วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2019, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"ถึงโลกนี้จะไม่มีความสุขอันเที่ยงแท้
แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์กับมัน"

หลวงปู่สุเมโธ เล่าว่า สมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านอยากได้ของเล่นชิ้นหนึ่ง จึงบอกกับคุณแม่ว่า...ถ้าซื้อของเล่นชิ้นนั้นให้ จะไม่เรียกร้องเอาอะไรอีกเลย...ท่านพูดตามความรู้สึกของเด็กในเวลานั้น เวลาอยากได้อะไรมาก ๆ ก็เชื่อว่าความสุขจะเกิดขึ้นเมื่อได้สิ่งนั้นมา ถ้าได้สมปรารถนาแล้ว คงจะไม่อยากได้อะไรอีก.. เราคงจะมีความสุขไปตลอดกาล...แต่ความเป็นจริงไม่เคยเป็นอย่างนั้น เมื่อคุณแม่ยอมซื้อของเล่นชิ้นนั้นให้ พอเล่นไปได้สักพัก ความสุขนั้นก็หายไปเริ่มอยากได้ของใหม่ขึ้นมาอีก กระบวนการคิดแบบเดิมก็วนขึ้นมาอีกรอบ

ทุกวันนี้ ใจของเราต่างจากความคิดของเด็กเพียงใด จริงหรือไม่ว่า ใจของเรามักทะยานไปในอนาคตอยู่บ่อย ๆ เรามักไม่ค่อยพอใจกับภาวะในปัจจุบัน นึกอยากจะทำในสิ่งที่ไม่ได้ทำอยู่ตอนนี้ หรืออยากจะได้ในสิ่งที่ยังไม่มี ยิ่งคิดก็ยิ่งเชื่อความรู้สึกของตนเอง เชื่อว่าถ้าได้สมปรารถนา เราก็จะเป็นสุขตลอดกาล...

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงใช้ชีวิตขัดกับหลักความจริง เพราะ "ความสุขนิรันดร์เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลกนี้" การได้ยินได้ฟังอย่างนี้อาจเหมือนเป็นข่าวร้ายแต่ข่าวดีที่ซ้อนอยู่กับข่าวร้ายนี้ก็มีอยู่เช่นกันนั่นก็คือ...เราไม่จำเป็นต้องทุกข์กับเรื่องนี้

ถ้าเราเรียนรู้ที่จะสังเกตความรู้สึกภายในใจของตนเอง เห็นความเปลี่ยนแปลงไม่หยุดหย่อน เราย่อมตระหนักได้ถึงความเป็นจริงของชีวิต และไม่ปล่อยให้ใจของเราชักลากไปทางโน้นทางนี้อย่างไม่หยุดหย่อน เมื่อนั้น...ความสุขภายในย่อมเกิดขึ้น เป็นสุขจากปัญญาที่รู้เท่าทันความเป็นไปของจิต และเป็นศิลปะที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตโดยไม่ทุกข์ใจในยามไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา เพราะมันก็ "แค่นั้นเอง"

พระเทพญาณวิเทศ (โรเบิร์ต สุเมโธ)






...ปัจจุบันนี้..เป็นที่ตั้งของความสงบ
อดีต..ไม่ใช่เป็นที่ตั้งของความสงบ
อนาคต..ก็ไม่ใช่เป็นที่ตั้งของความสงบ
"ใจจะสงบได้..ต้องอยู่ในปัจจุบัน".

...................................
.
ธรรมะโดนใจเล่ม 1 หน้า148
ธรรมะบนเขา 8/9/2556
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี






เรื่อง "ภัยพิบัติของชาวโลก"
เรื่องภัยพิบัตินั้น ก็จะเกิดมีอยู่ อาตมาเห็นอยู่ แต่อาตมาไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นช่วงไหน จึงขอเตือนให้ญาติโยมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ กันไว้
"คนที่ภาวนาพุทโธ แล้วจะรอดพ้น
จากภัยพิบัติเหรอครับหลวงปู่" (โยมถาม)
"เปล่า.. คนภาวนาพุทโธ ตายแล้วจะไปสู่สุคติ"

(คติธรรม หลวงเปลี่ยน ปัญญาปทีโป)






“ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน
ให้แหล่งน้ำ บ่อน้ำ และที่พักอาศัย
บุญของชนเหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ
ทั้งคืนทั้งวัน ไม่มีการเวลา”

โอวาทธรรม :องค์หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร





"ผู้ที่ภาวนาเป็นและถูกต้องตามความเป็นจริงนั้น
ไม่ใช่ว่านั่งเก่ง เดินเก่ง นอนเก่ง ผู้ที่ภาวนาเก่งก็คือ
ผู้ที่มีสติสมบูรณ์ไม่ขาดสติ นี่แหล่ะคือผู้ที่ภาวนาเป็นและเก่งที่สุด"

หลวงปู่คูณ สิริจันโท






บุคคลใดให้ความสุขแก่บุคคลอื่น
ความสุขนั้นจะกลับคืนมาเป็นของตน
เพราะให้สิ่งที่พอใจ ก็ย่อมได้สิ่งที่พอใจ
ให้ของดี ก็ย่อมได้ของดี
ให้ของเลิศ ก็ย่อมได้ของเลิศ
ให้ของประเสริฐ ก็ย่อมได้ของประเสริฐ

หลวงปู่เปลี่ยน ปญญาปทีโป





พวกเรานี่ยังหลงอยู่แต่ในมหาสมุทร ยังล่องลอยอยู่กับคลื่นลม คลื่นเล็กคลื่นใหญ่ ยังหลงดิ้นกันอยู่กับคลื่น ไม่หาวิธีพาตัวเองให้ถึงฝั่ง พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนให้เราตระเกียกตระกาย พาตัวเองขึ้นจากฝั่ง ให้สุขสงบร่มเย็น หมู่สาวกที่เชื่อก็ได้อยู่อย่างเป็นสุขร่มเย็นบนฝั่งแล้ว แต่บางคนก็คิดว่าตนเองสงบแล้วสุขแล้ว นี่บางที่หลงเข้าใจตัวเองผิด คลื่นที่นิ่งมันก็ยังเป็นคลื่นอยู่ เคยเห็นมั้ย คลื่นที่มันนิ่ง ๆ มันก็มีนะ เป็นคลื่นใต้น้ำ รอวันลมพัดแรงเป็นคลื่นใหญ่ซัดให้เรืออับจมลงได้ เราก็ตกเป็นอาหารเป็นเหยื่อของปลา เป็นอาหารของกิเลส

พระพุทธเจ้า ท่านสอนวิธีตัดเครื่องผูก พวกเรานี่ไม่สนใจสนแต่จะหาวิธีผูกยังไงเพื่อจะให้แน่นเข้ายึดเข้าสนแต่จะผูกให้ได้มาก ๆ กอบโกยให้ได้มาก ๆ หลงแต่ที่จะเป็นเหยื่อปลาเหยื่อยักษ์ เหยื่อมาร เหยื่อกิเลสพระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราเข้าร่วมอยู่ในพรรคเดียวกับท่าน คือพรรคพระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราหยุดดิ้นอยู่กับคลื่นหลงดิ้นอยู่ในทะเลท่านให้เราขึ้นจากฝั่งลูกศิษย์ของพรรคพระพุทธเจ้า ไม่แม้แต่ส่งจิตออกนอกไปให้พรรคมาร พรรคกิเลสนะ เราเองเลือกดูนะ ว่าจะอยู่พรรคพระพุทธเจ้า
หรือพรรคกิเลส...

โอวาทธรรมคำสอนของ
"หลวงปู่แบน ธนากโร"




"สติ" มีความสำคัญที่สุด
สติมีหน้าที่ตัดสินว่า
จะให้กิเลสชนะเหตุผล
หรือเหตุผลชนะกิเลส

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก






“...ที่เป็นปัญหา ก็คือจิตที่มันหลง แล้วก็สร้างเรื่องราวทั้งหมดในธรรมชาติอันนี้ขึ้นมา สร้างภาพลวงตาขึ้นมา แล้วก็หลอกลวงตัวเอง ต่างคนต่างสร้างภาพ สร้างมายาการขึ้นมา แล้วก็หลงกระทำกันไปตามอำนาจความหลงนั้น นี่แหละ ความหลอกลวงของธรรมชาติ แล้วก็เลยกลายเป็นโลกสังขตธรรม หรือว่าสังขารโลก โลกที่มาจากการปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่งแล้วก็ทำลงไป คิดนึกปรุงแต่ง ทำไปเวียนไปเวียนมา...”

พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตฺโต วัดป่าภูไม้ฮาว จังหวัดมุกดาหาร






“สิ่งไหนก็ตาม ถ้ามีอยู่ในจิตใจ
ก็อโหสิให้ซึ่งกันและกัน อย่าถือโทษโกรธเคือง
ให้กับใครทั้งหมด ถ้าถือโทษโกรธเคือง
เราก็เดินทางไม่ถึงไหน เพราะจิตใจของเรา
ไปเกาะเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นอยู่

ถ้าเราไม่เกาะเกี่ยว เราก็เดินไปข้างหน้า
เพราะจุดมุ่งหมายของเราคือ เพื่อมรรคผลนิพพาน
ขอให้ข้าพเจ้า อย่ามาเวียนว่ายตายเกิด
ในวัฏสงสาร ตามแนวแถวของพระพุทธเจ้า
ที่ท่านอบรมแนะนำสั่งสอน”

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก






วันหนึ่ง มีพระฝรั่งถามอาตมาว่า..
" ถ้าจะอธิบายพุทธศาสนาอย่างดี
ที่จะเข้าใจแก่นสารของพุทธศาสนา
จะใช้กี่คำ ที่จะอธิบายได้? "
เราบอกว่าคำเดียวก็ได้ คือ.. "ตื่น"

พระอาจารย์โรเบิร์ต สุเมโธ






"ปีนี้จะดีไหม?
ราศรีนี้จะดีไหม?
ถามไปหาอะไร?

จะดีหรือไม่ดี
ก็อยู่ที่เจ้าของทำ
พระพุทธเจ้าสอนให้พึ่งตัวเอง
ไม่ใช่ให้นั่งรอผล"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน






"การเอาใจ ไม่ใช่กตัญญูกตเวที
การเอาใจนั้น เป็นไปได้ทั้งทางที่ควร และไม่ควร
แต่การแสดงกตัญญูกตเวทีนั้น เป็นไปได้ในทางดี
ทางเดียว

ผู้มีพระคุณทำไม่ดีไม่ชอบ จะแสดงกตัญญูกตเวที
ต้องช่วยวิธีใดก็ตาม เพื่อให้เลิกทำเช่นนั้น
ไม่จำเป็นจะต้องให้ถูกใจอย่างเดียว จะขัดใจบ้าง
หรือแม้จะขัดใจอย่างยิ่ง ก็ควรทำ หากด้วย
การทำเช่นนั้น จะสามารถช่วยให้ผู้มีพระคุณ
หยุดทำไม่ดี หันมาทำดีได้

ไม่มีการตอบแทนพระคุณใด
จะงดงามเท่าการช่วยให้ท่านมีโอกาส
ได้ทำดีทำชอบ"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ






"เขาพูดว่าเราดี
เราก็ไม่ดีเหมือนคำเขาพูด
เขาพูดว่าเราชั่ว
เราก็ไม่ชั่วเหมือนคำเขาพูด
ถ้าเราไม่ยึด เราไม่มี จะเอาอะไรไปดีไปชั่ว"

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล





“พอเราเกาที่คัน เราก็รู้สึกดีอยู่ครู่หนึ่ง
แล้วอาการคันก็จะกลับมาอีก คราวนี้
มักจะคันมากกว่าเดิม กลายเป็นว่า
ยิ่งเกายิ่งคัน
การตามใจกิเลสตัณหา เหมือนการเกาที่คัน
พระพุทธองค์ทรงกระตุ้นให้เราตั้งคำถามว่า
อะไรจะดีกว่ากัน ระหว่างความสุข ความพอใจชั่วคราว
ที่ได้จากการเกาที่คัน กับความสุขจากการ
ไม่มีที่คันให้เราเกา”

พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ






“บุคคลใด ให้ความสุขแก่บุคคลอื่น
ความสุขนั้น จะกลับคืนมาเป็นของตน
เพราะให้สิ่งที่พอใจ ก็ย่อมได้สิ่งที่พอใจ
ให้ของดี ก็ย่อมได้ของดี
ให้ของเลิศ ก็ย่อมได้ของเลิศ
ให้ของประเสริฐ ก็ย่อมได้ของประเสริฐ”

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป






อาการบังคับตัวเอง
ให้กำหนดลมหายใจ
ข้อนี้เรียกว่า.. “ศีล”

การกำหนดลมหายใจได้
และติดต่อไปจนจิตสงบ
ข้อนี้เรียกว่า.. “สมาธิ”

การพิจารณากำหนดลมหายใจ
ว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก
มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง
ข้อนี้เรียกว่า.. “ปัญญา”

หลวงปู่ชา สุภัทโท


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร