั้ง ]
ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้น
แก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ
รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า
อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า
รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็น
ปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนว
กฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น

๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูป
โดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณา
โดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน

๔-๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อ
แห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จ
ภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จ
ของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน
เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง

(ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ
ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง)
ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิม
โดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา
โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2023, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1674939282608.jpg
FB_IMG_1674939282608.jpg [ 152.44 KiB | เปิดดู 1086 ครั้ง ]
.....?.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2023, 15:11 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron