วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 355 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมัยนี้เค้าไม่ให้บวช 7 วันแล้วนะ อย่างน้อยต้อง 15 วัน แถมต้องเรียนหนังสือด้วย พระอาจารย์บอกว่าเป็นกฏที่พึ่งออกมาใหม่ เพราะสมัยนี้ คนที่มาบวชระยะสั้นๆ พอสึกออกไปก็บอกว่าไม่ค่อยได้อะไร คนเลยไม่ค่อยนับถือพุทธศาสนากัน

https://pantip.com/topic/37439216


แล้วต้องศึกษาพระธรรมวินัยตามตารางนี้

https://f.ptcdn.info/485/056/000/p57d7f ... EPGF-o.jpg

น่าจะเป็นปฏิรูปศาสนา ซึ่งเป็นคำฮิตกันในปัจจุบัน เช่น ต้องปฏิรูปๆ ปฏิรูปนั่นปฏิรูปนี่ ถ้าวงการศาสนายังหลับไม่ตื่น คือว่า ไม่ทำอะไรสักอย่างจะถูกเขานั่นปฏิรูปให้เสียเอง :b1: :b32: ทีนี้ละดูไม่จืด

https://scontent.fbkk5-6.fna.fbcdn.net/ ... e=5B0021BD

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บวช การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป+วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป, บวชพระ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท, บวชเณร คือ บวชเป็นสามเณร เรียกว่า บรรพชา

บรรพชา การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)

บรรพชิต ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบันให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาทหรือฝ่ายมหายาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)


ต่อหนังสือค่ำ เรียนหนังสือโดยวิธีที่อาจารย์บอกปากเปล่าให้โดยตรงเป็นรายตัว ซึ่งเน้นการจำเป็นฐาน อันสืบมาแต่ยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าที่ละคำหรือทีละวรรคที่ละตอน ศิษย์กว่าตามว่าซ้ำๆ จนจำได้ แล้วอาจารย์อธิบายให้เข้าใจ หรืออาจารย์กำหนดให้นำไปท่อง แล้วมาว่าให้อาจารย์ฟัง เมื่อศิษย์จำได้และเข้าใจแม่นยำแล้ว อาจารย์ก็สอนหรือให้รับส่วนที่กำหนดใหม่ไปท่องเพิ่มต่อไปทุกๆวัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความสามารถของศิษย์ นี่เรียกว่า ต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่า ต่อหนังสือค่ำ

ไตรลิงค์ สามเพศ หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้งสามเพศในทางไวยากรณ์ กล่าวคือ

ปุงลิงค์ เพศชาย

อิตถีลิงค์ เพศหญิง

นปุงสกลิงค์ มิใช่เพศชาย และหญิง,

คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺพุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

ตรัสรู้ รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔
คือ
๑. ทุกข์ (ทุกฺขํ อริยสจฺจํ)
๒. สมุทัย (ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ)
๓. นิโรธ (ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ)
๔. มรรค (ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ)

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน, บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งดีงาม

ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร; ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาส แปลว่า “เทียม” “ปลอม” “ไม่แท้” เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า “สัทธรรมเทียม” หรือ “ธรรมปลอม”

ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร, อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2018, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สันสกฤต ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน


บาลี 1. "ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์" ภาษาทีใช้ทรงจำ และจารึกรักษาพุทธพจน์ แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่า ได้แก่ ภาษามคธ 2. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก, ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า "บาลี" ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน
คือ
ถ้าหมายถึงบาลี ในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือศัพท์บาลี คำบาลี หรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษ มีสัทธรรม ๓
คือ
๑. ปริยัติสัทธรรม - สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒. ปฏิบัติสัทธรรม - สัทธรรมคือสิ่งที่พึงปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา
๓. ปฏิเวธสัทธรรม - สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน

สัทธรรม ๗ คือ

๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2018, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแห่นาคแบ้บแบบ :b1: :b1: เลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะออกบวช :b32:

https://www.facebook.com/youstorystory/ ... 615862939/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 มี.ค. 2018, 11:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.springnews.co.th/wp-content/ ... 1072_n.jpg


“ชาวดอย” อ.อมก๋อย ช่วยกันสร้างวัด

ชาวเขาในหมู่บ้านยองแหละ จังหวัดเชียงใหม่ ช่วยกันขุดดินสร้างวัดในหมู่บ้าน หลังปวารณาตนเป็นชาวพุทธ พร้อมระดมเงินสร้างศาลาและหลังคาวัด
วันนี้( 11 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงทุกเพศทุกวัย กว่า 50 คน ในหมู่บ้านยองแหละ ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ช่วยกันสร้างวัดภายในหมู่บ้าน เพื่อเป็นศาสนสถานใช้เป็นสถานที่ทำบุญ พระดวงดี ตันติสิริภิขุ พระสงฆ์วัดหนองกระทิง เปิดเผยว่า เมื่อปีที่ผ่านมาทีมงานธรรมะห่มดอย โครงการพระธรรมจาริก ได้นำพระภิกษุ สามเณร เดินธุดงค์เพื่อเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและได้เดินผ่านหมู่บ้านดังกล่าว จึงได้เผยแพร่พระธรรมคำสอนให้ชาวบ้าน จนกระทั่งได้จัดพิธีนำชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงโพล่งบ้านยองแหละ เข้ามานับถือศาสนาพุทธ เดิมชาวบ้านที่นี้นับถือผี ไม่เคยเห็นพระสงฆ์มาก่อน

แต่เมื่อมีพระเข้ามาเดินธุดงค์ ชาวบ้านก็เกิดความศรัทธา พร้อมปวารณาตนเป็นชาวพุทธโดยชาวบ้าน อยากมีวัดในหมู่บ้านเพื่อทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา จึงช่วยกันหาสถานที่สร้างวัดบนยอดดอยใกล้หมู่บ้าน และรวบรวมเงินสร้างศาลาและหลังคา ซึ่งกำลังของชาวบ้านก็ทำได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

http://www.springnews.co.th/wp-content/ ... 24x576.jpg

รูปภาพ


วิถีชุมชนชาวพุทธในอดีต ชาวบ้านก็เริ่มสร้างวัดวาอารามกันมาอย่างนี้แหละ บริจาคที่ดินให้สร้างวัดทางวัดก็แบ่งที่ดินสร้างโรงเรียน โรงเรียนจึงมีคำว่าวัดนำหน้า โรงเรียนวัดนั้นวัดนี้ กาลเวลาผ่านไปๆไวเหมือนโกหกสังคมเจริญขึ้นผู้คนมากขึ้น มีใครไม่รู้บางคน เอาชื่อวัดออกจากโรงเรียน คิกๆๆ เนรคุณดีจริงๆ

อนึ่ง ปัจจุบันก็มีนักเผยแผ่ศาสนาอื่นๆขึ้นดอยหาศาสนิกชนของเขาเช่นกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องภาวนาในบทเรียนนั้น ภาคปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หนึ่ง ขั้นแรกควรทำความเข้าใจความหมายให้ชัด สอง เมื่อลงมือทำต้องมีผู้รู้แนะนำ ถ้าไม่มีผู้รู้เข้าใจแนะนำ ไม่ควรทำ

ถ้าได้ผู้รู้แต่วิธีการ พองยุบๆๆๆๆๆ พุทโธๆๆๆๆๆ ฯลฯ แค่นี้ แนะนำ มันจะออกแนวๆนี้

https://www.youtube.com/watch?v=ZwH3bCTlzbM

แม้แต่นี่ก็เถอะ

https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_826123

https://www.youtube.com/watch?v=thuSgMwRhvE

คือคุมตัวเอง คุมจิต คุมความรู้สึกนึกคิดไม่ได้ ดังนั้น เบื้องต้นต้องปฏิบัติคือทำให้ถูกก่อน นั่นก็คือมีผู้รู้เข้าใจเรื่องนี้แนะนำควบคุม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายภาวนา กัมมัฏฐานเป็นต้น มันถึงกันหมด


ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา 1. การฝึกอบรม หรือการเจริญพัฒนา มี ๒ อย่าง
คือ
๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ
๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง

ถ้าจัดเข้าในไตรสิกขา คือ (ศีล สมาธิ และปัญญา)
สมถะ = สมาธิ
วิปัสสนา = ปัญญา

ดังนั้น ภาวนาก็คือการฝึกปรือจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ, เกิดปัญญา ตามหลักกัมมัฏฐาน ๒ คือ สมถกัมมัฏฐาน , วิปัสสนากัมมัฏฐาน

กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจและเจริญปัญญา (นิยมเขียน กรรมฐาน) กัมมัฏฐาน ๒ (โดยหลักทั่วไป)
คือ
๑. สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการทำจิตใจให้สงบ, วิธีฝึกอบรมเจริญจิตใจ
๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการให้เกิดความรู้แจ้ง, วิธีฝึกอบรมเจริญปัญญา

มรรคมีองค์ ๘ ก็จัดรวมเข้าใน ศีล สมาธิ และปัญญา

วิธีปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ก็รวมเข้าในกัมมัฏฐาน ๒ นั่น

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔" (ที.ม.10/273/245 ฯลฯ)


การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่องสัมมาสมาธิอันเป็นองค์มรรคข้อที่ ๘ ก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้


วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้านำหลักข้างบนเทียบกับวิธีทำวิธีปฏิบัติของสำนักนี้แล้ว ก็เห็นว่าเจ้าสำนักนี้จับศัพท์นั่นโยงมาที่ศัพท์นี่ นั่นๆนี่ๆแล้วก็บรรลุธรรมนั่นทำนี่ไปเลย :b1:

อ้างคำพูด:
เจ้าสำนักอธิบายความหมาย "เตโชวิปัสสนา" ดังนี้

เตโชวิปัสสนากรรมฐาน มาจากคำว่า เตโช+วิปัสสนากรรมฐาน คือหลักการปฏิบัติวิปัสสนาด้วยวิธีการจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส โดยการเพ่งที่ฝ่ามืออย่างถูกต้อง อันเป็นวิธีทางลัดตัดตรงสู่นิพพาน ตามหลักสติปัฏฐานสี่

- พึงมีความเพียรเผากิเลส ซึ่งหลักปฏิบัติไม่เคยมีใครได้รู้วิธีการมาก่อน

พระอาจารย์สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ได้สื่อจิตมาสอนอาจารย์อัจฉราวดี ในปี 2550 จนได้เข้าถึงมรรคผล ชั้นสูงอย่างรวดเร็ว


viewtopic.php?f=1&t=55262

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2018, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นวโกวาท คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่, คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรีเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

นวกภูมิ ขั้น ชั้น หรือระดับพระนวกะ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่ายังเป็นผู้ใหม่ คือ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ยังต้องถือนิสัย เป็นต้น

ปัพพัชชา การถือบวช, บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2018, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าของห้างดัง ละกิเลส หันหลังให้ทางโลก บวชเป็นพระภิกษุ..จำวัดในถิ่นทุรกันดาร!!

https://www.facebook.com/akalatep/photo ... =3&theater

ชาวพุทธบ้านเราเข้าใจว่า ทร้พย์สินเงินทองช้างม้าวัวควาย เป็นกิเลส ไม่ใช่ ทรัพย์สินเงินทองเรือกสวนไร่นา ไม่ใช่กิเลส ความยินดีต่างหากเป็นกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2018, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลาบวช! ขอป๋าอโหสิ พร้อมคลานไปกราบ วอนโจทก์ขอบวชก่อนค่อยมาคิดบัญชี

https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_903076

พระพุทธศาสนา :b8: เป็นที่พึงทางจิตวิญญาณของพุทธศาสนิกชนแหล่งสุดท้าย ไม่ว่าจะบวชด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่นว่า บวชแก้บน บวชล้างซวย บวชฟอกตัว บวชทดแทนพระคุณมารดาบิดา บวชเพราะเหตุนั่นๆนี่ๆ ก็รวมอยู่ที่ว่าต้องการที่พึ่งทางจิตใจ แสดงว่า พุทธธรรม ยังจำเป็นสำหรับผู้มีทุกข์ แม้ยามมีสุขจะหลงลืมไปบ้าง แต่พอประสบทุกข์เข้าแล้วก็ศาสนานี่แหละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2018, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องมีไปทำบุญไหม
“ทำบุญตลอดเลย ทำบุญมาตลอดนะ ตอนไม่มีเรื่องนี้ก็ทำบุญมาตลอด กฐิน ผ้าป่า มีที่ไหนก็ไปหมด พอมีเรื่องก็ทำบุญ ทำหนักขึ้น และเดี๋ยวจะบวชด้วยช่วงเมษายนนี้ แต่ยังเคลียร์คิวไม่ได้เพราะติดงาน ยังไม่ได้ระบุวัดด้วย”

ที่บวชเพราะเจอเรื่องร้ายๆ หรือเปล่า
“อยากบวช รู้สึกเหมือนมีคนมาบอกตลอดเวลาว่าให้ไปบวชเถอะๆ เหมือนมีแม่มาบอก ซึ่งแม่ผมเสียไปแล้ว ส่วนจะบวชให้แม่หรือบวชล้างซวยคือก็บวชให้ทุกคน เจ้ากรรมนายเวร อะไรที่ทำแล้วสบายใจก็ทำ

https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_769576

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2018, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป

ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า

"กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด"

"สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา"

"การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ" ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ,

กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ,)

บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ “ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" ( ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี

ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า

"ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"

คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอ้นมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล

พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับ บาป


บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง, ให้เสื่อมลง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 355 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร