วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 127 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2018, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปัญญาขันธ์ กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว เป็นต้น (ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)


ธรรมขันธ์ กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมิตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์


ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น


ธรรมฐิติ ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา


ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ; สามัญ, ปกติ, พื้นๆ

:b32:
ปัญญาขันธ์มีที่ไหน555
ปัญญาเจตสิกเป็นโสภณเจตสิก
เป็นสังขารขันธ์1ใน50ประเภทนะคะนะ
:b12:
:b32: :b32:



ขันธ์ หมายถึงอะไร ?

:b12:
ขันธ์แปลว่าเกิด-ดับ
โลกแปลว่าสิ่งที่เกิดดับ
อุปาทานขันธ์ยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์เป็นตัวตน
ทุกอย่างคือยึดมั่นสิ่งที่เกิดดับไม่มีตัวตนอยู่จริง
:b39: :b39:



ดูๆแล้วคุณโรสนี่เดาเอาทั้งเพทั้งระยองเกาะเสม็ด

ขันธ์ กอง, พวก, หมวด, หมู่ ลำตัว, หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรม และนามธรรมทั้งหมด ที่แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์


ขันธปัญจก หมวดห้าแห่งขันธ์ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (นิยมเรียก ขันธบัญจก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2018, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
บอกไม่รู้จักฟัง...คนไม่ได้สะสมการฟังมา...
คิดทีละคำไม่เป็นจริงๆ...รู้ความปกติตนไหมคะ...
คนปกติธรรมดาคิดคือจิตคิดนึกได้ทีละ1คำตรงจริง...
พิสูจน์ได้ทันทีเช่นดี-ชั่วคือ2คำเป็นคนละชนิดต่างคำกัน...
คุณเป็นคนก็คิดตรงคำได้ทีละคำทีละครั้งดีตรงดีชั่วตรงชั่ว...
มันจะออกเสียงมาตรงกันไม่ได้ไม่มีใครออกเสียงดีตรงชั่วได้...
เอาสิ...ไม่มีใครออกเสียงตรงกันได้...ปัญญาจึงเกิดเองไม่ได้แน่ๆ...
เพราะที่ออกเสียงตรงคำได้มันยังเลยสติเจตสิกที่เป็นตัวจริงธัมมะ...
พิสูจน์ได้เดี๋ยวนี้เลยค่ะอ่านไม่ออกเสียงคือคิดในใจคือพูดไม่ออกเสียง...
อ่านออกเสียงคือพูดออกเสียงคือคิดออกเสียงทั้ง2แบบคือจิตคิดนึกตามได้...
ตรงคำทีละ1คำตรงจริง...ออกเสียงดูสิคะ...555...ดีพร้อมชั่วไม่ได้แน่นอนเลย...
เพราะฉะนั้น...ไม่ว่าเกิดกี่ชาติก็ขาดฟังพระพุทธพจน์ไม่ได้...ปัญญาแปลว่าเข้าใจค่ะ
และการจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้จึงต้องเป็นผู้คิดตามได้ตรงจริงทีละ1คำ...
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าทางจริยธรรม


ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน * บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน


รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึงความเป็นอนัตตา ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่างๆ หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน
ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่มี * (ดู สํ.ข.๑๗/๔-๕,๓๒-๓๓,๑๙๙-๒๐๗ ฯลฯ ) เมื่อมองเห็นเช่นนี้แล้ว ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวตนได้ ความเป็นอนัตตานี้ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้าใจกระบวนการของขันธ์ ๕ ในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณค่าทางจริยธรรม


ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน * บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน

:b32:
ก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้น่ะยึดแล้วจะไปรู้ตอนไหน
ให้ตาบอดตอนนี้เลยเอาไหมตอบให้ว่าไม่เอา
กำลังมีกามตัณหายังพอใจที่จะเห็นกำลังมีภวตัณหา
ยังอยากเห็นและกำลังมีวิภวตัณหาไม่อยากตาบอดตรงไหมคะ
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง เมื่อมองเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่อย่างสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน ก็จะไม่เกิดความเห็นผิดว่าขาดสูญ ที่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ และความผิดว่าเที่ยง ที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ
เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนและมีอยู่อย่างสัมพันธ์และอาศัยกันเช่นนี้แล้ว ก็จะเข้าใจหลักกรรมโดยถูกต้องว่าเป็นไปได้อย่างไร กระบวนการแห่งความสัมพันธ์และอาศัยกันของสิ่งเหล่านี้ มีคำอธิบายอยู่ในหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีแยกส่วนประกอบออกไปอย่างวิธีขันธ์ ๕ นี้ เป็นการฝึกความคิด หรือสร้างนิสัยที่จะใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ความจริง คือ เมื่อประสบหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ความคิดก็ไม่หยุดตันอึ้ง ยึดถือเฉพาะรูปลักษณะภายนอกเท่านั้น เป็นการสร้างนิสัยชอบสอบสวนสืบค้นหาความจริง และที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะล้วนๆ ของมัน หรือตามแบบสภาววิสัย คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย "ตามที่มันเป็น"
ไม่นำเอาตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยาก หรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่า สกวิสัย
คุณค่าอย่างหลังนี้ นับว่าเป็นการเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการของพุทธธรรมและของหลักขันธ์ ๕ นี้ คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น การไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยการใช้ตัณหา อุปาทาน แต่เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการด้วยปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ในการแสดงพุทธธรรมนั้น ตามปกติท่านไม่แสดงเรื่องขันธ์ ๕ ลำพังโดดๆ เพราะขันธ์ ๕ เป็นแต่สภาวะที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับพิจารณา และ
การพิจารณานั้น ย่อมเป็นไปตามแนวแห่งหลักธรรมอย่างอื่น ที่เป็นประเภทกฎสำหรับนำมาจับหรือกำหนดว่าขันธ์ ๕ มีสภาวะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปอย่างไร เป็นต้น คือ ต้องแสดงโดยสัมพันธ์กับหลักธรรมอย่างอื่น เช่น หลักอนัตตา เป็นต้น จึงจะปรากฏคุณค่าในทางปฏิบัติโดยสมบูรณ์

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ *

พึงสังเกตพุทธพจน์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้จะเข้าไปยึดถือร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ยังปรากฎให้เห็นว่าดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓-๔-๕ ปีบ้าง ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณ นี้ เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน" (สํ.นิ.16/231/114)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสขี้หอมไม่มีกิเลสแน่งานนี้ :b12: แต่ก็ไม่แน่ คือว่าคุณโรสเนี่ย อ่านหนังสือไม่เป็น อ่านออกแต่อ่านไม่เป็น :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณค่าทางจริยธรรม


ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน * บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน

:b32:
ก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้น่ะยึดแล้วจะไปรู้ตอนไหน
ให้ตาบอดตอนนี้เลยเอาไหมตอบให้ว่าไม่เอา
กำลังมีกามตัณหายังพอใจที่จะเห็นกำลังมีภวตัณหา
ยังอยากเห็นและกำลังมีวิภวตัณหาไม่อยากตาบอดตรงไหมคะ
:b12:
:b32: :b32:

เห็นคือจิต
ได้ยินคือจิต
ได้กลิ่นคือจิต
รู้รสคือจิต
รู้สัมผัสคือจิต
รู้ธัมมารมณ์คือจิต
ถ้าไม่รู้จักจิตที่ตนกำลังมี
แล้วจะรู้จักปัจจุบันขณะตอนไหน
จิตกำลังมีตอนยังมีลมหายใจนี้แหละ
ถึงจะคิดตามคำสอนได้แล้วก็เดี๋ยวนี้
ที่เห็นแล้วได้ยินแล้วรู้กลิ่นรสสัมผัสคิด
มีแล้วไม่ได้ทำเพราะมีตามเหตุปัจจัยแล้ว
ต้องไปทำเห็นได้ยินลิ้มรสสัมผัสนึกคิดแยกไปหรือ
มีแล้วแต่ไม่รู้เพราะไม่เคยฟังเพื่อให้คิดถูกตรงตามได้ต่างหาก
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณค่าทางจริยธรรม


ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน * บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน

:b32:
ก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้น่ะยึดแล้วจะไปรู้ตอนไหน
ให้ตาบอดตอนนี้เลยเอาไหมตอบให้ว่าไม่เอา
กำลังมีกามตัณหายังพอใจที่จะเห็นกำลังมีภวตัณหา
ยังอยากเห็นและกำลังมีวิภวตัณหาไม่อยากตาบอดตรงไหมคะ
:b12:
:b32: :b32:

เห็นคือจิต
ได้ยินคือจิต
ได้กลิ่นคือจิต
รู้รสคือจิต
รู้สัมผัสคือจิต
รู้ธัมมารมณ์คือจิต
ถ้าไม่รู้จักจิตที่ตนกำลังมี
แล้วจะรู้จักปัจจุบันขณะตอนไหน
จิตกำลังมีตอนยังมีลมหายใจนี้แหละ
ถึงจะคิดตามคำสอนได้แล้วก็เดี๋ยวนี้
ที่เห็นแล้วได้ยินแล้วรู้กลิ่นรสสัมผัสคิด
มีแล้วไม่ได้ทำเพราะมีตามเหตุปัจจัยแล้ว
ต้องไปทำเห็นได้ยินลิ้มรสสัมผัสนึกคิดแยกไปหรือ
มีแล้วแต่ไม่รู้เพราะไม่เคยฟังเพื่อให้คิดถูกตรงตามได้ต่างหาก
:b32: :b32:



ถ้ายังงั้นก็เอาไม้แทงตา แทงหู แทงจมูก ตัดลิ้น เสียสิงั้น คิกๆๆ ดูสิจิตมันจะทำอะไรยังไงได้ไหม บ้าจิต บอกไม่เชื่อว่ามันอาศัยกันและกัน อิอิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันอาศัยกันและกันอย่างนี้

@ อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้

๑. จักขุ - ตา เป็นแดนรับรู้ รูป - --- รูป เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ - เห็น
๒. โสตะ - หู ,, ---------,, สัททะ - เสียง ,,---------------,, โสตวิญญาณ - ได้ยิน
๓. ฆานะ - จมูก,,-------,, คันธะ - - - กลิ่น ,,--------------,, ฆานวิญญาณ - ได้กลิ่น
๔. ชิวหา - ลิ้น,,--------,, รส - - - - - รส ,,---------------,, ชิวหาวิญญาณ - รู้รส
๕. กาย - กาย ,,-------,, โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย ,,-----,, กายวิญญาณ - รู้สิ่งต้องกาย
๖. มโน - ใจ ,,---------,, ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ ,,------,, มโนวิญญาณ - รู้เรื่องในใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม แม้ว่า วิญญาณ จะต้องอาศัยอายตนะ และอารมณ์ กระทบ กันจึงจะเกิดขึ้นได้ ก็จริง แต่การที่อารมณ์เข้ามาปรากฏแก่อายตนะ ก็มิใช่จะทำให้วิญญาณเกิดขึ้นได้เสมอไป จำต้องมีความใส่ใจ ความกำหนดใจ หรือความใฝ่ใจประกอบอยู่ ด้วย วิญญาณนั้นๆ จึงเกิดขึ้น


ดังตัวอย่างในบางคราว เช่น เวลาหลับสนิท เวลาฟุ้งซ่าน หรือใจลอยไปเสีย เวลาใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ตลอดจนขณะอยู่ในสมาธิ รูปและ เสียงเป็นต้นหลายๆอย่างที่ผ่านเข้ามา อยู่ในวิสัยที่จะเห็น จะได้ยิน แต่หาได้เห็น ได้ยินไม่ หรือ
ตัวอย่างง่ายๆ ขณะเขียนหนังสือใจจดจ่ออยู่ จะไม่รู้สึกส่วนของร่างกาย ที่แตะอยู่กับโต๊ะเก้าอี้ ตลอดจนมือที่แตะกระดาษ และนิ้วที่แตะปากกา หรือดินสอ ในเมื่อมีอายตนะและอารมณ์เข้ามาถึงกันแล้ว แต่วิญญาณไม่เกิด ขึ้น เช่นนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า การรับรู้ได้เกิดขึ้น


การรับรู้จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้งสามอย่าง คือ อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ ภาวะนี้ในภาษาธรรมมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า "ผัสสะ" หรือ "สัมผัส" แปลตามรูปศัพท์ว่า การกระทบ แต่มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบ หรือบรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ
พูดอย่างเข้าใจกันง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้นั่นเอง ผัสสะ หรือ สัมผัส หรือการรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆ ไปตามทางรับรู้ คืออายตนะนั้นๆ ครบจำนวน ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส

ผัสสะ เป็น ขั้นตอนสำคัญ ในกระบวนการรับรู้ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว กระบวนธรรมก็ ดำเนินต่อไป เริ่มแต่ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น ปฏิกิริยาอย่างอื่นของจิตใจ การจำหมาย การนำอารมณ์นั้นไปคิดปรุงแต่ง ตลอดจนการแสดงออกต่างๆ ที่สืบเนื่องไปตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างบางคราว คคห. บน เทียบตัวอย่างนี้

ผมเป็นคนนั่งสมาธิมาตั้งแต่อายุประมาณ 6 ขวบ ก็นั่งมาเรื่อยครับ จนปัจจุบันอายุ 40 ปี ลองศึกษาหลายๆ แนวทาง จนรู้สึกแนวอานาปานสติน่าจะเหมาะกับตัวเรา ก็เลยปฏิบัติแนวนี้มาตลอด
เคยมีอยู่ครั้งนึง ผมนั่งสมาธิไปได้ประมาณ 30 นาที จิตนิ่งจนหูไม่ได้ยินเสียง จมูกไม่ได้กลิ่น
อยู่ดีๆ ก็เห็นตัวเอง ออกมายืนดูเราที่กำลังนั่งสมาธิอยู่ ผมก็มองดู เอ..หรือเราตายแล้ว ก็ยังกลัวๆครับ
แต่ก็ตกใจสุด ตอนดูตัวเองนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ ผิวหนังมันถูกถลกออก จะเห็นเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเลือด แล้วก็โดนถลกออกอีก จนเห็นเป็นโครงกระดูก แล้วค่อยๆ หายไป แล้ว
เหมือนใครเอาน้ำเย็นมากๆ มาสาด แล้วก็ประกอบร่างใหม่กลับมาเป็นตัวเราที่นั่งสมาธิอยู่
แล้วก็โดนถลกออกอีกครับ หนัง เนื้อ กระดูก ภาพมันซ้ำๆแบบนี้ จนนั่งไป 3 ชม. พอดีนาฬิกาปลุกดังขึ้น
ผมเลยลืมตาออกจากสมาธิ ใจนึงก็กลัว แต่ใจนึงก็รู้สึกเบื่อขึ้นมาในกายสังขารนี้
เพื่อนๆ เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มั้ยครับ มันคืออะไรครับ เราควรจะปฏิบัติเช่นไรต่อเพื่อให้เกิดปัญญา ตามแนวทางวิปัสสนากรรมฐานครับ รบกวนขอคำแนะนำ ชี้แนะจากเพื่อน พี่ น้อง ที่ปฏิบัติธรรมด้วยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณค่าทางจริยธรรม


ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน * บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน

:b32:
ก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้น่ะยึดแล้วจะไปรู้ตอนไหน
ให้ตาบอดตอนนี้เลยเอาไหมตอบให้ว่าไม่เอา
กำลังมีกามตัณหายังพอใจที่จะเห็นกำลังมีภวตัณหา
ยังอยากเห็นและกำลังมีวิภวตัณหาไม่อยากตาบอดตรงไหมคะ
:b12:
:b32: :b32:

เห็นคือจิต
ได้ยินคือจิต
ได้กลิ่นคือจิต
รู้รสคือจิต
รู้สัมผัสคือจิต
รู้ธัมมารมณ์คือจิต
ถ้าไม่รู้จักจิตที่ตนกำลังมี
แล้วจะรู้จักปัจจุบันขณะตอนไหน
จิตกำลังมีตอนยังมีลมหายใจนี้แหละ
ถึงจะคิดตามคำสอนได้แล้วก็เดี๋ยวนี้
ที่เห็นแล้วได้ยินแล้วรู้กลิ่นรสสัมผัสคิด
มีแล้วไม่ได้ทำเพราะมีตามเหตุปัจจัยแล้ว
ต้องไปทำเห็นได้ยินลิ้มรสสัมผัสนึกคิดแยกไปหรือ
มีแล้วแต่ไม่รู้เพราะไม่เคยฟังเพื่อให้คิดถูกตรงตามได้ต่างหาก
:b32: :b32:



ถ้ายังงั้นก็เอาไม้แทงตา แทงหู แทงจมูก ตัดลิ้น เสียสิงั้น คิกๆๆ ดูสิจิตมันจะทำอะไรยังไงได้ไหม บ้าจิต บอกไม่เชื่อว่ามันอาศัยกันและกัน อิอิ

cool
คนปกติที่ไหนจะคิดอกุศลทำร้ายร่างกายกัน
:b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 127 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร