วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ถือกำเนิดเกิดขึ้น เพราะการสนทนากับ คุณ Love J. ลิงค์นี้


viewtopic.php?f=1&t=57274&start=15

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย

เมื่อภาวนาว่า พุท ว่าโธ แล้วๆเล่าๆไป พุทโธไป ปัญหาอยู่ดังตัวอย่างนี้ ไม่ใช่อยู่ที่ "พุทโธ" ดู



นั่งสมาธิแล้วมีอาการหมุนเหวี่ยงจะอ้วก

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพัก ประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมา นั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้ อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรม พิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจ ว่า มันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจ ว่า ทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


เลิฟ เจ บอกว่า

อ้างคำพูด:
Love J.
ผมแนะนำอย่างนี้ว่า สังวรอินทรีย์ก่อน อ่านหรือฟังพระธรรมคำสอนพิจารณาใคร่ครวญให้เกิด
ความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้องว่าปฏิบัติเพื่ออะไร โทษของกาม คุณของสมาธิ เมื่อใคร่ครวญ
พิจารณา ทำไว้ในใจดีแล้วก็ปรารภศรัทธา ปรารภความเพียรละบาปอกุศล เจริญกุศล มีสติ
หิริโอตัปปะ รักษาศีลอันเป็นไปเพื่อสมาธิ

อาการแบบนี้ แม้ไม่บริกรรม รู้ลมหายใจ มันก็เหวี่ยง ผมผ่านมาด้วยตัวเองคือสมาธินี้มันเป็นอารมณ์ละเอียด
จิตมันยังหยาบ ใจไม่ยินดีในสมาธิ แส่สายอยากคิดอยากปรุง อยากในอารมณ์ภายนอกนั่งเพ่งมัน ๆ ก็เหวี่ยง


อ้างคำพูด:
กรัชกายถาม
คุณทำแบบไหนมาขอรับ


อ้างคำพูด:
เลิฟ เจ ตอบ
อานาปานสติ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ จาคะนุสติ เทวดานุสติ มรณนุสติ อุปสมานุสติ กายคตานุสติ


Love J. ทำ ๑๐ อย่างเลย คือ อนุสติ ๑๐

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางหลักก่อน


รับกัมมัฏฐานที่เหมาะกับจริยา

พึงเข้าใจความหมายของจริยา และกัมมัฏฐาน พอเป็นเค้า ดังนี้

- กัมมัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน กล่าวคือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรือ อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด (ด้วยสติ) จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยววิ่งแล่นเตลิดหรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

พูดสั้นๆ กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิต ที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ ที่พอจิตเพ่ง หรือจับแล้วจะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมันเป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ มี กรรมฐาน 40 อย่าง คือ

ก. กสิณ 10 แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่ง เพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่งมี 10 อย่าง คือ

ก) ภูตกสิณ (กสิณคือ มหาภูตรูป) 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)

ข) วรรณกสิณ (กสิณ คือ สี) 4 คือ นีล (เขียว) ปีต (เหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (ขาว)

ค) กสิณอื่น ๆ คือ อาโลก (แสงสว่าง) ปริจฉินนากาส เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง) *

กสิณ 10 นี้จะใช้ของที่อยู่ตามธรรมชาติก็ได้ ตกแต่งจัดทำขึ้นให้เหมาะกับการใช้เพ่งโดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง

รูปภาพ

ที่อ้างอิง *

* กสิณ ๑๐ มีอยู่แล้วในวิสุทธิมัคค์ แต่พึงทราบพิเศษว่า ในบาลีเดิม ไม่มีอาโลกสิณ แต่มีวิญญาณกสิณแทน เป็นข้อที่ ๑๐ และเลื่อนอากาศกสิณเข้ามาเป็นข้อที่ ๙ (เช่น ที.ปา.11/358/283; 467/336 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ กัน รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอืด ไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก

อสุภะ 10 คนปัจจุบันคงหาโอกาสพิจารณายาก จึงสรุปไว้แต่ใจความ

รายชื่อเต็ม คือ

อุทธุมาตกะ (ศพขึ้นอืด)
วินีลกะ (ศพเป็นสีเขียวคล้ำคละสีต่างๆ)
วิปุพพกะ (ศพมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มตามที่แตกปริ)
วิจฉิททกะ (ศพขาดจากกันเป็น 2 ท่อน)
วิกขายิตกะ (ศพถูกสัตว์จิกทิ้งกัดกินแล้ว)
วิกขิตตกะ (ศพกระจุยกระจาย มือตีนหัวหลุดไปอยู่ข้างๆ)
หตวิกขิตตกะ (ศพถูกสับเป็นท่อนๆ กระจาย)
โลหิตกะ (ศพมีโลหิตอาบ)
ปุฬุวกะ (ศพมีหนอนคลาคล่ำ)
อัฏฐิกะ (ศพเหลือแต่กระดูก หรือท่อนกระดูก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่ *

1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์

2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน

6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน

7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ ประมาท

8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิ ให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก

10. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หาย ร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์


อ้างอิง *

* ที่มาในบาลีเดิม คือ องฺ.เอก.20/179-180/39-40; 224/54 ฯลฯ ...นอกจากนี้ ที่มาต่างหากกันไม่ครบชุดอีกหลายแห่ง ข้อที่พบต่างหาก หรือมาในชุดอื่นอีกมาก ได้แก่ กายคตาสติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อานาปานสติ ซึ่งเป็นข้อเด่นที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกัน ว่า พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจ ของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่)

คือ

1. เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า

2. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอเที่ยงตรงดุจตราชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง

จ. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร

ฉ. จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช. อรูป หรืออารุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก ข้อใดข้อหนึ่ง จนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ

1. อากาสานัญญายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์

2. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณ ที่แผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์

3. อากิญจัญญายตนะ (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์

4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย) เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมฐานทั้งหมดนี้ บางทีท่านจัดเป็น 2 ประเภท คือ

1. สัพพัตถกกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่ใช้ประโยชน์ได้ หรือ ควรต้องใช้ทุกที่ทุก กรณี คือ ทุกคนควรเจริญอยู่เสมอ ได้แก่ เมตตา และมรณสติ

2. ปาริหาริยกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่ต้องบริหาร หมายถึง กรรมฐานที่เหมาะกับจริยาของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว จะต้องคอยเอาใจใส่รักษาอยู่ตลอดเวลา ให้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติที่สูงยิ่งขึ้นไป

ท่านว่า กรรมฐาน 40 อย่างนั้น แตกต่างกันโดยความเหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยความโน้มเอียงของแต่ละบุคคล ที่เรียกว่า จริยา ต่างๆ ถ้าเลือกได้ถูกกันเหมาะกัน ก็ปฏิบัติได้ผลดีและรวดเร็ว ถ้าเลือกผิด อาจทำให้ปฏิบัติได้ล่าช้า หรือไม่สำเร็จผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 05:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริยา แปลว่า ความประพฤติปกติ หมายถึงพื้นเพของจิต พื้นนิสัย ลักษณะความประพฤติที่หนักไปทางใด ทางหนึ่ง ตามสภาพจิตที่เป็นปกติของบุคคลนั้นๆ

- ตัวความประพฤติ หรือ ลักษณะนิสัยนั้น เรียกว่า "จริยา"
- บุคคลผู้มีลักษณะนิสัย และความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า "จริต" ตัวอย่าง เช่น คนมีราคจริยา เรียกว่า ราคจริต เป็นต้น

โดยประเภทใหญ่ๆ จัดเป็นจริต 6 คือ *

1. ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางราคะ ประพฤติหนัก ไปทางรักสวยรักงาม ละมุนละไม ควรใช้กรรมฐานคู่ปรับ คือ อสุ ภะ (และกายคตาสติ)

2. โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโทสะ ประพฤติหนัก ไปทางใจร้อนหงุดหงิดรุนแรง กรรมฐาน ที่เหมาะ คือ เมตตา (รวมถึงพรหมวิหารข้ออื่นๆ และกสิณ โดยเฉพาะวรรณกสิณ)

3. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโมหะ ประพฤติหนัก ไปทางเขลา เหงาซึม เงื่องงง งมงาย ใครว่าอย่างไรก็คอยเห็นคล้อยตาม ไป พึงแก้ด้วยมีการเรียน ไต่ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู (กรรมฐานที่เกื้อกูลคือ อานาปานสติ)

4. สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยมากด้วยศรัทธา ประพฤติ หนักไปทางมีจิตใจซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย พึงชักนำไปใน สิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น ระลึกถึงคุณ พระรัตนตรัย และศีลของตน (กรรมฐานอนุสติ 6 ข้อแรกได้ทั้งหมด)

5. พุทธจริต หรือ ญาณจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความประพฤติหนักไปทางใช้ ความคิดพิจารณา และมองไปตามความจริง พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิด พิจารณาสภาวธรรม และสิ่งดีงามที่ให้เจริญปัญญา เช่น พิจารณาไตรลักษณ์ (กรรมฐานที่ เหมาะ คือ มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเร ปฏิกูล สัญญา)

6. วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความประพฤติ หนักไปทางชอบครุ่นคิดวกวน นึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ (หรือ เพ่งกสิณ เป็นต้น)


ที่อ้างอิง *

* ที่มาในบาลีเดิม คือ ขุ.ม.29/727/435, 889/555 ฯลฯ ความจริง ลำดับในบาลีเดิมเป็น ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต และญาณจริต และพึงทราบว่า ข้อความในวงเล็บ เป็นของเพิ่มเติมตามแนวอรรถกถา รายละเอียดเพิ่มเติมจากนี้ (พึงดู วิสุทธิ.1/127-139)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการแสดงออกต่างๆ กัน ในทางความประพฤติของจริตเหล่านี้ เช่น เมื่อพบเห็นสิ่งของสักอย่าง

- ถ้าของนั้นมีอะไรเป็นส่วนดีน่าชมอยู่บ้าง ใจของคนราคจริต จะไปจับอยู่ที่ส่วนนั้น ติดใจ เล็งแลอยู่ได้นานๆ ส่วนอื่นที่เสียๆ ไม่ได้ใส่ใจ

- ส่วนคนโทสจริต แม้ของนั้นจะมีส่วนดีอยู่หลายอย่าง แต่ถ้ามีส่วนเสียหรือข้อบกพร่องอยู่สักหน่อย ใจของเขา จะกระทบเข้ากับส่วนที่เสียนั้นก่อน ไม่ทันได้พิจารณาเห็นส่วนดี ก็จะไปเสียเลย

- คนพุทธิจริต คล้ายคนโทสจริตอยู่บ้าง ที่ไม่ค่อยติดใจอะไร แต่ต่างกันที่ว่าคนโทสจริต มองหาส่วนเสียหรือมองให้เสียทั้งที่ ไม่เป็นอย่างนั้นจริง และผละไปอย่างหงุดหงิดขัดใจ ส่วนคนพุทธิจริต มองหาส่วนเสียข้อบกพร่องที่เป็นจริงและเพียงแต่ไม่ติดใจผ่านไป

- ส่วนคนโมหจริต มองเห็นแล้วจับจุดอะไรไม่ชัด ออกจะเฉยๆ ถ้าใครว่า ดี ก็พลอยเห็นดีว่าตามเขาไป ถ้าเขาว่า ไม่ดี ก็พลอยเห็นไม่ดีคล้อยตามเขาไป

- ฝ่ายคนวิตกจริต คิดจับจด นึกถึงจุดดีตรงนี้บ้าง ส่วนไม่ ดีตรงนั้นบ้าง วุ่นไปวุ่นมา ชั่งไม่เสร็จ ตัดสินใจไม่ตก จะเอาหรือ ไม่เอา

- ส่วนคนศรัทธาจริต มีลักษณะคล้ายคนราคจริตอยู่ บ้าง คือ มักมองเห็นส่วนที่ดี แต่ต่างที่ว่า คนศรัทธาจริต เห็นแล้วก็ชื่นชมซาบซึ้งใจเรื่อยๆไป ไม่ติดอ้อยอิ่งอย่างพวกราคจริต



อย่างไรก็ตาม คนมักมีจริตผสม เช่น ราคะผสมวิตก โทสะผสมพุทธิ เป็นต้น ในการปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิ นอกจากเลือกกรรมฐานให้เหมาะกับจริตแล้ว แม้แต่สถานที่อยู่อาศัย บรรยากาศ หนทาง ของใช้ อาหาร เป็นต้น ท่านก็ยังแนะให้เลือกสิ่งที่เป็นสัปปายะ คือ เกื้อกูลเหมาะกันด้วย


กัมมัฏฐาน 40 นั้น นอกจากเหมาะกับจริตที่ต่างกันแล้ว ยังต่างกันโดยผลสำเร็จที่สามารถให้เกิดขึ้น สูงต่ำ มากน้อยกว่ากันด้วย คือมีขอบเขตในการให้เกิดสมาธิระดับต่างๆ ไม่เท่ากัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ท่านเตือนว่า เรื่องกรรมฐานที่เหมาะกับจริตต่างๆนั้น อย่าถึงกับถือตายตัวทีเดียวว่าเป็นอย่างที่ได้แสดงไว้ พูดอย่างกว้างๆ แล้ว กรรมฐานทุกอย่าง ก็เป็นประโยชน์ช่วยข่มอกุศล และเกื้อกูล หนุนกุศลธรรมได้ทั้งนั้น (วิสุทธิ. 1/145)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอธิบายเน้น สมถกรรมฐาน,สมถภาวนาล้วน แต่เมื่อพูดกว้างๆแล้ววิธีปฏิบัติยังยักเยื้องได้ (เทียบโยงให้ถึงหลักวิธีปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน ๔ ด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา
อนัตตาแปลว่าบังคับไม่ได้
ทุกอย่างเกิดแล้วดับแล้วค่ะ
นับแสนโกฏิขณะเลือกไม่ได้
นอกจากเพียรฟังเพื่อรู้คิดตามได้
ไม่มีใครเลือกตามปกติเป็นปกติมีแล้ว
เพราะทุกอย่างกำลังเกิดดับโดยอนัตตา
ถ้ายังไปกำหนดทำด้วยตัวตนคิดเองคือมิจฉา
สัมมาเกิดตอนกำลังฟังเข้าใจและคิดถูกตามคำสอนได้
พอหยุดฟังกิเลสในจิตก็ไหลไปตามความคิดตัวเองนับแสนโกฏิขณะ
มัวทำตามๆกันและคิดเองตามเห็นผิดทำอะไรกันอยู่บอกให้เริ่มฟังเพื่อสะสมปัญญาไงคะ
https://youtu.be/LRKR7ft6Bkg
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร