วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2018, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181110_134852.jpg
20181110_134852.jpg [ 129.49 KiB | เปิดดู 2620 ครั้ง ]
ผู้ที่ไม่สามารถจะทำฌาน มรรค ผลได้ เพราะเป็นผู้ที่กระทำเครื่องกั้นความดี คืออกุศลกรรม
๑. กัมมาวรณ์ ได้แก่ อนันตริยกรรม
๒. กิเลสาวรณ์ ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ
๓. วิปากสวรณ์ ได้แก่ เป็นพวก อเหตุกปฏิสนธิ และทวิเหตุกปฏิสนํธิ
๔. ไม่มีสัทธา ในคุณพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
๕. แม้จะไม่มีเครื่องกั้นความดีทั้ง ๓ แต่ไม่มีฉันทะ ไม่อบรมฯ์ปัญญา ไม่มีสัทธาที่จะก้าวลงสู้ปฏิบัติชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2018, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181111_075236.jpg
20181111_075236.jpg [ 31.11 KiB | เปิดดู 2605 ครั้ง ]
นันทยักษ์มิได้สร้างกรรมต่อพระพุทธองค์
แต่กระทำเบียดเบียนต่อพระสารีบุตร ผู้บำเพ็ญธรรม ..

ครั้งนั้น นันทยักษ์ ผู้มีฤทธิ์เดชเหาะมาบนอากาศพร้อมด้วยเหมตายักษ์
เมื่อเหาะมาถึงตรงที่พระสารีบุตรกำลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่ในอากาศธาตุ
ในบริเวณนั้นว่างเปล่าจากอากาศธาตุนันทยักษ์เหาะผ่านไม่ได้

จึงเกิดบันดาลโทสะ ด้วยในชาติปางก่อนนั้น
นันทยักษ์ได้อาฆาตพยาบาทพระเถระเอาไว้
จึงมีจิตคิดกระทำปาณาติบาตต่อพระสารีบุตรด้วยความพาล

ในสันดาน เหมตายักษ์ได้ทัดทานให้ละเว้นเสีย
แต่นันทยักษ์ก็มิฟัง เหาะขึ้นบนอากาศ ใช้กระบองซึ่งเป็นอาวุธ
แห่งตนฟาดลงบนศีรษะของพระสารีบุตร ความแรงแห่งการฟาดนั้น

สามารถพังภูเขาในคราวเดียวกันได้ถึง ๑๐๐ ลูก
แต่พระสารีบุตรซึ่งอยู่ในนิโรธสมาบัตินั้น หาได้รับอันตราย
จากการประทุษร้ายของนันทยักษ์ไม่ เมื่อเห็นพระสารีบุตรมิได้รับอันตราย

นันทยักษ์ก็บังเกิดเพลิงเร่าร้อนในอารมณ์
กล่าวออกมาด้วยเสียงอันดังว่า “ เราร้อน ... เราร้อน ”
แล้วตกลงมาจากอากาศ แผ่นดินเปิดช่องดึงร่างของนันทยักษ์
หายลับตาไปในบัดดลดิ่งลงสู่มหานรกอเวจี อันลึกสุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2018, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181112_171057.jpg
20181112_171057.jpg [ 35.86 KiB | เปิดดู 2585 ครั้ง ]
นันทมานพ

นันทมานพมิได้ทำร้ายพระพุทธองค์ แต่ทำร้ายสาวกของพระพุทธองค์ คือพระ “ อุบลวรรณาเถรี ” พระอุบลวรรณาเถรีเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ออกบวชตั้งแต่อายุ ๑๖ มีความสวยงามมาก ซึ่งก่อนนั้นที่เป็นฆราวาสความสวยเป็นที่เลื่องลือ และเป็นที่หมายปองของพระราชาคหบดี และมหาเศรษฐีมากมาย แต่พระอุบลวรรณาเถรีเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาส เห็นเป็นทุกข์จึงออกบวชเป็นภิกษุณี เมื่อบวชได้ไม่นานก็บรรลุอรหัตผลมีฤทธิ์มาก แต่ว่านันทมาณพมีความต้องการด้านกามราคะฝังแน่นในใจมาช้านาน

วันหนึ่งนันทมานพทราบว่า พระอุบลวรรณาเถรีจำพรรษาอยู่ในป่า ในกระท่อมเล็ก ๆ ด้วยจิตอันฝังแน่นด้วยราคะตัณหานันทมาณพได้แฝงตัวแอบรออยู่จนถึงเช้า พระอุบลวรรณาเถรีออกบิณฑบาตแล้ว นันทมานพได้หลบเข้าไปแอบซ่อนอยู่ใต้เตียงนอนในกระท่อม เมื่อพระอุบลวรรณาเถรีกลับจากบิณฑบาต ยังมิได้ฉันข้าว นั่งพักสงบอยู่บนเตียง นันทมาณพได้ออกมาจากที่ซ่อนเข้าปลุกปล้ำ พระอุบลวรรณาเถรีแม้นจะร้องหาคนช่วยก็ไม่เป็นผล เพราะไม่มีใครอยู่ใกล้ จึงกล่าวให้สติแก่นันทมาณพว่า “ จงอย่าทำเช่นนี้ .. ความหายนะจะมาสู่ท่าน ” นันทมาณพมิได้ฟังกลับปลุกปล้ำพระอุบลวรรณาเถรีจนสำเร็จความใคร่ดังใจปรารถนา พอก้าวลงจากแคร่ก็ถูกแผ่นดินสูบตกลงสู่มหานรกอเวจีด้วยกรรมลามกนั้นหนักมาก

พระอุบลวรรณาเถรี ถูกวิจารณ์ว่าการสัมผัสเช่นนี้ พระอุบลวรรณาเถรีจะไม่มีความยินดีไม่ได้ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสบอกต่อพุทธสาวก... “ พระอรหันต์นั้นมิใช่ไม้ผุ ไม่มีกิเลส ไม่มีความยินดีในกิเลส เฉกเช่นตุ๊กตาที่ไม่มีความปรารถนาในการสัมผัสฉันใด พระอรหันต์ก็เป็น เช่นนั้น ..”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2018, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




fly-a1.gif
fly-a1.gif [ 22.74 KiB | เปิดดู 2566 ครั้ง ]
อุปมาเปรียบเทียบ สมถะ วิปัสสนา
สมถะ เปรียบเหมือนการก่อสร้างเคหสถานเอาไว้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง
คือ สร้างเบญจขันธ์ด้วยความไม่รู้จริง ยึดมั่นในอุปาทาน ด้วยอำนาจของอวิชชาที่ปิดบัง
ให้เห็นว่าทำเช่นนี้แหละเป็นสิ่งที่ทำให้สุขที่แท้จริง

วิปัสสนา เปรียบนายช่างผู้ฉลาดในทำการรื้อ การทำลายเคหสถานบ้านเรือน
แต่ก็ไม่ให้เสียหายแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหันตขีนาสพเจ้า
ทำลายเบญจขันธ์ด้วยการตัด อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปทาน กรรม ด้วย "วิชชา" ฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




bug-4.gif
bug-4.gif [ 200.32 KiB | เปิดดู 2548 ครั้ง ]
ตัณหา เมื่อว่าโดยย่อ ได้แก่ โลภะเจตสิก
เมื่อว่าโดยไม่ย่อนัก ได้แก่ กามตัณหา, ภวะตัณหา, วิภวะตัณหา,
เมื่อว่าโดยพสดาร ได้แก่ตัณหา ๑๐๘ ได้แก่

ตัณหา๖(ความทะยานอยาก)
๑.รูปตัณหา(อยากได้รูป)
๒.สัททตัณหา(อยากได้เสียง)
๓.คันธตัณหา(อยากได้กลิ่น)
๔.รสตัณหา(อยากได้รส)
๕.โผฏฐัพพตัณหา(อยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์)

ตัณหา ๖ เหล่านี้ เป็นภายใน ๖ และภายนอก ๖ = ๑๒
ตัณหาที่เป็นทั้งภายนอกและภายใน เป็นไปในกาล ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต
จึงเอา ภายนอกภายใน ๑๒ คูณตัณหา ๓ คูณด้วยกาล ๓ เท่ากับ ๑๐๘ (๑๒ x ๓ = ๓๖ x ๓ = ๑๐๘)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2018, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181120_115914.jpg
20181120_115914.jpg [ 129.63 KiB | เปิดดู 2536 ครั้ง ]
ก็อีกไม่นานแล้วหนอ ต้นธรรมจะต้องถึงกาลที่จะต้องล่วงหล่นสลัดร่มเงาเข้าสู่ความจริงที่เรียกสัจจะธรรม สัตว์โลกย่อมเข้าถึงความว้าเหว่หาที่พึ่งไม่ได้อีกยาวนาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2018, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181122_092244.jpg
20181122_092244.jpg [ 126.16 KiB | เปิดดู 2529 ครั้ง ]
กิเลสแบ่งตามลำดับได้ ๓ ระดับ คือ
๑. วีติกกมกิเลส ที่เรียกว่ากิเลสอย่างหยาบ ที่แสดงออกมาทางกายทางวาจา
เป็นการประหาณได้ด้วย ศีล แต่เป็นเพียงตทังคประหาณ

๒. ปริยุฏฐานกิเลส ที่เรียกว่ากิเลสอย่างกลาง กิเลสชนิดนี้เกิดอยู่ในใจ
ไม่แสดงออกมาทางกายและวาจา รู้ได้ด้วยตนเองผู้อื่นไม่อาจรู้ได้
การประหาณกิเลสชนิดนี้ต้องใช้อำนาจของสมาธิ ที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
เป็นลักษณะที่ข่มไว้เท่านั้น

๓. อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่ละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ์สันดานของสัตว์ทั้งหลาย
กิเลสชนิดนี้ประหาณด้วยปัญญาในมรรคจิต อันเป็นการถอนรากถอนโคน
ไม่สามารถกลับมาเกิดได้อีก ที่เรียกว่าสมุทเฉทประหาน

เมื่ออนุสัยกิเลสที่เป็นกิเลสอย่างละเอียดถูกประหาณหมดไป ก็เป็นประหาณ
ปริยุฏฐานกิเลส และวิติกกมกิเลส ก็ถูกประหาณเป็นสมุเฉทไปด้วย
เพราะ วิติกกมกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส อาศัยอนุสัยกิเลสนั่นเป็นมูลเกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




images (4).jpeg
images (4).jpeg [ 40.09 KiB | เปิดดู 2455 ครั้ง ]
อมตธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพียงบทเดียว หากบุคคลใดตั้งใจฟัง แล้วนำมาไตร่ตรองด้วยปัญญาและลงมือปฏิบัติตาม ย่อมทำให้บุคคลนั้นบรรลุธรรมของพระพุทธองค์ได้ เพราะทุกถ้อยคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ล้วนกลั่นออกมาจากกลางพระธรรมกายที่บริสุทธิ์ ทุกถ้อยคำจึงออกมาจากแหล่งของความรู้อันบริสุทธิ์ หากเราตั้งใจฟังด้วยใจที่เป็นกลางๆ ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ย่อมจะเป็นเหตุให้บรรลุธรรมาภิสมัยได้อย่างอัศจรรย์

ถ้าบุคคลใดร่ำเรียนแต่ภาคทฤษฎี แม้จะฟังมามาก ที่เรียกว่ามี สุตมยปัญญา มีปัญญาเกิดจากการฟัง หรือคิดไตร่ตรองด้วยปัญญาของมนุษย์ ที่เรียกว่า จินตมยปัญญา และมัวประมาทว่าเป็นผู้รู้มาก คิดว่าตนเป็นพหูสูต แล้วไม่ยอมลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้ง ย่อมไม่สามารถเห็นธรรมไปตามความเป็นจริงได้ สามัญญผล คือ ผลที่ได้รับจากการบำเพ็ญสมณธรรม ย่อมจะไม่บังเกิดขึ้นด้วย

สำหรับผู้ที่ศึกษาด้านปริยัติ จนแตกฉานในคำสอนของพระพุทธองค์ ทั้งลงมือปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เช่นนี้ผู้รู้ทั้งหลายทรงสรรเสริญ เปรียบเสมือนเจ้าของโคที่ได้ดื่มปัญจโครส คือ ได้ดื่มรสแห่งธรรม ซึ่งผู้ที่ศึกษาปริยัติแล้ว นำมาปฏิบัติ จนเกิดปฏิเวธ คือ ได้รับผลแห่งการปฏิบัติสมควรแก่ธรรม พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า "บุคคลนั้นเป็น ธรรมทายาท" คือ ทายาทผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

*ในสมัยพุทธกาล มีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี ๒คน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่ง เขาทั้งสองได้ชวนกันไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากฟังจบแล้ว ทั้งคู่เกิดความเลื่อมใส จึงชวนกันบวชอุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชได้ ๕พรรษา จึงไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อทูลถามถึงธุระในพระพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ได้ตรัสบอกธุระในพระพุทธศาสนาว่า มี ๒อย่าง คือ คันถธุระ หมายถึง การศึกษาพระพุทธพจน์ เช่น พระวินัยและพระสูตรต่างๆ อีกประการหนึ่งคือ วิปัสสนาธุระ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ เมื่อภิกษุทั้งสองรูปรับโอวาทจากพระบรมศาสดาแล้ว ต่างแยกย้ายกันไปปฏิบัติธุระตามความพอใจของตน

ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า จะศึกษาพระพุทธพจน์ให้แตกฉาน จึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทางด้านคันถธุระ จนมีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก ได้เป็นอาจารย์สอนพระที่บวชใหม่ จนมีลูกศิษย์มากมาย

ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่งคิดว่า ตนเองบวชตอนที่มีอายุมาก จึงศึกษากิจทางวิปัสสนาธุระ โดยหลีกเร้น ออกแสวงหาที่วิเวกเพื่อปรารภความเพียร เป็นผู้ไม่ประมาทในการฝึกฝนอบรมจิตของตน ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ บางครั้งมีภิกษุผู้ยังไม่หมดกิเลสมาหาท่าน ท่านได้แนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเหล่าภิกษุปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน ต่างได้บรรลุเป็นพระอรหันต์กันมากมาย

เมื่อลูกศิษย์ของพระอรหันต์ จะเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้สั่งลูกศิษย์ให้แวะเยี่ยมนมัสการเพื่อนภิกษุของท่าน ซึ่งสอนธรรมะอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดา ลูกศิษย์ของท่านพากันทำตามที่พระอาจารย์สั่ง ครั้นมีลูกศิษย์ของพระอรหันต์แวะมาเยี่ยมนมัสการมากขึ้น ภิกษุรูปนั้นเกิดความสงสัยขึ้นว่า "เพื่อนของเราเข้าไปอยู่ในป่า ไม่ได้เรียนรู้พระไตรปิฎกเลย แต่ทำไมมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเช่นนี้ ถ้ามีโอกาสเราจะต้องลองซักถามปัญหาธรรมะ ดูว่ามีภูมิธรรมอะไรบ้าง"

ต่อมา พระอรหันตเถระได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนภิกษุจึงคิดจะถามปัญหาเพื่อเบียดเบียนพระเถระ พระบรมศาสดารู้วาระจิตของภิกษุนั้น ทรงดำริว่า "ภิกษุผู้เป็นสมมติสงฆ์ไม่รู้คุณแห่งพระอรหันต์ กำลังจะเบียดเบียนด้วยความคิดอกุศล ถ้าเราไม่ให้สติแก่เธอ เธอก็จะเข้าถึงซึ่งนรก" พระพุทธองค์จึงเสด็จไปในที่นั้น ตรัสถามถึงผลการปฏิบัติธรรมของภิกษุทั้งสองรูป ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป จนถึงคุณธรรมเบื้องสูง คือ การบรรลุอรหัตผล

ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ แม้เหล่าเทพยดา ตั้งแต่ภุมมเทวา รุกขเทวา อากาสเทวา ชาวสวรรค์ทุกชั้น ไปจนถึงพรหมโลก ต่างให้สาธุการดังกึกก้องไปทั่ว

เหล่าลูกศิษย์ของพระภิกษุผู้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม ต่างพากันโพนทะนาว่า พระพุทธเจ้าสรรเสริญผู้ที่ไม่ควรสรรเสริญ ส่วนอาจารย์ของตนเป็นผู้รู้ธรรมะมากกว่าสอนธรรมะ จนกระทั่งมีลูกศิษย์มากมาย กลับไม่ได้รับการสรรเสริญ

พระพุทธองค์ตรัสเตือนภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เป็นเช่นบุคคลผู้เลี้ยงโคของผู้อื่น เพื่อให้ได้ค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนบุตรของเรา เป็นเช่นเจ้าของโค ผู้บริโภคปัญจโครสได้ตามความชอบใจ" ได้ตรัสพระคาถาว่า...

"หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์ ที่มีประโยชน์เกื้อกูลแม้เล็กน้อย แต่เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาละราคะ โทสะและโมหะได้แล้ว เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดมั่นในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญญผล"

การที่บุคคลรู้ธรรมมาก แต่ไม่ยอมประพฤติธรรม ย่อมไม่ได้รับผลแห่งการปฏิบัติธรรม ส่วนบุคคลผู้รู้ธรรมแม้เพียงเล็กน้อย แต่ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจัง ย่อมจะได้รับผลของการปฏิบัตินั้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ถือว่าเป็นการช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอีกด้วย

ธรรมะทุกบทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าหากผู้ศึกษาตั้งใจนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ทั้งสิ้น เพราะธรรมะของพระพุทธองค์เป็นธรรมะเพื่อความดับทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง เราเรียนธรรมะเพื่อต้องการดับทุกข์ ดับกิเลสที่มีอยู่ในใจ ไม่ใช่เรียนไว้เพื่อโอ้อวดยกตนข่มท่าน หรือหวังจะให้คนอื่นชื่นชมว่าเราเป็นผู้รู้มาก การเรียนธรรมะไม่ได้มีวัตถุประสงค์เช่นนั้น เราเรียนเพื่อให้พ้นทุกข์ เพื่อให้เกิดความเห็นชอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวุฒิธรรม

ธรรมกลุ่มนี้พระบาลีเรียกว่า “วุฒิ” แปลว่า ธรรมที่จะนำคนไปสู่ความเจริญบ้าง “ปัญญาวุฒิ” คือ ความเจริญงอกงามแห่งปัญญาบ้าง ทั้งหมดล้วนเป็นการบ่งบอกความเป็นอริยมรรคของหลักธรรมทั้ง ๔ ประการ



ปัญญาวุฒิธรรม คือ ธรรมที่จะนำชีวิตคนให้ดำเนินไปสู่ความเจริญ ๔ ประการ คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ

- คบหาสมาคมกับคนดี ด้วยการร่วมหลักคิด ร่วมหลักกิจกรรม ร่วมผลประโยชน์กับท่าน

๒. สัทธัมมสวนะ

- ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ หมายรวมถึง การเกี่ยวข้องกับท่านด้วยการพบปะสนทนา
การเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการแนะนำ เสนอ สั่งสอนจากท่าน ให้ทำด้วยความเคารพ พยายาม
หาประโยชน์จากกุศลเจตนาของท่านให้มากไว้

๓. โยนิโสมนสิการ

- พยายามทำใจโดยอุบายวิธีที่แยบคาย คิดได้ คิดดี คิดเป็น คิดชอบ ประกอบด้วยเหตุผลในการ
คิดหาประโยชน์จากทุกอย่างที่ตนสัมผัส

๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ

- ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรม มองเห็นผลประโยชน์ต่อเนื่องกันชัดเจนอย่างโครงสร้างพระพุทธดำรัสที่ตรัสส่งพระอรหันตสาวกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคราวแรก มีวัตถุประสงค์คือ การทำงานเพื่อคนเป็นอันมาก น้ำใจต่อคนทำต้องมุ่งอนุเคราะห์ต่อเขา กระบวนการในการแสดงธรรมคือ แสดงอะไร แสดงแก่ใคร แสดงที่ไหน แสดงอย่างไร มีอะไรเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่สอดรับกับคนฟังกลุ่มนั้น คนนั้นแสดงอะไรจบแล้วเขาควรจะได้รับประโยชน์อะไร เป็นต้น และนั่นคือการทำความดีถูกที่ การทำความดีถูกคน การทำความดีถูกดี การทำความดีพอดี การทำความดีถึงดี ช่วยให้เขาทำดีแล้วจึงได้ดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




the-eye-of-women-1580620_960_720.png
the-eye-of-women-1580620_960_720.png [ 231.12 KiB | เปิดดู 2489 ครั้ง ]
ตาเป็นทวารหนึ่ง เป็นที่ประชุม เป็นที่รวม เป็นที่เกิด ที่เรียกว่า ผัสสะทางตา
.........
จักขุปสาท, จักขายตนะ, จักขุธาตุ, จักขุนทรีย์,

รูปารมณ์, รูปายตนะ, รูปธาตุ, รูปชีวิตินทรีย์,

วิญญาณขันธ์, มนายตนะ, จักขุวิญญาณธาตุ, มนินทรีย์,

(เจตสิกขันธ์ ๓) ธัมมายตนะ,ธัมมธาตุ,

รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์,

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181201_070043.jpg
20181201_070043.jpg [ 129.64 KiB | เปิดดู 2479 ครั้ง ]
จิตอุปมาหมือนแก้วน้ำ เจตสิกอุปามาเหมือนสีในน้ำ จิตจะเป็นบาปหรือเป็นบุญขึ้นอยู่กับว่า
จิตไปรู้อารมณ์แล้ว เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตจะปรุงแต่งไปทางบุญหรือบาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-1204.jpg
Image-1204.jpg [ 70 KiB | เปิดดู 2479 ครั้ง ]
สัจจะวิมุตติ

มรรคจิตมุ่งหมายเอาแค่ องค์มรรค ๘ ที่เป็น "มรรคสัจจะ"
เจตสิกที่เกิดร้วมนั้นไม่ได้ทำกิจมรรค ๘ จึงไม่นับรวมด้วย

อธิบายเพื่อเข้าใจในองค์มรรค ๘
ในองค์มรรค ๘ จะมีเจตสิกร่วมรวมกันกับในองค์มรรคได้ ๓๖ ดวง (ดูในภาพประกอบด้วยก็ได้ครับ)

องค์มรรค ๘ มีดังนี้

สัมมาทิฐิ (ปัญญา)
สัมมาสังกัปปะ (วิตก)
สัมมาวาจา (วาจา)
สัมมากัมมันตะ (กาย)
สัมมาอาชีวะ (อาชีพทั้งกาย และวาจา)
สัมมาวายามะ (วิริยะ)
สัมมาสติ (สติ)
สัมมาสมาธิ (เอกัคคตา)

เจตสิกที่เกิดร่วมกับองค์มรรคมี ๒๘ ดวงแต่ไม่ใช่องค์มรรคมีดังนี้

อัญญสมานเจตสิก ๑๐ ดวง (เว้น เอกัคคตาเจตสิก ๑ วิตกเจตสิก ๑ วิริยะเจตสิก ๑)
โสภณสาธารณะเจตสิก ๑๘ ดวง(เว้นสติเจตสิก ๑ เว้นวีระตีเจตสิก ๓ อัปมัญญา ๒ ปัญญาเจตสิก ๑)
เจตสิก ๒๘ ดวงนี้ และนับรวมจิตอีก ๑ ดวง รวมเป็น ๒๙ ดวง จึงนับเป็น"สัจจวิมุติ"
คือพ้นไปจากการทำหน้าที่(มรรคสัจจ์)
(ดังจะมีแสดงไว้ในชั้นจูฬเอก)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2018, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2522.jpg
Image-2522.jpg [ 86.8 KiB | เปิดดู 2445 ครั้ง ]
การกระทำใดๆในภพนี้ก็เหมือนการสร้างบ้านที่อยู่ไว้ไปอาศัยในภพหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4929.jpg
Image-4929.jpg [ 51.39 KiB | เปิดดู 2433 ครั้ง ]
เมื่อการกระทำทางกายทางวาจาและใจ ย่อมเป็นกรรมที่สำเร็จลงเป็นผลที่เรียกว่าวิบากกรรม
สะสมไว้ในภวังคจิตเพื่อรอปัจจัยทั้งภายนอกและภายในมาเป็นปัจจัยในการส่งผลในปัจจุบันชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181209_141417.jpg
20181209_141417.jpg [ 521.82 KiB | เปิดดู 2429 ครั้ง ]
ใบไม้แม้จะเป็นชาติตระกูลที่เกิดในที่สูงส่ง สุดท้ายก็ต้องหล่นลงมาแค่เพียงดิน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร