วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สมนันตรปัจจัย

สมนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ให้เกิดติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น เสมือน
หนึ่งเป็นจิตดวงเดียวกัน ตามลำดับ

สมนันตรปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรมนั้นช่วย ทำให้ปัจจยุปบันนธรรม เกิดติดต่อกัน
ทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่นเหมือนอนันตรปัจจัยทุกประการ

สมนันตรปัจจัยนี้ มีข้อความและอรรถาธิบาย ตลอดจนกระทั่งองค์ธรรมทั้งหมด
เหมือนกันกับอนันตรปัจจัย จะมีต่างกันเป็นพิเศษก็เพียงแต่ชื่อเท่านั้น ดังแสดงในปัฏฐาน
อรรถกถา แปลความได้ว่า ธรรมใดเรียกว่า อนันตรปัจจัย ธรรม นั้นแลเรียกว่า สมนันตรปัจจัย
เพราะ ต่างกัน เพียงพยัญชนะเท่านั้น เช่นเดียวกับคำว่า อุปจย, สนฺตติ
และคำว่า อธิวจนทุก, นิรุตติทุก เป็นต้น

แต่ว่าโดยเนื้อความแล้วไม่มีการแตกต่างกันเลย การที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะเมื่อเวลาที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงอนันตรปัจจัยจบลงแล้วนั้น ทรงพิจารณาเห็นว่า อัธยาศัยของเหล่าเวไนยสัตว์
บางคนยังไม่สามารถจะเข้าใจได้ดีพอ ดังนั้น พระองค์จึงได้ทรงแสดงสมนันตรปัจจัยนี้ขึ้น
เพื่อประสงค์จะย้ำเนื้อความของอนันตรปัจจัยให้แน่นอนและหนักแน่นยิ่งขึ้น
แต่พระองค์ได้ทรงเติมศัพท์ลงไป โดยให้ชื่อว่า สมนันตรปัจจัย ซึ่งมีความหมายหนักแน่นกว่า
คำว่า อนันตรปัจจัยคือ ในอนันตรปัจจัยนั้น

ได้แสดงไว้แล้วว่าจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นดวงแรกแล้วดับไปนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกดวง
หลังให้เกิดขึ้นสืบต่อกันตามลำดับโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น เพื่อจะทรงแสดงให้แน่นแฟ้นขึ้น
ในข้อที่ว่า ไม่มีระหว่างคั่นนี้ จึงได้ทรงแสดงในสมนันตรปัจจัยว่า จิตดวงแรกพร้อมด้วยเจตสิกเกิดขึ้น
แล้วดับไปนั้น ย่อมเป็นปัจจัย แก่จิตดวงที่ ๒ พร้อมด้วยเจตสิกให้เกิดขึ้น แล้วดวงที่ ๒ พร้อมด้วย
เจตสิกนี้กลับเป็นปัจจัยแก่จิตดวงที่ ๓ พร้อมด้วยเจตสิกให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ สืบต่อกันอยู่อย่างนี้
ตลอดไปโดยไม่มีระหว่างคั่นเลยทีเดียว

อาจารย์รุ่นหลังบางท่านกล่าวว่า ปัจจัยทั้ง ๒ อย่างนี้ แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย กล่าวคือ
ปัจจัยธรรมที่เกิดก่อนและดับลงไปแล้ว มีอำนาจทำให้ปัจจยุปบันนธรรม เกิดขึ้นต่อเนื่องกับตนโดย
ไม่มีระหว่างคั่นนี้เป็น อนันตรปัจจัย ส่วนปัจจัยธรรมที่เกิดขึ้นก่อนและดับลง แล้ว มีอำนาจทำ
ให้ปัจจยุบบันธรรมเกิดขึ้นต่อเนื่องกับตนอย่างกระชั้นชิดติดต่อกันไป ไม่มีระหว่างคั่นเลยทีเดียว
ทั้งไม่สับสน คือ ไม่สับลำดับกันด้วย นี้เป็น สมนันตรปัจจัย เช่น เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น

และดับไปก่อนแล้ว ต่อจากนั้นทวิปัญจวิญญาณจิตก็ต้องเกิดขึ้น ต่อเนื่องทันที จะข้ามลำดับไปถึง
สัมปฏิจฉนจิตหาได้ไม่ เมื่อแสดงอนันตรปัจจัยแล้ว ยังแสดง สมนันตรปัจจัยซ้ าอีก ก็เพื่อจะย้ำให้
หนักแน่นว่า จิตที่เกิดก่อนต้องดับไปเสียก่อน แล้วจึงจะเกิดจิตอีกดวงหนึ่งทีหลังได้ เป็นดังนี้

ติดต่อกันไปโดยไม่ขาดสาย จะได้ตระหนักแน่ว่าจิตนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ตลอดไปจนถึงเวลาตาย จึงจะดับ
ไปครั้งหนึ่งเพราะตามสภาวะนั้น จิตเกิดดับอยู่ไม่เว้นแม้ถึงเวลาตาย คือจุติจิตเกิดขึ้นและดับไปแล้ว
ก็ยังมีปฏิสนธิจิตมาสืบต่อไปไม่ขาดสายได้เลย ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจแห่ง อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

ท่านโบราณาจารย์ ได้แสดงอุปมาไว้ว่า เหมือนกับพระเจ้าจักรพรรดิที่สวรรคตไปแล้ว
พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้นต้องสืบราชสมบัติแทนพระราชบิดาต่อไปอย่างแน่นอน
บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเข้ามาคั่นตำแหน่งนี้ได้เลย ข้อนี้ฉันใด นามขันธ์ก็เช่นเดียวกัน คือ เมื่อจิต
ดวงแรกเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแล้วดับไปนั้น จิตดวงหลังย่อมเกิดขึ้นเป็นปัจจยุปบันสืบต่อกันทันที ปัจจัย
ธรรมและปัจจยุปบันธรรมย่อมติดต่อกันโดยไม่มีธรรมอื่นมาคั่นระหว่างเลย ฉะนั้น

เมื่อพิจารณา โดยลักษณะย่อมมีลักษณะเกิดติดต่อกันเหมือนอนันตรปัจจัย ดังใน
สมนันตรปัจจยนิทเทสตอนท้ายแสดงไว้ว่า “สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใดๆ เกิดขึ้นในลำดับ
แห่งสภาวธรรมใดๆ สภาวธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้นๆ โดย
สมนันตรปัจจัย”

ปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันธรรม นั้นเกิดสืบต่อและติดกันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่ง
ไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้หรือเห็นได้ นอกจาก องค์พระสัพพัญญูพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อว่าโดย
ชาติก็จัดสมนันตรปัจจัยอยู่ในกลุ่มเดียวกับอนันตรปัจจัย คือ อนันตรชาติ เพราะมีสภาพเหมือนกัน ดังกล่าว

มีอุปมาสมนันตรชาติไว้ดังนี้
สนันตรปัจจัย
อุปมาเหมือน พระเจ้าจักรพรรดิที่สวรรคตไปแล้ว
พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ต้องสืบราชสมบัติพระราชบิดาต่อไปอย่างแน่นอน
บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเข้ามาคั่นตำแหน่งนี้ได้เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. สหชาตปัจจัย
สหชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ เกิดขึ้นพร้อมกันกับปัจจยุปบัน นธรรม (สหชาต)

สหชาตปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมสหชาตชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
คำว่า สหชาตปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุ ปการะโดยความเกิดพร้อมกัน

หมายถึง ปัจจัยที่ทำอุปการะแก่สหชาตธรรม คือ ธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตน อุปมาดุจประทีป
ที่ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้นได้ในขณะเดียวกันกับที่ถูกจุด เมื่อมีดวงไฟเสหชาตชาตลกิดขึ้นแล้ว แสงไฟก็ย่อม
เกิดขึ้นด้วย จะว่าดวงไฟเกิดก่อน แสงไฟเกิดทีหลังก็ไม่ใช่ เพราะดวงไฟกับแสงไฟนั้นย่อมเกิดขึ้น
พร้อมๆ กัน ในที่นี้ดวงไฟเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่แสงไฟ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับดวงไฟนั้น ข้ออุปมา
นี้ฉันใด ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน อันได้แก่ จิต , เจตสิก และรูป ย่อมมีทั้งปัจจัยธรรมและ
ปัจจยุปบันนธรรมรวมกันอยู่ในขณะที่เกิดขึ้นนั้น

เมื่อว่าโดยลักษณะสหชาตปัจจัยนั้นปัจจัยธรรมย่อมอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่
เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่จะดับพร้อมกันหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะถ้าเป็นนามกับรูปก็จะมีอายุไม่เท่ากันเน้น
ที่การเกิดพร้อมกันเป็นหลัก เมื่อพิจารณาโดยกลุ่มชาติปัจจัย ย่อมได้สหชาตชาติตามลักษณะ ของชื่อปัจจัยนั่นเอง

มีข้ออุปมาสหชาตไว้ดังนี้
สหชาตปัจจัย

อุปมาเหมือน ดวงไฟกับแสงไฟ ซึ่งเมื่อมีดวงไฟเกิดขึ้นแล้ว
แสงไฟก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จะว่าดวงไฟเกิดก่อน แสงไฟเกิดทีหลังก็ไม่ใช่
เพราะดวงไฟกับแสงไฟนั้นย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ในที่นี้ดวงไฟเป็นปัจจัย
ช่วยอุดหนุนแก่แสงไฟซึ่งเกิดพร้อมกับดวงไฟนั้น

อุปมาเหมือน พ่อ แม่ และลูกที่กำลังเล็กอยู่ เดินไปด้วยกัน
ในที่นี้ พ่อและแม่จะช่วยอุดหนุนซึ่งกันและกันได้ และต่างก็อุดหนุนลูกได้ด้วย
ส่วนลูกนั้นจะไปด้วยกันก็จริง แต่ว่าไม่สามารถจะช่วยอุดหนุนพ่อและแม่ได้
ฉะนั้น พ่อและแม่จึงเป็นได้ทั้งปัจจัยและปัจจยุปบัน
ส่วนลูกนั้นเป็นปัจจัยไม่ได้ เป็นได้แต่ปัจจยุปบันอย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. อัญญมัญญปัจจัย
อญฺ มญฺญ ปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ อุปการะกันและกัน (อญฺ มญฺญ )

อัญญมัญญปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
คำว่า อัญญมัญญปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นปัจจัยแก่กัน
และกัน หมายถึง ปัจจัยที่ให้ความเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ประดุจไม้อิงสามขาที่ค้ำซึ่งกันและกัน
มิให้อันใดอันหนึ่งล้มลงอัญญมัญญปัจจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของสหชาตปัจจัยจึง มีความคล้ายคลึงกับ

สหชาตปัจจัยมาก จะแตกต่างก็ตรงที่ว่า ทุกครั้งที่อัญญมัญญปัจจัยเกิด สหชาตปัจจัย จะต้องเกิด
แต่ทุกครั้งที่สหชาตปัจจัยเกิดหาได้มีอัญญมัญญปัจจัยเกิดด้วยทุกครั้งไม่ ทั้งนี้เพราะปัจจัยธรรม
และปัจจยุปบันนธรรมของอัญญมัญญปัจจัยสามารถสลับตำแหน่งหน้าที่ได้ทั้งหมด แต่สหชาต
ปัจจัยนั้น ปัจจยุปบันนธรรมบางอย่างไม่สามารถเป็นปัจจัยธรรมได้ย่อมทำหน้าที่เป็นปัจจยุปบันน
ธรรมอย่างเดียว

การอุดหนุนซึ่งกันและกันของอัญญมัญญปัจจัยนี้ ท่านอุปมาเหมือนหนึ่งโต๊ะ ๓ ขา หรือ
ขาหยั่งซึ่งอาศัยด้วยไม้ ๓ อันค้ำจุนอยู่ ซึ่งโต๊ะ ๓ ขาก็ดี หรือไม้ขาหยั่งก็ดี ถ้าขาดไปขาหนึ่งขาใด
แล้ว โต๊ะและขาหยั่งนั้นก็ไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้ การที่โต๊ะหรือไม้ขาหยั่งนั้นตั้งอยู่ได้ก็ต้องพร้อม
เพรียงด้วยขาทั้ง ๓ ค้ำจุนซึ่งกันและกันอยู่ ข้อนี้ฉันใด อำนาจของอัญญมัญญปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน
คือ นามธรรมก็ต้องอาศัยอุดหนุนซึ่งกันและกันจึงเกิดขึ้นได้

รูปธรรมก็ต้องอาศัยอุดหนุนซึ่งกันและกันจึงเกิดได้ และนามธรรมกับรูปธรรมในปฏิสนธิกาล
ก็ต้องอาศัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน จึงเกิดขึ้นได้เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วอัญญมัญญปัจจัย
ปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรมอุปการะแก่ กันและกันสลับหน้าที่กันได้ ไม่ว่าจะเป็นนามธรรม
หรือรูปธรรม จัดเข้าในสหชาตชาติ เพราะ สภาวธรรมที่อุปการะซึ่งกันและกันได้

มีข้ออุุปมาอัญญมัญญชาตไว้ดังนี้
อัญญมัญญปัจจัย
อุปมาเหมือน หนึ่งโต๊ะ ๓ ขา หรือขาหยั่งซึ่งอาศัยไม้ ๓ อัน
ค้ำจุนอยู่ ซึ่งโต๊ะ ๓ ขาก็ดี หรือไม้ขาหยั่งก็ดี
ถ้าขาดไปขาใดขาหนึ่งแล้วโต๊ะและขาหย่างนั้นไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้
การที่โต๊ะและไม้ขาหยั่งนั้นตั้งอยู่ได้ ก็ต้องพร้อมเพรียงด้วยขาทั้ง ๓
ค้ำจุนซึ่งกันและกันอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2016, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. นิสสยปัจจัย

นิสฺสยปจฺจโยสภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยนิสสยปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยเป็นที่อาศัยให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิดขึ้น นิสสยปัจจัยแบ่งได้ เป็น ๓ ประเภท
ตามสภาพธรรมที่แตกต่างกัน คือ

๑. สหชาตนิสสยปัจจัย ๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยและ ๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

มีข้ออุปมานิสสยชาตไว้ดังนี้
นิสสยปัจจัย

การช่วยอุดหนุนโดยเป็นที่อาศัยนี้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ

๑. เป็นที่อาศัยโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า อธิฏฺฐานาการ อย่างหนึ่ง หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุดหนุนให้ปัจจยุปบันธรรมเข้าไปอาศัยเกิดขึ้นเพื่อกระทำหน้าที่ของตนๆได้
อุปมาเหมือน พื้นแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้ทั้งปวงให้เกิดขึ้น

๒. เป็นที่อาศัยโดยอาการอิงอาศัย เรียกว่า นิสฺสยาการ อย่างหนึ่ง
หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุดหนุนให้เป็นที่อาศัยปัจจยุปบันธรรมโดยอาการอิงอาศัย
อุปมาเหมือน ผืนผ้าเป็นที่อาศัยของภาพวาดเขียนฉันใด ธรรมที่เป็นนิสสยการนี้ ได้แก่
นามขันธ์ ๔ และอาโป. เตโช. วาโย. คือนามขันธ์ทั้ง ๔ นั้น ต่างก็ที่อาศัยซึ่งกันและกัน
เช่นนามขันธ์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นที่อาศัย นามขันธ์ ๓ ที่เหลือก็เป็นผู้อาศัย
หรือเมื่อนามขันธ์ ๓ เป็นที่อาศัย นามขันธ์ ๑ ที่เหลือก็เป็นผู้อาศัย ดังนี้เป็นต้น
ผลัดกันเป็นที่อาศัยและผู้อาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยโดยการอิงอาศัยกัน
เรียกว่า นิสสยาการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2016, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๘.๑ สหชาตนิสสยปัจจัย

สหชาตนิสสยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
และ เป็นที่อาศัยด้วย เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกันกับปัจจยุปบันนธรรม
ด้วย (สหชาต) เป็นที่อาศัยของปัจจยุปบันธรรมด้วย (นิสสย)
สหชาตนิสสยปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติเพราะปัจจัยธรรมและ
ปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะสหชาตนิสสยปัจจัยก็คล้ายคลึงกันกับสหชาตปัจจัย คือ
การเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เพิ่มเข้ามาก็คือ การทำหน้าที่เป็นที่อาศัยกับปัจจยุปบันนธรรมด้วย
การช่วย อุดหนุนโดยเป็นที่อาศัยนี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ

(๑) เป็นที่อาศัยโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า “อธิฏฐานาการ” หมายความว่า ปัจจัยธรรม
นั้นช่วยอุดหนุนให้ปัจจยุปบันธรรมเข้าไปอาศัยเกิดขึ้นเพื่อกระท าหน้าที่ของตนๆ ได้
ในข้อนี้ท่าน อุปมาเหมือนพื้นแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้ทั้งปวงให้เกิดขึ้น ได้แก่
ปฐวีธาตุก็เป็นที่อาศัย โดยอาการตั้งมั่นของ อาโป, เตโช, วาโย และ อุปาทายรูป
เพราะในบรรดารูปทั้งหลายนั้นต้องอาศัย
ปฐวีธาตุเป็นหลักจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีปฐวีธาตุเป็นหลักแล้ว รูปเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้น ได้
และทำหน้าที่ของตนๆ ได้เช่นเดียวกัน

(๒) เป็นที่อาศัยโดยอาการอิงอาศัย เรียกว่า “นิสสยาการ” หมายความว่า ปัจจัยธรรม
นั้นช่วยอุดหนุนให้เป็นที่อาศัยแก่ปัจจยุปบันธรรมโดยอาการอิงอาศัย ในข้อนี้ท่านอุปมาเหมือน
ผืนผ้าใบเป็นที่อาศัยแก่ภาพวาดเขียน ฉันใด ธรรมที่เป็นนิสสยปัจจัยในข้อนิสสยการนี้ ได้แก่ นามขันธ์ ๔
และอาโป เตโช วาโย คือ นามขันธ์ทั้ง ๔ นั้นต่างก็เป็นที่อาศัยของกันและกัน
ส่วน อาโป เตโช วาโย ธาตุทั้ง ๓ นี้ ต่างก็ช่วยอุดหนุนเป็นที่อาศัยซึ่งกันและกัน ทั้งเป็นที่อาศัยแก่
ปฐวีธาตุและอุปาทายรูปด้วย อยู่ในกลุ่มสหชาตชาติ เพราะเป็นที่อาศัยให้กับปัจจัยธรรมที่เกิด พร้อมกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2016, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๘.๒ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย

วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวัตถุที่เกิด ก่อน
และเป็นที่อาศัยด้วย เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ)
เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) เป็นที่อาศัยด้วย (นิสฺสย)
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมวัตถุปุเรชาตชาติเพราะปัจจัยธรรมเป็นวัตถุรูปที่เกิดก่อนช่วย
อุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม

วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย คือ วัตถุรูป ที่เกิดขึ้นก่อนและยังคงตั้งอยู่เป็นฐีติปัตตะ
เป็นที่อาศัยให้วิญญาณธาตุ๗๗๘ (เว้นอรูปวิปากจิต ๔)เกิดขึ้นได้
เมื่อพิจารณาโดยลักษณะวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย มีลักษณะเป็นที่เกิดของนามขันธ์อัน
เป็นปัจจัยยุปบันนธรรมด้วย วัตถุรูปเหล่านี้ต้องเกิดก่อนและยังตั้งอยู่ยังไม่ดับไปด้วย
เป็นที่อาศัย ของนามขันธ์นั้นโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า อธิฏฐานาการ ได้แก่

วัตถุ ๖ นั้นเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุน แก่จิตและเจตสิกทั้งหลายโดยอาการตั้งมั่น กล่าวคือ
ในปัญจโวการภูมินั้นนามธรรมทั้งหลายอัน ได้แก่ จิตและเจตสิก เมื่อขณะที่จะเกิดขึ้นนั้น
ต้องมีที่อาศัยเกิดจึงจะเกิดขึ้นได้ จะเกิดขึ้นมาลอยๆ

โดยไม่มีที่เข้าไปอาศัยตั้งมั่นนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังแสดงนิสสยนิทเทสตอนท้ายไว้ว่า
“รูปที่มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
และสภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยนิสสยปัจจัย” ว่าโดยชาติจัดเป็นวัตถุปุเรชาตชาติด้วย
เพราะปัจจัย ธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2016, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๘.๓ วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

วัตถารัมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวัตถุ
ซึ่งเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนและเป็นที่อาศัยด้วย เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ
เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ) เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต)
เป็นที่อาศัยด้วย (นิสฺสย)

วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม เป็นอารัมมณชาติเพราะ ปัจจัยธรรมนั้น
ทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม
เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย มีลักษณะเป็นหทยวัตถุที่
เกิดของปัจจยุปบันนธรรมด้วย เป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนด้วยและเป็นที่อาศัยโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า
อธิฏฐานาการ ให้กับปัจจยุปบันนธรรมด้วย จัดเข้าในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติ จากลักษณะที่มี
การทำหน้าที่เป็นอารมณ์แก่นามขันธ์ที่เกิดภายหลัง

นิสสยปัจจัย ที่แบ่งเป็น ๓ ปัจจัยย่อยมีความแตกต่างในการจัดกลุ่มปัจจัยธรรม
แต่ก็มี ส่วนที่เสมอกัน คือ ความเป็นที่อาศัยของปัจจยุปบันนธรรมนั้นต้องเป็นปัจจุบันกาล
และทำหน้าที่ได้ทั้งชนกสัตติและอุปถัมภกสัตติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2016, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง
คำว่า อุปนิสสยปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง
ดังที่ท่านอุปมาไว้ว่า ฝนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ฉันใด
อุปนิสสย ปัจจัยก็เป็นปัจจัยธรรมที่มีความสำคัญยิ่งในการทำให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิดขึ้น

ฉันนั้นหมายความว่า สภาวธรรมทั้งหลายอาศัยสภาวธรรมใด เป็นปัจจัยหลักในการเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่
สภาวธรรมนั้นท่านเรียกว่า อุปนิสสยปัจจัย นิสสยปัจจัยกับอุปนิสสยปัจจัยมีความเหมือนกัน
ตรงที่ปัจจัยธรรมเป็นที่อาศัยให้ปัจจยุปบันธรรมเกิดขึ้น ที่แตกต่างกันก็คือ อุปนิสสยปัจจัยเป็นที่
อาศัยที่มีกำลังมากกว่าซึ่งโบราณาจารย์ได้อุปมาไว้ว่าการที่คนแก่จะขึ้นบันไดไปสู่ชั้นบนได้ก็ต้อง
ใช้ไม้เท้ายันกายขึ้นไป แต่ความสำคัญที่ทำให้ขึ้นไปได้ก็เพราะมีขั้นบันได ขั้นบันไดจึง

เปรียบเสมือนอุปนิสสยปัจจัยคือ เป็นเครื่องอาศัยที่สำคัญที่จะนำคนแก่ไปสู่ชั้นบนได้
ส่วนไม้เท้าที่ ช่วยยันกายนั้นเปรียบเหมือนนิสสยปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยกว่า อีกนัยหนึ่ง
ท่านอุปมา อุปนิสสย ปัจจัยว่า เหมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร ส่วนพี่เลี้ยงนางนมเป็นเหมือนนิสสยปัจจัย
เพราะหากไม่มี อุปนิสสยปัจจัยเกิดขึ้นก่อนนิสสยปัจจัยก็มีไม่ได้
อุปนิสสยปัจจัยสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ปัจจัยย่อย คือ

๑. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ๒. อนันตรูปนิสสยปัจจัยและ ๓. ปกตูปนิสสยปัจจัย

มีข้ออุปมาอุปนิสสยชาตดังนี้
. อุปนิสสยปัจจัย

อุปมาเหมือน ข้าวสุกที่เราได้อาศัยกินอยู่ทุกวันนี้
ต้องอาศัยประกอบด้วยเหตุ ๗ อย่าง คือ เมล็ดข้าว, ที่นา, น้ำฝน,
พ่อครัว, หม้อข้าว, ฟืน, ไฟ, ทั้ง ๗ อย่างนี้ เป็นที่อาศัย(นิสสย)
ให้เกิดเป็นข้าวสุกขึ้นได้ แต่ในบรรดาที่อาศัยทั้ง ๗ อย่างนี้ที่อาศัยอันเป็นที่สำคัญนั้น
ได้แก่ เมล็ดข้าว, ที่นา, น้ำฝน, ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าอุปนิสสยะ คือที่อาศัยที่มีกำลังมาก
เพราะถ้าไม่มี เมล็ดข้าว, ที่นา, และน้ำฝน, ทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว พ่อครัว,
หม้อข้าว, ฟืน, และไฟ, เหล่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดข้าวสุกขึ้นได้ ฉะนั้น
จึงได้ชื่อว่าเป็นเพียงนิสสยะ คือเป็นที่อาศัยธรรมดาเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2016, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙.๑ อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

อารัมมณูปนิสสยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะแก่นามขันธ์โดยความเป็น
อารมณ์ซึ่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ
เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ) เป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากด้วย (อุปนิสฺสย)

อารัมมณูปนิสสย ปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อารัมมณชาติ เพราะปัจจัยธรรมนั้น
ทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย คืออารมณ์อันเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากทำให้เกิดปัจจยุปบันนธรรม
กล่าวคืออารมณ์ซึ่งเป็นที่อาศัยนั้นแรงมาก ชัดเจนมาก หรือ หนักหน่วงมากเป็นปัจจัยให้เกิด
จิต เจตสิก

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว อารัมมณูปนิสสยปัจจัย มีลักษณะเป็นอารมณ์ที่น่ายินดี
เป็นที่ยึดหน่วง และมีกำลังแรงหนักหน่วงมากจึงเป็นที่ใฝ่ใจอย่างยิ่งของจิตเจตสิก เมื่อจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมแล้วการทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้จิตจึงจัดเข้าได้กับอารัมมณชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2016, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙.๒ อนันตรูปนิสสยปัจจัย

อนันตรูปนิสสย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดติดต่อไม่มีระหว่าง
คั่นและเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากด้วย
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น เสมือน
หนึ่งเป็นจิตดวงเดียวด้วย (อนนฺตร) เป็นที่อาศัยที่มีก าลังมากด้วย (อุปนิสฺสย)

อนันตรูปนิสสยปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อนันตรชาติเพราะปัจจัยธรรมนั้นช่วย
ทำให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิดติดต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น
อนันตรูปนิสสยปัจจัย คือ ความดับไปของจิตดวงก่อน เป็นปัจจัยที่มีกำลังมากให้เกิด
จิตดวงใหม่โดยไม่มีระหว่างคั่น หมายถึง จิตดวงเก่าที่ดับไปนั้นเป็นเหตุที่มีกำลังมากที่อุปการะให้
จิตดวงใหม่เกิดขึ้นได้เพราะฉะนั้น อนันตรูปนิสสยปัจจัย ก็คืออนันตรปัจจัยที่มีกำลังมากนั่นเอง
เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว อนันตรูปนิสสยปัจจัยมีลักษณะ คือ เกิดติดต่อกันทันทีและเป็น
ที่อาศัยมีกำลังมาก เพราะแม้ปัจจัยธรรมจะดับไปแล้วยังมีความสามารถในการดึงให้ปัจจยุปบันน
ธรรมเกิดใหม่ได้ทันทีจึงชื่อว่า มีกำลังมาก และความที่เป็นนามขันธ์เกิดติดต่อกันจึงจัด อยู่ในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมอนันตรชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2016, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙.๓ ปกตูปนิสสยปัจจัย

ปกตูปนิสสยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุธรรมที่เป็นที่
อาศัยที่มีกำลังมาก
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ การงานที่ได้กระทำเสร็จไปแล้วเรียบร้อย
ด้วย (ปกต) เป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากด้วย (อุปนิสฺสย)

ปกตุปนิสสยปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม ปกตูนิสสยชาติเพราะเป็นเหตุธรรมที่มี
กำลังมากอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม
ชื่อว่า “ปกตูปนิสสยปัจจัย”ก็เพราะว่า เหตุธรรมซึ่งเป็นปัจจัยธรรมในที่นี้มีอำนาจโดย
สภาวะของตนเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย และอนันตรปัจจัย ดังมีบาลีใน
ปัฏฐานอรรถกถาแสดงไว้ดังนี้คือ “ปกติยาเยวาติ อาร มฺมณานนฺตเรหิ อส มิสฺโสติ อตฺโถ ”แปลว่า
คำว่า โดยปกติ หมายความว่า ไม่เจือด้วยอารัมมณปัจจัย และอนันตรปัจจัย

ปกตูปนิสสยปัจจัย จึงเป็นปัจจัยที่มีความกว้างขวางมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ทั้งปัจจัยธรรม
และปัจจยุปบันนธรรม คำว่ากว้างขวางในที่นี้หมายถึงเป็นปัจจัยได้โดยประการต่างๆ มากมายเช่น
ความเย็น ความร้อน โภชนะอาหารต่างๆ เสนาสนะ ที่อยู่ที่อาศัยเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ บุคคล มี
บิดามารดาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ญาติพี่น้องธรรมะ มีศรัทธาศีล สุตะจาคะ ปัญญาราคะ ทิฏฐิมานะ
สุข ทุกข์และบัญญัติต่างๆ (เว้นบัญญัติกรรมฐาน) เพราะสิ่งเหล่านี้ได้เคยเสพมาแล้วเป็นปกติจึงเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด กุศล อกุศล อัพยากตะ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต จนกว่าจะเข้าสู่
พระนิพพาน ด้วยเหตุนี้ปกตูปนิสสยปัจจัยจึงได้ชื่อว่า “มหาปเทสปัจจัย”

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้วปกตูปนิสสยปัจจัย คือ สิ่งต่างๆ ที่ เหตุธรรมสำเร็จแล้ว
และมีกำลังมาก จัดอยู่ในปกตูปนิสสยชาติอันเป็นชื่อปัจจัยนั่นเอง
อุปนิสสยปัจจัย มีการแบ่งเป็น ๓ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างกันในการจัดเข้าในกลุ่มชาติ
ปัจจัยธรรม แต่ก็มีส่วนที่เสมอกัน คือ ปัจจยุปบันนธรรมนั้นล้วนเป็นนามขันธ์ ๔ เหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

ปุเรชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อนปุเรชาตปัจจัย
ได้แก่ รูปธรรมซึ่งเกิดก่อน และยังไม่ดับไป คือ ยังตั้งอยู่เป็นฐีติปัตตะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม
คือ จิตและเจตสิกให้เกิดขึ้นเป็นปัจจยุปบันนธรรม

ท่านอุปมาเหมือน พระอาทิตย์และพระจันทร์ซึ่งเกิดมีขึ้นก่อนสัตว์ทั้งหลายในโลกและยังคงตั้งอยู่
สัตว์โลกทั้งหลาย ได้อาศัยพระอาทิตย์และพระจันทร์ตลอดมาพระอาทิตย์กับพระจันทร์นี้เปรียบได้
กับปุเรชาตปัจจัย สัตว์โลกทั้งหลายเปรียบได้กับปุเรชาตปัจจยุปบัน ปุเรชาตปัจจัย
สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ปัจจัยย่อย คือ
๑. วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๒. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๓.วัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย

มีข้ออุปมาาปุเรชาตดังนี้
ปุเรชาตปัจจัย
อุปมาเหมือน พระอาทิตย์และพระจันทร์
ซึ่งเกิดขึ้นก่อนสัตว์ทั้งหลายในโลก และสัตว์ในโลกทั้งหลายนั้น
ก็ได้อาศัยพระอาทิตย์และพระจันทร์ตลอดมา โดยที่พระอาทิตย์และพระจันทร์
ก็คงยังมีอยู่ฉันใด พระอาทิตย์และพระจันทร์ก็เปรียบได้กับปุเรชาตปัจจัย
สัตว์โลกทั้งหลายก็เปรียบได้กับปุเรชาตปัจจยุปบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐.๑ วัตถุปุเรชาตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวัตถุที่เกิดก่อน
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เกิดก่อนด้วย(ปุเรชาต)

วัตถุปุเรชาตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมวัตถุปุเรชาตชาติเพราะปัจจัยธรรม
เป็น วัตถุรูปที่เกิดก่อนช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม
วัตถุปุเรชาตปัจจัย คือ วัตถุรูป ๖ ที่เกิดก่อนและยังตั้งอยู่ในฐีติขณะ หรือ
ฐีติปัตตะ ช่วยอุปการะเป็นที่อาศัยเกิดของจิต เจตสิกที่เกิดขึ้นภายหลังในปัญจโวการภูมิ

เมื่อพิจารณาโดย ลักษณะแล้ว วัตถุปุเรชาตปัจจัยมีลักษณะเป็นที่อาศัยและเกิดก่อน
ด้วยช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันน ธรรม คือ นามขันธ์ที่เกิดภายหลัง อยู่ในกลุ่มปัจจัย
ธรรมวัตถุปุเรชาตชาติที่เป็นลักษณะชื่อของปัจจัย นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐.๒ อารัมมณปุเรชาตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อน
เมื่อว่าโดยลักษณะมี ๒ อย่าง คือ เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ) เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต)

จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมเป็นอารัมมณชาติ เพราะปัจจัยธรรมนั้นท าหน้าที่เป็นอารมณ์ ให้กับปัจจยุปบันนธรรม
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย คือ อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น และเกิดก่อนด้วย
ช่วย อุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
มีลักษณะเป็น อารมณ์และเกิดก่อนปัจจยุปบันนธรรม การทำหน้าที่เป็น
อารมณ์จึงอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณ ชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐.๓ วัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็น
วัตถุซึ่ง เป็นอารมณ์ที่เกิดก่อน

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ)เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ) เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต)
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อารัมมณชาติเพราะปัจจัยธรรมนั้นท าหน้าที่เป็นอารมณ์ ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

วัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย คือ หทยวัตถุที่เกิดก่อนตั้งอยู่ในฐีติขณะเป็นอารมณ์
ให้กับปัจจยุปบันนธรรม คือ จิต เจตสิกที่เกิดภายหลัง เมื่อพิจารณาโดยลักษณะวัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย
มีลักษณะเป็นวัตถุที่อาศัยด้วย เป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนด้วย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัย
ธรรมอารัมมณ ชาติเพราะทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้จิต เจตสิก

ปุเรชาตปัจจัย มีการแบ่งเป็น ๓ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างในการการจัดกลุ่มชาติปัจจัย ธรรม
มีส่วนที่เสมอกันหลายอย่าง ได้แก่ ปัจจัยธรรมเป็นรูปขันธ์ที่เกิดก่อนและยังตั้งอยู่
ซึ่งนับเป็น ปัจจุบันกาลช่วยอุปการะแก่นามขันธ์ ๔ ซึ่งเกิดภายหลังในปัญจโวการภูมิ
ตลอดทั้งทำหน้าที่ ชนกสัตติและอุปถัมภกสัตติได้เหมือนกันด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร