วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2018, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-8113.jpg
Image-8113.jpg [ 39.03 KiB | เปิดดู 3240 ครั้ง ]
สัมมัปทาน ๔ เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗
องค์ธรรมได้แก่วิริยเจตสิก ที่มีความเพียรพยายามกระทำโดยชอบนั้นชื่อว่า สัมมัปปธาน
สัมมัปปธาน กล่าวโดยความหมายที่ง่ายแก่การจดจำ คือการงานที่เพียรพยายาม
กระทำการงานที่ชอบ ความเพียรพยายามทำชอบที่เป็นสัมมัปปธานจะต้งประกอบไปด้วย

ก. จะต้องเป็นความเพียรที่ยิ่งยวดแม้ว่าเนื้อจะเหือดแห้งไป จนเหลือหนัง เอ็น กระดูกก็ตาม
ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงได้ ก็ไม่ท้อถอยจากความเพียรอันนั้้นเป็นอันขาด

ข. ต้องเป็นความเพียรที่ยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการจึงจะได้ชื่อว่า ตั้งหน้าทำชอบในโพธิปักขิยธรรมนี้มี ๔ ประการ

๑. เพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
๒. เพียระยายามไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น
๓. เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

ด้วยเหตุว่าต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อว่า สัมมัปปธาน ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2018, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จริงอยู่ อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปแล้ว การจะลบล้างอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วก็สูญสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่มีทางที่จะกระทำได้ การเพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปนั้น
ในที่นี้มีความหมายว่า อกุศลใด ๆ ที่เคยได้ทำแล้วก็จงอย่าไปนึกไปคิดถึงอกุศลนั้น ๆ อีก
เพราะว่าการคิดการนึกขึ้นมาอีกย่อมทำให้ใจเศร้าหมอง อันจะก่อให้เกิดความโทมนัส เดือดร้อน
กระวนกระวายไม่มากก็น้อย เมื่อจิตใจเศร้าหมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่าจิตใจที่เป็นอกุศลแล้ว
ฉะนั่นในประการต้น จะต้องไม่คิดไม่นึกถึงในอกุศลที่เคยทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย ไม่เก็บมานึกคิดอีก
จิตใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมา เมื่อจิตใจผ่องแผ้วไม่เศร้าหมองแล้วก็ตั้งใจมั่นว่า
จะไม่กระทำการใดที่เป็นอกุศลอีก ดังนี้จึงได้ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
ทั้งหมดนี้มีมาใน วิภังคอรรถกถา แห่ง สัมโมหวิโนทนี

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุศลที่ได้กระทำมาแล้วนั้น ที่ได้ผลแล้วก็มี ที่ยังไม่ให้ผลเพราะยังไม่มีโอกาสก็มี
ทีรจะอันตรธานสูญหายไปนั่นไม่มีเลย แต่ชาตินี้มีความสามารถดระหารสักกายทิฏฐิ
ได้ด้วยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้แล้ว ชาตินั่นแลได้แระหารได้ละอกุศลที่เคยทำมาแล้วได้อย่างสิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2018, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2133.jpg
Image-2133.jpg [ 189.51 KiB | เปิดดู 3078 ครั้ง ]
วิริยเจตสิก ตามสัมปโยคนัย
วิริยเจตสิก ประกอบกับจิตไตได้ ๗๓ ดวงหนือ ๑๐๕ ดวง เว้นอวิริยเจตสิก ๑๖ (ดูภาพข้างบนประกอบ)
วิริยะเจตสิกจะเป็นสัมมัปปธานได้ จะต้องเอาเฉพาะที่ประกอบกับกุศลญาณสัมปยุตจิต ๑๗ เท่านั้น
คือ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหัคคตกุศล ๙ มัคคจิต ๔

ส่วน วิริยเจตสิกที่ในอกุศลจิต ๑๒ ที่ในอเหตุกจิต ๒ (มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปาทจิต ๑)
ที่ในกุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ ที่ในมหาวิบากจิต ๘ ที่ในมหากิริยาจิต ๘ ที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙
ที่ในมหัคตกิริยาจิต ๙ และที่ในผลจิต ๔ รวม ๕๖ ดวงนี้ไม่นับเป็นสัมมัปปธาน เพราะ

ก. วิริยเจตสิกที่ในทวาราวัชชนจิต ๑๒ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะสัมมัปปธาน
หมายความว่า การพยายามโดยชอบธรรม แต่ในอกุศลจิตหาใช่ธรรมที่ชอบธรรมไม่
ดังนั้นวิริยเจตสิกที่ในอกุศลจิตจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็น มิจฉาปธาน

ข. วิริยะเจตสิกที่ในมโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะมโนทวาราวัชชนจิต
ไม่มีหน้าที่ทำชวนกิจประการหนึ่ง และเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุเลยอีกประการหนึ่ง
ความพยายามนั่นจึงมีกำลังอ่อนไม่เรียกว่าเป็นความพยายามอันยิ่งยวด ดีงนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2018, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค. วิริยเจตสิกที่ในหสิตุปปาทจิต ๑ เป็นสัมมัปปทานไม่ได้
เพราะจิตดวงนี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ การยิ่มของพระอรหันต์
เป็นแค่กิริยา หาได้มีการละอกุศลหรือเจริญกุศลแต่อย่างใดไม่
ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ง. วิริยะเจตสิกที่ในมหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้
เพราะเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ย่อมมีความเพียรน้อยเป็นธรรมดา
ไม่มากจนถึงกับยิ่งยวดขึ้นมา แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้วไซร้
ก็ไม่สามารถที่จะรู้อริยสัจ ๔ ได้ ดังนัีนจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

แต่อีกนัยหนึ่งก็แสดงว่า วิริยเจตสิกที่ในมหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔
ก็เป็นสัมมัปปธานได้ เพราะจิตที่เป็นมหากุศลญาณวิปปยุตตจิตที่ได้เกิดขึ้นในขณะ
เจริญสติปัฏฐาน ก็นับว่าเป็นสติปัฎฐานได้ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อเป็นเช่น
นี้วิริยะเจตสิกที่ในมหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ ก็ควรนับเป็นสัมมัปปธานได้
ส่วนที่จะบังเกิดผลเพียงใดหนือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งอีกต่างหาก

จ. วิริยเจตสิกที่ในมหาวิบาก ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะเป็นวิบากจิตไม่ใช่ชวนจิต
จึงไม่มีหน้าที่ละอกุศล ไม่ก่อกุศลทำกุศลและเจริญกุศล รวม ๔ อย่าง
อันเป็นกิจการงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธาน มหาวิบากทำหน้า ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ
และตทาเท่านั่น ฉะนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2018, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉ. วิริยเจตสิกที่ในมหากิริยาจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราจิตทั้ง ๘ ดวงนี้
เป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเรียกว่าอเสขบุคคล คือ ผู้จบจากการศึกษาแล้ว
ละกิเลสได้เป็นสมุจเฉทแล้ว ไม่มีอกุศลที่จะต้องละอีก รวมทั้งกุศลใด ๆที่จะต้องก่อ
ที่จะรักษาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกแล้ว รวมความว่ามหากิริยาจิตไม่ต้องทำหน้าที่การงาน
ของสัมมัปปธานนั้นเลย ฉะนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ช. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตวิบาก ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตทั้ง ๙ ดวงนี้
ทำหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ โดยเฉพาะ ๓ อย่างนี้เท่านั่น ไม่มีหน้าที่ในชวนกิจเลย
จึงไม่มีหน้าที่ทำการ ละอกุศลไม่ก่ออกุศล ทำกุศล และเจริญกุศลทั้ง ๔ อย่างนี้แด่อย่างใดเลย
เมื่อไม่มีหน้าที่ทำการงานของสัมมัปปธาน จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2018, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ซ. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้
เพราะจิต ๙ ดวงนี้เป็นจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นจิตของพระอรหันต์
ก็มีเหตุผลเดียวกับที่กล่าวไว้ในมหากิร่ยาจิต ๘ ดังนั้น จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ญ. วิริยเจตสิกที่ในผลจิต ๔ หรือพิศดาร ๒๐ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้
เพราะผลจิตไม่ได้เป็นผู้กระทำ ละอกุศล ไม่ก่ออกุศลไม่ทำกุศล และเจริญกุศล
อันเป็นหน้าที่การงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธานแต่อย่างใด ๆ เลย
เป็นเพียงผู้รับผลของมรรคจิตได้กระทำการงานทั้ง ๔ นั้นมาแล้ว เมือไม่ได้ทำหน้าที่
ของสัมมัปปธานเลย จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร