วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 157.35 KiB | เปิดดู 3891 ครั้ง ]
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
ปจฺฉาชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ เกิดทีหลังปัจจยุปบันธรรม (ปจฺฉาชาต)

ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย
เพราะจัดเข้าในกลุ่ม ปัจจัยธรรมปัจฉาชาตชาติเท่านั้น
หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้ว ช่วยอุปการะแก่
ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดก่อน
ปัจฉาชาตปัจจัย มีลักษณะนามธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัยช่วยอุปถัมภ์แก่รูปธรรมที่ เกิดก่อน
ให้ตั้งอยู่ได้จนครบอายุในปัญจปกรณัฏฐกถา แห่งคัมภีร์ปัฏฐานแสดงอุปมาปัจฉาชาต ปัจจัยไว้ว่า “อรูปธรรมเป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ค้ำจุนแก่รูปธรรมที่เกิดก่อน เหมือน เจตนาที่หวังอาหารช่วยค้ำจุนตัวลูกแร้งไว้
ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย” ส่วนในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี

มหาฎีกา อุปมาปัจฉาชาตปัจจัยนี้ว่า “ต้นไม้ที่ปลูกไว้ย่อมจะตั้งอยู่ได้และเจริญขึ้นได้
ก็โดยอาศัย น้ าฝนที่ตกลงมาภายหลัง หรือเอาน้ำรดในภายหลัง ฉันใด ต้นไม้จึงเปรียบได้กับรูปธรรมที่เกิดก่อน

น้ำฝนที่รดนั้นเปรียบเหมือนนามธรรมที่เกิดทีหลัง แล้วช่วยอุดหนุนแก่รูปที่เกิดก่อน ฉะนั้น”
สอดคล้องกับปัจฉาชาตปัจจยนิทเทสแสดงไว้ว่า“สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย”
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมปัจฉาชาตชาติ อันเป็นลักษณะของชื่อปัจจัยธรรมนั่นเอง

มีข้ออุปมาปัจจขาตดังนี้
ปัจฉาชาตปัจจัย
อุปมาเหมือน ต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วย่อมจะตั้งอยู่ได้และเจริญขึ้นได้
ก็โดยอาศัยน้ำฝนที่ตกลงมาภายหลัง หรือเอาน้ำรดภายหลัง
ฉันใดต้นไม้จึงเปรียบได้เหมือน รูปที่เกิดก่อน น้ำฝนหรือน้ำที่รดนั้น
เปรียบเหมือนนามธรรมที่เกิดทีหลัง แล้วอุดหนุนแก่รูปที่เกิดก่อน ฉันนั้น

อุปมาเหมือนลูกนกแร้งที่ยังเล็กอยู่ ยังบินไปหาอาหารเลี้ยงตนเองไม่ได้
เมื่อแม่นกออกไปหาอาหาร เมื่อแม่นกออกไปหาอาหาร ลูกนกที่อยู่ในรังก็ตั้งตาตั้งใจคอย
โดยหวังว่าเมื่อแม่นกกลับมาแล้วคงจะนำอาหารมาเผื่อตนเป็นแน่
ครั้นแม่นกกลับมาแล้วก็ไม่ได้นำอาหารมาให้ลูกของตน วันรุ่งขึ้น

เมื่อถึงเวลาที่แม่นกออกไปหาอาหารลูกนกก็คอยหวังว่าเมื่อแม่กลับมา
คงจะเอาอาหารมาฝากตนอีก แต่เมื่อถึงเวลากลับมา ลูกนกก็คงไม่ได้รับอาหารจากแม่เช่นเคย
ทั้งนี้เพราะธรรมดาของนกแร้งนั้น แม่นกย่อมไม่นำอาหารมาเลี้ยงลูกของตนเลย
จนกว่าลูกนกจะโตพอที่จะไปหาอาหารกินของตัวเองได้ ฉะนั้นลูกนกในขณะที่ยังเล็กอยู่นั้น
จึงเป็นเพียงมีเจตนาเกิดขึ้นที่จะคอยรับอาหารอยู่เท่านั้น ไม่ได้กินอาหารจริงๆเลย
มีแต่อาหาราสาเจตนาเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484188355775.jpg
1484188355775.jpg [ 67.54 KiB | เปิดดู 3892 ครั้ง ]
๑๒. อาเสวนปัจจัย

อาเสวนปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อย ๆ
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ การเกิดขึ้นเสพอารมณ์บ่อยๆ (อาเสวน)
อาเสวนปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมอนันตรชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรมนั้นช่วยทำให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิด
ต่อทันทีโดย ไม่มีระหว่างคั่น

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว อาเสวนปัจจัยมีลักษณะที่เกิดขึ้นเสพอารมณ์บ่อย ๆ
หมายถึง สภาวธรรมที่สามารถทำอุปการะช่วยเหลือสภาวธรรมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้น
ถัดจากตน ให้ มีสภาพเหมือนกับตน ด้วยวิธีการเสพหรือฝึกฝนอยู่เนือง ๆ

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างพลังและความ เคยชินให้แก่สภาวธรรมที่จะเกิดถัดจากตน
เปรียบเหมือนกับการเล่าเรียนคัมภีร์ ถ้าได้เล่าเรียน คัมภีร์ชั้นพื้นฐานจน
คล่องขึ้นใจแล้ว คัมภีร์ชั้นพื้นฐานนี้ก็จะเป็นอุปการะแก่คัมภีร์ชั้นต่อ ๆ ไปได้
เป็นอย่างดีอาเสวนปัจจัยจึงหมายถึง ชวนะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่

เกิดหลังๆ ดังนั้น ชวนะดวงแรกจึงเป็นปัจจัยได้อย่างเดียว และชวนะดวง
สุดท้ายคือดวงที่ ๗ ที่เกิดในกามวิถีจึงเป็น ปัจจยุปบันได้อย่างเดียว ส่วนชวนะดวงที่ ๒-๖
เป็นได้ทั้งปัจจัยและปัจจยุปบัน ธรรมที่เป็น อาเสวนปัจจัย จะ
ต้องเกิดดับติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นเช่นเดียวกับอนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย
จึง เป็นชาติเดียวกับอนันตรปัจจัย คือ เป็นอนันตรชาติส่วนที่แตกต่างจาก

อนันตรปัจจัย ก็คือ อาเสวน ปัจจัยต้องเป็นจิตในชวนะที่เป็นกุศลอกุศลหรือ
กิริยาด้วยมิใช่แค่เกิดดับสืบต่อกันเท่านั้นและจะเกิด

ในชวนะชาติเดียวกันเท่านั้น ดังบาลีอาเสวนปัจจยนิทเทสว่า “สภาวธรรมที่
เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลังๆ โดยอา
เสวนปัจจัย,สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิด ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอกุศลซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย, สภาวธรรมที่เป็น อัพยากตกิริยา
ซึ่งเกิดก่อนๆเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิดหลังๆโดย
อาเสวน ปัจจัย” เมื่อว่าโดยชาติอาเสวนปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอนันตร
ปัจจัย คือ อนันตรชาต

มีข้ออุปมาอาเสวนชาตดังนี้
อาเสวนปัจจัย
อุปมาเหมือน บุคคลที่เคยผ่านการศึกษาในวิชาอย่างหนึ่งมาแล้ว
เมื่อต้องการศึกษาในวิชาอย่างเดียวกันต่อไป ก็ย่อมจะเรียนได้ง่าย
และเข้าใจได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะอาศัยความรู้ที่ตนได้เคยผ่านมาแล้ว
ในวิชานั้นเป็นเครื่องอุดหนุนส่งเสริมให้เรียนได้ง่ายขึ้นและรู้เร็วขึ้น
จนกระทั่งสำเร็จการเรียนในวิชานั้นๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484188274650.jpg
1484188274650.jpg [ 76.11 KiB | เปิดดู 3892 ครั้ง ]
๑๓. กัมมปัจจัย
กัมมปัจจัยคือธรรมที่ช่วยอุปการะโดยการปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆส าเร็จลง
กัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิก เพราะจะเป็นการกระทำทางกาย วาจา หรือใจก็ตาม
ต้องอาศัยเจตนาเป็นใหญ่ หรือเป็นหัวหน้าในการกระทำนั้นๆ เจตนาเจตสิกที่เป็นตัว
กรรมนี้ มี หน้าที่ ๒ อย่าง คือ

(๑) ทำหน้าที่ปรุงแต่งหรือจัดแจงให้สำเร็จกิจในระหว่างการเกิดขึ้นของสัมปยุตต
ธรรมที่เป็นกุศล, อกุศล, วิบาก และกิริยา ที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ เรียกว่า “สังวิธานกิจ”

(๒) ทำหน้าที่เพาะพันธุ์พืชไว้ ในเมื่อกุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นพร้อมกับ
จิตนั้นได้ดับไปแล้ว เจตนาเจตสิกนี้ก็มีอำนาจที่จะส่งผลให้ปรากฏขึ้นในภายหลัง
เรียกว่า “พีชนิธานกิจ” ทำหน้าที่เฉพาะในกุศลและอกุศลจิตเท่านั้น
กัมมปัจจัย สามารถจ าแนกเป็น ๓ ปัจจัยย่อย คือ

๑. สหชาตกัมมปัจจัย. นานักขณิก กัมมปัจจัย ๓. อนันตรกัมมปัจจัย

มีข้ออุปมากัมมปัจจัยไว้ดังนีั
กัมมปัจจัย
อุปมาเหมือน กองทหารกองหนึ่งๆ ต้องมีนายทหารเป็นหัวหน้า
เป็นผู้บังคับบัญชาคอยออกคำสั่งแก่พวกเหล่าทหาร ให้ทำหน้าที่
ไปตามคำสั่งของตนฉันใด เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวธรรมแล้ว
นายทหารก็เปรียบเจตนาเจตสิก เหล่าทหารก็เปรียบเหมือนสหชาตธรรม
คือ จิต เจตสิก กัมมชรูป และจิตตชรูป ที่เกิดร่วมกับเจตนาเจตสิก ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓.๑ สหชาตกัมมปัจจัย

สหชาตกัมมปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกันและ ชักนำสัมปยุตตธรรมด้วย
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกันด้วย (สหชาต) กระท าการงาน ด้วย (กมฺม)
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติ เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้น เกิดขึ้นพร้อมกัน

สหชาตกัมมปัจจัย หมายถึง เจตนาที่เกิดพร้อมกับผลของตน มีหน้าที่ช่วยปรุงแต่ง
หรือ จัดแจงสัมปยุตตธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้สำเร็จกิจด้วยดี คือ ทำหน้าที่ “สังวิธานกิจ”

ได้แก่ เจตนาที่เกิดในจิตทุกดวง อุปการะแก่รูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดพร้อมกัน อุปมา
เหมือนกองทหารกอง หนึ่งๆต้องมีนายทหารเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้บังคับ
บัญชาคอยออกคำสั่งแก่เหล่าทหารให้ทำหน้าที่ ไปตามคำสั่งของตนฉันใด
เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวธรรมแล้ว
นายทหารเปรียบเหมือนเจตนา เจตสิก เหล่าทหารเปรียบเหมือนสหชาตธรรม
คือ จิต เจตสิก กัมมชรูป และจิตตชรูป

ที่เกิดร่วมกับ เจตนาเจตสิก ฉันนั้น เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว จะมีลักษณะ
ของเจตนาที่เกิดพร้อมกันและ กระท าการงานจัดแจงปรุงแต่งด้วย จัดอยู่ใน
กลุ่มสหชาตชาติ เพราะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓.๒ นานักขณิกกัมมปัจจัย

นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึงสภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกรรมที่เกิดต่างขณะกัน

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ ขณะต่างกัน คือ
ดับไปก่อน (นานกฺขณิก) จัดการส่งผลด้วย (กมฺม)

นานักขณิกกัมมปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม นานักขณิกกัมมชาติ
หมายถึง เจตนาที่ เกิดต่างขณะกันกับผลของตน ได้แก่ เจตนาในกุศล
อกุศลที่ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยแก่วิปากจิต และกัมมชรูปที่เกิดเพราะกรรมนั้น
คือ ทำหน้าที่ “พีชนิธานกิจ” นั่นเอง

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว นานักขณิกกัมมปัจจัย มีลักษณะปัจจัยธรรรม
นั้นดับไปเกิด แล้วจึงจัดการส่งผลได้ในภายหลัง ว่าโดยกลุ่มปัจจยธรรม เป็น
นานักขณิกกัมมชาติอันเป็นชื่อของ ปัจจัยธรรมนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2016, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓.๓. อนันตรกัมมปัจจัย

อนันตรกัมมปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกรรมที่
ส่งผล ติดต่อกันทันทีไม่มีระหว่างคั่น
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น (อนนฺตร)
จัดการส่งผลด้วย (กมฺม)

อนันตรกัมมปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อนันตรชาติเพราะปัจจัยธรรมนั้น
ช่วยทำ ให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิดต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น
ยเมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว อนันตรกัมมปัจจัยมีลักษณะที่เป็นตัวมรรค
กรรม จัดการ ส่งผลทันทีไม่มีระหว่างคั่น ที่ท่านเรียกว่า “อกาลิโก” ในบท
ธรรมคุณและจัดเป็น”สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน”

ในบทอภิธรรมติกมาติกา โลกียกุศลกรรม ต้องรอเวลาส่งผลหลังจากตัว
มกรรมดับไปแล้ว อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้างไม่แน่นอนแต่โลกุตตรกุศล คือ มรรค
กรรมแล้วย่อมสามารถส่งผลได้ทันทีที่ตนเองดับลงไป การจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรม สามารถ จัดอยู่ในกลุ่มอนันตรชาติ เพราะเป็นการเกิดขึ้นติดต่อกัน
ทันทีไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นกลาง

กัมมปัจจัย แบ่งเป็น ๓ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างกันในการจัดเข้าในกลุ่ม
ชาติปัจจัย ธรรม แต่มี ความเสมอภาคกันจึงอยู่ที่ตัวปัจจัยธรรม คือ เจตนา
เจตสิก ทำหน้าที่ชนกสัตติ ทำให้ ปัจจยุปบันนธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484188112021.jpg
1484188112021.jpg [ 61.92 KiB | เปิดดู 3892 ครั้ง ]
๑๔ วิปากปัจจัย

วิปากปัจจัยคือธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิปาก
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ความเป็นผลของกุศลและอกุศลด้วย
ความสงบนิ่งปราศจากอุตสาหะกังวล (วิปาก)

วิปากปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่มปัจจัย
ธรรมสหชาตชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
คำว่า วิปากปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก หมายถึง

สภาวธรรมที่เป็นผลของกรรม อุบัติขึ้นตามอำนาจแห่งกรรมโดยปราศจาก ความพยายามของ
ผู้กระทำวิบากนี้ทำหน้าที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยทำนองเดียวกันกับตน
เปรียบเสมือนลมเย็นที่พัดมากระทบบุคคลผู้อยู่ในร่มแล้วฉะนั้น หรือ อุปมาเหมือน
ความชราที่ เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย ความชรานี้เป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหลายไม่พึงปรารถนา

และไม่ต้องขวนขวาย หาหรือกระทำให้เกิดขึ้น แต่ความชรานี้ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย
ทั่วกันทั้งหมด ไม่มียกเว้น ทั้งนี้ก็เพราะชรานั้นเป็นผลธรรมอันเกิดมาจากเหตุ คือ ชาตินั่นเอง
ถ้ามีชาติคือ ความเกิดแล้ว ชราก็ ต้องมีแน่นอน และในความชรานั้นก็เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันได้
คือ ชราในตอนแรกนั้นเป็น เหตุอุดหนุนให้เกิดความชรามากขึ้นในตอนหลัง จะเห็นได้เมื่อทารกคลอดจาก

ครรภ์มารดา ความชราก็ติดมากับทารกแล้ว แต่ความชรานี้เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก
เพราะเป็นธรรมอันสงบและละเอียด สุขุม เมื่อขณะที่ทารกค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นนั้น ก็หมายความว่า
ความชราในตอนแรกนั้นเป็นกำลัง ช่วยอุดหนุนให้ความชราเกิดขึ้นในตอนหลังเป็นลำดับไป
เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว วิปากปัจจัยมีลักษณะเป็นผลของกรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็น

ปัจจัยให้แก่กันและกันในขณะจิตเดียวกันกล่าวคือวิปากจิตและเจตสิกที่เรียกว่า “วิปากนามขันธ์ ๔”
นั้นต่างเป็นปัจจัยและปัจจยุปบันซึ่งกันและกันดังในวิปากปัจจยนิทเทสแสดงไว้ว่า “ขันธ์ ๔
ที่เป็น วิบากซึ่งไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยวิปากปัจจัย”ส่วนปฏิสนธิกัมมชรูปและจิตตชรูป
ซึ่งไม่ใช่วิปากเป็นปัจจยุปบันธรรมได้อย่างเดียวเท่านั้นเป็นปัจจัยธรรมไม่ได้ นามขันธ์ ๔ เท่านั้น
ที่ เป็นผลของกรรมที่เรียกว่า “วิปาก” ส่วนรูปที่เกิดจากกรรมเรียกว่า“กัมมชรูป”

ไม่เรียกว่า วิปากที่เป็น ดังนี้เพราะเป็นผลที่ไม่ตรงกับเหตุเหตุเป็นกุศลและอกุศลนั้นเป็นนามธรรม
และรู้อารมณ์ได้ ผลที่ เกิดโดยตรงจึงต้องเป็นนามธรรมเหมือนกันและรู้อารมณ์ได้เช่นกัน
ส่วนรูปคือกัมมชรูปนั้น แม้จะ เกิดจากกุศลหรืออกุศลแต่เป็นรูปธรรมรู้อารมณ์ไม่ได้จึงไม่เรียกว่าวิปาก
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียก ผลของกรรมเฉพาะที่เป็นนามธรรม (อันเป็นผลโดยตรง) เท่านั้นว่า
“วิปาก” พิจารณาโดยอาการ นามรูปแล้ว ว่าโดยกลุ่มปัจจัยธรรมจัดอยู่ในกลุ่มสหชาตชาติ
เพราะวิปากปัจจัยอุปการะแก่ธรรมที่ เกิดขึ้นพร้อมกันเท่านั้น

มีข้ออุปมาวิปากชาตไว้ดังนี้
วิปากปัจจัย

อุปมาเหมือน ความชราที่เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย
ความชรานี้เป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหมายไม่พึงปรารถนาและไม่ต้องขวนขวาย
หรือกระทำให้เกิดขึ้น แต่ความชรานี้ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลายทั่วถึงกันหมด
ไม่มียกเว้นเลย ทั้งนี้เพราะว่าความชรานั้นเป็นผลธรรมที่เกิดมาจากเหตุ

คือชาตินั่นเอง ถ้ามีชาติเกิดขึ้นแล้ว ชราต้องมีแน่นอน และในความชรานั้น
ก็เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันได้ คือชราตอนแรกๆนั้น เป็นเหตุอุดหนุน
ให้เกิดความชรามากขึ้นในตอนหลังๆ จะเห็นได้ว่าทารกที่คลอดออกจากครรภ์มารดา
ความชราก็ติดตัวมากับทารกนั้นแล้ว แต่ความชรานี้เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก

เพราะเป็นธรรมอันสงบและละเอียดสุขุม เมื่อขณะ ที่ทารกค่อยๆเจริญเติบโตขึ้น
หมายความว่า ความชราในตอนแรกๆนั้น เป็นกำลังช่วยอุดหนุนให้ความชราเกิดขึ้น
ในตอนหลังๆตามลำดับไป หรืออีกอย่างหนึ่ง เช่น คนที่มีอายุมาก
ผมนั้นเปลี่ยนจากสีดำมาเป็นสีขาว ในตอนแรกนั้นก็จะเป็นสีขาวเล็กๆ น้อยๆ
ก่อน ต่อมาสีขาวของก็ย่อมปรากฏขึ้นมากทุกทีๆ จนกว่าจะขาวโพลนไปทั่วทั้งศีรษะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187975152.jpg
1484187975152.jpg [ 66.14 KiB | เปิดดู 3892 ครั้ง ]
๑๕ อาหารปัจจัย

อาหารปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอาหาร
อาหารปัจจัย คือธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำ ผู้นำในที่นี้หมายถึง ผู้นำมา ซึ่งผล
คือ ขันธ์ ๕ เมื่อนำมาแล้วก็ยังอุปถัมภ์ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นให้ตั้งอยู่ต่อไปได้ อีกนัยหนึ่ง
อาหาร คือสิ่งที่อุปถัมภ์หรืออุปการะรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย

อุปมาเหมือนบ้านจะตั้งอยู่ได้ต้อง อาศัยมีเสาเป็นเครื่องค้ำจุนหากไม่มีเสาค้ำจุนอยู่แล้ว
บ้านนั้นก็ไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้ รูปธรรมและ นามธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีอาหาร
อันเปรียบเสมือนเสาเรือนค้ำจุนไว้แล้ว รูปธรรมและ นามธรรมก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้น
และดำรงอยู่ด้เช่นเดียวกัน อาหารปัจจัยนี้แบ่งเป็น๒ประเภทคือ
๑. รูปอาหารปัจจัยและ ๒. นามอาหารปัจจัย

มีข้ออุปมาอาหารปัจจัยไว้ดังนี้
อาหารปัจจัย
อุปมาเหมือน บ้านที่เราตั้งอยู่ได้ต้องอาศัยเสาเป็นเครื่องค้ำจุนอยู่
ถ้าหากว่าไม่มีเสาค้ำจุนอยู่แล้ว บ้านนั้นก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ ฉันใด
รูปธรรมและนามธรรมนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีอาหารอันเปรียบเหมือนเสาเรือน
ค้ำจุนแล้ว รูปธรรมนามธรรมนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ดุจเดียวกัน
ดังมีพระพุทธสุภาษิตที่ตรัสไว้ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติตา แปลว่า สัตว์ทั้งหลาย
ตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาหารนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕.๑ รูปอาหารปัจจัย

รูปอาหารปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นรูปอาหาร
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ นำอาหารชรูปให้เกิดขึ้น (อาหาร)
รูปอาหารปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม รูปอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้น
ได้แก่ รูปอาหารช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม

รูปอาหารโดยสมมุติสัจจะหมายถึงอาหารต่างๆที่กลืนกินเข้าไปเรียกว่ากพฬีการาหาร
โดยปรมัตถสัจจะหมายถึงโอชารูปทั้งที่อยู่ภายนอกร่างกายสัตว์ (พหิทธโอชา) และที่อยู่ภายใน
ร่างกายสัตว์ (อัชฌัตตโอชา) รูปอาหารจะเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนให้รูปกายของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในภูมิ นั้นๆ
เจริญเติบโตและดำรงอยู่ได้เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ รูปอาหารปัจจัยย่อมนำมาซึ่งอาหารชรูปให้เกิดขึ้น

ดังแสดงในอาหารปัจจยนิทเทสว่า “กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหาร ปัจจัย”
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอาหารชาติหรือรูปอาหารชาติอันเป็นชื่อปัจจัยนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕.๒ นามอาหารปัจจัย หรือ สหชาตาหารปัจจัย

นามอาหารปัจจัย หรือสหชาตาหารปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดย
ความเป็นนามอาหารที่เกิดพร้อมกัน
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ นำสหชาตธรรมให้เกิดขึ้น (อาหาร)

นามอาหารปัจจัย หรือสหชาตาหารปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติ
เพราะ ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว นามอาหารปัจจัย หรือสหชาตาหารปัจจัย
มีลักษณะนำ สหชาตธรรม คือ สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกันนั้นให้เกิดขึ้น

ดังแสดงในอาหารปัจจยนิทเทสไว้ว่า “อาหารที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูป
ซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดย อาหารปัจจัย” นามอาหาร มีอยู่ ๓ชนิดด้วยกัน คือ
(๑) ผัสสาหาร (๒) มโนสัญเจตนาหาร และ (๓) วิญญาณาหาร

การอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันจึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัย ธรรรมสหชาตชาติ
อาหารปัจจัย แบ่งเป็น ๒ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างกันโดยการจัดกลุ่มชาติปัจจัยธรรม
แต่มีความเสมอกันในส่วนที่ต้องมีการอุปการะนำมาซึ่งผลธรรมในปัจจุบันกาลเท่านั้น
และ ทำหน้าที่ทั้งชนกสัตติและอุปถัมภกสัตติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187860384.jpg
1484187860384.jpg [ 73.31 KiB | เปิดดู 3892 ครั้ง ]
๑๖ อินทริยปัจจัย

อินฺทฺริยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอินทรีย์
ในอินทริยปัจจัยนี้ คำว่า อินทรีย์นั้นแปลว่า เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ปกครองในหน้าที่ ของตนๆ
ไม่ก้าวก่ายกัน อุปมาเหมือนในประเทศหนึ่งๆ มีรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าปกครองในหน้าทีการงานอยู่
หลายคนด้วยกัน แต่ในหน้าที่อย่างหนึ่งๆ นั้น ก็มีรัฐมนตรีคนหนึ่งๆ

เป็นหัวหน้าควบคุม ปกครอง ไม่ก้าวก่ายในหน้าที่ซึ่งกันและกัน ฉันใด
ในอินทริยปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ หน้าที่ต่างๆ มีหน้าที่ในการเห็น การได้ยิน เป็นต้นนั้น
ก็มีธรรมเป็นใหญ่ควบคุมในหน้าที่นั้นๆ อินทริยปัจจัยสามารถจ าแนกได้เป็น ๓ ปัจจัยย่อย คือ
๑. สหชาตินทริยปัจจัย ๒. ปุเรชาตินทริยปัจจัย ๓. รูปชีวิตินทริยปัจจัย

มีข้ออุปมาอินทริยชาติไว้ดังนี้
อินทริยปัจจัย
อุปมาเหมือน ในประเทศหนึ่งๆ มีรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าปกครอง
ในหน้าที่การงานอยู่หลายคนด้วยกัน แต่ในหน้าที่อย่างหนึ่งๆ นั้น
ก็รัฐมนตรีคนหนึ่งๆ เป็นหัวหน้าควบคุมปกครองไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน
ฉันใดในอินทริยปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ หน้าที่ต่างๆ มีหน้าที่ในการเห็น การได้ยิน เป็นต้นนั้น
ก็มีธรรมที่เป็นใหญ่ควบคุมหน้าที่นั้นๆ เช่นหน้าที่ในการเห็นก็มีจักขุปสาทเป็นใหญ่
เรียกว่า จักขุนทรีย์ และหน้าที่ในการได้ยินก็มีโสตปสาทเป็นใหญ่ เรียกว่า โสตินทรีย์ ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖.๑ สหชาตินทริยปัจจัย หรือ นามอินทริยปัจจัย

สหชาตินทริยปัจจัย หรือ นามอินทริยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะแก่
นามรูปโดยความเกิดพร้อมกันและเป็นใหญ่ด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกันด้วย (สหชาต)
มีอิสระเป็น ใหญ่ด้วย (อินฺทฺริย)

สหชาตินทริยปัจจัย หรือ นามอินทริยปัจจัย เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม
นั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน สหชาตินทริยปัจจัย เป็นการท าหน้าที่ของจิตและเจตสิกช่วยอุปการะ
แก่ปัจจยุปบันน ธรรมที่เกิดพร้อมกัน จึงเรียกว่า “นามอินทรียปัจจัย” ได้อีกชื่อหนึ่ง
มีความเข้มแข็งในการดูแล หน้าที่เฉพาะของตนๆ ทำงานประสานกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน

สามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ อินทรีย์ พร้อมๆ กันได้ เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว
สหชาตินทริยปัจจัยมีลักษณะ ความเป็นใหญ่ใน การปกครองตามหน้าที่ของตน ย่อมอุปถัมภ์
ธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้เกิดขึ้นพร้อมกัน และเป็นไป ตามตนด้วยนามอินทรีย์ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า
ปกครองในหน้าที่เฉพาะของตนๆ จัดอยู่ในกลุ่ม ปัจจัยธรรมสหชาตชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖.๒ ปุเรชาตินทริยปัจจัย หรือ วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย

ปุเรชาตินทริยปัจจัย หรือ วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะ
แก่นามขันธ์โดยความเป็นวัตถุที่เกิดก่อนและเป็นใหญ่ด้วยเมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง
คือ เป็นที่อาศัยของจิต (วตฺถุ) เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาตะ) มีอิสระเป็นใหญ่ด้วย (อินฺทฺริย)

ปุเรชาตินทริยปัจจัย หรือ วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม วัตถุปุเรชาตชาติ
เพราะเป็นวัตถุที่เกิดก่อนอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะปุเรชาตินทริยปัจจัย หรือ วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย มีลักษณะ
ที่เป็นที่อาศัยของจิตตุปบาท ได้แก่ ปัญจวัตถุรูป คือ ปสาทรูป ๕ ที่เกิดก่อนแล้วเป็นปัจจัยช่วย
อุปการะโดยความเป็นใหญ่แก่ทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท ๑๐ โดยเฉพาะ
การจัดเข้าในกลุ่มปัจจัย ธรรมวัตถุปุเรชาตชาติ ด้วยการทำหน้าที่เป็นวัตถุที่เกิดก่อนนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖.๓ รูปชีวิตินทริยปัจจัย

รูปชีวิตินทริยปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะกัมมชรูปโดยความเป็นชีวิต
รูปที่เป็นใหญ่ เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ มีสภาพเป็นรูปด้วย (รูป)
มีอิสระเป็นใหญ่ ด้วย (อินฺทฺริย)

จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม รูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิต
รูปซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองในการรักษาปัจจยุปบันนธรรม คือ กัมมชรูปที่เกิดขึ้นด้วยกัน
เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ รูปชีวิตินทริยปัจจัย มีสภาพเป็นรูป คือ ชีวิตรูป มีความเป็นใหญ่

ในการเป็นผู้รักษารูปที่เกิดจากกรรมอื่นๆ ที่เกิดพร้อมกับตน ว่าโดยชาติ จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัย
ธรรมที่เป็นรูปชีวิตินทริยชาติอันเป็นชื่อปัจจัยธรรมนั่นเอง
อินทริยปัจจัย มีการแบ่งเป็น ๓ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างกันโดยการจัดกลุ่มชาติปัจจัย ธรรม
แต่มีความเสมอกันในส่วนที่ต้องมีการอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมในปัจจุบันกาล เหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2016, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187790585.jpg
1484187790585.jpg [ 72.68 KiB | เปิดดู 3892 ครั้ง ]
๑๗. ฌานปัจจัย

ฌานปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นฌาน
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ทำให้สหชาตธรรมเข้าไปเพ่งอารมณ์
หรือ เผาผลาญธรรมที่เป็นปฏิปักษ์แก่ตน (ฌาน)

ฌานปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่มปัจจัย
ธรรมสหชาตชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
คำใว่า ฌานปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะแก่นามรูปโดยความเป็นฌาน คือ
สามารถให้อุปการะแก่สภาวธรรมเหล่าอื่นในลักษณะที่เป็นผู้เพ่งอารมณ์ มีความหมายได้ ๒ อย่าง คือ

๑. การเข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ตลอดจนกระทั่งการเพ่งอารมณ์ในการ
ทำสมถภาวนา มีกสิณเป็นต้น เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

๒. การเพ่งอารมณ์ในการท าวิปัสสนาภาวนา คือ เพ่งอารมณ์ไตรลักษณ์ กล่าวคือ
อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ นั้น เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

ส่วนการเพ่งอารมณ์ที่เป็นนิพพานนั้น ก็จัดอยู่ในจำมพวกลักขณูปนิชฌาน เช่น
เดียวกัน แต่ในที่นี้ ลักขณะนั้นเป็นตถลักขณะ หมายความว่า พระนิพพานนี้มีลักขณะ
ที่เป็นสันติสุขอย่าง แท้จริง

ฌานปัจจัยนี้หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์ฌาน ๗อย่าง ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติโสมนัส
ใเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนาและเอกัคคตา แต่ว่าในการแสดงองค์ธรรมของปัจจัยจริง ๆ
ท่าน กล่าวถึงองค์ฌานว่า มี ๕ อย่างเท่านั้น เหตุที่เป็น
เช่นนั้นเพราะท่านมิได้แยกโสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา
ออกจากกัน แต่กล่าวรวมเป็นธรรมเดียวกัน คือ เวทนาอย่าง เดียว

องค์ฌานทั้ง ๕ นี้ นอกจากจะท าหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะแล้ว ยัง
สามารถช่วยอุดหนุน ให้ธรรมทั้งหลายซึ่งเกิดร่วมกับตนนั้น ให้จับอยู่ในอารมณ์นั้นๆ
ตามไปอีกด้วย ซึ่งอุปมาเหมือน บุคคลที่อยู่ในที่สูง สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ
ในที่ไกลๆ ได้ เมื่อตนเองแลเห็นสิ่งเหล่านั้นแล้ว ก็ บอกให้พวกที่อยู่ข้างล่าง

รู้ด้วยว่า ในที่ตรงนั้น ตรงนี้มีอะไรบ้าง ตามที่ตนได้เห็น ข้อนี้ ฉันใดองค์ฌาน
ทั้ง๕ซึ่งมีวิตกเป็นต้นนั้น เมื่อขณะที่วิตกท าหน้าที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ตัวของ
วิตกเองก็เพ่ง อยู่ในอารมณ์นั้นตามไปด้วย โดยเป็นฌานปัจจัยซึ่งได้แก่ วิตกเป็นต้น

ฉันนั้น เมื่อพิจารณาโดย ลักษณะแล้ว ฌานปัจจัย มีลักษณะของการเพ่งอารมณ์
โดยเฉพาะถ้าเกิดในกุศลจิตย่อมสามารถเผา ผลาญธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ได้ จัดอยู่ในกลุ่มสหชาตชาติ

มีข้ออุปมาฌานชาตไว้ดังนี้
ฌานปัจจัย
อุปมาเหมือน บุคคลที่อยู่ในที่สูงสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ
ในที่ไกลๆ ได้ เมื่อตนเองแลเห็นสิ่งเหล่านั้นแล้ว ก็บอกให้พวกที่อยู่ข้างล่างรู้
ด้วยว่าในที่ตรงนั้นตรงนี้มีอะไรบ้างตามที่ตนได้เห็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร