วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180927_101408.jpg
20180927_101408.jpg [ 193.25 KiB | เปิดดู 4981 ครั้ง ]
วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณวิสุทธินิเทศ หน้าที่ ๓๖๖ - ๓๗๐
<<

(หน้าที่ 366)

เล่ากันว่า พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล (สมัยโบราณ) เมื่อจะขึ้นเรือ (เดินทางไปในมหาสมุทร) ได้จับเอานกกาที่เรียกว่า ทิสากากะ (คือนกกาผู้รู้ทิศ) ไปด้วย คราวใด เรือถูกลมพายุซัดไปยังประเทศต่างต่างถิ่นฝั่งก็ไม่ปรากฏ คราวนั้น พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็ปล่อยการู้ทิศไปกานั้นก็โดจากไม้สลักเสากระโดงเรือขึ้นสู่อากาศ แล้วบินไปตามทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วทุกทิศถ้ามันเห็นฝั่ง มันก็บินมุ่งหน้าไปหาฝั่งนั้นเลย หากว่า มันไม่เห็นฝั่ง มันก็จะบินกลับมาเกาะอยู่ที่ไม้สลักเสากระโดงเรือนั้นเอง ครั้งแล้วครั้งเล่า สังขารุเปกขาญาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเห็นพระนิพพานอันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็สลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวง แล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว หากว่ายังไม่เห็น (พระนิพพาน) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ดำเนินไปแล้วๆเล่าๆ
สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น เปรียบเหมือนเมล็ดแป้งที่กลิ้งกระทบอยู่ ณ ของกระด้งฝัด (หรือ) เปรียบเหมือนเมล็ดฝ้ายที่เขาหีบออกจากฝ้ายกลิ้งกระทบอยู่ ครั้นกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยประการต่างๆแล้ว ก็สลัดทิ้งความกลัวและความพึงพอใจเสีย มีตนเป็นกลาง (วางเฉย) ในการพิจารณาเลือกเฟ้นสังขาร ตั้งอยู่โดย อนุปัสสนา ๓ ประการ สังขารุเปกขาญาณที่ตั้งอยู่อย่างนี้ ก็มาถึงความเป็น วิโมกขมุข (ประตูแห่งวิโมกข์ คือ พระนิพพาน) ๓ ประการ เป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล ๗ จำพวก

[พระอริยบุคคล ๗ จำพวก]

คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้อีกว่า “(สังขารุเปกขาญาณ....เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล ๗ จำพวก” พระอริยบุคคล ๗ จำพวก ในคำกล่าว (ข้างต้น) นั้น ก่อนอื่นได้แก่ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ คือ


๑. สัทธานุสารี ผู้ดำเนินไปด้วยศรัทธา
๒. สัทธาวิมุต ผู้พ้นพิเศษด้วยศรัทธา
๓. กายสักขี ผู้มีนามกายเป็นสักขีพยาน
๔. อุภโตภาควิมุต ผู้พ้นพิเศษโดยส่วนทั้งสอง
๕. ธัมมานุสารี ผู้ดำเนินไปด้วยธรรม คือ ปัญญา
๖. ทิฏฐิปัตตะ ผู้บรรลุด้วยการเห็น (อริยมรรค)
๗. ปัญญาวิมุต ผู้พ้นพิเศษด้วยปัญญา


สังขารุเปกญาณนี้ เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านั้นด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[ว่าด้วยวิโมกข์ ๓]

ในการถึงความเป็น วิโมกขมุข และความเป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล ๗ นั้น นับว่า วิปัสสนาญาณนี้มาถึงความเป็น วิโมกมุข ๓ อย่าง โดยความเป็นอธิบดี (ความยิ่งใหญ่) ของอินทรีย์ ๓ (สัทธินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑) เพราะดำเนินไปด้วยอนุปัสสนา ภ ประการ เพราะท่านกล่าวว่า อนุปัสสนา ๓ ก็คือ วิโมกมุข ๓ ดังบาลี (แปลความได้) ว่า “อันว่า วิโมกขมุข ๓ นี้แล ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลกกล่าวคือ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งสังขารทั้งปวง โดยขอบเขตและโดยวนรอบ ๑ เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหานิมิตมิได้ (พระนิพพาน) ๑ เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอในสังขารทั้งปวง ๑ เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหาที่ตั้งกิเลสมิได้ ๑ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งธรรมทั้งปวงโดย


(หน้าที่ 367)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 367)



ความเป็นปรปักษ์ ๑ และเพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุอันว่างเปล่า ๑ วิโมกขมุข ๓ นี้ ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลก” ดังนี้

คำว่า “โดยขอบเขตและวนรอบ” ใน (คำแปล) บาลีนั้น หมายความว่า โดยกำหนดขอบเขตอยู่ด้วยความเกิดและความดับและโดยวนรอบ (ด้วยความเกิดและความดับ) เพราะว่า อนิจจานุปัสสนากำหนดขอบเขตว่า “ก่อนแต่เกิดขึ้น สังขารทั้งหลายหามีไม่” แล้วติดตามดูภูมิที่ไปของสังขารทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เสมอ ก็เห็นอยู่เสมอเนืองๆ โดยวนรอบ (เป็นวงกลม) ว่า “หลังจากดับ สังขารทั้งหลายเหล่านั้น หาดำเนินไปที่อื่นไม่ (แต่) อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง” คำว่า “เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอ” หมายความว่า เพื่อให้จิตเกิดสังเวช เพราะว่า ด้วยทุกขานุปัสสนา (การเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์) จิตก็สังเวชในสังขารทั้งหลาย คำว่า ”เพื่อเห็นอยู่เสมอเนือง....โดยความเป็นปรปักษ์” หมายความว่า เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ โดยไม่มีอัตตาอย่างนี้ว่า “ไม่มีฉัน” บททั้ง ๓ นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยอนุปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นแล ในการวิสัชนาปัญหาในลำดับต่อจากนี้ไป ท่านจึงกล่าวไว้ว่า “เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความไม่มีอัตตา สังขารทั้งหลาย ปรากฏโดยความว่างเปล่า” ดังนี้
(ถามว่า) แต่ทว่า วิโมกข์ทั้งหลายซึ่งมีอนุปัสสนาเหล่านี้เป็นมุขนั้น คือ อะไรบ้าง?
(ตอบว่า) ได้แก่ วิโมกข์ ๓ เหล่านี้ คือ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมก ๑ ความจริง ท่านก็กล่าวคำนี้ไว้แล้วว่า “โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ (ความเชื่อ) ก็ได้เฉพาะซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ (ความสงบ) ก็ได้เฉพาะ ซึ่งอัปปณิหิตตวิโมกข์โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความไม่มีอัตตาเป็นผู้มากด้วยความรู้ก็ได้เฉพาะซึ่งสุญญตวิโมกข์” ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 368)



อนึ่ง ในวิโมกข์ ๓ นี้ พึงทราบว่า อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้วดำเนินไป โดยอาการหานิมิตมิได้ คือ อนิมิตตวิโมกข์ เพราะว่า อริยมรรคนั้น ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะบังเกิดขึ้นจากธาตุที่หานิมิตมิได้ และชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย (และ) พึงทราบโดยนัยนี้เช่นกันว่า อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็อารมณ์ แล้วดำเนินไปโดยอาการหากิเลสเป็นที่ตั้งมิได้ คือ อัปปณิหิตวิโมกข์ อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วดำเนินไปโดยอาการว่างเปล่า คือ สุญญตวิโมกข์ แต่วิโมกข์ที่กล่าวไว้ในพระอภิธรรมมีเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า “ในสมัยใด พระภิกษุทำโลกุตตาฌาน เป็นเครื่องออกไป (จากโลก) ถึงความไม่สะสมไว้ ให้เกิดขึ้น เพื่อละเสียซึ่งความเห็นผิดทั้งหลาย เพื่อบรรลุปฐมภูมิ (โสดาปัตติผล) ว่างเว้นแล้วโดยแท้จากกามทั้งหลาย.....เข้าถึงฌานที่ ๑ อันเป็นอัปปณิหิตะอยู่....เข้าถึงฌานที่ ๑ อันเป็นสุญญตะอยู่

ที่กล่าววิโมกข์ในพระอภิธรรมมีเพียง ๒ นั้น ท่านกล่าวหมายถึงการมา (ของมรรค) โดยทางวิปัสสนาโดยตรง เพราะถึงแม้ว่า ท่านได้กล่าวถึงวิปัสสนาญาณไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคแล้วว่า “เป็นสุญญตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่น โดยอธิบายอย่างนี้ว่า “อนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นของเที่ยง ทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นสุข อนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่ง ความยึดมั่นว่ามีอัตตา” ดังนี้ อย่าง ๑ ว่า “เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิต โดยอธิบายอย่างนี้ว่า “อนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นของเที่ยง ทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นสุข อนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่ามีอัตตา” ดังนี้ อย่าง ๑ และว่า ”เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งตัณหาเป็นที่ตั้งมั่น (ปณิธิ) โดยอธิบายอย่างนี้ว่า “อนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเที่ยง ทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเป็นสุข อนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่ามีอัตตา” ดังนี้ อย่าง ๑ แม้อย่างนั้นก็ตาม วิปัสสนาญาณนั้น ก็หาเป็นอนิมิตตะโดยตรงไม่ เพราะยังละนิมิตคือสังขารมิได้ แต่ทว่า เป็นทั้งสุญญตะและอัปปณิหิตะโดยตรง และด้วยการมา (ของมรรค) โดยวิปัสสนาญาณนั้น ท่านจึงยกวิโมกข์ขึ้นไว้ในขณะแห่งอริยมรรค เพราะฉะนั้น พึงทราบเถิดว่า ท่านกล่าวถึงวิโมกข์ไว้ (ในพระอภิธรรม) เพียง ๒ เท่านั้น คือ อัปปณิหิตตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 370)

(๓) ส่วนท่านผู้ใด มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มีปัสสัทธิ (ความสงบ) มากได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ ท่านผู้นั้น ชื่อว่าเป็น กายสักขี ในทุกฐานะ (คือ ในอริยมรรค อริยผลทั้ง ๘)
(๔) แต่ท่านผู้ได้อรูปฌานแล้ว บรรลุ (อริย) ผลสุดยอดแล้วเป็นผู้มีนามว่า อุภโตภาควิมุต
(๕) ส่วนท่านใด มนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มีความรู้มาก ได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ ท่านผู้นั้น เป็น ธัมมานสารี ในขณะโสดาปัตติมรรค
แต่ (๖) และ (๗) เป็น ทิฏฐิปัตตะ ใน ๖ ฐานะ และ เป็นปัญญวิมุต ในผลสุดยอด (อรหัตตผล)
เป็นความจริง ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า “สำหรับท่านผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณมาก ท่านผู้มนสิการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณมาก เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัทธานุสารี” อนึ่ง ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า “สำหรับ ผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์ย่อมมีประมาณมาก เพราะเหตุที่สัทธินทรีย์มีประมาณมาก จึงเป็นอันทำให้เห็นแจ้งแล้วซึ่งโสดาปัตตผล เพราะฉะนั้น จึงเรียกท่านว่า สัทธาวิมุต” ดังนี้เป็นต้น ทั้งยังได้กล่าวไว้อีกว่า “เรียกว่า สัทธาวิมุต เพราะผู้เชื่ออยู่เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เรียกว่า กายสักขี เพราะทำให้เห็นแจ้งแล้วในลำดับแห่งอรูปฌานที่ตนสัมผัสแล้ว เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะบรรลุแล้วในลำดับแห่งการเห็น (อนึ่ง) เรียกว่าสัทธาวิมุต เพราะเชื่ออยู่จึงพ้นพิเศษ เรียกว่า กายสักขี เพราะถูกต้องซึ่งการสัมผัสด้วยฌานก่อน จึงทำให้เห็นแจ้งซึ่งนิโรธ คือพระนิพพานในภายหลัง เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว เห็นแจ้งแล้ว สัมผัสแล้ว ด้วยปัญญา คือญาณกำหนดรู้ว่า “สังขารทั้งหลายเป็นเป็นทุกข์ นิโรธ (คือความดับ) เป็นสุข” ดังนี้ ส่วนในอีก ๔ บทนั้น พึงทราบความหมายของคำอย่างนี้ คือ ท่านผู้ใดดำเนินตามศรัทธา หรือว่าดำเนินไป คือไปด้วยศรัทธา เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า สัทธานุสารี อนึ่ง ท่านผู้ใดดำเนินตามธรรมกล่าว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 371)

คือปัญญา หรือดำเนินตามไปด้วยธรรม (คือปัญญา) เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ธัมมานุสารี เช่นกัน ท่านผู้ใดพ้นพิเศษแล้วโดยส่วนทั้งสอง คือ ด้วยอรูปฌานและด้วยอริยมรรค เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ท่านผู้ใดกำหนดรู้อยู่ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เพราะเหตุนี้ท่านผู้นั้นชื่อว่า ปัญญาวิมุต ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้

ว่าด้วยสังขารุเปกขาญาณ

[สังขารุเปกขาญาณ มี ๓ ชื่อ]

แต่ว่า สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น โดยความหมาย ก็เป็นญาณเดียวกันกับ ๒ ญาณข้างต้น (คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ และปฏิสังขานุปัสสนาญาร) เพราะเหตุนั้น ท่านพระโบราณจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า “สังขารุเปกขาญาณนี้ ญาณเดียวนั่นแลได้ชื่อ ๓ ชื่อ คือ เกิดขึ้นในตอนต้น มีชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ เกิดขึ้นในตอนกลาง มีชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และในตอนท้ายที่บรรลุถึงยอด มีชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ”
ถึงแม้ในพระบาลี (ปฏิสัมภิทามรรค) ท่านก็กล่าวไว้ (ดังคำแปลต่อไปนี้) ว่า “(ถาม) ปัญญา ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ คืออย่างไร ? (ตอบ) คือ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนซึ่งความเกิดขึ้น (ของสังขาร) และในการตั้งเฉยอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณปัญญา ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและการตั้งเฉยอยู่ ซึ่งความเป็นไป.....ซึ่งนิมิต....ฯลฯ....ซึ่งอุปายาส ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ว่า “ความเกิดขึ้น เป็นทุกข์” ฯลฯ ว่า....เป็นสิ่งน่ากลัว....ว่า.....มีอามิส ฯลฯ ว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ฯลฯ ว่า อุปายาสเป็นสังขาร ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ” ดังนี้
ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การพิจารณาทบทวนนั้น ๑ และการตั้งเฉยอยู่ ๑ ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาปฏิสังขาสันติฏฐนา ในพระบาลี (ดังคำแปลข้างต้น) นั้น เมื่อโยคีเบื่อหน่าย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 372)



ด้วยนิพพิทาญาณในตอนต้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะสลัดทิ้งซึ่งความเกิดขึ้น (ของสังขารทั้งหลาย) เป็นต้น ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตา การพิจารณาทบทวนในตอนกลาง เพื่อทำอุบายแห่งการพ้นไป (จากสังขารทั้งหลาย) ชื่อว่า ปฏิสังขา การพ้นไป แล้ววางเฉยอยู่ ในตอนสุดท้าย ชื่อว่า สันติฏฐนา ซึ่งท่านระบุถึงแล้วกล่าวไว้ว่า “ความเกิดขึ้น เป็นสังขาร พระภิกษุวางเฉยซึ่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สังขารุเปกขา” ดังนี้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ญาณนี้จึงเป็นญาณเดียวเท่านั้น อีกประการหนึ่ง พึงทราบแม้โดยพระบาลีนี้ไว้ด้วยว่า ญาณนี้ เป็นญาณเดียวเท่านั้น ที่จริงท่านก็กล่าวไว้แล้วดังนี้ว่า “ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การเห็นเนืองๆ ด้วยการพิจารณาทบทวน ๑ และการวางเฉยในสังขาร ๑ ธรรม (คือญาณ) ทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน”

[วุฏฐานคามินีวิปัสสนา]

แต่เมื่อกุลบุตรนี้บรรลุสังขารุเปกขาญาณด้วยประการฉะนี้แล้ว วิปัสสนาก็ถึงยอด เป็น วุฏฐานคามินี คำว่า “สิขาปปัตตาวิปัสสนา (วิปัสสนาถึงยอด)” ก็ดี “วุฏฐานคามินี” ก็ดี นี้เป็นชื่อของญาณ ๓ ญาณ มีสังขารุเปกขาญาณเป็นต้นนั่นเอง เพราะว่า สังขารุเปกขา นั้นชื่อว่าถึงยอด (สิขาปปัตตา) เพราะลุถึงยอด คือถึงความสูงสุด (และ) ชื่อว่า วุฏฐานคามินี เพราะไปสู่วุฏฐานะ ท่านเรียก (อริย) มรรคว่า วุฏฐานะ เพราะออกไปจากวัตถุ (สังขาร) ที่กำหนดโดยความเป็นนิมิตภายนอก และเพราะออกจากความเป็นไป (ของสังขาร) ที่กำหนด โดยความเป็นนิมิตภายนอก และเพราะออกจากความเป็นไป (ของสังขาร) ภายใน ชื่อว่า วัฏฐานคามินี เพราะไปสู่วุฏฐานะนั้น อธิบายว่า เพราะสืบต่ออยู่กับมรรค

[มาติกาแห่งอภินิเวสและวุฏฐานะ]

เพื่อต้องการเข้าใจแจ่มแจ้งซึ่งอภินิเวส (การกำหนด) และวุฏฐานะ (การออกไป) ในคำที่กล่าวไว้โดยสังเขป (ข้างต้น) นั้น มีมาติกา ดัง (คำแปล) ต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 373)

[โยคี ที่ ๑]

๑. โยคีกำหนดภายในแล้วออกจากภายใน ๑ กำหนดภายในแล้วออกจากภายนอก ๑ กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายนอก๑ กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายใน ๑

[โยคี ที่ ๒]

๒. โยคีกำหนดในรูป แล้ออกจากรูป ๑ กำหนดในรูป แล้วออกจากอรูป ๑ กำหนดในอรูปแล้วออกจากอรูป ๑ กำหนดในอรูปแล้วออกจากรูป ๑ ออกจากขันธ์ทั้ง ๕ พร้อมกัน ๑

[โยคี ที่ ๓]

๓. โยคีกำหนดโดยความไม่เที่ยง ออกจากความไม่เที่ยง ๑ กำหนดโดยความไม่เที่ยง ออกจากความเป็นทุกข์ จากความไม่มีอัตตา ๑ กำหนดโดยความเป็นทุกข์ จากความไม่เที่ยง จากความไม่มีอัตตา ๑ กำหนดโดยความไม่มีอัตตา ออกจากความไม่มีอัตตา จากความไม่เที่ยง จากความเป็นทุกข์ ๑
[อธิบายความ]

(ถาม) กำหนดอย่างไร ? ออกอย่างไร ?
(ตอบ) ๑. โยคีบางท่าน (ท่านที่ ๑) ในพระศาสนานี้ กำหนดอยู่ในสังขารภายในทั้งหลาย แต่เริ่มแรกมาเลย ครั้นกำหนดแล้ว ก็เห็นสังขารภายในเหล่านั้น แต่เพราะเหตุที่ วุฏฐานะ (การออกไป) คือมรรค หามีโดยเพียงแต่การเห็นสังขารภายในล้วนๆ เท่านั้นไม่ ต้องเห็นแม้สังขารภายนอกด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เขาจึงเห็นขันธ์ทั้งหลายของผู้อื่นบ้าง เห็นสังขารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะบ้าง ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอัตตา โยคีท่านนั้นกำหนดรู้ภายในตามกาลเวลา กำหนดรู้ภายนอกตามกาลเวลา ในเวลากำหนดรู้ภายในวิปัสสนาของโยคีท่านนั้น ผู้กำหนดรู้อยู่อย่างนี้ ก็สืบต่ออยู่กับมรรค โยคีท่านนี้ชื่อว่า กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายใน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 374)

แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีท่านนั้นสืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้ภายนอก โยคีท่านนี้ ชื่อว่า กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายนอก
แม้ในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกไปจากภายนอก และในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกมาจากภายใน ก็มีนัยดังนี้
๒. โยคีอีกท่านหนึ่ง (ท่านที่ ๒) กำหนดอยู่ในรูป แต่แรกเริ่มมาเลย ครั้นกำหนดแล้วก็เห็นภูตรูปและอุปาทายรวมกองเดียวกัน แต่เพระเหตุที่วุฏฐานะ (การออกไป) หามีโดยเพียงแต่การเห็นรูปล้วนๆเท่านั้นไม่ แม้อรูปก็ต้องเห็นด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโยคีจึงทำรูปให้เป็นอารมณ์ แล้วเห็นอรูป คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ที่เกิดขึ้นว่า “นี้ เป็นอรูป” โยคีท่านนั้น กำหนดรู้รูปตามกาลเวลา กำหนดรู้อรูปตามกาลเวลา เมื่อโยคีนั้นกำหนดรู้อย่างนี้ วิปัสสนาในการกำหนดรู้รูป ก็สืบต่อกับมรรค โยคีผู้นี้ชื่อว่า กำหนดอยู่ ในรูปแล้วออกไปจากรูป
แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีนั้น สืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้อรูป โยคีผู้นี้ชื่อว่า กำหนดอยู่ในรูปแล้วออกไปจากอรูป
แม้ในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้วออกไปจากอรูปก็ดี และในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้ว ออกไปจากรูปก็ดี ก็มีนัยดังนี้ แต่ในการกำหนดอย่างนี้ว่า “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ- สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ แล้วออกไปโดยอาการอย่างนั้นเช่นกัน โยคี(ท่านนี้) ชื่อว่า ออกไปจากขันธ์ทั้ง ๕ พร้อมกัน
๓. โยคีท่านหนึ่ง (ท่านที่ ๓) กำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง มาแต่แรกเริ่มเลย แต่เพราะเหตุที่วุฏฐานะ หามีโดยเพียงแต่กำหนดรู้โดยความไม่เที่ยงเท่านั้นไม่ต้องกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น โยคีจึงกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง เมื่อโยคีนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ วุฏฐานะก็มีขึ้นในเวลากำหนดรู้โดยความไม่เที่ยง โยคีท่านนี้ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากความไม่เที่ยง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 375)

แต่ถ้าวุฏฐานะมีแก่โยคีนั้นในเวลากำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โยคีท่านนี้ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากทุกข์ จากอนัตตา
แม้ในการกำหนดโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา แล้วออกไปจากลักษณะที่เหลือนอกนี้ ก็มีนัยดังนี้
[กล่าวถึงพระอริยบุคคล ๗ จำพวก อีกครั้ง]

อนึ่ง ในการกำหนดและการออกไปนี้ โยคีผู้ใดกำหนดในความไม่เที่ยงก้ดี โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์ก็ดี โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นอนัตตาก็ดี และในเวลาออกไป มีการออกไปจากความไม่เที่ยง ชน (โยคี) แม้ทั้ง ๓ ท่านเป็นผู้มีอธิ โมกข์ (ความเชื่อ) มาก จึงได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์ เป็น สัทธานุสารี ในขณะ (บรรลุ) ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) เป็น สัทธาวิมุต ใน ๗ ฐานะ แต่ถ้ามีการออกไปจากทุกข์ชนแม้ทั้ง ๓ ท่าน เป็นผู้มีปัสสัทธิ (ความสงบ) มาก จึงได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็น กายสักขี ในทุกฐานะ แต่ทว่า ในชน ๓ ท่านนี้ ท่านผู้ใดมีอรูปฌานเป็นบาท ท่านผู้นั้นเป็น อุภโตภาควิมุต ในผลสุดยอดขณะนั้น (ถา) ชนทั้ง ๓ ท่านเหล่านั้น มีการออกไปจากอนัตตา ชนแม้ทั้ง ๓ ท่านเป็นผู้มีความรู้มาก จึงได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ เป็น ธัมมานุสารี ในขณะปฐมมรรคเป็น ทิฏฐิปัตตะ ใน ๖ ฐานะ เป็น ปัญญาวิมุต ในผลสุดยอด ด้วยประการฉะนี้

[อุปมา ๑๒ ข้อ]

บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งของ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา นี้ พร้อมทั้งญาณก่อนๆ (มีภยตุปัฏฐานญาณเป็นต้น) และญาณหลังๆ (มีโคตรภูญาณเป็นต้น) ควรทราบอุปมา ๑๒ ข้อไว้ อุปมา ๑- ข้อเหล่านั้นมีหัวข้อเรื่อง ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 376)



แปลความว่า
ค้างคาว งูเห่า เรือน วัว นางยักษ์ ทารก ความหิว
ระหาย ความหนาว ร้อน ความมืด และยาพิษ.

และควรนำอุปมาเหล่านี้มาตั้งไว้ในญาณใดญาณหนึ่ง ตั้งต้นแต่ภยตุปัฏฐานญาณขึ้นมา แต่เมื่อนำเอาอุปมาทั้งหลายนั้นมาในฐานะ (แห่งวุฏฐานคามินีวิปัสสนา) นี้ ญาณทั้งปวง (รวมทั้งกิจทั้งปวงของญาณ) ตั้งแต่ภยตุปัฏฐานญาณจนถึงผลญาณ ก็จะปรากฏชัด เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ควรนำ (อุปมาทั้งหลายนั้น) มากล่าว ณ ที่นี้ด้วยเหมือนกัน

[๑. อุปมาด้วยค้างคาว]

เล่ากันว่า นกค้างคาวตัวหนึ่ง คิดว่า จักได้ดอกไม้หรือผลไม้บนต้นไม้นี้ จึงแอบซ่อนตัวอยู่บนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง ๕ กิ่ง แล้วเกาะกิ่งหนึ่งอยู่ไม่พบดอกไม้ หรือผลไม้ ไรๆ ที่ควรถือเอาได้บนกิ่งนั้น และไปเกาะกิ่งที่ ๒ กิ่งที่ ๓ กิ่งที่ ๔ แม้กิ่งที่ ๕ ก็ไม่พบ (ดอกหรือผลไรๆ) เหมือนอย่างกิ่งที่ (ที่) ๑ นกค้างคาวตัวนั้น จึงคิดว่า ต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ๆ อะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ก็ไม่มีบนต้นไม่นี้ จึงทอดอาลัยบนต้นไม้นั้น แล้วไต่ขึ้นไปบนกิ่งตรง ชูหัวออกไปทางระหว่างค่าคบ แหงนดูขึ้นไปข้างบน แล้วโผขึ้นไปในอากาศ ไปแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น
ในอุปมานั้น พึงเห็นโยคาวจร เป็นเหมือนค้างคาว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นเหมือนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง ๕ กิ่ง การที่โยคี กำหนดอยู่ในขันธ์ ๕ ก็เหมือนการที่ค้างคาวแอบอยู่บนต้นมะซางนั้น การที่โยคีกำหนดรู้รูปขันธ์แล้วไม่เห็นอะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ในรูปขันธ์นั้น จึงกำหนดรู้ขันธ์อื่นที่เหลือ ก็เหมือนการที่ค้างคาวเกาะกิ่งไม้กิ่งหนึ่งๆ ไม่พบอะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ จึงไปเกาะกิ่งไม้อื่นที่เหลือนอกนั้น ญาณ ๓ มีมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น ของโยคีผู้เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยการเห็นลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นคิดว่าต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ๆ แล้วทอดอาลัยในต้นไม้ อนุโลมญาณของโยคี ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นไต่ขึ้นไปเบื้องบนของกิ่งไม้กิ่งตรง โคตรภูญาณ ก็เหมือนการชูหัวออกไปแหงนดูข้างบน (ของค้างคาว) มรรคญาณ เปรียบเหมือนการโผขึ้นไปในอากาศ (ของค้างคาว) ผลญาณ เปรียบเหมือนการแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒. อุปมาด้วยงูเห่า]

อุปมาด้วยงูเห่า ได้กล่าวมาแล้วใน (ตอนว่าด้วย) ปฏิสังขาญาณ แต่ในการเปรียบเทียบด้วยอุปมาในที่นี้ มีความแปลกออกไปดังนี้ คือ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการปล่อยงูไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ของบุรุษผู้ปล่อยงูแล้วมองดูทางที่ตนมาอยู่ ผลญาณเปรียบเหมือนการไปยืนอยู่ในที่ปลอดภัย

[๓. อุปมาด้วยเรือน]

เรื่องมีว่า เมื่อเจ้าของเรือนบริโภคอาหารในตอนเย็นแล้ว ก็ขึ้นนอนหลับไป เรือนถูกไฟไหม้ เขาตื่นขึ้นเห็นไฟ ก็กลัว คิดว่า พึงเป็นการดีแน่ ถ้าเราไม่ถูกไฟไหม้ รีบออกไปเสียก่อน” มองหา ครั้นเห็นทางก็ออกไป รีบไปยืนอยู่ ณ ที่ปลอดภัย
ในอุปมานั้น การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นฉัน เป็นของฉัน เปรียบเหมือนการที่เจ้าของเรือน บริโภคอาหาร (ในตอนเย็น) แล้วขึ้นที่นอน นอนหลับไป การ (ที่โยคี) ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติแล้วเห็นพระไตรลักษณ์ (เกิด) ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนกาล (แห่งเจ้าของเรือน) ตื่นขึ้นเห็นไฟแล้วกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองหาทางออก อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการเห็นทาง โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการออกไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบไป ผลญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ ณ ที่ปลอดภัย

[๔. อุปมาด้วยวัว]
เล่ากันว่า ขณะที่ชาวนาผู้หนึ่งนอนหลับอยู่ในเวลากลางคืน วัวทั้งหลายก็แหกคอกหนีไป ครั้นเวลาเช้ามืด ชาวนาผู้นั้นไปตรวจดูในคอกนั้น รู้ว่าวัวเหล่านั้นหนีไปแล้ว จึงตามรอยไปก็พบวัวทั้งหลายของพระราชา มั่นหมายว่าวัวเหล่านั้นเป็นของตน จึงต้อนกลับมา ครั้นเวลารุ่งแจ้งก็จำได้ว่า วัวเหล่านี้มิใช่ของตน เป็นวัวของพระราชา จึงกล่าวว่า ตราบใดที่พวกราชบุรุษจะยังไม่จับเราไว้ ว่าผู้นี้เป็นโจร แล้วทำให้ถึงความพินาศ ตราบนั้นเราจักหนีไปเสียก่อน จึงทิ้งฝูงวัวไว้แล้วจึงรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย
ในอุปมานั้น การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ทั้งหลาย ว่าเป็นฉัน เปรียบเหมือนการ (ที่ชาวนา) จับต้อนวัวทั้งหลายของพระราชามาด้วยสำคัญว่าเป็นวัวของตน การหมายรู้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 378)



ขันธ์ทั้งหลายว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” โดยพระไตรลักษณ์ ของโยคี เปรียบเหมือนการ (ที่ชาวนา) จำได้ว่าเป็นวัวของพระราชาเวลารุ่งแจ้ง ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา (ที่ชาวนานั้น) กลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะทิ้ง (วัวทั้งหลายของพระราชา) ไป โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการทิ้ง (วัวทั้งหลาย) มรรคญาณเปรียบเหมือนการหนีไป ผลญาณเปรียบเหมือนการหนีไปอยู่ ณ ที่ปลอดภัย


[๕. อุปมาด้วยยักษิณี]

เขาว่า บุรุษผู้หนึ่งอยู่ร่วมสังวาสกับนางยักษิณี ครั้นในราตรีกาล นางยักษ์นั้นรู้ว่าบุรุษนี้หลับแล้ว จึงไปยังป่าช้าผีดิบแล้วเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ บุรุษผู้นั้นสงสัยว่า นางนี่ไปไหนจึงติดตามไป ครั้นเห็นนางยักษ์กำลังเคี้ยวเนื้อมนุษย์อยู่ ก็รู้ว่า นางมิใช่มนุษย์ จึงคิดว่าจักหนีไปเสียก่อนที่มันจะกินเรา หวาดกลัวรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย
ในอุปมานั้น การ (ที่โยคี) ยึดถือขันธ์ทั้งหลายว่า เป็นฉัน เป็นของฉัน เปรียบเหมือนการ (ที่บุรุษนั้น) อยู่ร่วมกับนางยักษิณี การเห็นพระไตรลักษณ์แล้วรู้ถึงความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เปรียบเหมือนการ (ที่บุรุษนั้น) เห็น (นางยักษ์) เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ในป่าช้า แล้วรู้ว่า นางนี้เป็นยักษิณี ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา (ที่บุรุษนั้น) หวาดกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะหนีไป โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการละทิ้งป่าช้าไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบหนีไป ผลญาณเปรียบเหมือนการอยู่ในประเทศไม่มีภัย
[๖. อุปมาด้วยทารก]

เล่ากันว่า สตรีผู้หนึ่งเป็นคนหลงรักบุตร เธอนั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน ได้ยินเสียงร้องของทารก ณ ระหว่างถนน คิดว่ามีผู้ใดผู้หนึ่งรังแกบุตรของเราเป็นแน่ จึงรีบลงมาอุ้มเอาบุตรของคนอื่นไป ด้วยสำคัญว่าบุตรของตน ครั้นเธอจำได้ว่า ทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่นก็ตกใจกลัว มองดูข้างโน้นข้างนี้ แล้วคิดว่าใครๆ อย่ามากล่าวหาเรา ว่านางนี้เป็นคนขโมยเด็กเลย จึงวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล แล้วรีบขึ้นไปนั่งอยู่บนปราสาทตามเดิม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(หน้าที่ 379)

ในอุปมานั้น การยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นฉัน เป็นของฉัน เป็นเหมือนการ (ที่สตรีนั้น) อุ้มเอาบุตรของคนอื่นไว้ ด้วยสำคัญว่าเป็นบุตรของตน การหมายรู้ด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ว่า มิใช่ฉัน มิใช่ของฉัน เปรียบเหมือนการ (ที่สตรีนั้น) จำได้ว่า ทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่น ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนการตกใจกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองดูข้างโน้นข้างนี้ อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล โคตรภูญาณเปรียบเหมือนเวลาที่ (สตรีนั้น) วาง (ทารกนั้น) แล้วยังยืนอยู่ระหว่างถนน มรรคญาณเปรียบเหมือนการ (กลับ) ขึ้นไปบนปราสาท ผลญาณเปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งอยู่
[อุปมาด้วยความหิว, ระหาย, หนาว, ร้อน, ความมืดและยาพิษ]
ส่วนอุปมา ๖ ข้อเหล่านี้ คือ ความหิว ระหาย หนาว ร้อน ความมืด และยาพิษ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ผู้ตั้งอยู่ใน วุฏฐานคามินีวิปัสสนา แล้ว เป็นผู้น้อมไป โน้มไปและโอนเอียงไป โดยผันหน้ามุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรมแล้ว

[๗. อุปมาด้วยความหิว]

ความจริง บุรุษผู้ถูกความหิวครอบงำ หิวโหยมาก ปรารถนา โภชนะมีรสดี ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกความหิวคือสังสารวัฏกระทบแล้ว จึงปรารถนาโภชนะ คือกายคตาสติซึ่งมีรสเป็นอมตะ

[๘. อุปมาด้วยความระหาย]

และบุรุษผู้มีความระหาย คอและปากแห้งผาก ปรารถนาน้ำปานะที่มีเครื่องปรุงหลายอย่าง ฉันใด โยคาวจรเท่านั้น ก็ฉันนั้นเช่นกัน ถูความระหายคือสังสารวัฏกระทบแล้ว จึงปรารถนาน้ำปานะ คือพระอริยมรรคมีองค์ ๘

[๙. อุปมาด้วยความหนาว]

อนึ่ง บุรุษผู้สัมผัสกับความหนาว ย่อมปรารภความอบอุ่น ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ถูกกระทบด้วยความหนาวคือยางตัณหาในสังสารวัฏ จึงปรารถนาไฟ คือ (พระอริย) มรรค เป็นเครื่องเผากิเลส


(หน้าที่ 380)

[๑๐. อุปมาด้วยความร้อน]

และบุรุษผู้ถูกความร้อนกระทบ ย่อมปรารถนาความเย็น ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกความร้อนคือไฟ ๑๑ กอง ในสังสารวัฏแผดเผาแล้ว จึงปรารถนา พระนิพพานเป็นที่เข้าไปสงบไฟ ๑๑ กอง

[๑๑. อุปมาด้วยความมืด]

อนึ่ง บุรุษผู้อยู่ท่ามกลางความมืด ย่อมปรารถนาความสว่าง ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกปกคลุมหุ้มห่ออยู่แล้วด้วยความมืดคืออวิชชา จึงปรารถนาอยู่ซึ่งการทำมรรคให้เกิดอันมีแสงสว่างเกิดด้วยญาณ

[๑๒. อุปมาด้วยยาพิษ]

และบุรุษผู้ถูกยาพิษย่อมปรารถนาเภสัชถอนพิษ ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกยาพิษคือกิเลสแล้ว จึงปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถอมตะ เป็นเครื่องกำจัดพิษคือกิเลส
เพราะเหตุนั้น จึงได้กล่าวไว้ (ข้างต้นว่า) “เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ ไม่แพร่กระจายไป ในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๗ ในสัตตาวาส ๙ วางเฉยอยู่ หรือถอยกลับมาตั้งมั่นอยู่ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัว ซึ่งขอบใบงอนิดๆ” คำทั้งปวงพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นแล
ก็แล ด้วยประการดังกล่าวนี้ โยคาวจรท่านนี้ เป็นผู้มีชื่อเรียกว่า ผู้ประพฤติโดยความเป็นผู้หลีกลี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระบุถึงไว้ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร