วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 142 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Rosarin

คุณกรัชกายคะ เข้าใจความปกติของคนทั้งตัวไหมคะ

เดี๋ยวนี้มีแล้วตัวคน ซึ่งพระพุทธเจ้าบอกว่ามีกาย+จิตอยู่

และมันกำลังเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ นับไม่ถ้วน และไม่ได้ทำอะไร

โรสบอกว่า ทุกคนสมควรเริ่มต้นฟังคำสอนให้เกิดปัญญาสะสมเพิ่มขึ้น

เพราะการจะถึงนิพพานขึ้นอยู่กับปัญญาที่เพิ่มขึ้นตามลำดับตามคำสอน

โดยอบรมจิตจากการฟังพระธรรม จะทำปัญญา จะต้องพึ่งคิดตามคำสอนทุกครั้ง

รู้ไหม ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ครบทั้ง 6 ทาง กำลังเกิดดับสลับกันทุกคนไม่ได้เห็นตลอดเวลา

ตาไม่บอด คุณดูไม่เห็นหรือคะ ว่า กายคุณก็มีจิตก็กำลังมีตอนคิดไม่เห็นแต่ตอนนี้คุณคิดถึงเห็นผิดๆตลอดเลย

เพราะขาดการฟัง และไม่ได้กำลังไตร่ตรองตามคำสอนจากปรโตโฆสะ...ประมาทการฟังเกิดมาตายเปล่าๆฟรีๆ
https://youtu.be/XHkG7EOodUY


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
คงต้องลงกระทู้ปรโตโฆสะอีกสักกระทู้หนึ่ง ซึ่งคู่กับโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการแบบต่างๆลงไปแล้ว

viewtopic.php?f=1&t=57466



ได้ฤกษ์เบิกบายศรี เพราะฤกษ์งามยามดีในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) จึงตั้ง กท. ปรโตโฆสะ ดูสิว่าจะแตกต่างจากปรโตโฆสะที่คุณโรสวาดภาพหรือไม่อย่างไร ลองทัศนาดู

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา


สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ *(องฺ.ทุก.20/371/110 ฯลฯ)

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น

ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)

ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา


๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ
หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic attention)

ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา


- ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (อง.ทสก.24/93/201)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น
ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร

ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา

รูปภาพ


คุณโรสว่า แมวหรือกาหรือว่าเป็นไก่ :b14: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม เน้นถึงความสำคัญอย่างควบคู่กัน ดังนี้

๑) "สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นใด มีประโยชน์มากเท่าความมีกัลยาณมิตรเลย"

๒) "สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายในอื่นใด มีประโยชน์มากเท่าโยนิโสมนสิการเลย" * (ขุ.อิติ.25/194-5/236-7 ฯลฯ)

ปัจจัยทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับคนทั่วไป ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย
แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้

ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้น ก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึก อบรม

การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ เมื่อนำมาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนำชักจูงสั่งสอนอบรมได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล

ดังนั้น ในการศึกษาอบรม จึงจำกัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมาย ด้วยหลักที่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา หรือการมีกัลยาณมิตร

ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นตัวหลักการใช้ปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร

เมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่ากัลยาณมิตตตา เป็นองค์ประกอบภายนอก และโยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน

ถ้าตรงข้ามจากนี้ คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทำให้ประสบปรโตโฆสะผิดพลาด และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้ผลตรงข้าม คือเป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการนี้ มีหลักการบางอย่างที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสสังเกตดูนกตัวนี้ดิมีสีขาวกำลังกินผักกาดอยู่

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรโตโฆสะ – กัลยาณมิตร = วิธีการแห่งศรัทธา

ปรโตโฆสะ หรือ เสียงจากผู้อื่น ที่จะให้เกิดสัมมาทิฏฐิได้ ก็คือ เสียงที่ดีงาม เสียงที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกิดจากความรักความปรารถนาดี

เสียงดีงามถูกต้องเช่นนี้ เกิดจากแหล่งที่ดี คือคนดี คนมีปัญญา คนมีคุณธรรม คนเช่นนี้ ทางธรรมเรียกว่า สัตบุรุษ * บ้าง บัณฑิตบ้าง ถ้าคนดี คือ สัตบุรุษ หรือบัณฑิตนี้ ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำ สั่งสอนชักนำสัมมาทิฏฐิให้แก่ผู้อื่น ก็เรียกว่าเขาทำหน้าที่เป็น กัลยาณมิตร

แต่บุคคลผู้แสวงสัมมาทิฏฐิ ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตบุรุษ หรือบัณฑิตมาหาตน
ตรงข้าม เขาย่อมกระตือรือร้นที่จะไปหา ไปปรึกษา ไปสดับฟัง ไปขอคำแนะนำชี้แจงสั่งสอน เข้าร่วมหมู่อยู่ใกล้ ตลอดจนศึกษาแบบอย่างแนวทางจากบัณฑิต หรือสัตบุรุษนั้นเอง การกระทำของเขาอย่างนี้ เรียกว่า การเสวนาสัตบุรุษ หรือ คบหาคนดี *

แต่ไม่ว่าสัตบุรุษจะมาทำหน้าที่ให้ หรือ บุคคลนั้นจะไปคบหาสัตบุรุษเองก็ตาม ในเมื่อมีการยอมรับ หรืออิทธิพลต่อกันเกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่าเขามีกัลยาณมิตร และเรียกภาวะนี้ว่า "กัลยาณมิตตตา" แปลว่า ความมีกัลยาณมิตร

กัลยาณมิตร มิได้หมายถึง เพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญเท่านั้น แต่หมายถึงบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง
ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านยกตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนำ เป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า * (ดูวิสุทธิ. 1/123-125 (คัมภีร์นี้ แสดงตัวอย่างในกรณีของการเรียนสมาธิภาวนา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 เม.ย. 2019, 17:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ * ข้างบนตามลำดับ

* ตามบาลีเป็น สัปปุริส จะเขียนเป็นอย่างลูกครึ่งเป็น สัปปุรุษ หรือ สัปบุรุษ ก็ได้ สัตบุรุษนี้ ถ้ามาคู่กับอริยะ ท่านให้อริยะ หมายถึงพระพุทธเจ้า สัตบุรุษ หมายถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า และตถาคตสาวก หรือพระสาวกทั้งหลาย หรือทั้งอริยะและสัตบุรุษมีความหมายเท่ากันก็ได้
ถ้าสัตบุรุษมาลำพัง ก็หมายถึงพระพุทธเจ้าลงมาทั้งหมด คำว่า "บัณฑิต" ก็ใช้ได้ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา

ว่า โดยทั่วไป อริยะ สัตบุรุษ และบัณฑิต ใช้ในความหมายที่คาบเกี่ยวกัน บางทีก็ใช้แทนกัน
แต่ถ้าจะเอาหลักตามพุทธพจน์ บัณฑิต คือผู้บรรลุอัตถะ ๒ สัตบุรุษ คือ ผู้มีคุณสมบัติดังจะกล่าวต่อไป

* ตามบาลีเป็น สัปปุริสสังเสวะ หรือ สัปปุริสูปสังเสวะ หรือ สัปปุริสูปัสสยะ หรือ สัปปุริสูปนิสสยะ หรือ สัปปุริสเสวนา หรือ บัณฑิตเสวนา ก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรนี้ จัดว่าเป็นระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา

ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตรควรมีความหมายครอบคลุมทั้งตัวบุคคลผู้อบรมสั่งสอน เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เป็นต้น ทั้งคุณสมบัติของผู้สอน ทั้งหลักการ วิธีการ อุปกรณ์ อุบายต่างๆ ในการสอน และการจัดดำเนินการต่างๆ ทุกอย่าง ที่ผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาจะพึงจัดทำ เพื่อให้การศึกษาอบรมได้ผลดี
ตลอดจนหนังสือ สื่อมวลชน บุคคลตัวอย่าง เช่น มหาบุรุษ หรือผู้ประสบความสำเร็จโดยธรรม และสิ่งแวดล้อมทางสังคมทั้งหลายที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เท่าที่จะเป็นองค์ประกอบภายนอกในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
Rosarin

คุณกรัชกายคะ เข้าใจความปกติของคนทั้งตัวไหมคะ

เดี๋ยวนี้มีแล้วตัวคน ซึ่งพระพุทธเจ้าบอกว่ามีกาย+จิตอยู่

และมันกำลังเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ นับไม่ถ้วน และไม่ได้ทำอะไร

โรสบอกว่า ทุกคนสมควรเริ่มต้นฟังคำสอนให้เกิดปัญญาสะสมเพิ่มขึ้น

เพราะการจะถึงนิพพานขึ้นอยู่กับปัญญาที่เพิ่มขึ้นตามลำดับตามคำสอน

โดยอบรมจิตจากการฟังพระธรรม จะทำปัญญา จะต้องพึ่งคิดตามคำสอนทุกครั้ง

รู้ไหม ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ครบทั้ง 6 ทาง กำลังเกิดดับสลับกันทุกคนไม่ได้เห็นตลอดเวลา

ตาไม่บอด คุณดูไม่เห็นหรือคะ ว่า กายคุณก็มีจิตก็กำลังมีตอนคิดไม่เห็นแต่ตอนนี้คุณคิดถึงเห็นผิดๆตลอดเลย

เพราะขาดการฟัง และไม่ได้กำลังไตร่ตรองตามคำสอนจากปรโตโฆสะ...ประมาทการฟังเกิดมาตายเปล่าๆฟรีๆ
https://youtu.be/XHkG7EOodUY


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
คงต้องลงกระทู้ปรโตโฆสะอีกสักกระทู้หนึ่ง ซึ่งคู่กับโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการแบบต่างๆลงไปแล้ว

viewtopic.php?f=1&t=57466



ได้ฤกษ์เบิกบายศรี เพราะฤกษ์งามยามดีในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) จึงตั้ง กท. ปรโตโฆสะ ดูสิว่าจะแตกต่างจากปรโตโฆสะที่คุณโรสวาดภาพหรือไม่อย่างไร ลองทัศนาดู


จุลศักราช ศักราชน้อย ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์พม่าองค์หนึ่ง ใน พ.ศ.๑๑๘๒ ภายหลังมหาสักราช, เป็นศักราชที่เราใช้กันมาก่อนใช้รัตนโกสินทรศก, นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน เขียนย่อว่า จ.ศ. (พ.ศ.๒๕๕๒ ตรงกับ จ.ศ. ๑๓๗๐-๑๓๗๑)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่นกยังคล้อยตามสภาพแวดล้อมภายนอกที่ดี (ปรโตโฆสะที่ดี) ไม่ดี (ปรโตโฆสะที่ไม่ดี) ได้ จะกล่าวไปใยถึงคนเล่า

https://www.facebook.com/wattamai45/vid ... 318382581/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปรโตโฆสะ – กัลยาณมิตร = วิธีการแห่งศรัทธา

ปรโตโฆสะ หรือ เสียงจากผู้อื่น ที่จะให้เกิดสัมมาทิฏฐิได้ ก็คือ เสียงที่ดีงาม เสียงที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกิดจากความรักความปรารถนาดี

เสียงดีงามถูกต้องเช่นนี้ เกิดจากแหล่งที่ดี คือคนดี คนมีปัญญา คนมีคุณธรรม คนเช่นนี้ ทางธรรมเรียกว่า สัตบุรุษ * บ้าง บัณฑิตบ้าง ถ้าคนดี คือ สัตบุรุษ หรือบัณฑิตนี้ ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำ สั่งสอนชักนำสัมมาทิฏฐิให้แก่ผู้อื่น ก็เรียกว่าเขาทำหน้าที่เป็น กัลยาณมิตร

แต่บุคคลผู้แสวงสัมมาทิฏฐิ ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตบุรุษ หรือบัณฑิตมาหาตน
ตรงข้าม เขาย่อมกระตือรือร้นที่จะไปหา ไปปรึกษา ไปสดับฟัง ไปขอคำแนะนำชี้แจงสั่งสอน เข้าร่วมหมู่อยู่ใกล้ ตลอดจนศึกษาแบบอย่างแนวทางจากบัณฑิต หรือสัตบุรุษนั้นเอง การกระทำของเขาอย่างนี้ เรียกว่า การเสวนาสัตบุรุษ หรือ คบหาคนดี *

แต่ไม่ว่าสัตบุรุษจะมาทำหน้าที่ให้ หรือ บุคคลนั้นจะไปคบหาสัตบุรุษเองก็ตาม ในเมื่อมีการยอมรับ หรืออิทธิพลต่อกันเกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่าเขามีกัลยาณมิตร และเรียกภาวะนี้ว่า "กัลยาณมิตตตา" แปลว่า ความมีกัลยาณมิตร

กัลยาณมิตร มิได้หมายถึง เพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญเท่านั้น แต่หมายถึงบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง
ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านยกตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนำ เป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า * (ดูวิสุทธิ. 1/123-125 (คัมภีร์นี้ แสดงตัวอย่างในกรณีของการเรียนสมาธิภาวนา)

:b32:
คนดีคือมีกุศลเจตสิกเกิดคือคบบัณฑิต
คนไม่ดีคือมีอกุศลจิตเกิดคือคบพาล
ทั้ง2แบบมีภายในตัวตนของตัวเอง
จะไปไหนจะทำอะไรคบคนไหน
ที่อยู่ภายในจิตถ้าตัวตนก็นะเป็นอกุศล
ชอบใจไม่ชอบใจก็นะเป็นอกุศล
ทราบไหมคะ/ละชั่ว/ทำดีไม่ใช่มีตัวตนไปทำได้
เพราะตัวตนนั้นมีแล้วแค่ไม่รู้ว่าขณะไหนที่รู้สึกตัวถูกตรงตามคำสอนได้ขณะนั้นละชั่วได้ทันทีดีทันทีเลยค่ะ
ดีได้ตอนกำลังฟังกำลังเข้าใจถูกตามตรงคำตรงจริงที่กายใจกำลังมีจึงดีได้เมื่อเริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์นะคะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัซกายกับคุณโรสคงเป็นเนื้อคู่กันจริงๆ :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 142 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร