วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2019, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงทุนแมนได้นำเครื่องวัด PM2.5 ตรวจสอบตามสถานี BTS ใน กทม.

ค่า PM2.5 แต่ละที่เป็นอย่างไร ? ดูในรูปประกอบได้เลย

PM2.5 ที่วัดได้มีค่าระหว่าง 89 - 132

สถานีหมอชิต 97
สถานีอารีย์ 105
สถานีอนุสาวรีย์ชัยฯ 119
สถานีสยาม 132
สถานีศาลาแดง 121
สถานีสะพานตากสิน 122
สถานีวงเวียนใหญ่ 89
สถานีชิดลม 122
สถานีเพลินจิต 116
สถานีอโศก 114
สถานีพร้อมพงษ์ 110
สถานีอ่อนนุช 111

คนที่อยู่วงเวียนใหญ่อาจดีใจเพราะ PM2.5 มีค่า 89 ต่ำสุดในนี้ แต่อาจต้องดีใจเก้อ

เพราะว่า ตามเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ ค่ามาตรฐานคือ 50 ซึ่งสำหรับ 89 - 132 ที่วัดได้วันนี้จะถือว่าอยู่ในระดับที่ "อันตรายมาก"

เรียกได้ว่าทุกสถานีทั่วกรุงเทพมหานคร เสี่ยงเหมือนกันหมด

สรุปแล้ว ถ้าเราต้องสัมผัสกับอากาศภายนอกใน กทม. ตอนนี้ เราจะมีอยู่ 2 ทางเลือก

ทางเลือกแรก เรา “จำเป็นต้อง” ใส่หน้ากากที่ป้องกัน PM2.5

หรือทางเลือกที่ 2 คือ เรายินยอมที่จะเป็นโรคในอนาคต..

PM2.5 คืออะไร ?

Particulate Matter 2.5 (PM2.5) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมกว่า 20 เท่า

ค่าฝุ่นละอองจะอยู่ในรูป ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m^3)

ด้วยความที่ขนาดเล็กมาก ทำให้ PM2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

ระยะสั้น ก็จะทำให้ หายใจไม่สะดวก แสบจมูก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ระยะยาว จะมีผลถึง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรงหลอดเลือดในสมอง (Stroke)

รูปภาพ

https://scontent.fbkk5-3.fna.fbcdn.net/ ... e=5CBA18DE

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2019, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลงทุนแมนได้นำเครื่องวัด PM2.5 ตรวจสอบตามสถานี BTS ใน กทม.

ค่า PM2.5 แต่ละที่เป็นอย่างไร ? ดูในรูปประกอบได้เลย

PM2.5 ที่วัดได้มีค่าระหว่าง 89 - 132

สถานีหมอชิต 97
สถานีอารีย์ 105
สถานีอนุสาวรีย์ชัยฯ 119
สถานีสยาม 132
สถานีศาลาแดง 121
สถานีสะพานตากสิน 122
สถานีวงเวียนใหญ่ 89
สถานีชิดลม 122
สถานีเพลินจิต 116
สถานีอโศก 114
สถานีพร้อมพงษ์ 110
สถานีอ่อนนุช 111

คนที่อยู่วงเวียนใหญ่อาจดีใจเพราะ PM2.5 มีค่า 89 ต่ำสุดในนี้ แต่อาจต้องดีใจเก้อ

เพราะว่า ตามเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ ค่ามาตรฐานคือ 50 ซึ่งสำหรับ 89 - 132 ที่วัดได้วันนี้จะถือว่าอยู่ในระดับที่ "อันตรายมาก"

เรียกได้ว่าทุกสถานีทั่วกรุงเทพมหานคร เสี่ยงเหมือนกันหมด

สรุปแล้ว ถ้าเราต้องสัมผัสกับอากาศภายนอกใน กทม. ตอนนี้ เราจะมีอยู่ 2 ทางเลือก

ทางเลือกแรก เรา “จำเป็นต้อง” ใส่หน้ากากที่ป้องกัน PM2.5

หรือทางเลือกที่ 2 คือ เรายินยอมที่จะเป็นโรคในอนาคต..

PM2.5 คืออะไร ?

Particulate Matter 2.5 (PM2.5) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมกว่า 20 เท่า

ค่าฝุ่นละอองจะอยู่ในรูป ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m^3)

ด้วยความที่ขนาดเล็กมาก ทำให้ PM2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

ระยะสั้น ก็จะทำให้ หายใจไม่สะดวก แสบจมูก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ระยะยาว จะมีผลถึง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรงหลอดเลือดในสมอง (Stroke)

รูปภาพ

https://scontent.fbkk5-3.fna.fbcdn.net/ ... e=5CBA18DE

:b8:

แก้ปัญหาสังคมเป็นเรื่องใหญ่จะต้องหลายคนช่วย
กันสามัคคีกันแก้ หากทางนี้ไม่ได้เราก็ควรแก้ที่ตัวเรา
เอง คิดหาวิธี ด้วยการทำจิตให้สงบ แล้วลองคิดดู บาง
ปัญหาแก้ได้เพียงแค่ลดมานะ ความถือเนื้อถือตัวลงบ้าง
สักเล็กน้อยก็แก้ได้แล้ว

พี่รู้ไหมวิธีทำจิตให้สงบชั่วขณะเพื่อคิดแก้ปัญหา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2019, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ผมขอยกเรื่องนึ่งให้ฟัง มีป้าคนนึ่งบนบ่อยๆว่า
ทำยังไงจะไม่ให้ตำรวจมาล๋อกล้อรถนะ
ผมตอบว่าจะอยากอะไร ก็ทำตัวไม่มีล้อ แล้วจะ
ถูกล๋อกได้ยังไง ป้าก็ถามว่าทำไง ผมบอกว่าก็เขา
ล๋อกล้อรถอะไรล่ะ ผมขี่มอเตอไชค์ไม่เคยโดนล๋อก
เลยแม้สักครั้ง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2019, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขบวนรถบรรทุกสรีระร่างผ่านผู้มีศรัทธานำเสื้อผ้าวางเพื่อให้รถเหยียบ

https://www.facebook.com/tnamcot/videos ... 476081586/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2019, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ศรัทธาหมอบกราบด้วยอกไปยังสถานที่ที่ตนนับถือ

http://g-picture2.wunjun.com/6/full/372 ... ?s=960x642

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2019, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกมุมหนึ่ง

https://www.facebook.com/nitrica.faviji ... 779231477/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2019, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกมุมหนึ่ง เป็นศาสนาที่มีคำสอนใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนา

ศาสนาเชน

๑.กำเนิดศาสนา (เกิดเมื่อไหร่ ที่ไหน จากเหตุปัจจัยอะไร)

ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่เก่าแก่ของโลกและในอินเดีย เกิดก่อนพระพุทธศาสนา

ศาสนิกชนเชนเชื่อว่าโลกนี้มีมานานแล้ว และจะดำรงอยู่เช่นนี้ตลอดไป โดยแบ่งเป็นยุคในแต่ละยุคจะมี ๒ รอบคือ รอบแห่งความเจริญและรอบแห่งความเสื่อม

รอบแห่งความเจริญเรียกว่า อุตสรปินี หมายความว่า ทุกอย่างเริ่มจากความไม่ดีแล้วพัฒนาไปสู่ความเจริญ เช่น อายุของคนและสัตว์จะเพิ่มขึ้น ร่างกายสูงใหญ่ขึ้น รวมถึงคุณธรรมความดีจะปรากฏเด่น

ส่วนรอบแห่งความเสื่อมเรียกว่า อวสรปินี หมายความว่า ทุกอย่างจะเริ่มจากความเจริญแล้วไปสู่ความเสื่อม เช่น อายุของคนและสัตว์จะลดลง ร่างกายจะเล็กลง รวมถึงคุณธรรมก็จะลดลง

สำหรับโลกที่เรากำลังอยู่ในปัจจุบัน เป็นรอบแห่งความเสื่อม และในแต่ละรอบจะมีศาสดาของศาสนาเชนอุบัติขึ้นมาในโลก ๒๔ พระองค์

ฯลฯ

http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/jaini ... 1yX7huqkcw

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้ แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง และอาศัยความรู้ของผู้อื่น หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน

ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้น ก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา

แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา เป็นองค์ธรรมสำคัญ ศรัทธาที่ถูกต้อง ใช้ประโยชน์ได้ในกระบวนธรรมแห่งความดับทุกข์นั้น เป็นอย่างไร และควรจะปฏิบัติต่อศรัทธานั้นอย่างไร

หลักศรัทธาโดยสรุป

โดยสรุป ลักษณะที่ควรกล่าวถึง เพื่อเข้าใจความหมาย บทบาท และความสำคัญของศรัทธา ในระบบของพุทธธรรม มีดังนี้

๑. ศรัทธา เป็นเพียงขั้นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญา และกล่าวได้ว่าเป็นขั้นต้นที่สุด

๒. ศรัทธาที่ประสงค์ ต้องเป็นความเชื่อ ความซาบซึ้งที่เนื่องด้วยเหตุผล คือมีปัญญารองรับ และเป็นทางสืบทอดส่งต่อแก่ปัญญาได้ มิใช่เพียงความรู้สึกมอบตัว มอบความไว้วางใจให้สิ้นเชิง โดยไม่ต้องถามหาเหตุผล อันเป็นลักษณะทางฝ่ายอาเวค (emotion) ด้านเดียว

๓. ศรัทธา ที่เป็นความรู้สึกฝ่ายอาเวคด้านเดียว ถือว่าเป็นความเชื่อที่งมงาย เป็นสิ่งที่จะต้องละเสีย หรือแก้ไขให้ถูกต้อง ส่วนความรู้สึกฝ่ายอาเวคที่เนื่องอยู่กับศรัทธา แบบที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในกระบวนการปฏิบัติธรรมให้เป็นประโยชน์ได้มากพอสมควรในระยะต้นๆ แต่จะถูกปัญญาเข้าแทนที่โดยสิ้นเชิงในที่สุด

๔. ศรัทธา ที่มุ่งหมายในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้น อาจให้ความหมายสั้นๆว่า เป็นความซาบซึ้งด้วยมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนมองเห็น คือมั่นใจตนเอง โดยเหตุผลว่า จุดหมายที่อยู่เบื้องหน้านั้นเป็นไปได้จริงแท้ และมีค่าควรแก่การที่ตนจะดำเนินไปให้ถึง เป็นศรัทธาที่เร้าใจให้อยากพิสูจน์ความจริงของเหตุผลที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้านั้นต่อๆยิ่งๆขึ้นไป เป็นบันไดขั้นต้นสู่ความรู้ ตรงข้ามกับความรู้สึกมอบใจให้แบบอาเวค ซึ่งทำให้หยุดคิดหาเหตุผลต่อไป

๕. เพื่อควบคุมศรัทธาให้อยู่ในความหมายที่ถูกต้อง ธรรมหมวดใดก็ตามในพุทธธรรม ถ้ามีศรัทธา ที่เป็นส่วนประกอบข้อหนึ่งแล้ว จะต้องมีปัญญาเป็นอีกข้อหนึ่งด้วยเสมอไป * และตามปกติ ศรัทธาย่อมมาเป็นข้อที่หนึ่ง พร้อมกับที่มีปัญญาคุมเป็นข้อสุดท้าย แต่ในกรณีที่มีปัญญา ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงศรัทธาเลย *


ดังนั้น ปัญญาจึงสำคัญกว่าศรัทธา ทั้งในฐานะเป็นตัวคุม และในฐานะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็น แม้ในแง่คุณสมบัติของบุคคล ผู้ที่ได้รับยกย่องสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก็คือผู้มีปัญญาสูงสุด เช่น พระสารีบุตรอัครสาวก เป็นต้น ไม่ได้ถือเอาศรัทธาในศาสนาเป็นเกณฑ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * ข้างบน

* ตัวอย่างมีมากมาย เช่น

สัมปรายิกัตถะ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา

วุฒิธรรม สัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา

พละ, อินทรีย์ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

เวสารัชชกรณธรรม สัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา

อริยทรัพย์ สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา ฯลฯ


* เช่น อธิษฐานธรรม โพชฌงค์ และ นาถกรณธรรม เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกความหมาย พลธรรม ๕ กับ อินทรีย์ ๕ ซึ่งมีองค์ธรรมเหมือนกันแต่เรียกชื่อต่างกัน เพราะ ?

พละ กำลัง 1. พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงดำรงอยู่ได้ในสัมปยุตธรรมทั้งหลายอย่างไม่หวั่นไหว อันธรรมที่เป็นปฏิปักษ์จะเข้าครอบงำไม่ได้ เป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา(ดูอินทรีย์ ๕)

อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตา เป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน วิริยะ เป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความเกียจคร้าน เป็นต้น

อินทรีย์ ๕ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตนโดยเป็นเจ้าการในการทำหน้าที่และเป็นหัวหน้านำสัมปยุตธรรมในการครอบงำกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ มี ๕ อย่าง ได้แก่ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (ข้อธรรมตรงกับ พละ ๕) ธรรม ๕ อย่าง ชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ

เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้

เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือ ความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


๖ คุณประโยชน์ของศรัทธา เป็นไปใน ๒ ลักษณะ คือ

@ในแนวหนึ่ง ศรัทธาเป็นปัจจัยให้เกิดปีติ ซึ่งตามมาด้วยปัสสัทธิ (ความสงบเย็นผ่อนคลาย) ที่นำไปสู่ความสุข อันช่วยให้เกิดสมาธิ เพื่อต่อไปสู่ปัญญาในที่สุด

@ อีกแนวหนึ่ง ศรัทธาทำให้เกิดวิริยะ คือความเพียรพยายามที่จะปฏิบัติ ทดลองสิ่งที่เชื่อด้วยศรัทธานั้น ให้เห็นผลประจักษ์จริงจังแก่ตน ซึ่งนำไปสู่ปัญญาในที่สุด *

คุณประโยชน์ทั้งสองนี้ จะเห็นว่า แม้จะได้แรงส่งจากความรู้สึกในฝ่ายอาเวค แต่ต้องมีความใฝ่ประสงค์ปัญญาแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลา


๗. ศรัทธาเป็นไปเพื่อปัญญา ดังนั้น ศรัทธาจึงต้องส่งเสริมความคิดวิเคราะห์วิจัย จึงจะเกิดความก้าวหน้าแก่ปัญญาตามจุดหมาย
นอกจากนี้ แม้ตัวศรัทธานั่นเอง จะมั่นคงแน่นแฟ้นได้ ก็เพราะได้คิดสืบสาวสอบค้นมองเห็นเหตุผลและเข้าใจความจริงจนมั่นใจ หมดความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ
โดยนัยนี้ ศรัทธาในพุทธธรรมจึงส่งเสริมการค้นคิดหาเหตุผล การขอร้องให้เชื่อ ก็ดี การบังคับให้ยอมรับความจริงตามที่กำหนด ก็ดี การขู่ด้วยภัยแก่ผู้ไม่เชื่อ ก็ดี เป็นวิธีการที่เข้ากันไม่ได้เลยกับหลักศรัทธานี้


๘. ความเลื่อมใสศรัทธาติดในบุคคล ถูกถือว่ามีข้อเสียข้อบกพร่อง แม้แต่ความเลื่อมใสติดในองค์พระศาสดาเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนให้ละเสีย เพราะเป็นศรัทธาที่แรงด้วยการรู้สึกทางอาเวค กลับกลายเป็นอุปสรรคต่อความหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ในขั้นสุดท้าย


๙. ศรัทธาไม่ถูกจัดเป็นองค์มรรค เพราะตัวการที่จำเป็นสำหรับการดำเนินก้าวหน้าต่อไปในมรรคนี้ คือ ปัญญา ที่พ่วงกำกับศรัทธานั้นต่างหาก และศรัทธาที่จะถือว่าใช้ได้ ก็ต้องมีปัญญารองรับอยู่ด้วย
นอกจากนี้ท่านที่มีปัญญาสูง เช่น องค์พระพุทธเจ้าเอง และพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงเริ่มมรรคาที่ตัวปัญญาทีเดียว ไม่ผ่านศรัทธา เพราะการสร้างปัญญาไม่จำต้องเริ่มที่ศรัทธาเสมอไป (คือ เริ่มที่โยนิโสมนสิการ)
ด้วยเหตุนี้ เรื่องศรัทธา ท่านจึงกล่าวซ้อนแฝงไว้ในตอนว่าด้วยการสร้างสัมมาทิฏฐิ ไม่จัดแยกไว้เป็นเรื่องต่างหาก

๑๐. แม้ศรัทธา ที่พ้นจากภาวะเป็นความเชื่องมงายนั่นเอง ถ้าไม่ดำเนินต่อไปถึงขั้นทดลองปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความจริงประจักษ์แก่ตน ก็ไม่นับว่าเป็นศรัทธาที่ถูกต้องตามความหมายแท้จริง เพราะเป็นศรัทธาที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความหมายของมัน จัดเป็นการปฏิบัติธรรมผิดพลาด เพราะปฏิบัติอย่างขาดวัตถุประสงค์


๑๑. แม้ศรัทธาจะมีคุณประโยชน์สำคัญ แต่ในขั้นสูงสุด ศรัทธาจะต้องหมดไป ถ้ายังมีศรัทธาอยู่ ก็แสดงว่า ยังไม่บรรลุจุดหมาย เพราะตราบใดที่ยังเชื่อต่อจุดหมายนั้น ก็ย่อมแสดงว่ายังไม่ได้เข้าถึงจุดหมายนั้น โดยรู้ประจักษ์เห็นจริงด้วยตนเอง และตราบใดที่ยังมีศรัทธา ก็แสดงว่ายังต้องอิงอาศัยสิ่งอื่น ยังต้องฝากปัญญาไว้กับสิ่งอื่น ยังไม่หลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน


* ศรัทธานำไปสู่ปีติ ดูพุทธพจน์ที่ สํ.นิ.16/69/37 ศรัทธานำไปสู่วิริยะ ดู สํ.ม.19/1011/297
อนึ่ง ศรัทธาย่อมช่วยให้เกิดกำลังใจ มีความเข้มแข็ง หายกลัวได้ ซึ่งจัดเข้าในวิริยะเหมือนกัน เช่น เรื่องในธชัคคสูตร สํ.ส. 15/863-6/320-3

พึงสังเกตด้วยว่า ศรัทธาที่ไม่มีปัญญารองรับ ก็เป็นแรงส่งถึงสมาธิเหมือนกัน (อาจเป็นสมาธิขั้นสูงมาก ถึงเจโตวิมุตติชนิดที่ยังกำเริบกลับกลายได้) แต่ติดจมอยู่แค่นั้น ไม่ส่งผลต่อถึงปัญญา และอาจขัดขวางปัญญาด้วย

ส่วนศรัทธาที่มีปัญญากำกับ หนุนสมาธิให้เกิดขึ้น เพียงเพื่อเป็นพลังช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญายิ่งๆขึ้นไป (อย่างสูงสุด คือ ให้เกิดปัญญาวิมุตติ ที่ทำให้เจโตวิมุตติไม่กำเริบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเหตุนี้ ศรัทธาจึงไม่เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์

แต่ตรงข้าม พระอรหันต์กลับมีคุณลักษณะว่า ผู้ไม่มีศรัทธา (อัสสัทธะ) ซึ่งหมายความว่า ได้รู้เห็นประจักษ์ จึงไม่ต้องเชื่อต่อใครๆ หรือต่อเหตุผลใดๆ อีก


๑๒. โดยสรุป ความก้าวหน้าในมรรคานี้ ดำเนินมาโดยลำดับ จากความเชื่อ (ศรัทธา) มาเป็นความเห็น หรือเข้าใจโดยเหตุผล (ทิฏฐิ) จนเป็นการรู้การเห็น (ญาณทัสสนะ) ในที่สุด ซึ่งในขั้นสุดท้าย เป็นอันหมดภาระของศรัทธาโดยสิ้นเชิง


๑๓. ศรัทธามีขอบเขตความสำคัญ และประโยชน์แค่ไหนเพียงใด เป็นสิ่งที่จะต้องรู้เข้าใจตามเป็นจริง ไม่ควรตีค่าสูงเกินไป แต่ก็ไม่ควรดูแคลนโดยเด็ดขาด เพราะในกรณีที่ดูแคลนศรัทธา อาจกลายเป็นการเข้าใจความหมายของศรัทธาผิด เช่น ผู้ที่คิดว่าตนเชื่อมั่นในตนเอง แต่กลายเป็นเชื่อต่อกิเลสของตน ในรูปอหังการมมังการไป ซึ่งกลับเป็นผลร้ายไปอีกด้านหนึ่ง


๑๔. ในระดับศีล หรือที่เรียกว่า ศีลธรรม ศรัทธาเป็นองค์ธรรมสำคัญ ซึ่งเกื้อกูลมาก ทำให้คนมีหลักตั้งตัว เป็นกำลังเหนี่ยวรั้งและต้านปะทะ ไม่ให้ยอมตามสิ่งชักจูงล่อเร้าเย้ายวนให้ทำความชั่ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง การมีศรัทธาเป็นเหมือนมีร่องไหลประจำของกระแสความคิด เมื่อได้รับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เกินกำลังของศรัทธาที่มีอยู่ กระแสความคิดก็จะวิ่งแล่นไปตามร่อง หรือแนวทางที่ศรัทธาเตรียมไว้ ทำให้ไม่คิดไปในทางอื่น หรือทางที่ผิดศีลธรรม
ดังนั้น สำหรับผู้ยังไม่หมดกิเลส ศีลจึงดำรงอยู่ได้ดีด้วยศรัทธา *


ศรัทธาแบบนี้ มีคุณมากในระดับหนึ่ง แต่พร้อมกันนั้น ถ้าเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็อาจมีโทษมาก โดยกลายเป็นตัวการขัดขวางการสร้างปัญญาเสียเอง


ที่อ้างอิง *

* ศีล อาศัยศรัทธา ดู วิสุทธิ.3/100 วิสุทธิ.ฎีกา 3/209

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร