วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2018, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180113_152920.jpg
20180113_152920.jpg [ 120.54 KiB | เปิดดู 3723 ครั้ง ]
(/•ิ_•ิ)...เพราะโลภะเจตสิกเป็นตัวสมุทัยเป็นตัวสร้างโลก
เป็นตัวเกิดอีก สร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน
โลภะเป็นเหตุเมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลใด

*(•ิ_•ิ)? จึงทำให้จิตใจมีกำลังกำเริบขึ้นสามารถทำได้ทั้งสุจริต ทุจริต
เพราะความอยาก และการที่อยากได้วัตถุต่างๆ มาตัวเองก็ไม่เคยรู้สึกตัวว่า
ตนเองได้สะสมโลภะไว้แล้วในจิต เมื่อมีแต่การสะสมไม่มีการทำลาย
จึงเป็นการยากที่จะถ่ายถอนเหตุปัจจัยออกได้โดยง่าย

(•ิ_•ิ\)...ถ้าไม่ได้อาศัยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
จะไม่มีใครทำลายเหตุปัจจัยได้เลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายได้ทำสังขาร
ให้เป็นปัจจัยให้เจริญขึ้นอยู่เสมอ คือทำให้ขันธ์ ๕ เกิดอยู่ตลอดกาล

•:*´¨`*:•. ก็เพราะไม่เข้าใจว่าการเกิดขันธ์ ๕ นั้นนำทุกข์มาให้
และทุกข์นั้นก็มาจากเหตุปัจจัยนี้เอง เหตุปัจจัยจึงเป็นเหตุสร้างโลกที่สำคัญที่สุด
เมื่อเราละโลภะเหตุเสียได้ก็จะพ้นจากชาติคือการเกิด คือพ้นทุกข์ทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2018, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สมุทัยสัจ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า
ได้แก่ โลภะเจตสิก ดวงเดียว

ส่วนตามนัยพระสูตรแสดงว่า สมุทัยสัจ ได้แก่ อวิชชา และ ตัณหา
อันเป็นการแสดงตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท อวิชชา คือโมหะเจตสิก เป็นเหตุแห่งอดีต
ตัณหา คือ โลภเจตสิก เป็นมูลปัจจุบัน

สมุทัยอริยสัจ เรียกสั้นๆว่า สมุทยสัจ หรือถ้าเรียกอย่างยาวเรียกว่า ทุกขสมุทยอนิยสัจจะ
คำว่า สมุทัย แปลว่าต้นเหตุ หรือที่เกิดดังนั้น ทุกขสมทัย จึงแปลว่าต้นเหตุให้เกิดทุกข์
อันว่าต้นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ ตัณหา องค์ธรรมได้แก่โลภะเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น

โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนาซึ่งมักจะไม่ค่อยรู้จักอิ่ม
ไม่จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์
คือเป็นทุกข์ในการแสงงหาเพื่อให้ได้มาตามความปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้
ก็มี ยัมปิจฉัง น ภลติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มี อารักขทุกข์
คือความเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไปก็มี ปิ้ยหิวิปปโยโค
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ทุกข์ ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ
คือความปรารถนาลงเสียได้แล้วทุกข์ที่จะพึงเกิดก็จะไม่มีเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2018, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา ยังจำแนกได้อีกมี ๓ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

กามตัณหา ได้แก่ตวามยินดีพอใจความปรารถนาในอารมณ์ ๖ คือ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ความปรารถเช่นนี้ เป็นโลภเจตสิก
ที่ประประกอบจิตทั้ง ๘ ดวง

ภวตัณหา ได้แก่ ความชอบใจติดใจในกามภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์เเละเทวดา
พึงพอใจในรูปภพ คือการได้เกิดในรูปพรหม ๑
พึงพอใจในอรูปภพ คือการไดเกิดเป็นอรูปพรหม ๑
พึงพอใจในฌานสมาบัติ คือการได้รูปฌาน อรูปฌาน ๑
และความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏิฐิ
โดยยึดถิอว่าไม่สูญหายไปไหน เป็นอย่างใดก็เป็นอย่างนั้น ๑
ความปรารถนาเช่นนี้ได้แก่โลภที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ๔ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2018, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิภวตัณหา ได้แก่ความติดใจในอุทเฉททิฏฐิ คือ
ติดใจว่าสัตว์ทั้งหลายตายไปแล้วก็สูญ กรรมและผลของกรรม
ก็ขาดสูญไปด้วยเหมือนกัน เช่นนี้้ ได้แก่โลภที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ๔ ดวง

ตัณหาถ้าจำแนกว่ามี ๖ ก็ได้แก่ความยินดีชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖
ซึ่งชื่อว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โปฏฐัพพตัณหา
และ ธัมมตัณหา

ถ้าจำแนกโดยพิศดาร ก็ได้ตัณหา ๑๐๘ ดังได้แสดงในอกุศลสังคหะ
ความปรารถนาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ มากหรือน้อยก็ตาม
ถ้าคงามปรารถนานั้น ๆ ย่อมให้เกิดภพเกิดชาติตาอไปอีกเป็นตัณหาทั้งสิ้น
แต่ถ้าไม่ได้มุ่งหวังอย่างนั้น ก็เป็นตัณหา เช่น พระอรหันต์ผู้พ้นแล้ว
จากกิเลสตัณหาทั้งปวง แต่ก็ยังปรารถนาให้สัตว์ที่งหลายเป็นเช่นท่าน
จึงเที่ยวสัญจรไปโปรดสัตว์ ดังนี้ไม่เป็นตัณหา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2018, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา คือ โลภะ นี้เป็นตัวสมุทัยเป็นธรรมที่ควรละควรประหาร
ส่วน โทสะ โมหะ อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุศลจิตเหมือนกันนั้น จัดเป็นสัจจะที่ ๑
คือเป็นทุกขสัจจะ อันเป็นธรรมที่ควรรู้เท่านั้นเอง ดังนั้นหมายความว่า โทสะ นี้
ไม่ต้องละไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่า

โลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้ นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะ
เช่น เกิดชอบใจอยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็น่อยใจ เสียใจ
ก็เกิด โทสะขึ้น หรือติดใจอยากได้สิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นกลับมีอันพลัดพรากจากไป
ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะซึ่งเป็นต้นเหตุแล้ว
โทสะ อันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา

ส่วน โมหะ นั่นย่อมเกิดพร้อมกับโลภะกับโทสะ โดยมี โลภะหรือโทสะเป็นตัวนำ
โมหะเป็นตัวสนับสนุน เมื่อไม่มีโลภะเป็นตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุนก็มีไม่ได้

สำหรับโมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น
เมื่อประหารโลภะได้ ก็ย่อมแจ้งในอริยสัจ ๔ ได้ เมื่อแจ้งในอริยสัจแล้วย่อมหมดความสงสัย
หมดความฟุ้งซ่าน ก็คือ ไม่มีโมหะ

ดังนั้นการประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันว่าไม่มีโทสะและโมหะ หมดโทสะหมดโมหะ
ไปด้วยในตัวไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตา ทำการประหารโทสะกับโมหะเป็นพิเศษ
เป็นการใหญ่เหมือนการประหารโละอย่างใดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2018, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความโลภนี้ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้จำแนกออกเป็น ๑๐ ประการ
๑) ตัณหา คือ ความต้องการ
๒) ราคะ คือ ความกำหนัด
๓) กามะ คือ ความใคร่
๔) นันทิ คือ ความเพลิดเพลิน
๕) อภิชฌา คือ ความเพ่งเล็ง
๖) ชเนตติ คือ ความให้ก่อกิเลส
๗) โปโนพวิกา ตือ ความทำให้เกิดในภพใหม่
๘) อิจฉา คือ ความปรารถนา
๙) อาสา คือ ความหวัง
๑๐) สังโยชน์ คือ ตวามเกี่ยวข้อง ผูกพัน ผูกมัด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2018, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ยกอวิชชาตั้งต้นในปฏิจจสมปบาท
ความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ที่หมุนอยู่ในสังสารวัฏฏ์นี้
เพราะมี อวิชชา เป็นตัวการสำคัญ ช่ื่อว่า"วัฏฏศรีษะ"ซึ่งมีความสำคัญดุจศรีษะของคนเรา
พระพุทธองค์ จึงทรงยกขึ้นตั้งเป็นเหตุต้น

เมื่อพิจารณาในปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว อวิชชา และ ตัณหา ทั้ง ๒ นี้ เป็นเหตุสำคัญ
ในการสร้างสังขารทั้งหลาย มีปุญญาภิสังขาร เป็นต้น ให้สำเร็จลงได้ เพราะอาศัย
ความยินดีพอใจในอารมณ์ คือ ตัณหาเป็นเหตุ และตัณหาที่ยินดีพอใจในอารมณ์
จะเกิดขึ้นได้กต้องอาศัยอวิชชา ปกปิดไว้ไม่ให้เห็นสภาพธรรมตามความจริงได้

ถ้าไม่มีอวิชชาเป็นผู้ปกปิดความจริงไว้ ตัณหา ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อตัณหาเกิดขึ้นไม่ได้
สังขาร คือ การกระทำบุญต่าง ๆ ก็จะไม่สำเร็จลงได้ ฉะนั้น อวิชชาและตัณหา ทั้ง ๒ นี้
มีอวิชชาเป็นตัวนำ ทำให้เกิดตัณหาขึ้นมาได้ อวิชชา จึงเป็นตัวการสำคัญมากกว่า ตัณหา

พระพุทธองค์ จึงยก อวิชชา ขึ้นตั้งต้นเป็นลำดับแรก แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า อวิชชานั้น
เป็นธรรมที่เกิดขึ้นก่อนธรรมอื่นๆ ในการหมุนเวียนของปฏิจจสมุปบาทธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร