วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2014, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ffd83816.png
ffd83816.png [ 173.17 KiB | เปิดดู 4259 ครั้ง ]
เรื่อง อภัพพบุคคล

อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุ มรรค ผล
บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบ
ด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา
เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
บุคคลเหล่านี้เรียกว่าอภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.


หรือเป็นผู้กระทำปัญจานันตริยกรรม ๑ เป็นผู้นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑
ผู้ถือปฏิสนธิมาด้วยอเหตุกะและทวิเหตุกจิต ๑ ผู้ไม่เชื่อพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๑
ความพอใจเพื่อจะทำกุศลของผู้ใดไม่มี ๑ ผู้มีภวังคปัญญาไม่บริบูรณ์ ๑
อุปนิสัยมรรคผลของผู้ใดไม่มี ๑ บุคคลเหล่านั้น แม้ทั้งหมดเป็น
ผู้มีภัพพวิปริตไม่พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามธรรม คือ มรรคผลและนิพพาน
เป็นผู้ที่เกิดมาว่างเปล่าในชาตินี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2014, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




%20_1_~1.JPG
%20_1_~1.JPG [ 30.96 KiB | เปิดดู 6233 ครั้ง ]
เรื่อง อเหตุกจิต

อเหตุกจิต แปลว่า จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ทั้งที่เป็นเหตุบุญและเหตุบาป
เรียกว่า อเหตุกวิบากจิต มีจำนวน ๑๘ ดวง แบ่งเป็น ๓ ชนิด
๑. อกุศลวิบากจิต ๗
๒. อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘
๓. อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง

อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบ
เหตุบาป หรือ อกุสลเหตุ มี โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
เหตุบุญ หรือ กุสลเหตุ มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

อกุสลวิบากจิต ๗ เป็นจิตที่เป็นผลของอกุสลกรรม เป็นผลของฝ่ายชั่ว ฝ่ายบาปอกุสล
ซึ่งได้กระทำสั่งสมมาแล้วแต่อดีต จึงต้องมาได้รับผลเป็นอกุสลวิบากจิต อันเป็นผลไม่ดี มี ๗ ดวง

อเหตุกุสลวิบากจิต ๘ เป็นจิตที่เป็นผลของกุสลกรรม เป็นผลของฝ่ายดี ซึ่งได้กระทำสั่งสมมาแล้ว
แต่อดีต จึงต้องมาได้รับผลเป็นกุสลวิบากจิต อันเป็นผลฝ่ายดีดี มี ๘ ดวง

อเหตุกกิริยาจิต ๓ จิตที่เป็นกิริยา ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล มี ๓ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2014, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




25099-6-flare-lens-picture.png
25099-6-flare-lens-picture.png [ 228.21 KiB | เปิดดู 4259 ครั้ง ]
เรื่อง อนันตรปัจจัย

อนันตรปัจจัย แปลว่า จิตและเจตสิก ดับลง เป็นปัจจัย
ให้จิตและเจตสิกดวงใหม่เกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างคั่น หมายความว่า จิตและเจตสิก
ที่เกิดร่วมกันดับลง ก็เป็นปัจจัย จิตและเจตสิกดวงใหม่สืบต่อกันไปเรื่อยๆโดยไม่ขาดสาย
โดยไม่มีจิตและเจตสิกใดๆมาเกิดคั่นเลย (ยกเว้นจุติจิตของพระอรหันต์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2014, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




177aa9ce.png
177aa9ce.png [ 279.58 KiB | เปิดดู 4259 ครั้ง ]
เรื่อง อัญญมัญญปัจจัย

อัญญมัญญปัจจัย แปลว่า สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น
เช่น โลภะเจตสิก ก็ต้องอาศัยจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเกิดขึ้น

อุปมาเหมือน หนึ่งโต๊ะ ๓ ขา หรือขาหยั่งซึ่งอาศัยไม้ ๓ อัน
ค้ำจุนอยู่ ซึ่งโต๊ะ ๓ ขาก็ดี หรือไม้ขาหยั่งก็ดี
ถ้าขาดไปขาใดขาหนึ่งแล้วโต๊ะและขาหย่างนั้นไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้
การที่โต๊ะและไม้ขาหยั่งนั้นตั้งอยู่ได้ ก็ต้องพร้อมเพรียงด้วยขาทั้ง ๓
ค้ำจุนซึ่งกันและกันอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2014, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




672007c3e.jpg
672007c3e.jpg [ 61.03 KiB | เปิดดู 1194 ครั้ง ]
เรื่อง อธิบดี

อธิบดี แปลว่า ความเป็นใหญ่
หรือธรรมที่มีอำนาจยิ่งกว่าธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตน

อธิบดี เป็นธรรมที่เป็นเจ้า ที่มีอำนาจยิ่ง ธรรมที่เป็นใหญ่ที่มีอำนาจยิ่ง ในการปกครอง
เมื่อในขณะที่เกิดขึ้นในคราวหนึ่งๆ ย่อมเกิดได้เพียงอธิบดีเดียว เช่น ขณะที่ฉันทะเป็นอธิบดี
คือมีความพอใจอันแรงกล้าเกิดขึ้นแล้ว วิริยะ จิต ปัญญา ก็ต้องคล้อยตามฉันทะไปในอารมณ์นั้นๆด้วย
ความเป็นใหญ่ที่เป็นอธิบดีนั้น ในคราวหนึ่งๆ อธิบดีจะเกิดร่วมกันหลายๆ อธิบดีไม่ได้

เหมือนว่าประเทศหนึ่งมีพระราชาเพียงพระองค์เดียว จะเปลี่ยนพระราชาได้ก็ต่อเมื่อ
พระราชาสละราชบัลลังค์ หรือสวรรคต ราชบุตรองค์ที่ ๑ จะมาเป็นอธิบดีแทน ถ้าราชบุตร
องค์ที่ ๑ ไม่รับก็ต้องเป็นองค์ที่ ๒ มาแทน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2014, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (21).png
unnamed (21).png [ 9.52 KiB | เปิดดู 4259 ครั้ง ]
เรื่อง อินทรีย์

อินทรีย์ แปลว่า เป็นผู้ปกครอง
หมายความว่า สามารถทำให้สภาวธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนนั้น
ต้องเป็นไปตามอำนาจของตน หรือเป็นธรรมที่ย่อมกระทำให้ตนเป็นอิสระยิ่งขึ้น

ความเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองนั้นมี ๒ อย่างคือ

๑. ความเป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง โดยความเป็นอินทรีย์อย่างหนึ่ง
๒. ความเป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง โดยความเป็นอธิบดีอย่างหนึ่ง

ธรรมที่เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง โดยความเป็นอินทรีย์นั้น
ย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆกันหลายๆ อินทรีย์ได้โดยไม่ขัดกัน เพราะธรรมที่เป็นอินทรีย์เหล่านี้
เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนๆเท่านั้น เช่น จักขุทรีย์ ก็จะเป็นใหญ่เฉพาะในการเห็น
โสตินทรีย์ ก็จะเป็นใหญ่เฉพาะการได้ยิน เป็นต้น ฉะนั้นจักขุนทรีย์ก็จะไม่ไปก้าวก่าย
ในการได้ยิน โสตินทรีย์ก็จะไม่ไปก้าวก่ายในการเห็น เหล่านี้เป็นต้น

ฉะนั้นจะดูเหมือนว่าในคราวหนึ่งๆ จะได้เห็น จะได้ยิน จะได้กลิ่น รู้รส ไปพร้อมกันเป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2014, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




desert-png-transparent-photo.png
desert-png-transparent-photo.png [ 531.81 KiB | เปิดดู 1194 ครั้ง ]
ลุงหมาน หยุดไปเฉยเลย...

๒. ความเป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง โดยความเป็นอธิบดีอย่างหนึ่ง... ??

อ่านอยู่ครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2014, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




b2c47339c39c1005c16a5561ff182a87.png
b2c47339c39c1005c16a5561ff182a87.png [ 187.35 KiB | เปิดดู 1195 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน หยุดไปเฉยเลย...

๒. ความเป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง โดยความเป็นอธิบดีอย่างหนึ่ง... ??

อ่านอยู่ครับ ^ ^


ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน

ความเป็นอธิบดี ที่ไม่ได้อธิบายไว้เพราะว่าได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว
จึงไม่อยากจะอธิบายซ้ำอีก กรุณาอ่านข้างบนโดยความเป็นอธิบดีครับ ??

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2014, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_1280.png
tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_1280.png [ 396.39 KiB | เปิดดู 1210 ครั้ง ]
หายไปจริงๆ โพสต์ไปถึงหน้า ๑๗ อ้าว..เหลือแค่หน้า ๑๔
มีผู้เข้ามาอ่านจำได้ว่า ๙.๔๐๐ กว่า ตอนนี้ลดลง เหลือ ๗.๕๖๓ คน
เอาใหม่.....เริ่มต้นนับกันใหม่ รอดตายเหลือมาแค่นี้ก็บุญแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2014, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




rock-climbing-155134_1280.png
rock-climbing-155134_1280.png [ 67.21 KiB | เปิดดู 1194 ครั้ง ]
เหลือเท่าไหร่ ก็ยังเป็นสิ่งดีๆ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2014, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




small-pra-in.gif
small-pra-in.gif [ 9.69 KiB | เปิดดู 1210 ครั้ง ]
อักโกธะ

อักโกธะ แปลว่า ความไม่โกรธ หมายถึงความเป็นผู้มีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตาธรรม
ควบคุมอารมณ์ ระงับยับยั้งใจได้

ลักษณะนิสัยของผู้มีอักโกธะ คือเป็นคนใจเย็น อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
เป็นคนหนักแน่น ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่โกรธง่ายไม่เอาแต่อารมณ์
ไม่ปรารถนาก่อเวรก่อภัยกับใครๆ เป็นคนมีเหตุผล ไม่ขุ่นเคืองใจในเหตุที่ไม่ควรขุ่นเคือง
แม้มีเหตุที่ควรจะขุ่นเคือง ก็สามารถระงับยับยั้งใจไว้มิให้ขุ่นเคืองได้ด้วยโยนิโสมนสิการ

อักโกธะ เป็นธรรมข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรม(ดูเรื่องทศพิธราชธรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2015, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ไมยราพ+copy.png
ไมยราพ+copy.png [ 311.08 KiB | เปิดดู 1210 ครั้ง ]
อัตตสัมมาปณิธิ

อตฺตสมฺมาปณิธิ แปลว่า การตั้งตนไว้ชอบ หรือ การประกอบตนไว้ดี
คุณข้อนี้สำคัญที่จะพัฒนาชีวิตไปสู่ความเจริญก้าวหน้า เพราะเหตุว่า บุคคลเมื่อเกิดมา
จำต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับภูมิเดิม ภูมิรู้และภูมิฐานของตน เพื่อจะได้หลีกพ้นอุปสรรค
ข้อขัดข้องทั้งผอง มาประคองชีวิตให้ดำเนินไปได้สะดวกง่ายดายเหมือนคนพายเรือลำน้อยๆ
ข้ามฟาก หากจำต้องประคองตัวประคองเรือ คอยคาดคัดจัดให้เรือแล่นผ่านร่องน้ำ
ไปนำให้ถึงจุดหมายโดยสะดวกไม่ติดขัดฉะนั้น

การตั้งตนไว้ชอบประกอบตนไว้ดีในที่นี้ หาได้หมายถึงการตั้งหลักป้กฐานภายนอก
เช่น การก่อร่างสร้างตนให้เป็นหลักเป็นแหล่งมั่นคง มีครอบครัวเป็นเนื้อเป็นตัวเป็นล่ำเป็นสัน
มีบ้านเรือนเรือกสวนไร่นาเป็นของตนเป็นต้นเท่านั้นก็หาไม่ หากแต่หมายถึงการสร้างตัวภายใน
คือสร้างในตัวของเราเอง เมื่อสร้างตัวได้ก็เสริมตัวได้กล่าวคือ เสริมฐานให้กว้าง เสริมยอดให้สูง
เพราะเมื่อตั้งตัวภายในได้แล้ว การตั้งตัวภายนอกก็จะพลอยมีตามมาด้วย กายกับจิต
รวมกันเป็นตัวตน บุคคลจึงมีการแยกตัวตนออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนกาย ส่วนวาจา และส่วนใจ
การตั้งตนไว้ชอบก็คือการตั้งกายชอบ ตั้งวาจาชอบ ตั้งใจชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2017, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




uV-BRpbUASuR4lyyhMvclA.png
uV-BRpbUASuR4lyyhMvclA.png [ 36.59 KiB | เปิดดู 1210 ครั้ง ]
เรื่องอโทสะ

อโทสะ คือ เมตตาแท้ เป็นความปรารถนาดีต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริงโดยไม่ยึดถือว่าผู้ที่เราแผ่ความปรารถนาดีรักใคร่นั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเรา เช่น เป็นบิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง เพื่อน ผู้ร่วมงาน ฯลฯ เมื่อไม่มีการยึดถือ แม้เมื่อบุคคลเหล่านั้นจะห่างไกลไปจากเรา เราก็ไม่รู้สึกเดือดร้อน คงปรารถนาให้เขาอยู่ดีมีสุข ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2018, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1234.gif
1234.gif [ 31.62 KiB | เปิดดู 1210 ครั้ง ]
อธิคม

การบรรลุ, การเข้าถึง, ปฏิเวธ,การลุผลปฏิบัติ เช่น บรรลุมรรคผล

อธิคมธรรม

ธรรมขั้นบรรลุผลแห่งการปฏิบัติ, อุตตริมนุสธรรม เช่น ฌาน อภิญญา มรรค ผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2018, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E2.png
%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E2.png [ 130.46 KiB | เปิดดู 1210 ครั้ง ]
อตัมมยตา
ภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งนั้น ความไม่เกี่ยวข้องกับมัน ความเป็นอิสระ
ไม่ติดข้อง ไม่ค้างคาใจกับสิ่งใดๆ ไม่มีอะไรยึดถือผูกพันที่จะได้ จะมี
จะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ ความปลอดพ้นจากตัณหา(รวมทั้งทิฏฐิ
มานะที่เนื่องกันอยู่)ภวะไร้ตัณหา "อตัมมยตา"

อเตกิจฉา
อเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้, เยียวยาไม่ได้
หมายถึงอาบัติมีโทษหนักถึงที่สุด ต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ อาบัติปาราชิก;
คู่กับ สเตกิจฉา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร