วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ดูที่ตัวเอง

ถ้าเรามีสติดี สมาธิดี จิตจะไม่คิดหลายเรื่อง พองยุบถึงจะชัด
ถ้าคิดอะไรหลายอย่าง หลายเรื่องรวมกันแล้ว
สมาธิมันจะหมด สติไม่ดี พองยุบจะไม่ชัด
หายใจเข้า หายใจออกช้า ๆ เราค่อย ๆ ทำไป
เหมือนจิตแกว่งไปแกว่งมา จิตจะคิดหลายเรื่อง
บางทีพอสมาธิดีท่านจะสังเกตได้ว่าจิตจะเริ่มออก เรื่องที่ผ่านมานั้น
ถ้าเป็นเรื่องหนักจะคิดก่อน ถ้าเป็นเรื่องเบาจะคิดทีหลัง
บางครั้งถ้าสมาธิดี ขาดสติจะคิดซ้อน จะมีเรื่องซ้อนขึ้นมา

เรื่องซ้อนนั้นหมายความว่า เรื่องเมื่อครั้งอดีตมันจะซ้อนผุดขึ้นมา
ทำให้เราขาดสติไป ทำให้เรากำหนดไม่ได้จังหวะ
บางทีกำหนดพองหนอ ยุบหนอ บางทีมันจะหนักและมันจะวูบ
บางครั้งมันจะเบา พองหนอยุบหนอกำหนดได้
แต่จิตอีกดวงหนึ่งมันจะออกไปคิด คิดจิปาถะ คิดที่เรากังวลอยู่
อีกจิตมันก็พองหนอ ยุบหนอ

เหมือนกับการเดินจงกรม เราเดิน ๆ มันก็คิด เขาเรียกว่า เป็นธรรมชาติของจิต
มันต้องคิดตลอดรายการ นั่งมันจะเป็นสมาธิดีขึ้นอยู่ตลอดไม่ได้
สติจะดีก็ต้องคิด แต่ทำไมถึงจะดี จะไม่คิด
ขอเจริญพรพี่น้องทุกคนว่า ต้องเข้าขั้นสูงมันจะไม่คิดอะไร มันจะอยู่กับที่
เรายังปฏิบัติขั้นต่ำ และเรายังอยู่ในระหว่างจิตกระสับกระส่ายไปมาอยู่เสมอ
มันจะคิดปรารภอะไรต่ออะไรต่าง ๆ

ถ้าหากสับสนไม่รู้อะไรเป็นอะไรขณะกำหนด ให้กำหนดว่า รู้หนอ ๆ
รู้หนอตั้งสติให้ได้ก่อนที่ลิ้นปี่นี่ พอตั้งสติได้แล้วค่อยกำหนดต่อ
ไม่อย่างนั้นสับสนต่อไปกระทั่งตลอดทั้งชั่วโมง
มันจะไม่เกิดอะไร จะไม่เกิดสภาวธรรม
เราจึงต้องทำให้มันติดต่อกันไป ถ้าเราไม่ทำติดต่อกันแล้วจะทำให้สับสน
สภาวะมันจะไม่เกิด สภาวะตัวนี้คือเกิดจากญาณ
จะให้จิตอยู่ที่เป็นไปไม่ได้หรอก มันจะต้องคิดโน่นคิดนี่อะไรจิปาถะ
แต่จะคิดอะไรก็ตามนะ เอาสติใส่เข้าไป ด้วยการกำหนดว่า คิดหนอ ที่ลิ้นปี่
ไม่ใช่เราทำพองหนอยุบหนอตะพึด
มีอะไรก็ไม่คิด ไม่ได้กำหนด ไม่ได้อะไรหรอกนะ

การกำหนดจิตนี้ เพื่อต้องการให้เราไม่ลืมไม่หลงเท่านั้น
สติดีแล้วแต่ปัญหามีอันหนึ่ง ที่มันคิดอะไรเกิดขึ้นแล้วนี่
เอาสติตามด้วยการคิดหนอ ๆ ๆ เหมือนอย่างการเดินจงกรมเหมือนกัน
มันก็เป็นเหมือนกับนั่งเช่นเดียวกัน เราก็เอาสติตาม
แต่เราจะให้สมาธิมันดิ่งตลอดรายการเป็นไปไม่ได้หรอก
เข้าขั้นมีสภาวะเกิดขึ้น จิตก็จะดิ่งลงไป มีแต่สมาธิ
หมายความว่า ดิ่งอยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แสดงว่า เรามีสมาธิมากไป แต่ขาดสติ

วิธีทำคือ ต้องถอยสมาธิออก ใส่สติเข้าไป กำหนดว่า รู้หนอ ๆ
รู้เหตุการณ์ในชีวิตนั้น พอรู้เหตุการณ์นี้แล้ว
สมาธิจะถอยจะจางออกไป ใส่สติเข้าไปด้วยการคิดหนอ

จิตนี้ละเอียดอ่อนมาก เวลาเราทำแล้ว เราก็ไม่รู้ว่าจิตไม่อยู่กับที่
จะให้มันดิ่งสัก ๕ นาทีก็เป็นได้ยาก อย่าเข้าใจผิดคิดว่าเราทำไม่ได้ผล
ข้อเท็จจริงได้ผล เป็นการสะสมไว้ทีละเล็กทีละน้อย
เรากำหนดจิตตั้งสติไว้ ตรงนี้สำคัญมาก ต้องละเอียด
ถ้าละเอียดเข้าไป ๆ เราถึงจะรู้จริงว่า อะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ไหม จะดับไปตรงไหน

เดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ช้า ๆ หน่อย
ถ้าสมาธิดีสติดี มันจะรู้เลยว่า จิตกำหนดนี่มันดีตอนไหน
ซ้ายย่างหนอดับตอนไหน ขวาย่างหนอจิตมันจะดับไหม ดับอย่างไร
เกิดดับ ๆ มันจะไวมาก ทำให้เราไม่รู้ ถ้าเราละเอียดจะรู้จับจิตได้
บางทีเวลาหายใจเข้า หายใจออก พองหนอ ยุบหนอ
สมาธิดีมันจะวูบ จับไม่ได้ว่ามันวูบตอนไหน ตอนพองหรือตอนยุบ
ตรงนี้สำคัญเหมือนกัน ถ้าเกิดขึ้นกับใคร ให้กำหนดรู้ตรงนี้ รู้หนอ ๆ ๆ

พอรู้สติดีแล้วเข้าขั้นมันจะจับได้เลย มันวูบตอนไหน
และพองหนอมีกี่ระยะ มันจะเป็นขึ้นตอนไหม
ยุบหนอจะมีกี่ระยะ ตอนนี้ถ้าละเอียดอ่อนจะไว ๆ
และก็สมาธิดี ก็จับได้ว่าพองมีกี่ระยะ ยุบมีกี่ระยะ เราก็จะได้รู้ตอนนั้น
ถ้าหากว่าเราจิตยังหยาบอยู่ ยังไม่ละเอียดพอ จะจับไม่ได้ว่ามันมีระยะอย่างไร
พอได้จึงหวะแล้ว หายใจยาว ๆ จะรู้เลยว่าพองมีกี่ระยะ ยุบมีกี่ระยะ ตรงนี้สำคัญมาก
เอาทีละน้อยไปก่อน อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ

พยายามหายใจยาว ๆ หายใจยาว ๆ มันอึดอัดหน่อย
ถ้าหายอึดอัดแล้วจะเบา พอเบาแล้วถึงจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ตอนหนักนี่เราไม่รู้อะไร ตอนไหนอย่างไร สภาวะจะเกิดขึ้นตอนไหน
เราสังเกตสติดีแล้วเป็นคนละเอียด คนสังเกตตัวเองและเข้าใจตัวเองว่าอะไรคืออะไร
ตัวเองเป็นอย่างไร จะรู้ขึ้นมาโดยปัจจัตตัง ไม่ต้องมีใครบอก ตรงนี้สำคัญมาก
ทำอะไรจะรู้เหตุการณ์ของชีวิต ผิดถูกประการใด
เราจะได้รู้ตัวของเราเอง จะไม่โทษคนอื่น
บางทีเราทำผิดก็ไม่รู้ว่าผิดถูกประการใด ทำให้มองคนในแง่ร้ายไปหมด
แต่ตัวเองถูกต้อง แท้จริงตัวเองทำผิดมามาก เลยไม่รู้ตัวเอง

ขอให้แง่คิดทุกคนว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราดูตัวเอง ที่เราปฏิบัตินี้เรามาดูตัวเอง
เพื่อพัฒนากาย พัฒนาจิต ตั้งสติอารมณ์ ต้องทนทุกข์ทรมานแสนจะยากลำบาก
เราจะได้รู้ว่าตัวทุกข์ของเรานี้เป็นอย่างนี้แหละหนอ ทุกข์ของคนอื่นเป็นอย่างไร
คนที่ไม่เคยปฏิบัติเจริญพระกรรมฐาน จะไม่รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร
ความทุกข์อย่างแสนสาหัส พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรามีปัญญา
ทุกข์นี้มันเหลือจะทน เราเดินจงกรมมันก็ปวดเมื่อยทั่วสกลกาย ก็จับดูที่ทุกข์
กำหนดว่าปวดหนอ แล้วจิตก็พลุกพล่านไปที่อื่น
จิตของเรานี้ถ้าดูในส่วนลึกแล้ว มันจะเข้าข้างตัวเอง

ถ้าท่านผู้ใดไม่เคยปฏิบัติธรรม มีแต่เรียนวิชาการ
เรียนธรรมะอย่างเดียวแล้วจะไม่รู้จริงเลย กลายเป็นคนรู้มาก ขาดสติ ขาดปัญญา
ขาดความรู้ที่แน่นอน ความรู้จริงคือการเจริญพระกรรมฐาน ต้องรู้จริงแน่นอน
รู้จริงแล้วเราจะได้แก้ไขความจริงเป็นอย่างไร ที่อาตมาต้องกล่าวมาเป็นเวลานาน
ก็คือว่า รู้จริงหายาก รู้มากหาง่าย นี่ เรามานั่งฟังมันก็มีทุกข์
ปวดเหมื่อนไปหมดทั่วสกลกาย ทุกข์ตัวนี้เราแก้อย่างไร
ก็กำหนดทุกข์หนอ ปวดหนอ ปวดเมื่อยเราก็ตั้งสติอารมณ์ไว้
เราจะได้รู้ว่า อ๋อมันทุกข์แค่ไหน เข้าไปถึงจิตใจเราอย่างไร
เราแก้ทุกข์ตรงนี้ได้แล้ว เราจะรู้ทุกข์ของคนอื่น

จิตนี้สำคัญมาก จิตนี่มันพลุกพล่าน มันเข้าข้างตัวเอง
ขอเจริญพรท่านทั้งหลายไปสังเกตคน หลาย ๆ คน
แพทย์ก็ว่าป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ พูดมากล่ามป้ามไป
ฝ่ายหมอโบราณก็บอกเป็นโรคประสาท แต่พระพุทธเจ้าทายเอาไว้ชัดเจนมาก
คนนั้นมีทุกข์กาย ทุกข์ใจ อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ
ฉะนั้นพูดมานาน พูดซ้ำ ๆ จิตไม่สงบก็มี ๘ อย่างนี้
สมาธิเกิดไม่ได้ ก็มี ๗ อย่าง มีไม่พอตะเกียกตะกาย มันก็ไม่สงบ วุ่นวายตลอด
ใช้เวลาว่างเกินไป จิตจะต้องคิดเรื่องเลว ๆ คิดแต่เรื่องไม่เป็นเรื่องเป็นราว

เพราะฉะนั้น อย่าให้อยู่ว่าง ใช้จิตให้มีงานคือ พระกรรมฐาน
การงานหน้าที่ของเราก็คือพระกรรมฐานนี่เอง จะได้รับผิดชอบตัวเอง
รับผิดชอบการงานที่เรามีอยู่ ไม่ใช่ขยันนอกหน้าที่การงาน อันนี้ชัดเจนมาก
ถูกเบียดเบียนจิตใจเราจะไม่สงบ อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ ธาตุทั้ง ๔ ขาดไป
เราจะมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น จิตท่านจะไม่สงบ
ประการที่ ๕ โรคประจำตัว จะเป็นโรคร้าย โรคดีก็มีประจำตัว
ประการที่ ๖ สิ่งแวดล้อมดึงไปในทางชั่ว อันนี้ได้จากพระกรรมฐานทั้งหมด
ไปอยู่ในวงสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ก็ดึงไปในทางชั่วจนได้
หนักเข้าเราก็ต้องตามเขาไปทางชั่ว หาความสงบในชีวิตไม่ได้เลย
ประการที่ ๗ ครอบครัวไม่มีความสุข ทะเลาะกันตลอด ไม่มีความเข้าใจกัน
บ้านนั้นไม่สงบเลยตลอดทั้งลูกหลาน ๘ มัวเมาอบายมุข หาความสนุกในสังคม
จิตไม่สงบ นัตถิ สันติ ปรัง สุขัง
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มีแล้ว ที่เราทำนี่มันเป็นความสงบ

จิตไม่เป็นสมาธิก็มีอยู่ ๗ ประการ ที่ว่าความสงบเป็นความสุข
ถ้าเราวุ่นวายฟุ้งซ่านเป็นความทุกข์ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ถ้าจิตสงบลงเมื่อไร กายก็เป็นสุข จิตก็เป็นสุข
โรคภัยไข้เจ็บก็หายได้อย่างน่าอัศจรรย์
จิตไม่เป็นสมาธิ ๑. นั่งไม่ถูกวิธี ๒. จิตกังวล
กังวลโน่นกังวลนี่มากมายหลายประการ
จิตไม่เป็นสมาธิ เหนื่อยใจ เหนื่อยกายเดี๋ยวก็หาย เหนื่อยใจไม่หาย
เหนื่อยใจหมายความว่ามีเรื่องมาก เลยเอาทุกข์มาใส่ใจ
เอาทุกข์มาใส่ไว้ที่หัวใจทั้งจิตใจ จิตใจก็เหนื่อย ๆ อ่อนเพลียไปหมด
ทั้งที่ไม่มีโรคอะไรเลย เป็นโรคใจไปเลย
อันนี้จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ ๔ โรคประจำตัว
อโรคยา ปรมา ลาภา คนไหนมีโรคคนนั้นไม่มีลาภ
สามวันดีสี่วันไข้ เข้าโรงพยาบาลไม่ได้พัก สมาธิไม่เกิด ทำอย่างไรก็ไม่เกิด
เพราะไม่ได้เคยฝึกมาก่อน ประการที่ ๕ ราคะเกิด ๖ โทสะเกิด
จิตท่านจะเป็นสมาธิไม่ได้ ๗ อารมณ์มากระทบอย่างแรง
ท่านจะทำสมาธิไม่ได้ ถ้าเราไม่ป้องกัน จิตเราจะไม่สงบ ไม่เคยฝึกมาเลย
ไม่รู้วตัวทุกข์แท้ อารมณ์มากระทบอย่างแรงแล้ววุ่นวายไปมากมาย
ไหนเลยว่าสมาธิในการทำงานก็ไม่มี
สมาธิในการคิดให้เกิดประโยชน์ในชีวิตของเราก็ไม่มีด้วย
อย่างนี้เป็นต้น ขอฝากไว้.............

คัดลอกจาก...คุณปิยะพันธุ์ อินทสุวรรณ์
http://www.jarun.org/v6/board2/viewtopic.php?t=11045

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบนมัสการ พระคุณเจ้า ที่สั่งสอนแนะนำ เต่าตัวน้อยนี้

:b11: มิน่า.. ถึงเห็นไม่ค่อยชัด ที่แท้สติไม่ดี สมาธิไม่ดีนี่เอง
คิดว่า เพราะตัวเองไม่ใส่แว่นซะอีก เฮ้อ...(เรื่องจริงนะ ไม่ใช่โจ๊ก)
เป็นความคิด "บัวหิมะ" สมัยเมื่อฝึกปฏิบัติใหม่ ๆ ก็บอกแล้วว่าเต่า ฮิ..ฮิ
:b9:

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


แก้ไขล่าสุดโดย บัวไฉน เมื่อ 13 มี.ค. 2009, 16:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron