วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1656812492900.jpg
1656812492900.jpg [ 94.35 KiB | เปิดดู 1633 ครั้ง ]
อนุปาทินนกสังขาร
เป็นสังขารที่กรรมไม่ยึดตรอง ที่เรียกกันว่า สังขารที่ไม่มีใจตรอง
เช่น ต้นไม้ ภูเขา โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

อนุปาทินนรูป, อนุปาทินนกรูป
คือ รูป ๑๘ รูป ที่เป็นอุปาทินนกรูป ได้แก่
ปสาทรูป ๕, ภาวรูป ๒,หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, อวินิพโภครูป ๘
(มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธะรูป ๑, รสรูป ๑,โอชารูป ๑)
และ ปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งเป็นรูปที่คั่นในแต่ละกลุ่ม
รวมเป็น ๑๘ รูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




peacock-png-15.png
peacock-png-15.png [ 377.61 KiB | เปิดดู 5458 ครั้ง ]
อนุปาทิเสสนิพพาน
นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ
สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;

เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน


อนุปาทิเสสบุคคล
บุคคลที่ไม่มีเชื่อกิเลสเหลือ, ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง
ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์

เทียบ สอุปสทิเสสนิพพาน


( สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1658144942667.jpg
1658144942667.jpg [ 127.79 KiB | เปิดดู 1633 ครั้ง ]
อนุพุทธะ
ผู้ตรัสรู้ตาม คือตรัสรู้ได้ด้วยสดับเล่าเรียนมาและปฏิบัติตามที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย

อนุมาน
คาดคะเน, ความคาดหมาย,

อนุมานสูตร
สูตรที่ ๑๕ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิต
ของพระโมคคัลลานะกล่าวสอนพระภิกษุท้งหลาย ว่าด้วยธรรมอันทำคนใให้เป็นผู้ว่ายาก
หรือการว่าง่าย การแนะนำตักเตือนตนเอง และการพิจารณาตรวจสอบตนเองของภิกษุ

อนุโมทนา
ควายินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ

อนุมัติ
เห็นตาม, ยินยอม, เห็นตามระเบียบที่กำหนดไว้

อนุโยค
ความพยายาม, ความเพียร, ความประกอบเนืองๆ,

อนุรักขนาปธาน
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม และบำเพ็ญให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2018, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1656366304305.jpg
1656366304305.jpg [ 150.65 KiB | เปิดดู 1633 ครั้ง ]
อนุรักษ์
รักษาและเสริมทวี, รักษาสิ่งที่มีขึ้นแล้ว และทำสิ่งที่มีขึ้นแล้วให้งอกงาม
เพิ่มทวียิ่งึ้นไปจนไพบูลย์, ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รักษาให้คงเดิม

อนุศาสน์
อนุศาสน์ หมายถึง คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์
หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่ พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ
คล้ายเป็นบทปฐมนิเทศ ซึ่งมีข้อบังคับไว้ว่าจะต้องบอกอนุศาสน์
แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ จะไม่บอกไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่พระบวชใหม่
ต้องรู้เป็นเบื้องต้นทั้งนี้เพื่อมิให้ทำผิดพลาดด้วยไม่รู้มาก่อน

อนุศาสน์ มีเนื้อความกล่าวถึง นิสสัย (สิ่งที่พระภิกษุทำได้) ๔ อย่างคือ
ฝฝเที่ยวบิณฑบาต ๑ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
๑ และอกรณียกิจ (สิ่งที่พระไม่ควรทำ) ๔ อย่างคือ เสพเมถุน ๑
ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑ พูดอวดอุตริมนุสสธรรม ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2018, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1657347350508.jpg
1657347350508.jpg [ 77.97 KiB | เปิดดู 1633 ครั้ง ]
อนุศาสนี
คำสั่งสอน, คำแนะนำพร่ำสอน,

อนุศาสนีปาฏิหารืยะ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ อนุศาสนี,
คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์
(ข้อ ๓ ใน ปาฏิหาริย์ ๓)

ปาฏิหาริย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์, เรื่องที่น่าอัศจรรย์,
การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ มี ๓ คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์
ใน ๓ อย่างนี้ ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ

อนุสัย
กิเลสที่แฝงตัวนอนเยื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ
๑.กามราคานุสัย ความกำหนัดในกาม
๒. ปฏิฆานุสัย ความหงุดหงิด
๓. ทิฏฐานุสัย ความเห็นผิด
๔. วิจิกิจฉานุสัย ความลังเลสงสัย
๕. มานานุสัย ความถือตัว
๖. ภวราคานุสัย ความกำหนัดในภพ
๗. อวิชชานุสัย ความไม่รู้ความเป็นจริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




99885869-cliff-stone-isolated-on-white-background-.jpg
99885869-cliff-stone-isolated-on-white-background-.jpg [ 85.67 KiB | เปิดดู 1633 ครั้ง ]
อเนญชาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว
ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน)

อเนสนา
อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ,
เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น
หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม
ทำวิญญัติ คือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ
ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์
ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก
เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า เป็นต้น

อเนกนัย
หลายนัย, นับนัยมิใช่น้อย,

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




01_Etc007-004_Art-1211 Di.png
01_Etc007-004_Art-1211 Di.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อปายโกศล
โกศล ๓ (ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ)
๑. อายโกศล (ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ )
๒. อปายโกศล (ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม)
๓. อุปายโกศล (ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ)

อปโลกน์
บอกเล่า, การบอกเล่า, การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบพร้อมกัน
หรือขอความเห็นร่วมกันในกิจการบางอย่างของสาวนรวม,

อปัณณกปฏิปทา
ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิดมี ๓ คือ
๑. อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์
๒. โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณการบริโภค
๓. ชาคริยานุโยโค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




01_Etc008-006_Art-1239 Di.png
01_Etc008-006_Art-1239 Di.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
01_Etc005-004_Art-1158 Di.png
01_Etc005-004_Art-1158 Di.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อพยาบาท
ความไม่คิดร้าย, ไม่พยาบาทปองร้าเขา, มีเมตตา

อพยาบาทวิตก
ความตรึกในทางไม่พยาบาท, การคิดแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น แรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข

อพัทธสีมา
แดนทั่ไม่ผูก หมายถึงเขตชุมนุมสงฆ์ที่ไม่ได้กำหนดขึ้นเอง แต่ถือเอา
ตามเขตที่เขากำหนดไว้ตามกำหนดของบ้านเมือง หรือมีบัญญัติอย่างอื่น
เป็นเครื่องกำหนด แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. คามสีมา หรือ นิคมสีมา
๒. สัตตัพภันตรสีมา
๓. อุทกุกเขป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




01_Etc021-021_Art-1627 Di.png
01_Etc021-021_Art-1627 Di.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อภัพ
ไม่ควร, ไม่สามารถ, ไม่อาจเป็นไปได้, เป็นไปไม่ได้,(บาลี: อภพฺ; ไทยเพี้ยนเป็นอาภัพ)

ดูอาภัพ (อาภัพ [พับ] ว. ปราศจากโชค เคราะห์ร้าย วาสนาน้อย ตกอับ. (ป. อภพฺพ ว่า ไม่สมควร).
เด็กที่เกิดมาอย่างบริสุทธิ์ แต่ถูกทำนายว่าโตขึ้นจะอาภัพ พ่อแม่พึ่งไม่ได้
ถ้าพ่อแม่เชื่อก็อาจมีอคติ เลี้ยงดูด้วยความหวาดระแวง ในที่สุดก็เลยอาภัพไปจริงๆ,
ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย, ตกอับ

อภัพบุคคล
บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม เช่นคนที่ไม่อาจบรรลุคุณธรรมได้
คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้การอุปสมบทได้

อภิชฌา
โลภอยากได้ของเขา, ความคิดเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น,(ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบท ๑๐)

อภิชฌาวิสมโลภ
ละโมบไม่สม่ำเสมอ, ความโลภอย่างแรงกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร(ข้อ ๑ ในอุปกิเลส ๑๐)

อภิญญา
ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะจงตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูงมี ๖ อย่างคือ
๑. อิทธิวิธิแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๒. ทิพพโสต หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
(๕ ข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2018, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




01_Etc003-021_Art-1574 Di (1).png
01_Etc003-021_Art-1574 Di (1).png [ 2.67 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อภิญญาเทสิตธรรม
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเป็นคุณธรรม ที่สิ้นของการภาวนาแบบละเอียดแล้ว
ดังนั้นจะเห็นว่า ในโพธิปักขิยธรรม จึงมี หัวข้อธรรม สนับสนุน เป็นหมวดเดียวกัน ประกอบ ด้วย

สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘

อภิณหปัจจเวกขณ์
อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
อภิณหปัจจเวกขณ์ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ
เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆวัน คือ
๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

อภิฐาน
อภิฐาน ๖ กรรมที่เด่นยิ่งกว่ากรรมอื่นๆ, ฐานะอันยิ่งยวด, ฐานอันหนัก, ความผิดพลาดสถานหนัก
อภิฐาน ๕ ข้อแรก ตรงกับ อนันตริยกรรม ๕ คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท และ สังฆเภท
เพิ่มข้อ ๖ คือ
๖. อัญญสัตถุทเทส ถือศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือผิด
* บางแห่งเรียก อัญญสัตถารุทเทส

อภิฐานนี้ ในบาลีที่มาเดิม เรียกว่า อภัพพฐาน (ฐานะที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่อาจจะกระทำ คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2018, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




01_21_Etc001-021_Art-1097 Di (1).png
01_21_Etc001-021_Art-1097 Di (1).png [ 2.69 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อภิธรรม
ธรรมอันยิ่ง คือมากกว่าธรรมอย่างปกติ และยิ่งกว่าพิเศษ
หลักและคำอธิบายธรรมที่เป็นเนื้อหาสาระแท้ๆ ล้วนๆ ซึ่งจัดเรียง
อย่างเป็นระเบียบและเป็นลำดับจนจบความบริบูรณ์
โดยไม่กล่าวถึงอ้างอิง และไม่ขึ้นต่อบุคคล ชุมชน และเหตุการณ์
อันแสดงโดยเว้น บัญญัติโวหาร
มุ่งตรงต่อสภาวธรรม ที่ต่อมานิยมเรียกเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

เมื่อพูดว่า "อภิธรรม" บางที่ก็หมายถึงพระอภิธรรมปิฎก
บางที่ก็หมายถึงคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกนั้น
ตามที่ได้อธิบายและเล่าเรียนกันสืบมา เฉพาะอย่างยิ่ง ตามที่ประมวลแสดงไว้
ในคัมภีรฺอภิธัมมัตถสังคหะ บางทีเพื่อให้ชัดว่าหมายถึง
พระอภิธรรมปิฎก บางทีก็เรียกว่าอภิธรรมปิฎก, อภิธัมมัตถสังคหะ, อภิวินัย,

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2018, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




01_Etc025-006_Art-781.png
01_Etc025-006_Art-781.png [ 2.7 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อภิธรรมปิฎก
อภิธรรมปิฎก ชื่อที่สาม ในพระไตรปิฎก คำสอนของพระพุทธเจ้า
ส่วนที่แสดงพระอภิธรรม ซึ่งได้รวบรวมรักษาไว้ในหมวดที่สาม
อันเป็นหมวดสุดท้ายแห่งพีะไตรปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์ต่างๆ ๗ คัมภีร์
(สัตตัปปกรณะสดับปกรณ์) คือคัมภีร์ สังคณี(หรือ ธัมมสังคณี)
วิภังค์ ธาตุคถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฎฐาน

มีกล่าวไว้ว่า พระอภิธรรมเป็นพระเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
โปรดพระพุทธมารดาตลอดพรรษา ณ ดาวดึงสเทวโลกในปรที่ ๗
แห่งพุทธกิจ; ดูในอภิธรรม, ไตรปิฎก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2018, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




objectPic69.png
objectPic69.png [ 2.71 MiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
อภิธัมมัตถวิภาวินี
ชื่อคัมภีร์ อธิบายความในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
พระสุมังคละผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารีบุตร ซึ่งเป็นปราชน์
ในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๒๙)
รจนาขึ้นในทวีปลังกาทวีป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2018, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1-2-swimming-png.png
1-2-swimming-png.png [ 85.03 KiB | เปิดดู 5339 ครั้ง ]
อภิธัมมัตถสังคหะ
เป็นคัมภีร์ประมวลความในพระอภิธรรมปิฎก สรุปเนื้อความสาระ
ลงในหลักใหญ่ที่เรียกกันว่า ปรมัตถธรรม ๔ พระอนุรุทธาจารย์
แห่งมูลโสมวิหารในลังกาทวีป รจนา แต่ไม่ปรากฏชัดเจน
นักแราชญ์ สันนิษฐานกันต่างๆ บางท่านว่าในยุคเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับ
พระพุทธโฆสาขารย์ แต่ทั่วไปยอมรับกันว่าแต่งขึ้นไม่ก่อน พศ. ๑๒๕๐
และน่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง พศ. ๑๕๐๐-๑๖๕๐
(ดู...ในปรมัตถธรรม. พุทธโฆสาจารย์)

อภินิหาร
อำนาจแห่งบารมี. อำนาจบุญที่สั่งสมไว้.

อภิเนษกรมณ์
การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่ง หมายถึงการออกบวช. ผนวช

อภิบาล
เลี้ยงดู, ดูแล, บำรุงรักษา, ปกป้องรักษา, คุ้มครอง, ปกครอง,

อภิรมย์
รื่นเริง, ยินดียิ่ง, พักผ่ออน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2018, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




mother-holds-baby-sm-2.png
mother-holds-baby-sm-2.png [ 361.11 KiB | เปิดดู 1630 ครั้ง ]
อภิลักขิตกาล, อภิลักขิตสมัย, อภิวาทน์,
การกราบไหว้

อภิวินัย
วินัยอีนยิ่ง, ในพระไตรปิฎกคำว่า อภิวินัย มักมาคู่กับคำว่า อภิธรรม

อภิเษก
การรดน้ำ,การแต่งตั้งโดยการกระทำพิธีรดน้ำ, การได้บรรลุ,

อภิสมาจาร
ความประพฤติดีงามที่ปราณีตยิ่งขึ้นไป, ขนมธรรมเนียมเพื่อความประพฤติที่ดีงาม
และเพื่อความงดงามแห่งสงฆ์

อภิสมาจาริกวัตร
วัตรเกี่ยวด้วยความประพฤติอันดี, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร