วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_044533.png
20170822_044533.png [ 435.3 KiB | เปิดดู 3718 ครั้ง ]
การสวดพระอภิธรรม

การสวดพระอภิธรรมเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

ที่พุทธศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมขึ้นเกี่ยวเนื่องกับคนตาย ซึ่งจะกล่าวถึง
ความหมาย จุดมุ่งหมายของการสวดพระอภิธรรมดังนี้

๑. ความหมายของการสวด คำว่า สวด พจนานุกรม
ได้ให้ความหมายไว้ว่า หากเป็นคำกริยา หมายถึง การว่าเป็นทำนอง
อย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวดพระอภิธรรม ถ้าเป็นภาษาพูด
จะหมายถึง การนินทาว่าร้าย ดุด่า ว่ากล่าว แต่ในที่นี้จะหมายถึง
การสวดของพระสงฆ์ซึ่งหากนำมาใช้ใน การสวดพระอภิธรรม ก็จะ
หมายถึง การนำเอาธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาสวดในงานศพนั่นเอง

๒. จุดมุ่งหมายของการสวดพระอภิธรรม พอสรุปได้ดังนี้

๑) เป็นการนำเอาพระอภิธรรมในพระอภิธรรมปิฎก
มาสวด เพราะคำสอนในพระอภิธรรมนั้น ล้วนเป็นคำสอนเพื่อให้คน
ที่มีชีวิตอยู่ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท

๒) เป็นการบำเพ็ญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต เพราะเป็นการ
ทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของลูกหลานและญาติมิตร

๓) เป็นการสร้างความอบอุ่นใจ และบรรเทาความเศร้าโศก
ของญาติพี่น้อง

๔) เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและจารีตประเพณี อีกส่วนหนึ่ง

การสวดพระอภิธรรมเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ
เมื่อมี บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาเสียชีวิตลง
ผู้ที่เป็นญาติมิตร และผู้คุ้นเคยก็จะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมขึ้น
เพื่อเป็นการสร้าง บำเพ็ญกุศลและอุทิศผลบุญนั้นไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ
โดยยึดตามนัย แนวทางที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงปฏิบัติในคราวเสด็จไป เทศนาพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นหลัก
ปฏิบัติซึ่งถือกันว่าเป็นบุญกุศลอันใหญ่หลวง พิธีสวดพระอภิธรรม จะนิมนต์พระสงฆ์สวด จำนวน ๔ รูป
สวดจำนวน ๓ คืน ๕ คืน ๗ คืน หรือตามแต่กำลังศรัทธาของเจ้าภาพนั้น ๆ
ตามประเพณีนิยมสวด ๔ จบิโดยใช้พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เป็นบทสวดมาแต่เดิมในระยะหลังๆ

การสวดพระอภิธรรมได้พัฒนาออกไปมากมีการนำเอาบทสวดอื่น ๆ มาใช้สวด
เช่น ชสวดพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ ชสวดพระมาลัย ชสวดสหัสสนัยสชวดแปล เป็นต้น
การสวดพระอภิธรรมนี้ ชมีทั้งงานหลวงและงานราษฎร์ ทั่ว ๆ ไป
แต่งานหลวงนั้นมิได้สวด ๔ บจบ เช่นงานราษฎร์ทั่วไป บจะนิมนต์ พระสงฆ์ ๒ ชุดผลัดเปลี่ยนเวียนกันสวดไปเรื่อย ๆ ทั้งวันทั้งคืน และมีทำนองการสวดที่เป็นพิเศษแตกต่างออกไป
พิธีสวดพระอภิธรรมที่จัดว่า เป็นงานหลวงอีกประเภทหนึ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงรับศพของบุคคล ต่าง ๆ ไวว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ๓-๕-๗ คืน หรือสุดแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พิธีดังกล่าวนี้
มีการสวด ย๔ จบเหมือนพิธีของราษฎร์ทั่วไป แต่ทำนองสวดเหมือนการสวดในงานหลวง

พระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรมในงานศพต่าง ๆ นั้น สวดในงาน ของราษฎร์ทั่วไป จะใช้พัดที่เรียกว่า
พัดรองตั้งสวดทั้ง ๔ รูป ทำนองการสวดก็เป็นทำนองเรียบ ๆ แต่การสวดในงานศพของหลวง
หรือสวดในงานพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และพระอนุเคราะห์ ใช้พัดยศที่เรียกว่าพัดพระพิธีธรรม ทำนองที่สวดเป็นทำนองหลวงมีทำนองที่แตกต่างกันไปแต่ละสำนัก พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่สวด พระอภิธรรมในงานพระศพและสวดงานศพในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และพระอนุเคราะห์ ปัจจุบันนี้เรียกว่า พระพิธีธรรม

http://sys.dra.go.th/module/attach_medi ... 101149.pdf

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_050433.png
20170822_050433.png [ 318.72 KiB | เปิดดู 3716 ครั้ง ]
บทสวดและทำนองสวด

บทสวดที่พระพิธีธรรมใช้สวดในการพิธีต่าง ๆ นั้น แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ บทสวดในการพิธีมงคล คือ การสวดจตุรเวท ได้แก่ การสวดพระปริตร ๗ ตำนาน กับบทสวดในการพิธีอวมงคล คือ การสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ การสวดพระธรรมใหม่ การสวด พระอภิธรรมมัตถะสังคหะ และการสวดคาถาธรรมบรรยายแปล จะแสดงเนื้อหาของบทสวดต่าง ๆ พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์


พระธรรมสังคณี

กุสลา ธมฺมา.......................ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล
อกุสลา ธมฺมา ....................ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล
อพฺยากตา ธมฺมา................ ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต
กตเม ธมฺมา กุสลา.............. ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลเป็นไฉน
ยสฺมึ สมเย........................ ในสมัยใด
กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ............ กุศลจิตที่เป็นกามาวจร
อุปฺปนฺนํ โหติ .....................เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเจตสิก
โสมนสฺสสหคตํ ...................ประกอบพร้อมด้วยปัญญาเจตสิก
ญาณสมฺปยุตฺตํ....................ปรารภอารมณ์ คือ
รูปารมฺมณํ วา.................... รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
สทฺทารมฺมณํ วา.................. สิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่
คนฺธารมฺมณํ วา...................ก็หรือว่า เรื่องราวใด ๆ ย่อมเกิดขึ้น
รสารมฺมณํ วา
โผฏฺ พฺพารมฺมณํ วา
ยํ ยํ วา ปนารพฺภ
ตสฺมึ สมเย
...................... ในสมัยนั้น
ผสฺโส โหติ...................... ย่อมมีความกระทบกันและกัน
อวิกฺเขโป โหติ.................. ย่อมมีความไม่ฟุ้งซ่าน
เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ..........ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ย่อมมีสภาวะ ที่ไม่มีรูปร่าง
อญฺเ ปิ อตฺถิ ปฏิจฺจ............ (จิตและเจตสิก) ซึ่งอาศัยกันและกัน
สมุปฺปนฺนา...................... เกิดขึ้นพร้อมกัน
อรูปิโน ธมฺมา................... แม้เหล่าอื่น เหล่าใด
อิเม ธมฺมา กุสลา............... สภาวะทั้งหลายเหล่านี้ คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_051843.png
20170822_051843.png [ 163.46 KiB | เปิดดู 3715 ครั้ง ]
พระวิภังค์
ปญฺจกฺขนฺธา.................ขันธ์ ๕ คือ
รูปกฺขนฺโธ....................รูปขันธ์ (หมวดแห่งรูป ๒๘)
เวทนากฺขนฺโธ................เวทนาขันธ์
สญฺากฺขนฺโธ .................สัญญาขันธ์
สงฺขารกฺขนฺโธ ...............สังขารขันธ์
วิญฺาณกฺขนฺโธ............... วิญญาณขันธ์
ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ....... บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน
ยงฺกิญฺจิ รูปํ ..................รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ......รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน
อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา ......รูปภายใน หรือรูปภายนอก
โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา .........รูปหยาบ หรือรูปละเอียด
หีนํ วา ปณีตํ วา ..............รูปเลว หรือรูปประณีต
ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา.......... รูปไกล หรือรูปใกล้ อย่างใด
ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา...... รูปนั้นทรงประมวลย่นย่อเข้ารวมกัน
อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ. นี้ ตรัสเรียกว่า รูปขันธ์ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_052521.png
20170822_052521.png [ 243.51 KiB | เปิดดู 3714 ครั้ง ]
พระธาตุกถา

สงฺคโห อสงฺคโห ..............ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้
สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ..........ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้
อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ...........ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ............ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้
อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ..........ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้
สมฺปโยโค วิปฺปโยโค ..........ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้ธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมะอื่น
สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ..........ธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมอื่นกับธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้
วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ ..........ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้
อสงฺคหิตํ ......................ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากับธรรมอื่นไม่ได้ กับธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมอื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_053320.png
20170822_053320.png [ 202.95 KiB | เปิดดู 3712 ครั้ง ]
พระปุคคลบัญญัติ

ฉ ปญฺตฺติโย .....................บัญญัติ มี ๖ ประการ
ขนฺธปญฺตฺติ ......................บัญญัติว่า ขันธ์
อายตนปญฺตฺติ ...................บัญญัติว่า อายตนะ
ธาตุปญฺตฺติ .......................บัญญัติว่า ธาตุ
สจฺจปญฺตฺติ .......................บัญญัติว่า สัจจะ
อินฺทฺริยปญฺตฺติ.................... บัญญัติว่า อินทรีย์
ปุคฺคลปญฺตฺติ .....................บัญญัติว่า บุคคล
กิตฺตาวตา ปุคฺคลานํ ..............บุคคลบัญญัติแห่งบุคคลทั้งหลาย ปุคฺคลปญฺตฺติ มีเท่าไร
สมยวิมุตฺโต .......................ท่านผู้หลุดพ้นจากกิเลส โดยบำเพ็ญวิโมกข์ ๘ มาก่อน
อสมยวิมุตฺโต ......................ท่านผู้หลุดพ้นจากกิเลส โดยไม่บำเพ็ญวิโมกข์ ๘
กุปฺปธมฺโม .........................ท่านผู้มีสมาบัติยังกำเริบเป็นธรรมดา (ปุถุชน)
อกุปฺปธมฺโม .......................ท่านผู้มีสมาบัติไม่กำเริบเป็นธรรมดา (อริยบุคคล)
ปริหานธมฺโม ......................ท่านผู้ยังเสื่อมจากสมาบัติเป็นธรรมดา
อปริหานธมฺโม ....................ท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมาบัติเป็นธรรมดา
เจตนาภพฺโพ .....................ท่านผู้ยังต้องใส่ใจถึงสมาบัติเนือง ๆ
อนุรกฺขนาภพฺโพ ..................ท่านผู้ยังต้องรักษาสมาบัติเนือง ๆ
ปุถุชฺชโน ..........................ท่านผู้ยังละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสไม่ได้
โคตฺรภู ............................ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมะระหว่างชั้นบุคคล
ภยูปรโต ...........................ท่านผู้ยังยินดีพอใจอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นภัย
อภยูปรโต......................... ท่านผู้ไม่ยินดีพอใจอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นภัย
ภพฺพาคมโน .......................ท่านผู้สมควรก้าวลงสู่กุศลธรรม
อภพฺพาคมโน ......................ท่านผู้ไม่สมควรก้าวลงสู่กุศลธรรม
นิยโต .................ท่านผู้มีคติแน่นอน (คนทำอนันตริยกรรม ๕ พวก นิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระอริยบุคคล ๘)
อนิยโต .............................ท่านผู้มีคติยังไม่แน่นอน
ปฏิปนฺนโก ..........................ท่านกำลังปฏิบัติมรรค ๔
ผเลฏฺิโต............................ ท่านผู้ดำรงอยู่แล้วในผล ๔
อรหา ...............................ท่านผู้เป็นพระอรหันต์
อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน. ...............ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_054504.png
20170822_054504.png [ 340.99 KiB | เปิดดู 3712 ครั้ง ]
พระกถาวัตถุ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ .............ท่านย่อมกำหนดรู้บุคคลได้โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง
สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ..........และอรรถะที่ยอดเยี่ยม หรือ
อามนฺตา... .......................ถูกแล้ว
โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ........สภาวะใด มีอรรถะที่แจ่มแจ้ง มีอรรถะที่ยอดเยี่ยม
ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ ....ตามสภาพนั้น ท่านย่อมกำหนดรู้
สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ..........บุคคลนั้นได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง และอรรถะที่ยอดเยี่ยม
น เหวํ วตฺตพฺเพ ................ท่านไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
อาชานาหิ นิคฺคหํ ..............ท่านจงรับรู้ถึงการถูกตำหนิ
หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ .......หากท่านย่อมกำหนดรู้บุคคลได้โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง
สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน .............และอรรถะที่ยอดเยี่ยม ไซร้
เตน วต เร วตฺตพฺเพ ............ด้วยเหตุนั้น หนอแล ท่านจะต้องกล่าวว่า
โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ .........สภาวะใด มีอรรถะที่แจ่มแจ้ง มีอรรถะที่ยอดเยี่ยม
ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ .....ตามสภาพนั้น ท่านย่อมกำหนดรู้ บุคคลนั้นได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง
สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ...........และอรรถะที่ยอดเยี่ยม หรือ
มิจฺฉา............................. ข้อนั้น ผิดฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_055352.png
20170822_055352.png [ 590.08 KiB | เปิดดู 3711 ครั้ง ]
พระยมก

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ................ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง
สพฺเพ เต กุสลมูลา .................ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล
เย วา ปน กุสลมูลา ................ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลาย เหล่าใดมีกุศลเป็นมูล
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ..............ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดเป็นกุศลธรรม
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา .................ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง
สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา ........ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลเดียว คือ กุศลมูล
เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา .......ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลาย เหล่าใดมีมูลเดียว คือ กุศลมูล
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา. ..............ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดเป็นกุศลธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2016, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_055908.png
20170822_055908.png [ 247.85 KiB | เปิดดู 3711 ครั้ง ]
พระมหาปัฏฐาน
เหตุปจฺจโย............. ธรรมที่เป็นเหตุทำให้เกิด และช่วยสนับสนุน
อารมฺมณปจฺจโย.........ธรรมที่เป็นอารมณ์ และช่วยสนับสนุน
อธิปติปจฺจโย........... ธรรมที่เป็นใหญ่ และช่วยสนับสนุน
อนนฺตรปจฺจโย .........ธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกัน และช่วยสนับสนุน
สมนนฺตรปจฺจโย ........ธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกันระหว่างมิได้ และช่วยสนับสนุน
สหชาตปจฺจโย .........ธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน และช่วยสนับสนุน
อญฺมญฺปจฺจโย .........ธรรมที่ช่วยสนับสนุนแก่กันและกัน
นิสฺสยปจฺจโย ..........ธรรมที่อาศัยกันและกัน และช่วยสนับสนุน
อุปนิสฺสยปจฺจโย .......ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันได้แน่นอน และช่วยสนับสนุน
ปุเรชาตปจฺจโย ........ธรรมที่เกิดก่อน และช่วยสนับสนุนธรรมที่เกิดภายหลัง
ปจฺฉาชาตปจฺจโย ......ธรรมที่เกิดภายหลัง และช่วยสนับสนุนธรรมที่เกิดก่อน
อาเสวนปจฺจโย .........ความเคยชินเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน
กมฺมปจฺจโย .............การตั้งใจกระทำเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน
วิปากปจฺจโย ............ผลแห่งกุศลกรรมและผลแห่งอกุศลกรรม เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน
อาหารปจฺจโย ...........อาหาร ๔ เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน
อินฺทฺริยปจฺจโย ..........อินทรียธรรม ๒๒ เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน
ฌานปจฺจโย ............การเพ่งอารมณ์เป็นเครื่องสนับสนุน
มคฺคปจฺจโย............. ธรรมที่เป็นดุจทางนำไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน และเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน
สมฺปยุตฺตปจฺจโย........ ธรรมที่ประกอบกันพร้อมด้วยลักษณะ ๔และช่วยสนับสนุน
วิปฺปยุตฺตปจฺจโย .........ธรรมที่ไม่ประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ และช่วยสนับสนุน
อตฺถิปจฺจโย ..............ธรรมที่มีอยู่ ยังไม่ดับไป และช่วยสนับสนุน
นตฺถิปจฺจโย.............. ธรรมที่ไม่มีอยู่ ดับไปแล้ว และช่วยสนับสนุน
วิคตปจฺจโย ...............ธรรมที่ปราศจากไปแล้ว ดับไปแล้ว และช่วยสนับสนุน
อวิคตปจฺจโย. ............ธรรมที่ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป และช่วยสนับสนุนฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2016, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2016, 21:50
โพสต์: 14

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20170822_103429.png
20170822_103429.png [ 158.28 KiB | เปิดดู 3709 ครั้ง ]
ผมมีข้อสงสัยตรงพระวิภังค์ ว่า

ในพระไตรปิฏกบาลีฉบับสยามรัฐ ปกรูปช้าง (สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ พ.ศ.๒๕๓๘)
เล่มที่ ๒๕ อภิธมฺมปิฏเก วิภงฺโค หน้า ๑ ข้อ ๒

ปรากฏพิมพ์ว่า

... ยํ ทูเร สนฺติเก วา ...

คือ ไม่มีคำว่า "วา" ระหว่าง ทูเร กับ สันติเก

แต่ตามหนังสือมนต์พิธีเล่มสีเหลืองนั้นมีคำว่า"วา"

เผอิญไปเจอหนังสือสวดมนต์ที่สำนักหนึ่งเขาไม่พิมพ์คำว่า"วา"
ตอนแรกคิดว่าเขาพิมพ์ตก ก็เลยไปเปิดดูในพระไตรปิฏกบาลี ก็ไม่มีคำว่า "วา"

ตัวผมก็ไม่ได้เรียนบาลี เลยวินิจฉัยไม่ถูก ว่าอย่างไร

ฝากผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อยนะครับ
.......................................
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร